1 / 146

ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส( Opensource Software)

ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส( Opensource Software). เสรี ชิโนดม ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ seree@buu.ac.th. หัวข้อนำเสนอ. ประวัติความเป็นมาของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ความหมายของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส สัญญาอนุญาตแบบต่างๆ กระแสโอเพนซอร์สในประเทศต่างๆ

layne
Download Presentation

ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส( Opensource Software)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส(Opensource Software) เสรีชิโนดม ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ seree@buu.ac.th

  2. หัวข้อนำเสนอ • ประวัติความเป็นมาของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส • ความหมายของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส • สัญญาอนุญาตแบบต่างๆ • กระแสโอเพนซอร์สในประเทศต่างๆ • นโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของไทยโดยใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส • ตัวอย่างซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ใช้ในปัจุบัน • แหล่งสืบค้นข้อมูลของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส

  3. Why Open Source?

  4. History • ความคิดพื้นฐานของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สให้คิดง่ายๆ คือเมื่อ programmers สามารถอ่าน ทำการเผยแพร่ และแก้ไข ปรับปรุงโปรแกรมต้นฉบับของซอฟต์แวร์แล้ว คนอื่นๆ สามารถปรับปรุงต่อได้ สามารถดัดแปลงและแก้ไข bugsที่เกิดขึ้น และcสามารถนำไปใช้งานแทนที่ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานอยู่

  5. History • มีอิสระภาพในการการแก้ไขและปรับปรุง สามารถใช้งานร่วมกันและสร้างสรรค์ร่วมกัน Open Source Now!

  6. ยุคเริ่มต้น :UNIX • 1969 Ritchie และ Thompson,จาก AT&T Bell Labsได้พัฒนาระบบปฏิบัติการเล็กๆหนึ่งตัวขึ้น ซึ่งมีประสิทธิภาพมากใช้กับเครื่องPDP-7 ซึ่งเขาเรียกว่า Unix • ปี 1972, เขาทั้งสองได้สร้างภาษาสำหรับการเขียนโปรแกรมขึ้นเรียกว่า C language • ปี 1974 Unix ได้ถูกปรับปรุงโดยเขียนด้วยภาษา C และสามารถใฃ้ได้กับเครื่องหลาย platforms • Unix กลายเป็นระบบปฏิบัติการยอดนิยมในหมู่นักวิชาการ และ Source Code แจกฟรี

  7. ยุคเริ่มต้น :UNIX • Berkeley ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการเรียกว่า BSD ซึ่งพัฒนามาจาก UNIX และระบบของ AT&T และ BSD เสร็จเมื่อปี 1980 • AT&T ได้ปรับปรุงระบบปฏิบัติการของตนและได้รวบรวมคุณลักษณะบางอย่างของ BSD เข้ามาไว้ในระบบปฏิบัติการของตน • Vendors ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการมากมายซึ่งเป็น proprietary versions ของ UNIX โดยมีฐานเป็น System 7 ของ AT&T

  8. GNU (GNU ‘s not UNIX) • Richard Stallman ไม่พอใจนโยบายการใช้งานซอฟต์แวร์ของมหาวิทยาลัย จึงลาออกจาก MIT และทำการจัดตั้ง Free Software Foundation ในปี 1984 โดยมีจุดม่งหมายเพื่อพัฒนาระบบปฏิบัติการที่แจกจ่ายฟรีคล้าย UNIX และเรียกว่า GNU (GNU ‘s not UNIX)

  9. ความสำเร็จของ GNU • มีโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นโดยใช้หลักการของGNU เช่น • Emacs เป็น Text Editor ที่มีความสามารถมากมาย • gcc- C compiler เป็น GNU Compiler ที่สามารถใช้ได้มากกว่า 30 platforms และสนับสนุนถึง 7 ภาษา • Bash shell • Hurd (OS) start • 1985 GNU ได้ประกาศเป็นทางการ • แต่อย่างไรก็ตาม Kernel หรือ Core ของระบบปฏิบัติการยังไม่สมบูรณ์

  10. ลีนุกซ์ • ลีนุกซ์พัฒนาขึ้นโดย ลีนุส ทอร์วัลด์ส (Linus Torvalds) ในปี 1991 ขณะนั้นกำลังศึกษา ปริญญาโท สาขา Computer Scienceที่มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ (Helsinki) ในประเทศฟินแลนด์

  11. ลีนุกซ์ • ลีนุส ทอร์วัลด์ส พัฒนาระบบลีนุกซ์โดย ศึกษาระบบปฏิบัติการมินิกซ์ (Minix) ซึ่งพัฒนามาจากยูนิกซ์เพื่อใช้งานบน • เครื่องคอมพิวเตอร์พีซี • • ลีนุสทอร์วัลด์ส เห็นว่ามินิกซ์ยังใช้งาน • ไม่ได้ดีจึงปรับปรุงพัฒนาใหม่จากยูนิกซ์ได้เป็นลีนุกซ์ • การตั้งชื่อระบบปฏิบัติการตาม • ชื่อของ Linus

  12. Cathedral & Bazaar • เผยแพร่ในปี 1997 โดย Eric S Raymond • แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างขั้นพื้นฐานของรูปแบบ การพัฒนาซอฟต์แวร์ให้สิทธิการใช้กับซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส โดยการใช้ลีนุกซ์ (Linux) เป็นตัวแทนของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส

  13. Cathedral & Bazaar • Raymond ใช้คำว่า “Cathedral” ซึ่งหมายถึงรูปแบบส่วนใหญ่ในโลกเชิงธุรกิจและ “Bazaar” ว่าหมายถึง รูปแบบของโลกลินุกซ์ (Linux World) ซึ่งผู้พัฒนาอิสระนับพันคนจากทั่วโลก มีการติดต่อกันโดยทางของอินเทอร์เน็ต เพื่อร่วมกันพัฒนาระบบปฎิบัติการที่น่าเชื่อถือที่สุดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน • 1998 Eric Raymond ได้ช่วย บริษัท Netscape ในการจัดทำ ‘open source’ • พยายามสนับการพัฒนาแบบ free software

  14. เปรียบเทียบการพัฒนาของซอฟต์แวร์ให้สิทธิการใช้กับซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส

  15. เปรียบเทียบลักษณะทั่วไปของซอฟต์แวร์ให้สิทธิการใช้กับซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเปรียบเทียบลักษณะทั่วไปของซอฟต์แวร์ให้สิทธิการใช้กับซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส

  16. สรุปโอเพนซอร์สคือ Open Source ≅ Free Software Free Software ≠ Freeware Free Software ≠ Freeware ฟรีแต่ขายได้

  17. Free Software คืออะไรwww.fsf.org ซอฟต์แวร์ที่มีเสรีภาพ ในการ • ใช้งาน (freedom to run ) • ศึกษา (freedom to study) • แจกจ่ายต่อ (freedom to redistribute) • ปรับปรุง (freedom to improve)

  18. โอเพนซอร์สต้องรวมความดังต่อไปนี้โอเพนซอร์สต้องรวมความดังต่อไปนี้ • Free Redistributionเผยแพร่ได้อย่างเสรี; ไม่จำกัดไม่ให้ขายหรือแจก; ทำซ้ำ ขาย หรือแจกจ่ายได้โดยไม่ต้องจ่ายค่า Royalty fee • Source Codeซอร์สโค้ด:นอกจากโปรแกรมที่ compile แล้วต้องเผยแพร่ Source code ด้วย • Derived Worksงานต่อเนื่อง ;อนุญาตให้แก้ไข ปรับแต่ง ดัดแปลง และต้องเผยแพร่ต่อภายใต้ license ต้นฉบับ

  19. โอเพนซอร์สต้องรวมความดังต่อไปนี้โอเพนซอร์สต้องรวมความดังต่อไปนี้ • Integrity of the Authors Source Codeการคงความสมบูรณ์ในซอร์สโค้ดของผู้เขียน;ต้นฉบับอาจกำหนดให้เผยแพร่ฉบับแก้ไขได้ด้วย patch file เพื่อระบุส่วนความรับผิดชอบของ Source code • No Discrimination Against Persons or Groupsการไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลหรือกลุ่ม ; ไม่แบ่งแยกหรือกีดกันบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในการเข้าถึงซอฟต์แวร์ • No Discrimination Against Fields of Endeavorการไม่เลือกปฏิบัติในการจำกัดสาขาการใช้งาน; • ไม่แบ่งแยกหรือกีดกันการใช้ซอฟต์แวร์เฉพาะงานหรือสาขา

  20. โอเพนซอร์สต้องรวมความดังต่อไปนี้โอเพนซอร์สต้องรวมความดังต่อไปนี้ • Distribution of Licenseการเผยแพร่สัญญาอนุญาต; ต้องให้สิทธิเท่าเทียมกันกับทุกฝ่าย โดยต้องไม่มี license เพิ่มเติมเฉพาะฝ่าย; ป้องกันการเรียกร้อง non-disclosure agreement • License Must Not Be Specific to a Productสัญญาอนุญาตต้องไม่เจาะจงผลิตภัณฑ์; ทุกส่วนของต้นฉบับต้องอนุญาตสิทธิที่เท่าเทียมกันสำหรับทุกฝ่ายในการนำไปใช้งาน

  21. โอเพนซอร์สต้องรวมความดังต่อไปนี้โอเพนซอร์สต้องรวมความดังต่อไปนี้ • The License Must Not Restrict Other Softwareสัญญาอนุญาตต้องไม่จำกัดซอฟต์แวร์อื่นๆ License ต้องไม่มีผลถึงซอฟต์แวร์อื่นที่เผยแพร่ไปในสื่อเดียวกัน • No provision of the license may be predicated on any individual technology or style of interfaceสัญญาอนุญาตต้องเป็นกลางทางเทคโนโลยี ไม่มีบทบัญญัติในสัญญาอนุญาตที่ไม่ผูกกับเทคโนโลยีหรือรูปแบบอินเตอร์เฟสแบบใดแบบหนึ่ง

  22. Categories of Free and Non-Free Software

  23. ซอฟต์แวร์เสรี (Free Software) • คำว่าซอฟต์แวร์เสรี (บางครั้งก็เรียกว่าฟรีซอฟต์แวร์) หมายถึง อิสรภาพในการใช้ซอฟต์แวร์นั้นๆ ในทุกๆ วัตถุประสงค์ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาการทำงานของโปรแกรม การประยุกต์ซอฟต์แวร์ให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้ การเผยแพร่ซ้ำและการเพิ่มขีดความสามารถในโปรแกรมและเผยแพร่โปรแกรมที่มีการปรับปรุงแล้วสู่สาธารณชนเพื่อประโยชน์ของประชาคมโดยรวม

  24. ซอฟต์แวร์สาธารณะ (Public domain software) • ซอฟต์แวร์สาธารณะเป็นซอฟต์แวร์ที่ไม่มีลิขสิทธิ์ ในบางกรณีโปรแกรมกระทำการ (Executable Program) สามารถอยู่ใน Public Domain โดยไม่มีซอร์สโค้ดให้ ซึ่งไม่จำกัดว่าเป็นซอฟต์แวร์เสรี เพราะซอฟต์แวร์เสรีต้องสามารถเข้าถึงซอร์สโค้ดได้

  25. Copylefted software • Copylefted software เป็นซอฟต์แวร์เสรีที่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการเผยแพร่ซอฟต์แวร์นั้นๆ ว่า ผู้ที่ทำการดัดแปลงและเผยแพร่ซอฟต์แวร์ซ้ำ จะไม่สามารถตั้งข้อจำกัดในการใช้ซอฟต์แวร์นั้นๆ ได้ ซึ่งหมายความว่า ซอฟต์แวร์เสรีที่เป็น Copylefted software ถึงแม้จะมีการนำมาดัดแปลง ก็จะต้องยังคงเป็นซอฟต์แวร์เสรีอยู่

  26. ฟรีแวร์ (Freeware) • ฟรีแวร์มักจะใช้กับชุดของซอฟต์แวร์ที่อนุญาตให้เผยแพร่ซ้ำได้แต่ไม่สามารถดัดแปลงซอฟต์แวร์ได้ ฟรีแวร์จะไม่ให้ซอร์สโค้ด ซึ่งซอฟต์แวร์ในลักษณะนี้จะไม่ใช่ซอฟต์แวร์เสรี

  27. แชร์แวร์ (Shareware) • แชร์แวร์ เป็นซอฟต์แวร์ที่มาพร้อมกับการอนุญาตอให้ผู้ใช้สามารถเผยแพร่ซ้ำซอฟต์แวร์นั้นๆ แต่ผู้ที่ใช้ซอฟต์แวร์นั้นต่อจะต้องจ่ายค่าสัญญาอนุญาต แชร์แวร์ไม่ใช่ซอฟต์แวร์เสรีหรือแม้แต่กึ่งซอฟต์แวร์เสรีโดยส่วนใหญ่ แชร์แวร์จะไม่ให้ซอร์สโค้ด

  28. ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ (Commercial Software) • ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาโดยธุรกิจซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการหารายได้จากผู้ใช้ซอฟต์แวร์ • ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ กับ ซอฟต์แวร์ให้ใช้สิทธิ์ ไม่เหมือนกัน โดยซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ส่วนใหญ่เป็นซอฟต์แวร์ที่ให้สิทธิ์การใช้แต่ก็มีบ้างที่เป็นซอฟต์แวร์เสรีเชิงธุรกิจ และก็มีบ้างที่ไม่ใช่ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์และไม่ใช่ซอฟต์แวร์เสรี

  29. Open Source Licensing • ทำไมต้องซอฟต์แวร์เพนซอร์สต้องมีสัญญาอนุญาต • ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาอนุญาต กฏหมายลิขสิทธิ์ ไม่มีการรับประกันให้ผู้ใช้มีอิสระในการแก้ไข และ/หรือการเผยแพร่ทำซ้ำ

  30. สัญญาอนุญาต(License) • ปัจจุบันมีข้อสัญญาอนุญาตมากมายที่สามารถจำแนกออกเป็นกลุ่มๆได้ที่เป็นสัญญาอนุญาตพื้นฐานและเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางได้แก่ • The GNU General Public License (GPL) • The GNU Library or "Lesser" Public License (LGPL) • The BSD license • The MIT license • The Artistic license • The Mozilla Public Licensev. 1.0 (MPL)

  31. สัญญาอนุญาต(2) • The Qt Public License (QPL) • The IBM Public License • The MITRE Collaborative Virtual Workspace License (CVW License) • The Ricoh Source Code Public License • The Python license (CNRI Python License) • The Python Software Foundation License • The zlib/libpng license • The Apache Software License • The Vovida Software License v. 1.0 • The Sun Industry Standards Source License (SISSL) • The Intel Open Source License

  32. สัญญาอนุญาต(3) • The Mozilla Public License 1.1 (MPL 1.1) • The Jabber Open Source License • The Nokia Open Source License (NOKOS License) Version 1.0a • The Sleepycat License • The Nethack License • The Common Public License • The Apple Public Source License • The X.Net License • The Sun Public License

  33. สัญญาอนุญาต(4) • The Effiel Forums License • The W3C License • The Motosoto License • The Open Group Test Suite License • The Zope Public License • The zlib/libpng License • The Academic Free License • The Attribution Assurance License

  34. สามารถดูรายละเอียดได้ที่สามารถดูรายละเอียดได้ที่ • http://www.gnu.org/ • http://www.opensource.org/ • http://conferences.oreillynet.com/os2002/ • http://www.slat.org/project/legal/GNU_GPL_Chinese • http://www.gnu.org/licenses/translations.zh.html

  35. The public Domain • ทำไม ซอฟต์แวร์เพนซอร์สจึงไม่ใช้สัญญาอนุญาตแบบ public domain • เนื่องจากถ้าซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สใช้สัญญาอนุญาตแบบ public domain แล้วผู้พัฒนาจะสูญเสียสัญญาอนุญาต เนื่องจากจะทำให้ใครๆสามารถใช้ code นั้นอย่างอิสระเพื่อทำอะไรก็ได้

  36. GPL :GNU General Public License • เป็นสัญญาอนุญาตที่มีข้อจำกัดทางด้านการค้ามากที่สุด • การเปลี่ยนแปลงแก้ไขจะต้องเผยแพร่โปรแกรมต้นฉบับด้วย • GPL code จะต้องแจกฟรี • สามารถทำซ้ำได้

  37. The BSD Licenses • BSD Unix ของ Berkeley • ถ้าต้องการซอร์สโค้ดที่ดัดแปลงให้รวมกับซอฟต์แวร์อื่น • อนุญาตให้เป็นการใช้งงานแบบ proprietary software ได้

  38. Artistic License • เป็นสัญญาอนุญาตที่ Larry Wall ใช้สำหรับพัฒนาภาษา Perl เนื่องจากเขาไม่พอใจสัญญาอนุญาตแบบ GPL • อนุญาตให้ใช้แบบ Proprietary software • มีข้อจำกัดน้อยในการเผยแพร่ Binary code

  39. LGPL • สามารถรวมกับซอฟต์แวร์ที่ไม่ฟรี • รวมกับซอฟต์แวร์อนุญาตให้สิทธิ์และเผยแพร่ซ้ำ • รวมกับซอฟต์แวร์GPL และเผยแพร่ซ้ำ • ต้องแบ่งปันซอร์สของรุ่นเผยแพร่ซ้ำ

  40. ข้อแนะนำสำหรับสัญญาอนุญาต OSS ที่เหมาะสมกับความต้องการ

  41. ตารางเปรียบเทียบลักษณะสัญญาอนุญาตแบบต่างๆ

  42. ตัวอย่าง License • GPL : Emacs • LGPL : C Library [can include in product] • X, BSD, Apache [gov. own; approx. public domain] • Artistic : Perl [non-sale, but can sell if others] • MPL : Mozilla [no allowing Netscape to re-distribution the mod.] • NPL : Netscape [allow Netscape to re-distribution the mod.]

  43. ข้อดี-ข้อเสียของ OSS ข้อดี • เทคโนโลยี: ต่อยอด, นวัตกรรม, มาตรฐาน, ความปลอดภัย • เศรษฐกิจ: ประหยัดงบประมาณ, ลดต้นทุน การผลิต • สังคม: ลดช่องว่างของการเข้าถึงข่าวสาร, ป้องกันการผูกขาด • บุคลากร: พัฒนาบุคลากร, โปรแกรมเมอร์ • จริยธรรม: ลดปัญหาซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ สามารถกำหนด License ใหม่ได้

  44. ข้อดี-ข้อเสียของ OSS • ข้อดี • ทำให้ซอฟต์แวร์ราคาลดลง • ข้อเสีย • มีหลากหลาย • ผู้ใช้ขาดความเชื่อมั่น • การรักษาความปลอดภัย ยังมองต่างมุม • เอกสารที่เกี่ยวข้องเผยแพร่ยังมีน้อยมาก • ขาดบุคลากร

  45. กระแสนิยมโอเพนซอร์สในต่างประเทศกระแสนิยมโอเพนซอร์สในต่างประเทศ • จีน: • YangFan, Qihang, RedFlag • ญี่ปุ่น: • METI เริ่มโครงการทดลองใช้โอเพนซอร์สในสำนักงาน • Sharp, Fujitsu, Toshiba, IBM, ... • Turbo Linux, Vine Linux, ... • เกาหลี: • โอเพนซอร์สในสำนักงานของรัฐ • Hancom Linux (office suite in Sharp Zaurus)

  46. กระแสนิยมโอเพนซอร์สในต่างประเทศกระแสนิยมโอเพนซอร์สในต่างประเทศ • อินเดีย: • เอพีเจ อับดุล คาลาม (A.P.J. Abdul Kalam) ประธานาธิบดีอินเดีย หนุนซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส โดยกล่าวว่าซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส ช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนา เช่น อินเดีย มีโอกาสก้าวได้ทัดเทียมกับชาติตะวันตกหรือประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลก • เยอรมัน: • คณะผู้บริหารเมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี ได้ประกาศอัพเกรดคอมพิวเตอร์จำนวน 14,000 เครื่อง จากระบบ Windows ไปเป็น Linux รวมถึงเปลี่ยนชุดซอฟต์แวร์ออฟฟิศจาก Microsoft Office ไปเป็น OpenOffice ด้วย คิดเป็นมูลค่า 30 ล้านยูโร (ประมาณ 1.5 พันล้านบาท)

  47. กระแสนิยมโอเพนซอร์สในต่างประเทศกระแสนิยมโอเพนซอร์สในต่างประเทศ • ฟิลิปปินส์: • Bayanihan Linux (based on RH 7.3) • ELGU (tax collection, real-estate property management, e-business) • แผนปฏิบัติการโอเพนซอร์ส 2003 • เวียดนาม: • RedHat Vietnam Edition (based on RH 7.1) • Vietkey Linux

  48. กระแสนิยมโอเพนซอร์สในต่างประเทศกระแสนิยมโอเพนซอร์สในต่างประเทศ • เวเนซุเอลา: • รัฐบาลกำหนดนโยบายและสนับสนุนการใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สทุกรูปแบบ • สเปน: • ใน Extremadura region ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานทางธุรกิจ การใช้งานที่บ้านและการใช้งานในสำนักงานของหน่วยงานราชการทั้งหมดเปลี่ยนมาใช้ลีนุกซ์แทน

  49. กระแสนิยมโอเพนซอร์สในต่างประเทศกระแสนิยมโอเพนซอร์สในต่างประเทศ • สหประชาชาติ: • หนังสือพิมพ์นิวยอร์ก ไทมส์ รายงานโดยอ้างความเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่กล่าวแก่กลุ่มนักลงทุนและเจ้าหน้าที่กำหนดนโยบาย ในงานประชุมเน็ต เวิลด์ ออร์เดอร์ ว่า รัฐบาลประเทศกำลังพัฒนาจะสามารถเสริมสร้างเศรษฐกิจของตนได้โดยการกวาดล้างคอรัปชั่น, ปรับปรุงศักยภาพรัฐ และใช้เทคโนโลยีโอเพ่นซอร์สในการพัฒนาโครงข่ายข้อมูลข่าวสารที่น่าเชื่อถือและมีราคาถูก • กลุ่มผู้บริหารที่เข้าร่วมงานได้ให้ความเห็นว่า การอาศัยระบบปฏิบัติการโอเพ่นซอร์สที่เป็นเทคโนโลยีระดับพื้นฐานและมีต้นทุนต่ำ จะช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนามีโอกาสสร้างเศรษฐกิจที่เข้มแข็งของตนเองได้

  50. บริษัทยักษ์ใหญ่ใช้โอเพนซอร์สบริษัทยักษ์ใหญ่ใช้โอเพนซอร์ส • บริษัทหลักทรัพย์ยักษ์ใหญ่ของอเมริกา เช่น เมอร์ริล ลินช์ หันมาใช้ลีนุกซ์ ซึ่งช่วยประหยัดเงินได้นับล้านดอนลาร์สหรัฐ พร้อมดินหน้าปรับสถาปัตยกรรมโครงสร้างข้อมูลใหม่ทั้งระบบด้วยลีนุกซ์โดยใช้เป็นทั้งเครื่องแม่ข่าย และลูกข่าย • บริษัท เวอริซ่อน ผู้ให้บริการโทรคมนาคม ยืนยันว่า บริษัทประหยัดต้นทุนค่าอุปกรณ์ภายในองค์กรได้เกือบ 6 ล้านดอนลาร์สหรัฐ • ส่วนอเมซอนดอทคอมสามารถประหยัดเงินได้นับล้านดอลลาร์สหรัฐ

More Related