1 / 58

บรรษัทภิบาลกับตลาดการเงิน

บรรษัทภิบาลกับตลาดการเงิน. บริษัทเป็นรูปแบบขององค์กรประเภทหนึ่งที่สร้างมูลค่าใหม่ทางเศรษฐกิจ ความสามารถในการแข่งขันของบริษัทมีความสำคัญยิ่งสำหรับประเทศ.

Download Presentation

บรรษัทภิบาลกับตลาดการเงิน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บรรษัทภิบาลกับตลาดการเงินบรรษัทภิบาลกับตลาดการเงิน บริษัทเป็นรูปแบบขององค์กรประเภทหนึ่งที่สร้างมูลค่าใหม่ทางเศรษฐกิจ ความสามารถในการแข่งขันของบริษัทมีความสำคัญยิ่งสำหรับประเทศ ในขณะที่บรรษัทภิบาล หมายถึง วิธีการภายในของบริษัทในการปฏิบัติงานให้ประสบความสำเร็จ โดยเป็นที่ยอมรับกันว่าบรรษัทภิบาลที่ดีสามารถมีผลในทางบวกต่อการปฏิบัติงานทางเศรษฐกิจของประเทศ และบรรษัทภิบาลที่โปร่งใสเป็นกุญแจสำคัญของบริษัทในการเข้าถึงตลาดทุนระดับโลกาภิวัฒน์

  2. ความเป็นมาของบรรษัทภิบาลความเป็นมาของบรรษัทภิบาล บรรษัทภิบาลมีรากฝังลึกในทฤษฎีทางนิติศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ เป็นการแยกระหว่างการเป็นเจ้าของและการควบคุม ซึ่งนำไปสู่ความสัมพันธ์ของตัวการตัวแทน คำว่า“บรรษัทภิบาล” (corporate governance) เป็นคำกล่าวสมัยใหม่ของประเด็นปัญหา ที่สำคัญคือ ปัญหาความรับผิดชอบต่อผลปฏิบัติงานตามหน้าที่

  3. ความเป็นมาของบรรษัทภิบาลความเป็นมาของบรรษัทภิบาล ระบบการกำกับดูแลได้รับการพิจารณาทบทวนในหลายๆ ประเทศด้วย เหตุผลต่างกัน เช่น ในประเทศอังกฤษ อันเป็นผลเนื่องจากการประพฤติมิชอบต่างๆ ในการจัดการและการเงินของบริษัทขนาดใหญ่หลายแห่งของประเทศ สำหรับประเทศอื่นในยุโรป การแปรรูปรัฐวิสาหกิจทำให้เกิดความเป็นห่วงตามมาเกี่ยวกับสิทธิของผู้ลงทุน เรื่องอื้อฉาว และการประพฤติมิชอบในบริษัท ความโปร่งใสที่อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ต่างได้สนับสนุนและผลักดันให้เกิดระบบบรรษัทภิบาลกิจการขึ้น

  4. ความหมายของบรรษัทภิบาลความหมายของบรรษัทภิบาล "บรรษัทภิบาล" และ "การกำกับดูแลกิจการ" มาจากคำ ๆเดียวกันคือ "Corporate Governance" บรรษัทภิบาลมีความหมายหลากหลายแล้วแต่มุมมองเช่น 1. เป็นความสัมพันธ์อย่างหนึ่งระหว่างคณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ และผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียอื่นในการกำหนดทิศทาง และสอดส่องดูแลผลปฏิบัติงานของบริษัท

  5. ความหมายของบรรษัทภิบาลความหมายของบรรษัทภิบาล 2. เป็นโครงสร้างและกระบวนการภายในที่จัดขึ้นเพื่อให้ความมั่นใจว่า คณะกรรมการสามารถประเมินผลงาน ของฝ่ายจัดการของบริษัทอย่างตรงไปตรงมา และมีประสิทธิผล 3.ระบบที่จัดให้มีกระบวนการและโครงสร้างของภาวะผู้นำ และการควบคุมของกิจการ ให้มีความรับผิดชอบตามหน้าที่ด้วยความโปร่งใส และสร้างความสามารถในการ แข่งขันเพื่อรักษาเงินลงทุน และเพิ่มคุณค่าให้กับผู้ถือหุ้นในระยะยาว ภายในกรอบการมีจริยธรรมที่ดี

  6. ความแตกต่างระหว่างการกำกับดูแลและการจัดการ โดยทั่วไปฝ่ายจัดการจะมีบทบาทในการดำเนินการบริษัท ส่วนคณะกรรมการจะมีบทบาทในการดูว่าหน้าที่ในการจัดการดังกล่าวได้ดำเนินไปด้วยดีและเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง โดยทั่วไปการจัดการดำเนินไปตามลำดับชั้นของความรับผิดชอบพร้อมด้วยการมอบหมายให้มีอำนาจตามหน้าที่ ในทางตรงข้าม ผู้เป็นกรรมการทุกคนจำเป็นต้องทำงานด้วยกันอย่างเท่าเทียมกัน มีหน้าที่และความรับผิดชอบเท่าเทียมกันตามกฎหมาย

  7. ความสัมพันธ์ของผู้ถือหุ้น คณะกรรมการและฝ่ายจัดการ ตามระบบกฎหมายโดยทั่วไปมีบุคคล3กลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในด้านการจัดการและการสอดส่องดูแลได้แก่กรรมการ เจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทเรียกรวมว่า“ฝ่ายจัดการ”และกลุ่มของผู้ถือหุ้นของบริษัททั้ง3 กลุ่มต่างมีบทบาทที่แตกต่างกันภายในกิจการ

  8. บทบาทของคณะกรรมการ • คณะกรรมการ • ภาวะผู้นำ ควบคุม และกำหนดนโยบาย • ปฏิบัติงานด้วยความสุจริตและระมัดระวัง • มอบหมายให้ฝ่ายจัดการเป็นตัวแทน

  9. บทบาทของเจ้าหน้าที่บริหารหรือฝ่ายจัดการของบริษัทบทบาทของเจ้าหน้าที่บริหารหรือฝ่ายจัดการของบริษัท • ฝ่ายจัดการ • ปฏิบัติงานตามนโยบายของคณะกรรมการ • ให้ความมั่นใจว่าการปฏิบัติงานสอดคล้องกัน • ปฏิบัติงานด้วยความสุจริตและระมัดระวัง

  10. บทบาทของผู้ถือหุ้น • ผู้ถือหุ้น • มอบหมายคณะกรรมการให้เป็นตัวแทน • ติดตามประเมินผลของคณะกรรมการ

  11. นอกจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทั้ง 3 กลุ่มแล้วยังมี กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียอื่นด้วย ได้แก่ ลูกค้า คู่ค้า นายธนาคาร ลูกจ้าง และประชาคม นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มผู้คอยกำกับและควบคุมการแสดง ได้แก่ ภาครัฐ และผู้สอบบัญชีอิสระ รวมไปถึงสังคมโดยรวม ดังนั้นจึงมีความสำคัญที่ต้องรู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลายในบริษัท ซึ่งได้แก่ ผู้ถือหุ้น คณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ ผู้มีส่วนได้เสียอื่น ผู้กำกับตรวจสอบ

  12. หลักการการกำกับดูแลกิจการที่ดีหลักการการกำกับดูแลกิจการที่ดี ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดีและเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นให้บริษัทมีการนำแนวทางดังกล่าวไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ตลาดหลักทรัพย์จึงได้เลือกหลักการของการกำกับดูแลกิจการที่ดีจำนวน 15 ข้อ เพื่อให้บริษัทสามารถนำไปถือปฏิบัติในขั้นเริ่มแรก และเปิดเผยการปฏิบัติตามหลักการดังกล่าวในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) และรายงานประจำปีของบริษัท

  13. หลักการของการกำกับดูแลกิจการที่ดีจำนวน15ข้อหลักการของการกำกับดูแลกิจการที่ดีจำนวน15ข้อ 1. นโยบายเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการ 2. ผู้ถือหุ้น : สิทธิและความเท่าเทียมกัน 3. สิทธิของผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ 4. การประชุมผู้ถือหุ้น 5. ภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์ 6. ความขัดแย้งของผลประโยชน์

  14. 7. จริยธรรมธุรกิจ 8. การถ่วงดุลของกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร 9. การรวมหรือแยกตำแหน่ง 10. ค่าตอบแทนของกรรมการและผู้บริหาร 11. การประชุมคณะกรรมการ 12. คณะอนุกรรมการ 13. ระบบการควบคุมและการตรวจสอบภายใน 14. รายงานของคณะกรรมการ 15. ความสัมพันธ์กับผู้ลงทุน

  15. ประโยชน์ของบรรษัทภิบาลประโยชน์ของบรรษัทภิบาล 1.ทำให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency and Effectiveness) ในการดำเนินงาน 2.ทำให้บริษัทมีความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) 3.เพิ่มความเชื่อมั่นแก่ผู้เกี่ยวข้อง (Stakeholders Confidence) 4.สร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผู้ถือหุ้น (Shareholder Values) 5. การมีบรรษัทภิบาลจะทำให้บริษัทสามารถระดมทุนได้ง่ายรวมทั้งมีต้น ทุนที่ต่ำ

  16. ปัญหาที่เกิดขึ้นในบรรษัทภิบาล ประเด็นของการกำกับดูแลเกิดขึ้นในองค์กรเมื่อมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์เกิดขึ้น ได้แก่ °- ผู้บริหารกับกรรมการภายนอกในประเด็นต่างๆเช่นการกำหนดระดับค่าตอบแทนที่เหมาะสมแก่ผู้บริหารเป็นต้น °- ผู้ถือหุ้นกับกรรมการและ/หรือผู้บริหารในประเด็นที่เกี่ยวกับขั้นความสามารถและความซื่อสัตย์ที่คาดหวังจากกรรมการและผู้บริหารของบริษัท

  17. ปัญหาที่เกิดขึ้นในบรรษัทภิบาล - เจ้าหนี้กับผู้ถือหุ้น ในประเด็น เช่น การจ่ายเงินปันผลที่สูงมาก หรือทำให้สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ลดลง °- ลูกจ้างกับผู้บริหาร/กรรมการ/ผู้ถือหุ้นในเรื่องที่เกี่ยวกับค่าจ้างและเงื่อนไขเกี่ยวกับ สวัสดิการ °- ผู้ถือหุ้นกันเองเช่นประเด็นระหว่างผู้ถือหุ้นรายย่อยกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่และผู้ถือหุ้นที่เป็นสถาบัน วัตถุประสงค์ของกิจการก็คือพยายามลดความขัดแย้งเหล่านี้ให้เหลือน้อยที่สุดและสร้างให้มีกลไกการกำกับดูแลต่างๆ ที่อาจดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายนี้

  18. บรรษัทภิบาลกับตลาดการเงินบรรษัทภิบาลกับตลาดการเงิน • ความสัมพันธ์กับตลาดการเงิน • บรรษัทภิบาลในประเทศไทย • ข้อดีของการมีบรรษัทภิบาลต่อตลาดการเงิน • กรณีศึกษา

  19. ความสัมพันธ์กับตลาดการเงินความสัมพันธ์กับตลาดการเงิน • ตลาดการเงินทำหน้าที่ระดมเงินทุนจากผู้มีเงินเหลือไปให้กับผู้ที่ต้องการใช้เงินทุนนั้น • มูลค่าของตราสารทางการเงินในตลาดการเงินส่วนใหญ่มักผูกติดกับสิทธิเรียกร้องที่มีต่อรายได้หรือกระแสเงินสดของบริษัทในอนาคต • ความน่าเชื่อถือของบริษัทที่ออกตราสารดังกล่าวจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจเลือกลงทุนของนักลงทุน

  20. ความสัมพันธ์กับตลาดการเงินความสัมพันธ์กับตลาดการเงิน • บรรษัทภิบาล ตลาดการเงิน บริษัทที่มีบรรษัทภิบาลที่ดีจะทำให้ผู้ลงทุนเกิดความเชื่อมั่นที่จะเข้ามาลงทุนและช่วยให้การระดมทุนเพื่อขยายกิจการในอนาคตทำได้ง่ายขึ้นซึ่งจะส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ของตลาดการเงินโดยรวมอีกด้วย

  21. ความสัมพันธ์กับตลาดการเงินความสัมพันธ์กับตลาดการเงิน • ตลาดการเงิน บรรษัทภิบาล แม้ตลาดสินค้าจะมีการแข่งขันสูงแต่ถ้าตลาดการเงินไม่มีประสิทธิภาพก็อาจทำให้แรงจูงใจของบริษัทในการรักษาบรรษัทภิบาลที่ดีลดลงได้ เช่น - ผู้ลงทุนสนใจลงทุนระยะสั้นหรือเก็งกำไรมากกว่าการได้รับผลตอบแทนระยะยาวโดยมองเพียงราคาตลาดไม่ได้มองถึงมูลค่าที่แท้จริงของบริษัท - การบริหารงานของบริษัทที่ถูกแทรกแซงโดยภาครัฐ

  22. ความสัมพันธ์กับตลาดการเงินความสัมพันธ์กับตลาดการเงิน บรรษัทภิบาลกับตลาดการเงินมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างใกล้ชิด

  23. บรรษัทภิบาลในประเทศไทยบรรษัทภิบาลในประเทศไทย • บริษัทจดทะเบียนกับบรรษัทภิบาล - บริษัทจดทะเบียน - สถาบันการเงิน • นักลงทุนกับบรรษัทภิบาล - การเปิดเผยข้อมูลให้กับนักลงทุน - บทบาทของนักลงทุนที่มีต่อการส่งเสริมบรรษัทภิบาล

  24. บริษัทจดทะเบียนกับบรรษัทภิบาลบริษัทจดทะเบียนกับบรรษัทภิบาล • บริษัทจดทะเบียน (1) โครงสร้างด้านผู้ถือหุ้น - ธุรกิจครอบครัว ข้อดี บริษัทจะมีความคล่องตัวในการดำเนินงาน จุดอ่อน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่เอาเปรียบผู้ลงทุนภายนอก

  25. บริษัทจดทะเบียนกับบรรษัทภิบาลบริษัทจดทะเบียนกับบรรษัทภิบาล • บริษัทจดทะเบียน (1) โครงสร้างด้านผู้ถือหุ้น(ต่อ) - การถือหุ้นไขว้กัน หรือการถือหุ้นผ่านตัวแทนของตนเอง(Nominee) - ผู้ลงทุนวงนอก( outside investor ) ซึ่งได้แก่ เจ้าหนี้ ผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และผู้ลงทุนรายย่อย ไม่สามารถรวมตัวกันเพื่อคานอำนาจผู้ถือหุ้นรายใหญ่ +เน้นการลงทุนในระยะสั้น จึงไม่ได้ให้ความสำคัญกับปัจจัยพื้นฐาน และเมื่อพบการกระทำมิชอบของบริษัทก็มักเลือกขายหุ้นเพื่อตัดขาดทุนมากกว่าดำเนินการฟ้องร้องค่าเสียหายกับบริษัทหรือผู้บริหาร

  26. บริษัทจดทะเบียนกับบรรษัทภิบาลบริษัทจดทะเบียนกับบรรษัทภิบาล • บริษัทจดทะเบียน (2) โครงสร้างด้านการบริหารงาน - เนื่องจากโครงสร้างการถือหุ้นที่มีลักษณะเป็นธุรกิจครอบครัว กรรมการและฝ่ายจัดการของบริษัทส่วนใหญ่จึงมักเป็นบุคคลในกลุ่มเดียวกัน และเป็นตัวแทนของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ - ผู้ถือหุ้นรายใหญ่สามารถทำหน้าที่ทั้งด้านการกำหนดนโยบายและควบคุมการดำเนินงานของบริษัท โดยไม่มีระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลเท่าที่ควร

  27. บริษัทจดทะเบียนกับบรรษัทภิบาลบริษัทจดทะเบียนกับบรรษัทภิบาล • บริษัทจดทะเบียน (2) โครงสร้างด้านการบริหารงาน (ต่อ) - การแต่งตั้งกรรมการมักกระทำเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของทางการ หรือเป็นการให้เกียรติ หรือสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ได้รับแต่งตั้ง มากกว่าการแต่งตั้งเพื่อให้บุคคลนั้นทำหน้าที่ช่วยเหลือ หรือตรวจสอบการดำเนินงานของบริษัทอย่างแท้จริง - กรรมการอิสระไม่สามารถทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นรายย่อยได้

  28. บริษัทจดทะเบียนกับบรรษัทภิบาลบริษัทจดทะเบียนกับบรรษัทภิบาล • บริษัทจดทะเบียน (2) โครงสร้างด้านการบริหารงาน (ต่อ) - กรณีบริษัทจดทะเบียนที่เป็นรัฐวิสาหกิจ มักจะได้สิทธิผูกขาด หรือเป็นผู้ประกอบการหลักในอุตสาหกรรมนั้น ๆ ประกอบกับภาครัฐมักจะช่วยเหลือในการจัดหา หรือค้ำประกันเงินทุนเพื่อดำเนินธุรกิจให้ จึงมักขาดความกระตือรือร้นที่จะสร้างความสามารถในการแข่งขันในเชิงธุรกิจและปรับปรุงการกำกับดูแลกิจการของตนเอง

  29. บริษัทจดทะเบียนกับบรรษัทภิบาลบริษัทจดทะเบียนกับบรรษัทภิบาล • สถาบันการเงิน - โครงสร้างเงินทุนของบริษัทในประเทศไทยมาจากการกู้ยืมโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสถาบันการเงินมากกว่าการระดมทุนจากผู้ถือหุ้น - ดังนั้น สถาบันการเงินจึงน่าจะเป็นผู้ที่มีบทบาทที่สำคัญในการผลักดันให้บริษัทต้องมีบรรษัทภิบาลที่ดีโดยผ่านหลักเกณฑ์การพิจารณาให้สินเชื่อ

  30. บริษัทจดทะเบียนกับบรรษัทภิบาลบริษัทจดทะเบียนกับบรรษัทภิบาล • สถาบันการเงิน อย่างไรก็ตาม สถาบันการเงินส่วนมากมักจะไม่ได้ใช้หลักความระมัดระวัง และเกณฑ์การพิจารณาที่เข้มงวดเท่าที่ควร กล่าวคือ - มีการเร่งปล่อยกู้เพื่อขยายฐานะสินทรัพย์ และสร้างกำไรในระยะสั้น - ให้ความสำคัญกับเรื่องหลักประกันมากกว่าบรรษัทภิบาลที่ดีของลูกหนี้ - อาศัยข้อมูลจากงบการเงินภายในบริษัทมากกว่างบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบ - ในการกู้ยืมเงินสถาบันการเงินส่วนมากมักให้กู้ยืมในรูปแบบ O/D ซึ่งเป็นเงินกู้ยืมระยะสั้นแม้ว่าผู้กู้จะนำเงินดังกล่าวไปใช้เพื่อการลงทุนระยะยาว

  31. บริษัทจดทะเบียนกับบรรษัทภิบาลบริษัทจดทะเบียนกับบรรษัทภิบาล • บทบาทของทางการที่กำกับดูแลสถาบันการเงิน - ที่ผ่านมาข้อกำหนดของทางการเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การตั้งสำรองของสถาบันการเงินกำหนดว่า สถาบันการเงินยังไม่จำเป็นต้องตั้งสำรองหากหลักประกันของลูกหนี้ยังคุ้มมูลหนี้อยู่แม้ว่าหนี้ดังกล่าวจะเข้าข่ายต้องระงับการรับรู้รายได้แล้วก็ตาม - ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การตั้งสำรองแล้ว โดยใช้หลักกระแสเงินสด(Cash flow) หรือความสามารถในการชำระหนี้มากกว่าหลักประกัน ตามข้อกำหนดใหม่สถาบันการเงินต้องพิจารณากันเงินสำรองสำหรับลูกหนี้ที่ค้างชำระดอกเบี้ยเกินกว่า 3 เดือนนับจากวันครบกำหนดชำระแล้วค่อยนำมูลค่าหลักประกันมาหักออกจากจำนวนที่ต้องกันสำรอง จึงน่าจะทำให้สถาบันการเงินให้ความสำคัญกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้มากขึ้น

  32. นักลงทุนกับบรรษัทภิบาลนักลงทุนกับบรรษัทภิบาล การเปิดเผยข้อมูลให้กับนักลงทุน • ข้อกำหนดของสำนักงาน ก.ล.ต. เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ในปัจจุบัน กำหนดให้ต้องเปิดเผยข้อมูลทั้งที่เป็นด้านการเงิน( financial) และที่ไม่เกี่ยวกับการเงิน( non-financial)ที่สะท้อนถึงจุดอ่อน และจุดแข็งของบริษัท เพื่อให้ผู้ถือหุ้นมีข้อมูลครบถ้วนในการตัดสินใจ • ผู้ถือหุ้นสามารถใช้ข้อมูลที่เปิดเผยในการตัดสินใจซื้อหรือขายหุ้นของบริษัท ซึ่งการกระทำดังกล่าวจะช่วยให้ราคาหุ้นสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของบริษัท

  33. นักลงทุนกับบรรษัทภิบาลนักลงทุนกับบรรษัทภิบาล • การเปิดเผยข้อมูลจะกระทำใน 3 ส่วนหลัก ได้แก่ (1) การเปิดเผยข้อมูลด้านการเงิน บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ต้องจัดส่งงบการเงินทุกสิ้นไตรมาส และสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี โดยงบการเงินดังกล่าวต้องเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป และผ่านการตรวจสอบ/สอบทานโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

  34. นักลงทุนกับบรรษัทภิบาลนักลงทุนกับบรรษัทภิบาล (2) การเปิดเผยข้อมูลที่ไม่ใช่การเงิน - แผนการดำเนินงาน รวมทั้งผลการดำเนินงานของคณะกรรมการตามแผนดังกล่าว - เหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัท - การปฏิบัติตามข้อกำหนดของคณะกรรมการบริษัท ในกรณีที่ทางการได้กำหนดเป็นแนวทางให้บริษัทหรือกรรมการปฏิบัติตาม และกรณีที่กรรมการไม่ได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าวในเรื่องใด ก็ควรเปิดเผยเหตุการณ์ดังกล่าว พร้อมทั้งเหตุผลที่ไม่สามารถปฏิบัติตามได้

  35. นักลงทุนกับบรรษัทภิบาลนักลงทุนกับบรรษัทภิบาล (3) การเผยแพร่ข้อมูลสู่ผู้ลงทุน ปัจจุบันผู้ลงทุนสามารถรับทราบข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนได้หลายวิธี ซึ่งได้แก่ - รายงานต่าง ๆ ที่บริษัทจดทะเบียนต้องจัดส่งให้แก่สำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อเผยแพร่ต่อผู้ลงทุนทั่วไป - การเผยแพร่ข้อมูลของบริษัทจดทะเบียน โดยผ่านระบบ SET SMART ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งได้แก่ ข้อมูลทั่วไปของบริษัท ข้อมูลเกี่ยวกับกรรมการ ผู้ถือหุ้น สิทธิการจองซื้อหุ้น ประวัติการเพิ่มทุน และงบการเงิน เป็นต้น - คำแนะนำด้านการลงทุนจากบริษัทหลักทรัพย์ หรือที่ปรึกษาการลงทุน

  36. นักลงทุนกับบรรษัทภิบาลนักลงทุนกับบรรษัทภิบาล • บทบาทของผู้ถือหุ้นวงนอก - มาตรการประการหนึ่งที่ใช้ในการกำกับดูแลบริษัทได้ก็คือ การสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มกันของผู้ถือหุ้นที่ไม่มีอำนาจในการบริหาร(non-controlling shareholder) ให้มากขึ้น โดยผ่านทางกองทุนรวม หรือในลักษณะที่เป็น activism group ซึ่งคอยสอดส่องดูแลผลการดำเนินงานและการบริหารจัดการของบริษัท

  37. ข้อดีของการมีบรรษัทภิบาลต่อตลาดการเงินข้อดีของการมีบรรษัทภิบาลต่อตลาดการเงิน 1)ช่วยให้ตลาดการเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้น

  38. ข้อดีของการมีบรรษัทภิบาลต่อตลาดการเงินข้อดีของการมีบรรษัทภิบาลต่อตลาดการเงิน 2) ช่วยให้ตลาดการเงินเป็นแหล่งเงินทุนหลักของผู้ที่ต้องการใช้เงินทุน:

  39. ข้อดีของการมีบรรษัทภิบาลต่อตลาดการเงินข้อดีของการมีบรรษัทภิบาลต่อตลาดการเงิน 3) ช่วยสร้างมูลค่าและสภาพคล่องของหลักทรัพย์ในตลาดการเงิน:

  40. กรณีศึกษา

  41. ผลเสียของการมีบรรษัทภิบาลผลเสียของการมีบรรษัทภิบาล • ต่างประเทศ : บริษัท WORLD COM ในปี 2545 มีการตกแต่งบัญชีตัวเลขของ world com เป็นจำนวนเงิน 3.85 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ ส่งผลให้เวิลด์คอมมีรายได้สุทธิในปี 2544 ถึง 1.38 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา แทนที่จะประสบกับภาวะขาดทุน ด้วยการบันทึกบัญชีค่าใช้จ่ายเป็นบัญชีสินทรัพย์ ซึ่งส่งผลให้เกิดการกัดกร่อนความมั่นใจในตลาดหุ้น ในระบบบริหารจัดการทำให้เงินทุนไหลออกจากสหรัฐอเมริกา และส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ รวมถึงความไม่โปร่งใส ในงบการเงินของบริษัท XEROX, MERCK และ QWEST

  42. ผลเสียของการมีบรรษัทภิบาล เกี่ยวกับการตกแต่งบัญชี เพื่อให้ราคาหุ้นของบริษัทพุ่งขึ้นสูง และสร้างความมั่งคั่งร่ำรวยให้กับฝ่ายบริหาร ด้วยการโยกย้ายหนี้สินเป็นจำนวนมาก ออกจากบัญชีและงบการเงินของบริษัท ทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อถือต่องบการเงิน และขาดความเชื่อมั่น ต่อหลักบรรษัทภิบาลของบริษัทจดทะเบียนต่างๆ ซึ่งเคยเป็นสิ่งที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเรียกร้องให้ทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาให้ยึดแนวปฏิบัติในเรื่องของบรรษัทภิบาลมาโดยตลอดแต่กลับเกิดในประเทศของตนเอง

  43. ผลเสียของการมีบรรษัทภิบาล • ไทย : บริษัท Roynet หุ้นรอยเนทที่ปกติไม่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนเท่าไหร่ แต่ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา หุ้นบริษัท รอยเนท มีนักลงทุนแห่เข้าซื้อขายเก็งกำไรจนราคาพุ่งขึ้นหวือหวา หลังจากที่บริษัทประกาศงบการเงินไตรมาสที่ 3 สิ้นสุดเดือนกันยายน 2545 ซึ่งมีกำไรสุทธิกว่า 11 ล้านบาท และเมื่อมีการประกาศงบการเงินไตรมาสที่ 3 ซึ่งมีกำไรเติบโตสูง ขณะที่ผู้บริหารบริษัท และผู้ถือหุ้นใหญ่แอบทยอยขายหุ้นทิ้ง โดยพยายามปิดบังข้อมูลการขายหุ้นของตัวเอง และหลังจากการประกาศงบการเงินไตรมาสที่ 3 ฉบับปรับปรุงแก้ไขใหม่เนื่องจากที่มา

  44. ผลเสียของการมีบรรษัทภิบาล ของรายได้ไม่ชัดเจน ปรากฏว่า ผลการดำเนินงานที่ประกาศรอบแรกโดยมีกำไรสุทธิประมาณ 11 ล้านบาทกลับกลายเป็นผลขาดทุนประมาณ 13 ล้านบาท ทำให้นักลงทุนเกิดความตื่นตระหนก แห่กันขายหุ้นรอยเนททิ้ง จนราคาลดลงจนแทบติดดิน ซึ่งก่อให้เกิดโทษทางอาญา โทษทางแพ่ง และโทษทางสังคมต่อผู้บริหารบริษัท ทำให้เกิดคำถามที่ตามมาคือ ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนที่โกงประชาชนผู้ลงทุน มีเพียงบริษัท รอยเนท จำกัด เพียงแห่งเดียวหรือไม่ และก.ล.ต.และตลาดหลักทรัพย์มีวิธีการอย่างไรที่จะทำให้ประชาชนที่ลงทุนหรือคิดจะลงทุนมีความมั่นใจว่าจะไม่ถูกโกง

  45. การมีบรรษัทภิบาลที่ดีการมีบรรษัทภิบาลที่ดี • การสนับสนุนให้เกิดบรรษัทภิบาลที่ดี - รางวัล Disclosure Award - รางวัล SET Awards 2003

  46. รางวัล Disclosure Award เป็นรางวัลที่จัดเพื่อให้สอดรับกับนโยบายของรัฐบาล ที่กำหนดให้ปี 2545 เป็นปีแห่งการรณรงค์ให้เกิดบรรษัทภิบาลที่ดี มีวัตถุประสงค์เพื่อยกย่องชมเชยบริษัทจดทะเบียนที่มีคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลโดยรวมอยู่ในระดับที่ดี และเพื่อกระตุ้นให้บริษัทจดทะเบียนอื่นเห็นความสำคัญของการเปิดเผยข้อมูลและใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป ซึ่งปรากฏว่า จากบริษัทจดทะเบียนที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าวจำนวน 115 บริษัท มีบริษัทจดทะเบียนที่ได้รับการพิจารณาให้ได้รับรางวัลจำนวน 40 บริษัท มีดังนี้

  47. 1. ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) 2. ธนาคาร กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) 3. บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) 4. บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำ ภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) 5. บริษัท จี เอ็ม เอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) 6. บริษัท จีเอฟพีที จำกัด (มหาชน) 7. บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 8. บริษัท ชิน แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) 9.  บริษัท ซีเฟรช อินดัสตรี จำกัด (มหาชน) 10. บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) 11. บริษัท ดราโก้ พีซีบี จำกัด (มหาชน) 12. ธนาคาร ดีบีเอส ไทยทนุ จำกัด (มหาชน) 13. บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) 14. บริษัท เทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 15. บริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) 16. บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน)17. บริษัท ไทยวาโก้ จำกัด (มหาชน) 18. บริษัท ไทยวาฟูดโปรดักส์ จำกัด (มหาชน)19. บริษัท นวลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) 20. บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)  รางวัล Disclosure Award

  48. 21. บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) 22. บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 23. บริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) 24. บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)25. บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) 26. บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) 27. บริษัทหลักทรัพย์ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) 28. บริษัท ยูไนเต็ด บรอดคาสติ้ง คอร์ปอ เรชั่น จำกัด (มหาชน) 29. บริษัท แลนด์แอนด์เฮาส์ จำกัด (มหาชน) 30. บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสตรี จำกัด (มหาชน)  31. บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) 32. บริษัท ศรีอยุธยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) 33. บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) 34. บริษัทเงินทุน สินอุตสาหกรรมจำกัด (มหาชน) 35. บริษัท อินเตอร์เน็ต ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) 36. บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) 37. บริษัท อีสเทอร์น สตาร์ เรียล เอสเตท จำกัด (มหาชน) 38. บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) 39. บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) 40. บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) รางวัล Disclosure Award

  49. รางวัล SET Awards 2003 "Best Corporate Governance Report" สำหรับ บจ.ที่โดดเด่นในการกำกับดูแล มีทั้งหมด 15 รางวัล คือ 1.บง.กรุงศรีอยุธยา 2.อะโรเมติกส์ 3.บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ 4.บ้านปู 5.ผลิตไฟฟ้า 6.พรีเชียสชิพปิ้ง 7.ธนาคารกสิกรไทย 8.ธนาคารไทยพาณิชย์ 9.ปูนซิเมนต์ไทย 10.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง 11.ปตท.สผ.12. บง.สินอุตสาหกรรม 13.ไทยประกันภัย 14.อุตสาหกรรมสับปะรดไทย และ15.ยัวซ่า แบตเตอรี่

  50. รางวัล SET Awards 2003 • ตัวอย่าง : Non bank : บมจ. ปูนซีเมนต์ไทย (SCC) เป็นบริษัทที่มีอุดมการณ์ในการดำเนินธุรกิจโดยยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย รวมทั้งยึดมั่น ในความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อม สังคม และประเทศชาติ เพื่อประโยชน์อันยั่งยืนร่วมกันอย่างเป็นเอกภาพกว่า20ปีแล้ว มีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจ ตามหลักบรรษัทภิบาลอย่างเคร่งครัด และเป็นรูปธรรม

More Related