1 / 55

วิวัฒนาการผ้าไทย ๔ ภาค

วิวัฒนาการผ้าไทย ๔ ภาค.

Download Presentation

วิวัฒนาการผ้าไทย ๔ ภาค

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิวัฒนาการผ้าไทย ๔ ภาค

  2. มนุษย์รู้จักการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมไม่ต่ำกว่า 4,000 ปีแล้ว จีนเป็นชาติแรกที่นำเส้นใยไหมมาทอ และเป็นผู้ผูกขาดสินค้าผ้าไหมส่งไปขายต่างประเทศนานกว่า 1,000 ปี ความลับเรื่องไหมจึงได้แพร่ไปถึงประเทศญี่ปุ่น และทวีปยุโรป เช่น ฝรั่งเศส อิตาลี และในอินเดียไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าได้รับความรู้ไปจากจีนหรือคิดค้นขึ้นเอง แต่เชื่อว่าอินเดียมีการเลี้ยงไหมมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล เพราะมีบันทึกในพุทธบัญญัติไว้ว่าห้ามสาวกของพระพุทธเจ้าบิณฑบาตผ้าที่ใช้ทำที่รองนั่ง (สันถัต) ที่ทำจากไหม

  3. การทอผ้าเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่เก่าแก่ที่สุดอย่างหนึ่งที่มนุษย์รู้จักทำขึ้นตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จากภาชนะเครื่องปั้นดินเผาโบราณที่พบบริเวณถ้ำผี จังหวัดแม่ฮ่องสอนอายุประมาณ 7,000-8,000 ปีมาแล้ว พบว่ามีการตกแต่งด้วยรอยเชือก โดยนำพืชที่มีใยมาฟั่นให้เป็นเชือก นำมาผูกหรือถักเป็นตาข่าย แล้วพัฒนาเป็นการทอด้วยเทคนิคง่ายๆ คือนำเชือกมาผูกกับไม้หรือยึดไว้ให้เป็นด้ายเส้นยืน แล้วนำอีกเส้นมาพุ่งขัดกันเกิดเป็นผืนผ้าหยาบๆ ขึ้น

  4. รู้จักกับไหม ไหม คือ เส้นใยที่พ่นออกมาจากปากของตัวหนอนไหมที่โตเต็มวัย เพื่อมาห่อหุ้มตัว ป้องกันศัตรูทางธรรมชาติในขณะที่ลอกคราบเป็นตัวดักแด้ ระยะการเจริญเติบโตแบ่งเป็น 5 วัย วัยที่ 1-3 เรียกว่า ไหมวัยอ่อน ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 10 วันไหมแก่คือวัยที่ 4-5 ใช้เวลา 10-12 วัน จากนั้นไหมจะทำรังอีกประมาณ 5-6 วัน เรียกว่าไหมสุก

  5. รู้จักกับหม่อน หม่อนเป็นพืชยืนต้นประเภทไม้พุ่ม เนื้ออ่อน เจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อน และเขตอบอุ่น ปลายใบแหลม ขอบใบอาจหยักเว้ามาก คล้ายใบมะละกอ หรือหยักน้อยคล้ายใบโพธิ์ บางชนิดมีขนเล็กใต้ใบ ลำต้นมีลักษณะกลม ผิวลำต้นเรียบ ไม่มีหนาม

  6. เครื่องมือ เครื่องมือ: กี่, ฟืม(ฟันหวี), ตะกอ(เขาหูก), ไม้ม้วนหรือไม้กำพั้น, กระสวย, ไม้คันเหยียบ

  7. เส้นไหมได้มาอย่างไร ได้โดยการสาวไหม ไหมที่สาวครั้งแรกเรียกว่าหัวไหมลักษณะเส้นไหมจะใหญ่และหยาบ แต่สำหรับเส้นไหมน้อยจะมีเส้นเล็กเรียบเนียนกว่าเวลาทอเส้นไม่สะดุด เมื่อได้เส้นไหมมาก็ต้องฟอกก่อนโดยแช่น้ำด่าง จากนั้นนำมาย้อมหรือหากทอผ้ามัดหมี่ก็ต้องมัดเป็นลวดลายก่อนค่อยย้อมแล้วนำมาเข็นใส่หลอด

  8. ผ้าไทย ๔ ภาค

  9. การทอผ้าในภาคเหนือแถบล้านนาไทย โดยเฉพาะในกลุ่มชาวไทยโยนกหรือไทยยวน และชาวไทยลื้อ ผู้หญิงไทยยวนและไทยลื้อในปัจจุบันนี้ยังรักษาวัฒนธรรมการทอผ้าในรูปแบบและลวดลายที่สืบทอดกันมา โดยเฉพาะการทอซิ่นตีนจก ผ้าขิด และผ้าที่ใช้เทคนิค "เกาะ" เป็นต้น การทอผ้าไหมยกดอกและการทอซิ่นไหมต่อตีนจกยกดิ้นเงินดิ้นทองนั้น รู้จักกันในหมู่เจ้านายชั้นสูงในภาคเหนือและผ้าอีกชนิดหนึ่งที่นิยมคือ หม้อฮ่อมของแพร่

  10. การทอผ้าในภาคกลาง มีกลุ่มชาวไทยยวนและชาวไทยลาวอพยพไปอยู่ พวกไทยลาวมีหลายเผ่าทั้ง พวน โซ่ง ผู้ไท ซึ่งย้ายถิ่นเข้ามาเพราะสงครามหรือเหตุอื่นๆ คนไทยพวกนี้ยังรักษาวัฒนธรรมและเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นไว้ได้ โดยเฉพาะวัฒนธรรมการทอผ้าของผู้หญิงที่ใช้เทคนิคการทำตีนจก และขิดเพื่อตกแต่งผ้า แม้ว่าในปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนไปมาก แต่ก็ยังยึดอาชีพทอผ้าเป็นอาชีพรอง ลวดลายที่ตกแต่งบนผืนผ้าที่ทอโดยกลุ่มชนต่างเผ่ากันในภาคกลางนี้ก็มีลักษณะและสีสันแตกต่างกันจนสามารถจะระบุแหล่งที่ผลิตผ้าได้จากลวดลายและสี

  11. การทอผ้าในภาคอีสาน ในภาคอีสานมีชุมชนตั้งถิ่นฐานโดยอาศัยบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์จากลำห้วย หนองบึง หรือแม่น้ำ กลุ่มคนไทย เชื้อสายลาวเป็นชนกลุ่มใหญ่ของภาคอีสาน กระจายกันอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ และมีวัฒนธรรมการทอผ้าอันเป็นประเพณีของผู้หญิงที่สืบทอดกันมาช้านานเกือบทุกชุมชน แต่ละกลุ่มแต่ละเผ่าก็จะมีลักษณะและลวดลายการทอผ้า ที่แปลกเป็นของตัวเองอย่างชัดเจน โดยเฉพาะผ้ามัดหมี่ ผ้าขิด(แพรวาจากกาฬสินธุ์) และผ้าไหมหางกระรอก

  12. การทอผ้าในภาคใต้ ภาคใต้มีแหล่งทอผ้าที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง โดยเฉพาะแหล่งทอผ้ายกดิ้นเงินดิ้นทอง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากชาวมุสลิม ชาวอาหรับ ที่มาค้าขายและต่อมาได้กลายเป็นที่นิยมในหมู่ชนชั้นสูงของไทย จึงมีการสนับสนุนให้ทอกันเป็นล่ำเป็นสัน โดยเฉพาะที่เมืองนครศรีธรรมราช เมืองสงขลา และที่ตำบล พุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ล้วนเคยเป็นแหล่งทอผ้าที่มีชื่อเสียงมากในอดีต ปัจจุบันผ้ายกเมืองนคร มีผู้บริจาคให้แก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช แต่ไม่มีผู้สืบทอดมากนัก จึงไม่มีการทอกันเป็นล่ำเป็นสันเหมือนสมัยโบราณ

  13. องค์อุปถัมภ์และหน่วยงานส่งเสริมผ้าไทยองค์อุปถัมภ์และหน่วยงานส่งเสริมผ้าไทย

  14. สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

  15. ศูนย์ศิลปาชีพ - จำนวน 34 โครงการ - โครงการศิลปาชีพอย่างเป็นทางการโครงการแรก คือ โครงการทอผ้าไหมมัดหมี่ จังหวัดนครพนม

  16. “เจ้าหญิงดีไซเนอร์” พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์

  17. - ทรงจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนจิตรลดา • ทรงสำเร็จการศึกษาศิลปกรรมศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง จาก คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • ทรงได้รับรางวัลนิสิตดีเด่นประจำปีการศึกษา 2551

  18. ผลงานโดดเด่น

  19. Sirivannavari แบรนด์สิริวัณณวรี

  20. Paris Fashion Week : Spring/Summer 2008 • ได้รับเชิญจากห้องเสื้อปิแอร์บาลแมง ให้จัดแสดงผลงานการออกแบบเสื้อผ้า คอลเลกชั่น“Presence of The Past” จำนวน 39 ชุด ในงานแสดงเสื้อผ้าปารีสแฟชั่นวีค ที่โอเปร่า การ์นิเย กรุงปารีส โดยเสื้อผ้าที่จัดแสดงทรงผสมผสานระหว่างเครื่องแต่งกายแบบชาวตะวันตก กับรูปแบบผ้านุ่งไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ • ตัดเย็บโดยช่างจากวิทยาลัยในวังหญิง โดยใช้ผ้าไหมไทยผสมกับผ้าชีฟองบางเบา เหมาะกับการสวมใส่ในช่วงฤดูร้อน

  21. Paris Fashion Week : Spring/Summer 2009 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ทรงนำผลงานการออกแบบคอลเลกชั่นใหม่ ณ กรองด์ โฮเต็ล กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

  22. กรมหม่อนไหม 1. พัฒนาศักยภาพการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์หม่อนไหม 2. พัฒนาระบบการจัดการสินค้าหม่อนไหม และการตลาดอย่างเป็นระบบ 3. อนุรักษ์และคุ้มครองพันธุกรรมหม่อนไหม นวัตกรรม วัฒนธรรม ภูมิปัญญา 4. ศึกษา วิจัย ทดลองและพัฒนาด้านหม่อนไหม 5. ส่งเสริมและสนับสนุน สร้างระบบเครือข่าย และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต

  23. กิจกรรมส่งเสริมงานผ้าไหมไทย • แสตมป์ผ้าไหมไทย บริษัทไปรษณีย์ไทยได้รับอนุญาตจากกองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็พระบรมราชินีนาถ ให้นำตราสัญลักษณ์นกยูงพระราชทานมาเป็นแบบในการจัดพิมพ์ตราไปรษณียากรชุดพิเศษ

  24. แปลงผ้าไทยสู่เวทีแฟชั่นระดับโลกแปลงผ้าไทยสู่เวทีแฟชั่นระดับโลก

  25. ดีไซน์เนอร์ / แบรนด์ผ้าไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก

  26. Nagara

  27. Nagara (นคร สัมพันธรักษ์ ) เป็นดีไซเนอร์ เจ้าของแบรนด์ ที่มีพรสวรรค์ เป็นดีไซเนอร์รุ่นบุกเบิกรุ่นแรกๆ ที่ประสบความสำเร็จของเมืองไทย วัตถุประสงค์สำคัญ ของแบรนด์ คือ ทำให้ผ้าไหมไทย เป็นที่รู้จักระดับสากล

  28. ฝ้ายซอคำ

  29. ฝ้ายซอคำ ฝ้ายซอคำ เริ่มต้นจากกิจการของพี่น้องพรเจริญโรจน์ ด้วยการคิดเพียงว่าอยากหารายได้เสริมในขณะที่เรียนชั้นมัธยมอยู่ “ต้องพยายามเปลี่ยนรสนิยมดั้งเดิมของชาวบ้าน ที่เน้นสีฉูดฉาด แดงสด เขียวสด ชมพูสดลายเต็มพรืด มาเป็นโทนสีขรึม ลวดลายเย็นตา” พยายามทำงานแฮนด์เมดของชาวบ้านเป็นงานหรูขึ้น

  30. ผลิตภัณฑ์ของฝ้ายซอคำแต่ละชิ้นออกแบบให้มีความเป็นสากลที่สามารถเจาะตลาดได้ทั้งสองซีกโลก และพยายามสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผ้าทอน่าจับต้องยิ่งขึ้นด้วยการนำผ้าทอมาดีไซน์เป็นของแต่งบ้าน (Home Collection)

  31. งานด้านการผลิตจึงขยายเป็น 2 ส่วนคือ ฝ่ายแรกผลิตผ้าทอพื้นเมือง(Tradition design) อีกส่วนผลิตรายผ้าแบบประยุกต์ และจัดทำเป็นโฮมคอลเลคชั่น

  32. ชบาติก

  33. ศศิวรรณ ดำรงศิริ ดีไซเนอร์ร้าน 'ชบาติก' เป็นคนสำคัญที่ช่วยเชื่อมต่อภูมิรู้ท้องถิ่นที่ตกทอดจากบรรพชน พร้อมกับนำฝีมืออันประดิดประดอยจากชนบท มาโชว์ในชิ้นงานที่ถูกออกแบบจนโดนใจชาวพารากอน เสน่ห์ผ้าไทย เสน่ห์ชนบทไอเดียดีไซน์ของ 'ชบาติก' ไม่ได้นึกออกแบบลอยๆ ฝันๆ แต่อาศัยการศึกษาอย่างจริงจังเรื่องมรดกผ้าทอไทย

  34. switch แบรนด์ไทยน้องใหม่ … จับผ้าไทยแปลงโฉม

  35. switch ปณิธาน ปวโรฬารวิทยา กรรมการผู้จัดการ บริษัท บูติคนิวซิตี้ กล่าวว่าหากเอาดีไซน์ตะวันตก ไปขายคนตะวันตก ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ โอกาสที่จะได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคชาวยุโรปก็คงจะยาก จึงเกิดแนวคิดใหม่ว่า เราน่าจะขายความเป็นตะวันออก หรือความเป็นไทยผสมกับไลฟ์สไตล์ของฝั่งยุโรป เรียกว่า เป็นการมิกซ์แอนด์แมตช์ ระหว่าง รสนิยม เทรนด์ ความชอบของเขา ผสานกับวัตถุดิบสไตล์ไทย

  36. Naraya

  37. Naraya ที่มาของชื่อนารายามาจากภาษาฮินดู หมายถึง พระนารายณ์ องค์เทพเจ้าสูงสุดของศาสนาฮินดู คำว่า นารายา จึงมีความหมายดี เรียกง่าย จดจำง่ายสำหรับผู้คนทั่วไปในทุกเชื้อชาติภาษา

  38. ปัจจุบันนารายาผงาดอยู่ในตลาดต่างประเทศกว่า 14 สาขาใน 8 ประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเก๊า ดูไบ ฮังการี ซาอุดิอาระเบีย จนประเทศญี่ปุ่นเรียกว่าเป็น The best from Thailand แต่สำหรับเมืองไทย นารายาเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นเมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว แม้แต่ชาวจีนยังเรียกว่าเป็นกระเป๋ากรุงเทพฯ นำเม็ดเงินเข้าสู่ประเทศไทยหลายร้อยล้านบาทต่อปี สร้างงาน สร้างเงินก่อเกิดเศรษฐกิจชุมชน

  39. จิดาภาไหมไทยดีไซน์

  40. JIM THOMPSON

  41. JIM THOMPSON จิม ทอมป์สันหรือเจมส์ แฮริสัน วิลสัน ทอมป์สันเกิดที่เมืองกรีนวิลล์ รัฐเดลาแวร์ เมื่อ ค.ศ. 1906 (พ.ศ. 2449) จิม ทอมสัน เริ่มเข้าสู่วงการผ้าไหมในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 และทำให้ผ้าไหมไทยเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก จนได้รับฉายาว่า “ราชาไหมไทย”

  42. ผลิตภัณฑ์จากผ้าไทย

More Related