1 / 113

บทที่ 5 พันธะเคมี

บทที่ 5 พันธะเคมี. ดร.อุษารัตน์ รัตนคำนวณ ภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยแม่โจ้. พันธะเคมี (Chemical Bond).

kedma
Download Presentation

บทที่ 5 พันธะเคมี

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่5 พันธะเคมี ดร.อุษารัตน์ รัตนคำนวณ ภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยแม่โจ้

  2. พันธะเคมี (Chemical Bond) พันธะ มากจากคำว่า Bondซึ่งหมายถึง แรงยึดเหนี่ยว ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมด้วยกัน และยังรวมถึงแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลด้วยกันให้เป็นกลุ่มก้อน ดังนั้น เราจึงสามารถแบ่งแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของสารทางเคมีออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอม (ภายในโมเลกุล) ได้แก่ พันธะไอออนิก พันธะโคเวเลนต์ และพันธะโลหะ 2. แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล ได้แก่ พันธะไฮโดรเจน และแรงแวนเดอร์วาลส์ 1. แรงยึดเหนี่ยวภายในโมเลกุล (แข็งแรงกว่า) 2. แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล

  3. การเกิดพันธะเคมี • พันธะเคมีเกิดจากอะตอมของธาตุที่มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนแบบไม่เสถียร เนื่องจากมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนไม่ครบแปดตัวจึงไม่สามารถอยู่ตามลำพังได้ และจะรวมกับอะตอมของธาตุอื่นโดยการนำเวเลนซ์อิเล็กตรอนมาสร้างพันธะร่วมกันเกิดเป็นโมเลกุล การเกิดพันธะเกิดได้โดย อะตอมของธาตุสามารถ: 1. ให้อิเล็กตรอนแก่อะตอมของธาตุอื่น 2. รับอิเล็กตรอนจากอะตอมของธาตุอื่น 3. ใช้อิเล็กตรอนร่วมกับอะตอมของธาตุอื่น

  4. เวเลนซ์อิเล็กตรอนกับการเกิดพันธะเคมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนกับการเกิดพันธะเคมี • เวเลนซ์อิเล็กตรอน เป็นอิเล็กตรอนที่อยู่ในระดับพลังงานรอบนอกสุดของอะตอม เวเลนซ์อิเล็กตรอนทำให้เกิดพันธะเคมีขึ้นระหว่างธาตุต่างๆ • อะตอมจะไม่อยู่ตามลำพังแต่จะอยู่รวมกันเป็นโมเลกุล เพราะโมเลกุลมีความเสถียรกว่าอะตอมเนื่องจากมีพลังงานต่ำกว่า • อะตอมแก๊สเฉื่อยอยู่ตามลำพังได้เพราะมีสภาพเสถียร นั่นคือมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนครบ 8 อิเล็กตรอน • อะตอมต่างๆพยายามปรับตัวเองโดยการรวมตัวกับอะตอมอื่น เพื่อให้การจัดเรียงตัวของเวเลนซ์อิเล็กตรอนครบ 8 ตัว เหมือนกับแก๊สเฉื่อย

  5. Noble Gas (8A) valence e 8 valence e= 8 กฎออกเตต (Octet Rule) • The octet rule – อะตอมใดๆมีแนวโน้มที่จะสร้างพันธะจำนวนหนึ่งเพื่อให้อะตอมมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนครบแปดตัวอะตอมที่มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนครบแปดตัว มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนเหมือนแก๊สเฉื่อยในหมู่ 8A จะมีความเสถียรมาก (ยกเว้น H และ He ตามกฎออกเตทจะมีวาเลนซ์อิเล็กตรอนครบสอง)

  6. ประเภทของพันธะเคมี • พันธะเคมีคือแรงดึงดูดที่ยึดอะตอมเข้าด้วยกันเป็นโมเลกุล (An attractive force that holds atoms together to form molecules) • พันธะเคมี แบ่งออกเป็นประเภทหลักๆดังนี้ • พันธะไอออนิก (Ionic Bond) • พันธะโควาเลนต์ (Covalent Bond) • พันธะโลหะ (Metallic Bond) *แรงยึดเหนี่ยวภายในโมเลกุล

  7. พันธะไอออนิก (Ionic Bond) • เป็นพันธะที่เกิดจากแรงกระทำระหว่างอะตอม 2 อะตอมที่มีประจุต่างกัน โดยจะเกิดการแลกเปลี่ยนอิเล็กตรอน ทำให้เกิดแรงดึงดูดทางไฟฟ้าสถิตระหว่างประจุที่ต่างกัน • พันธะไอออนิกจะเกิดระหว่างโลหะรวมตัวกับอโลหะ และเกิดขึ้นระหว่างธาตุที่มีค่า EN ต่างกันมาก • อะตอมที่มีค่า EN ต่ำ จะให้เวเลนซ์อิเล็กตรอน กลายเป็นไอออนบวก (cation) (โลหะ) • อะตอมที่มีค่า EN สูง จะรับเวเลนซ์อิเล็กตรอน กลายเป็นไอออนลบ (anion) (อโลหะ) • สารประกอบที่เกิดพันธะไอออนิกเรียกวา “สารประกอบไอออนิก”

  8. พันธะไอออนิก (Ionic Bond) • โลหะให้อิเล็กตรอนแก่อโลหะ อะตอมของอโลหะกลายเป็นไอออนลบ อะตอมของโลหะกลายเป็นไอออนบวก NaCl • ประจุไฟฟ้าต่างกันจึงเกิดแรงดึงดูดทางไฟฟ้ายึดเหนี่ยวอะตอมทั้งสองเข้าด้วยกัน

  9. - - - - - - - - - - + + Shared electrons พันธะโควาเลนต์ (Covalent Bond) • คือ พันธะที่เกิดจากการที่อะตอมใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกันเป็นคู่ๆ เพื่อให้เวเลนซ์อิเล็กตรอนครบแปดตัวตามกฎออกเตต (Octet rule) • เป็นพันธะในโมเลกุล ซึ่งธาตุที่เป็นองค์ประกอบมีค่า EN ใกล้เคียงกัน และมีค่า ENค่อนข้างสูง(อะตอมมีค่า EN สูงจึงไม่มีอะตอมใดยอมเสียอิเล็กตรอน) • 1 พันธะ ประกอบด้วย 2 อิเล็กตรอนซึ่งมีสปินตรงข้ามกัน

  10. พันธะโควาเลนต์ (Covalent Bond) การเกิดพันธะโควาเลนต์ 1. การสร้างพันธะระหว่างอะตอมชนิดเดียวกัน เกิดเป็นโมเลกุลของธาตุ เช่น H2, O2, O3, S8 2. การสร้างพันธะระหว่างอะตอมต่างชนิดกัน เกิดเป็นโมเลกุลของสารประกอบ เช่น HCl, H2O, NH3 • อิเล็กตรอนที่ใชในการเกิดพันธะ 1 พันธะ (2ē) เรียกวา อิเล็กตรอนคูพันธะ (bonded pair) • คูอิเล็กตรอน (2ē) ที่ไมไดใชในการเกิดพันธะ เรียกวา อิเล็กตรอนคูโดดเดี่ยว (lone pair) • อิเล็กตรอนที่ไม่มีคู่ เรียกว่าอิเล็กตรอนเดี่ยว (single electron)

  11. พันธะโควาเลนต์ (Covalent Bond) การเขียนสูตรโครงสร้างโมเลกุลโควาเลนต์ • สูตรโครงสร้างแบบจุด(electron-dot structure) • หรือเรียกว่าโครงสร้างลิวอิส (Lewis structure) เป็นการสร้างพันธะโดยการนำเอาเวเลนซ์อิเล็กตรอนมาใช้ร่วมกัน การให้หรือ/และรับอิเล็กตรอนของอะตอมทั้งสองอะตอมให้เป็นไปตาม “กฎออกเตต (octet rule)” โดยแสดงเวเลนซ์อิเล็กตรอนเป็นจุด • สูตรโครงสร้างแบบเส้น (graphic structure) • ใช้เส้นตรง 1 เส้น ( — ) แทนอิเล็กตรอนที่ใช้ร่วมกัน 1 คู่ • ใช้เส้นตรง 2 เส้น (  ) แทนอิเล็กตรอนที่ใช้ร่วมกัน 2 คู่ • ใช้เส้นตรง 3 เส้น (  ) แทนอิเล็กตรอนที่ใช้ร่วมกัน 3 คู่ • ให้เขียนไว้ในระหว่างสัญลักษณ์ของธาตุคู่ร่วมพันธะ • อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวที่เหลืออาจเขียนโดยใช้จุดแทน หรือไม่เขียนเลยก็ได้

  12. พันธะโควาเลนต์ (Covalent Bond) วิธีเขียนสูตรโครงสร้าง • เขียนอะตอมทั้งหมดที่เกิดพันธะกันให้อยู่ใกล้กัน กรณีที่มีอะตอม 3 ตัว อะตอมที่จะต้องอยู่ตำแหน่งกลาง คือ อะตอมที่มีค่า EN ต่ำ • หาจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนทั้งหมด นำอิเล็กตรอนที่มีอยู่ไปเขียนรอบอะตอมต่างๆ โดยใช้จุดแทนเวเลนซ์อิเล็กตรอนรอบอะตอมเป็นคู่ ๆ โดยจัดให้แต่ละอะตอม มีจำนวนอิเล็กตรอนล้อมรอบครบ 8 ตัว (ยกเว้น H=2, Be=4, B=6) • ไอออนลบ: เพิ่มจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากับจำนวนประจุลบของไอออน • ไอออนบวก: ลบจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากับจำนวนประจุบวกของไอออน • เชื่อมอะตอมด้วยพันธะเดี่ยว โดยใช้ 2 อิเล็กตรอนในการสร้างพันธะเดี่ยวแต่ละพันธะ • ในกรณีที่ใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนจนหมดแล้วแต่อะตอมยังไม่ครบ 8 ตัว อาจต้องมีพันธะคู่ หรือพันธะสามเกิดขึ้นด้วย

  13. พันธะโควาเลนต์ (Covalent Bond) ตัวอย่างการเขียนสูตรโครงสร้างแบบจุดและแบบเส้น พันธะที่เกิดขึ้นหนึ่งพันธะแทนด้วยจุด 2 จุด หรือหนึ่งเส้น ()

  14. พันธะโควาเลนต์ (Covalent Bond) ตัวอย่างการเขียนสูตรโครงสร้างแบบจุดและแบบเส้น

  15. พันธะโควาเลนต์ (Covalent Bond) • ชนิดของพันธะโควาเลนต์ พิจารณาจากจำนวนอิเล็กตรอนที่ใช้ร่วมกันของอะตอมคู่ร่วมพันธะ ดังนี้ 1. พันธะเดี่ยว (Single bond) 2. พันธะคู่ (Double bond) 3. พันธะสาม (Triple bond)

  16. พันธะโควาเลนต์ (Covalent Bond) • พันธะเดี่ยว เป็นพันธะโควาเลนต์ที่ประกอบขึ้นด้วยอิเล็กตรอนคู่เดียว ทั้งสองใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 1 คู่ ใช้เส้น 1 เส้น (  ) แทนหนึ่งพันธะเดี่ยว เช่น H2 (H — H) F2 (F — F)

  17. พันธะโควาเลนต์ (Covalent Bond) • พันธะคู่ เป็นพันธะโควาเลนต์ที่เกิดจากอะตอมใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 2 คู่ ใช้เส้น 2 เส้น (  ) แทนหนึ่งพันธะคู่ เช่นCO2 (O=C=O)

  18. พันธะโควาเลนต์ (Covalent Bond) • พันธะสาม เป็นพันธะโควาเลนต์ที่เกิดจากอะตอมใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 3 คู่ ใช้เส้น 3 เส้น () แทนหนึ่งพันธะสาม เช่น

  19. หรือ พันธะโควาเลนต์ (Covalent Bond) • พันธะโควาเลนต์ มี 2 แบบ คือ • พันธะโคเวเลนตธรรมดา: อะตอมใชคูอิเล็กตรอนรวมกัน แตละอะตอมมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนครบ 8 (ยกเวน H ) • พันธะโคออร์ดิเนตโคเวเลนต์ (Co-ordinate covalent bond): พันธะโคเวเลนต์ที่เกิดขึ้นโดยอะตอมหนึ่งเป็นตัวให้คู่อิเล็กตรอนเพื่อเกิดพันธะ ซึ่งมักเกิดกับโมเลกุลที่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวเหลือ และเมื่อใช้ไปแล้วก็มีจำนวนอิเล็กตรอนวงนอกไม่เกิน 8

  20. + + [ ] [ ] .. .. H N H H N ,NH4+ H + H+ H N H H H H H H พันธะโคออร์ดิเนตโควาเลนต์ (Co-ordinate Covalent Bond) ตัวอย่างเช่น แอมโมเนียมไออน (NH4+) ซึ่งเกิดจาก H+ + NH3NH4+ N เป็นฝ่ายให้คู่อิเล็กตรอนกับ H ในการสร้างพันธะ หรือตัวอย่างของ SO2

  21. ข้อยกเว้นของกฎออกเตต โมเลกุลโคเวเลนต์ จะมีการจัดเรียงอิเล็กตรอน เป็นไปตามกฎออกเตต ซึ่งทำให้สารประกอบอยู่ในสภาพที่เสถียร แต่อย่างไรก็ตามพบว่าสารประกอบบางชนิดมีการจัดเรียงอิเล็กตรอนไม่เป็นไปตามกฎออกเตต จัดเป็นข้อยกเว้นสำหรับกฎออกเตต • พวกที่ไม่ครบออกเตตได้แก่สารประกอบของธาตุในคาบที่ 2 ของตารางธาตุ เช่น Be, B สามารถสร้างพันธะแล้วทำให้อิเล็กตรอนน้อยกว่าแปด เช่น BF3 BCl3 BeCl2และ BeF2เป็นต้น (ข) พวกที่เกินออกเตตได้แก่ สารประกอบของธาตุที่อยู่ในคาบที่ 3 ของตารางธาตุเป็นต้นไป สามารถสร้างพันธะแล้วทำให้อิเล็กตรอนเกินแปด เช่น PCl5 SF6 เป็นต้น

  22. ข้อยกเว้นของกฎออกเตต (ข) พวกเกินออกเตต (ก) พวกไม่ครบออกเตต

  23. ข้อแตกต่างของพันธะโควาเลนต์กับพันธะไอออนิกข้อแตกต่างของพันธะโควาเลนต์กับพันธะไอออนิก พันธะโควาเลนต์ พันธะไอออนิก 1. เกิดการแลกเปลี่ยนอิเล็กตรอน (Electron transferred) 2. อะตอมทั้งสองมีค่า EN แตกต่างกันมากเช่น LiF, MgO • ใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน (Elcetrons equally shared) • 2. อะตอมทั้งสองมีค่า ENใกล้เคียงกัน เช่น H2, Cl2, CH4

  24. - - - - - + + + - - - - - - - Sea of electrons + + + - - - - - - - - - - - - - - - - อิเล็กตรอนอิสระ (วาเลนซ์อิเล็กตรอน) - - + + + - - - - - - - - + + + - - - - - - - - - - - - - - - + + + - - - - - - - - - - - + + + - - - - พันธะโลหะ (Metallic Bond) คือ แรงดึงดูดระหว่างไอออนบวกกับเวเลนซ์อิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่รอบๆก้อนโลหะ เกิดจากอะตอมของโลหะใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน เวเลนซ์อิเล็กตรอนสามารถเคลื่อนที่ไปทุกอะตอมได้ทั่งทั้งก้อนโลหะ • อะตอมของโลหะอยู่ในสภาพไอออนบวก • วาเลนซ์อิเล็กตรอนของโลหะเคลื่อนที่ไปในที่ต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ • อิเล็กตรอนอิสระทำหน้าที่ดึงดูดนิวเคลียสของอะตอมต่างๆเข้าด้วยกัน

  25. พันธะโลหะ (Metallic Bond) ทำไมอิเล็กตรอนของโลหะถึงเคลื่อนที่ได้ตลอดเวลา? แบบจำลองทะเลอิเล็กตรอน (electron sea model)

  26. พันธะโลหะ (Metallic Bond) โลหะมีค่าพลังงานไอออไนเซชันที่ต่ำ ดังนั้นจึงยึดอิเล็กตรอน วงนอกสุดไว้อย่างหลวมๆ ทำให้อิเล็กตรอนเหล่านี้เคลื่อนที่ไปมา รอบๆโลหะตลอดเวลา อิเล็กตรอนเหล่านี้ทำหน้าที่คล้ายกาวที่ช่วยยึดไอออนบวกให้อยู่ในตำแหน่งที่คงที่ไว้ด้วยกันอย่างแข็งแรง ความแข็งแรงของพันธะโลหะขึ้นอยู่กับจำนวนอิเล็กตรอนอิสระ จำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนมาก พันธะแข็งแรงมาก

  27. พันธะโลหะ (Metallic Bond) • พันธะโลหะ ทำให้โลหะมีสมบัติต่างๆดังนี้ • นำไฟฟ้าและความร้อนได้ดี • มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูง • มีลักษณะเป็นเงาและมีความวาวเมื่อถูกแสง • สามารถดึงเป็นเส้น ตีเป็นแผ่น หรือบิดงอได้

  28. เรโซแนนซ์ (Resonance) • หมายถึง การใช้สูตรโครงสร้างแบบจุดของลิวอิสตั้งแต่ 2 โครงสร้างขึ้นไปแทนโมเลกุลใดโมเลกุลหนึ่ง • โครงสร้างเรโซแนนซ์ (Resonance structure) คือ สูตรโครงสร้างของที่สารที่สามารถเขียนได้มากกว่า 1 แบบ ซึ่งแต่ละสูตรที่เขียนขึ้นมาจะไม่สอดคล้องกับสูตรโครงสร้างที่แท้จริง • การจะเป็นโครงสร้างเรโซแนนซ์ได้สารต้องมีการจัดเรียงตัวของอะตอมเหมือนกัน ต่างเพียงการกระจายอิเล็กตรอนในพันธะเท่านั้น

  29. CO2 O  C  O O = C = O O C  O S O O S O O O O O O O O O3 เรโซแนนซ์ (Resonance) • ตัวอย่างโครงสร้างเรโซแนนซ์ SO2 NO3

  30. : : : : : : : .. .. S O O S O O S O O : เรโซแนนซ์ (Resonance) SO2 เรโซแนนซ์ไฮบริด (Resonance hybrid)

  31. ค่าต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพันธะและโครงสร้างของโมเลกุลค่าต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพันธะและโครงสร้างของโมเลกุล • พลังงานพันธะ • พลังงานสลายพันธะและสร้างพันธะ และพลังงานพันธะเฉลี่ย • ความยาวพันธะ • มุมพันธะ • สภาพขั้วของพันธะ

  32. พลังงานพันธะ (Bond Energy) พลังงานสลายพันธะและสร้างพันธะ • คือ พลังงานที่ต้องใช้ในการสร้าง หรือสลายพันธะเคมีแต่ละพันธะในโมเลกุล • พันธะเคมีชนิดเดียวกันในโมเลกุลที่ต่างกันอาจมีค่าพลังงานสลายพันธะต่างกัน เช่น C-H • CH4(g)CH3(g)+ H(g)(H-C)CH4= 423 kJ/mol • CH3(g)CH2(g)+ H(g)(H-C)CH3= 368 kJ/mol • CH2(g)CH(g)+ H(g)(H-C)CH2 = 519 kJ/mol • CH(g) C(g)+H(g)(H-C)CH = 335 kJ/mol

  33. H2(g) + 436 kJ 2H(g) 2H(g) H2(g) + 436 kJ H2(g) + I2 2HI 2NH3(g) N2(g) + 3H2(g) พลังงานสลายพันธะและสร้างพันธะ • การสลายพันธะ เป็นการเปลี่ยนแปลงประเภทดูดพลังงาน (endothermic energy) • การสร้างพันธะ เป็นการเปลี่ยนแปลงประเภทคายพลังงาน (exothermic energy) • ในปฏิกิริยาเคมีทั่วไปจะมีทั้งการสลายพันธะเดิมและการสร้างพันธะใหม่จึงมีการดูดพลังงานและคายพลังงานพร้อมๆกัน

  34. พลังงานสลายพันธะและสร้างพันธะพลังงานสลายพันธะและสร้างพันธะ • ปฏิกิริยาเคมีใดๆ พลังงานที่เปลี่ยนแปลง (H) มีค่าเท่ากับผลต่างระหว่างพลังงานที่ใช้สลายพันธะเดิมกับพลังงานที่ได้จากการสร้างพันธะใหม่ • พลังงานสลายพันธะเดิม >พลังงานสร้างพันธะใหม่ = ปฏิกิริยาดูดความร้อน (endothermic reaction)(H เป็น +) • พลังงานสลายพันธะเดิม <พลังงานสร้างพันธะใหม่ = ปฏิกิริยาคายความร้อน (exothermic reaction)(H เป็น -)

  35. พลังงานพันธะเฉลี่ย (Average Bond Energy) พลังงานพันธะเฉลี่ยเป็นค่าเฉลี่ยของพลังงานสลายพันธะสำหรับพันธะแต่ละชนิดในโมเลกุลต่าง ๆ (เป็นค่าโดยประมาณ)

  36. พลังงานที่ใช้สลายพันธะรวมของสารตั้งต้นพลังงานที่ใช้สลายพันธะรวมของสารตั้งต้น พลังงานที่ใช้สร้างพันธะรวมของผลิตภัณฑ์ ความร้อนของปฏิกิริยา (Heat of Reaction) • การเกิดปฏิกิริยาเคมี คือกระบวนการที่มีการทำลายพันธะเดิม (สารตั้งต้น)และสร้างพันธะใหม่ (สารผลิตภัณฑ์) • ความร้อนของปฏิกิริยา (H) คือพลังงานเอนทาลปีของระบบที่เปลี่ยนแปลงไปในรูปความร้อนเมื่อเกิดปฏิกิริยา สามารถหาได้จาก • H เป็นลบ ปฏิกิริยาคายพลังงาน • H เป็นบวก ปฏิกิริยาดูดพลังงาน

  37. การคำนวณหาค่าความร้อนของปฏิกิริยาการคำนวณหาค่าความร้อนของปฏิกิริยา จงหาพลังงานที่เปลี่ยนแปลงของปฏิกิริยาต่อไปนี้ CH4(g) + Cl2(g)CH3Cl(g) + HCl(g) พลังงานที่ใช้ในการสลายพันธะ = 4(C-H) + (Cl-Cl) = (4414) + 243 kJ = 1899 kJ พลังงานที่ได้จากการสร้างพันธะ = (C-Cl) + 3(C-H) + (H-Cl) = 339 + (3414) + 431 kJ = 2012 kJ H = 1899 – 2012= -113 kJ H มีเครื่องหมายเป็น ลบ ดังนั้นเป็นปฏิกิริยาคายความร้อน และมีการคายพลังงาน 113 kJ

  38. Example 5.1 • ปฏิกิริยาต่อไปนี้เป็นปฏิกิริยาดูดพลังงานหรือคายพลังงาน และจำนวนเท่าใด H2(g) + F2(g) 2HF พลังงานที่ใช้ในการสลายพันธะ = (H-H) + (F-F) = 436 + 159 kJ = 595 kJ พลังงานที่ได้จากการสร้างพันธะ = 2(H-F) = 2 565 kJ = 1130 kJ H = 595 – 1130= -535 kJ H มีเครื่องหมายเป็น ลบ ดังนั้นเป็นปฏิกิริยาคายความร้อน และมีการคายพลังงาน 535 kJ

  39. 3H2(g) + N2(g) 2NH3(g) Example 5.2 • เมื่อนำแก๊ส H2 20 กรัม มาทำปฏิกิริยากับ N2 10 กรัม การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นปฏิกิริยาดูดพลังงานหรือคายพลังงาน และจำนวนเท่าใด กำหนดให้ (H-H) = 436kJ/mol, (N N) = 945 kJ/mol, (H-N) = 721 kJ/mol H2(g) 20 g = 10 mol N2(g) 10 g = 0.36 mol จากสมการ N2(g) 1 โมล ทำปฏิกิริยาพอดีกับ H2(g) 3 โมล เกิด NH3 2 โมล แสดงว่า N2เป็นสารกำหนดปริมาณ ดังนั้น N2(g) 0.36 โมล ทำปฏิกิริยาพอดีกับ H2(g)30.36 =1.08 โมล เกิด NH3 20.36 = 0.72 โมล

  40. H= 3(H-H) + (NN) – 2[3(H-N)] = 3(436) + (945) – 2[3(721)] = –2945 kJ ปฏิกิริยาคายความร้อนออกมา 2945 kJ/1 mol ของ N2(g) แต่จากการทดลองใช้ N2(g) 0.36 โมล ดังนั้น ปฏิกิริยาจะคายพลังงานออกมา = 0.362945 = 1060.2 kJ

  41. Bond Bond Length Energy ความยาวพันธะ ความยาวพันธะ หมายถึง คือระยะห่างที่สั้นที่สุดระหว่างนิวเคลียสของอะตอมคู่ที่สร้างพันธะ โดยเป็นตำแหน่งที่อะตอมทั้งสองดึงดูดกันได้ดีที่สุด มีพลังงานต่ำสุดหรือมีเสถียรภาพที่สุด • ความยาวของพันธะสัมพันธ์กับพลังงานพันธะ ดังนี้ “ถ้าความยาวพันธะยิ่งสั้น พลังงานพันธะจะยิ่งมีค่ามาก พลังงานพันธะนั้นเสถียรมาก” • ความยาวพันธะ : พันธะเดี่ยว  พันธะคู่  พันธะสาม • พลังงานพันธะ : พันธะเดี่ยว  พันธะคู่  พันธะสาม

  42. 106.0 104.0 • H2O = 104.5 H2S = 92 มุมพันธะ มุมพันธะ คือมุมที่เกิดขึ้น เมื่อลากเส้นผ่านพันธะ 2 พันธะมาตัดที่นิวเคลียสของอะตอมกลาง โมเลกุลที่มีสูตรเคมีคล้ายกัน มุมพันธะอาจไม่เท่ากัน เช่น

  43. ทฤษฎีที่ใช้อธิบายพันธะโควาเลนต์ทฤษฎีที่ใช้อธิบายพันธะโควาเลนต์ • ทฤษฎีออร์บิทัลเชิงโมเลกุล (Molecular Orbital Theory, MO) • ทฤษฎีพันธะเวเลนซ์ (Valence Bond Theory) • ออร์บิทัลไฮบริดไดเซชัน (Orbital Hybridization) • ทฤษฎีการผลักคู่อิเล็กตรอนในวงเวเลนซ์ (Valence Shell Electron Pair Repulsion Theory, VSEPR)

  44. อะตอม AO โมเลกุล MO อะตอม AO + 1. ทฤษฎีออร์บิทัลเชิงโมเลกุล (Molecular Orbital Theory, MO) • อธิบายการเกิดพันธะโควาเลนต์โดยใช้ออร์บิทัลของโมเลกุล • ออร์บิทัลเชิงโมเลกุล (MO)คือที่อยู่ของอิเล็กตรอนในโมเลกุล เกิดจากการรวมออร์บิทัลเชิงอะตอม (AO) ตามวิธีผลรวมเชิงเส้นตรง (Linear Combination of Atomic Orbital) • จำนวน MO ที่เกิดขึ้นเท่ากับจำนวน AO ทั้งหมด

  45. 1sA 1sB Antibonding 1sA + 1sB Bonding การสร้างออร์บิทัลเชิงโมเลกุล • ออร์บิทัลของโมเลกุลเกิดจากการรวมกันแบบเชิงเส้นตรงหรือการซ้อนเหลื่อมกัน (overlap) ของ AO ซึ่งมีได้สองแบบคือ แบบเสริมหรือแบบทำลาย • แบบเสริมหรือแบบผลบวก (Bonding):เป็นการรวม AO ด้านที่มีเครื่องหมายเหมือนกัน ขนาดออร์บิทัลในแนวเชื่อมระหว่างอะตอมเพิ่มขึ้น เสถียรมากขึ้น • แบบทำลายหรือแบบผลต่าง (Antibonding):เป็นการรวม AO ด้านที่มีเครื่องหมายต่างกัน ขนาดออร์บิทัลในแนวเชื่อมระหว่างอะตอมลดลง เสถียรน้อยลง (พลังงานเพิ่ม) แบบเสริม (Bonding) แบบทำลาย (Antibonding)

  46. การสร้างออร์บิทัลเชิงโมเลกุลการสร้างออร์บิทัลเชิงโมเลกุล

  47. การสร้างออร์บิทัลเชิงโมเลกุลการสร้างออร์บิทัลเชิงโมเลกุล • รูปร่างของออร์บิทัลเชิงโมเลกุลที่เกิดขึ้นจะเป็นลักษณะการกระจายตัวของอิเล็กตรอนในโมเลกุล ดังนี้ • ออร์บิทัลเชิงโมเลกุลแบบมีพันธะ (Bonding Molecular Orbital, BMO) เกิดจากการซ้อมเหลื่อมกันของออร์บิทัลเชิงอะตอมแบบเสริม หรือแบบผลบวก โอกาสจะพบอิเล็กตรอนที่บริเวณระหว่างนิวเคลียสมีมากที่สุด • ออร์บิทัลเชิงโมเลกุลแบบต้านพันธะ (Anti-bonding Molecular Orbital, AMO)เกิดจากการซ้อนเหลื่อมกันของออร์บิทัลเชิงอะตอมแบบผลต่าง โอกาสจะพบอิเล็กตรอนตรงกลางเป็นศูนย์ BMO AMO

  48. ออร์บิทัลเชิงโมเลกุลใน p-orbital • ใน p-orbital สามารถรวมออร์บิทัลเชิงอะตอมเพื่อให้เกิดออร์บิทัลเชิงโมเลกุลได้โดยซ้อมเหลื่อมแบบผลบวกและผลต่างได้ 2 ลักษณะ คือ รวมตามแนวปลาย () รวมตามแนวข้าง () (ก) (ก) (ข) * (ก) รวมแบบผลต่าง (ข) รวมแบบผลบวก (ข)

  49. ชนิดของออร์บิทัลเชิงโมเลกุลชนิดของออร์บิทัลเชิงโมเลกุล • ออร์บิทัลเชิงโมเลกุลที่เกิดขึ้น มี 2 แบบ คือ sigma () และ pi () • sigma () bond: พันธะเคมีที่เกิดโดยการซ้อนเหลื่อมกันของสองออร์บิทัลเชิงอะตอมในลักษณะหัวชนหัวหรือปลายต่อปลาย ซึ่งความหนาแน่นอิเล็กตรอนจะหนาแน่นและอยู่ในแนวเส้นตรงระหว่างสองนิวเคลียสที่เกิดพันธะเคมีกัน • pi () bond:พันธะที่เกิดขึ้นจากการซ้อนเหลื่อมกันด้านข้างของคู่ p ออร์บิทัล โดยที่ความหนาแน่นของอิเล็กตรอนอยู่ทั้งสองด้านของระนาบที่อยู่ในแนวนิวเคลียส

  50. sigma()bond &pi()bond Pi ( ) bonding Sigma () bonding

More Related