1 / 47

ประเทศพม่า กับการล่าอาณานิคมของอังกฤษ

ประเทศพม่า กับการล่าอาณานิคมของอังกฤษ. นายมาโนชญ์ มูลทรัพย์. ประวัติความเป็นมา. ประวัติความเป็นมา ต่อ.

Download Presentation

ประเทศพม่า กับการล่าอาณานิคมของอังกฤษ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ประเทศพม่า กับการล่าอาณานิคมของอังกฤษ นายมาโนชญ์ มูลทรัพย์

  2. ประวัติความเป็นมา

  3. ประวัติความเป็นมา ต่อ • ประเทศพม่าเป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นประเทศที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ มีอารยธรรมที่มีความเจริญ ในด้านเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง ศิลปะและวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของพม่านั้นมีความยาวนานและซับซ้อน มีประชาชนหลายเผ่าพันธุ์เคยอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้ เผ่าพันธุ์เก่าแก่ที่สุดที่ปรากฏได้แก่ชาวมอญ

  4. ประวัติความเป็นมา ต่อ • พุทธศตวรรษที่ 13 พม่าได้อพยพลงมาจากบริเวณพรมแดนระหว่างจีนและทิเบต เข้าสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดี และได้กลายเป็นชนเผ่าส่วนใหญ่ที่ปกครองประเทศในเวลาต่อมา ความซับซ้อนของประวัติศาสตร์พม่าเกิดจากการอพยพย้ายถิ่นฐานมาของชุมชนต่างๆที่มาอาศัยในลุ่มแม่น้ำอิระวดีทำให้เกิดการขยายตัวกลายเป็นเมืองและอาณาจักรในเวลาต่อมา

  5. อาณาจักรมอญ

  6. อาณาจักรมอญ • มอญ ถือได้ว่า ชนเผ่าแรกที่สามารถสร้างอารยธรรมขึ้นเป็นเอกลักษณ์ของตนได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้เมื่อราว 2,400 ปี และได้สถาปนาอาณาจักรสุวรรณภูมิ อันเป็นอาณาจักรแห่งแรกขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 2 ณ บริเวณใกล้เมืองท่าตอน (Thaton) • ชาวมอญได้รับอิทธิพลของศาสนาพุทธผ่านทางอินเดียในราวพุทธศตวรรษที่ 2 ซึ่งเชื่อว่ามาจากการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช

  7. อาณาจักรพยู หรือ เพียว • ชาวพยูหรือบางที่เราก็เรียกว่า เพียว คือกลุ่มที่เข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนประเทศพม่าตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 4 และได้สถาปนานครรัฐขึ้นหลายแห่ง เช่น 1. พินนาคา (Binnaka) 2. มองกะโม้ (Mongamo) 3. ศรีเกษตร (Sri Ksetra) 4. เปียทะโนมโย (Peikthanomyo) 5. หะลินยี (Halingyi) มีเมืองอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของชาวพยู 18 เมือง และชาวพยูเป็นชนเผ่าที่รักสงบ ไม่ปรากฏว่ามีสงครามเกิดขึ้นระหว่างชนเผ่าพยู

  8. อาณาจักรพุกาม • "พุกาม" (Bagan) โดยได้เข้ามาแทนที่อำนาจภายหลังจากการเสื่อมสลายไปของอาณาจักรชาวพยู • อาณาจักรพุกามในรัชสมัยของพระเจ้าอโนรธา พระองค์สามารถรวบรวมแผ่นดินพม่าให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันสำเร็จ และเมื่อพระองค์ทรงตีเมืองท่าตอนของชาวมอญได้ใน พุทธศักราช 1600 อาณาจักรพุกามก็กลายเป็นอาณาจักรที่เข้มแข็งที่สุดในดินแดนพม่า ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 17 ดินแดนในคาบสมุทรสุวรรณภูมิเกือบทั้งหมดถูกครอบครองโดยอาณาจักรเพียงสองแห่ง คือเขมร (เมืองพระนคร) และพุกาม

  9. อาณาจักรพุกาม ต่อ • การเสื่อมของอาณาจักรพุกาม 1. สถาบันกษัตริย์สนับสนุนสถาบันศาสนามากเกินไป 2. จากการรุกรานของจักรวรรดิมองโกล - พระเจ้านราธิหบดี ได้ทรงนำทัพสู่ยูนานเพื่อยับยั้งการ ขยายอำนาจของมองโกล แต่เมื่อพระองค์แพ้สงคราม - พระเจ้านราธิหบดีถูกพระราชโอรสปลงพระชนม์ ทำให้ อาณาจักรมองโกลสามารถเข้าครอบครองดินแดนของ อาณาจักรพุกามได้ทั้งหมด

  10. อาณาจักรอังวะและหงสาวดีอาณาจักรอังวะและหงสาวดี • จากการล่มสลายของอาณาจักรพุกาม พม่าได้แตกแยกออกจากกันอีกครั้ง • มีการสถาปนาอาณาจักรอังวะในปีพุทธศักราช 1907 • ศิลปะและวรรณกรรมของพุกามได้ถูกฟื้นฟูจนยุคนี้กลายเป็นยุคทองแห่งวรรณกรรม • ดินแดนทางใต้ ชาวมอญได้สถาปนาอาณาจักรของพวกตนขึ้นใหม่อีกครั้งที่หงสาวดี โดยกษัตริย์ธรรมเจดีย์ เป็นจุดเริ่มต้นยุคทองของมอญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนานิกายเถรวาทและศูนย์กลางทางการค้าขนาดใหญ่ในเวลาต่อมา

  11. อาณาจักรตองอู • อาณาจักรพุกามถูกรุกรานจากไทใหญ่ ชาวอังวะได้อพยพลงมาสถาปนาอาณาจักรแห่งใหม่ โดยมีศูนย์กลางที่เมืองตองอู ในปีพุทธศักราช 2074 พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ซึ่งสามารถรวบรวมพม่าเกือบทั้งหมดให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อีกครั้ง ในช่วงระยะเวลานี้ ได้มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่เกิดขึ้นในภูมิภาค ชาวไทใหญ่มีกำลังเข้มแข็งเป็นอย่างมากทางตอนเหนือ • โปรตุเกสได้เริ่มมีอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสามารถเข้าครอบครองมะละกาได้

  12. อาณาจักรตองอู ต่อ • การที่พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่เมืองหงสาวดี เหตุผลส่วนหนึ่งก็เนื่องด้วยทำเลทางการค้า • พระเจ้าบุเรงนองได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ และสามารถเข้าครอบครองอาณาจักรต่าง ๆ รายรอบได้ อาทิ มณีปุระ (พ.ศ. 2103) อยุธยา (พ.ศ. 2112)

  13. อาณาจักรตองอู ต่อ • กษัตริย์แห่งราชวงศ์ตองอูจำเป็นต้องถอนตัวจากการครอบครองดินแดนตอนใต้โดยย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เมืองอังวะ พระเจ้าอะนอกะเพตลุน (Anaukpetlun) พระนัดดาของพระเจ้าบุเรงนอง สามารถรวบรวมแผ่นดินพม่าให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอีกครั้งในพุทธศักราช 2156 พระองค์ตัดสินใจที่จะใช้กำลังเข้าต่อต้านการรุกรานของโปรตุเกส พระเจ้าธารุน (Thalun) ผู้สืบทอดราชบัลลังก์ ได้ฟื้นฟูหลักธรรมศาสตร์ของอาณาจักรพุกามเก่า แต่พระองค์ทรงใช้เวลากับเรื่องศาสนามากเกินไป จนละเลยที่จะใส่ใจต่ออาณาเขตทางตอนใต้ ท้ายที่สุด หงสาวดี ที่ได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศสซึ่งตั้งมั่นอยู่ในอินเดีย ก็ได้ทำการประกาศเอกราชจากอังวะ จากนั้นอาณาจักรของชาวพม่าก็ค่อย ๆ อ่อนแอลง จากการรุกรานของชาวมอญ

  14. ภาพเจดีย์ ชเวดากอง วาดโดยช่างภาพชาวอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2368

  15. ราชวงศ์อลองพญา หรือ อาณาจักรคองบอง • ราชวงศ์ อลองพญาได้รับการสถาปนาขึ้นและสร้างความเข้มแข็งจนถึงขีดสุดได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว พระเจ้า อลองพญาซึ่งเป็นผู้นำที่ได้รับความนิยมจากชาวพม่า ได้ขับไล่ชาวมอญที่เข้ามาครอบครองดินแดนของชาวพม่าได้ใน พ.ศ. 2296 จากนั้นก็สามารถเข้ายึดครองอาณาจักรมอญได้อีกครั้งใน พ.ศ. 2302 ทั้งยังสามารถกลับเข้ายึดครองกรุงมณีปุระได้ในช่วงเวลาเดียวกัน

  16. ราชวงศ์อลองพญา หรือ อาณาจักรคองบอง ต่อ • พระเจ้า อลองพญาสถาปนาเมืองย่างกุ้งเป็นเมืองหลวงใน พ.ศ. 2303 หลังจากเข้ายึดครองตะนาวศรี (Tenasserim) พระองค์ได้ยาตราทัพเข้ารุกรานอยุธยา แต่ต้องประสบความล้มเหลวเมื่อพระองค์ทรงสวรรคตในระหว่างสงคราม • พระเจ้าสินบูหชิน (Hsinbyushin)พระราชโอรส ได้นำทัพเข้ารุกรานอาณาจักรอยุธยาอีกครั้งใน พ.ศ. 2309 และประสบความสำเร็จในปีถัดมา ในรัชสมัยนี้ แม้จีนจะพยายามขยายอำนาจเข้าสู่ดินแดนพม่า แต่พระองค์ก็สามารถยับยั้งการรุกรานของจีนได้ทั้งสี่ครั้ง

  17. ราชวงศ์อลองพญา หรือ อาณาจักรคองบอง ต่อ • รัชสมัยของพระเจ้าโบดอพญา (Bodawpaya ) พระโอรสอีกพระองค์ของพระเจ้าอลองพญา พม่าต้องสูญเสียอำนาจที่มีเหนืออยุธยาไป แต่ก็สามารถผนวกดินแดนยะไข่ และตะนาวศรี เข้ามาไว้ได้ ในรัชสมัยของพระเจ้าบาคยีดอว์ (Bagyidaw) ครองราชย์ ขุนนางชื่อมหาพันธุละ (Maha Bandula) เข้ารุกรานแคว้นอัสสัมได้สำเร็จ • เกิดการเผชิญหน้าโดยตรงระหว่างพม่า กับ อังกฤษที่ครอบครองอินเดียอยู่ในขณะนั้น

  18. พม่า ในยุคสงครามกับอังกฤษ • จากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในประเทศอังกฤษ แล้ว ยุโรปหลายประเทศเร่งพัฒนาศักยภาพทางด้านการเกษตร และอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นที่ต้องการของชาวยุโรป ทำให้เกิดสังคมการเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตรขึ้นเป็นอย่างมาก ยิ่งในภาคอุตสาหกรรมนั้น เช่น ประเทศ อังกฤษ และฝรั่งเศส ที่ต้องการผลผลิตทางด้านการเกษตรเพื่อนำมาใช้ในประเทศของตนเอง ทำให้ประเทศเหล่านี้ต้องช่วงชิงอำนาจ และ อาณานิคม ในดินแดนต่างๆเพื่อนำผลผลิตในพื้นที่ มาใช้ จนเกิดการล่าอาณานิคมของชาวยุโรปในดินแดนต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศตน

  19. พม่า ในยุคสงครามกับอังกฤษ ต่อ • สำหรับในทวีปเอเชียนั้นอังกฤษ และฝรั่งเศสให้ความสำคัญเป็นอย่างมากเพราะมีทรัพยากรที่มีประโยชน์จำนวนมาก จนทำให้เกิดยุคการล่าอาณานิคม โดยเฉพาะในอินเดียที่อังกฤษ และฝรั่งเศสให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ในขณะเดียวกันอังกฤษ และฝรั่งเศสก็ให้ความสำคัญกับประเทศพม่า โดยประเทศฝรั่งเศสต้องการที่จะติดต่อกับพม่า อังกฤษมองว่าการที่ฝรั่งเศสจะเข้าไปมีอิทธิพลเหนือ พม่า นั้นจะทำให้อังกฤษเสียผลประโยชน์เป็นอย่างมากดังนั้นอังกฤษจำเป็นที่จะต้องเข้าแทรกประเทศพม่าก่อนที่ฝรั่งเศสจะเข้ายึดครอง

  20. พม่า ในยุคสงครามกับอังกฤษ ต่อ • สงครามระหว่าง อังกฤษ และพม่าในครั้งที่หนึ่ง (พ.ศ. 2367–2369) • สาเหตุ - เจ้าเมืองมณีปุระยกเลิกไม่ส่งเครื่องราชบรรณาการ - เจ้าเมืองมณีปุระได้หนีไปให้เจ้าเมืองกะชาร์ช่วยเหลือแต่ไม่ได้เข้าไป อย่างผู้ลี้ภัยแต่ ไปในการขับไล่เจ้าเมืองกะชาร์ - เจ้าเมืองกะชาร์เข้าไปขอความช่วยเหลือจากข้าหลวงอังกฤษ - สนธิสัญญายันดาโบ (Yandaboo) ทำให้พม่าต้องสูญเสียดินแดนอัสสัม มณีปุระ ยะข่าย และตะนาวศรีไป

  21. มุมมองของนักวิชาการ • ชาญวิทย์ เกษตรศิริ . พม่าประวัติศาสตร์ และการเมือง : มองว่าการที่อังกฤษจำเป็นต้องทำสงครามกับพม่านั้นมาจาก 2 ปัจจัยหลักคือ • 1 การที่พม่าขยายอิทธิพลไปในพื้นที่ที่อังกฤษยึดครองคือ บริเวณยะไข่ จิตตะกอง และอัสสัม จนกลายเป็นชนวนของสงครามระหว่างอังกฤษ และพม่า • 2 การขยายอิทธิพลของอังกฤษจากอินเดีย เข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อหาทางทำการค้ากับจีน

  22. มุมมองของนักวิชาการ ต่อ • นินิเมียม . ฉลอง สุนทราวาณิชย์ ผู้แปล . มองว่า การที่อังกฤษจำเป็นต้องเข้ายึดครองพม่านั้นมีสาเหตุมาจากการสกัดกั้นการขยายอิทธิพลของฝรั่งเศสในการเป็นมหาอำนาจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังที่ฝรั่งเศสสามารถครอบครอง เมือง ฮานอย บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง แค้วนตังเกี๋ย และอันนัม ทำให้อังกฤษจำเป็นต้องเข้ายึดครองพม่า

  23. พม่า ในยุคสงครามกับอังกฤษ ต่อ • อังกฤษเริ่มก็ต้นตักตวงทรัพยากรต่างๆ ของพม่านับแต่นั้น เพื่อเป็นหลักประกันสำหรับวัตถุดิบที่จะป้อนสู่สิงคโปร์ สร้างความแค้นเคืองให้กับทางพม่าเป็นอย่างมาก กษัตริย์องค์ต่อมาจึงทรงยกเลิกสนธิสัญญายันดาโบ และทำการโจมตีผลประโยชน์ของฝ่ายอังกฤษ ทั้งต่อบุคคลและเรือ • สงครามระหว่างพม่าและอังกฤษครั้งที่สอง อังกฤษได้ผนวกหงสาวดีและพื้นที่ใกล้เคียงเข้าไว้กับตน โดยได้เรียกดินแดนดังกล่าวเสียใหม่ว่าพม่าตอนใต้

  24. พม่า ในยุคสงครามกับอังกฤษ ต่อ • สงครามครั้งนี้ก่อให้เกิดการปฏิวัติครั้งใหญ่ในพม่า เริ่มต้นด้วยการเข้ายึดอำนาจโดยพระเจ้ามินดง (Mindon Min) จากพระเจ้าปะกัน (Pagin Min ) ซึ่งเป็นพระเชษฐาต่างพระชนนี พระเจ้ามินดงพยายามพัฒนาประเทศพม่าเพื่อต่อต้านการรุกรานของอังกฤษ

  25. พม่า ในยุคสงครามกับอังกฤษ ต่อ • พระองค์ได้สถาปนากรุงมัณฑะเลย์ ซึ่งยากต่อการรุกรานจากภายนอก ขึ้นเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะหยุดยั้งการรุกรานจากอังกฤษได้

  26. วัดชาวอินบิน เมืองมัณฑะเลย์

  27. พระราชวัง มัณฑะเลย์

  28. พระราชวัง มัณฑะเลย์

  29. ทางขึ้นเขามัณฑะเลย์

  30. พม่า ในยุคสงครามกับอังกฤษ ต่อ • สงครามระหว่างพม่า กับ อังกฤษ ครั้งที่สามในปีพุทธศักราช 2428 • ผลของสงคราม - อังกฤษสามารถเข้าครอบครองดินแดนประเทศพม่าส่วนที่เหลือเอาไว้ได้ - อังกฤษยกเลิกระบบกษัตริย์ในพม่า - อังกฤษให้ข้าราชการท้องถิ่นปกครอง แทนระบบกษัตริย์ ( ข้าหลวงใหญ่คอยดูแล)

  31. เศรษฐกิจพม่าในสมัยอาณานิคมของอังกฤษเศรษฐกิจพม่าในสมัยอาณานิคมของอังกฤษ • การปกครองพม่าตอนบน - มีการสนับสนุนให้ประชาชนอพยพลงมาในพม่าตอนล่างเพื่อทำ การเกษตร • การปกครองพม่าตอนกลาง - ส่งเสริมการปลูกอ้อย ถั่วลิสง งา ฝ้าย ยาสูบ ข้าวสาลี

  32. เศรษฐกิจพม่าในสมัยอาณานิคมของอังกฤษเศรษฐกิจพม่าในสมัยอาณานิคมของอังกฤษ • การปกครองพม่าตอนล่าง - การสนับสนุนให้พม่าตอนล่างมีการทำในภาคการเกษตร - เปิดดำเนินการกิจการป่าไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้มีการเพิ่มเที่ยวการ เดินเรือของบริษัทเรือกลไฟ อิระวดี และมีการสร้างทางรถไฟ • การแสวงหาผลประโยชน์ของนายทุน - นายทุนต่างชาติ ชาวจีน และชาวอินเดีย

  33. มุมมองของนักวิชาการ • ชาญวิทย์ เกษตรศิริ . พม่าประวัติศาสตร์ และการเมือง : มองว่า สำหรับในด้านเศรษฐกิจของพม่าในสมัยอาณานิคมของอังกฤษโดยรวม นับได้ว่าการเกษตร การทำเหมือง และการทำไม้ซึ่งเป็นเศรษฐกิจหลักของ พม่า นั้นมีการขยายตัวในด้านกำลังการผลิตสูงกว่าในยุคกษัตริย์อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณการผลิตข้าวได้เพิ่มขึ้นหลายเท่าอันเนื่องเพราะมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกข้าวในเขตพม่า ตอนล่าง และยังสามารถส่งออกข้าวในปริมาณที่สูงมาก )

  34. มุมมองของนักวิชาการ • หม่องทินอ่อง . ประวัติศาสตร์พม่า : มองว่าแม้อังกฤษจะเข้ามาพัฒนาในด้านการเกษตรในประเทศก็ตามแต่จุดประสงค์หลักนั้นเพื่อให้ชาวพื้นเมืองผลิตสินค้าให้กับตนมากกว่าผลประโยชน์ของคนพื้นเมืองเอง ขณะที่การเกษตรมีการเติบโต ชาวไร่ชาวนาพม่า จึงมีความจำเป็นด้านเงินทุน แต่ต้องกู้เงินด้วยดอกเบี้ยสูงจากพวกหากินกับเงินกู้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกแขกชิตตี แต่ด้วยเกิดภาวะแทรกซ้อนจากภัยธรรมชาติซึ่งทำให้ชาวนาปลูกข้าวได้น้อย อีกทั้งจำนวนข้าวเท่าที่ผลิตได้ยังถูกกดราคาโดยเหล่านายทุนต่างชาติ ดังนั้นชาวนาจึงไม่อาจใช้หนี้คืนได้จนที่นาถูกยึดในที่สุด

  35. ลัทธิชาตินิยมในพม่า • ขบวนการลัทธิชาตินิยมในพม่า เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากการปลดปล่อยตนเองให้เป็นเอกราช จากอำนาจของเจ้าอาณานิคม ( อังกฤษ ) ขบวนการชาตินิยมเริ่มแรกของพม่า ได้อิทธิพลจากพุทธศาสนา

  36. ลัทธิชาตินิยมในพม่า • อังกฤษมิได้ให้ความสนใจในเรื่องของศาสนา โดยถือว่าตนให้เสรีภาพกับประชาชนเต็มที่ในเรื่องของการนับถือศาสนา • เกิดการก่อตั้งสมาคมชาวพุทธหนุ่ม YMBA • เกิดการประท้วงขึ้นในกลุ่มพระสงฆ์ ( กบฏเกือก ) ในกรณีที่ฝรั่งเศสสวมรองเท้าเข้าวัด

  37. มุมมองนักวิชาการ • ชาญวิทย์ เกษตรศิริ . พม่าประวัติศาสตร์ และการเมือง: มองว่าขบวนการชาตินิยมในพม่านั้นมีสาเหตุมุ่งเน้นเรื่องของศาสนาที่มีความแตกต่างกัน โดยอังกฤษเองไม่ได้ไม่ได้ให้ความสำคัญกับพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวพม่านับถือ จนทำให้พระสงฆ์ต้องออกมาชุมนุมประท้วง และรุกลามกลายเป็นขบวนการชาตินิยมของกลุ่มนักศึกษาต่อไป

  38. มุมมองนักวิชาการ • ศิวพร ชัยประสิทธิกุล . ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอดีตถึงปัจจุบัน.มองว่า การก่อตัวของขบวนการชาตินิยมนั้นมาจากสาเหตุที่รัฐบาลอังกฤษเข้ามา ควบคุมนโยบายหลักของประเทศ เกิดการคอรัปชั่นมากมายในนักการเมือง หนังสือพิมพ์ตกเป็นเครื่องมือของนักการเมือง รัฐบาลไม่สนใจปากท้องของประชาชน จึงเกิดช่องว่างระหว่างประชาชนกับนักการเมืองจึงเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ขบวนการชาตินิยมในพม่า

  39. ขบวนการชาตินิยมในพม่า โดยนายพล อองซาน

  40. ขบวนการชาตินิยมในพม่า โดยนายพล อองซาน ต่อ • ออง ซาน (Aung San) หรือ อู อองซาน (U Aung San)เกิดเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2458 ในครอบครัวที่ต่อต้านการปกครองของสหราชอาณาจักร ซึ่งในช่วงนั้นพม่าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินเดียที่เป็นอาณานิคมของ สหราชอาณาจักร เขาเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ซึ่งได้แสดงความเคลื่อนไหวทางการเมือง และได้รับเลือกให้เป็นผู้นำนักศึกษา พ.ศ. 2484

  41. ขบวนการชาตินิยมในพม่า โดยนายพล อองซาน ต่อ • ออง ซานได้รับการสนับสนุนจากประเทศญี่ปุ่น โดยเขาได้ก่อตั้งกองกำลังปลดปล่อยพม่าที่กรุงเทพมหานคร ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองญี่ปุ่นสามารถยึดพม่าจากสหราชอาณาจักรได้ • ญี่ปุ่นได้ประกาศว่าพม่าเป็นประเทศเอกราช และตั้งออง ซานเป็นนายกรัฐมนตรี ออง ซานพบว่าเอกราชที่ญี่ปุ่นสัญญาไว้ไม่เป็นความจริง ในช่วงปลายสงครามโลก จึงได้กลับไปเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อขับไล่ญี่ปุ่นออกไปจากพม่า

  42. ขบวนการชาตินิยมในพม่า โดยนายพล อองซาน ต่อ • อองซานได้ก่อตั้ง องค์การสันนิบาตเสรีภาพแห่งประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์ (Anti-Fascist Peoples Freedom League : AFPFL) เพื่อต่อต้านญี่ปุ่นอย่างลับ ๆ อองซานและพรรคAFPFL ได้เจรจากับอังกฤษ โดยอังกฤษยืนยันที่จะให้พม่ามีอิสรภาพปกครองตนเองภายใต้เครือจักรภพ และมีข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำพม่าช่วยให้คำปรึกษา

  43. ขบวนการชาตินิยมในพม่า โดยนายพล อองซาน ต่อ • อองซานมีอุดมการณ์ที่ต้องการเอกราชอย่างสมบูรณ์ อังกฤษได้พยายาม สนับสนุนพรรคการเมืองอื่น ๆ ขึ้นแข่งอำนาจกับพรรค AFPFL ของอองซานแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ จึงยินยอมให้พรรค AFPFL ขึ้นบริหารประเทศโดยมีอองซานเป็นหัวหน้า อองซานมีนโยบายสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และต้องการเจรจากับรัฐบาลอังกฤษโดยสันติวิธี จึงทำให้เกิดความขัดแย้งกับฝ่ายนิยมคอมมิวนิสต์ในพรรค AFPFLจนนำไปสู่การลอบฆ่านายพลอองซาน และรัฐมนตรีในคณะรัฐบาล

  44. ผลกระทบต่อประเทศ • อูนุได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทนประกาศใช้รัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2490 โดยอังกฤษได้มอบเอกราชให้แก่พม่าแต่ยังรักษาสิทธิทางการทหาร • 4 มกราคม พ.ศ. 2491 อังกฤษจึงได้มอบเอกราชให้แก่พม่าอย่างสมบูรณ์ • นายอูนุถูกบีบให้ลาออก เมื่อพ.ศ. 2501 • นายพล เนวิน ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทนซึ่งได้ทำการปราบจลาจลและพวกนิยมซ้ายจัดอย่างเด็ดขาด เขาได้จัดไห้มีการเลือกตั้งทั่วประเทศในพ.ศ. 2503 ทำให้นายอูนุได้กลับมาเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ เพราะได้รับเสียงข้างมากในสภา

  45. การได้รับเอกราชของพม่าจากประเทศอังกฤษการได้รับเอกราชของพม่าจากประเทศอังกฤษ • (1 ) รัฐบาลสันนิบาตอิสรภาพต่อต้านฟาสซิส์ ( พ.ศ. 2391 – 2501 ) - จัดมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาทุก 4 ปี - พรรคสันนิบาตอิสรภาพต่อต้านฟาสซิสต์ได้รับเลือกเป็นรัฐบาล - พรรคสันนิบาตอิสรภาพต่อต้านฟาสซิสต์ประกอบด้วยสมาชิกพรรคที่ มีแนวคิดหลากหลายทางการเมือง อาทิ คอมมิวนิสต์ สังคมนิยม และ กลุ่มทหารเพื่อประชาชน ท้ายสุดได้ส่งผลให้เกิดความแตกแยก

  46. การได้รับเอกราชของพม่าจากประเทศอังกฤษ ต่อ • (2 ) รัฐบาลรักษาการ ( พ.ศ. 2501 - 2503 ) - เนวินเข้ารับตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมบุคคลทางการเมืองอีก 14 คน เข้าร่วมรัฐบาล - รัฐบาลรักษาการประสบผลสำเร็จเป็นพิเศษในการรักษาความสงบเรียบร้อยและ การรักษากฎหมาย คำสั่งอภัยโทษถูกยกเลิกและให้การปราบปรามผู้ก่อการร้าย ดำเนินต่อไป - กำหนดการปกครองรัฐฉานในรูปแบบเดียวกับแผ่นดินหลัก ให้แบ่งการปกครอง เป็นจังหวัด อำเภอ ตำบล - แต่งตั้งรัฐมนตรีกำกับกิจการรัฐแต่ละรัฐสำหรับรัฐกะฉิ่น รัฐคะยา รัฐกะเหรี่ยง

  47. การได้รับเอกราชของพม่าจากประเทศอังกฤษ ต่อ • (3 ) รัฐบาลสหภาพ ( พ.ศ. 2503 – 2505 ) ) - ในการเลือกตั้งที่จัดในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 นั้น กลุ่มของ พรรคสันนิบาตอิสรภาพต่อต้านฟาสซิสต์ได้รับชัยชนะ เปลี่ยนชื่อ พรรคของตนเป็นพรรคสหภาพ - เกิดการแตกแยกภายในพรรคสหภาพเป็น 2 กลุ่มคือ ( 1 ) กลุ่มตะขิ่น ( 2 ) กลุ่มทหาร

More Related