1 / 24

สื่อหลายมิติ ( HyperMedia )

สื่อหลายมิติ ( HyperMedia ). จัดทำโดย. นายก่อเกียรติ สงกรานต์เสงี่ยม หมู่เรียน 53/28 รหัส 534187150. นางสาวกนกพร ภิญโญ หมู่เรียน 53/28 รหัส 534187102. นางสาวจุฑา ภรณ์ มยุรพงศ์ หมู่เรียน 53/28 รหัส 534187147. นางสาวธนัช ภัค รัตน สิงห์ หมู่เรียน 53/28 รหัส 534187163.

lee-alston
Download Presentation

สื่อหลายมิติ ( HyperMedia )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สื่อหลายมิติ (HyperMedia)

  2. จัดทำโดย นายก่อเกียรติ สงกรานต์เสงี่ยม หมู่เรียน 53/28 รหัส 534187150 นางสาวกนกพร ภิญโญ หมู่เรียน 53/28 รหัส 534187102 นางสาวจุฑาภรณ์มยุรพงศ์ หมู่เรียน 53/28 รหัส 534187147 นางสาวธนัชภัค รัตนสิงห์ หมู่เรียน 53/28 รหัส 534187163

  3. ความหมายของสื่อหลายมิติ (HyperMedia) • สื่อหลายมิติ คือ การเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถรับสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ที่สื่อเสนอได้โดยการเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ในทันทีด้วยความรวดเร็ว ซึ่ง “สื่อหลายมิติ” (Hypermedia) นี้ได้พัฒนามาจาก “ข้อความหลายมิติ” (Hypertext) ซึ่งเป็นการเสนอเพียงข้อความตัวอักษร ภาพกราฟิกและเสียงที่มีมาแต่เดิม

  4. ความหมายและลักษณะของสื่อหลายมิติความหมายและลักษณะของสื่อหลายมิติ น้ำทิพย์ วิภาวิน กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ (Hypermedia) เป็นเทคนิคที่ต้องการใช้สื่อผสมอื่น ๆ ที่คอมพิวเตอร์สามารถนำเสนอได้ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว

  5. ความหมายและลักษณะของสื่อหลายมิติ(ต่อ)ความหมายและลักษณะของสื่อหลายมิติ(ต่อ) วิเศษศักดิ์ โคตรอาชา กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ Hypermedia เป็นการขยายแนวความคิดจาก Hypertext อันเป็นผลมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถผสมผสานสื่อและอุปกรณ์หลายอย่างให้ทำงานไปด้วยกัน

  6. ความหมายและลักษณะของสื่อหลายมิติ(ต่อ)ความหมายและลักษณะของสื่อหลายมิติ(ต่อ) กิดานันท์มลิทอง กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์ ภาพกราฟิกในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบกว่าเดิม

  7. ลักษณะของข้อความหลายมิติ (Hypertext) ข้อความหลายมิติ (Hypertext) เป็นระบบย่อยของ สื่อหลายมิติ (Hypermedia) เป็นการนำเสนอสารสนเทศที่ผู้อ่านไม่จำเป็นต้องอ่านเนื้อหาในมิติเดียวเรียงลำดับกันในแต่ละบทตลอดทั้งเล่ม โดยผู้อ่านสามารถข้ามไปอ่านหรือค้นคว้าข้อมูลที่สนใจในตอนใดก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเรียงตามลำดับเรียง

  8. ลักษณะของข้อความหลายมิติ(ต่อ)ลักษณะของข้อความหลายมิติ(ต่อ) รูปแบบของข้อความหลายมิติมีลักษณะของการเสนอเนื้อหาที่ไม่เป็นเส้นตรงในมิติเดียว ผู้อ่านสามารถอ่านเนื้อหาข้อมูลในมิติอื่น ๆ ได้โดยไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับตามเนื้อหา เพราะข้อความหลายมิติมีการตัดข้อมูลเป็นส่วนย่อยเป็นตอน ๆ เรียกว่า “ จุดต่อ” (nodes) และเมื่อผู้อ่านเรียกจุดต่อขึ้นมาอ่านเราเรียกว่า “การเลือกอ่าน” (browse)

  9. ลักษณะของข้อความหลายมิติ(ต่อ)ลักษณะของข้อความหลายมิติ(ต่อ) การติดต่อกันของจุดต่อนี้เกิดจากการ “เชื่อมโยง” (link) ซึ่งผู้อ่านสามารถกระโดดข้ามจากจุดต่อหนึ่งไปยังอีกจุดต่อหนึ่งได้โดยการคลิกเมาส์ที่ “ปุ่ม” (button) ซึ่งอาจทำไว้ในลักษณะตัวอักษรดำหนา ตัวอักษรสี ตัวขีดเส้นใต้ แถบดำ จุดดำ สัญลักษณ์ เช่น อาจเป็นรูปตาถ้าต้องการแสดงจุดต่อของรูปภาพ หรือทำเป็นรูปลำโพง หรือไมโครโฟนเพื่อเสนอเสียงพูดหรือเสียงดนตรีก็ได้

  10. ลักษณะของข้อความหลายมิติ(ต่อ)ลักษณะของข้อความหลายมิติ(ต่อ) ข้อมูลที่บรรจุในข้อความหลายมิติอาจเปรียบเทียบได้เสมือนกับเป็นบัตรหรือแผ่นฟิล์มใสหลายๆ แผ่นที่วางซ้อนกันเป็นชั้นๆ (stacks) ในแต่ละแผ่นจะบรรจุข้อมูลแต่ละอย่างลงไว้ โดยที่แผ่นแรกจะเป็นข้อมูลเริ่มต้นเพื่อให้อ่านและสามารถใช้เป็นรายการเพื่อพาดพิงหรือค้นคว้าไปถึงข้อมูลในแผ่นอื่น ๆ ต่อไป

  11. ลักษณะของข้อความหลายมิติ(ต่อ)ลักษณะของข้อความหลายมิติ(ต่อ) ข้อมูลเพิ่มเติมย่อย ๆ หรือจุดต่อนี้จะปรากฏในกรอบเล็กหรือหน้าต่างเพื่ออธิบายข้อมูลเริ่มต้นนั้นให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และจะดึงออกมาได้มากน้อยเท่าไรก็ได้ตามความต้องการ ต่อจากนั้นผู้อ่านก็สามารถข้ามไปอ่านเนื้อหาข้อมูลที่สนใจต่อไปได้ และสามารถดึงจุดต่อออกมาใช้ได้ทุกเวลาตามต้องการ

  12. ลักษณะของข้อความหลายมิติ(ต่อ)ลักษณะของข้อความหลายมิติ(ต่อ) ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาข้อความหลายมิติให้สามารถบรรจุข้อมูลได้หลากหลายประเภทขึ้นจึงได้ชื่อว่าเป็น “ไฮเปอร์มีเดีย” (Hypermedia) หรือตามศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถานว่า “สื่อหลายมิติ”

  13. 1.ใช้เป็นเครื่องมือในการสืบค้น (Browsing) สืบไปในข้อมูลสารสนเทศหรือบทเรียนต่างๆ จุดประสงค์ของการใช้สื่อหลายมิติ ( Hypermedia) • 2.ใช้เพื่อการเชื่อมโยง (Linking) โดยเชื่อมโยงภายในระบบเดียวกัน ตลอดจนเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายภายนอก • 3.ใช้ในการสร้างบทเรียน (Authoring) สร้างโปรแกรมนำเสนอรายงานสารสนเทศต่างๆ

  14. สื่อหลายมิติกับการเรียนการสอนสื่อหลายมิติกับการเรียนการสอน ตัวอย่าง การใช้สื่อหลายมิติในการเรียนการสอน เช่น โรงเรียนฟอเรสต์ฮิลล์ เมืองแกรนด์แรพิดส์ มลรัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา ได้ใช้สื่อหลายมิติตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา โดยใช้ในลักษณะบทเรียนสื่อหลายมิติ โดยครูและนักเรียนได้ร่วมกันสร้างบทเรียนเกี่ยวกับการถูกทำลายของป่าฝนในเขตร้อน

  15. สื่อหลายมิติกับการเรียนการสอน(ต่อ)สื่อหลายมิติกับการเรียนการสอน(ต่อ) โดยเริ่มต้นด้วยการค้นคว้าหาเนื้อหาข้อมูลจากห้องสมุดแล้วรวบรวมภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว และเสียงจากแหล่งค้นคว้าต่าง ๆ มาเป็นข้อมูล แล้วทำการสร้างบทเรียนโดยการใช้ Hypercardและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการบันทึกข้อมูล

  16. สื่อหลายมิติกับการเรียนการสอน(ต่อ)สื่อหลายมิติกับการเรียนการสอน(ต่อ) เช่น ใช้เครื่องกราดภาพในการบันทึกภาพถ่าย ส่วนภาพเคลื่อนไหวและเสียงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่อกับเครื่องเล่นแผ่นวีดีทัศน์ และเนื้อหาบางส่วนบันทึกจากแผ่นซีดี – รอมเนื้อหาถูกเชื่อมโยงโดย “ปุ่ม”

  17. สื่อหลายมิติกับการเรียนการสอน(ต่อ)สื่อหลายมิติกับการเรียนการสอน(ต่อ) เพื่อให้ผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนโดยการเลือกเรียนและศึกษาเนื้อหาตามลำดับที่ตนต้องการ ยังมีการเขียนบทเรียนการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในลักษณะสื่อหลายมิติโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ เช่น ToolBookและ AuthorWareด้วย

  18. การผลิตสื่อหลายมิติ การจัดทำสื่อหลายมิติในการผลิตเรื่องราวและบทเรียนต่าง ๆ ในรูปลักษณะและวิธีการของข้อความหลายมิติ โดยการใช้คอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลางการเขียนเรื่องราว ซึ่งมีโปรแกรมที่นิยมใช้หลายโปรแกรม แต่ที่รู้จักกันดี เช่น

  19. ประโยชน์ของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประโยชน์ของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน • 1.เรียกดูความหมายของคำศัพท์ ที่ผู้เรียนยังไม่เข้าใจได้ทันที • 2.ขยายความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนด้วยการ - ดูแผนภาพหรือภาพวาด • - ภาพถ่าย ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกจากเครื่องเล่นแผ่นวีดีทัศน์ • - ฟังเสียงคำอธิบายที่เป็นเสียงพูด หรือฟังเสียงดนตรี เสียง special effect

  20. ประโยชน์ของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน(ต่อ)ประโยชน์ของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน(ต่อ) • 3.ใช้สมุดบันทึกที่มีอยู่ในโปรแกรมเพื่อบันทึกใจความสำคัญของบทเรียน • 4.ใช้เครื่องมือสำหรับการวาดภาพในโปรแกรมนั้นเพื่อวาด แผนที่มโนทัศน์ (concept map) ของตนเพื่อให้เข้าใจบทเรียนได้ง่ายยิ่งขึ้น

  21. ประโยชน์ของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน(ต่อ)ประโยชน์ของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน(ต่อ) • 5.สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ที่สนใจขึ้นมาอ่านหรือดูเพิ่มเติมได้โดยสะดวก • 6.ใช้แผนที่ระบบ (system map) เพื่อดูว่าขณะนี้กำลังเรียนอยู่ตรงส่วนใดของบทเรียนและเพื่อช่วยในการดูว่าจะเรียนในส่วนใดของบทเรียนต่อไป

  22. http://web.yru.ac.th/~sittichai/innovation/fram/contents/software/hyper5.htmlhttp://web.yru.ac.th/~sittichai/innovation/fram/contents/software/hyper5.html แหล่งที่มา http://images.minint.multiply.multiplycontent.com/ http://ninlawan15.blogspot.com/2009/03/hypertext-vannevar-bush-hypertext-3.html http://school.obec.go.th/sup_br3/t_1.htm http://web.yru.ac.th/~sittichai/innovation/fram/contents/software/hyper5.html

More Related