1 / 17

“FTA บนถนนการเมืองใหม่ : ไหลลื่น ลื่นล้ม หรือล้มลุกคลุกคลาน ”

สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง. “FTA บนถนนการเมืองใหม่ : ไหลลื่น ลื่นล้ม หรือล้มลุกคลุกคลาน ”. ภายใต้ “ โครงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจรองรับกระแสโลกาภิวัตน์และการเปิดเสรีการค้า ”. โดย ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง.

lewis
Download Presentation

“FTA บนถนนการเมืองใหม่ : ไหลลื่น ลื่นล้ม หรือล้มลุกคลุกคลาน ”

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลังสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง “FTA บนถนนการเมืองใหม่: ไหลลื่น ลื่นล้ม หรือล้มลุกคลุกคลาน” ภายใต้ “โครงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจรองรับกระแสโลกาภิวัตน์และการเปิดเสรีการค้า” โดย ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2550ณ โรงแรมพูลแมนคิงเพาเวอร์กรุงเทพฯ ถนนศรีอยุธยา กทม.

  2. การนำเสนอ • ภาพรวมการจัดทำความตกลงการค้าเสรีทวิภาคีของไทย  กรอบความตกลงที่เกิดขึ้นแล้ว • แนวโน้ม FTA ในวันข้างหน้า  บนถนนการเมืองใหม่: กติกาภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่

  3. สรุปภาพรวมการจัดทำ FTA กรอบเวลาการลดภาษีภายใต้ AFTA ที่มา: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ * ปีที่เริ่มลด – ปีที่อัตราภาษีเหลือ 0 -5%

  4. สรุปภาพรวมการจัดทำ FTA กำหนดลดภาษีเหลือเป็นศูนย์ภายใต้กรอบ FTA ต่างๆ *กำลังอยู่ระหว่างเจรจา

  5. กรอบความตกลง FTA ไทย-ออสเตรเลีย: TAFTA มีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2548 ประเด็นสินค้า: ทยอยยกเลิกภาษีใน 4 กลุ่มสินค้า ได้แก่ • สินค้าปกติที่ยกเลิกภาษีศุลกากร 50% ของสินค้าที่ไทยนำเข้าจาก AUSเช่น สินแร่ เชื้อเพลิง เคมีภัณฑ์ หนังดิบและหนังฟอก เป็นต้น และ 83% ของฝ่าย AUSเช่น เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากนม ธัญพืช ผัก ผลไม้ สินแร่ รถยนต์ และเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น • สินค้าปกติที่จะทยอยลดภาษีให้เป็น 0 ภายใน 5 ปี ของฝ่ายไทย เช่น ผัก ผลไม้ พลาสติก กระดาษ และเครื่องจักร เป็นต้น และฝ่าย AUSเช่น ทูน่ากระป๋อง รองเท้าและชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น 3. สินค้าอ่อนไหวที่มีกำหนดการลดอัตราภาษีภายใน 10 ปี ของฝ่ายไทย เช่น นมและครีม นมข้น เครื่องในสัตว์ มันฝรั่ง และน้ำตาล เป็นต้น ฝ่าย AUSเช่น เสื้อผ้าสำเร็จรูป และพลาสติก เป็นต้น 4. สินค้าอ่อนไหวสูงได้แก่ สินค้าเกษตร 8 รายการจาก 22 รายการที่ผูกพันใน WTO เช่น นม มันฝรั่งสด กาแฟ ชา ข้าวโพด และน้ำตาลเป็นต้น ซึ่งกำหนดเพิ่มโควต้านำเข้าในแต่ละปี 5% หรือ 10% และยกเลิกโควต้าภายใน 15 หรือ 20 ปี

  6. กรอบความตกลง FTA ไทย-ออสเตรเลีย: TAFTA มีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2548 (ต่อ) ประเด็นภาคบริการและการลงทุน ฝ่ายไทย เปิดตลาดแตกต่างตามอุตสาหกรรม  เน้นการลงทุนขนาดใหญ่  อนุญาตให้นักธุรกิจ AUS เข้ามาทำงานในไทยได้เฉพาะตำแหน่งบริหาร ผู้จัดการ และผู้เชี่ยวชาญ ภายใต้สัญญาจ้างไม่เกิน 1 ปี แต่ต่ออายุได้ถึง 5 ปี ฝ่ายออสเตรเลีย => อนุญาตให้ไทยเข้าไปลงทุนในธุรกิจผลิตสินค้าและบริการได้100% ยกเว้นกิจการหนังสือพิมพ์ การกระจายเสียง การบินระหว่างประเทศ =>หากมีการลงทุนเกิน 10 ล้านดอลลาร์ ต้องขออนุญาต =>ให้บุคลากรไทยเข้าไปประกอบอาชีพบริการภายใต้สัญญาจ้างไม่เกิน 3 ปี และต่ออายุได้ถึง 10 ปี =>มีโครงการ Working Holiday Scheme สำหรับนักศึกษาไทย ความร่วมมือในด้านอื่นๆ ได้แก่ SPS TBT MRA e-Commerce IPR Government Procurement Competition Policy เป็นต้น

  7. กรอบความตกลง FTA ไทย-นิวซีแลนด์: TNZCEP มีผลบังคับใช้ 1 กรกฎาคม 2548  ประเด็นสินค้า: ทยอยยกเลิกภาษีใน 4 กลุ่มสินค้า ได้แก่ • สินค้าปกติที่ปลอดภาษีทันที 54% ของสินค้าที่ไทยนำเข้าจาก NZเช่น ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ (เว้นปศุสัตว์) โกโก้ เซรามิค เป็นต้น และ 79% ของฝ่าย NZ เช่น ทูน่ากระป๋อง รถปิกอัพ เม็ดพลาสติก เป็นต้น • สินค้าปกติที่ภาษีลดหลั่นหลือ 0 ภายใน 5 ปี คิดเป็น 10% สำหรับ 2 ฝ่าย เช่น สัตว์น้า ธัญพืช/ของปรุงแต่ง ผัก/ผลไม้ เมล็ดพืช ยาสูบ เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ เป็นต้น 3. สินค้าอ่อนไหวที่มีกำหนดยกเลิกภาษีภายใน 10 ปี เช่น ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ นม* มันฝรั่งสด* หัวหอมและเมล็ด* สุรา สิ่งพิมพ์ เป็นต้น 4. สินค้าอ่อนไหวสูงได้แก่ สินค้าเกษตร 4 รายการจาก 22 รายการที่ผูกพันใน WTO ได้แก่ นม มันฝรั่ง หัวหอม และเมล็ดหัวหอม ซึ่งกำหนดยกเลิกโควต้าภายใน 15 หรือ 20 ปี * มีโควต้าของฝ่ายไทย

  8. กรอบความตกลง FTA ไทย-นิวซีแลนด์: TNZCEP มีผลบังคับใช้ 1 กรกฎาคม 2548 (ต่อ) ประเด็นภาคบริการและการลงทุน ฝ่ายไทย เปิดเสรีการลงทุน 100% ในธุรกิจผลิตบางประเภทที่รัฐบาลส่งเสริม เช่น ซอฟต์แวร์ อิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น แต่ต้องมีมูลค่าลงทุนไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท เปิดรับเฉพาะผู้บริหาร ผู้จัดการ และผู้เชี่ยวชาญ ภายใต้สัญญาจ้างไม่เกิน 1 ปี แต่ต่ออายุได้ถึง 5 ปี โดยมีเงื่อนไขคล้ายคลึงกับกรอบ TAFA ฝ่ายนิวซีแลนด์ อนุญาตให้ไทยลงทุนในธุรกิจทุกประเภทได้ 100% ยกเว้นประมง เพิ่มเพดานขนาดการลงทุนที่ต้องขออนุญาตจาก 50 ล้าน เป็น 100 ล้าน $NZ สนับสนุนให้แรงงานไทยเข้าไปประกอบธุรกิจร้านอาหารและสปามากขึ้น ประเด็นความร่วมมืออื่นๆ ได้แก่ SPS MRA E-commerce IPR Competition Policy และการพัฒนา S&T ในสาขาต่างๆ

  9. กรอบความตกลง FTA อาเซียน-จีน: ACFTA มีผลบังคับใช้ 1 กรกฎาคม 2548 ประเด็นสินค้า: แบ่งเป็น 2 กลุ่ม • กลุ่มสินค้าเร่งลดภาษี (Early Harvest Program) ครอบคลุมสินค้าเกษตรทุกรายการ (เริ่มลดภาษีใน 1 มค. 2547) ลดภาษีสินค้าผักและผลไม้ (ไทย-จีน เหลือ 0 ภายใน 1 ตค. 2546) • กลุ่มสินค้าทั่วไป ได้แก่ สินค้าปกติ (Normal Track) ลดอัตราภาษีเป็น 0 ภายใน 1 มค. 2553 สินค้าอ่อนไหว (Sensitive Track) คาดว่าจะลดภาษีเหลือ 0 ได้เร็วที่สุดภายในปี 2561 เช่น เหล็ก เหล็กกล้า เครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องจักร ยางรถยนต์ รองเท้า กระจก น้ำผลไม้ เป็นต้น

  10. กรอบความตกลง FTA อาเซียน-จีน: ACFTA มีผลบังคับใช้ 1 กรกฎาคม 2548 (ต่อ) ประเด็นภาคบริการและการลงทุน ฝ่ายอาเซียน ประเทศสมาชิกอาเซียนรวมทั้งไทยเสนอผูกพันเปิดตลาดในระดับสูงกว่าที่เปิดตลาดภายใต้ WTO แต่ต่ำกว่าที่เปิดตลาดให้กันเองในอาเซียน โดยครอบคลุมกิจกรรมบริการบางประเภทในสาขาวิชาชีพ การศึกษา บริการด้านสุขภาพ การท่องเที่ยว และการขนส่งทางเรือ ฝ่ายจีน จีนเสนอเปิดตลาดเพิ่มเติมจากข้อผูกพันภายใต้ WTO โดยครอบคลุมกิจกรรมในสาขาบริการด้านคอมพิวเตอร์ บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ บริการขนส่งสินค้าทางถนน และบริการธุรกิจอื่นๆ ประเด็นความร่วมมืออื่นๆ ได้แก่ จีนและอาเซียน รวมทั้งไทยได้ตกลงจัดตั้งศูนย์อำนวยความสะดวก และส่งเสริมการค้าและการลงทุน ประสานความร่วมมือโดยเฉพาะในด้านพิธีการศุลกากร IPR MRA และรายสาขา เช่น เกษตรกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง

  11. กรอบความตกลง FTA ไทย-อินเดีย: TIFTA • ประเด็นสินค้า: แบ่งเป็น 3 กลุ่ม • กลุ่มสินค้า 82 รายการในกรอบ Early Harvest Scheme: EHS (กันยายน 2547-2549) เช่น เงาะ ลำใย มังคุด ทุเรียน องุ่น ข้าวสาลี อาหารทะเลกระป๋อง อัญมณีและเครื่องประดับ เม็ดพลาสติก เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เป็นต้น • กลุ่มสินค้าปกติ คาดว่าจะสามารถยกเลิกกำแพงการค้าได้อย่างน้อย 80% ภายในปี 2553 (ยังอยู่ระหว่างการเจรจา) 3. สินค้าอ่อนไหว ไทยเสนอให้ลดภาษีเหลือ 5% ภายในปี 2553 แต่ฝ่ายอินเดียเสนอให้ลดเหลือ 5% ภายในปี 2558 และเป็น 0 ภายในปี 2563 (ยังอยู่ระหว่างการเจรจา)

  12. กรอบความตกลง FTA ไทย-อินเดีย: TIFTA (ต่อ) ประเด็นภาคบริการและการลงทุน • ไทยและอินเดียตกลงใช้แนวทาง Positive List ทยอยเปิดเสรีภาคบริการทั้ง 4 Mode ตามพื้นฐานของความตกลงด้านการค้าบริการภายใต้ GATS เป้าหมายหลัก คือ อุตสาหกรรมที่ทั้งคู่มีความพร้อมสูง เช่น ภาคการท่องเที่ยว ภาคขนส่งและคมนาคม ภาคการก่อสร้าง ภาคการเงิน และภาคบริการวิชาชีพ เป็นต้น • ประเด็นการลงทุน ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายและกฏระเบียบด้านการลงทุน ประเด็นความร่วมมืออื่นๆ ได้แก่ ตกลงความร่วมมือใน 11 สาขา เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศ การประมง การก่อสร้าง เป็นต้น การอำนวยความสะดวกด้านพิธีการศุลกากร การจัดทำ MRA SPS เป็นต้น

  13. กรอบความตกลง FTA ไทย-ญี่ปุ่น: JTEPA มีผลบังคับใช้ 1 พฤศจิกายน 2550 ประเด็นสินค้า: ทยอยยกเลิกภาษีใน 4 กลุ่มสินค้า ได้แก่ • สินค้าปกติที่ยกเลิกภาษีทันที 90% สำหรับญี่ปุ่น ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของไทย เช่น ยาสูบ เชื่อเพลิงจากแร่ ฝ้าย/เส้นใยประดิษฐ์ สิ่งทอ/เสื้อผ้า เป็นต้น • สินค้าปกติที่ทยอยลดภาษีเหลือ 0 ภายใน 5 ปี เช่น เวชภัณฑ์ สบู่ กระดาษ เซรามิก สินแร่และผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น • สินค้าอ่อนไหวที่มีกำหนดการลดอัตราภาษีภายใน 10 ปี เช่น ปู ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ ธัญพืช เมล็ดพืช ยางและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น • สินค้าอ่อนไหวสูงได้แก่ สินค้าเกษตรที่ใช้กำแพงภาษีและโควต้า ภายใน 15 หรือ 20 ปี เช่น สับปะรด เนื้อไก่แกลลัสโดเมสติกัส เป็นต้น

  14. กรอบความตกลง FTA ไทย-ญี่ปุ่น: JTEPA มีผลบังคับใช้ 1 พฤศจิกายน 2550 (ต่อ) ประเด็นการเปิดเสรีภาคบริการและการลงทุน ฝ่ายไทย  เปิดเสรีการลงทุนภาคบริการในสาขาที่มีความพร้อมเป็นลำดับแรก (Positive List) โดยในทุกอุตสาหกรรมเปิดให้ชาวญี่ปุ่นเข้ามาถือหุ้นได้เกินร้อยละ 50 ได้แก่ สาขาโฆษณา ขนส่ง ซ่อมบำรุงสินค้า โรงแรม ค้าปลีก/ส่ง และที่ปรึกษา ฝ่ายญี่ปุ่น อนุญาตให้ไทยเข้าไปลงทุนได้เต็มที่ยกเว้น Negative List ได้แก่ การเกษตรและประมง ป่าไม้และเหมืองแร่ เป็นต้น ประเด็นความร่วมมืออื่นๆ  7 โครงการ ได้แก่ ครัวไทยสู่โลก โครงการอนุรักษ์พลังงาน โครงการเศรษฐกิจสร้างมูลค่า โครงการหุ้นส่วนภาครัฐและเอกชน โครงการอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งหุ่ม โครงการอุตสาหกรรมเหล็ก และโครงการสถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมยานยนต์  อำนวยความสะดวกในเรื่อง IPR Government Procurement Competition Policy Custom Procedure e-Commerce MRA การลดอุปสรรค TBT และ SPS เป็นต้น

  15. FTA บนถนนการเมืองใหม่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี 2550: มาตรา 190 • หนังสือสัญญาใดมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุนหรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา • ก่อนดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศ หรือ องค์การระหว่างประเทศ ครม. ต้องให้ข้อมูล และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และต้องชี้แจงต่อรัฐสภา และให้ครม. เสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ

  16. FTA บนถนนการเมืองใหม่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี 2550: มาตรา 190 • เมื่อลงนามก่อนแสดงเจตนาให้มีผลผูกพัน ครม. ต้องให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญา • ให้มีกฏหมายว่าด้วยการกำหนดขั้นตอนและวิธีการจัดทำหนังสือสัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม หรือมีผลผูกพันด้านการค้าหรือการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งการแก้ไขเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญาดังกล่าว

  17. FTA ในวันข้างหน้า: ไหลลื่น ลื่นล้ม หรือล้มลุก คลุกคลาน??

More Related