1 / 46

แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายใหม่

แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายใหม่. โดย นาย เอกบุตร อุตมพงศ์ วิศวกร 7ว. สำนักโรงงานอุตสาหกรรมรายสาขา 6 กรมโรงงานอุตสาหกรรม. แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายเดิม. 1. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2540) - ขออนุญาตนำ สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ออกนอกโรงงาน

lexine
Download Presentation

แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายใหม่

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายใหม่แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายใหม่ โดย นาย เอกบุตร อุตมพงศ์ วิศวกร 7ว. สำนักโรงงานอุตสาหกรรมรายสาขา 6 กรมโรงงานอุตสาหกรรม

  2. แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายเดิมแนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายเดิม 1. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2540) - ขออนุญาตนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกโรงงาน - แจ้ง แบบ รง.6 ภาคผนวกที่ 1 ลักษณะและคุณสมบัติ เช่น สารไวไฟ สารกัดกร่อน สารพิษ ตัวทำละลาย สี กาว กากตะกอนต่างๆ น้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว ฯลฯ ภาคผนวกที่ 2หลักเกณฑ์และวิธีการกำจัด เช่น ฝังกลบอย่างปลอดภัย เผาในเตาเผาอุณหภูมิสูง หรือในเตาเผาปูนซิเมนต์ นำกลับไปใช้ประโยชน์

  3. แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายเดิม (ต่อ) 2. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2541) - ขออนุญาตนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกโรงงาน ภาคผนวกที่ 1 ลักษณะและคุณสมบัติ เช่น เศษไม้ กระดาษ เศษโลหะ กากแร่ ตะกรัน ฝุ่นจากระบบบำบัดอากาศ ฯลฯ ภาคผนวกที่ 2หลักเกณฑ์และวิธีการกำจัด เช่น ฝังกลบ ถมที่ ทำปุ๋ย เผาในเตาเผาปูนซิเมนต์ นำกลับไปใช้ประโยชน์

  4. แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายเดิม (ต่อ) ปัญหาและอุปสรรคจากการใช้ ประกาศ ทั้ง 2 ฉบับ ดังกล่าว สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วบางประเภท ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ ผลวิเคราะห์เพื่อพิสูจน์ความเป็นอันตราย สร้างความลำบากในการรวบรวมข้อมูล ไม่มีการแยกสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วตามประเภทอุตสาหกรรมหรือ การประกอบกิจการ จึงขาดความชัดเจน ทำให้ไม่สะดวกในการวินิจฉัย ประเภทสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว และใช้เวลาในการพิจารณามาก - ฯลฯ

  5. แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายใหม่แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายใหม่ ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วพ.ศ. 2548 - ม.8 ตาม พรบ.โรงงาน พ.ศ. 2535 มอบอำนาจให้ รมว.อก. ออกกฎกระทรวง - กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535) หมวด 4 ข้อ 13 (3) - ม. 29 ม.35 ม.48 ม.50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 1. ยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2540) และฉบับที่ 1 (พ.ศ.2541) 2. กำหนดคำจำกัดความ ดังต่อไปนี้

  6. แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายใหม่ (ต่อ) - สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว คือ สิ่งของที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้น จากการประกอบกิจการโรงงานรวมถึงของเสียจากวัตถุดิบของเสียที่เกิดขึ้นใน กระบวนการผลิต ของเสียที่เป็นผลิตภัณฑ์เสื่อมคุณภาพ และน้ำทิ้งที่มี องค์ประกอบหรือมีคุณลักษณะที่เป็นอันตราย - ของเสียอันตราย คือ สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่มีองค์ประกอบ หรือปนเปื้อน สารอันตราย หรือมีคุณสมบัติที่เป็นอันตราย ตามที่กำหนดในภาคผนวกที่2 ท้ายประกาศ

  7. แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายใหม่ (ต่อ) - การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว คือ การบำบัด ทำลายฤทธิ์ทิ้ง กำจัด จำหน่ายจ่ายแจก แลกเปลี่ยน หรือนำกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการกักเก็บไว้เพื่อทำการดังกล่าว - ผู้ก่อกำเนิดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว คือ ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่ก่อให้เกิด และมีสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วไว้ในครอบครอง -ผู้รวบรวมและขนส่ง คือ ผู้มีสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วไว้ในครอบครองเพื่อ การขนส่ง และผู้มีไว้ในครอบครองสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วในสถานที่เก็บ รวบรวมหรือขนถ่ายสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ตามประกาศกระทรวง อุตสาหกรรม เรื่อง ระบบเอกสารกำกับการขนส่งของเสียอันตราย พ.ศ. 2547

  8. แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายใหม่ (ต่อ) - ผู้บำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วคือ ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่มี สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วไว้ในครอบครอง ตามประกาศกระทรวง อุตสาหกรรม เรื่อง ระบบเอกสารกำกับการขนส่งของเสียอันตราย พ.ศ. 2547 และโรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการคัดแยกหรือฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ ไม่ใช้แล้วตามประเภทหรือชนิดของโรงงานลำดับที่ 105 - ใบกำกับการขนส่งคือ แบบกำกับการขนส่ง 02 ตามแนบท้ายประกาศกระทรวง อุตสาหกรรม เรื่อง ระบบเอกสารกำกับการขนส่งของเสียอันตราย พ.ศ. 2547

  9. แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายใหม่ (ต่อ) - การแจ้งทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือ การแจ้งข้อมูลตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว จากโรงงาน โดยทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Internet) พ.ศ. 2547

  10. แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายใหม่ (ต่อ) หมวด 1 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่ได้รับการยกเว้น 1. สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่ไม่เป็นของเสียอันตราย จากสำนักงาน บ้านพัก อาศัยและโรงอาหารในบริเวณโรงงาน 2. กากกัมมันตรังสี 3. มูลฝอยตาม พรบ. สาธารณสุข 4. น้ำเสียที่ส่งไปบำบัดนอกโรงงานทางท่อส่ง

  11. แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายใหม่ (ต่อ) หมวด 2 หน้าที่ผู้ก่อกำเนิดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว(Waste Generator,WG ) 1. ต้องไม่ครอบครองสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วไว้ภายในโรงงานเกินเวลา 90วัน หากเกิน ต้องขออนุญาต ตามแบบ สก.1 ในกรณีที่ครอบครองของเสียอันตราย ให้ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ระบบเอกสารกำกับการ ขนส่งของเสียอันตราย พ.ศ. 2547 2. ต้องมีผู้ควบคุมดูแลระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมที่มีความรู้เฉพาะด้าน 3. ต้องจัดทำแผนการป้องกันอุบัติภัยเพื่อรองรับเหตุฉุกเฉิน ในกรณีเกิดเหตุรั่วไหล อัคคีภัย การระเบิดของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วหรือเหตุที่คาดไม่ถึง ตามภาคผนวกที่ 3

  12. แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายใหม่ (ต่อ) หมวด 2 หน้าที่ผู้ก่อกำเนิดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว (Waste Generator,WG ) 4. ห้ามมิให้นำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงาน เว้นแต่จะได้รับ อนุญาตจากอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (ใช้คำขอตามแบบ สก. 2 ) 5. ต้องส่งสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เป็นของเสียอันตรายให้กับผู้รวบรวมและ ขนส่ง หรือผู้บำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วเท่านั้น ในกรณีใช้ บริการของผู้อื่น จะต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม 6. ต้องมีใบกำกับการขนส่ง เมื่อมีการนำของเสียอันตรายออกนอกบริเวณโรงงาน ทุกครั้ง และให้แจ้งข้อมูลการขนส่งสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วทุกชนิด ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์

  13. แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายใหม่ (ต่อ) หมวด 2 หน้าที่ผู้ก่อกำเนิดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว(Waste Generator,WG ) 7. ต้องรับผิดชอบต่อภาระความรับผิด(liability) ในกรณีสูญหาย เกิดอุบัติเหตุ การทิ้งผิดที่ หรือ การลักลอบทิ้ง และการรับคืนเนื่องจากข้อขัดแย้งที่ไม่เป็นไป ตามสัญญาการให้บริการระหว่างผู้ก่อกำเนิดและผู้บำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือ วัสดุที่ไม่ใช้แล้ว จนกว่าผู้บำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจะรับ สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ ไม่ใช้แล้วนั้นไว้ในครอบครอง 8. ต้องส่งรายงานประจำปีให้แก่กรมโรงงานอุตสาหกรรมตามแบบ สก. 3 ท้ายประกาศนี้ ภายในวันที่ 1 มีนาคม ของปีถัดไป

  14. แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายใหม่ (ต่อ) หมวด 3 การรวบรวมและขนส่งของเสียอันตราย 1. กรณีผู้ก่อกำเนิดของเสียอันตราย หรือ ผู้บำบัดและกำจัดของเสียอันตราย แต่งตั้งตัวแทนเพื่อเป็นผู้รวบรวมและขนส่ง จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และ วิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด 2. ผู้แต่งตั้งตัวแทนต้องรับภาระความรับผิด (liability) ร่วมกับตัวแทนระหว่าง การดำเนินการขนส่ง ------------------------------------------------

  15. แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายใหม่ (ต่อ) หมวด 4 หน้าที่ของผู้บำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว(Waste processor,WP) 1. ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วตามหลักเกณฑ์และ วิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด 2. ต้องรับบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วเฉพาะที่ได้รับอนุญาตตาม เงื่อนไขการประกอบกิจการโรงงานที่กำหนดไว้ 3. ต้องใช้ใบกำกับการขนส่ง และต้องปฏิบัติตามประกาศมติคณะกรรมการวัตถุ อันตราย เรื่อง การขนส่งวัตถุอันตรายทางบก พ.ศ.2545เมื่อมีการรับสิ่งปฏิกูล หรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วเข้ามาในบริเวณโรงงาน ให้แจ้งข้อมูลต่อกรมโรงงาน อุตสาหกรรมโดยทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ------------------------------------------------

  16. แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายใหม่ (ต่อ) หมวด 4 หน้าที่ของผู้บำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว(Waste processor,WP) 4. ต้องรับภาระความรับผิด (liability) ต่อสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว เมื่อรับดำเนินการบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว 5. ต้องมีข้อมูลผลวิเคราะห์ทางเคมีและกายภาพของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ก่อนการดำเนินการบำบัดหรือกำจัด จากห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ขึ้นทะเบียนไว้ กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม และให้เก็บข้อมูลผลวิเคราะห์ไว้อย่างน้อย 3 ปี เพื่อการตรวจสอบ 6. ต้องมีผู้ควบคุมดูแลระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมที่มีความรู้เฉพาะด้าน

  17. แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายใหม่ (ต่อ) หมวด 4 หน้าที่ของผู้บำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว(Waste processor,WP) 7. ต้องจัดทำแผนการป้องกันอุบัติภัยเพื่อรองรับเหตุฉุกเฉิน ในกรณีเกิดเหตุรั่วไหล อัคคีภัย การระเบิดของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วหรือเหตุที่คาดไม่ถึง ตามภาคผนวกที่ 3 8. ต้องส่งรายงานประจำปีให้แก่กรมโรงงานอุตสาหกรรมตามแบบ สก. 5 ภายในวันที่ 1 มีนาคม ของปีถัดไป -------------------------------------------------

  18. แนวทางการจัดการของเสียตามกฎหมายใหม่ (ต่อ) หมวด 5 บทเฉพาะกาล 1. คำขออนุญาตใดๆ ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2540) และ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2541) และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำจัดสิ่ง ปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว (เพิ่มเติม) พ.ศ. 2547 ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาให้ ถือเป็นคำขออนุญาตตามประกาศฉบับนี้โดยอนุโลม 2. ใบอนุญาตตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2540) และ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2541) และ ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำจัด สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว (เพิ่มเติม) พ.ศ. 2547 ที่ออกให้ก่อนวันที่ประกาศนี้ มีผลบังคับใช้ ให้คงใช้ต่อไปได้จนสิ้นอายุที่กำหนดไว้

  19. ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว จากประกาศฯเดิมทั้ง 2 ฉบับ จะเห็นได้ว่ามีการแบ่งชนิดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วตาม หมวดและข้อ เช่น - เศษไม้ จัดอยู่ใน หมวด 1 ข้อ 1.2 และ เศษโลหะ จัดอยู่ใน หมวด 1 ข้อ 1.8ของ ฉ.1 เป็นต้น - น้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้ว จัดอยู่ใน หมวด 4 ข้อ 13 และ หมึก สีย้อม สี สีน้ำมัน จัดอยู่ใน หมวด 4 ข้อ 18 เป็นต้น

  20. ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว แต่ ประกาศฯ ฉบับใหม่ใช้เลขรหัส 6 หลัก (XXXXXX) แทนหมวดและข้อแบบเดิม - ความหมายของเลขรหัส 6 หลัก (XXXXXX) XXXXXX กิจกรรมหลัก (หมวด) กิจกรรมย่อย (หมู่) ประเภทของเสีย (หมู่ย่อย)

  21. ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว เลขรหัส 6 หลักดังกล่าวจะถูกกำกับด้วยอักษร HA (Hazardous waste – Absolute entry) หรือ HM (Hazardous waste – Mirror entry)แสดงว่าเป็นสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ ไม่ใช้แล้วที่มีคุณสมบัติเป็นของเสียอันตราย สำหรับรหัสที่กำกับด้วย HMผู้ประกอบการต้องทำการวิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในภาคผนวกที่ 2 ในกรณีที่ต้องการโต้แย้งว่า ไม่เข้าข่ายเป็นของเสียอันตรายตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ สำหรับเลขรหัสที่ไม่กำกับโดยอักษรใดๆ ถือว่าไม่เป็นของเสียอันตราย

  22. ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว กิจกรรมหลัก (สองหลักแรก) ( XX _ _ _ _ ) แบ่งเป็น 19 หมวด โดย - หมวด 1 ถึง 12 เป็นหมวดเฉพาะ (Specific) - หมวด 13 ถึง 19 เป็นหมวดทั่วไป (Common)

  23. วัตถุดิบหลัก สารเคมี ส่วนผลิตสาธารณูปโภค –ไฟฟ้า, น้ำใช้, น้ำร้อน, ไอน้ำ, น้ำเย็น, ฯลฯ การเตรียม การผสม ซ่อมบำรุง โรงบำบัดน้ำเสียรวม คลังสินค้า / วัตถุดิบ / ของเสีย สายการผลิต 1 สายการผลิต 2 ห้องปฏิบัติการ สำนักงาน ผลิตภัณฑ์, ผลพลอยได้ โรงอาหาร ห้องพยาบาล ของเสียเฉพาะ ของเสียทั่วไป กระบวนการผลิตหลัก 12 หมวด (01 – 12) กระบวนการสนับสนุน 8 หมวด (13 – 20) ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว

  24. ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว หมวด 1 - 12 (หมวดเฉพาะ) แบ่งตามกระบวนการผลิตหลัก ดังนี้ หมวด 01 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากการสำรวจ การทำเหมืองแร่ การทำเหมืองหิน และการปรับสภาพแร่ธาตุโดย วิธีกายภาพและเคมี หมวด 02 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากการเกษตรกรรม การเพาะปลูกพืชสวน การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การทำป่าไม้ การล่าสัตว์ การประมง การแปรรูปอาหารต่างๆ

  25. ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว หมวด 1 - 12(หมวดเฉพาะ) แบ่งตามกระบวนการผลิตหลัก ดังนี้ หมวด 03 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากกระบวนการ แปรรูปไม้ และการผลิตแผ่นไม้ เครื่องเรือน เยื่อกระดาษ กระดาษ หรือกระดาษแข็ง หมวด 04 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากอุตสาหกรรม เครื่องหนัง ขนสัตว์ และอุตสาหกรรมสิ่งทอ

  26. ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว หมวด 1 - 12 (หมวดเฉพาะ) แบ่งตามกระบวนการผลิตหลัก ดังนี้ หมวด 05 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากกระบวนการกลั่น ปิโตรเลียม การแยกก๊าซธรรมชาติ และกระบวนการบำบัดถ่านหิน โดยการเผาแบบ ไม่ใช้ออกซิเจน หมวด 06 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากกระบวนการผลิต สารอนินทรีย์ ต่างๆ หมวด 07 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากกระบวนการผลิต สารอินทรีย์ต่างๆ

  27. ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว หมวด 1 - 12(หมวดเฉพาะ) แบ่งตามกระบวนการผลิตหลัก ดังนี้ หมวด 08 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากการผลิต การผสม ตามสูตร การจัดส่ง และการใช้งานของสี สารเคลือบเงา สารเคลือบผิว กาว สารติดผนึก และหมึกพิมพ์ หมวด 09 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับ การถ่ายภาพ หมวด 10 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากกระบวนการใช้ความร้อน

  28. ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว หมวด 1 - 12(หมวดเฉพาะ) แบ่งตามกระบวนการผลิตหลัก ดังนี้ หมวด 11 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากการปรับสภาพผิวโลหะ และวัสดุต่างๆ ด้วยวิธีเคมี รวมทั้งการชุบเคลือบผิว และของเสียจาก กระบวนการ non-ferrous hydro-metallurgy หมวด 12 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากการตัดแต่ง และปรับสภาพผิวโลหะ พลาสติก ด้วยกระบวนทางกายภาพ หรือ เชิงกล

  29. ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว หมวด 13 - 19(หมวดทั่วไป) แบ่งตามกระบวนการสนับสนุน ดังนี้ หมวด 13 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วประเภท น้ำมันและ เชื้อเพลิงเหลว ไม่รวมน้ำมันที่บริโภคได้ หมวด 14 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วประเภทตัวทำละลายอินทรีย์ สารทำความเย็น สารขับเคลื่อน ที่ไม่รวมไว้ในหมวด 07 และหมวด 08 หมวด 15 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วประเภทบรรจุภัณฑ์ วัสดุดูดซับ ผ้าสำหรับเช็ด วัสดุตัวกรอง และชุดป้องกันที่ไม่ได้ระบุ ไว้ในหมวดอื่น

  30. ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว หมวด 13 - 19 (หมวดทั่วไป) แบ่งตามกระบวนการสนับสนุน ดังนี้ หมวด 16 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วประเภทต่างๆ ที่ไม่ได้ระบุใน หมวดอื่น หมวด 17 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากงานก่อสร้างและการรื้อ ทำลายสิ่งก่อสร้าง รวมถึงดินที่ขุดจากพื้นที่ปนเปื้อน หมวด 18 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากการสาธารณสุขสำหรับ มนุษย์และสัตว์ รวมถึงการวิจัยทางด้านสาธารณสุข

  31. ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว หมวด 13 - 19 (หมวดทั่วไป) แบ่งตามกระบวนการสนับสนุน ดังนี้ หมวด 19 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากโรงปรับคุณภาพของ เสีย โรงบำบัดน้ำเสีย โรงผลิตน้ำประปา และ โรงผลิตน้ำใช้ อุตสาหกรรม

  32. ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ตัวอย่าง 1. กิจกรรมหรือการประกอบกิจการแปรรูปอาหาร หมวดที่ 02 2. กิจกรรมหรือการประกอบกิจการทำเครื่องเรือนจากไม้ หมวดที่ 03 3. กิจกรรมหรือการประกอบกิจการหลอมโลหะ หมวดที่ 10 4. กิจกรรมหรือการประกอบกิจการชุบโลหะ หมวดที่ 11

  33. หมวดที่ 02 ( 02 XX _ _ ) หมวดที่ 08 ( 08XX_ _ ) หมวดที่ 08 ( 08XX_ _ ) ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว กิจกรรมย่อย(สองหลักกลาง,หมู่) ( XX XX _ _ )แสดงถึงกระบวนการเฉพาะในการประกอบกิจการนั้น ๆ ตัวอย่าง 1. กิจกรรมชำแหละ แกะ ล้าง เนื้อสัตว์ จัดอยู่ใน หมู่ที่02( 0202_ _ ) 2. กิจกรรมทำสีชนิดต่าง ๆ (Paints) จัดอยู่ใน หมู่ที่01( 0801_ _ ) 3. กิจกรรมทำกาวชนิดต่าง ๆ (Adhesives and Sealant) จัดอยู่ใน หมู่ที่04( 0804_ _ )

  34. หมวดที่ 10( 10XXXX) หมวดที่ 12 ( 12XXXX) หมู่ที่06 ( 10 06XX) หมู่ที่01 ( 12 01XX) ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ประเภทของเสีย(สองหลักสุดท้าย,หมู่ย่อย)( XX XXXX)แสดงถึงลักษณะเฉพาะหรือประเภทของของเสีย ตัวอย่าง 1. Copper Slag จากการถลุงทองแดง จัดอยู่ใน หมู่ย่อยที่01 ( 100601 ) 2. Copper Slag จากการขัดผิวโลหะ เช่น ขัดผิวเรือเดินสมุทร หมู่ย่อยที่16( 120116) หรือ ( 120117)

  35. หมวดที่ 12 ( 12XXXX) หมวดที่ 17 ( 17 XXXX) หมู่ที่ 01 ( 12 01XX) หมู่ที่ 04 ( 17 04XX) ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ตัวอย่าง 3. เศษเหล็กจากการตัดชิ้นงาน (หมวด 1 ข้อ 1.8 ตาม ฉ.1 เดิม) จัดอยู่ใน หมู่ย่อยที่01( 120101) 4. เศษเหล็กจากการรื้อถอนอาคารโรงงาน(หมวด 1 ข้อ 1.8 ตาม ฉ.1 เดิม) จัดอยู่ใน หมู่ย่อยที่05( 170405)

  36. หมวดที่ 19 ( 19 XXXX) หมู่ที่12 ( 19 12XX) ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ตัวอย่าง 5. เศษเหล็กจากการคัดแยก (หมวด 1 ข้อ 1.8 ตาม ฉ.1 เดิม) จัดอยู่ใน หมู่ย่อยที่02( 1912 02)

  37. หมวดที่ 13 ( 13 XXXX) หมวดที่ 13 ( 13 XXXX) หมู่ที่ 01 ( 13 01XX) หมู่ที่ 02 ( 13 02XX) ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ตัวอย่าง 6. น้ำมันไฮโดรลิกจากการเปลี่ยนถ่ายเครื่องจักร (หมวด 4 ข้อ 13 ตาม ฉ.6 เดิม) จัดอยู่ใน หมู่ย่อยที่11( 13 0111) กรณีเป็นชนิด Synthetic Oil 7. น้ำมันเครื่อง (Engine oil) จากเครื่องยนต์ (หมวด 4 ข้อ 13 ตาม ฉ.6 เดิม) จัดอยู่ใน หมู่ย่อยที่06( 13 0206) กรณีเป็นชนิด Synthetic Oil

  38. หมวดที่ 15 ( 15 XXXX) หมวดที่ 15 ( 15 XXXX) หมู่ที่ 02 ( 15 02XX) หมู่ที่ 01 ( 15 01XX) ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ตัวอย่าง 8. ผ้าปนเปื้อนน้ำมันต่างๆ(หมวด 4 ข้อ 13 ตาม ฉ.6 เดิม) จัดอยู่ใน หมู่ย่อยที่02( 15 0202) 9. ภาชนะปนเปื้อนน้ำมันต่างๆ (หมวด 4 ข้อ 13 ตาม ฉ.6 เดิม) จัดอยู่ใน หมู่ย่อยที่10( 150110)

  39. กระบวนการผลิตเคมีอินทรีย์กระบวนการผลิตเคมีอินทรีย์ กระบวนการผลิตเคมีอนินทรีย์ 02 xx xx07 xx xx 06 05 xx กากตะกอนอินทรีย์ ระบบบำบัดน้ำเสีย ณ จุดกำเนิด (On-site WWT) ระบบบำบัดน้ำเสีย ณ จุดกำเนิด (On-site WWT) กากตะกอนอนินทรีย์ น้ำเสียอนินทรีย์ น้ำเสียอินทรีย์ ระบบบำบัดน้ำเสียรวม (Central WWT) ระบบบำบัดน้ำเสียรวม(Central WWT) กากตะกอน กากตะกอน สิ่งแวดล้อม ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ตัวอย่าง 19 08 xx 19 08 xx

  40. ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว การกำหนดรหัสที่เหมาะสมกับของเสีย 1. พิจารณาการประกอบกิจการตามหมวด 1 ถึง 12 เป็นลำดับแรก หรือ หมวด 17 ถึง หมวด 19 เป็นลำดับต่อมา 2. หากไม่สามารถหารหัสที่เหมาะสมตามข้อ 1 ได้ ให้ตรวจสอบรหัสตามชนิด ของเสีย ในหมวด 13 ถึง 15 3. ถ้ายังไม่สามารถระบุได้ ให้ตรวจสอบรหัสของเสีย ในหมวด 16 4. หากไม่สามารถระบุรหัสเลข 6 หลักจากหมวด 16 ได้ ให้กลับไปใช้รหัสที่มี เลข 2 หลักสุดท้ายเป็น 99 ในหมวดที่เกี่ยวข้องในข้อ 1

  41. ภาคผนวกที่ 1 รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว คำถามเศษเนื้อหมูจากการผลิตซาลาเปา 02 0202– เศษเนื้อเยื่อสัตว์จากการแปรรูปอาหาร คำถามเศษเปลือกถั่วจากการผลิตซาลาเปา 02 0304– วัสดุที่ไม่เหมาะสมสำหรับการบริโภคจากการแปรรูปอาหาร คำถามPlastic Monomer เหลว ที่ได้จากการควบแน่นไอ ที่ระเหยจากกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก (เดิมเคยกำหนดเป็น หมวด 4 ข้อ 13 ตาม ฉ.6) 070299

  42. ภาคผนวกที่ 2 ลักษณะและคุณสมบัติของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เป็นของเสียอันตราย 1. สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วประเภทสารไวไฟ (Ignitable substances) 2. สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วประเภทสารกัดกร่อน (Corrosive substances) 3. สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วประเภทสารที่เกิดปฏิกิริยาได้ง่าย (Reactive substances) 4. สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วประเภทสารพิษ (Toxic substances) 5. สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่มีองค์ประกอบของสิ่งเจือปน ที่กำหนดไว้ดังนี้ 5.1 องค์ประกอบของสารอนินทรีย์อันตรายและสารอินทรีย์อันตราย ในหน่วยมิลลิกรัม ของสารต่อหนึ่งกิโลกรัมของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว(Total Concentration) มีค่ามากกว่าค่า Total Threshold Limit Concentration (TTLC) ( Total Concentration ≥TTLC )

  43. ภาคผนวกที่ 2 ลักษณะและคุณสมบัติของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เป็นของเสียอันตราย 5.2 สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เมื่อนำมาสกัดด้วยวิธี Waste Extraction Test (WET) มีองค์ประกอบของสารอนินทรีย์อันตรายและสารอินทรีย์อันตราย ในหน่วยมิลลิกรัม ของสารต่อลิตรของน้ำสกัด (mg/L)เท่ากับหรือมากกว่าค่า Soluble Threshold Limit Concentration (STLC) (WET ≥ STLC ) 5.3 การทดสอบวิธี WET ตามข้อ 5.2 จะทำก็ต่อเมื่อ Total Concentration < TTLC แต่ ≥STLC หรือเมื่อจะฝังกลบเท่านั้น ( STLC ≥ Total Concentration < TTLC )

  44. ภาคผนวกที่ 3แผนป้องกันอุบัติภัยและแผนฉุกเฉิน ผู้ประกอบการต้องเตรียมแผนป้องกันอุบัติภัยและแผนฉุกเฉิน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด เช่น - ขั้นตอน วิธีการปฏิบัติ ในการตอบสนองต่ออัคคีภัย การระเบิด หรือ การรั่วไหลของของเสียอันตราย - การเตรียมการกับหน่วยงานท้องถิ่น - รายการแสดงอุปกรณ์ความปลอดภัยและอุปกรณ์ฉุกเฉิน - แผนการหนีภัยฯลฯ

  45. ภาคผนวกที่ 4หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดการ หลักเกณฑ์และวิธีการกำจัด - ฟิสิกส์ - ปรับเสถียร/ตรึงสาร - เคมี-ฟิสิกส์ - กำจัดในดิน/ฝังกลบ - เคมี - การนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ - ชีวภาพ - ใช้ความร้อน

  46. ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สอบถามได้ที่ สำนักโรงงานอุตสาหกรรมรายสาขา 6 กรมโรงงานอุตสาหกรรมhttp://www.diw.go.th/iwmb/โทรศัพท์ 0-2202-4165 และ 4168 และโทรสาร 0-2202-4167 ถาม - ตอบ

More Related