1 / 25

เอกสารประกอบการสอนวิชา เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม ครั้งที่ 9 เรื่อง การวิเคราะห์อัตราดอกเบี้ยผลตอบแทน กรณีหลายโครงการ

เอกสารประกอบการสอนวิชา เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม ครั้งที่ 9 เรื่อง การวิเคราะห์อัตราดอกเบี้ยผลตอบแทน กรณีหลายโครงการ. การวิเคราะห์อัตราดอกเบี้ยผลตอบแทนกรณีหลายโครงการ. เมื่อต้องประเมินโครงการ 2 โครงการหรือมากกว่ามาให้เลือก และต้องการเลือกเพียงหนึ่งโครงการเท่านั้น (mutually exclusive)

kipp
Download Presentation

เอกสารประกอบการสอนวิชา เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม ครั้งที่ 9 เรื่อง การวิเคราะห์อัตราดอกเบี้ยผลตอบแทน กรณีหลายโครงการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เอกสารประกอบการสอนวิชาเศรษฐศาสตร์วิศวกรรมครั้งที่ 9เรื่องการวิเคราะห์อัตราดอกเบี้ยผลตอบแทนกรณีหลายโครงการ

  2. การวิเคราะห์อัตราดอกเบี้ยผลตอบแทนกรณีหลายโครงการการวิเคราะห์อัตราดอกเบี้ยผลตอบแทนกรณีหลายโครงการ • เมื่อต้องประเมินโครงการ 2 โครงการหรือมากกว่ามาให้เลือก และต้องการเลือกเพียงหนึ่งโครงการเท่านั้น (mutually exclusive) • ใช้การคำนวณหากระแสเงินสดส่วนเพิ่มสำหรับการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทน

  3. การวิเคราะห์อัตราดอกเบี้ยผลตอบแทนกรณีหลายโครงการการวิเคราะห์อัตราดอกเบี้ยผลตอบแทนกรณีหลายโครงการ • โครงการที่เป็นอิสระต่อกันควรจะใช้วิธีวิเคราะห์แยกทีละโครงการ • การเลือกนั้นก็สามารถเลือกโครงการที่เหมาะสมได้มากกว่าหนึ่งโครงการ • เว้นเสียแต่จะเป็นการเปรียบเทียบโครงการนั้นกับโครงการไม่ทำอะไรเลย (do – nothing) ซึ่งใช้วิธีวิเคราะห์อัตราผลตอบแทน (ROR) เพื่อใช้สำหรับการยอมรับหรือปฏิเสธโครงการนั้น

  4. ทำไมการวิเคราะห์ส่วนเพิ่มจึงมีความจำเป็นทำไมการวิเคราะห์ส่วนเพิ่มจึงมีความจำเป็น • ภายใต้สถานการณ์บางอย่าง ค่าอัตราผลตอบแทน (ROR) ของโครงการ ไม่สามารถให้ลำดับโครงการที่ถูกต้องและสอดคล้องกับการวิเคราะห์ด้วยวิธีมูลค่าปีปัจจุบัน (PW) และวิธีมูลค่ารายปี (AW) • สถานการณ์เช่นนี้จะไม่เกิดขึ้น ถ้าหากใช้วิธีวิเคราะห์ส่วนเพิ่มของกระแสเงินสด

  5. ตัวอย่างว่าทำไมการวิเคราะห์ส่วนเพิ่มจึงมีความจำเป็นตัวอย่างว่าทำไมการวิเคราะห์ส่วนเพิ่มจึงมีความจำเป็น • สมมติว่า บริษัทแห่งหนึ่งมีค่า MARR ของบริษัทเป็น 16% ต่อปี และบริษัทมีเงินลงทุนจำนวน $90,000 บริษัทมีโครงการลงทุนให้พิจารณาเลือกอยู่ 2 โครงการ คือโครงการ A และโครงการ B โครงการ A ต้องใช้เงินลงทุนจำนวน $50,000 และคาดว่าจะได้อัตราผลตอบแทนภายใน i*A เป็น 35% ต่อปี ส่วนโครงการ B ต้องใช้เงินลงทุนจำนวน $85,000 และคาดว่าจะได้อัตราผลตอบแทนภายใน i*B เป็น 29% ต่อปี ในเบื้องต้นนี้ เราอาจประเมินอย่างคร่าว ๆ ว่าโครงการที่น่าสนใจ น่าจะเป็นโครงการที่ได้อัตราผลตอบแทนภายในที่มากกว่า ซึ่งในกรณีนี้คือโครงการ A อย่างไรก็ตาม คำตอบที่เหมาะสมอาจไม่เป็นเช่นนั้น เริ่มจากข้อสังเกตที่ว่า แม้ว่าโครงการ A จะมีอัตราผลตอบแทนภายในที่สูงกว่า แต่ก็เป็นโครงการที่ใช้เงินลงทุนค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับยอดเงินลงทุนที่มีอยู่ทั้งหมด คือ $90,000 หากมีการนำเงินลงทุนไปลงทุนกับโครงการ A จะมีเงินลงทุนเหลืออยู่จำนวน $40,000 ($90,000 – 50,000) ในทางปฏิบัติทั่วไป จึงมีความเป็นไปได้ว่าบริษัทจะนำเงินที่เหลือไปลงทุนเพื่อให้มีอัตราผลตอบแทนระดับ MARR ของบริษัท

  6. ตัวอย่างว่าทำไมการวิเคราะห์ส่วนเพิ่มจึงมีความจำเป็นตัวอย่างว่าทำไมการวิเคราะห์ส่วนเพิ่มจึงมีความจำเป็น • เราได้ทราบมาแล้วว่าค่า MARR ของบริษัทเท่ากับ 16% ต่อปี ดังนั้น อัตราผลตอบแทนของเงินลงทุนทั้งหมดของบริษัท โดยวิเคราะห์ตามสัดส่วนน้ำหนัก (ปริมาณ) เงินลงทุน หากมีการเลือกลงทุนในโครงการ A เป็นดังนี้ อัตราผลตอบแทนโครงการ A ทั้งหมด = 26.6 % • ในทำนองเดียวกัน ถ้าหากเลือกโครงการ B อัตราผลตอบแทนเงินลงทุนทั้งหมด เป็นดังนี้ อัตราผลตอบแทนโครงการ B ทั้งหมด = 28.3%

  7. ตัวอย่างว่าทำไมการวิเคราะห์ส่วนเพิ่มจึงมีความจำเป็นตัวอย่างว่าทำไมการวิเคราะห์ส่วนเพิ่มจึงมีความจำเป็น • การคำนวณนี้ได้แสดงให้เห็นว่า แม้โครงการ A เป็นโครงการที่ได้อัตราผลตอบแทนภายในที่สูงกว่า แต่โครงการ B ก็เป็นโครงการลงทุนที่ให้อัตราผลตอบแทนเงินลงทุนทั้งหมด ($90,000) ที่สูงกว่า ในกรณีนี้ถ้าหากใช้วิธีประเมินมูลค่าปีปัจจุบัน (PW) หรือวิธีมูลค่ารายปี (AW) โดยใช้ผลตอบแทนเท่ากับค่า MARR(16% ต่อปี) โครงการ B จะเป็นโครงการที่ถูกเลือกเช่นกัน • ทั้ง 2 โครงการมีอัตราผลตอบแทนสูงกว่า MARR

  8. การคำนวณหากระแสเงินสดส่วนเพิ่มสำหรับการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนการคำนวณหากระแสเงินสดส่วนเพิ่มสำหรับการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทน • ในการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนส่วนเพิ่มระหว่างโครงการนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเตรียมตารางกระแสเงินสดส่วนเพิ่มขึ้นมา • ตารางกระแสเงินสดส่วนเพิ่มนี้หากจัดทำเป็นรูปแบบที่มาตรฐาน จะสามารถช่วยให้การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนส่วนเพิ่มง่ายขึ้น • การใช้ค่าคูณร่วมน้อยของอายุโครงการทั้งสอง มีความจำเป็นเนื่องจากการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนส่วนเพิ่ม นั้นต้องใช้อายุของโครงการทั้งสองเท่ากัน นอกจากนั้น การแสดงค่าเงินลงทุนรอบใหม่และมูลค่าซากของโครงการที่รอบลงทุนต่าง ๆ ต้องแสดงไว้ที่เวลาที่เหมาะสมด้วย

  9. การคำนวณหากระแสเงินสดส่วนเพิ่มสำหรับการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนการคำนวณหากระแสเงินสดส่วนเพิ่มสำหรับการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทน • เพื่อให้การคำนวณง่ายขึ้น ในการเปรียบเทียบกันระหว่าง 2 โครงการจึงกำหนดให้โครงการที่มีเงินลงทุน ครั้งแรกสูงกว่า คือ โครงการ B เป็นตัวตั้งแล้วลบด้วยกระแสเงินสดของโครงการที่มีเงินลงทุนครั้งแรกน้อยกว่า คือ โครงการ A ดังนี้ • กระแสเงินสดส่วนเพิ่ม = กระแสเงินสดของโครงการ B – กระแสเงินสดของโครงการ A

  10. ตัวอย่าง • ตัวอย่าง 8.1 (P.155) • ตัวอย่าง 8.2 (P.156)

  11. การตีความหมายของอัตราผลตอบแทนของส่วนการเพิ่มเงินลงทุนการตีความหมายของอัตราผลตอบแทนของส่วนการเพิ่มเงินลงทุน • การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนส่วนเพิ่มมีความสำคัญ เพื่อที่จะหาว่าอัตราผลตอบแทน (ROR) ที่ได้รับจากการลงทุนเพิ่มนั้น มีความน่าสนใจมากพอที่จะลงทุนเพิ่มหรือไม่ ถ้าหากอัตราผลตอบแทนส่วนเพิ่มไม่น่าสนใจ เราจะเลือกลงทุนกับโครงการที่ลงทุนน้อยกว่า • เงินลงทุนที่เพิ่มเข้าไปจะมีความสามารถในการทำกำไรมากน้อยเพียงไร ถ้ามูลค่าเทียบเท่าของเงินที่ประหยัดได้ มีมากกว่ามูลค่าเทียบเท่าของเงินที่ลงทุนมากกว่าก็เป็นสิ่งควรกระทำทางกลับกัน ถ้ามูลค่าเทียบเท่าของเงินที่ประหยัดได้มีน้อยกว่ามูลค่าเทียบเท่าของเงินที่ลงทุนเพิ่มแล้ว ควรเลือกลงทุนในโครงการที่ลงทุนน้อยกว่า

  12. การตีความหมายของอัตราผลตอบแทนของส่วนการเพิ่มเงินลงทุนการตีความหมายของอัตราผลตอบแทนของส่วนการเพิ่มเงินลงทุน • ในการพิจารณาโครงการที่สมบูรณ์นั้น ผู้วิเคราะห์จะต้องทราบว่า อัตราผลตอบแทนของโครงการทางเลือกทั้งสองโครงการนั้น จะต้องมีค่าเท่ากับหรือมากกว่าค่า MARR เสียก่อน • โครงการใด ๆ ให้อัตราผลตอบแทนของโครงการน้อยกว่าค่า MARR แล้ว โครงการนั้นสมควรที่จะถูกตัดออกไป ก่อนที่จะนำมาพิจารณาเปรียบเทียบกับโครงการ

  13. การตีความหมายของอัตราผลตอบแทนของส่วนการเพิ่มเงินลงทุนการตีความหมายของอัตราผลตอบแทนของส่วนการเพิ่มเงินลงทุน • สำหรับโครงการรายรับหลายโครงการ ควรคำนวณหาอัตราผลตอบแทนภายในของโครงการ i* ของแต่ละโครงการก่อน และให้กำจัดโครงการใด ๆ ที่ให้ i*<MARR จากนั้นจึงนำเอาโครงการที่เหลือมาวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนส่วนเพิ่มต่อไป • เช่น ถ้าค่า MARR= 15% และมีโครงการทางเลือก 2 โครงการ ซึ่งมีค่า i* ตามลำดับดังต่อไปนี้ 12% และ 21% โครงการที่มี i*= 12% สมควรถูกตัดออกไปจากการพิจารณา ดังนั้น จึงเหลือโครงการอยู่เพียงโครงการเดียว คือโครงการที่มีค่า i*= 21% • ถ้าหากโครงการทั้ง 2 โครงการมีค่า i* <MARR แล้ว เท่ากับว่าไม่มีโครงการใดมีความเหมาะสมที่จะถูกเลือก จึงสมควรเลือกโครงการไม่ทำอะไรเลย (do-nothing)

  14. การประเมินอัตราผลตอบแทนโดยใช้มูลค่าปีปัจจุบัน: ส่วนเพิ่มและจุดคุ้มทุน ขั้นตอนการคำนวณที่สมบูรณ์ใน สำหรับการวิเคราะห์ผลตอบแทนส่วนเพิ่ม สำหรับโครงการสอง โครงการเป็นดังนี้ • เรียงลำดับโครงการต่าง ๆ โดยใช้จำนวนเงินลงทุนครั้งแรกเป็นเกณฑ์ เริ่มจากโครงการที่ลงทุนน้อยกว่า เรียกว่าโครงการ A และตามด้วยโครงการที่ลงทุนมากกว่า เรียกว่าโครงการ B • สร้างอนุกรมกระแสเงินสดส่วนเพิ่ม โดยใช้ค่าคูณร่วมน้อยของอายุโครงการทั้งสอง • เขียนแผนภูมิกระแสเงินสดส่วนเพิ่ม • นับจำนวนครั้งทางการเปรียบเทียบเครื่องหมาย เพื่อประกอบการพิจารณาว่า อาจมีค่า i*ได้หลายค่า ตั้งสมการหาค่าปีปัจจุบัน (PW) โดยใช้สมการ [7.1] และหาค่า i*B-A โดยใช้วิธีลองผิด - ลองถูก • เลือกโครงการตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ ถ้า ∆i*B-A< MARR เลือกโครงการ A ∆i*B-A ≥ MARR เลือกโครงการ B

  15. ตัวอย่าง • ตัวอย่าง 8.3 (P.159)

  16. การประเมินอัตราผลตอบแทนโครงการโดยใช้วิธีมูลค่ารายปี • แนวทางที่ 1:ใช้กระแสเงินสดส่วนเพิ่มตลอดช่วงเวลาคูณร่วมน้อยของอายุโครงการทั้งสอง เหมือนกับ วิธีการมูลค่าปีปัจจุบัน (จากหัวข้อที่ผ่านมา) หรือใช้วิธีหามูลค่ารายปี (AW) ของแต่ละโครงการ แล้วนำเอาสมการมูลค่ารายปี (AW) ของแต่ละโครงการมาลบกัน และกำหนดให้มูลค่ารายปีของทั้งสองโครงการเท่ากัน ในกรณีที่อายุโครงการทั้งสองโครงการเท่ากัน

  17. การประเมินอัตราผลตอบแทนโครงการโดยใช้วิธีมูลค่ารายปี • แนวทางที่ 2:วิธีการคำนวณโดยใช้มูลค่ารายปี สมมติฐานของเทคนิคมูลค่ารายปี ซึ่งกำหนดว่าค่า AW ของแต่ละปีมีค่าเท่ากันไปตลอดอายุโครงการ ไม่ว่าอายุโครงการจะเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ตาม ให้หาความสัมพันธ์มูลค่ารายปีของแต่ละโครงการและแก้สมการเพื่อหาค่า i* 0 = AWB – AWA - ตัวอย่าง 8.5 (P.162)

  18. การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนส่วนเพิ่มสำหรับการเลือกโครงการหนึ่งโครงการจากหลายโครงการการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนส่วนเพิ่มสำหรับการเลือกโครงการหนึ่งโครงการจากหลายโครงการ • เลือกโครงการเพียงหนึ่งโครงการจากโครงการหลายโครงการ โดยใช้การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนส่วนเพิ่ม การยอมรับโครงการหนึ่งทำให้โครงการอื่น ๆ ถูกตัดออกไปโดยปริยาย การวิเคราะห์โดยวิธีมูลค่าปีปัจจุบัน (หรือมูลค่ารายปี) สามารถดำเนินการได้สองแนวทาง • เมื่อใช้วิธีอัตราผลตอบแทนส่วนเพิ่มกับโครงการต่าง ๆ ผลตอบแทนของเงินลงทุนทั้งหมดจะต้องได้รับไม่น้อยกว่าค่า MARR และถ้าหากโครงการต่าง ๆ ทุกโครงการมีอัตราผลตอบแทนภายในโครงการเกินกว่าค่า MARR แล้ว วิธีวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนส่วนเพิ่มก็ยิ่งต้องดำเนินการ (สำหรับโครงการรายรับ ถ้าปรากฏว่า ไม่มีค่า i*ใดเลยที่มากกว่าค่า MARR โครงการไม่ทำอะไรเลยจะถูกเลือกแทน) สำหรับโครงการอื่น ๆ การลงทุนส่วนเพิ่มจะต้องมีความคุ้มค่าทางการเงิน ถ้าอัตราผลตอบแทนของเงินลงทุนส่วนเพิ่มเท่ากันหรือมากกว่าค่า MARR แล้ว สมควรที่จะลงทุนเพิ่ม นั่นหมายถึง การเลือกโครงการที่ลงทุนมากกว่า

  19. การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนส่วนเพิ่มสำหรับการเลือกโครงการหนึ่งโครงการจากหลายโครงการการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนส่วนเพิ่มสำหรับการเลือกโครงการหนึ่งโครงการจากหลายโครงการ • กฎที่สำคัญประการหนึ่งในการประเมินโครงการ โดยใช้วิธีวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนส่วนเพิ่ม คือ โครงการใด ๆ ไม่ควรนำไปเปรียบเทียบกับโครงการซึ่งไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุนเพิ่มแล้ว

  20. ขั้นตอนการประเมินโครงการ โดยใช้วิธีวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนส่วนเพิ่ม • เรียงโครงการทางเลือกต่าง ๆ จากโครงการที่ลงทุนน้อยที่สุด ไปหาโครงการที่ลงทุนมากที่สุด (เงินลงทุนเริ่มต้น แสดงค่ากระแสเงินรายปีสำหรับโครงการทางเลือกต่าง ๆ ) • สำหรับโครงการรายรับเท่านั้น: คำนวณหาค่า i* สำหรับโครงการอันดับแรกสุด ในทางปฏิบัติ กำหนดให้โครงการไม่ทำอะไรเลย (Do-nothing , DN) เป็นผู้ป้องกัน ส่วนโครงการอันแรกเป็นผู้ท้าชิง ถ้าค่า i* < MARR ให้กำจัดโครงการนั้น และไปดำเนินการกับโครงการอันดับถัดไป ด้วยวิธีการเดียวกัน ทำซ้ำวิธีการนี้ไปเรื่อย ๆ จนกระทั้ง i* ≥ MARR ซึ่งจะทำให้โครงการนั้นเปลี่ยนมาเป็นผู้ป้องกัน และโครงการที่อยู่ลำดับถัดไปจะเป็นผู้ท้าชิง ข้ามไปยังขั้นตอนที่ 3

  21. ขั้นตอนการประเมินโครงการ โดยใช้วิธีวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนส่วนเพิ่ม • กำหนดกระแสเงินสดส่วนที่เพิ่มระหว่างโครงการผู้ท้าชิง และโครงการผู้ป้องกัน โดยใช้ความสัมพันธ์ต่อไปนี้ กระแสเงินสดส่วนที่เพิ่ม = กระแสเงินสดของผู้ท้าชิง – กระแสเงิน สดของผู้ป้องกัน • ตั้งสมการหาอัตราผลตอบแทนคำนวณหา ∆i* สำหรับอนุกรมกระแสเงินสดส่วนที่เพิ่มโดยใช้สมการมูลค่าปัจจุบัน หรือมูลค่ารายปี (ปกตินิยมใช้สมการมูลค่าปัจจุบัน)

  22. ขั้นตอนการประเมินโครงการ โดยใช้วิธีวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนส่วนเพิ่ม • ถ้า ∆i*≥ MARR โครงการผู้ถ้าชิงจะถูกเปลี่ยนมาเป็นโครงการผู้ป้องกัน (หมายถึง โครงการที่ลงทุนมากกว่าจะถูกเลือก) และโครงการผู้ป้องกันเก่าจะถูกกำจัดทิ้งไป ในทางตรงกันข้าม ถ้า ∆i*< MARR โครงการผู้ท้าชิงจะถูกกำจัดไป และโครงการผู้ป้องกันจะยังคงอยู่ เพื่อเปรียบเทียบกับโครงการอันดับสูงกว่าถัดไป • ทำซ้ำขั้นตอนที่ 3 จนถึงขั้นตอนที่ 5 จนกระทั่งเหลือโครงการเพียงโครงการเดียว และโครงการนั้นจะเป็นโครงการที่ถูกเลือก • ตัวอย่าง 8.6 (P.164)

  23. สรุป • ไม่เพียงแค่วิธีการมูลค่าปีปัจจุบันหรือวิธีมูลค่ารายปี เท่านั้นที่ใช้ในการประเมินโครงการหลายโครงการ การคำนวณ อัตราผลตอบแทนส่วนเพิ่มก็สามารถนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์เดียวกันนี้ได้ ในการใช้เทคนิคอัตราผลตอบแทน มีความจำเป็นจะต้องพิจารณากระแสเงินสดส่วนเพิ่มในการเลือกโครงการเพียงโครงการหนึ่งจากหลายโครงการ ซึ่งวิธีการนี้ไม่จำเป็นต้องทำหากใช้วิธีมูลค่าปีปัจจุบันหรือมูลค่ารายปี การประเมินการลงทุนส่วนเพิ่มนี้สามารถเปรียบเทียบโครงการได้ครั้งละ 2 โครงการ โดยเริ่มจากโครงการที่มีเงินลงทุนครั้งแรกต่ำที่สุดก่อน เมื่อโครงการทางเลือกใดถูกกำจัดไปแล้ว จะไม่มีการนำมาเปรียบเทียบใหม่อีก

  24. สรุป • ถ้าหากไม่มีข้อจำกัดด้านงบประมาณ เมื่อมีการประเมินโครงการอิสระมากกว่าหนึ่งโครงการ โดยวิธีอัตราผลตอบแทน (ROR method) อัตราผลตอบแทนของแต่ละโครงการจะนำมาเปรียบเทียบกับค่า MARR เท่านั้นดังนั้น จำนวนโครงการที่ถูกเลือกอาจจะเป็นโครงการที่มีอยู่ทั้งหมด หรือไม่มีโครงการใดถูกเลือกเลย หรือมีจำนวนเท่าใดก็ได้ • ค่าอัตราผลตอบแทนของโครงการมักเป็นที่สนใจของผู้บริหาร แต่มีขั้นตอนการวิเคราะห์ที่ยุ่งยาก มากกว่าการวิเคราะห์มูลค่าปัจจุบันหรือมูลค่ารายปี ที่ใช้ค่า MARRในการคำนวณ ดังนั้น จึงต้องเอาใจใส่ต่อการคำนวณให้ดี มิเช่นนั้นอาจจะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ไม่ถูกต้อง

  25. การบ้าน • เรื่อง การวิเคราะห์อัตราดอกเบี้ยตอบแทน : กรณีหลายโครงการ ข้อ 8.3, 8.9,8.10

More Related