1 / 77

ระบบนิเวศ ( ECOSYSTEM)

ระบบนิเวศ ( ECOSYSTEM). 1. ความหมายของระบบนิเวศ ( Ecosystem )

leighton
Download Presentation

ระบบนิเวศ ( ECOSYSTEM)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระบบนิเวศ (ECOSYSTEM)

  2. 1. ความหมายของระบบนิเวศ (Ecosystem) ระบบนิเวศเป็นหน่วยที่สำคัญที่สุดในการศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมเพราะประกอบไปด้วยสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด มีการแลกเปลี่ยนสสาร แร่ธาตุ และพลังงานกับสิ่งแวดล้อม โดยผ่านห่วงโซ่อาหาร(food chain) มีลำดับของการกินเป็นทอด ๆ ทำให้สสารและแร่ธาตุมีการหมุนเวียนไปใช้ในระบบจนเกิดเป็นวัฏจักรให้มีการถ่ายทอดพลังงานไปตามลำดับขั้นเป็นช่วงๆในห่วงโซ่อาหารได้ การจำแนกองค์ประกอบของระบบนิเวศ ส่วนใหญ่จะจำแนกได้เป็นสององค์ประกอบใหญ่ ๆ คือ องค์ประกอบที่มีชีวิตและองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต

  3. ภาพ แบบจำลองระบบนิเวศขนาดเล็กแสดงให้เห็นถึงกระบวนการสำคัญ: การไหลของพลังงาน (energy) และ การหมุนเวียนสารเคมี (chemical cycling)

  4. องค์ประกอบของระบบนิเวศองค์ประกอบของระบบนิเวศ การจำแนกองค์ประกอบของระบบนิเวศแยกตามหน้าที่ในระบบ ได้แก่พวกที่สร้างอาหารได้เอง (autotroph) และสิ่งมีชีวิตได้รับอาหารจากสิ่งมีชีวิตอื่น (heterotroph) อย่างไรก็ตามการจำแนกองค์ประกอบของระบบนิเวศโดยทั่วไปมักประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่มีชีวิต (biotic) และองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต (abiotic)

  5. 1.องค์ประกอบที่มีชีวิต (biotic component) ได้แก่  1.1 ผู้ผลิต (producer or autotrophic) ได้แก่สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองได้ จากสารอนินทรีย์ส่วนมากจะเป็นพืชที่มีคลอโรฟิลล์  1.2 ผู้บริโภค (consumer) ได้แก่สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ (heterotroph) ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่กินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร เนื่องจากสัตว์เหล่านี้มีขนาดใหญ่จึงเรียกว่า แมโครคอนซูเมอร์ (macroconsumer)

  6. 1.3 ผู้ย่อยสลายซาก (decomposer, saprotroph, osmotroph หรือ microconsumer) ได้แก่สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่สร้างอาหารเองไม่ได้ เช่น แบคทีเรีย เห็ด รา (fungi) และแอกทีโนมัยซีท (actinomycete) ทำหน้าที่ย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้วในรูปของสารประกอบโมเลกุลใหญ่ให้กลายเป็นสารประกอบโมเลกุลเล็กในรูปของสารอาหาร (nutrients) เพื่อให้ผู้ผลิตนำไปใช้ได้ใหม่อีก

  7. 2. องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต (abiotic component) ได้แก่    2.1 สารอนินทรีย์ (inorganic substances) ประกอบด้วยแร่ธาตุและสารอนินทรีย์ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในเซลล์สิ่งมีชีวิต เช่น คาร์บอน ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำเป็นต้น สารเหล่านี้มีการหมุนเวียนใช้ในระบบนิเวศ เรียกว่า วัฏจักรของสารเคมีธรณีชีวะ (biogeochemical cycle) 

  8.    2.2 สารอินทรีย์ (organic compound) ได้แก่สารอินทรีย์ที่จำเป็นต่อชีวิต เช่นโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และซากสิ่งมีชีวิตเน่าเปื่อยทับถมกันในดิน (humus) เป็นต้น   2.3 สภาพภูมิอากาศ (climate regime) ได้แก่ปัจจัยทางกายภาพที่มีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ แสง ความชื้น อากาศ และพื้นผิวที่อยู่อาศัย (substrate) ซึ่งรวมเรียกว่า ปัจจัยจำกัด (limiting factors)

  9. กระบวนการหลักสองอย่างของระบบนิเวศคือ การไหลของพลังงานและการหมุนเวียนของสารเคมี การไหลของพลังงาน (energy flow) เป็นการส่งผ่านของพลังงานในองค์ประกอบของระบบนิเวศ ส่วนการหมุนเวียนสารเคมี (chemical cycling) เป็นการใช้ประโยชน์และนำกลับมาใช้ใหม่ของแร่ธาตุภายในระบบนิเวศ อาทิเช่น คาร์บอน และ ไนโตรเจน

  10. พลังงานที่ส่งมาถึงระบบนิเวศทั้งหลายอยู่ในรูปของแสงอาทิตย์ พืชและผู้ผลิตอื่นๆจะทำการเปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นพลังงานเคมีในรูปของอาหารที่ให้พลังงานเช่นแป้งหรือคาร์โบไฮเดรต พลังงานจะไหลต่อไปยังสัตว์โดยการกินพืช และผู้ผลิตอื่นๆ ผู้ย่อยสลายสารที่สำคัญได้แก่ แบคทีเรียและฟังไจ (fungi)ในดินโดยได้รับพลังงานจากการย่อยสลายซากพืชและซากสัตว์รวมทั้งสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่ตายลงไป ในการใช้พลังงานเคมีเพื่อทำงาน สิ่งมีชีวิตจะปล่อยพลังงานความร้อนไปสู่บริเวณรอบๆตัว ดังนั้นพลังงานความร้อนนี้จึงไม่หวนกลับมาในระบบนิเวศได้อีก ในทางกลับกันการไหลของพลังงานผ่านระบบนิเวศ สารเคมีต่างๆสามารถนำกลับมาใช้ได้อีกระหว่าง สังคมของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต พืชและผู้ผลิตล้วนต้องการธาตุคาร์บอน ไนโตรเจน และแร่ธาตุอื่นๆในรูปอนินทรียสารจากอากาศ และดิน

  11. การสังเคราะห์ด้วยแสง(photosynthesis)ได้รวมเอาธาตุเหล่านี้เข้าไว้ในสารประกอบอินทรีย์ อาทิเช่น คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน สัตว์ต่างๆได้รับธาตุเหล่านี้โดยการกินสารอินทรีย์ เมแทบอลิซึม (metabolism) ของทุกชีวิตเปลี่ยนสารเคมีบางส่วนกลับไปเป็นสารไม่มีชีวิตในสิ่งแวดล้อมในรูปของสารอนินทรีย์ การหายใจระดับเซลล์(respiration) เป็นการทำให้โมเลกุลของอินทรียสารแตกสลายออกเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำ การหมุนเวียนของสารสำเร็จลงได้ด้วยจุลินทรีย์ที่ย่อยอินทรียสารที่ตายลงและของเสียเช่นอุจจาระ และเศษใบไม้ ผู้ย่อยสลายเหล่านี้จะกักเก็บเอาธาตุต่างๆไว้ในดิน ในน้ำ และในอากาศ ในรูปของ สารอนินทรีย์ ซึ่งพืชและผู้ผลิตสามารถนำมาสร้างเป็นสารอินทรีย์ได้อีกครั้ง หมุนเวียนกันไปเป็นวัฏจักร

  12. ระดับการกินอาหาร (trophic levels) ความสัมพันธ์ของการกินอาหารเป็นตัวกำหนดเส้นทางของการไหลของพลังงานและวัฏจักรเคมีของระบบนิเวศ จากการวิเคราะห์การกินอาหารในระบบนิเวศทำให้นักนิเวศวิทยาสามารถ แบ่งชนิดของระบบนิเวศออกได้ตามแหล่งอาหารหลักของระดับการกิน(trophic level)

  13. ระดับการกินอาหาร และห่วงโซ่อาหาร (trophic level and food web) ลำดับการถ่ายทอดอาหารจากระดับหนึ่งไปสู่อีกระดับเรียกว่า ห่วงโซ่อาหาร (food chain)  - สัตว์พวก herbivore เป็นสัตว์กินพืช สาหร่ายและแบคทีเรีย จัดเป็นผู้บริโภคแรกเริ่ม (primary consumers)  - carnivore ซึ่งจะกินผู้บริโภค เรียกว่าผู้บริโภคลำดับสอง (secondary consumers) ได้แก่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ขนาดเล็ก สัตว์ฟันแทะ นก กบ และ แมงมุม สิงโตและสัตว์ใหญ่ที่กินพืช( herbivores)   ในนิเวศแหล่งน้ำส่วนใหญ่เป็นปลาขนาดเล็กที่กินแพลงค์ตอนสัตว์ (zooplankton) รวมถึงสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังใต้ท้องน้ำ - ระดับการกินที่สูงขึ้นมาอีกคือผู้บริโภคลำดับสาม(tertiary consumers) ได้แก่งู ที่กินหนู บางแห่งอาจมีผู้บริโภคลำดับสี่ (quaternary consumers) ได้แก่นกฮูกและปลาวาฬ

  14. ห่วงโซ่อาหารจะไม่สมบูรณ์ถ้าไม่มีผู้ย่อยสลาย(detritivore หรือ decomposer) ได้แก่ จุลินทรีย์ (โพรแคริโอต และฟังไจ)ซึ่งจะเปลี่ยน อินทรียสารเป็นอนินทรียสาร ซึ่งพืชและผู้ผลิตอื่นๆ สามารถ นำกลับไปใช้ได้อีก พวก scavenger  คือสัตว์ที่กินซาก เช่น ไส้เดือนดิน สัตว์ฟันแทะและแมลงที่กินซากใบไม้ สัตว์ที่กินซากอื่นๆได้แก่ ปูเสฉวน ปลาดุก และอีแร้ง เป็นต้น

  15. บทบาทของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศproducerหมายถึงสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มีคลอโรฟิลล์ ในที่นี้หมายถึงพืชนั่นเอง consumerหมายถึงสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง แบ่งเป็น- herbivore เป็นสัตว์กินพืช สาหร่ายและแบคทีเรีย จัดเป็นผู้บริโภคแรกเริ่ม (primary consumers) - carnivore ซึ่งจะกินผู้บริโภคด้วยกัน เรียกว่าผู้บริโภคลำดับสอง (secondary consumers) ได้แก่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก สัตว์ฟันแทะ นก กบ และ แมงมุม สิงโต - scarvenger กินผู้บริโภคที่ตายแล้ว ได้แก่นกแร้ง หอย ไส้เดือน - decomposer ผู้ย่อยสลาย ได้แก่ จุลินทรีย์ (โพรแคริโอต และฟังไจ)ซึ่งจะเปลี่ยนอินทรียสารเป็นอนินทรียสาร

  16. ห่วงโซ่อาหาร

  17. 3.2 สายใยอาหาร (food web) ระบบ นิเวศจำนวนน้อยที่ประกอบไปด้วยห่วงโซ่อาหารเดี่ยวๆโดยไม่มีสาขาย่อยๆ ผู้บริโภคแรกเริ่มหลายรูปแบบมักจะกินพืชชนิดเดียวกันและผู้บริโภคแรกเริ่ม ชนิดเดียวอาจกินพืชหลายชนิดดังนั้นสาขาย่อยของห่วงโซ่อาหารจึงเกิดขึ้นใน ระดับการกินอื่นๆด้วย ตัวอย่างเช่น กบตัวเต็มวัยซึ่งเป็นผู้บริโภคลำดับสองกินแมลงหลายชนิดซึ่งอาจถูกกินโดยนก หลายชนิด นอกจากนี้แล้ว ผู้บริโภคบางชนิดยังกินอาหารในระดับการกินที่แตกต่างกัน นกฮูกกินหนูซึ่งเป็นผู้บริโภคแรกเริ่มที่กินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิด แต่นกฮูกอาจกินงูซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่กินเนื้ออีกด้วย สิ่งมีชีวิตที่กินทั้งพืชและสัตว์ รวมทั้งมนุษย์ด้วย(omnivore) จะกินทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคในระดับการกินต่างๆ ดังนั้นความสัมพันธ์เชิงการกินอาหารในระบบนิเวศจึงถูกถักทอให้มีความละเอียดซับซ้อนมากยิ่งขึ้นจนกลายเป็นสายใยอาหาร (food web)  

  18. วัฏจักรของสารในระบบนิเวศวัฏจักรของสารในระบบนิเวศ

  19. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ

  20. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตคนละชนิดที่อาศัยอยู่ร่วมกัน แบ่งเป็น + = การได้ประโยชน์ - = การเสียประโยชน์ 0 = การไม่ได้และไม่เสียประโยชน์

  21. 1.ภาวะปรสิต(Parasitism) ใช้สัญลักษณ์ + / -

  22. อาศัยอยู่กับ Host ได้ 2 ลักษณะ 1. ปรสิตภายนอก(Ectoparasite) ได้แก่ กาฝาก ฝอยทอง เหา หมัด โลน เป็นต้น 2. ปรสิตภายใน(Endoparasite) ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส พยาธิต่างๆ

  23. ตัวอย่างภาวะปรสิต 1.พยาธิในท้องมนุษย์ 2.กาฝากบนต้นมะม่วง 3.หมัดบนตัวสุนัข 4.ไวรัสเอดส์กับมนุษย์

  24. กาฝาก

  25. ฝอยทอง

  26. 2.การล่าเหยื่อ (Predation) ใช้สัญลักษณ์ + / -

  27. ตัวอย่างการล่าเหยื่อ 1. สัตว์กินสัตว์ เช่น เสือกินวัว นกกินแมลง 2. สัตว์กินพืช เช่น ตั๊กแตนปาทังก้ากินต้นข้าวโพด พะยูนกินหญ้าทะเล 3. พืชดักจับแมลง เช่น กาบหอยแครง ต้นหยาดน้ำค้าง ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง ดักจับแมลงตัวเล็กๆ เป็นอาหาร

  28. หม้อข้าวหม้อแกงลิง

  29. 3. ภาวะอิงกัน/ อิงอาศัยหรือภาวะเกื้อกูลกัน (Commensalism) ใช้สัญลักษณ์ + / 0

  30. ตัวอย่างภาวะเกื้อกูลกัน 1.พืชอาศัยบนพืชต้นอื่น (Epiphyte) เช่น กล้วยไม้ ชายผ้าสีดา พลูด่าง ที่อยู่บนต้นไม้ใหญ่จะเป็นฝ่ายที่ให้ที่อยู่ อาหาร ได้แสงสว่างและลม 2.เหาฉลามกับปลาฉลามหรือปลาวาฬ : เหาฉลามอาศัยกับฉลามโดยกิน เศษอาหารของฉลาม 3.นก ผึ้ง ต่อ แตน ที่ทำรังบนต้นไม้ 4.แบคทีเรียบนผิวหนังคน 5.ลูกกุ้ง ลูกปู ลูกปลา อาศัยอยู่ในโพรงลำตัวของฟองน้ำ

  31. ตัวอย่างภาวะเกื้อกูลกัน(ต่อ)ตัวอย่างภาวะเกื้อกูลกัน(ต่อ) 6.ตั๊กแตนใบไม้หรือตั๊กแตนกิ่งไม้ที่เกาะอยู่บนใบไม้และกิ่งไม้ 7.ด้วงขี้ควายกับควาย โดยด้วงขี้ควายกินมูลควาย 8.เสือกับนกแร้ง โดยเสือฆ่าเหยื่อทิ้งเศษไว้เป็นอาหารของนกแร้ง 9.ไลเคนที่เจริญเติบโตอยู่บนเปลือกไม้ต้นใหญ่ 10.จั้กจั่นอาศัยบนต้นไม้ 11.กบบนใบบัว

More Related