1 / 18

OFDM

OFDM. Orthogonal frequency division multiplex. ความเป็นมา OFDM. OFDM เป็นมาตรฐานทางเทคนิคที่แตกแขนงออกมาจากเทคโนโลยี Spread Spectrum มีการรับส่งข้อมูลแบบมอดูเลตที่ใช้สัญญาณพาหะหลายสัญญาณ ( Multi-carrier modulation: MCM )

lewis-lyons
Download Presentation

OFDM

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. OFDM Orthogonal frequency division multiplex

  2. ความเป็นมา OFDM • OFDM เป็นมาตรฐานทางเทคนิคที่แตกแขนงออกมาจากเทคโนโลยี Spread Spectrum • มีการรับส่งข้อมูลแบบมอดูเลตที่ใช้สัญญาณพาหะหลายสัญญาณ (Multi-carrier modulation: MCM) • MCM เป็นเทคนิคที่ทำให้ช่องสื่อสารถูกแบ่งออกเป็นย่อยๆโดยแต่ล่ะส่วนจะเป็นช่องที่เป็นอิสระจากกัน • พ.ศ.2508 OFDM ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในกิจการสื่อสารทางทหาร ด้านระบบสื่อสารผ่านความถี่สูง เช่น ระบบ KINEPLEX ของบริษัทวิทยุคอลลินส์

  3. ความหมายของ MCM (Multi-carrier modulation) • เป็นหลักการของการส่งข้อมูลดิจิตอล • ทำการแบ่งข้อมูลทั้งหมด เป็นจำนวนข้อมูลขนาดใหญ่ที่ขนานกัน • แต่ละกลุ่มมีการส่งผ่านข้อมูลด้วยความเร็วต่ำ • การส่งข้อมูลไปแบบขนาน โดยนำกลุ่มข้อมูลแต่ละกลุ่มมามอเลต กับสัญญาณพาหะย่อยจะทำให้มีการส่งข้อมูลได้มากขึ้น • ยิ่งเพิ่มจำนวนสัญญาณพาหะย่อยมากขึ้นเท่าไหร่ ยิ่งส่งข้อมูลได้มากขึ้น และมีการลดทอนสัญญาณน้อยลง

  4. ความหมายของ OFDM • OFDM ย่อมาจาก Orthogonal Frequency Division Multiplex • เป็นรูปแบบของ MCM สมัยใหม่ • เป็นเทคนิคการมอดูเลชั่นแบบหลายคลื่นพาห์ (Multiple Carrier Modulation) ซึ่งเป็นรูปแบบของการสื่อสารแบบขนาน • OFDM เป็นเทคโนโลยีการเข้ารหัสในชั้น Physical Layer สำหรับถ่ายทอด สัญญาณผ่านทางคลื่นวิทยุ • OFDM สร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานสำหรับระบบสื่อสารไร้สายแบบเคลื่อนที่แบนด์กว้าง (Broad band) มีอัตราการส่งข้อมูลสูงๆ

  5. ความตั้งฉากซึ่งกันและกัน ใน OFDM • ตั้งฉากซึ่งกันและกัน (Orthogonality) คือ “การเกี่ยวข้องกันเป็นมุมฉากหรือมีส่วนประกอบเป็นมุมฉาก” • ใน OFDM ความตั้งฉากซึ่งกันและกันเป็นการนำเอาสัญญาณพัลล์มาทำเป็นสัญญาณพาหะ • สเปคตรัมของสัญญาณพาหะแต่ละตัวมีค่าสัญญาณเป็นศูนย์ ที่กลางแถบความถี่ของแต่ละสัญญาณพาหะในระบบ • สัญญาณพาหะย่อยสามารถแยกออกจากลุ่มโดยปราศจากการสอดแทรกหรือรบกวนจากสัญญาณพาหะย่อยอื่นๆ • สัญญาณพาหะย่อยสามารถจัดวางไว้ใกล้มากที่สุดที่จะทำได้ในทางทฤษฎี

  6. หลักการทำงานของระบบ OFDM • OFDM เป็นเทคนิคการมัลติเพล็กซ์โดยการแบ่งความถี่ • การส่งสัญญาณดิจิตอลความเร็วสูง • การส่งสัญญาณ จะถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มข้อมูลที่ความเร็วต่ำลง จำนวนสิบหรือร้อยกลุ่ม • กลุ่มข้อมูลย่อยทีมีความเร็วต่ำกว่า จะถูกนำไปมอดูเลตกับสัญญาณพาหะย่อยทั้งหมดส่งขนาดกันออกไป • QAM, 16QAM หรือ 64QAM คือ รูปแบบในการมอดูเลตสัญญาณพาหะย่อยที่นิยมทั่วไป • ใน OFDM กลุ่มของข้อมูลจะถูกแปลงให้อยู่ในรูปขนานกัน โดยการมอดูเลตกับสัญญาณพาหะย่อย • FFT หรือการแปลงกลับฟาสท์ฟูเรียร์

  7. หลักการทำงานของระบบ OFDM รูปที่1 แสดงบล็อกไดอะแกรมตัวส่ง OFDM

  8. หลักการทำงานของระบบ OFDM รูปที่ 2 แสดง บล็อกไดอะแกรมรับ OFDM

  9. การแปลงฟูเรียร์และการแปลงกลับฟูเรียร์ • เพื่อแยกสัญญาณออกเป็นส่วนประกอบ ทางความถี่ของสัญญาณ • เป็นเทคนิคทางคณิตศาสตร์สำหรับแปลงฟังก์ชั่น ที่มีแกนในเชิงเวลาเป็นฟังก์ชั่นที่มีแกนในเชิงความถี่ • เป็นการแยกหรือสลายรูปคลื่นหรือฟังก์ชั่น ออกเป็นสัญญาณลักษณะซายย์ • โดยเมื่อนำสัญญาณลักษณะซายย์เหล่านี้มารวมกันทางเฟสแล้ว จะได้เป็นรูปคลื่นเหมือนเดิม • การแปลงโดยใช้วิธี ฟาสฟูเรียร์ (FFT) จะทำให้การคำนวณการแปลงฟูเรียร์และการแปลงกลับ ทำได้เร็วยิ่งขึ้น

  10. การแปลงฟูเรียร์อย่างรวดเร็วการแปลงฟูเรียร์อย่างรวดเร็ว รูปที่ 3 แสดงการแปลงฟูเรียร์อย่างรวดเร็วของสัญญาณที่ทำการมอดูเลตกับสัญญาณ พาหะย่อย

  11. รูปที่ 4 การมัลติเพล็กซ์ของอนุกรมของสัญญาณบนแกนความถี่

  12. การเสริมสร้างไซคลิก เทคนิคนี้ใช้สำหรับแก้ไขสัญญาณที่คุณภาพลดลงในช่องสื่อสารอันเนื่องมาจากสัญญาณมีการเคลื่อนที่หลายเส้นทาง รูปที่ 5 การเสริมสร้างไซคลิก

  13. การปรับแต่งการมอดูเลตใน OFDM • เพื่อให้การทำงานง่ายขึ้นต่อระบบ MCM • สามารถจะเลือกเทคนิคการมอดูเลตโดยอัตโนมัติตามขนาดของแถบความถี่ที่ใช้การส่ง • การปรับแต่ง (Adaptive) เทคนิคการมอดูเลตแบบนี้ทำให้คุณภาพการรับ-ส่งดีขึ้น • การปรับแต่งการมอดูเลตทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานแถบความถี่ของระบบ

  14. การเลื่อนหายของความถี่ที่เลือก (Frequency selective fading) สิ่งที่เกิดขึ้นกับความถี่ (สัญญาณพาหะย่อย) 2 ความถี่บนแถบความถี่ที่ใช้นำข่าวสารมาจากเครื่องส่งไปยังเครื่องรับ ถ้าความถี่ทั้งสองอยู่ใกล้ซึ่งกันและกัน ดังนั้นความแตกต่างของเส้นทางที่เคลื่อนที่จะมีผลต่อกับความถี่ทั้งสองใกล้เคียงกัน ทำให้การเปลี่ยนแปลงขนาดและเฟสใกล้เคียงกันมาก อย่างไรก็ตามถ้าความถี่ทั้งสองอยู่ห่างกันออกไปทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างความถี่ทั้งสองแย่ลง เพราะว่าการเลื่อนของเฟสตามแต่ละเส้นทางจะต่างกันมาก ซึ่งการลดลงของความสัมพันธ์ของความถี่จะขึ้นอยู่กับค่าหน่วงเวลาระหว่างสัญญาณที่รับเข้ามาจากเส้นทางที่ต่างกัน ในสภาวะแวดล้อมที่คลื่นวิทยุมีการเดินทางหลายเส้นทาง การเลื่อนหายของความถี่ที่เลือกสามารถส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างสูงต่อกำลังงานที่เครื่องรับรับได้ สำหรับช่องสื่อสารที่ไม่มีสัญญาณจากเส้นทางโดยตรงจากเครื่องส่ง การเลื่อนหายของคลื่นวิทยุเหล่านี้อาจสูงถึง 30dB ผลที่ตามมาคืออัตราส่วนของสัญญาณต่อสัญญาณรบกวนลดลงและข้อมูลที่ได้รับมีความผิดพลาดมากขึ้น

  15. การเลื่อนหายของความถี่ที่เลือก (Frequency selective fading) คือ การที่หลายๆ ความถี่พาหะมาจับจองอยู่บนแถบความถี่เดียวกันมากจนทำให้ความเปลี่ยนแปลงแต่ละความถี่เกิดความแตกต่างกันมากจนทำให้สัญญาณผิดพลาดได้ เพราะว่าขนาดและเฟสของความถี่ที่จะประกอบกันเป็นสัญญาณข่าวสารที่เครื่องรับจะไม่เหมือนกันกับที่เป็นในเครื่องส่ง • ในสภาวะแวดล้อมที่คลื่นวิทยุมีการเดินทางหลายเส้นทาง การเลือนหายของความถี่ที่เลือก สามารถส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างสูงต่อ ต่อกำลังงานที่เครื่องรับได้รับได้ • ข้อมูลที่รับมา อาจมีความผิดพลาดได้มากขึ้น • การแก้ไข ตรวจสอบ ข้อผิดพลาด สามารถกระทำได้ที่ปลายทาง

  16. ประโยชน์ของ OFDM • OFDM ช่วยแก้ปัญหาการจางหายของสัญญาณ • OFDM สามารถแก้ปัญหาการเกิดการรบกวนแบบแทรกสอดระหว่างสัญลักษณ์ (Inter Symbol Interference) หรือ ISI ของสัญญาณข้อมูลขึ้นที่เครื่องรับได้ง่ายกว่าและยังสามารถส่งข้อมูลที่มีอัตราสูงๆ ได้อย่างสบาย • สามารถใช้งานแถบความถี่ในระบบที่เคยใช้สัญญาณพาหะเดี่ยวได้อย่างเต็มประ สิทธิภาพ (spectral efficiency)ประมาณสองเท่าของการใช้สัญญาณพาหะเดี่ยว • สามารถป้องกันผลกระทบจากการเคลื่อนที่ของสัญญาณหลายเส้นทาง (immunity to muti-path) • มีความไวต่ำต่อการเลื่อนหายไปของความถี่ที่เลือก (less sensitivity to frequency selective fading)

  17. OFDM ที่เห็นในชีวิตประจำวัน • การส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิตอล เช่น TITV หรือ UBC และอื่นๆ • บนระบบมือถือ แบบแถบความถี่กว้างที่ต้องการความเร็วในการส่งข้อมูล • ใช้ในระบบ WIMAX • ระบบ ADSL • ระบบวิทยุกระจายเสียง

  18. คำถาม • OFDM เป็นหนึ่งในมาตรฐานทางเทคนิคที่แตกแขนงออกมาจากเทคโนโลยีอะไร?? • OFDM สร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานสำหรับระบบสื่อสารไร้สายแบบเคลื่อนที่แบนด์กว้าง (Broad band) มีอัตราการส่งข้อมูลสูงๆ เช่น อะไรบ้าง ??? • การมอดูเลตแบบ OFDM จะมีการสอดแทรกช่วงแถบป้องกันแคบๆ เพื่ออะไร และช่วงแถบป้องกันแคบๆ นี้เรียกว่าอะไร?? • OFDM เป็นคลื่นความถี่มาตรฐาน สำหรับมาตรฐาน เครือข่ายอะไร?? • จงบอกประโยชน์ของ ระบบ OFDM ??

More Related