1 / 22

นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการก

ขอต้อนรับ. นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย. องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). วิสัยทัศน์. อพท. ประสานทุกภาคีเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. พันธกิจ.

lou
Download Presentation

นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ขอต้อนรับ นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

  2. องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

  3. วิสัยทัศน์ อพท. ประสานทุกภาคีเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน พันธกิจ • ประสานงานบริหารการท่องเที่ยวกับหน่วยงานระดับชาติ ภูมิภาค และท้องถิ่น • ประสานการใช้อำนาจของหน่วยงานเพื่อบูรณาการบริหารการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน • ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาและรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน • ส่งเสริมการใช้ศักยภาพของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว • ส่งเสริมและสนับสนุนประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว • ส่งเสริมและสนับสนุนองค์กรท้องถิ่นบำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น • ส่งเสริมจัดทำข้อมูลสารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยว • ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตท้องถิ่น

  4. ยุทธศาสตร์

  5. กระบวนการประกาศเขตพื้นที่พิเศษกระบวนการประกาศเขตพื้นที่พิเศษ 1) หลักเกณฑ์การประกาศพื้นที่พิเศษ  เป็นพื้นที่ที่มีความโดดเด่น และทรงคุณค่าทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  เป็นพื้นที่ที่มีความล้ำค่าทางประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม  เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ 2) การจัดเตรียมข้อมูลเพื่อการพิจารณาการประกาศเขตพื้นที่พิเศษ  กรอกคะแนนลงในคู่มือการพิจาณาการประกาศเขตพื้นที่พิเศษ หากคะแนนรวม ได้เกินร้อยละ 75 จึงดำเนินการเตรียมการประกาศพื้นที่พิเศษต่อไป 3) การเตรียมการประกาศเขตพื้นที่พิเศษ  การศึกษาความเหมาะสมในการประกาศเป็นพื้นที่พิเศษ ด้วยการสำรวจสภาพพื้นที่ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การจัดกระบวนการมีส่วนร่วมในทุกระดับ และการกำหนดขอบเขตพื้นที่พิเศษ  กพท. พิจารณานำเสนอรองนายกรัฐมนตรี เพื่อพิจารณานำเสนอ ครม.พิจารณาให้ความเห็นชอบการประกาศเป็นเขตพื้นที่พิเศษ

  6. โครงสร้างหน่วยงาน

  7. สรุปผลการดำเนินงานที่สำคัญในปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน 1. ประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 3 แห่ง 1.1 พื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง (ประกาศพื้นที่พิเศษ 24 ก.ย. 47) 1.2 พื้นที่พิเศษเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี (ประกาศพื้นที่พิเศษ 11 มี.ค. 48) 1.3 พื้นที่พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง (ประกาศพื้นที่พิเศษ 19 พ.ค. 52) 2. การเตรียมการประกาศพื้นที่พิเศษแห่งใหม่ 2.1 พื้นที่ท่องเที่ยวเมืองหัวหิน 2.2 พื้นที่อุทยานแห่งชาติสุโขทัย - ศรีสัชนาลัย - กำแพงเพชร 2.3 พื้นที่ท่องเที่ยวจังหวัดเลย 2.4 พื้นที่ท่องเที่ยวเมืองน่าน 2.5 พื้นที่เมืองสุราษฎร์ธานีและพื้นที่เชื่อมโยง 3. การท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน 4. การสร้างเครือข่ายภาคีการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

  8. 6. การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ 6.1 พื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง  การฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - จัดระบบกำจัดขยะ - การฟื้นฟูและอนุรักษ์ปะการัง - การฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าชายเลน  ส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง  ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม  เฝ้าระวังสุขภาพและการให้ความรู้ด้านสาธารณสุขขั้นมูลฐาน  ส่งเสริมองค์ความรู้อย่างยั่งยืนในพื้นที่  จัดทำแผนบูรณาการการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง

  9. สนับสนุนการบริหารจัดเก็บ ขน และกำจัดขยะมูลฝอยบนเกาะช้าง โดยเทศบาลเกาะช้างและ อบต.เกาะช้างใต้ การประเมินและตรวจสอบเครื่องจักรและอุปกรณ์ของโรงกำจัดขยะ จัดการศึกษาดูงานและฝึกอบรมการกำจัดขยะ • ส่งมอบโรงคัดแยกและกำจัดขยะมูลฝอยเกาะช้าง คืนให้แก่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อพิจารณาอนุญาตให้เทศบาลตำบลเกาะช้าง เข้าใช้พื้นที่และเครื่องจักร • GIZ ให้การสนับสนุน โดยจ้างผู้เชี่ยวชาญ และกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม มาให้คำแนะนำและฝึกอบรมในการคัดแยกขยะแก่ผู้บริหาร อปท. และเจ้าหน้าที่ รวมถึงประชาชนในพื้นที่โดยมี อพท. เป็นผู้ประสานงานในการจัดอบรม

  10. ปี พ.ศ. 2552 นักเรียนจากโรงเรียนในพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างฯ จำนวน 911 คน เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมเรื่องการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนและปะการัง ผลการดำเนินโครงการ ปลูกต้นโกงกาง 13,000 ต้น จำนวน 32.5 ไร่ และได้มีการนำเสนอโครงการของโรงเรียน 13 โครงการ ซึ่ง อพท. ให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการดังกล่าว • พัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างฯจัดทำกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว และการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว รวมทั้งจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม

  11. ป้องกันภัยและช่วยเหลือนักท่องเที่ยวโดยจัดตั้งคณะทำงานประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อวางแผนปฏิบัติการป้องกันและช่วยเหลือนักท่องเที่ยว • สร้างห้องสมุดแหล่งรวมความรู้เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยปรับปรุงที่ทำการ สพพ.1 ณ บริเวณน้ำตกธารมะยม เป็นแหล่งข้อมูลเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน สำหรับการให้บริการแก่องค์กร บุคคลภายนอก นักท่องเที่ยว และประชาชนในพื้นที่ • ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมภายในชุมชน จำนวน 7 ศูนย์ เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลนให้คงความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง สามารถใช้พื้นที่ของศูนย์ฯ สำหรับจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้หรือจัดกิจกรรมภายในชุมชน

  12. จัดฝึกอบรมเรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชนและการลดโลกร้อน (บ้านสลักคอก และบ้านสลักเพชร) โครงการความร่วมมือ อพท. และ GIZ • ฝึกอบรมผู้ประกอบการ เพื่อให้ความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้โครงการความร่วมมือ อพท. และ GIZ • จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อนำเสนอผลการจัดทำฐานข้อมูลร่องรอยคาร์บอนและทดสอบตัวแบบการจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างฯ โครงการความร่วมมือ อพท. และ GIZ • จัดทำข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างฯ กับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จัดทำโครงการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 7 โครงการ • จัดทำแผนบูรณาการการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง นำรายงานโครงการจัดทำแผนแม่บทฉบับเดิม มาพิจารณาความเหมาะสมของแต่ละโครงการอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ กระบวนการจัดทำแผนดังกล่าว อพท. ดำเนินการโดยกระบวนการการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

  13. 6.2 พื้นที่พิเศษเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี บริหารการพัฒนาเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีอย่างต่อเนื่อง พร้อมปรับแนวการบริหารโดยเน้นประเด็นสำคัญดังนี้  พัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ทรัพยากรป่าไม้และพันธุ์สัตว์ป่า  พัฒนาเป็น Theme Park เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน  สร้างภาพลักษณ์เชียงใหม่ไนท์ซาฟารีเป็นสมบัติของคนเชียงใหม่โดยส่งเสริมกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคีที่เกี่ยวข้องในพื้นที่

  14. เพิ่มรอบให้บริการ 1 รอบ Day Safari เริ่ม เวลา 11.00 น. เพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้าชมในโซน Jaguar Trail, Lanna village และสามารถนั่งรถชมสัตว์ในโซน Predator Prowl, Savanna Safari ได้ในรอบปกติตั้งแต่เวลา 15.00 น. - 22.30 น • เพิ่มกิจกรรมการท่องเที่ยว เช่น Behide the Zoo การเพิ่มสัตว์ใหม่ กิจกรรมให้อาหารสัตว์ เป็นต้น • ส่งเสริมให้องค์การธุรกิจจัดทำ CSR สนับสนุนให้เด็ก เยาวชน และกลุ่มบุคคล เข้ามาเรียนรู้ Nature Theme Park

  15. 6.3 พื้นที่พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง จัดทำแผนแม่บทการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง อพท. จัดทำแผนแม่บทการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง โดยกระบวนการการมีส่วนร่วม และได้รับความเห็นชอบจากรองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์) แล้วปัจจุบันอยู่ระหว่างบรรจุเป็นวาระเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ  การอบรมเพื่อให้ความรู้ด้านการท่องเที่ยวชุมชน จัดทำกรอบแผนงานพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน กระบวนการการมีส่วนร่วม

  16. 7. พื้นที่เตรียมการประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 7.1 พื้นที่เมืองหัวหินและพื้นที่เชื่อมโยง • อพท. ศึกษาความเหมาะสมการประกาศพื้นที่พิเศษโดยเน้นกระบวนการการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ทั้งนี้ • กพท. ให้ความเห็นชอบการประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเมืองหัวหิน - ชะอำ และพื้นที่เชื่อมโยงแล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างการนำเสนอรองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์) พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

  17. 7.2 พื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย - ศรีสัชนาลัย - กำแพงเพชร อพท. ศึกษาความเหมาะสมการประกาศพื้นที่พิเศษโดยเน้นกระบวนการการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ทั้งนี้ กพท. ให้ความเห็นชอบการประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย – ศรีสัชนาลัย – กำแพงเพชร แล้ว และ อพท. ได้นำเสนอรองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

  18. 7.3 พื้นที่ท่องเที่ยวจังหวัดเลย • จังหวัดเลยได้ประสานความร่วมมือกับ อพท. ศึกษาความเหมาะสมการประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจังหวัดเลย • ปัจจุบันอยู่ระหว่างการนำเสนอรองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์) เพื่อให้ความเห็นชอบ ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป • การประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจังหวัดเลย จะเป็นปัจจัยการขับเคลื่อนที่สำคัญในการเสริมสร้างการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจังหวัดเลยให้มีคุณภาพมาตรฐานระดับประเทศ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันตลาดการท่องเที่ยวระหว่างประเทศในระยะยาว

  19. 7.3 พื้นที่ท่องเที่ยวเมืองน่าน • อพท. ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจังหวัดน่าน เพื่อจัดทำแผนพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมเมืองน่าน ด้วยกระบวนการการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน รวมทั้งการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน • กพท. ได้ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมเมืองน่าน เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2554 • ปัจจุบัน อพท. ประสานกับจังหวัดน่านเพื่อการแปลงแผนพัฒนาไปสู่การปฏิบัติ • ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการประกาศพื้นที่พิเศษเมืองน่านและพื้นที่เชื่อมโยง

  20. 8. การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน อพท. ได้ดำเนินการพัฒนาท่องเที่ยวชุมชน ใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาชุมชนที่ต้องการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวในชุมชนให้สามารถพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนให้เกิดความยั่งยืนบนพื้นฐานของการเป็นชุมชน การอนุรักษ์วิถีชีวิตวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ตลอดไปภายใต้การมีส่วนร่วมในการดำเนินการของชุมชนเอง โดยมีชุมชนเป้าหมาย 6 ชุมชนนำร่อง ได้แก่ - ชุมชนบ้านวอแก้ว อำเภอบ้านฉัตร จังหวัดลำปาง - ชุมชนบ้านท่าล้ง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี - ชุมชนบ้านบางโรง อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต - ชุมชนตำบลเกาะเกิด อำเภบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา - ชุมชนบ้านห้วยสะพาน อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี - ชุมชนอำเภอเวียงเก่า อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น

  21. 9. การสร้างเครือข่ายภาคีการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อพท. ได้สร้างเครือข่ายในพื้นที่ชุมชนที่มีศักยภาพ 20 ชุมชน ในทุกภาคของประเทศ เพื่อเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการท่องเที่ยวชุมชน โดย อพท. ได้จัดทำบันทึกความเข้าใจประสานความร่วมมือกับชุมชนทั้งหมด วันที่ 19 – 20 มกราคม 2554 อพท. ได้จัดงานมหกรรมท่องเที่ยวชุมชน “กลไกสร้างความปรองดองแห่งชาติ” ณ สวนนงนุช จังหวัดชลบุรี โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์) เป็นประธานการเปิดงาน ผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วยชุมชนเครือข่ายที่ อพท. ให้การสนับสนุน 38 เครือข่าย จำนวนกว่า 700 คน

  22. อพท. ประสานความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งสหพันธรัฐเยอรมนี (GIZ)เพื่อลดภาวะโลกร้อนในการพัฒนาพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ  ติดตามประเมินผลการดำเนินงานของชุมชนและท้องถิ่นด้านการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างฯ  จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อนำเสนอผลการจัดทำฐานข้อมูลร่องรอยคาร์บอนและทดสอบตัวแบบการจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างฯ ปี 2552  จัดฝึกอบรมเรื่อง การท่องเที่ยวโดยชุมชนและการลดโลกร้อน (บ้านสลักคอก และบ้านสลักเพชร) โครงการความร่วมมือ อพท. และ GTZ ร่วมกับสถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT-I) ร่วมจัดฝึกอบรมเรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชนและการลดโลกร้อน  ฝึกอบรมผู้ประกอบการเรื่องการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเกิดกำไร (Profitable Resource Management)

More Related