1 / 11

ภูมิปัญญาท้องถิ่น อยุธยา จัดทำโดย ด.ช.ดนุพร แสงบุญ เสนอ อ.ฐิตาพร ดวงเกตุ

ภูมิปัญญาท้องถิ่น อยุธยา จัดทำโดย ด.ช.ดนุพร แสงบุญ เสนอ อ.ฐิตาพร ดวงเกตุ. วัดพระศรีสรรเพชร. วัดพระศรีสรรเพชญ์  หรือ วัดพระศรีสรรเพชญ เป็นวัดหลวงใน พระราชวังโบราณ อยุธยา  ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ซึ่งเป็นต้นแบบของ  วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร. วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร.

len-wade
Download Presentation

ภูมิปัญญาท้องถิ่น อยุธยา จัดทำโดย ด.ช.ดนุพร แสงบุญ เสนอ อ.ฐิตาพร ดวงเกตุ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ภูมิปัญญาท้องถิ่นอยุธยาจัดทำโดย ด.ช.ดนุพร แสงบุญเสนอ อ.ฐิตาพร ดวงเกตุ

  2. วัดพระศรีสรรเพชร • วัดพระศรีสรรเพชญ์ หรือ วัดพระศรีสรรเพชญ เป็นวัดหลวงในพระราชวังโบราณ อยุธยา ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ซึ่งเป็นต้นแบบของ วัดพระศรีรัตนศาสดารามกรุงเทพมหานคร

  3. วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหารวัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร • วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมป้อมเพชรอำเภอพระนครศรีอยุธยาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระอัยกาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ให้ชื่อว่าวัดทอง เป็นวัดของฝ่ายวังหน้า ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ก็โปรดเกล้าให้บูรณะวัดนี้ทั้งหมด จึงถือว่า วัดนี้เป็นวัดประจำราชวงศ์จักรี

  4. วัดพนังเชิง • วัดพนัญเชิง ตั้งอยู่ที่หมู่ 2 ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพระอารามหลวง

  5. วัดมหาธาตุ • วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่เชิงสะพานป่าถ่าน ทางทิศตะวันออกของวัดพระศรีสรรเพชญ์ พงศาวดารบางฉบับ กล่าวว่าวัดนี้ สร้างในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ต่อมาสมเด็จพระราเมศวรโปรดเกล้าฯให้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาต มาบรรจุไว้ใต้ฐานพระปรางค ์ประธานของวัดเมื่อพ.ศ.1927 พระปรางค์วัดมหาธาตุถือเป็นปรางค์ที่สร้างในระยะ แรก ของสมัยอยุธยาซึ่งได้รับอิทธิพลของปรางค์ขอมปนอยู่ ชั้นล่างก่อสร้างด้วย ศิลาแลงแต่ที่เสริมใหม่ ตอนบน เป็นอิฐถือปูน สมเด็จพระเจ้าปราสาททองได้ทรงปฏิสังขรณ์พระปรางค์ใหมโดยเสริมให้สูงกว่าเดิมแต่ขณะนี้ ยอด พังลงมาเหลือเพียงชั้นมุขเท่านั้นจึงเป็นที่น่าเสียดายเพราะมีหลักฐานว่าเป็นปรางค์ ที่มีขนาดใหญ่มากและก่อสร้าง อย่างวิจิตรสวยงามมากเมื่อพ.ศ. 2499 กรมศิลปากรได้ขุดแต่งพระปรางค์แห่งนี้ พบของโบราณหลายชิ้น ที่สำคัญ คือ ผอบศิลา ภายในมีสถูปซ้อนกัน 7 ชั้น แบ่งออกเป็น ชิน เงินนาก ไม้ดำ ไม้จันทร์แดง แก้วโกเมน และทองคำ ชั้นในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและเครื่องประดับอัน มีค่าปัจจุบันพระ บรมสารีริกธาตุนำไปประดิษฐาน ไว้ที่ี่ พิพิธภัณฑ์ สถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา

  6. วัดไชยวัฒนาราม • วัดไชยวัฒนาราม หรือ วัดชัยวัฒนาราม เป็นวัดที่อยู่นอกเกาะเมืองอยุธยา แต่ก็มีความสำคัญมากวัดหนึ่งในพระนครศรีอยุธยาได้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2173 โดยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระองค์โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นบนที่ที่เป็นบ้านเดิมของพระองค์เพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายพระราชมารดา แต่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะเหนือนครละแวกโดยจำลองแบบมาจากปราสาทนครวัด

  7. วัดพุทไธศวรรย์ • วัดพุทไธศวรรย์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ในตำบลสำเภาล่มอำเภอพระนครศรีอยุธยา ในสมัยกรุงศรีอยุธยา วัดพุทไธศวรรย์เป็นพระอารามหลวงที่ใหญ่โตและมีชื่อเสียงวัดหนึ่ง ปรากฏตามตำนานว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างขึ้นในบริเวณที่ซึ่งเป็นที่ตั้งพลับพลาที่ประทับเมื่อทรงอพยพมาตั้งอยู่ก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ที่ตรงนี้มีชื่อปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า "ตำบลเวียงเล็กหรือเวียงเหล็ก" ครั้นเมื่อสถาปนากรุงศรีอยุธยาแล้ว ถึง พ.ศ. 1896 จึงโปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นเป็นพระราชอนุสรณ์ ณ ตำบลซึ่งพระองค์เสด็จมาตั้งมั่นอยู่แต่เดิม และพระมหากษัตริย์องค์ต่อ ๆ มาก็คงจะได้โปรดให้สร้างถาวรวัตถุ เพิ่มเติมขึ้นอีกหลายอย่าง อนึ่ง เมื่อเสียกรุงฯ ในปี พ.ศ. 2310 วัดพุทไธศวรรย์ก็เป็นอีกวัดหนึ่งที่มิได้ถูกพม่าทำลายเหมือนวัดอื่น ๆ ทุกวันนี้จึงยังมีโบราณสถานไว้ชมอีกมากมาย

  8. วัดธรรมิกราช • วัดธรรมิกราช เดิมชื่อ วัดมุขราช ตั้งอยู่ใน อำเภอพระนครศรีอยุธยาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ติดกับพระราชวังโบราณ และวัดพระศรีสรรเพชญ์ ปัจจุบันยังเป็นวัดที่มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษาและปฏิบัติธรรมอยู่ โดยมีพระครูสมุห์ธรรมภณเป็นเจ้าอาวาส

  9. วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหารวัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร • วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอินพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดในสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุต สร้างขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงใช้เป็นสถานที่สำหรับบำเพ็ญพระราชกุศล เมื่อเสด็จฯ แปรพระราชฐานมาประทับที่พระราชวังบางปะอิน โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเลียนแบบโบสถ์ฝรั่ง เป็นศิลปะแบบโกธิค (Gothic)

  10. วัดหน้าพระเมรุ • วัดหน้าพระเมรุ ตั้งอยู่ที่อำเภอพระนครศรีอยุธยาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ริมคลองสระบัวด้านเหนือของคูเมือง (แม่น้ำลพบุรีเก่า) ตรงข้ามกับพระราชวังหลวง มีชื่อเดิมว่า "วัดพระเมรุราชการาม" แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างในสมัยใด พิจารณาได้ว่า น่าจะเป็นวัดสร้างขึ้นตรงที่ถวายพระเพลิงกษัตริย์องค์ใดองค์หนึ่ง ในต้นสมัยอยุธยา เป็นวัดเดียวในกรุงศรีอยุธยาที่ไม่ถูกพม่าทำลาย และยังคงสภาพที่ดีมาก เพราะพม่าได้ไปตั้งกองบัญชาการอยู่ที่วัดนี้ พระอุโบสถเป็นแบบอยุธยาซึ่งมีเสาอยู่ภายใน แต่น่าจะมาเพิ่มเสารับชายคาที่หลังในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระประธานในอุโบสถซึ่งสร้างปลายสมัยอยุธยา เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องหล่อสำริดขนาดใหญ่ที่สุดที่ปรากฏและมีความงดงามมาก ด้านหลังพระอุโบสถยังมีอีกองค์หนึ่งแต่เล็กกว่า คือ พระศรีอริยเมตไตรย์

  11. วัดภูเขาทอง • วัดภูเขาทองสมเด็จพระราเมศวร ทรงสร้าง เมื่อ พ.ศ. 1930เมื่อบุเรงนองยกมาตีกรุงศรีอยุธยาได้เมื่อ พ.ศ. 2112 นั้น ได้สร้างพระเจดีย์ภูเขาทองขึ้นไว้เป็นที่ระลึก ต่อมาสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ โปรดให้ซ่อมองค์พระเจดีย์ตอนบน เป็นแบบไทยพร้อม ๆ กันกับการบูรณะวัด

More Related