1 / 53

Models of the Atom

Models of the Atom. ดิโมคริตุส. “ เมื่อย่อยสารลงเรื่อยๆ จะได้ส่วนที่เล็กที่สุดซึ่งไม่สามารถทำให้เล็กลงได้อีก และเรียกอนุภาคที่เล็กที่สุดนี้ว่า อะตอม ”. จอห์น ดอลตัน (John Dalton).

kelda
Download Presentation

Models of the Atom

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Models of the Atom

  2. ดิโมคริตุส “ เมื่อย่อยสารลงเรื่อยๆ จะได้ส่วนที่เล็กที่สุดซึ่งไม่สามารถทำให้เล็กลงได้อีก และเรียกอนุภาคที่เล็กที่สุดนี้ว่า อะตอม”

  3. จอห์น ดอลตัน (John Dalton)  สารแต่ละชนิดประกอบด้วยอนุภาคเล็กๆ แบ่งแยกต่อไปอีกไม่ได้ และไม่สามารถสร้างขึ้นหรือทำลายให้สูญหายไปเรียกว่า อะตอม  อะตอมของธาตุชนิดเดียวกัน ย่อมมีสมบัติเหมือน กันทุกประการ และมีสมบัติต่างจากอะตอมของธาตุอื่น สารประกอบเกิดจากการรวมตัวของอะตอมของธาตุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปด้วยสัดส่วนที่คงที่เป็นเลขลงตัวน้อยๆ John Dalton, 1803

  4. แบบจำลองอะตอมของดอลตันแบบจำลองอะตอมของดอลตัน “ อะตอมมีลักษณะเป็นทรงกลม มีขนาดเล็กมากและไม่สามารถแบ่งแยกได้อีก ”

  5. ต่อมา นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลองได้ข้อมูลใหม่ๆ เกี่ยวกับอะตอมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งแบบจำลองอะตอมของดอลตันอธิบายไม่ได้ เช่น  ทำไมอะตอมของธาตุมีมวลแตกต่างกัน  ทำไมอะตอมสามารถแบ่งแยกได้อีก  ทำไมธาตุจึงมีความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยาเคมีต่างกัน 

  6. ทำไมธาตุหนึ่งทำปฏิกิริยากับธาตุอื่นไม่ได้ทุกธาตุ แต่ทำปฏิกิริยาได้เฉพาะบางธาตุ  ทำไมจำนวนอะตอมของธาตุที่ใช้ในการทำปฏิกิริยาจึงแตกต่างกัน อะตอมทำปฏิกิริยากันอย่างไรจึงเกิดสารประกอบ มีอะไรยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมเหล่านั้น

  7. แบบจำลองอะตอมของทอมสัน (J.J Thomson)

  8. หลอดรังสีแคโทด (Cathode-ray tube) แต่ถ้าสูบเอาอากาศภายในหลอดออกจนมีความดันต่ำพอ จะสามารถตรวจสอบได้ว่ามีกระแสไฟฟ้าไหลครบวงจรหรือ ก๊าซนำไฟฟ้าได้ ถ้าก๊าซที่อยู่ระหว่างขั้วแคโทด และแอโนดมีความดันปกติ กระแสไฟฟ้าจะไม่สามารถไหลผ่านได้

  9. หลอดรังสีแคโทด (Cathode-ray tube) ถ้าวางฉากเรืองแสงที่ฉาบด้วย ZnS ไว้ในหลอดให้ขนานไปตามความยาวของหลอด จะสังเกตเห็นรังสีชนิดหนึ่งพุ่งออกจากขั้วแคโทดเป็นเส้นตรงไปยังขั้วแอโนด เนื่องจากรังสีที่เกิดขึ้นพุ่งออกจากขั้วแคโทด จึงเรียกรังสีนี้ว่า “ รังสีแคโทด ”

  10. สมบัติของรังสีแคโทด 1. สามารถทำให้ฉากเรืองแสงเกิดการเรืองแสงได้ 2. เมื่อให้รังสีแคโทดอยู่ระหว่างขั้วไฟฟ้า รังสีแคโทดจะเบนเข้าหาขั้วบวก รังสีแคโทดประกอบด้วยอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเป็นลบ ซึ่งต่อมาเรียกว่า อิเล็กตรอน

  11. สมบัติของรังสีแคโทด (ต่อ) 3. เมื่อให้รังสีแคโทดอยู่ในสนามแม่เหล็กจะเกิดการเบี่ยงเบนจากแนวเส้นตรง 4. รังสีแคโทดเดินทางเป็นเส้นตรงจากแคโทดไปยังแอโนด ถ้ามีวัตถุทึบแสงมากั้นทางเดินของรังสีจะทำให้เกิดเงา

  12. สมบัติของรังสีแคโทด (ต่อ) 5. รังสีแคโทดสามารถทำให้กังหันที่ทำด้วยวัตถุที่มีขนาดเล็กมาก ซึ่งขวางทางเดินของรังสีเคลื่อนที่หรือหมุนได้ แสดงว่า รังสีแคโทดประกอบด้วยอนุภาคที่มีมวล

  13. การค้นพบอิเล็กตรอน ทอมสันสนใจปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในหลอดรังสีแคโทด จึงได้ดัดแปลงหลอดรังสีแคโทด ดังนี้  ให้ภายในหลอดมีฉากเรืองแสง ให้รังสีแคโทดผ่านช่องเล็กๆ เพื่อให้รังสีแคโทดมีลักษณะเรียว เล็กก่อนที่จะผ่านสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก

  14. การค้นพบอิเล็กตรอน (ต่อ) ทอมสันทำการทดลองโดย  นำหลอดรังสีแคโทดมาวางไว้ในสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า โดยให้ทิศทางของสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าตั้งฉากกัน

  15. การค้นพบอิเล็กตรอน (ต่อ) เมื่อให้รังสีแคโทดผ่านสนามไฟฟ้า จะพบว่ารังสีแคโทดจะเบี่ยงเบนขึ้นด้านบน

  16. เมื่อให้รังสีแคโทดผ่านสนามไฟฟ้าเมื่อให้รังสีแคโทดผ่านสนามไฟฟ้า

  17. การค้นพบอิเล็กตรอน (ต่อ) เมื่อใส่สนามแม่เหล็กเข้าไปและเพิ่มอำนาจสนามแม่เหล็กขึ้นทีละน้อย พบว่ารังสีแคโทดจะมีการเบี่ยงเบนน้อยลง และจะกลับสู่ตำแหน่งเดิมของตอนที่ไม่มีสนามไฟฟ้า (คือตำแหน่ง Q)

  18. การค้นพบอิเล็กตรอน (ต่อ) ขณะที่รังสีแคโทดกลับมาสู่ตำแหน่งเดิม แสดงว่าความแรงของสนามไฟฟ้าเท่ากับความแรงของสนามแม่เหล็ก ทำให้ทอมสันสามารถคำนวณหา ค่าอัตราส่วนประจุต่อมวล (e/m) ของอนุภาคไฟฟ้าในรังสีแคโทด e/m = 1.76 x 108 คูลอมบ์ต่อกรัม e คือ ประจุอนุภาค, m คือ มวลของอนุภาค

  19. การค้นพบอิเล็กตรอน (ต่อ) เมื่อทอมสันลองเปลี่ยนชนิดของก๊าซภายในหลอด หรือชนิดของโลหะที่ใช้ทำขั้วแคโทด ก็ยังพบว่ารังสีแคโทดมีสมบัติเหมือน เดิม และมีค่า e/m คงที่เท่ากับ 1.76 x 108คูลอมบ์/กรัม เสมอ “ อนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าลบ เป็นองค์ประกอบของอะตอมทุกชนิด และเรียกชื่ออนุภาคนี้ว่า อิเล็กตรอน (Electron) ”

  20. การค้นพบโปรตอน ออยเกน โกลด์สไตน์ (Eugen Goldstein) ได้ดัดแปลงหลอดรังสีแคโทดใหม่ โดยให้ขั้วแคโทดอยู่เกือบตรงกลางและเจาะรูขั้วแคโทด ดังรูป จะสังเกตเห็นรังสีด้านหลังขั้วแคโทด

  21. การค้นพบโปรตอน (ต่อ) รังสีนี้เคลื่อนที่เป็นเส้นตรง และมีสมบัติตรงข้ามกับรังสีแคโทด  เบี่ยงเบนในสนามแม่เหล็กในทิศทางตรงข้ามกับรังสีแคโทด ในสนามไฟฟ้ารังสีนี้เบี่ยงเบนเข้าหาขั้วลบ

  22. การค้นพบโปรตอน (ต่อ) จากข้อมูลที่ได้ทำให้สรุปได้ว่า รังสีที่พบนี้ประกอบด้วยอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าบวก และเรียกรังสีนี้ว่า รังสีบวก (Positive ray) หรือ รังสีแคแนล (Cannal ray)

  23. การค้นพบโปรตอน (ต่อ) อนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าบวกนี้เกิดจาก อะตอมของก๊าซถูกชนด้วยอนุภาคอิเล็กตรอนที่พุ่งมาจากแคโทด ทำให้อิเล็กตรอนของก๊าซหลุดออกไป เกิดอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าบวก อนุภาคนี้จึงเคลื่อนที่เข้าหาขั้วแคโทดดังกล่าว

  24. การค้นพบโปรตอน (ต่อ) โกลด์สไตน์ยังพบอีกว่า  เมื่อเปลี่ยนชนิดของก๊าซ อนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าบวกจะมีค่าประจุต่อมวล (e/m)ไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับชนิดของก๊าซ เมื่อใช้ก๊าซไฮโดรเจน จะได้อนุภาคบวกที่มีประจุเท่ากับประจุของอิเล็กตรอนและมีค่าประจุต่อมวล (e/m) สูงสุด เท่ากับ 9.58 x 104 c/gหรือมวลของอนุภาคบวกที่เกิดจากไฮโดรเจนมีค่าต่ำสุด เรียกอนุภาคบวกที่เกิดจากก๊าซไฮโดรเจนว่า โปรตอน (Proton)

  25. แบบจำลองอะตอมของทอมสัน (J.J Thomson) “ อะตอมมีลักษณะเป็นทรงกลม ประกอบด้วยโปรตอนซึ่งมีประจุบวกและอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุลบ กระจายอยู่ทั่วไปอย่างสม่ำเสมอ และในอะตอมที่เป็นกลางทางไฟฟ้าจะมีจำนวนโปรตอนเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอน ”

  26. แต่แบบจำลองอะตอมของทอมสันนี้ยังไม่สามารถอธิบายข้อสงสัยบางอย่างและคุณสมบัติอื่นๆของอะตอมได้ ตัวอย่างเช่น ประจุไฟฟ้าบวก อยู่กันได้อย่างไรในอะตอม สเปกตรัมที่แผ่ออกมาจากธาตุ จึงมีนักวิทยาศาสตร์รุ่นต่อมาค้นคว้าและทดลองเพื่อหาข้อเท็จจริงต่อมา และปัจจุบันก็ได้ทราบว่าแบบจำลองนี้ไม่ถูกต้อง

  27. แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ดแบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด รัทเทอร์ฟอร์ดได้ใช้อนุภาคแอลฟายิงไปยังแผ่นโลหะทองคำบางๆ และใช้ฉากเรืองแสงซึ่งฉาบไว้ด้วย ZnS เป็นฉากรับ Ernest Rutherford, 1911

  28. การทดลองของรัทเทอร์ฟอร์ดการทดลองของรัทเทอร์ฟอร์ด

  29. รัทเทอร์ฟอร์ดได้อธิบายผลการทดลอง ดังนี้ 1. การที่อนุภาคแอลฟาส่วนใหญ่วิ่งผ่านอะตอมของแผ่นทองคำเป็นแนวเส้นตรง แสดงว่าอะตอมไม่ใช่ของแข็งทึบตัน แต่มีที่ว่างอยู่มาก

  30. 2. อนุภาคแอลฟาบางอนุภาคที่เบนออกจากทางเดิม เพราะภายในอะตอมมีอนุภาคที่มีมวลมากและมีประจุไฟฟ้าบวกสูงมีขนาดเล็ก ดังนั้นเมื่ออนุภาคแอลฟาเข้าใกล้จะถูกผลักให้เบนออกจากทางเดิม หรือเมื่ออนุภาคแอลฟาเข้ามากระทบอย่างจังก็จะสะท้อนกลับ

  31. แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ดแบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด อะตอมประกอบด้วยโปรตอนซึ่งรวมกันเป็นนิวเคลียสอยู่ตรงกลาง นิวเคลียสมีขนาดเล็กมาก แต่มีมวลมากและมีประจุบวก ส่วนอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุลบและมีมวลน้อยมากวิ่งอยู่รอบๆ นิวเคลียสเป็นบริเวณกว้าง

  32. แต่แบบจำลองนี้ยังมีข้อกังขาที่ยังไม่สามารถหาคำตอบได้คือแต่แบบจำลองนี้ยังมีข้อกังขาที่ยังไม่สามารถหาคำตอบได้คือ 1. อิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่โดยมีความเร่งจะแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมา ทำให้พลังงานจลน์ลดลง ทำไมอิเล็กตรอนวิ่งวนรอบนิวเคลียสตามแบบจำลองของรัทเธอร์ฟอร์ด จึงไม่สูญเสียพลังงาน และไปรวมอยู่ที่นิวเคลียส 2. อะตอมที่มีอิเล็กตรอนมากกว่าหนึ่งตัว เมื่อวิ่งวนรอบนิวเคลียสจะจัดการเรียงตัวอย่างไร 3. ประจุบวกที่รวมกันอยู่ในนิวเคลียส จะอยู่กันได้อย่างไร ทั้งๆที่เกิดแรงผลัก

  33. การค้นพบนิวตรอน  ปี 1930 โบเทและเบคเกอร์ ได้ทดลองใช้อนุภาคแอลฟายิงโลหะเบริลเลียม พบว่าเกิดรังสีชนิดหนึ่งที่มีอำนาจผ่านทะลุได้ดี และเมื่อชนกับโมเลกุลของพาราฟินจะได้โปรตอนออกมา ปี 1932 เจมส์ แซดวิก ได้เสนอว่ารังสีที่ไปชนพาราฟินจนได้โปรตอนนั้นจะต้องประกอบด้วยอนุภาค และให้ชื่อว่า นิวตรอน (Neutron)

  34. การค้นพบนิวตรอน (ต่อ) จากการค้นพบนิวตรอนของแซดวิก ทำให้ทราบว่า อะตอมประกอบด้วยอนุภาค 3 ชนิด คือ โปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน อนุภาคทั้งสามนี้ถือว่าเป็น อนุภาคมูลฐานของอะตอม “ อะตอมมีลักษณะเป็นทรงกลมประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอนรวมตัวกันเป็นนิวเคลียสอยู่ตรงกลาง และมีอิเล็กตรอนซึ่งมีจำนวนเท่ากับโปรตอนวิ่งอยู่รอบๆ ” P n

  35. แบบจำลองอะตอมของโบร์ ในปี 1913 นีล โบร์ (Niels Bohr) ได้นำทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัมมาประยุกต์ใช้ในการทดลอง เพื่อพัฒนาแบบจำลองอะตอม Niels Bohr, 1913

  36. แบบจำลองอะตอมของโบร์

  37. แบบจำลองอะตอมของโบร์ เรียกวงโคจรของอิเล็กตรอนที่อยู่ใกล้นิวเคลียสที่สุด และมีพลังงานต่ำสุดว่า ชั้น K และวงโคจรที่ถัดออกมาซึ่งมีระดับพลังงานสูงขึ้นว่าชั้น L, M, N, O … ตามลำดับ ในปัจจุบันเรียกว่าระดับพลังงาน n = 1, n = 2, n = 3… ตามลำดับ

  38. สเปกตรัมการปล่อยแสงของอะตอมไฮโดรเจนสเปกตรัมการปล่อยแสงของอะตอมไฮโดรเจน 7.3

  39. แบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอกแบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก  เนื่องจากแบบจำลองของโบร์ไม่สามารถอธิบายเส้นสเปกตรัมของอะตอมที่มีหลายอิเล็กตรอนได้  จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ได้ข้อมูลเพิ่มเติมที่เชื่อถือได้ว่าอิเล็กตรอนไม่ได้เคลื่อนที่เป็นวงดังที่โบร์เสนอ

  40. แบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอกแบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก 1. การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนไม่มีทิศทางแน่นอน และไม่สามารถบอกตำแหน่งที่แน่นอนของอิเล็กตรอนได้ บอกได้เพียงโอกาสที่จะพบอิเล็กตรอน ณ ตำแหน่งต่าง ๆ เท่านั้น 2. โอกาสที่จะพบอิเล็กตรอนในแต่ละระดับพลังงานไม่เหมือนกัน ขึ้นกับจำนวนอิเล็กตรอนและระดับพลังงานของ อิเล็กตรอนนั้น 3. อิเล็กตรอนแต่ละตัวไม่ได้อยู่ในระดับพลังงานในพลังงานหนึ่งคงที่ แต่เปลี่ยนระดับพลังงานตลอดเวลา

  41. แบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอกแบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก “ อะตอมประกอบด้วยนิวเคลียส และรอบๆ นิวเคลียสมีกลุ่มหมอกของอิเล็กตรอนรูปทรงต่างๆ ตามระดับพลังงานของอิเล็กตรอนห่อหุ้มอยู่ บริเวณกลุ่มหมอกทึบมีโอกาสที่จะพบอิเล็กตรอนมากกว่าบริเวณที่กลุ่มหมอกจาง ”

  42. P n

  43. สมบัติของอนุภาคมูลฐานบางชนิดของอะตอมสมบัติของอนุภาคมูลฐานบางชนิดของอะตอม 1 amu = 1.66 x 10-24 g

  44. เลขอะตอม (Atomic number) หมายถึง จำนวนโปรตอนที่อยู่ภายในนิวเคลียส แต่เนื่องจากในอะตอมที่เป็นกลาง จำนวนโปรตอนเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอน ดังนั้นเลขอะตอมจึงอาจหมายถึงจำนวนอิเล็กตรอนก็ได้ ใช้สัญลักษณ์ Z แทน

  45. เลขมวล (Mass number) หมายถึง ผลบวกของจำนวนโปรตอนกับนิวตรอนภายในนิวเคลียสใช้สัญลักษณ์ A แทน

  46. สัญลักษณ์นิวเคลียร์ บอกจำนวนอนุภาคมูลฐานของอะตอม มีหลักการเขียนดังนี้ ให้ X เป็นสัญลักษณ์ของธาตุ เลขมวล AZX เช่น 199F เลขอะตอม

  47. ไอโซโทป (Isotope) คือ อะตอมของธาตุชนิดเดียวกัน มีเลขอะตอมเท่ากันแต่มีเลขมวลต่างกัน หรือมีจำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนเท่ากันแต่มีจำนวนนิวตรอนต่างกัน

  48. ธาตุไฮโดรเจนมี 3 ไอโซโทป 11H โปรเทียม 21H ดิวทีเรียม 31H ทริเทียม เช่น 168O, 178O, 188O

  49. -ดูกลไกการเกิดปฏิกิริยา-ดูกลไกการเกิดปฏิกิริยา ประโยชน์ของไอโซโทป 14C ใช้คำนวณหาอายุของวัตถุโบราณหรืออายุของซากดึกดำบรรพ์

  50. Na-24 (คายรังสี เบตา)ฉีดเข้าไปในเส้นเลือด ทดสอบการอุดตันของเส้นเลือด • (ติดตามการไหลเวียนของเกลือในกระแสเลือด) • I-131(คายรังสี เบตา) ทดสอบการทำงานของต่อมไทรอยด์ • (ติดตามการดูดซับของ 131Iในต่อมไทรอยด์) Co-60 (คายรังสี β และ γ) ใช้ในการถนอมอาหารและใช้ในการรักษาโดยการทำลายเซลล์มะเร็งในร่างกาย

More Related