1 / 22

ก้าวย่างเข้าสู่ปีที่ 4… สำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ

ก้าวย่างเข้าสู่ปีที่ 4… สำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ. 2014 : Drive NSRS THAILAND to AEC ขับเคลื่อนระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติให้เป็นที่ยอมรับใน AEC. - 2013. 2012 : Introduce to Industrial/Service ขยายผลสู่อุตสาหกรรม/บริการเป้าหมาย.

keene
Download Presentation

ก้าวย่างเข้าสู่ปีที่ 4… สำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ก้าวย่างเข้าสู่ปีที่ 4… สำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ 2014 : Drive NSRS THAILAND to AEC ขับเคลื่อนระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติให้เป็นที่ยอมรับใน AEC - 2013 2012 : Introduce to Industrial/Service ขยายผลสู่อุตสาหกรรม/บริการเป้าหมาย 2011 : Try-out, Improvement and Participation ทดลองใช้ ปรับปรุงแก้ไข และสร้างการมีส่วนร่วม 2010 : Collect Data, Manage Information to Innovation ค้นคว้า รวบรวม ศึกษา เรียนรู้ สร้าง Model

  2. Enhancing National Skill Standard Recognition System In Thailand (Project for AEC) • 2009 : Establish of National Skill Standard Recognition Office • กรมพัฒนาฝีมือแรงงานมีคำสั่งที่ 457/2552 ลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2552 โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานให้จัดตั้งสำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ โดยให้มีหน้าที่ดังนี้ : • ดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ให้มีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศและสากล • กำหนดแนวทางและรูปแบบการฝึกอบรมบุคลากรด้านการรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ และองค์กรที่ทำหน้าที่ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน เพื่อให้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ • พัฒนาและจัดทำเกณฑ์การประเมินเพื่อรับรองหน่วยงาน หรือองค์กรทีทำหน้าที่ฝึกอบรม หรือทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน • ศึกษาและจัดทำแนวทางเพื่อวางระบบการดำเนินการของสำนักงานฯ เพื่อเตรียมการเป็นหน่วยงานอิสระ • ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย สำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน National Skill Standard Recognition Office Department of Skill Development http://home.dsd.go.th/nsro e-mail : nsro@dsd.go.th  0 2354 0281,  08 5483 8195 1

  3. วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555 สำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ จัดตั้งครบรอบ 3 ปี ในโอกาสนี้จึงขอรายงานผลการดำเนินงานในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาดังนี้ 1. กลยุทธ์การผลักดันระบบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ (2010 – 2015) สำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ได้วางกลยุทธ์การทำงาน เพื่อรองรับการดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้มั่นใจว่าการพัฒนา ปรับปรุงและผลักดันงานมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติให้เป็นที่ยอมรับและสอดคล้องกับการจ้างงาน โดยมีแนวทางและเป้าหมายหลัก ๆ สำหรับการดำเนินงานในแต่ละปี ดังรูปต่อไปนี้ 2

  4. 2. Collect Data and Manage Information to Innovation ปี 2010 เป็นปีแห่งการ ศึกษา ค้นคว้า รวบรวม และจัดทำ Model ดังนั้น เพื่อเป็นการรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรีในกลุ่มประเทศอาเซียน ที่จะมีขึ้นในปี พ.ศ. 2558 กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้มอบหมายให้สำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ดำเนินโครงการศึกษาวิธีการจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติให้เป็นที่ยอมรับและสอดคล้องกับการจ้างงาน โดยทำการศึกษารูปแบบการจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติที่ดำเนินการอยู่ ในปัจจุบัน (National Occupation Skill Standard : NOSS) รูปแบบมาตรฐานฝีมือแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศหรือ ILO(Region Model Competency Standard :RMCS) และนำข้อดี ข้อเสีย และข้อจำกัดของทั้ง 2 รูปแบบมาปรับปรุง พัฒนาเป็นมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติตามอุตสาหกรรม (National Industry Skill Standard : NISS) และทดลองนำร่องดำเนินการในสาขาช่างซ่อมรถยนต์ โดยดำเนินการในลักษณะของการเปรียบเทียบรายการความสามารถของช่างในระดับต่าง ๆ ของแต่ละบริษัท จากนั้นหาข้อสรุปร่วมเพื่อจัดทำเป็นรายการความสามารถที่จำเป็นต้องใช้ในแต่ระดับ โดยกำหนดในลักษณะของทักษะฝีมือต่ำสุดที่แต่ละบริษัทยอมรับได้ ดังตารางเปรียบเทียบต่อไปนี้ 3

  5. 2. Collect Data and Manage Information to Innovation เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่ารูปแบบการจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติที่ได้จัดทำขึ้นสามารถใช้ได้กับกลุ่มอุตสาหกรรมหรือกลุ่มอาชีพอื่น ๆ สำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ จึงได้ทดลองนำไปใช้ในการกำหนดมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ โดยร่วมกับสมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย สมาคมผู้จัดการงานบริการอาหารและเครื่องดื่มอันดามัน สมาคมไทยโลจิสติกส์และการผลิต สมาคมผู้ค้าเครื่องปรับอากาศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งผลการดำเนินงานเป็นที่ยอมรับและสอดคล้องกับการจ้างงาน เพื่อให้การดำเนินงานของสำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ กรมพัฒนาฝีมือแรงงานโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ได้ทำความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย เพื่อร่วมกันพัฒนายกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ การนำไปใช้งานและการให้การรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ดังแสดงในรูปต่อไปนี้ Draft Model for Industrial Skill Recognition System (Automotive Technician ) 4

  6. 2. Collect Data and Manage Information to Innovation ผลการดำเนินงานในปี 2010 สามารถนำมาใช้เป็นต้นแบบในการดำเนินงานได้ดังนี้ 2.1 มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ เป็นเครื่องในการบริหารจัดการทักษะ ของกำลังแรงงานเพื่อเพิ่มขีดความ สามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ 2.2 กรอบการรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ 5

  7. 2. Collect Data and Manage Information to Innovation 2.3 รูปแบบของ Competency Standard and Assessment 2.4 กระบวนการกำหนดมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ซึ่งดำเนินการร่วมกับสภา สมาคม หรือองค์กรวิชาชีพต่าง ๆ 6

  8. 3. Try-Out, Improvement and Participation • ปี 2011 เป็นปีแห่งการ ทดลองนำไปใช้ พัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น และ สร้างการมีส่วนร่วม กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้รับงบประมาณสำหรับดำเนินโครงการพัฒนาระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ระยะที่ 1 และได้มอบหมายให้สำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการดำเนินโครงการดังกล่าว ซึ่งผลจากการดำเนินโครงการฯ ระยะที่ 1 มีดังนี้ • 3.1 การพัฒนายกระดับหน่วยงานด้านการฝึกอบรมและทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน • จัดสรรงบประมาณให้สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 1-12 หน่วยงานละ 2.5 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงสถานที่ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ ที่ใช้สำหรับฝึกและทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ตามข้อกำหนดของมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ใน 4 สาขาอาชีพ (เทคนิครถยนต์ เทคนิคตัวถังรถยนต์ เทคนิคสีรถยนต์ และเทคนิคเครื่องปรับอากาศภายในบ้านและการพาณิชย์ขนาดเล็ก) ให้สามารถรองรับการเข้าสู่การประกันคุณภาพระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ 7

  9. 3. Try-Out, Improvement and Participation • ได้รับการสนับสนุนรถยนต์ และอุปกรณ์ จากโครงการความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างกรมพัฒนาฝีมือแรงงานและบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ดังนี้ • 2.1) พัฒนายกระดับ เจ้าหน้าที่ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน • ด้านบริการรถยนต์ ให้เป็นผู้ฝึกอบรมและทดสอบมาตรฐาน • ฝีมือแรงงานแห่งชาติ ระดับ 1&2 ทั่วประเทศ รวม 65 คน • พร้อมมอบ CD– ประกอบการฝึกอบรมช่างเทคนิคโตโยต้า • สาขาเทคนิครถยนต์ ตัวถังรถยนต์ และสีรถยนต์ รวม80 ชุด • 2.2) ร่วมปรับปรุงสถานที่เพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์พัฒนาและรับรอง • ทักษะกำลังแรงงานในศูนย์บริการโตโยต้า ณ สถาบันพัฒนา • ฝีมือแรงงานภาค 7 อุบลราชธานี • 2.3 มอบรถยนต์ฝึก(Goshi - Car)จำนวน 12 คัน • พร้อมชุดเครื่องยนต์สำหรับการฝึกเทคโนโลยี • เครื่องยนต์ดีเซล 12 ชุด และเครื่องยนต์ • เบนซินหัวฉีด 12 ชุด ให้กับสถาบันพัฒนา • ฝีมือแรงงาน ทั้ง 12 ภาค 8

  10. 3. Try-Out, Improvement and Participation • ได้รับการสนับสนุนเครื่องปรับอากาศสำหรับการฝึก • และทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขา • ช่างเทคนิคเครื่องปรับอากาศภายในบ้านและการ • พาณิชย์ขนาดเล็ก จากบริษัท Mitsubishi Electric • Consumer Products (Thailand) Co,Ltd. • และ บริษัท ซัมซุง (ประเทศไทย) จำกัด รวม 24 ชุด • 3.2 การจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติตามกลุ่มอุตสาหกรรม • ดำเนินการจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรม ภายใต้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมไทยโลจิสติกส์และการผลิต สมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย สมาคมผู้ค้าเครื่องปรับอากาศไทย และ สมาคมวิชาชีพอื่น ๆ รวมทั้งสิ้น 55 สาขาอาชีพ ใน 13 กลุ่มอุตสาหกรรม 9

  11. 3. Try-Out, Improvement and Participation 3.3 เผยแพร่และส่งเสริมการใช้มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและทำความเย็น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดแข่งขัน “สุดยอดช่างแอร์2011” ในงาน Bangkok RHVAC 2011 โดยใช้เกณฑ์ของมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาช่างเทคนิคเครื่องปรับอากาศภายในบ้านและกาพาณิชย์ขนาดเล็ก ระดับ 1&2 ร่วมจัดกิจกรรมสาธิตการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ด้านบริการรถยนต์ ในงานแถลงข่าวอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน ณ กระทรวงแรงงาน 10

  12. 3. Try-Out, Improvement and Participation ประชุม สัมมนา และนำเสนอผลงานทางวิชาการ 3.1) ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดสัมมนา “ทำมาตรฐานฝีมือแรงงาน...มีแต่ได้กับได้” ณ ไบเทค บางนา 3.2) ร่วมกับสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย จัดสัมมนา “สร้างมาตรฐานฝีมือแรงงานไทย ผลักดันอุตสาหกรรมชิ้นส่วนก้าวไกลสู่สากล” ณ ไบเทค บางนา 3.3) นำเสนอผลงานวิชาการด้านระบบรับรอง มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ในการประชุมระหว่างประเทศ ของประเทศสมาชิกในกลุ่ม Greek Mekong Sub region (GMS) และ AyeyawadyChao-Phraya Mekong Economic Cooperation Strategy : (ACMECS) ณ ประเทศเวียดนาม 11

  13. 4. Introduce to Industrial/Service ปี 2012 เป็นปีของการขยายผลการทำงานไปสู่กลุ่มอุตสาหกรรม/บริการ หรือสมาคมวิชาชีพอื่น ๆ และกกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้มอบหมายให้ สำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ดำเนินโครงการพัฒนาระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติรองรับประขาคมเศรษฐกิจอาเซียน ระยะที่ 2 ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูล ประสบการณ์ที่ได้จากระยะที่ 1 มาพัฒนาเป็นต้นแบบของระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ที่เชื่อมโยงกับอาเซียนหรือนานาชาติ และรองรับการทำระบบการยอมรับในข้อตกลงร่วม (MRA) และการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรีในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 4.1 (ร่าง)กลไกการเชื่อมโยง ระหว่างหน่วยงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานอาเซียน (ASSA) และหน่วยงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงาแห่งชาติ (NSSA) ของแต่ละประเทศสมาชิก โดยใช้ระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานอาเซียน (ASRS) ที่เชื่อมโยงกับระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ (NSRS)(ผลจากโครงการ Enhancing Skills Recognition Systems in ASEAN Project (Under ASEAN Australia Development Cooperation Program: AADCP ) 12

  14. 4. Introduce to Industrial/Service 4.2 ปรับปรุงระบบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ที่ดำเนินการตาม พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ให้เป็นระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ (NSRS) ที่รองรับกับระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานอาเซียน และดำเนินการภายใต้ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 ซึ่งจะต้องมีการปรับปรุงประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ที่ออกตามหมวด 2 ในบางมาตรา ดังแสดงในแผนภาพต่อไปนี้ ระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ (ดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545) 13

  15. 4. Introduce to Industrial/Service 4.3 เพื่อให้ระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ได้รับการยอมรับทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ สำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ จึงพัฒนาระบบการประกันคุณภาพระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ (National Skill Standard Recognition Quality Assurance System :NSRS-QA) โดยดำเนินการในรูปของคณะอนุกรรมการด้านระบบการประกันคุณภาพ ที่แต่งตั้งจากคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยมีหน้าที่ในการพัฒนา วางแผน ติดตาม ปรับปรุงแก้ไข และรายงานผลการการดำเนินงานด้านการรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติเทียบกับเกณฑ์การประกันคุณภาพ และรายงานผู้บังคับบัญชา เพื่อพิจารณาสั่งการ ซึ่งมีแนวทางในการบริหารจัดการดังแสดงในแผนภาพต่อไปนี้ 14

  16. 4. Introduce to Industrial/Service 4.4 เพื่อให้การดำเนินงานด้านมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เป็นที่ยอมรับและสอดคล้องกับระบบการประกันคุณภาพระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ จึงกำหนดกรอบการทำงานสำหรับการพัฒนาและรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ดังแสดงในแผนภาพต่อไปนี้ 4.5 จากกรอบการทำงานสำหรับการพัฒนา และรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติสามารถ แบ่งกลุ่มเป้าหมายของการรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงาน แห่งชาติได้ เป็น 3 กลุ่ม ดังแสดงในแผนภาพต่อไปนี้ 15

  17. 4. Introduce to Industrial/Service 4.6 เพื่อให้การพัฒนาและรับรองทักษะกำลังแรงงาน ใน 13 กลุ่มอุตสาหกรรม ที่ได้จัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ไว้แล้ว เป็นไปตามเป้าหมาย สำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ จึงได้จัดทำวิธีทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ระดับ 1 และ 2 ใน 13 กลุ่มอุตสาหกรรม จำนวน 55 สาขาอาชีพ ดังนี้ 16

  18. 4. Introduce to Industrial/Service 4.7 เพื่อให้การขับเคลื่อนระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ซึ่งดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 เป็นเป็นเอกภาพไปในทิศทางเดียว สำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ จึงได้จัดทำกลยุทธ์การขับเคลื่อนระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ (พ.ศ.2556-2558) โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ ดังแสดงในแผนภาพต่อไปนี้ กลยุทธ์การขับเคลื่อนระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ 17

  19. 5. Drive NSRS Thailand To AEC 5.1 ปี 2013 เป็นปีแห่งการขับเคลื่อนระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติให้เป็นที่ยอมรับ เพื่อรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จึงมอบหมายให้สำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ดำเนินโครงการพัฒนาระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ระยะที่ 3 พร้อมตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการฯ “กำลังแรงงาน ใน 13 กลุ่มอุตสาหกรรมเข้าสู่ระบบการรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติไม่น้อยกว่า 3,000 คน”เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการดำเนินโครงการฯ สำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ จึงสรุปภาพรวมและความเชื่อมโยงโครงการฯ ตั้งแต่ระยะที่ 1 ถึง ระยะที่ 3 ดังแสดงในแผนภาพต่อไปนี้ 18

  20. 5. Drive NSRS Thailand To AEC • 5.2 เพื่อให้การขับเคลื่อนงานด้านมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ มีความต่อเนื่องเป็นเอกภาพและไปในทิศทางเดียวกัน สำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ จึงได้กำหนดแผนงาน โครงการ และกิจกรรม ภายใต้ “แผนกลยุทธ์ขับเคลื่อนระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ (พ.ศ.2556-2558)”ดังแสดงในแผนภาพต่อไปนี้ • ในปี 2013 กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เห็นชอบตามที่สำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ เสนอการบริหารจัดการ การพัฒนาระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ รองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยแบ่งออกเป็น 3 กิจกรรมหลัก ดังนี้ • การจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติและวิธีการทดสอบ • การพัฒนาผู้ทดสอบหรือผู้ฝึกสอน และส่งเสริมศูนย์ทดสอบ/ศูนย์ฝึกอบรม และรับรองมาตรฐานฝีมือของกำลังแรงงานในอุตสาหกรรมเป้าหมาย 19

  21. 5. Drive NSRS Thailand To AEC • การจัดทำรับระบบข้อมูลสารสนเทศตามระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ • โดยมีโครงการ กิจกรรมการดำเนินงานดังแสดงในแผนภาพ “แผนงาน โครงการ การขับเคลื่อนระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ให้เป็นที่ยอมรับ ปี พ.ศ. 2556” ดังแสดงต่อไปนี้ 19

  22. ก้าวย่างเข้าสู่ปีที่ 4… สำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ เป็นเอกสาร รวบรวมผลการดำเนินงานของสำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ (National Skill Standard Recognition Office : NSRO) ตั้งแต่มีคำสั่งจัดตั้งสำนักงานฯ เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2552 ในปีงบประมาณ พ.ศ.2553 เป็นปีของการค้นคว้า รวบรวม ศึกษา เรียนรู้ร่วมกับสถานประกอบกิจการ สมาคมวิชาชีพตลอดจนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อสร้าง Model ในการทำงาน ปีงบประมาณ พ.ศ.2554 ได้มีการนำ Model ต่างๆ ไปทดลองใช้ ปรับปรุงแก้ไข และสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนให้มากขึ้น ปีงบประมาณ พ.ศ.2555 มีการขยายผลสู่ภาคอุตสาหกรรม/บริการเป้าหมาย และเป็นปีที่สามารถสร้างองค์ประกอบของระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติได้ครบถ้วน ดังนั้นในปีงบประมาณ 2556 หรือปีที่ 4 ของการจัดตั้ง NSROจึงเป็นปีของการขับเคลื่อนระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติให้เป็นที่ยอมรับ และมีเป้าหมายที่จะพัฒนาและรับรองทักษะฝีมือของกำลังแรงงานในภาคอุตสาหกรรม/บริการ (ผ่านระบบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ) ไม่น้อยกว่า 3,000 คน และจะขยายผลในปีต่อ ๆ ไป โดยที่การดำเนินงานในรอบ 3 ปี ที่ผ่านมาNSROมีบุคลากรประจำสำนักงานฯ ดังนี้ ผู้อำนวยการสำนักงานฯ นักวิชาการชำนาญการ 3 คน ครูฝึกฝีมือแรงงานชั้น 2 จำนวน 1 คน และพนักงานราชการ 1 คน รวมทั้งสิ้น 6 คน ดังนั้นการปฏิบัติงานของ NSROจะสำเร็จไม่ได้ ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือ ร่วมใจอย่างดียิ่งจาก ผู้บริหารกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สมาชิกของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมไทยโลจิสติกส์และการผลิต สมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย ผู้ประกอบการและภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติจึงขอขอบพระคุณทุกท่านไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ.... ขอพระคุณครับ For More Information : Please Contact สำนักงานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน National Skill Standard Recognition Office http://home.dsd.go.th/nsro e-mail : nsro@dsd.go.th  0 2354 0281,  08 5483 8195

More Related