1 / 47

การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม

การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม. (Analysis of covariance: ANCOVA ). ผศ.ดร.สำราญ กำจัดภัย. เสนอ. ผศ.ดร.ศิกานต์ เพียรธัญญากรณ์. ผศ.ดร.เพลินพิศ ธรรมรัตน์. นาย สีสะหวาด ไชยสมบัติ. โดย. นาย บุญเลิด จันดีนุพาบ. ความหมาย.

koto
Download Presentation

การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (Analysis of covariance:ANCOVA) ผศ.ดร.สำราญ กำจัดภัย เสนอ ผศ.ดร.ศิกานต์ เพียรธัญญากรณ์ ผศ.ดร.เพลินพิศ ธรรมรัตน์ นาย สีสะหวาด ไชยสมบัติ โดย นาย บุญเลิด จันดีนุพาบ

  2. ความหมาย เกษม สาหร่ายทิพย์ ( 2538 :345 ) กล่าวว่าการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (Analysis of Covariance : ANCOVA ) เป็นวิธีการ ทางสถิติที่ใช้ทดสอบนัยสำคัญของความแตกต่างของค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป โดยการปรับแก้ค่าของตัวแปรตามด้วยค่าของตัวแปรอื่นๆ ซึ่งเป็น ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรตาม โดยที่ตัวแปรอื่นๆ ที่ใช้ในการปรับแก้ค่าของตัวแปรตามนั้นไม่ได้เป็นตัวแปรในจุดมุ่งหมายของ การทดลองหรือจุดมุ่งหมายของการวิจัยทั้งนี้เพื่อทำให้ค่าของตัวแปรตามไม่มีความลำเอียงอันเกิดจากตัวแปรอื่นๆ

  3. ประคอง กรรณสูต( 2538: 340 ) ให้ความหมายการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (Analysis of Covariance : ANCOVA) ว่า เป็นระเบียบวิธีการทางสถิติ ที่ใช้สถิติเป็นเครื่องควบคุมตัวแปรหรือส่วนประกอบที่มีส่วนทำให้ตัวแปรเกณฑ์ในการวัดหลังทดลองต่างไปจากความเป็นจริง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2544: 121 )ให้ความหมายการวิเคราะห์ ความแปรปรวนร่วม (Analysis of Covariance: ANCOVA ) ว่าเป็นวิธีการควบคุมทางสถิติที่รวม การวิเคราะห์ความแปรปรวนและความถดถอยเข้าด้วยกัน เพื่อลดความแปรปรวนที่เกิดขึ้นในการทดลองอันทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนออกไป ด้วยการนำตัวแปรที่เป็นต้นเหตุของความคลาดเคลื่อนเข้ามาพิจารณาด้วย

  4. ระพินทร์ โพธิ์ศรี ( 2549: 218) ให้ความหมายการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (Analysis of Covariance : ANCOVA) ว่า เป็นการวิเคราะห์ความแปรปรวน โดยมีตัวแปรร่วม ( covariate) ประกอบการวิเคราะห์ด้วยอย่างน้อยหนึ่งตัว ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ ( 2544: 352) ให้ความหมายการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (Analysis of Covariance : ANCOVA) ว่า เป็นวิธีการทางสถิติที่วิเคราะห์ความแปรปรวนกับการวิเคราะห์การถดถอยโดยวิเคราะห์ทั้งตัวแปรตามและตัวแปรร่วมที่เลือกสรรมาแล้วว่าเป็นตัวแปรที่ดีมาปรับ ผลที่ออกมาจึงเป็นผลของการปรับตัวแปรทั้งสองหรือมากกว่าสองเข้าหากัน เพื่อผลออกมาจะได้มีความคลาดเคลื่อนน้อยและไม่ลำเอียง

  5. สุทธนู ศรีไสย์ ( 2548: 186) ให้ความหมายการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (Analysis of Covariance : ANCOVA) ว่าเป็นกระบวนการหรือเทคนิคทางสถิติที่จะช่วยอธิบายและควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนทางสถิติ โดยเป็นการรวมเอาวิธีวิเคราะห์ความถดถอย ที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงกับการวิเคราะห์ความแปรปรวนเข้าไว้ด้วยกัน

  6. สรุปได้ว่า การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (Analysis of Covariance) ใช้ตัวย่อว่า ANCOVA หมายถึงวิธีการควบคุมทางสถิติที่ใช้ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไปโดยมีการวิเคราะห์ความแปรปรวนซึ่งมีตัวแปรร่วมประกอบการวิเคราะห์ เพื่อควบคุม หรือ ขจัด ผลของ ตัวแปรร่วมตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไป ซึ่งถ้าไม่ควบคุมแล้วจะทำให้ผลการวิจัยผิดพลาด การใช้เทคนิคของ ANCOVA เป็นการควบคุมอิทธิพลของ ตัวแปรเกินทางสถิติ ที่ช่วยให้เกิดผลการวิจัยเป็นไปอย่างถูกต้องเที่ยงตรง (Valid) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ที่มีวัตถุประสงค์เหมือนกับการวิเคราะห์ความแปรปรวน แต่การวิเคราะห์ ANCOVA มีตัวแปรร่วม (Covariate)

  7. ข้อตกลงเบื้องต้นการวิเคราะห์ตัวแปรร่วมข้อตกลงเบื้องต้นการวิเคราะห์ตัวแปรร่วม 1) ตัวแปรตามและตัวแปรร่วม จะต้องเป็นข้อมูลที่อยู่มาตราวัดแบบอันตรภาค หรืออันตราส่วน 2) กลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่มได้มาจากการสุ่มจากประชากรที่มีการแจกแจงปกติ 3) ความแปรปรวนของประชากรในแต่ละกลุ่มต้องไม่แตกต่างกัน (Equal variance) หรือมีความแปรปรวนเป็นเอกพันธ์ (Homogeneity of variance) 4) ตัวแปรร่วมและตัวแปรตามมีความสัมพันธ์กันแบบเส้นตรง 5) ความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปรร่วมและตัวแปรตามต้องมีความสัมพันธ์เหมือนกัน ทุกกลุ่มหรือเรียกว่า (Homogeneity of regression) โดยมีสมการ ถ้าให้ C เป็น ตัวแปรร่วม Y เป็นตัวแปรตาม

  8. ถ้าใช้สัญลักษณ์เป็นตัวแปร C โดยมีลักษะของตัวแปรดังนี้ ตัวแปรต้น (ปัจจัย) ตัวแปรตาม ตัวแปรตาม ลักษณะข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์ 1) ตัวแปรต้น/ ปัจจัย/ กรรมวิธี เป็นลักษณะข้อมูลเชิงคุณภาพ มาตรานามบัญญัติ 2) ตัวแปรตาม ลักษณะข้อมูลเชิงปริมาณ มาตราวัดแบบอันตรภาคขึ้นไป 3) ตัวแปรร่วม ลักษณะข้อมูลปริมาณ มาตราวัดแบบอันตรภาคขึ้นไป ตัวแปรร่วม (Covariate)

  9. ลักษณะข้อมูลวิจัยเชิงทดลองทางด้านการศึกษาที่ต้องวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม 1. เป็นกลุ่มตัวอย่างที่มีตัวแปรที่ไม่สามารถควบคุมโดยวิธีทดลองได้ เช่น ความรู้พื้นฐานเดิมของกลุ่มตัวอย่าง สติปัญญา ความสนใจ ความถนัด ความขยัน ไม่เท่ากันอันเกิดจากไม่มีการสุ่มหรือสุ่มตัวอย่างโดยใช้หน่วยใหญ่ 2. สถานการณ์ในการทดลองที่ต้องใช้นักเรียนแต่ละโรงเรียนเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมการปรับให้กลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่มมีความสามารถเท่ากันก่อนการทดลองต้องใช้ตัวแปรร่วมเพื่อให้ผลการทดลองสรุปผลได้อย่างเที่ยงตรง เช่น ผู้วิจัยต้องการเปรียบเทียบวิธีสอน 3 วิธีว่าจะให้ผลสัมฤทธิ์แตกต่างกันหรือไม่ ถ้าผู้วิจัยไม่สามารถจัดกลุ่มทดลองให้เท่าเทียมกันได้และเลือกวิเคราะห์ผลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน ด้วยการนำค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมาเปรียบเทียบกันผลสรุปจากการทดลองอาจคลาดเคลื่อนได้เนื่องจากเป็นการนำค่าเฉลี่ยครั้งสุดท้ายมาเปรียบเทียบกัน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว นอกจากวิธีสอนที่เป็นตัวแปรอิสระอาจมีตัวแปรแทรกซ้อนที่ผู้วิจัยไม่ต้องการศึกษาแต่มีผลต่อตัวแปรตามคือคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เช่น แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ สติปัญญา เป็นต้น ซึ่งเรียกว่าตัวแปรร่วม แต่ถ้าเป็นการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมจะนำตัวแปรร่วมเข้ามาศึกษาด้วยโดยให้เป็นตัวแปรอิสระตัวที่สอง โดยกำหนดให้ตัวแปรร่วมเป็น x ตัวแปรตามเป็น y แล้วทำการปรับค่าเฉลี่ยของตัวแปร y ซึ่งเป็นผลมาจากตัวแปรร่วม x ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมถ้ามีความแตกต่างตามนัยสำคัญที่กำหนดก็จะนำไปเปรียบเทียบพหุคูณ

  10. ตัวอย่างกรณีที่ควรใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม 1. ผู้วิจัยทำการวิจัยเชิงทดลองเปรียบเทียบวิธีการสอนที่ต่างกัน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่ม เพื่อควบคุมจุดเริ่มต้นของแต่ละกลุ่มก่อนการทดลองไม่มีความแตกต่างกัน ซึ่งโดยหลักการแล้วสามารถที่จะใช้สถิติทดสอบสมมุติฐานตามปกติ เช่น ใช้ t-test (กรณีมี 2 กลุ่ม) หรือ F-test (กรณีมากกว่า 2 กลุ่ม) ทดสอบสมมุติฐานจากผลการวัดหลังทดลองได้ แต่ผู้วิจัย ทำการวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนทดลองโดยใช้แบบทดสอบชุดเดียวกันกับที่จะใช้วัดหลังทดลอง และตรวจสอบว่าผลสัมฤทธิ์ก่อนทดลองแตกต่างกันหรือไม่ ผลปรากฏว่า ค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ก่อนทดลองของกลุ่มเหล่านั้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อมีความแตกต่างกันตั้งแต่จุดเริ่มต้นแล้ว ความแตกต่างดังกล่าวนี้อาจเป็นผลให้มีผลสัมฤทธิ์ที่วัดภายหลังการทดลองแตกต่างกันก็ได้ โดยที่ไม่ใช่เป็นผลมาจากวิธีการสอนที่ต่างกัน กรณีเช่นนี้ควรทดสอบสมมุติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม ซึ่งสามารถควบคุมหรือขจัดผลของความแตกต่างก่อนทดลองออกไป ถ้าพบความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์หลังทดลอง ก็จะมั่นใจได้ว่าเป็นผลมาจากวิธีสอนที่แตกต่างกันนั้น

  11. ตัวอย่างกรณีที่ควรใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ต่อ) 2. ผู้วิจัยจะทดลองสอนวิชาใดวิชาหนึ่ง ด้วยวิธีสอนที่แตกต่างกัน ผู้วิจัยไม่อาจเลือก กลุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่ม (random) ได้ เพราะทางโรงเรียนได้จัดนักเรียนเป็นห้องต่างๆ ไว้แล้ว ผู้วิจัยจำเป็นต้องทำการทดลองสอนนักเรียนตามห้องที่จัดไว้แล้วดังกล่าวห้องละวิธี หลังการทดลองผู้วิจัยจะทำการวัดผลสัมฤทธิ์ในเรื่องที่เรียน แล้วนำค่าเฉลี่ยของนักเรียนในห้องเหล่านั้นมาเปรียบเทียบกัน เมื่อการจัดนักเรียนเป็นห้องต่างๆ ไม่ได้ใช้ วิธีสุ่ม นักเรียนแต่ละห้องอาจมีสติปัญญาแตกต่างกันและสิติปัญญาอาจสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ในเรื่องนั้นๆ ดังนั้น ผู้วิจัยจะไม่ทราบว่าความแตกต่างในผลสัมฤทธิ์เรื่องนั้นเป็นผลมาจากวิธีสอนที่แตกต่างกัน หรือมาจากความแตกต่างทางสติปัญญาของนักเรียนแต่ละห้อง ในตัวอย่างนี้ สามารถใช้เทคนิคของการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของห้องเหล่านั้นว่าแตกต่างกันหรือไม่ โดยที่ทำการควบคุมหรือขจัดอิทธิพลของสติปัญญาออกแล้วในทางสถิติ

  12. ตัวอย่างกรณีที่ควรใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ต่อ) 3. ในการวิจัยผลของยา 2 ขนานที่มีต่อการปฏิบัติงาน ผู้วิจัยจะทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม โดยให้รับประทานยากลุ่มละขนาน แล้ววัดความสามารถในการปฏิบัติงานในช่วงที่มีฤทธิ์ยาอยู่นั้น และเปรียบเทียบกันว่าฤทธิ์ยาให้ผลแตกต่างกันหรือไม่ ถ้าก่อนการทดลองกลุ่มตัวอย่างทั้งสองมีความสามารถในการปฏิบัติงานแตกต่างกันอยู่แล้ว เมื่อพบว่าในช่วงที่มีฤทธิ์ยากลุ่มทั้งสองปฏิบัติงานได้แตกต่างกัน ความแตกต่างนี้อาจไม่ใช่เป็นผลของฤทธิ์ยาที่แตกต่างกัน แต่เป็นผลมาจากความสามารถในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกันอยู่แล้วก็ได้ จึงควรทำการวัดการปฏิบัติงาน ก่อนการทดลอง ของทั้งสองกลุ่ม แล้วใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมขจัดผลของความสามารถก่อนการทดลองไม่ให้มาปนกับการเปรียบเทียบ ผลของยา ในการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมอย่างง่าย อิทธิพลของตัวแปรที่ไม่ได้ควบคุมหรือ ตัวแปรร่วมจะถูกขจัดออกโดยใช้วิธีของการถดถอยเชิงเส้นตรงอย่างง่าย (simple linear regression) และในการหาค่าประมาณของความแปรปรวนที่จะนำมาใช้หาค่า F เพื่อทดสอบสมมติฐานนั้น จะใช้ผลรวมของกำลังสองของส่วนที่เหลือ (residual sum of squares)

  13. ลักษณะของข้อมูลและสัญลักษณ์ในการวิเคราะห์ ความแปรปรวนร่วมอย่างง่าย การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมมีหลายแบบเท่ากันกับการวิเคราะห์ความ แปรปรวน (ANOVA) ในที่นี้จะกล่าวถึงการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม อย่างง่าย ซึ่งเป็นกรณีที่มีตัวแปรอิสระ 1 ตัว มีตัวแปรเกินที่ไม่ได้ควบคุม หรือตัวแปรร่วม (covariate หรือ concomitant variable) ซึ่งจะทำการ ควบคุมโดยทางสถิติ 1 ตัว มีลักษณะของข้อมูลดังในภาพ

  14. จากภาพ X แทน ตัวแปรที่ต้องการศึกษา Y แทนตัวแปรร่วมที่จะทำการควบคุมทางสถิติ ตัวแปรที่เลือกเป็น Y ต้องมีหลักทฤษฎีว่าสัมพันธ์กับ X จากตัวอย่างกรณีที่ควรใช้ การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมที่กล่าวมา กรณีที่ 1 ผลสัมฤทธิ์ที่วัดหลังการทดลองคือ X ผลสัมฤทธิ์ที่วัดก่อนการทดลองคือ Y กรณีที่ 2 ผลสัมฤทธิ์ที่วัดหลังการทดลองคือ X คะแนนสติปัญญาคือ Y กรณีที่ 3 ผลการวัดการปฏิบัติงานก่อนการทดลองให้ปัญยาคือ Y ในการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมอย่างง่ายนี้ มีตัวแปรอิสระ 1 ตัว ซึ่งแบ่งออกเป็น k ระดับ หรือ ประเภท (กลุ่ม) เมื่อ k มีค่าตั้งแต่ 2 ขึ้นไป จำนวนสมาชิกหรือตัวอย่างในแต่ละกลุ่มอาจเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้

  15. การแยกองค์ประกอบของผลรวมของผลคูณการแยกองค์ประกอบของผลรวมของผลคูณ ในการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) อย่างง่าย จะแยกการแปรผันหรือผลรวม ของกำลังสอง (sum of squares) ทั้งหมดออกเป็น ผลรวมของกำลังสองระหว่างกลุ่มกับ ภายในกลุ่ม ในการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมอย่างง่าย จะมีผลรวมของผลคูณ ซึ่งแยกอย่างเดียวกัน นั่นคือ SPT = SPb + SPw ……………………………. (1.1) เมื่อ SPT แทน ผลรวมของผลคูณของทั้งหมด (total sum of products) SPb แทน ผลรวมของผลคูณระหว่างกลุ่ม (between groups sum of products) SPw แทน ผลรวมของผลคูณภายในกลุ่ม ( with in groups sum of products)

  16. Y = i + βiC + e ; i = 1, 2 ,3 … , k (ทุกรูปแบบของการ treatment เช่น ทุกรูปแบบวิธีการสอนที่ทดลอง) นั่นคือต้องตรวจสอบว่า Slop ของเส้นตรงของการ treatment ทั้ง k วิธี เท่ากันหรือไม่ ซึ่ง ต้องตรวจสอบว่าเท่ากัน จึงจะใช้ ANCOVA ได้ ดังภาพ

  17. จะเห็นได้ว่า ข้อตกลงเบื้องต้นในการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม 3 ข้อแรก จะเป็นข้อตกลงแบบเดียวกันกับข้อตกลงเบื้องต้นในการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) และเพิ่มข้อตกลงเพิ่มอีก 2 ข้อ (ข้อ 4-5) เมื่อมีตัวแปรร่วม หรือแบบ ANCOVA

  18. สมมุติฐานในการทดสอบ จะทดสอบสมมติฐานหลัก ( H0) ที่ว่าค่าเฉลี่ยที่ปรับแล้วของประชากร k กลุ่ม ไม่แตกต่าง นั่นคือ H0 : x1 = x2 = … = xk หมายเหตุ ค่าเฉลี่ยที่ปรับแล้ว หมายถึง ค่าเฉลี่ยที่ขจัดอิทธิพลของตัวแปรร่วมออกแล้ว การทดสอบสมมุติฐาน ดำเนินการตามขั้นตอนเดียวกันกับการทดสอบสมมุติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ ความแปรปรวน

  19. ตัวอย่างการทดสอบ และขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย SPSS for Windows ตัวอย่าง ผลการทดลองสอน ผู้วิจัยได้นำความรู้เดิมในภาคเรียนก่อนของนักเรียน 2 ห้อง มาทดสอบ พบว่าคะแนนก่อนเรียนแตกต่างกัน จึงได้ทดลองสอนสองกลุ่มด้วยวิธีการสอนที่แตกต่างกัน 2 วิธี แล้วสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนได้ผลดังตาราง

  20. ขั้นตอน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS for Windows 1. ปรับคะแนนใหม่ให้อยู่ในรูปแบบนี้

  21. 2. เปิดโปรแกรม SPSS แล้วคลิกที่ Variable View เพื่อกำหนดค่าตัวแปร - ตัวแปรกลุ่ม = group width = 1 decimals = 0 และ measure = nominal - ตัวแปรก่อนเรียน = pre width =2 decimals = 0 และ measure = scale - ตัวแปรหลังเรียน = post width = 2 decimals = 0 width = 4 และ measure = scale

  22. 3. คลิกที่ Data View ป้อนข้อมูลลงมาในแนวดิ่งทีละตัวแปร หรือป้อนแนวนอน ทีละcase

  23. 4. คลิกเมนู Analyze Compare Means  Independent-Samples T Test…

  24. 5. คลิกที่ pre และ post แล้วคลิกที่เครื่องหมายลูกศร เพื่อส่งไปที่ Test Variable6. คลิกที่ group แล้วคลิกที่เครื่องหมายลูกศร เพื่อส่งไปที่ Grouping Variable

  25. 7. คลิกที่ Define Groups… เพื่อกำหนด Group 1 = 1 และ Group 2 = 2 8. คลิก OK (ในที่นี้จะกำหนดระดับนัยสำคัญ .05 ถ้าจะใช้อย่างอื่นให้คลิกแก้ไขที่ Option) ได้ผลดังนี้

  26. T - Test

  27. 1. อ่านค่าผลลัพธ์ จากตารางบน จะพบว่า คะแนนก่อนเรียน (pre) ของนักเรียนกลุ่มทดลอง (group=1) ได้คะแนนเฉลี่ย 17.60 นักเรียนกลุ่มควบคุม (group=2) ได้คะแนนเฉลี่ย 8.89 เมื่อพิจารณาผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย (จากตารางล่าง) ค่า F=22.776 Sig.=.000 (ซึ่งน้อยกว่า .05) แสดงว่าความแปรปรวนแตกต่างกัน จึงอ่านค่าทีจากแถวบน ได้ค่า t = 2.982 Sig. =.008 (ซึ่งน้อยกว่า .05) แสดงว่าคะแนนก่อนเรียนของนักเรียนทั้งสองกลุ่มแตกต่างกัน จึงนำคะแนน หลังเรียนมาทดสอบโดยใช้การทดสอบที (t-test) ไม่ได้ ดังนั้น ถ้าอ่านค่าผลลัพธ์ จากตารางบน จะพบว่า คะแนนหลังเรียน (post) ของนักเรียนกลุ่มทดลอง (group=1) ได้คะแนนเฉลี่ย 20.10 นักเรียนกลุ่มควบคุม (group=2 )ได้คะแนนเฉลี่ย 9.00 เมื่อพิจารณาผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย (จากตารางล่าง) ค่า F = 10.106 Sig.=.005 (ซึ่งน้อยกว่า .05) แสดงว่าความแปรปรวนแตกต่างกัน จึงอ่านค่าทีจากแถวบน ได้ค่า t = 3.779 Sig.=.001 (ซึ่งน้อยกว่า .05 และตั้งสมมติฐานว่ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนหลังเรียนไม่แตกต่างกัน เป็นการทดสอบแบบสองหาง (2 tailed)) แสดงว่าคะแนน หลังเรียนของนักเรียนทั้งสองกลุ่มแตกต่างกัน ซึ่งการสรุปเช่นนี้เป็นการสรุปที่ผิดพลาด เนื่องจากทั้งสองกลุ่มมีความรู้พื้นฐานเดิมไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงต้องวิเคราะห์โดยใช้วิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA)ดังต่อไปนี้

  28. 2. วิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA) ตามลำดับขั้นดังนี้ - คลิกเมนู Analyze Compare Means Independent-Samples T Test

  29. -เลือก pre และ post ส่งไปที่ช่องสี่เหลี่ยมขวามือ (Test Variables) -เลือก group ส่งไปที่ Grouping Variable ตั้งค่ากลุ่มเป็น 1 และ 2 แล้วคลิก OK

  30. -กลับมาที่หน้าต่าง SPSS data อีกครั้งหนึ่ง -คลิกเมนู Analyze General Linear Model Univariate…

  31. -คลิกเลือกตัวแปร post คลิกที่ลูกศรเพื่อส่งไปที่ Dependent Variable -คลิกเลือกตัวแปร group คลิกที่ลูกศรเพื่อส่งไปที่ Fixed Factor(s) -คลิกเลือกตัวแปร pre คลิกที่ลูกศรเพื่อส่งไปที่ Covariate(s)

  32. -คลิกที่ Options…แล้วคลิกลูกศรที่ OVEALL และ group เพื่อส่งไปที่ Display Means for : -คลิก ที่ check box ของ Parameter estimates แล้วคลิกที่ Continue แล้ว คลิก OK

  33. จะได้ผลลัพธ์ดังนี้ T - Test

  34. Estimated Marginal Means

  35. 1 การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลอาจเสนอดังนี้ จากตาราง พบว่า คะแนนความรู้เดิมก่อนการทดลองไม่มีความสัมพันธ์กับคะแนนสอบหลังเรียน (F=120.757, Sig.=.000 ซึ่งน้อยกว่า .05) เมื่อใช้คะแนนก่อนเรียนมาเป็นตัวแปรร่วมเพื่อทำนายคะแนนสอบหลังเรียน พบว่าคะแนนสอบหลังเรียนของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แตกต่างกัน(F=5.039, Sig.= .039 ซึ่งน้อยกว่า .05) ดังจะเห็นได้จากคะแนนเฉลี่ยของแต่ละกลุ่ม ดังแสดงในตาราง

  36. จากตาราง พบว่าคะแนนก่อนเรียนของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมเล็กน้อย ดังนั้นในการเปรียบเทียบคะแนนสอบหลังเรียนจึงได้นำคะแนนเฉลี่ยของคะแนนก่อนเรียนมาเป็นตัวแปรร่วมเพื่อใช้ในการปรับค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบหลังเรียน ซึ่งหลังจากปรับค่าแล้ว คะแนนสอบ หลังเรียนของกลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ย ร้อยละ 54.003 ซึ่งสูงกว่าคะแนนสอบหลังเรียนของกลุ่มควบคุม ซึ่งมีค่าเฉลี่ย ร้อยละ 44.44

  37. ตัวอย่างงานวิจัย ที่ใช้สถิติ ANCOVA

  38. การเปรียบผลการเรียนรู้และความคิดสร้างสรรค์จากบทเรียนบนระบบเครือข่ายการเปรียบผลการเรียนรู้และความคิดสร้างสรรค์จากบทเรียนบนระบบเครือข่าย รายวิชาการผลิตมัลติมีเดีย ระหว่างนิสิตที่เรียนเป็นรายบุคคลและเรียนเป็นคู่ วิทยานิพนธ์ ของ ว่าที่ ร.ต.ธนดล ภูสีฤทธิ์ เสนอต่อมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ตุลาคม 2550

  39. ความมุ่งหมายของการวิจัยความมุ่งหมายของการวิจัย 1. เพื่อพัฒนาบทเรียนบนระบบเครือข่าย รายวิชาการผลิตมัลติมีเดีย ที่มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนบนระบบเครือข่าย รายวิชาการผลิตมัลติมีเดีย ที่พัฒนาขึ้น 3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนบนระบบเครือข่ายรายวิชา การผลิตมัลติมีเดีย ระหว่างนิสิตที่เรียนเป็นรายบุคคลและเรียนเป็นคู่ 4. เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ด้านความคิดริเริ่ม ด้านความคิดคล่องตัว ด้านความคิดยืดหยุ่น และด้านความคิดละเอียดลออ ด้วยบทเรียนบนระบบเครือข่ายรายวิชา การผลิตมัลติมีเดีย ระหว่างนิสิตที่เรียนเป็นรายบุคคลและเรียนเป็นคู่ 5. เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในบทเรียนบนระบบเครือข่ายรายวิชา การผลิตมัลติมีเดียระหว่างนิสิตที่เรียนเป็นรายบุคคลและเรียนเป็นคู่

  40. สมมุติฐานของการวิจัย 1. นิสิตที่เรียนด้วยบทเรียนบนระบบเครือข่าย รายวิชาการผลิตมัลติมีเดียที่เรียนเป็น รายบุคคลและเรียนเป็นคู่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกัน 2. นิสิตที่เรียนด้วยบทเรียนบนระบบเครือข่าย รายวิชาการผลิตมัลติมีเดียที่เรียนเป็น รายบุคคลและเรียนเป็นคู่มีความคิดสร้างสรรค์ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความคิดริเริ่ม ด้านความคิดคล่องตัว ด้านความคิดยืดหยุ่น และด้านความคิดละเอียดลออต่างกัน 3. นิสิตที่เรียนด้วยบทเรียนบนระบบเครือข่ายรายวิชาการผลิตมัลติมีเดียที่เป็นรายบุคคล และเรียนเป็นคู่มีความพึงพอใจต่อการเรียนแตกต่างกัน

  41. กรอบแนวคิดของการวิจัยกรอบแนวคิดของการวิจัย 1. การพัฒนาบทเรียนบนระบบเครือข่าย ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิดในการพัฒนาบทเรียนบนระบบเครือข่ายตามขั้นตอนการออกแบบ และพัฒนาบทเรียนบนระบบเครือข่าย (ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2549 : 149) ซึ่งสรุปเป็น ขั้นตอนการดำเนินการออกแบบและพัฒนาบทเรียนบนระบบเครือข่าย ได้ดังนี้ 1.1 การวิเคราะห์ (Analysis) 1.2 การออกแบบ (Design) 1.3 การพัฒนาบทเรียน (Development) 1.4 การนำไปใช้/ทดลองใช้ (Implementation) 1.5 การประเมินและปรับปรุงแก้ไข (Evaluation and Revision)

  42. 2. กรอบแนวคิดเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งผู้วิจัยยึดแนวคิดของกิลฟอร์ด (Guilford. 1968 : 110) ที่กล่าวว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นลักษณะความคิดอเนกนัย Thinking) คือความคิดหลายทิศทาง หลายแง่ หลายมุม คิดได้กว้างไกล ประกอบด้วย 2.1 ความคล่องในการคิด (Fluency) 2.2 ความคิดยืดหยุ่นในการคิด (Flexibility) 2.3 ความคิดริเริ่ม (Originality) 2.4 ความคิดละเอียดลออ (Elaboration)

  43. สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐานสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน ทดสอบความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคิดสร้างสรรค์ และความพึงพอใจของนิสิตที่เรียนเป็นรายบุคคลและเรียนเป็นคู่นิสิตที่เรียน เป็นรายบุคคลกับนิสิตที่เรียนเป็นคู่ โดย F-test (ANCOVA)

  44. ลำดับขั้นในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลลำดับขั้นในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้นำเสนอการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพและค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนบนระบบ เครือข่ายรายวิชาการผลิตมัลติมีเดีย 2. ผลการวิเคราะห์เปรียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตหลังเรียน จากการเรียนรู้ด้วยบทเรียนบนระบบเครือข่ายรายวิชาการผลิตมัลติมีเดีย 3. ผลการวิเคราะห์เปรียบความคิดสร้างสรรค์ของนิสิต หลังเรียน ของกลุ่มทดลอง ทั้ง 2 กลุ่ม จากการเรียนรู้ด้วยบทเรียนบนระบบเครือข่ายรายวิชาการผลิตมัลติมีเดีย 4. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนบนระบบเครือข่ายรายวิชาการผลิตมัลติมีเดียของกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่ม

  45. จบการนำเสนอ

More Related