1 / 74

โมเมนตัม และ การชน

โมเมนตัม และ การชน. โมเมนตัม ( Momentum). ปริมาณที่บอกสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ ซึ่งพยายามทำให้วัตถุพุ่งตัวไปข้างหน้าในทิศทางของความเร็วเป็นปริมาณเวกเตอร์มีทิศตามทิศของความเร็ว. โมเมนตัมและการชน. ปริมาณโมเมนตัม หาได้จากผลคูณของความเร็วกับ มวล

Download Presentation

โมเมนตัม และ การชน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โมเมนตัม และ การชน

  2. โมเมนตัม (Momentum) ปริมาณที่บอกสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ ซึ่งพยายามทำให้วัตถุพุ่งตัวไปข้างหน้าในทิศทางของความเร็วเป็นปริมาณเวกเตอร์มีทิศตามทิศของความเร็ว โมเมนตัมและการชน

  3. ปริมาณโมเมนตัม หาได้จากผลคูณของความเร็วกับมวล จากความหมายของโมเมนตัมจะเขียนสมการได้ว่า เมื่อ m คือ มวลของวัตถุ v คือ ความเร็วของวัตถุ Pคือ โมเมนตัมของวัตถุ โมเมนตัมมีหน่วยเป็นกิโลกรัม.เมตรต่อวินาที (kg .m/s) หรือ N.s. โมเมนตัมและการชน

  4. หมายเหตุ จากกฎการเคลื่อนที่ข้อหนึ่งของนิวตัน ที่เรียกว่า กฎของความเฉื่อย ซึ่งอาจเขียนในรูปของโมเมนตัมได้ว่า ในกรณีที่วัตถุมีความเร็วคงตัว โมเมนตัมของวัตถุคงตัวเสมอ โมเมนตัมและการชน

  5. แรงและการเปลี่ยนแปลงโมเมนตัมแรงและการเปลี่ยนแปลงโมเมนตัม เมื่อวัตถุมวล m เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว u มีแรงคงตัว F กระทำต่อวัตถุในช่วงเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป วัตถุเปลี่ยนเป็น v ดังรูปที่ 1 โมเมนตัมและการชน

  6. จากสมการ คือ แรงลัพธ์คงตัวที่กระทำต่อวัตถุมวล m คือ โมเมนตัมของวัตถุก่อนถูกแรงกระทำ คือ โมเมนตัมของวัตถุภายหลังถูกแรงกระทำ คือ โมเมนตัมของวัตถุที่เปลี่ยนไปในช่วงเวลา t อาจเขียนย่อๆว่า P อาจเขียนได้ใหม่ว่า หรือ โมเมนตัมและการชน

  7. แรงดล ถ้าแรงคงตัวที่กระทำต่อวัตถุ เพื่อเปลี่ยนแปลงโมเมนตัมของวัตถุในช่วงเวลาสั้นๆ ( น้อยๆ ) เราจะเรียก ว่า แรงดล (Impulsive Force) โดยแรงที่ใช้ในการเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ จะมากหรือน้อย นอกจากจะขึ้นอยู่กับมวลและความเร็วของวัตถุ แล้ว ยังขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่ออกแรงกระทำด้วย โมเมนตัมและการชน

  8. การดล ผลคูณของแรง กับ เวลาที่เปลี่ยนแปลง ( ) เรียกว่า การดล (Impluse) สัญลักษณ์ “ I ” จากสมการการดล ก็คือ โมเมนตัมที่เปลี่ยนแปลง ( )นั่นเอง แต่จะต้องเป็นการพิจารณาในช่วงเวลาสั้นๆเป็นปริมาณเวกเตอร์มีทิศเดียวกับแรงลัพธ์ที่กระทำกับวัตถุและมีหน่วยเป็นนิวตัน.วินาที(N.s) หรือ หรือ โมเมนตัมและการชน

  9. การหาการดลและโมเมนตัมที่เปลี่ยนไปจากกราฟระหว่าง F กับ t 1.การดลเมื่อแรงคงตัว การหาการดล หาได้จาก หรือจากพื้นที่ใต้กราฟ หาได้จาก พื้นที่ใต้กราฟระหว่าง F และ t คือการดล (I) หรือ  P โมเมนตัมและการชน

  10. 2. การดลเมื่อแรงไม่คงตัว เราอาจทำให้แรงคงตัวได้ โดยการหา ค่าเฉลี่ยของแรง F ดังกราฟรูป (b) โดยพื้นที่ใต้กราฟรูป (1) และรูป (3) ต้องมีขนาดเท่ากัน จากรูป (3) จะแทนขนาดของแรง F ในสมการ โมเมนตัมและการชน

  11. หรือเราสามารถหาพื้นที่ใต้กราฟ โดยใช้สมการอินทิเกรต ดังนั้น โมเมนตัมและการชน

  12. การหาการดลจากการเปลี่ยนแปลงโมเมนตัม ( ) การหาการเปลี่ยนแปลงโมเมนตัม แยกคิดได้ 2 แบบ คือ (1)เมื่อความเร็วก่อนเปลี่ยนและหลังเปลี่ยนอยู่ในแนวเดียวกัน (2) เมื่อความเร็วก่อนเปลี่ยนและความเร็วหลังเปลี่ยนอยู่คน ละแนวกัน โมเมนตัมและการชน

  13. เมื่อความเร็วก่อนเปลี่ยนและหลังเปลี่ยนอยู่ในแนวเดียวกันเมื่อความเร็วก่อนเปลี่ยนและหลังเปลี่ยนอยู่ในแนวเดียวกัน 1.1 วาดรูปแสดงการเคลื่อนที่ ณ ตำแหน่งก่อนเปลี่ยนและหลังเปลี่ยน 1.2 กำหนดทิศทางของ u และ v โดยให้ทิศของ v เป็นบวก (+) เสมอ ถ้าไปในทางเดียวกับมีทิศเป็นบวก (+) แต่ถ้าสวนทางกับมีทิศเป็นลบ (-) โมเมนตัมและการชน

  14. ตัวอย่าง วัตถุมวล m กำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว แล้วถูกแรง กระทำเป็น เวลา t ทำให้ความเร็วเปลี่ยนเป็น จะหาการเปลี่ยนแปลงโมเมนตัมและแรง ที่กระทำดังรูป โมเมนตัมและการชน

  15. รูป ( ก) แสดงเมื่อแรง อยู่ในแนวเดียวกับ จาก ; ( v > u ) และ (มีทิศ ) และ (มีทิศ ) โมเมนตัมและการชน

  16. รูปที่ 6 (ข) เมื่อแรง มีทิศทางตรงข้ามกับ ;( มีทิศ ) และ ;( มีทิศ ) โมเมนตัมและการชน

  17. รูปที่ 6 (ค) เมื่อวัตถุตกในแนวดิ่ง รูปที่ 6 (ค) เมื่อวัตถุตกในแนวดิ่ง จาก โมเมนตัมและการชน

  18. เมื่อความเร็วก่อนเปลี่ยนและความเร็วหลังเปลี่ยนอยู่คนละแนวกันเมื่อความเร็วก่อนเปลี่ยนและความเร็วหลังเปลี่ยนอยู่คนละแนวกัน 2.1 หาขนาดและทิศทางของ และ ก่อน 2.2 ใช้วิธีการทางเวกเตอร์หา , ตามสมการ และ โมเมนตัมและการชน

  19. ตัวอย่างวัตถุมวล m กำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว แล้วถูกแรง กระทำในทิศทำมุมกับการเคลื่อนที่ ทำให้ความเร็วเปลี่ยนเป็น ในทิศทำมุม กับ จะหาการเปลี่ยนแปลงโมเมนตัม ได้ดังรูป โมเมนตัมและการชน

  20. จากรูปสามารถหา ได้โดยวิธีการวาดรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน แล้วใช้สูตรคำนวณ โมเมนตัมและการชน

  21. กฎการอนุรักษ์โมเมนตัมกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม “ ถ้าวัตถุเคลื่อนที่โดยไม่มีแรงภายนอกมากระทำ ซึ่งเป็นไปตามกฎการเคลื่อนที่ข้อที่หนึ่งของนิวตัน วัตถุจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัวตลอดไป หรือกล่าวได้ว่า วัตถุนั้นมีโมเมนตัมคงตัวทั้งขนาดและทิศทาง ตลอดการเคลื่อนที่ ”  = คงที่ ก่อนกระทบ= หลังกระทบ สูตรคือ โมเมนตัมและการชน

  22. พิจารณาสมการจากรูป ก่อนการชน วัตถุA เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว uA วัตถุB เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว uB หลังการชนวัตถุA เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว vA วัตถุB เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว vB โมเมนตัมและการชน

  23. ขณะวัตถุ Aและวัตถุ B ชนกันไม่มีแรงภายนอกใดๆกระทำ จะได้ว่า ขณะวัตถุทั้งสองชนกัน จะมีแรงคู่กิริยา-ปฏิกิริยาระหว่างวัตถุทั้งสองเกิดขึ้น โดยมีขนาดเท่ากัน ดังรูป ก่อนกระทบ = หลังกระทบ เขียนสมการได้ว่า โมเมนตัมและการชน

  24. การชน หมายถึงการที่วัตถุหนึ่งกระทบกับอีกวัตถุหนึ่งในช่วงเวลาสั้นๆ หรือในบางครั้งวัตถุอาจไม่ต้องการกระทบกันแต่มีแรงมากระทำต่อวัตถุแล้วให้ผลเหมือนกับการชนก็ถือว่าเป็นการชนกัน ตัวอย่างเช่นการชนกันของรถ , การกระทบกันของลูกตุ้มกับเสาเข็ม , การตีเทนนิส, ตีปิงปอง , ตีกอล์ฟ , การเตะลูกฟุตบอล , การระเบิดของวัตถุระเบิด ,การยิงปืน เป็นต้น โมเมนตัมและการชน

  25. การชนของวัตถุโดยมากมักจะมีแรงภายนอกมากระทำต่อวัตถุ ซึ่งขนาดของแรงจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะการชนกันของวัตถุ และในการชนอาจมีการสูญเสียค่าโมเมนตัมมากหรือน้อย หรือไม่สูญเสียเลยก็ได้ โมเมนตัมและการชน

  26. เราอาจแยกการชนได้ 2 ลักษณะ ดังนี้ เมื่อโมเมนตัมของระบบมีค่าคงตัว เป็นการชนที่ขณะชนมีแรงภายนอกมากระทำน้อยมาก เมื่อเทียบกับขนาดของแรงดล ที่เกิดกับวัตถุขณะชนกัน หรือแรงภายนอกเป็นศูนย์ เช่น การชนของลูกบิลเลียด การชนกันของรถยนต์ การยิงปืน เป็นต้น 2. เมื่อโมเมนตัมของระบบไม่คงที่ เป็นการชนที่ขณะชนมีแรงภายนอกมา . กระทำมากกว่าแรงดลที่เกิดกับวัตถุขณะชนกัน เช่น ลูกบอลตกกระทบพื้น . รถยนต์ชนกับต้นไม้ เป็นต้น โมเมนตัมและการชน

  27. สามารถแยกลักษณะการชนได้ 3 แบบ 1. การชนกันแบบยืดหยุ่น ( Elastic collision ) - การชนแบบยืดหยุ่นสมบูรณ์ - การชนแบบยืดหยุ่นไม่สมบูรณ์ 2. การชนแบบไม่ยืดหยุ่น (Inelatic collision) 3.การดีดตัวของวัตถุ หรือการระเบิด โมเมนตัมและการชน

  28. การชนแบบยืดหยุ่นสมบูรณ์ ผลรวมของการชนแบบยืดหยุ่นสมบูรณ์พบว่า 1. ผลรวมของโมเมนตัมก่อนชน = ผลรวมของโมเมนตัมหลังชน ก่อนชน =  หลังชน 2. ผลรวมของพลังงานจลน์ก่อนชน = ผลรวมของพลังงานจลน์หลังชน Ekก่อนชน = Ekหลังชน โมเมนตัมและการชน

  29. การชนกันของวัตถุ 2 ก้อนที่มีความเร็วอยู่ในแนวผ่านจุดศูนย์กลางมวล (C.M.) วัตถุมวล m1เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว เข้าชนวัตถุมวล m2ซึ่งกำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว ในทิศทางเดียวกัน โดย มากกว่า ดังรูป ถ้าเป็นการชนแบบยืดหยุ่นสมบูรณ์ ภายหลังการชนมวล m1 มีความเร็ว มวล m2 มีความเร็ว จะได้ความสัมพันธ์ของการชน ดังนี้ โมเมนตัมและการชน

  30. จาก ก่อนชน =  หลังชน เนื่องจากเป็นการชนในแนวตรงเดียวกัน อาจเขียนสมการใหม่ได้ว่า …(1) จากEkก่อนชน = Ekหลังชน …(2) โมเมนตัมและการชน

  31. u1 + v1 = u2 + v2 ในการแก้ปัญหาการชนแบบยืดหยุ่นสมบูรณ์ โจทย์มักจะถามหาความเร็วหลังการชนของมวลทั้งสอง (v1 , v2) เราจะใช้สมการ 2 สมการ คือ 1.  ก่อนชน =  หลังชน m1u1 + m2u2 = m1v1 + m2v2 2.u1 + v1 = u2 + v2 โมเมนตัมและการชน

  32. การชนเป็นแบบยืดหยุ่นสมบูรณ์ในแนวเส้นตรง เมื่อวัตถุที่ถูกชนอยู่นิ่ง ให้วัตถุมวล m1เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว u1เข้าชนวัตถุมวล m ซึ่งอยู่นิ่งๆในแนวจุดศูนย์กลางของมวลทั้งสองแบบยืดหยุ่นสมบูรณ์ภายหลังการชนวัตถุ m1 ที่มีความเร็ว v1 และวัตถุมวล m 2 มีความเร็ว v2 ดังรูป โมเมนตัมและการชน

  33. ดังนั้น ในการชนแบบยืดหยุ่นสมบูรณ์ ในแนวเส้นตรง ถ้ามวลถูกชนอยู่นิ่ง สามารถหา v2 และ v1 ได้ จากสมการ และ u1 + v1 = u2 + v2 โมเมนตัมและการชน

  34. ***สรุปลักษณะการชนของวัตถุในเส้นตรง (ผ่านจุดศูนย์กลางมวล) แบบยืดหยุ่นสมบูรณ์ โดยวัตถุที่ถูกชนอยู่นิ่ง 1. มวลมากชนมวลน้อย ( m1> m2 ) หลังชนวัตถุทั้งสองจะเคลื่อนที่ไปทางเดียวกันโดย 2. มวลเท่ากันชนกัน ( m1= m2 )หลังชนวัตถุที่เข้าชนจะหยุดนิ่ง(v1 = 0 ) ส่วนวัตถุที่ถูกชนเคลื่อนที่ไปด้วยความเร็วเท่ากับความเร็วก่อนชนของวัตถุที่ชน3. มวลน้อยชนมวลมาก ( m1< m2 ) หลังชนวัตถุที่ชนจะสะท้อนกลับส่วนวัตถุที่ถูกชนเคลื่อนที่ไปในแนวเดียวกับความเร็วก่อนชนของวัตถุที่เข้าชน โมเมนตัมและการชน

  35. การชนแบบไม่ยืดหยุ่น การชนของวัตถุแล้วรูปร่างมีการเปลี่ยนแปลง หรือมีการเคลื่อนที่ติดกันไป จากการทดลองพบว่าการชนกันแบบนี้พลังงานจลน์ไม่คงที่ พลังงานจลน์หลังชนมีค่าน้อยกว่าพลังงานจลน์ก่อนชน เพราะว่าพลังงานจลน์บางส่วนนำไปใช้ในการเปลี่ยนแปลงรูปร่างวัตถุทำให้บุบ, ยุบ และเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานเสียงแต่โมเมนตัมรวม ก่อนการชนเท่ากับโมเมนตัมหลังการชน โมเมนตัมและการชน

  36. ให้วัตถุมวล m1 เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว u1 เข้าชนมวล m2 ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว u2 ในแนวเส้นตรงผ่านจุดศูนย์กลางของมวลทั้งสองปรากฏว่างหลังชนมวล m1 และ m2 เคลื่อนที่ติดกันไปด้วยความเร็ว v ดังรูปที่ โมเมนตัมและการชน

  37. ผลของการชนแบบไม่ยืดหยุ่น ได้ว่า (1) ก่อนชน = หลังชน เมื่อ ได้ว่า m1u1 + m2u2 = (m1 +m2)v (2) ก่อนชน > หลังชน โมเมนตัมและการชน

  38. การดีดตัวของวัตถุ หรือการระเบิด การที่วัตถุแยกหรือแตกออกจากกัน โดยไม่มีแรงภายนอกมากระทำ ซึ่งเดิมวัตถุจะอยู่ด้วยกัน โดยมีเงื่อนไขเหมือนกับการชน 2 ลักษณะที่กล่าวมาแล้ว คือ ก่อนระเบิด = หลังระเบิด โมเมนตัมและการชน

  39. ส่วนพลังงานจลน์ของวัตถุในการระเบิด พบว่าผลรวมพลังงานจลน์หลังการระเบิด จะมีค่ามากกว่าผลรวมของพลังงานจลน์ก่อนระเบิด เนื่องในการระเบิดมีการเปลี่ยนรูปพลังงานรูปต่างๆเป็นพลังงานจลน์ จึงได้ว่า ∑Ek ก่อนระเบิด < ∑Ek หลังระเบิด โมเมนตัมและการชน

  40. ลักษณะของการระเบิดแยกออกได้ 2 ลักษณะ 1. การระเบิดแบบแยกออกจากกันอย่างอิสระ การระเบิดของวัตถุลักษณะนี้วัตถุจะแยกออก จากกันเป็นส่วน ๆ เช่น การยิงปืน , มวลอัดสปริง , คนกระโดดจากเรือ , คนกระโดดจากเรือซึ่งกำลังเคลื่อนที่ 2.การระเบิดแบบสัมพัทธ์ โดยภายหลังการระเบิดวัตถุยังอยู่ด้วยกัน การคำนวณความเร็วของวัตถุแต่ละก้อน ให้คิดเทียบกับพื้นโลก เช่น คนเดินบนเรือซึ่งอยู่นิ่ง , คนเดินบนเรือซึ่งกำลังเคลื่อนที่ โมเมนตัมและการชน

  41. การระเบิดแบบแยกออกจากกันอย่างอิสระการระเบิดแบบแยกออกจากกันอย่างอิสระ • การยิงปืน เดิมกระสุนปืนและปืนอยู่ด้วยกัน ตัวปืนมีมวล M ลูกปืนมวล m หลังยิงลูกปืนมีความเร็ว v ตัวปืนมีความเร็ว V ถอยหลัง โมเมนตัมและการชน

  42. ก่อนยิงปืน โมเมนตัมของระบบ = 0 หลังยิงปืน โมเมนตัมของระบบ = mv – MV จาก โมเมนตัมก่อนยิง = โมเมนตัมหลังยิง 0 = m1v1 + m2v2 = M(-V) + mv จะได้ว่า MV = mv โมเมนตัมและการชน

  43. มวลอัดสปริง วัตถุมีมวล M และ m ผูกติดกันด้วยเชือกและมีสปริงติดอยู่ที่มวลก้อนใดก้อนหนึ่ง เมื่อตัดเชือกขาด มวล M และ m จะเคลื่อนที่ออกจากกันด้วยความเร็ว V และ v ตามลำดับ โมเมนตัมและการชน

  44. ก่อนระเบิด = หลังระเบิด 0 = m1v1 + m2v2 = M(-V) + mv จะได้ว่า mv = MV หรือกล่าวได้ว่า โมเมนตัมของมวล m = โมเมนตัมของมวล M โมเมนตัมและการชน

  45. คนกระโดดจากเรือ เดิมคนมีมวล m อยู่บนเรือ ซึ่งเรือมีมวล M เมื่อคนกระโดดออกจากเรือด้วยความเร็ว v เรือจะเคลื่อนที่ถอยหลังด้วยความเร็ว V โมเมนตัมและการชน

  46. ก่อนระเบิด = หลังระเบิด 0 = m1v1 + m2v2 = M(-V) + mv จะได้ว่า mv = MV หรือกล่าวได้ว่า โมเมนตัมของคนมวล m = โมเมนตัมของเรือมวล M โมเมนตัมและการชน

  47. ***สรุป จากตัวอย่างการระเบิดแบบแยกออกจากกันอย่างอิสระ ได้สมการดังนี้ ก่อนระเบิด = หลังระเบิด 0 = m1v1 + m2v2 = M(-V) + mv mv = MV โมเมนตัมและการชน

  48. คนกระโดดจากเรือซึ่งกำลังเคลื่อนที่ เดิมคนมีมวล m ยืนอยู่บนเรอ M ซึ่งกำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว u แล้วคนกระโดดออกจากเรือด้วยความเร็วทางด้านหน้าด้วยความเร็ว v ทำให้เรือมีความเร็ว V โมเมนตัมและการชน

  49. เมื่อคนกระโดดออกจากเรือ จะได้ว่า ก่อนระเบิด = หลังระเบิด. (m + M) u = mv + MV mu + Mu - mv = MV ดังนั้น โมเมนตัมและการชน

  50. การระเบิดแบบสัมพัทธ์ คนเดินบนเรือซึ่งอยู่นิ่ง ให้คนมีมวล m อยู่นิ่งบนเรือมวล M เมื่อคนเดินด้วยความเร็ว v จะทำให้เรือเคลื่อนที่ในทิศทางตรงข้ามด้วยความเร็ว V ขณะที่คนเดินด้วยความเร็ว v เรือจะเคลื่อนที่ถอยหลังจากคนด้วยความเร็ว V เมื่อเทียบกับพื้นโลก ดังนั้นคนจะมีความเร็ว (v - V) เมื่อเทียบกับโลก โมเมนตัมและการชน

More Related