1 / 44

ประเด็น การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย อับดุลสุโก ดินอะ

เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างองค์กร เครือข่ายที่ทำงานพัฒนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 8/12/56 ณ ม.อ.ปัตตานี. ประเด็น การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย อับดุลสุโก ดินอะ กรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้. การศึกษาไทย. ( 1)  การศึกษาในระบบ (2)  การศึกษานอกระบบ

kiona-estes
Download Presentation

ประเด็น การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย อับดุลสุโก ดินอะ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างองค์กร เครือข่ายที่ทำงานพัฒนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 8/12/56 ณ ม.อ.ปัตตานี ประเด็น การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย อับดุลสุโก ดินอะ กรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้

  2. การศึกษาไทย (1) การศึกษาในระบบ (2) การศึกษานอกระบบ (3) การศึกษาตามอัธยาศัย

  3. การจัดศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้การจัดศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (1) การศึกษาในระบบ (2) การศึกษานอกระบบ (3) การศึกษาตามอัธยาศัย

  4. การศึกษาในระบบ • 5 ประเภท • 1.1 สถานศึกษาก่อนและขั้นพื้นฐาน ( อนุบาล- มัธยมศึกษาปีที่6 ) เป็นของรัฐ 925 แห่งมีนักเรียนทั้งสิ้น 321977 คนส่วนใหญ่เป็นการศึกษาภาคบังคับ( ประถมศึกษาปีที่6) ของเอกชน 172 แห่งแต่เป็นที่น่าสังเกตว่าเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่สอนศาสนาควบคู่สามัญ ถึง126 แห่(ส่วนใหญ่ในระดับมัธยมศึกษา) และที่อยู่ภายใต้องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น 32 แห่ง(เป็นการศึกษาภาคบังคับระดับประถมศึกษาปีที่6เช่นกัน) • 1.2 สถาบันอาชีวศึกษา ของรัฐ 13 แห่งมีนักเรียน 17331 คน และของเอกชน 4 แห่งมีนักเรียน 2325 คน • 1.3 วิทยาลัยชุมชน 3 แห่งนักเรียน 4024 คน • 1.4 สถาบันอุดมศึกษา 4 แห่ง มีนักศึกษา ทั้งสิ้น 15424 คน • 1.5 โรงเรียนพระปริยัติธรรม แบ่งออกเป็นแผนกสามัญศึกษา 2 แห่งมีผู้เรียน 101 คน แผนกธรรม 43 แห่งมีผู้เรียน 596 คนและแผนกบาลี 4 แห่งมีผู้เรียน 57 คน

  5. 5 ประเภท 1.1 สถานศึกษาก่อนและขั้นพื้นฐาน ( อนุบาล- มัธยมศึกษาปีที่6 ) เป็นของรัฐ 925 แห่งมีนักเรียนทั้งสิ้น 321977 คนส่วนใหญ่เป็นการศึกษาภาคบังคับ( ประถมศึกษาปีที่6) ของเอกชน 172 แห่งแต่เป็นที่น่าสังเกตว่าเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่สอนศาสนาควบคู่สามัญ ถึง126 แห่(ส่วนใหญ่ในระดับมัธยมศึกษา) และที่อยู่ภายใต้องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น 32 แห่ง(เป็นการศึกษาภาคบังคับระดับประถมศึกษาปีที่6เช่นกัน) • 1.2 สถาบันอาชีวศึกษา ของรัฐ 13 แห่งมีนักเรียน 17331 คน และของเอกชน 4 แห่งมีนักเรียน 2325 คน

  6. 1.3วิทยาลัยชุมชน 3 แห่งนักเรียน 4024 คน • 1.4สถาบันอุดมศึกษา 4 แห่ง มีนักศึกษา ทั้งสิ้น 15424 คน

  7. 1.5โรงเรียนพระปริยัติธรรม แบ่งออกเป็นแผนกสามัญศึกษา 2 แห่ง แผนกธรรม 43 แห่ง

  8. สถานศึกษานอกระบบ • 2.1 สถาบันศึกษาปอเนาะ 303 แห่ง(ที่จดทะเบียน ) มีผู้เรียนทั้งสิ้นประมาณ 17890 คน (อาจจะมีคนที่เรียนสถานบันในระบบมาอาศัยและเรียนด้วยในเวลาว่างจากการเรียนในระบบและคนที่ทำงานแล้วเรียนด้วยหลังจากเวลาทำงาน) • 2.2 ศูนย์อบรมศาสนาอิสลามประจำมัสยิดสำหรับผู้ใหญ่และศูนย์ อบรมศาสนาอิสลามประจำมัสยิดสำหรับเด็กเรียกว่าตาดีกา 1605 แห่ง มีนักเรียนทั้งสิ้น 168242 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียนประถมศึกษาของรัฐ และศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์แระจำมัสยิด 130 แห่ง มีนักเรียน 7428 คน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 238 แห่งมีนักเรียน 9478 คน • 2.3 ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ 6 แห่ง มีนักเรียน 1216 คน • 2.4 ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน มี 36 แห่งมีนักเรียน 112194 คน • 2.5 ศูนย์การเรียนอัลกุรอานตามบ้านของปราชญ์อัลกุรอานและ • ศูนย์ท่องจำอัลกุรอาน

  9. 2.1สถาบันศึกษาปอเนาะ มากว่า 303 แห่ง(ที่จดทะเบียน ) มีผู้เรียนทั้งสิ้นประมาณ 17890 คน (อาจจะมีคนที่เรียนสถานบันในระบบมาอาศัยและเรียนด้วยในเวลาว่างจากการเรียนในระบบและคนที่ทำงานแล้วเรียนด้วยหลังจากเวลาทำงาน)

  10. 2.2ศูนย์อบรมศาสนาอิสลามประจำมัสยิดสำหรับผู้ใหญ่และศูนย์ อบรมศาสนาอิสลามประจำมัสยิดสำหรับเด็กเรียกว่าตาดีกา 1605 แห่ง มีนักเรียนทั้งสิ้น 168242 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียนประถมศึกษาของรัฐ และศุนย์อบรมเด็ก่อนเกณฑ์และประจำมัสยิด 130 แห่ง มีนักเรียน 7428 คน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 238 แห่งมีนักเรียน 9478 คน

  11. 2.3ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ 6 แห่ง มีนักเรียน 1216 คน • 2.4 ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน มี 36 แห่งมีนักเรียน 112194 คน • 2.5ศูนย์การเรียนอัลกุรอานตามบ้านของปราชญ์อัลกุรอานและศูนย์ท่องจำอัลกุรอาน

  12. การศึกษาตามอัธยาศัย • ด้านศาสนาอิสลามสำหรับเยาวชนและผู้ใหญ่ตามมัสยิดต่างๆ โดยเฉพาะมัสยิดกลางทั้งสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มัสยิดเราะห์มานียะห์บ้านบราโอ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานีซึ่งดำเนินการสอนโดยปราชญ์ด้านศาสนาอิสลามที่มีชื่อเสียงคือ ชัยค์อีสมาอีล ดาอีละ(อิสมาแอ เสอร์ปัญยัง)และชัยค์ ดร. อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา โดยมีผู้เข้าฟังไม่ต่ำกว่า ห้าพันคนทุกสัปดาห์ และดำเนินการสอนกว่า สามสิบปี

  13. 8 นโยบายรมตจาตุรนต์ • 1. เร่งปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบให้สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน • การที่จะดำเนินการในเรื่องเหล่านี้ทั้งระบบ ต้องมีแนวทางดำเนินการดังนี้ • -ต้องเร่งรัดและสานต่อเรื่องปฏิรูปหลักสูตรให้ก้าวหน้าและให้แล้วเสร็จโดยจะส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่เกี่ยวข้องมากขึ้น เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะชีวิตที่เหมาะสมทุกระดับชั้นการศึกษา

  14. - พัฒนากระบวนการเรียนการสอนในปัจจุบันและเพื่อรองรับหลักสูตรใหม่เพื่อให้ผู้เรียนสามารถคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา และเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง มีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น สอดคล้องกับการเรียนรู้ในโลกยุคใหม่ โดยจะเริ่มจากวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี ภาษาต่างประเทศ และการคิดวิเคราะห์

  15. - พัฒนาระบบทดสอบ วัดและประเมินผลทั้งภายในและภายนอกให้เป็นเครื่องมือส่งเสริมการปฏิรูปการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีมาตรฐานเทียบเคียงได้กับนานาชาติ โดยเชื่อมโยงกับเนื้อหาสาระในหลักสูตรกับการเรียนการสอน รวมทั้งพัฒนาระบบการคัดเลือกบุคคลให้เข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการเรียนการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

  16. 2. ปฏิรูประบบผลิตและพัฒนาครู2. ปฏิรูประบบผลิตและพัฒนาครู • ให้มีจำนวนการผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการมีความรู้ ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรปัจจุบัน รองรับหลักสูตรใหม่ และการเรียนรู้ในโลกยุคใหม่ รวมทั้งพัฒนาระบบประเมินวิทยฐานะครูให้เชื่อมโยงกับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ดูแลระบบสวัสดิการ และลดปัญหาที่บั่นทอนขวัญกำลังใจของครู ให้ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนการสอนและคุณภาพผู้เรียน

  17. 3. เร่งนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้ในการปฏิรูปการเรียนรู้ • สร้างมาตรฐานการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์แบบพกพา (แท็บเล็ต) และพัฒนาเนื้อหาสาระ พัฒนาครู และการวัดประเมินผลที่ได้มาตรฐาน รวมทั้งเพื่อเป็นเครื่องมือให้เกิดระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตในสังคมไทยทั้งนี้ แท็บเล็ตเป็นเรื่องสำคัญหนึ่งในนโยบายการศึกษาของรัฐบาล ที่ผ่านมาเรามักจะเน้นเฉพาะการจัดให้เด็กได้มีแท็บเล็ต ซึ่งเป็นรายละเอียดว่าเด็กจะได้เมื่อไร จำนวนเท่าไร คืบหน้าไปแล้วอย่างไร

  18. หรือมีเนื้อหากี่รายกี่ชิ้นแต่เรื่องใหญ่กว่าที่จะต้องเร่งพัฒนา คือ "เนื้อหาสาระ"เพื่อจะให้มีทั้งเนื้อหาที่ควรรู้ รูปแบบของแบบทดสอบ แบบฝึกหัด เทคนิค นวัตกรรมใหม่ๆ ที่ให้เด็กใช้กับแท็บเล็ต เพื่อทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ ได้ผลจริง เด็กได้รับผลที่ดีในการใช้งานดีกว่าไม่ใช้แท็บเล็ต ที่ต้องโยงไปกับการเรียนรู้ในโลกยุคใหม่ที่มีข้อมูลข่าวสารไม่จำกัด ซึ่งหมายถึงจะต้องมีการพัฒนาครู เพื่อให้เข้าใจการสอนที่มีเนื้อหาสาระแบบนี้ เพราะในโลกยุคใหม่

  19. ที่มีข้อมูลข่าวสารไม่จำกัด ซึ่งหมายถึงจะต้องมีการพัฒนาครู เพื่อให้เข้าใจการสอนที่มีเนื้อหาสาระแบบนี้ เพราะในโลกยุคใหม่ เราไม่สามารถสอนแบบเดิม เช่น ให้เด็กค้นหาว่าคำนี้แปลว่าอะไร เด็กก็ไปค้นหาในเวลาไม่นาน ก็สามารถตอบได้ แต่จะทำอย่างไรให้การสอนที่ส่งเสริมให้เด็กได้รู้จักค้นหา คิด วิเคราะห์ ทำความเข้าใจ และสามารถตั้งคำถามได้เอง ฯลฯ

  20. 4. พัฒนาคุณภาพการอาชีวศึกษาให้มีมาตรฐานเทียบได้กับระดับสากล ให้สอดคล้อง? • โดยผลักดันให้เกิดการใช้กรอบคุณวุฒิวิชาชีพตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ มาใช้กำหนดทักษะความรู้ความสามารถที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ ผู้มีงานทำ เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าได้รับค่าตอบแทนตามสมรรถนะที่เพิ่มขึ้น โดยไม่ขึ้นกับวุฒิการศึกษาทั้งแบบอนุปริญญาหรือปริญญา

  21. . ส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาเร่งพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน มากกว่าการขยายเชิงปริมาณ • ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี โดยให้มีการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาของไทย เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาคุณภาพ มาตรฐาน และจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งพัฒนาสู่การเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก (World Class University) ให้มากขึ้น

  22. 6. ส่งเสริมให้เอกชนและทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมจัดและสนับสนุนการศึกษามากขึ้น6. ส่งเสริมให้เอกชนและทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมจัดและสนับสนุนการศึกษามากขึ้น • สนับสนุนความร่วมมือแบบเป็นหุ้นส่วนทางการศึกษารัฐและเอกชน (Public Private Partnership) ตลอดจนเปิดโอกาสให้เอกชนมีส่วนร่วมในการออกแบบหลักสูตร เป็นวิทยากร สนับสนุนการฝึกงานและเรียนรู้การทำงานจริงในสถานที่ทำงาน เท่านั้นไม่ควรมุ่งกำกับควบคุมหรือห้ามเอกชน

  23. 7. เพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ7. เพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ • เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มอายุได้รับบริการการศึกษาอย่างมีคุณภาพ โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาส และการพัฒนากองทุนเงินกู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (ICL) ให้สามารถเป็นกลไกในการพัฒนาคุณภาพ เพิ่มโอกาสและผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ โดยขอให้ดำเนินการให้เป็นไปตามแนวคิดของกองทุน ICL ตามที่ได้ก่อตั้งหรือริเริ่มขึ้นมาซึ่งต้องอาศัยผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้สนใจที่เคยดำเนินการ เข้ามาช่วยดำเนินการอย่างจริงจัง

  24. 8. พัฒนาการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้8. พัฒนาการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ • ด้วยการสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาและสถานศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจ สังคมอัตลักษณ์ และความต้องการประชาชนในท้องถิ่นโดยให้ความสำคัญกับความปลอดภัย การสร้างขวัญกำลังใจให้กับนักเรียน ครู และบุคลากร

  25. จากข้อเสนอข้อที่8ข้อเสนอแนะจากการจัดเวทีสภาประชาสังคมชายแดนใต้ ปี2555 1สามหลักคิดคือหรือสามองค์ประกอบคือ 1.1บูรณาการการศึกษา การศึกษาเพื่อ 1.2ศีลธรรม 1.3การศึกษาเพื่อพหุวัฒนธรรม (IntegrationalEducation, MoralCharacter, andMulticulturalism)

  26. 2 บูรณาการการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3 สร้างความเข้มแข็งเชิงคุณภาพด้านวิชาการ 4 การสร้างและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน

  27. ข้อเสนอผู้เขียน ปรับปรุงทางเลือกโครงสร้างการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้ --ประถมศึกษาปีที่1-3 ศึกษา 2 วิชาหลัก หนึ่งภาษา (ภาษาไทยและภาษาแม่) สองคณิตศาสตร์ สาระเพิ่มเติมศาสนศึกษาศึกษาและคัมภีร์ของแต่ละศาสนา ระดับ ประถม4-6 เริ่มเพิ่มสาระทั้ง8 สาระสามัญ มัธยมศึกษาปีที่1-6 ให้นักเรียนเลือกเรียนตามถนัดไม่ว่าศาสนา สามัญ อาชีพ

  28. สำหรับการศึกษาในสถาบันปอเนาะและศูนย์ฮาฟิซจนถึงหลักสูตรอาลิมให้รัฐหนุนเสริมโดยไม่แทรกแทรงพร้อมทั้งให้ประกาศนียบัตรเฉพาะผู้ที่ต้องการเท่านั้น โดยกำหนดสาระวิชาที่จะวัดประเมินผล

  29. ข้อเสนอการจัดการศึกษาในระดับอุดมศีกษา( ผศ.ดร. จารุวัจน์ สองเมือง) • การให้การสนับสนุนด้านการประสิทธิภาพในการจัดการจัดศึกษาในระดับอุดมศึกษา โดยการสนับสนุนโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน โครงงานสำหรับนักศึกษา ตลอดจนการสร้างโอกาสเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักศึกษาระหว่างสถาบัน • เสริมสร้างบทบาทของมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะในด้านศึกษาศาสตร์และอิสลามศึกษาในการร่วมพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาระดับต่างๆ ในพื้นที่ เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาโดยรวม ตลอดจนการสร้างโอกาสทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษาให้กับเยาวชนในพื้นที่ • การสนับสนุนงบประมาณสำหรับการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้สำหรับอาจารย์ นักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในการพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมที่เชื่อมโยงกับวิถีของชุมชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน

  30. การสร้างองค์กรหรือเครือข่ายเชื่อมโยงอาจารย์ นักวิชาการด้านอิสลามศึกษาเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และการให้ข้อเสนอแนะด้านศาสนาและวัฒนธรรมเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติให้กับองค์กรรัฐ หน่วยงานเอกชนและประชาชน • การจัดสรรทุนการศึกษาในระดับปริญญาเอกสำหรับผู้มีศักยภาพในพื้นที่เพื่อสร้างโอกาสในการร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ • การส่งเสริมการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่สู่การเป็นสถาบันที่มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการศึกษาอิสลาม การบูรณาการอิสลามและพหุวัฒนธรรม

  31. ผลการประชุมในเวทีคณะกรรมการประจำที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิรองนายกรัฐมนตรีผลการประชุมในเวทีคณะกรรมการประจำที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิรองนายกรัฐมนตรี • 1. การส่งเสริมตาดีกา1.1. เงินอุดหนุนพิเศษปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียนศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิดต่อหัวต่อปี จำนวน 600 บาท • 1.2. จ่ายค่าตอบแทนให้กับครูตาดีกาเป็นรายคาบ คาบละ 150 บาท เฉลี่ยเดือนละ 4,000 บาท

  32. 2. การส่งเสริมปอเนาะ2.1. เสนอให้เพิ่มค่าตอบแทนโต๊ะครูปอเนาะ จาก 2,000 บาท ต่อเดือนเป็น 5,000 บาท2.2. เสนอให้เพิ่มค่าตอบแทนผู้ช่วยโต๊ะครูปอเนาะ จาก 2,000 บา ต่อเดือนเป็น 3,000 บาท2.3. เสนอให้อนุญาตนักศึกษาจากต่างประเทศเข้ามาเรียนในปอเนาะได้2.4. เสนอแก้ไขระเบียบ/คู่มือ การจดทะเบียนสถาบันปอเนาะ โต๊ะครูไม่ต้องจบการศึกษาระดับปริญญาตรี

  33. 3. การส่งเสริมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม3.1. เสนอให้จัดเงินอุดหนุนรายบุคคลนักเรียนหลักสูตรอิสลามก. อิบติดาอียะห์ เงินเดือนครู 11,680 บาท อัตราอุดหนุน/ปี/คน 1,962.24 บาทข. มุตะวัสสิเฏาะฮ์ เงินเดือนครู 11,680 บาท อัตราอุดหนุน/ปี/คน 2,920.00 บาทค. ซานาวียะห์ เงินเดือนครู 11,680 บาท อัตราอุดหนุน/ปี/คน 3,796.00 บาท3.2. เสนอให้กระทรวงศึกษาธิการรับรองประกาศนียบัตรหลักสูตรอิสลามศึกษาทุกระดับ

  34. สองและสามประเด็น ศาสนา วัฒนธรรม • ให้กระทรวงมหาดไทยร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้จัดระเบียบสังคมให้สอดคล้องตามหลักการศาสนา โดยกำหนดให้เป็นพื้นที่ปลอด ยาเสพย์ติดและแหล่งอบายมุข

  35. กำหนดให้วันรายออีดิลฟิตรี (วันตรุษละศีลอด ตรงกับวันที่ 1เดือนเชาวาลตามปฏิทินอิสลาม) วันรายออีดิลออัฏฮา (วันตรุษเชือดสัตว์พลีเนื่องในพิธีฮัจย์ ซึ่งตรงกับวันที่ 10 เดือนซุลฮิจญะฮ์ตามปฏิทินอิสลาม) และวันขึ้นปีใหม่ของอิสลามเป็นวันหยุดราชการในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้

  36. ให้วันศุกร์หรือวันใดวันหนึ่งในหนึ่งสัปดาห์เป็นวันที่งดเว้นจากการซื้อขายสุรา และให้สถานบันเทิงหยุดบริการ ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ให้เป็นไปโดยความสมัครใจ และสอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่

  37. ให้กระทรวงหรือหน่วยงานต้นสังกัดอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรให้มุสลิมได้รับการยกเว้นในการเข้าร่วมพิธีกรรม หรือกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอื่น ตามความเหมาะสมของบริบทในพื้นที่นั้นๆ

  38. ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เสริมสร้างสถาบันครอบครัวให้เข้มแข็ง โดยจัดให้มีหลักสูตรเพื่อเตรียมความพร้อมในการใช้ชีวิตคู่ และเข้าใจถึงสิทธิของสามีภรรยา การอบรมเลี้ยงดูบุตรตามหลักการศาสนา กองทุนครอบครัว รวมถึงการตรวจสุขภาพและการดูแลสุขภาพของครอบครัว

  39. ให้กรมประชาสัมพันธ์ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรมจัดให้มีรายการโทรทัศน์ วิทยุ สำหรับการเสริมสร้างสถาบันครอบครัวเป็นการเฉพาะ

  40. ให้รัฐออกกฎหมายอนุญาตให้มีกองทุนประกันภัยที่สอดคล้องกับหลักการศาสนา และจัดให้มีกองทุนซะกาต (กองทุนที่เป็นเงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นที่ศาสนาอิสลามกำหนดให้มุสลิมร่วมจ่ายในอัตราที่กำหนดเมื่อครบรอบปี) เป็นสวัสดิการสังคมโดยมีกฎหมายรองรับ

  41. ให้กระทรวงวัฒนธรรมจัดให้มีสถาบันพัฒนาผู้นำศาสนาในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้

  42. ให้มีศูนย์วัฒนธรรม ภาษามลายูและวรรณกรรมปัตตานี/ภาษาใต้ (ผู้เขียน) ซึ่งครอบคลุมห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีหน้าที่ ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการใช้ภาษามลายูปัตตานี ตลอดจนมีการตรวจสอบการใช้ภาษามลายูปัตตานีให้มีความถูกต้อง

  43. ให้มีการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาสื่อมวลชนในท้องถิ่น โดยเน้นเรื่องเนื้อหา การใช้ภาษามลายูปัตตานี/ใต้/จีน (ผู้เขียน) และการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น รวมทั้งการใช้สื่อมวลชนเพื่อให้มีการสื่อสารความจริงที่น่าเชื่อถือ

More Related