1 / 12

เกษตรแบบผสมผสาน ( Integrated Farming )

korene
Download Presentation

เกษตรแบบผสมผสาน ( Integrated Farming )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเกษตรแบบผสมผสาน เป็นระบบเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมที่มีการผสม กลมกลืน และเกื้อกูลซึ่งกันและกันตามธรรมชาติ มีตัวอย่างให้เห็นในหลายประเทศทั่วโลก เช่น ใน ประเทศจีน มีการเลี้ยงสุกรผสมผสานกับการเลี้ยงสัตว์น้ำ และในประเทศญี่ปุ่น มีการเลี้ยงปลาในนา ข้าว เป็นต้น สำหรับประเทศไทยในอดีต ไม่มีระบบการเกษตรแบบผสมผสานที่ชัดเจนนัก ระบบการเกษตรดั้งเดิมของไทยน่าจะใกล้เคียงกับระบบที่เรียกว่า “ไร่นาสวนผสม” เนื่องจากเป็น ระบบการเกษตรที่มีเป้าหมายเพื่อการยังชีพ หรือเพื่อลดความเสี่ยงจากราคาผลผลิตที่ไม่แน่นอน

  2. การเกษตรแบบผสมผสาน เป็นการจัดระบบของกิจกรรมการผลิตในไร่นา ได้แก่ พืช สัตว์ ประมง ให้มีการผสมผสานอย่างต่อเนื่องและเกื้อกูลในการผลิตซึ่งกันและกัน โดยการใช้ ทรัพยากรที่มีอยู่ในไร่นา เช่น ดิน น้ำ แสงแดดอย่างเหมาะสมเกิดประโยชน์สูงสุด มีความสมดุล ของภาพแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและเกิดผลในการเพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร ธรรมชาติด้วย

  3. เกษตรแบบผสมผสาน (Integrated Farming)

  4. http://banglamung.chonburi.doae.go.th/New%20Theory.htm

  5. โดยเนื้อหาสาระของเกษตรแบบผสมผสานมี 4 ประการคือ 1. ประกอบด้วยกิจกรรมการผลิตตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป อาจเป็นการผสมผสานระหว่างพืชกับพืช สัตว์กับสัตว์ หรือสัตว์กับพืช 2. กิจกรรมการผลิตแต่ละชนิดจะต้องเกื้อกูลกันเป็นวงจร โดยพิจารณาจาก การหมุนเวียนการใช้ประโยชน์เกี่ยวกับอาหาร อากาศและพลังงาน 3. ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม 4. ใช้แรงงานคนเป็นหลัก โดยเป็นแรงงานที่มีอยู่ภายในครอบครัว ครอบครัวเกษตรกรต้องมีความใจเย็นและเข้าใจ มีความอดทนมุมานะในการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี ซึ่งต่างจากที่เคยทำในการปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่ทำเสร็จแล้วก็เสร็จเลย แต่การทำ เกษตรแบบผสมผสานต้องให้เวลาทำกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

  6. http://www.nicaonline.com/new-96.htm http://tree-plus.blogspot.com/2013/07/blog-post_9.html

  7. ประเภทของระบบเกษตรแบบผสมผสาน มีดังนี้ 1. แบบดั้งเดิม เป็นประเภทที่มีการผลิตเพื่อกินเพื่อใช้เป็นหลักในครัวเรือนหรือชุมชน เช่น การปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงปลา เพียงเพื่อประโยชน์สำหรับใช้หรือบริโภคในครัวเรือนเท่านั้น 2. แบบกึ่งการค้า เป็นประเภทที่เกษตรกรผลิตสินค้าการเกษตรชนิดเดียวซึ่ง อาจจะเป็นข้าวหรือพืชไร่ก็ตาม โดยผลิตเพื่อเป็นอาหารและเป็นรายได้หลัก แต่เนื่องจากการผลิตมี ความเสี่ยงในด้านความแปรปรวนของสภาพแวดล้อมเกิดการระบาดของศัตรูพืช ความไม่แน่นอน ของราคาผลผลิต จึงหันมาดำเนินการผลิตในระบบเกษตรแบบผสมผสานซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถลด ความเสี่ยงได้ 3. แบบเชิงการค้า เป็นประเภทที่เหมาะสมกับเกษตรกรก้าวหน้าซึ่งมี ประสบการณ์และความสามารถในการผลิตเป็นแบบการค้า เช่น สามารถผลิตพืชและมีตลาดรองรับ ที่แน่นอน

  8. ความสำคัญของการทำเกษตรแบบผสมผสาน 1. เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้โดยไม่จำเป็นต้องกู้ยืมเงินมาลงทุน เมื่อสภาวะ ราคาพืชผลผันแปรเกิดหนี้สิน เกษตรกรสามารถนำเอาปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยไม่เสียเงินทองซื้อมา เมื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ เกษตรกรก็สามารถอยู่ได้ ยืนอยู่บนขาของตัวเองโดยมีปัจจัยพื้นฐานสำหรับดำรงชีพที่ผลิตได้เองก็สามารถมีความสุขได้อย่างยั่งยืน 2. เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่โดยมีการจัดการเรื่องทุน ที่ดิน และแรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดผลผลิตต่อหน่วยการผลิตสูง เช่น การเลี้ยงปลาในนาข้าว ทำให้ได้ทั้งพืช ผลผลิตข้าวและปลา ในพื้นที่เดียวกัน 3. สร้างเสถียรภาพและความยั่งยืน ทั้งทางเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมให้ เกิดขึ้นในไร่นาและครอบครัวการเกษตร

  9. 4. เกษตรแบบผสมผสานลดความเสี่ยงในการผลิต ในด้านการผลิตที่อาจ เสียหาย หรือความไม่แน่นอนและเสียเปรียบเรื่องราคา ตลอดจนไม่แน่นอนของดินฟ้าอากาศ 5. ปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมให้กลับคืนสู่สภาพที่อุดมสมบูรณ์ได้ เพราะการปลูกไม้ยืนต้นไม่ว่าจะเป็นไม้ผลหรือไม้ใช้สอยในระบบเกษตรแบบผสมผสานจะช่วยให้เกิด ความร่มเย็น มูลสัตว์จะเป็นปุ๋ยแก่พืช เศษพืชเป็นอาหารสัตว์และทำปุ๋ยอินทรีย์ 6. เกษตรกรมีงานทำตลอดปี จะช่วยแก้ปัญหาการอพยพแรงงานจากชนบท เข้าสู่เมือง ตัดปัญหาการขายแรงงาน การก่ออาชญากรรม การค้ามนุษย์ เป็นต้น 7. ลดการใช้พลังงานในการเกษตรลง เพราะปัจจัยการใช้พลังงานสามารถ จัดหาได้จากผลพลอยได้จากผลผลิตในไร่นา เช่น ก๊าซชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมักและไม้ใช้สอยที่ เกิดจากไม้โตเร็วต่าง ๆ แรงงานจากสัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย

  10. 8. รักษาสภาพทางนิเวศวิทยา การทำเกษตรแบบผสมผสานเป็นการเพิ่มพูน ความอุดมสมบูรณ์ให้กับคน รักษาความสมดุลย์ให้กับสภาพแวดล้อมซึ่งความสมดุลย์จะเกิดขึ้นเอง ตามธรรมชาติ เช่น ก๊าซไนโตรเจนในธรรมชาติจะถูกเปลี่ยนเป็นอินทรีย์วัตถุโดยจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ ในรากพืชตระกูลถั่วและสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน จนทำให้ไนโตรเจนที่อยู่ในรูปที่พืชจะสามารถ นำไปใช้ประโยชน์ได้ ส่วนธาตุอาหารอื่นๆ พืชสามารถสะสมพลังงานแสงแดดในรูปของเนื้อไม้ อาหารและโปรตีน เศษซากพืชที่ร่วงหล่นบนพื้นดินจะเน่ากลายเป็นอาหารพืช

  11. แหล่งอ้างอิง http://chumphontrip.com/integrated-farming.html

  12. จัดทำโดย นางสาวชนิสรา เดือนเพ็ญ เลขที่ 12 นางสาวนรมน เด่นประภัสร์ เลขที่ 19 นางสาวนิภัทรา บุตรชา เลขที่ 22 นางสาวบุษกร อนุสนธิ์ เลขที่ 25 นางสาวพลอยไพรินทร์ หมื่นโฮ้ง เลขที่ 29 นางสาวเพชรประกาย สมใจ เลขที่ 31 นางสาวภาพิมล สันป่าแก้ว เลขที่ 33 นางสาววลัยพรรณ ดวงหอม เลขที่ 35 นางสาวศุภิสรา ธิติธรรมเกียรติ เลขที่ 36 นางสาวสนธยา อินปัญโญ เลขที่ 37 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/8 เสนอ คุณครูจิระประภา ไตรกิตติคุณ

More Related