1 / 46

763 211 รัฐศาสตร์เบื้องต้น

763 211 รัฐศาสตร์เบื้องต้น. บทที่ 2 ปรัชญาทางการเมือง. ปรัชญา ( Philosophy) มีรากศัพท์มาจาก " Philos" หมายถึง ความรัก กับ คำว่า "Sophia" หมายถึง ความรู้ ปัญญา ความฉลาดหลักแหลม เมื่อแปลความหมายรวมกันแล้ว จึงหมายถึง ความรักในความรู้ หรือความรักที่จะแสวงหาความรู้ .

lin
Download Presentation

763 211 รัฐศาสตร์เบื้องต้น

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. 763 211 รัฐศาสตร์เบื้องต้น บทที่ 2 ปรัชญาทางการเมือง

  2. ปรัชญา (Philosophy)มีรากศัพท์มาจาก "Philos"หมายถึง ความรัก กับ คำว่า "Sophia"หมายถึง ความรู้ ปัญญา ความฉลาดหลักแหลม เมื่อแปลความหมายรวมกันแล้ว จึงหมายถึง ความรักในความรู้ หรือความรักที่จะแสวงหาความรู้

  3. "ปรัชญา" มารวมกับคำว่า "การเมือง" จึงหมายถึง การค้นหา หรือแสวงหาความรู้แจ้งในความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่มีอยู่ตามธรรมชาติระหว่างมนุษย์ในสังคม

  4. จุดเน้นในสาขาวิชาปรัชญาเพื่อความรู้แจ้งจุดเน้นในสาขาวิชาปรัชญาเพื่อความรู้แจ้ง ในธรรมชาติ จำแนกเป็น 3 ประเด็นคือ 1. สัจจวิทยา (Ontology) 2. ญาณวิทยา (Epistemology) 3. คุณค่าวิทยา (Axiology)

  5. 1. สัจจวิทยา (Ontology) เพื่อค้นหาว่า อะไรคือจริง แบ่งออกเป็น 5 ระบบความคิด ได้แก่ 1.1 วัตถุนิยม (Materialism) 1.2 จิตนิยม (Idealism) 1.3 ปัจเจกชนนิยม (Individualism) 1.4 ปรากฎการณ์นิยม (Phenomenalism) 1.5 ตัวตนนิยม (Existenialism)

  6. 2. ญาณวิทยา (Epistemology) เพื่อค้นหาว่า อะไรคือความรู้ โดยแบ่งเป็น 5 ระบบความคิด ได้แก่ 2.1 เหตุผลนิยม (Rationalism) 2.2 ประจักษ์นิยม (Empiricism) 2.3 ปฏิบัตินิยม (Pragmatism) 2.4 สัญชาตญาณนิยม (Intuitionism) 2.5 สงสัยนิยม (Skepticism)

  7. 3.คุณค่าวิทยา (Axiology) มุ่งเน้นเพื่อค้นหาว่า อะไรคือคุณค่า ซึ่งแยกเป็น • - จริยศาสตร์ (Ethics) • - สุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) • ซึ่งแบ่งระบบความคิดออกเป็น 3 ระบบ ได้แก่ • 3.1 สมบูรณ์นิยม (Absolutism) • 3.2 สัมพัทธ์นิยม (Ralativism) • 3.3 อรรถประโยชน์นิยม (Utilitarianism)

  8. ปรัชญาการเมืองออกเป็น 3 ช่วงเวลา ได้แก่ ปรัชญาการเมืองในยุคต้น (Classical Political Thoughts) ปรัชญาการเมืองในยุคกลาง (Middle age Political Thoughts) ปรัชญาการเมืองในยุคใหม่ (Modern Political Thoughts)

  9. ยุคต้น ยุคต้น ถือว่าเป็นยุคแห่งการบุกเบิกการโต้แย้งทางการเมืองในเชิงหลักเหตุและผลอย่างยิ่ง การแสวงหาความรู้และสัจจะในยุคมักได้จากการแลกเปลี่ยนพูดคุย หรือตั้งคำถามคำตอบระหว่างคู่สนทนา

  10. นักปรัชญาที่สำคัญในยุคนี้ได้แก่ โสเกรติส (Socrates) เพลโต (Plato) อริสโตเติ้ล (Aristotle)

  11. 1. โสเกรติส (Socrates) (469-399 B.C.) และสำนักโสฟิสต์ (Sophist) โสเกรติส เกิดที่กรุงเอเธนส์ ในช่วงที่ใกล้เคียงกับสมัยพุทธกาล ขณะนั้นกลุ่มนักคิดสายสำนักโสฟิสต์กำลังเป็นที่นิยม ซึ่งมีฐานความคิดที่เชื่อว่ากฎหมายหรือประเพณีของมนุษย์นั้นเป็นสิ่งที่แปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย อีกทั้งยังขึ้นอยู่กับตัวบุคคล

  12. นักปรัชญาที่มีอิทธิพลต่อสำนักโสฟิสต์มากที่สุด คือ 1. แอนติฟอน (Antiphon) 2. โปรทากอรัส (Protagoras)

  13. แอนติฟอน แอนติฟอน เป็นนักวาทวิทยา เขียนหนังสือสำคัญ 2 เล่ม คือ The Interpretationof Dreams Concord The statemanและ On Truth คำสอนของเขาเน้นเรื่องการแยกกฎตามธรรมชาติออกจากกฎหมาย แอนติฟอนจึงเชื่อว่า ถ้าไม่มีใครรู้ใครเห็นก็สามารถทำอะไรได้ตามผลประโยชน์ที่ตนเองต้องการ

  14. โปรทากอรัส โปรทากอรัส เป็นโสฟิสต์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำสอนของเขาที่กล่าวว่า "มนุษย์เป็นมาตรวัดสรรพสิ่งทั้งหลาย" (Man is the measure of all things)

  15. โปรทากอรัสแบ่งพัฒนาของการรวมกันเป็นรัฐของมนุษย์ออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะแรกเป็นระยะธรรมชาติ มนุษย์จะเรียนรู้อยู่กับธรรมชาติแต่ไม่สามารถจะจัดระเบียบหรือสร้างระบบในการ ควบคุมกันเองได้

  16. ระยะที่สองเป็นระยะที่มีการรวมกลุ่มกันเป็นคณะและแสวงหาวิธีที่จะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน แต่ก็ยังไม่พบวิธีที่ลงตัวแก่ทุกฝ่าย มนุษย์จึงทำร้ายกัน ระยะที่สาม เป็นระยะอันสมบูรณ์ โดยเขาเชื่อว่าพระเจ้า หรือซุส (Zeus) จะประทานความสงบสันติระเบียบกฎเกณฑ์ ระบบต่าง ๆ ทางสังคม และความเที่ยงธรรมลงมา

  17. โสเกรติสไม่เห็นด้วยกับวิธีคิดและหลักการของสำนักโสฟิสต์เลย แต่โสเกรติสมิได้เขียนบันทึกความคิดหรือเหตุการณ์ใด ๆ ไว้ ดังนั้น ส่วนใหญ่เราศึกษาความคิดทางการเมืองของโสเกรติสผ่านทางหนังสือที่เพลโตเขียนเอาไว้มากกว่า โดยหลักการแล้วโสเกรติสมีทัศนะว่าความเที่ยงธรรมนั้นต้องตัดสินด้วยกฎหมายเท่านั้น และต้องปฏิบัติตามกฎหมาย

  18. 2. เพลโต (Plato) (427-347 B.C) เพลโต เป็นลูกศิษย์ใกล้ชิดของโสเกรติส เขาได้เปิดสำนักของเขาเองเรียกว่า "อะเคเดมี" (The Academy) โดยเน้นสอนในเรื่องสัจจความจริง สุนทรียศาสตร์ และการเมืองกับชีวิต นอกจากนั้น เพลโต ได้เขียนหนังสือที่เป็นชุดแห่งความคิดของเขาไว้หลายเล่ม แต่ที่จะสำคัญที่สุดคงได้แก่หนังสือเรื่อง The Apologyและ The Republic

  19. The Apology The Apologyสาระสำคัญของหนังสือเล่มนี้มุ่งเสนอกรณีประหารชีวิตของโสเกรติส และการจากเสียชีวิตของโสเกรติสทำให้เพลโตเชื่อว่า กฎหมายที่ดีต้องอยู่กับคนที่เป็นคนดีเท่านั้น ซึงนั่นเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้เพลโตปฏิเสธต่อประชาธิปไตย และหันมาสนับสนุนบรรดานักปราชญ์หรือนักปรัชญาให้เป็นผู้ปกครองรัฐดีกว่าพวกประชาธิปไตยที่เน้นพวกมากลากไป

  20. The Republic The Republicเป็นข้อเขียนที่เพลโตตั้งคำถามว่า "อะไรคือความเที่ยงธรรม" และ "อะไรคือคุณภาพชีวิตที่ดีของมนุษย์" ซึ่งเขาได้ตั้งคำถาม 4 คำถาม ได้แก่ 1.จะสร้างคนดีต้องทำอย่างไร แล้วอะไรคือนิยามของคนดี 2.จะสร้างรัฐที่ดีต้องทำอย่างไร แล้วอะไรคือรัฐที่ดี 3.อะไรคือความรู้สูงสุดยอด แล้วจะหาได้อย่างไร 4.รัฐจะทำอย่างไรให้มนุษย์ในรัฐมีความรู้สุดยอด

  21. 3. อริสโตเติ้ล (Aristotle) (384-322 B.C.) อริสโตเติ้ล เป็นศิษย์ของเพลโต และเปิดสำนักของตนเองภายใต้ชื่อ ลิเสียม (Lyceum) อริสโตเติ้ล ก็ได้เขียนหนังสือไว้หลายเล่มล้วนแต่มีนัยสำคัญทางการเมืองการปกครอง และหนังสือที่ได้รับการอ้างอิงมากที่สุดของเขาก็คือ The Politics

  22. The Politicsแบ่งสาระสำคัญออกเป็นเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ การรวมตัวกันในทางการเมือง(Political Association) เหตุผลการรวมตัวในทางการเมืองมี 2 ประการ คือ ประการแรก ทุกรัฐต่างก็มีธรรมชาติในการรวมกลุ่ม ประการที่สอง การรวมกลุ่มมีจุดประสงค์เพื่อบรรลุเป้าประสงค์อันเดียวกัน

  23. มนุษย์กับรัฐ(Man and Polis) อริสโตเติ้ลให้เหตุผลว่า มนุษย์ขาดรัฐไม่ได้ เพราะรัฐถือเป็นพื้นที่ในการรวมกลุ่มทางการเมือง หากมนุษย์แยกตนเอง (Isolate) ออกจากรัฐ มนุษย์ก็จะเผชิญหน้ากับความขาดแคลนทั้งชีวิต (Not-being self-sufficient)

  24. การปกครองกับผู้ตกภายใต้การปกครองการปกครองกับผู้ตกภายใต้การปกครอง (Rule and Subordination) อริสโตเติ้ล เชื่อว่า ภายใต้ระบบของรัฐ ต้องมีคนที่ปกครอง (Who rules)และต้องมีผู้ถูกปกครอง (Who is ruled) ซึ่งประเด็นนี้ อริสโตเติ้ลยืนยันในท้ายที่สุดว่า บางคนเท่านั้นที่จะเกิดมามีอิสระในขณะที่บางคนเกิดมาพร้อมกับสถานภาพที่ตกเป็นผู้รับใช้ (Slave)

  25. พลเมืองกับรัฐธรรมนูญ(Citizenship and Constitution) อริสโตเติ้ล นิยามว่า พลเมืองควรจะต้องเป็นกลุ่มคนที่ให้สัตยาบันต่อรัฐธรรมนูญอันเดียวกัน โดยต้องยอมรับในการบริหารและกระบวนการยุติธรรมอันเดียวกัน

  26. ปรัชญาการเมืองในยุคกลาง (Middle age Political Thoughts) ปรัชญาการเมืองเป็นความคิดที่ผูกติดอยู่กับเรื่อง "เทววิทยา" (Theology) เนื่องจากประชาชนในขณะนั้นส่วนใหญ่เป็นคริตสศาสนิกชน นักปรัชญาการเมืองที่สำคัญในยุคนี้มักจะเป็นบาทหลวง หรือนักบวชในคริสตศาสนา

  27. 1. เซนต์ ออกัสติน (St.Augustine) (A.D.354 - 430) ซึ่งเป็นบาทหลวงของเมืองฮิปโป (Hippo) เขาอยู่ในช่วงที่จักรวรรดิ์โรมันล่มสลาย มีการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองการปกครองอย่างรุนแรงมาก จากเดิมที่โรมันเคยปฏิเสธต่อคริสตศาสนา ได้สถาปนาให้คริสตศาสนาเป็นศาสนาประจำอาณาจักร ดังนั้นหนังสือ City of Godที่เขียนโดยเซนต์ออกัสตินจึงเป็นที่แพร่หลาย เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ในขณะนั้นเชื่อว่าหนังสือดังกล่าวเป็นต้นตำรับความคิดดั่งเดิมของชาวคริสต์

  28. 2. เซนต์ โธมัส อไควนัส (St. Thomas Aquinas) (1224-1274) เขาเกิดที่เมืองเนเปิ้ล (Naples) เป็นนักปรัชญาการเมืองในแนวคริตส์นิยมปลายยุคกลาง อไควนัส มีความชำนาญในเรื่องการวิเคราะห์เทววิทยาทางการเมือง (Theologian Politics) เป็นอย่างมาก และเขาพยายามศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดแบบ Augustinianism กับ Aristotlelianism

  29. แนวคิดแบบ Augustinianism มองว่า มนุษย์จะมีความสุขเป็นนิรันดร์ก็ต่อเมื่อได้ชำระล้างบาปกรรมในจิตวิญญาณโดยอำนาจของพระเจ้า ขณะที่แนวคิดแบบ Aristotlelianism มองว่า มนุษย์มีความสุขได้โดยการเป็นสมาชิกของประชาคมการเมือง (Political Community)

  30. ปรัชญาการเมืองในยุคสมัยใหม่ (Modern Political Thoughts) ในยุคนี้มีนักปรัชญาการเมืองเกิดขึ้นมากมาย ทั้งนี้เนื่องจากระบบการจดบันทึก และศิลปวิทยาการก้าวหน้าไปมาก จึงทำให้เกิดนักคิด นักเขียนเรื่องราวทางการเมืองมากเป็นดอกเห็ด

  31. 1. นิโคลโล เมเคียวเวลลิ (Niccolo Machiavelli) (1469 - 1527) เมเคียวเวลลิได้รับการยกย่องให้เป็นนักปรัชญาสายสมัยใหม่ที่มีความสำคัญต่อความคิดทางการเมืองและการปกครอง ในขณะที่ในยุคกลางสนใจอยู่กับเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า เมเคียวเวลลิกลับสนใจในเรื่องการรวมกลุ่ม และการรักษาอำนาจ (Organization and Preservation of Power)

  32. งานเขียนของเมเคียวเวลลิ ที่สำคัญมี 2 ชิ้น คือ The Princeชี้ให้เห็นถึงบทบาทของผู้ปกครองในการสงวน และขยายอำนาจการปกครอง โดยการกล่าวถึงบทบาทในฐานะเจ้าผู้ปกครอง โดยเฉพาะการเป็น "เจ้า" คนใหม่ Discourses on Livyเน้นที่จะอธิบาย "สาธารณรัฐ" โดยให้เหตุผลว่าเป็นสิ่งที่ประชาชนพึงปรารถนาและดีที่สุด

  33. 2. โธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) (1588 - 1679) ฮอบส์ เกิดท่ามกลางห้วงเวลาสงครามกลางเมืองในอังกฤษ ทำให้เขามีความรู้สึกว่าสงครามเป็นสิ่งโหดร้าย เขาจึงเกิดแนวคิดในเรื่องการให้มนุษย์มาร่วมกันสละอำนาจตามธรรมชาติให้แก่บุคคลที่สามเพื่อปกครอง ซึ่งเขาเรียกว่าแนวคิดการทำ สัญญาทางสังคม(Social Contract)

  34. ในหนังสือ Leviathanได้รับอิทธิพลโดยตรงจาก ปัจจัยสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ ประการแรก - เกี่ยวกับสงครามกลางเมืองในคริสตศตวรรษที่ 17 ประการที่สอง - ปรัชญาทางด้านวิทยาศาสตร์ ประการสุดท้าย - ความคิดทางด้านกลศาสตร์ (Machanism)

  35. Leviathan มีเนื้อหาที่สำคัญที่เป็นหลักการดังนี้ 1.มนุษย์ทุกคนโดยธรรมชาติแล้ว ต่างแข่งขันกัน มีความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน และต้องการแสวงหาลาภยศใส่ตัวเสมอ 2.หากผู้ใดไม่ชอบสิ่งใด ก็ต้องไม่ทำสิ่งนั้นแก่ผู้อื่นเช่นกัน 3.สังคมจะสงบได้ต้องให้มนุษย์มาทำสัญญาร่วมกัน โดยสละสิทธิอำนาจที่ตนมีอยู่ให้แก่บุคคลที่สาม โดยเมื่อสละให้แล้วไม่สามารถเรียกคืนได้

  36. 4.มนุษย์เป็นผู้สละอำนาจให้แก่คนกลางเพื่อสร้างอำนาจอธิปไตย ดังนั้น สัญญาทางสังคม และอำนาจอธิปไตย จึงเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น 5.ผู้มีอำนาจอธิปไตยที่รับมอบมาจากบุคคลอื่นย่อมเหนือกว่าบุคคลทั้งหลาย 6.สิทธิที่คงเหลือหลังจากมอบให้แก่บุคคลที่สามแล้ว (องค์อธิปัตย์) มีเพียงสิทธิการป้องกันตนเอง และสิทธิที่จะปฏิเสธการให้ไปเสียชีวิตเท่านั้น

  37. 3. จอห์น ล๊อค (John Locke) (1632 - 1704) ล๊อค เป็นชาวอังกฤษ และเป็นนักปรัชญาการเมืองสายเสรีนิยมตะวันตก (Western Liberalism) ได้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด (Oxford University) งานเขียนของเขาชื่อ Two Treatises of Government

  38. Two Treatises of Government สรุปสาระสำคัญ ๆ 6 ประเด็น คือ ประเด็นแรก ล๊อคปฏิเสธเทววิทยาที่อ้างว่าเป็นเทวสิทธิให้กษัตริย์อังกฤษมีพระราชอำนาจปกครองประเทศด้วยความชอบธรรม ประเด็นที่สอง ล๊อคเชื่อว่า ชีวิตเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิที่มนุษย์ไม่ควรทำลายกันเอง ประเด็นที่สาม มนุษย์เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ และมี เหตุผล

  39. ประเด็นที่สี่ ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพในทรัพย์สิน อำนาจของรัฐบาลต้องเข้ามาดูแลปกปักรักษา ประเด็นที่ห้า ประชาชนต้องสละสิทธิของตนที่มีอยู่ตามธรรมชาติเพื่อมาสร้างสัญญาประชาคม (Social Contract) ประเด็นสุดท้าย รัฐบาลเป็นผู้ใช้อำนาจที่มาจากประชาชน และทำหน้าที่เป็นปกครองดูแล ดังนั้น หากรัฐบาลทำลายชีวิตและทรัพย์สินตลอดจนเสรีภาพของประชาชน ประชาชนเหล่านั้นมีสิทธิที่จะทวงอำนาจและสิทธิที่เคยมอบไว้ให้คืนกลับมาได้

  40. 4.ฌอง ฌาง รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) (1712 - 1778) รุสโซ เกิดที่เมืองเจนีวาในครอบครัวที่ฐานะตกอับอย่างมาก เขาได้เข้าเป็นศาสนิกชนนิกายแคทอลิค (Catholic) รุสโซ เป็นผู้ใฝ่หาความรู้ด้วยตนเองตลอดมา แม้ว่าเขาจะมีระดับการศึกษาน้อยก็จริง แต่เขามีความคิดในเชิงวิพากษ์ที่ยอดเยี่ยม จนเป็นที่ยอมรับในกลุ่มนักปรัชญาสาย "แสงสว่างทางปัญญา"(Enlightenment)

  41. The Social Contract ผลงานของรุสโซสะท้อนความคิดทางการเมืองว่าด้วยเรื่องสัญญาประชาคม โดยสรุปแล้วมีสาระที่น่าสนใจอยู่ 5 ข้อ ข้อแรก รุสโซชี้ให้เห็นถึงเอกภาพของรัฐ ข้อที่สอง เขาพยายามกล่าวถึงความคิดเรื่องการเคารพประโยชน์ส่วนรวม

  42. ข้อที่สาม อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ข้อที่สี่การใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการแสดงเจตจำนง ข้อที่ห้า ขจัดกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยที่ฉุดรั้งเอกภาพของสังคม ซึ่งหนังสือเล่มนี้เป็นมูลเหตุทางปัญญาที่นำไปสู่การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี 1789

  43. ตารางเปรียบเทียบแนวคิดเรื่อง สัญญาประชาคมของฮอบส์ ล๊อคและ รุสโซ

  44. 5. อาดัม สมิธ (Adam Smith) (1723 - 1790) สมิธ เป็นชาวสก๊อต อยู่ในกลุ่มสาย "แสงสว่างทางปัญญา"(Enlightenment) เขาเป็นอาจารย์สอนในเรื่องปรัชญาจริยศาสตร์ที่เมือง Glasgow ผลงานเขียนของเขาที่ชื่อ The Wealth of Nationsที่ออกในปี 1776 นับได้ว่าเป็นตำราทางด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองแบบเสรีนิยมเล่มแรก ๆ

  45. สมิธ มีความเชื่อว่า ระบบเศรษฐกิจมีระบบตามธรรมชาติที่ดีอยู่แล้ว โดยอาศัยกระบวนการการแข่งขันกันอย่างเสรี ผลประโยชน์ส่วนบุคคล และความเป็นเจ้าของ (Entrepreneurialism) ของปัจจเจกชน เขาจึงเสนอว่า “รัฐบาลควรเข้ามายุ่งเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจของสังคมให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้”

  46. จุดประสงค์หลัก ของการศึกษาวิชาปรัชญาการเมืองก็คือ การเข้าใจพื้นฐานความคิดที่มีคุณูปการต่อระบบความคิดทางการเมืองในโลกปัจจุบัน การศึกษาวิชาปรัชญาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ จำเป็นอย่างยิ่งต้องเข้าใจถึงพลวัตของการเปลี่ยนถ่ายระบบความคิดที่ส่งต่อจากยุคดั่งเดิมไปสู่ยุคกลาง และไปสู่ยุคใหม่

More Related