1 / 91

จิตสำนึกคุณภาพ

จิตสำนึกคุณภาพ. ดร.อาทิตา ชูตระกูล. จิตสำนึกคุณภาพ. จิตสำนึก (Conscientiousness) หรือ ความตระหนัก (Awareness) หมายถึง การตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นและตัดสินใจเลือกสนองตอบต่อสิ่งนั้น ในทางที่ถูกต้อง ตามกฎระเบียบ กฎหมาย กฎระเบียบของสังคม จารีต ประเพณี

Download Presentation

จิตสำนึกคุณภาพ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. จิตสำนึกคุณภาพ ดร.อาทิตา ชูตระกูล

  2. จิตสำนึกคุณภาพ จิตสำนึก (Conscientiousness)หรือ ความตระหนัก(Awareness) หมายถึง การตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นและตัดสินใจเลือกสนองตอบต่อสิ่งนั้น ในทางที่ถูกต้อง ตามกฎระเบียบ กฎหมาย กฎระเบียบของสังคม จารีต ประเพณี คุณภาพ (Quality)หมายถึง สินค้า หรือบริการ ที่เป็นไปตามมาตรฐาน

  3. จิตสำนึกคุณภาพ (QualityAwareness) หมายถึง การที่ผู้ปฏิบัติงานมีการรับรู้ถึงผลกระทบที่ได้จากการปฏิบัติงาน หรือมีสติรู้ว่าขณะปฏิบัติงานนั้น ต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพอยู่ตลอดเวลาเพื่อทำให้สินค้า หรือบริการที่ได้มีคุณภาพ หรือได้มาตรฐานตรงตามที่กำหนดเอาไว้

  4. องค์ประกอบสำคัญของจิตสำนึกคุณภาพประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน ผู้บริหารระดับสูง (Top Management) หัวหน้างาน (Supervisor) จิตสำนึกคุณภาพ (QualityAwareness) พนักงานผู้ปฏิบัติงาน (Operation) สภาพแวดล้อม ในการทำงาน (Working Environment)

  5. องค์ประกอบสำคัญของจิตสำนึกคุณภาพองค์ประกอบสำคัญของจิตสำนึกคุณภาพ องค์ประกอบที่ 1 ผู้บริหารระดับสูง(Top Management) คือผู้ที่กำหนดทิศทางการดำเนินงานให้กับทุกคนในองค์กร องค์ประกอบที่ 2หัวหน้างาน (Supervisor) ผู้ที่มีหน้าที่สำคัญในการนำแผนงานต่างๆ ไปถ่ายทอดให้กับพนักงานระดับ ปฏิบัติการได้ทราบ และนำไปปฏิบัติ องค์ประกอบที่ 3พนักงานผู้ปฏิบัติงาน (Operation) คือ ผู้ที่หยิบ จับ หรือสัมผัสกับงานโดยตรง เพื่อแปรรูปวัตถุดิบให้กลายเป็น สินค้า ถือได้ว่า พนักงานคือผู้กำหนดคุณภาพสินค้า หรือบริการตัวจริง องค์ประกอบที่ 4สภาพแวดล้อมในการทำงาน (Working Environment) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท หนึ่งคือ สิ่งแวดล้อมที่สัมผัสได้ เช่น สภาพแวดล้อม ที่เหมาะสม ไม่อึดอัด คับแคบ ทำงานได้สะดวก สองคือ สิ่งแวดล้อมด้านความรู้สึก โดยควรสร้างบรรยากาศในการทำงาน เป็นทีม ซึ่งทุกคน ทุกแผนก ยินดี และพร้อมที่จะให้คำปรึกษา

  6. การลดปัญหาความผิดพลาด และกระตุ้นให้เกิดการสร้างจิตสำนึก • ไม่ควรมอบหมายให้พนักงานปฏิบัติมากกว่าสองอย่างในเวลาเดียวกัน หรือถ้าไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ควรจัดพนักงานเพิ่มเพื่อช่วยเหลือ • ควรกระตุ้นให้พนักงานปฏิบัติด้วยความตั้งใจ และใส่ใจในคุณภาพตลอดเวลา เช่นการประชุมแจ้งข้อมูล การเข้าไปเฝ้าดูการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด การติดตามผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นระยะ เป็นต้น • ควรทำป้าย สัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายเตือน หรืออุปกรณ์เพื่อป้องกันความผิดพลาดเผอเรอ • ควรจัดงานเหมาะสมกับคน ไม่มากเกินกำลังความสามารถ • จัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน และฝึกอบรมให้กับพนักงานปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง และเฝ้าติดตามวิธีการปฏิบัติงานของพนักงานเป็นระยะอย่างใกล้ชิด • ต้องบริหารงานด้วยข้อเท็จจริง (Management by Fact) ไม่อาศัยความรู้สึก ลางสังหรณ์เด็ดขาด • ควรลดสิ่งรบกวนเพื่อป้องกันการขาดสมาธิของพนักงาน เช่นเสียงดัง การพูดคุย การหยอกล้อเล่นกันขณะปฏิบัติงาน • ควรจัดมาตรฐานการทำงานในแต่ละวันให้ชัดเจน ทั้งด้านคุณภาพ และปริมาณ • หัวหน้างานควรแสดงความรับผิดชอบต่อผลงานที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติของลูกน้อง • ควรลงโทษ และให้รางวัลอย่างเหมาะสมกับผลงาน

  7. การเรียนรู้ จุดเริ่มต้นของการสร้างจิตสำนึก “การเรียนรู้ถือเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาทั้งตนเอง และหน่วยงาน ให้เจริญก้าวหน้า ถ้าหากพนักงานในหน่วยงาน หรือองค์กรใด ไร้ซึ่ง ความรู้ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องแล้วไซร้ องค์กรนั้นก็ยากที่ จะอยู่รอด” การเรียนรู้แบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ • การเรียนรู้ด้วยตนเอง • การเรียนรู้ขององค์กร

  8. การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้เพื่อการพัฒนา การเรียนรู้ขององค์กร (organization Learning) การเรียนรู้ของตนเอง (Self – Learning)

  9. ระดับการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองระดับการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง ประยุกต์ (Apply) เรียนรู้ (Learn) รับรู้ (Perceive)

  10. ระดับที่หนึ่ง รับรู้ (Perceive) หมายถึง การรับรู้คำสั่ง ขั้นตอน วิธีการทำงาน หรือ กฎระเบียบต่างๆ แล้วนำมาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ของตน เพื่อทำให้ได้ผลลัพธ์ของงานที่ตรงตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งเหมาะสมกับพนักงานใหม่ หรือ ผู้เริ่มต้นการทำงาน

  11. ระดับที่สอง เรียนรู้ (Learn) หมายถึง การเรียนรู้จากสิ่งที่ได้รับรู้ในขั้นตอนแรกว่า หลังจากที่ได้นำไปปฏิบัตินั้น มีผลเป็นอย่างไร มีปัญหา หรือ อุปสรรคอะไรหรือไม่ และผลกระทบต่างๆ จากการ ปฏิบัติงานของตนในด้านต่างๆ นั้นเป็นอย่างไรบ้าง เหมาะ กับผู้ที่ปฏิบัติงานได้ระยะหนึ่งหรือไม่

  12. ระดับที่สาม ประยุกต์ (Apply) หมายถึง การนำความรู้ แนวคิด สิ่งที่ตนได้ค้นพบจน เกิดประสบการณ์ และทักษะมาประยุกต์ให้เกิดสิ่งใหม่วิธีการ ขั้นตอนใหม่ๆ ที่มีระโยชน์ และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานในด้านต่างๆ เช่น มีคุณภาพดี ขึ้น ลดเวลาการทำงาน หรือของเสียลดน้อยลง เป็นต้น เหมาะกับผู้ที่ทำงานมานานจนมีความรู้ความชำนาญ และ ประสบการณ์มาก

  13. การเรียนรู้ของหน่วยงาน(Organization Learning) • การเรียนรู้ด้วยตนเอง ( Self – Learning ) • การเรียนรู้จากตัวอย่างที่ดี ( Best Practice Learning ) • การเรียนรู้จากสิ่งที่ไม่ดี ( Bad Practice Learning )

  14. การเรียนรู้เพื่อพัฒนาหน่วยงานการเรียนรู้เพื่อพัฒนาหน่วยงาน การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self – Learn) การเรียนรู้จากตัวอย่างที่ดี (Best Practice Learning) การเรียนรู้จากสิ่งที่ไม่ดี (Bad Practice Learning)

  15. เครื่องมือในการสร้างให้เกิดจิตสำนึกคุณภาพเครื่องมือในการสร้างให้เกิดจิตสำนึกคุณภาพ • เครื่องมือที่ 1การนำของเสียมาติดบอร์ด เพื่อแสดงผลการปฏิบัติงานของพนักงาน และอธิบายถึงปัญหา และสาเหตุที่เกิดขึ้น เพื่อให้พนักงานตระหนัก และให้ความสำคัญ • เครื่องมือที่ 2เอาของเสียที่เกิดจาการปฏิบัติงานผิดพลาดของพนักงานมากองรวมกัน แล้วเรียกพนักงานมาประชุมรวมพร้อมกันแล้วบอกว่า นี่คือ โบนัส และสวัสดิการของพวกเรา • เครื่องมือที่ 3การแสดงมูลค่าความเสียหายที่เกิดจากพนักงานปฏิบัติงานผิดพลาด มาแสดงให้พนักงานเห็น เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้พนักงานได้ทราบถึงมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้น อาจแสดงเป็นทุกๆ ชั่วโมง วัน สัปดาห์ หรือเดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม • เครื่องมือที่ 4 การจูงใจจากเป้าหมายด้านคุณภาพที่ดีขึ้น เป็นการให้รางวัลกับพนักงานในหน่วยงาน โดยพิจารณาจากผลการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นในด้านคุณภาพ เช่น ถ้าปริมาณของเสียน้อยกว่าเดือนที่แล้ว จะให้เงินรางวัลกับพนักงานทุกคนโดยจะได้คนละ 100 บาท หรอถ้าภายใน สามเดือน ไม่ได้รับการร้องเรียนจากลูกค้าด้านปัญหาคุณภาพ หรือลูกค้าไม่ส่งงานคืน (Customer Return)จะให้เงินกับพนักงานทุกคน เป็นต้น

  16. ตัวอย่างของเสียที่ติดในกระบวนการผลิตตัวอย่างของเสียที่ติดในกระบวนการผลิต ตัวอย่างของเสียขวดแชมพู สติ๊กเกอร์ผิด ฝาปิดไม่สนิท สีขวดเพี้ยน สติ๊กเกอร์ลอก ขวดไม่ได้รูป ฝาแตก

  17. พิจารณาของเสียที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานที่ผิดพลาดพิจารณาของเสียที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานที่ผิดพลาด “โบนัสของพวกเราอยู่ในกองของเสีย กองนี้ เลือกเอาตามใจชอบเลย”

  18. ตารางแสดงปริมาณของเสียประจำเดือนตารางแสดงปริมาณของเสียประจำเดือน

  19. คุณภาพกับความอยู่รอดขององค์กรคุณภาพกับความอยู่รอดขององค์กร มี 2 ประเด็นหลักๆ • กำไร (Profit)ซึ่งเกิดจากรายได้ ที่มีมากกว่ารายจ่ายนั่นเอง • การสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า(Customer Satisfaction) เช่น ต้องการของดี ราคาถูก และมีบริการทั้งก่อน และหลังการขายที่ดีเยี่ยม

  20. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความอยู่รอดขององค์กรปัจจัยที่ส่งผลต่อความอยู่รอดขององค์กร ขายได้สูง กำไร ต้นทุนต่ำ ความอยู่รอด ขององค์กร คุณภาพสูง ความพึงพอใจสูงสุด ของลูกค้า ราคาต่ำ บริการขายดี

  21. ลูกค้าภายใน และลูกค้าภายนอก คำว่า “ลูกค้า” ในปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ • ลูกค้าภายใน (Internal Customer) ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนคือ ลุกค้าภายในแผนก และลูกค้าภายนอกแผนก • ลูกค้าภายนอก (External Customer) ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนอีกเช่นกัน คือ ลูกค้าปัจจุบัน และลูกค้าในอนาคต

  22. ภาพรวมของลูกค้า ลูกค้า (Customer) ลูกค้าภายในองค์กร ลูกค้าภายนอกองค์กร ลูกค้า ภายในแผนก ลูกค้า ภายนอกแผนก ลูกค้า ปัจจุบัน ลูกค้า ในอนาคต

  23. ลูกค้าภายใน( Internal Customer) หมายถึงพนักงานผู้ที่ปฏิบัติงานภายในองค์กร หรือ บริษัทเดียวกันกับเรา แต่อาจจะแตกต่างแผนกกันออกไป สามารถแบ่งออกได้อีก 2 กลุ่ม คือ • กลุ่มที่ 1 ลูกค้าภายในแผนก ซึ่งหมายถึง พนักงานที่ปฏิบัติงานร่วมกันกับเรา หรือในพื้นที่ทำงานเดียวกันกับเรานั่นเอง • กลุ่มที่ 2 ลูกค้าภายนอกแผนก คือ พนักงานต่างแผนก โดยมีการปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับเรา หรือปฏิบัติงานต่อจากเรา

  24. ลูกค้าภายนอก( External Customer) หมายถึง ผู้ที่ซื้อสินค้า และทำให้เราอยู่รอดนั่นเอง ซึ่งแบ่งออกได้อีก 2 กลุ่ม ดังนี้ • กลุ่มที่ 1 ลูกค้าปัจจุบัน หมายถึง ผู้ที่ซื้อสินค้า หรือใช้บริการของเรา ณ ปัจจุบัน ซึ่งมีทั้งผู้ที่ใช้เป็นครั้งแรก หรือผู้ที่ใช้ซ้ำมาแล้วหลายครั้ง • กลุ่มที่ 2 ลูกค้าในอนาคต หมายถึง ผู้ที่ยังไม่เคยใช้สินค้า หรือ บริการของเรามาก่อน

  25. 9 ขั้นตอนในการสร้างจิตสำนึกคุณภาพ • ประเมินระดับจิตสำนึกคุณภาพ • รณรงค์ ส่งเสริม โดยผู้บริหารระดับสูง • จัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้น และส่งเสริม (Kick Off) • กำหนดเป้าหมาย และแผนการดำเนินงานในทุกพื้นที่ • วิเคราะห์หาจุดที่ต้องปรับปรุงแก้ไขทุกพื้นที่ • ดำเนินงานตามแผนที่กำหนดไว้ • ติดตามผลลัพธ์จาการปฏิบัติงาน • ประเมินระดับจิตสำนึกคุณภาพหลังการปรับปรุง • สรุปผลการดำเนินกิจกรรมการสร้างจิตสำนึก

  26. โครงการพัฒนาจิตสำนึกคุณภาพในการปฏิบัติงานโครงการพัฒนาจิตสำนึกคุณภาพในการปฏิบัติงาน วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตสำนึกคุณภาพของบริษัท • เพื่อสร้างจิตสำนึกคุณภาพให้เกิดขึ้นกับพนักงานในบริษัท • เพื่อวิเคราะห์ หาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อจิตสำนึกคุณภาพของพนักงานในบริษัท • เพื่อวิเคราะห์ปัญหา หรืออุปสรรคการสร้างจิตสำนึกคุณภาพในบริษัท • เพื่อปรับปรุง และพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการสร้างจิตสำนึกคุณภาพ • เพื่อกระตุ้นเตือนให้พนักงานตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างสินค้าที่มีคุณภาพ • เพื่อเป็นพื้นฐานที่ดีในการปฏิบัติงานในโครงการต่อไป

  27. โครงการพัฒนาจิตสำนึกคุณภาพในการปฏิบัติงานโครงการพัฒนาจิตสำนึกคุณภาพในการปฏิบัติงาน ผลที่ได้รับจากโครงการ • แนวทางการสร้างจิตสำนึกคุณภาพที่เฉพาะ และเหมาะสมกับบริษัทมากที่สุด • สร้างจิตสำนึกคุณภาพให้กับพนักงานในบริษัท • เพื่อสร้างสินค้า และบริการที่มีคุณภาพในกับลูกค้า • เพี่อลดปัญหาด้านคุณภาพ • เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับบริษัท

  28. แผนการดำเนินโครงการสร้างจิตสำนึกคุณภาพในการปฏิบัติงานแผนการดำเนินโครงการสร้างจิตสำนึกคุณภาพในการปฏิบัติงาน

  29. จิตสำนึกคุณภาพกับการเพิ่มผลผลิต(Productivity)จิตสำนึกคุณภาพกับการเพิ่มผลผลิต(Productivity) การเพิ่มผลผลิตนั้นจะมีส่วนช่วยให้สร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Advantage) ซึ่งการเพิ่มผลผลิตนั้นสามารถ วิเคราะห์ได้จากสมการนี้ การเพิ่มผลผลิต= ผลผลิต(Output) (Productivity)ปัจจัยนำเข้า(Input)

  30. ตัวอย่าง บริษัทผลิตน้ำดื่มแห่งหนึ่ง ในการผลิตน้ำดื่มจำนวน 1,000 ขวด บริษัทมีต้นทุนการผลิต 500 บาท สามารถศึกษา 5 วิธีการ เพื่อเพิ่ม ผลผลิตบริษัทแห่งนี้ได้ ดังต่อไปนี้ กรณีที่ 1 “ ใช้ปัจจัยการผลิตเท่าเดิม แต่ได้ผลผลิตมากกว่าเดิม”

  31. กรณีที่ 2 “ ใช้ปัจจัยการผลิตน้อยลง แต่ได้ผลลัพธ์เท่าเดิม”

  32. กรณีที่ 3 “ ใช้ปัจจัยการผลิตน้อยลง แต่ได้ผลลัพธ์มากกว่าเดิม”

  33. กรณีที่ 4 “ ใช้ปัจจัยการผลิตมากขึ้น และได้ผลลัพธ์ในอัตราที่มากขึ้นกว่าเดิม”

  34. กรณีที่ 5 “ ใช้ปัจจัยการผลิตน้อยลง แต่ใช้ปัจจัยการผลิตในสัดส่วนที่น้อยลงกว่าเดิม”

  35. จิตสำนึกคุณภาพกับความปลอดภัย(Safety)จิตสำนึกคุณภาพกับความปลอดภัย(Safety) อุบัติเหตุ (Accident)หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ และ ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต หรือการปฏิบัติงาน และเมื่ออุบัติเหตุเกิดขึ้น เมื่อใด สิ่งที่ตามมา คือ ความสูญเสีย ทั้งทรัพย์สิน เงินทอง เวลา หรือ อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

  36. เครื่องมือที่ใช้ในการสนับสนุนการสร้างจิตสำนึกคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการสนับสนุนการสร้างจิตสำนึกคุณภาพ เครื่องมือที่ 1 การควบคุมด้วยสายตา (Visual Control) ถือเป็นการรับรู้ที่รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพที่สุด เมื่อ เปรียบเทียบกับประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ปาก และ มือ

  37. ตารางแสดงการควบคุมด้วยสายตาตารางแสดงการควบคุมด้วยสายตา

  38. เครื่องมือที่ 2 การใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าเพียงแต่เราหมั่นเป็นคนช่าง สังเกต ชอบสงสัย วิธีการใช้ มีดังนี้ 1. ตา(Eye) ใช้ในการสังเกต พินิจพิจารณาสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น(See and Check)แบ่งได้ 4 ประเภทคือ

  39. หู (Ear)เพื่อ การฟังเสียง(Listen)แต่การฟังเสียงนั้นต้องฟังอย่างมีวิจารณญาณ คือ ฟังแล้วต้องรู้ว่ามีสิ่งผิดปกติ หรือมีอะไรแปลกกว่าที่เคยได้ยินหรือไม่ • จมูก (Nose)มีไว้เพื่อสูดดม หรือ พิสูจน์กลิ่น(Smell) เช่น กลิ่นไหม้ กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นผิดปกติ • มือ (Hand) มีไว้เพื่อหยิบ จับ ลูบ คลำ ปั้น สัมผัส(Touch)มือนี้มีประโยชน์มากมายนับไม่ถ้วน • ปาก (Mouth)มีไว้เพื่อ กิน พูด บ่น ร้องเพลง หรือ สื่อสาร (Communication)และอื่นๆ อีกมากมาย

  40. เครื่องมือที่ 3ผู้จัดการ 5 Genหมายความว่า ผู้จัดการควรไปตรวจสอบพื้นที่ การทำงาน(Shop Floor)โดยใช้หลักการของ5 Genซึ่งประกอบไปด้วย เครื่องมือ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่เหมาะสม และจำเป็นอย่างยิ่งในการสร้างจิตสำนึก คุณภาพ โดยสามารถอธิบายได้ ดังตาราง

  41. การทำงาน(Working) = การปฏิบัติงาน(Doing+การตรวจสอบ(Checking) เครื่องมือที่ 4 แยกระหว่างการทำงานกับการตรวจสอบ ลองพิจารณาการปฏิบัติงานของคนสองคน งานที่ต้องการ คือ ให้พนักงาน เทน้ำจากขวดใส่แก้ว จำนวน 10 แก้ว การปฏิบัติงานของพนักงานคนที่หนึ่ง • เตรียมขวดบรรจุน้ำ และแก้ว จำนวน 10 ใบ • เปิดขวดน้ำ • เทน้ำใส่แก้ว จนครบ 10 แก้ว

  42. แนวคิดเกี่ยวกับระบบงานแนวคิดเกี่ยวกับระบบงาน • การทำงานแบบมืออาชีพ-PROFESSIONALORIENTED • ความสำเร็จขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 4 ประการ คือ คน งาน ระบบ สิ่งแวดล้อม

  43. องค์กรย่อมต้องการความสำเร็จองค์กรย่อมต้องการความสำเร็จ บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างชัดเจน สมาชิกในองค์กรต้องสร้างความเข้าใจ / ให้ความร่วมมือ องค์ต้องการการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ

  44. สิ่งที่ส่งผลต่อความสำเร็จโดยรวมขององค์กรสิ่งที่ส่งผลต่อความสำเร็จโดยรวมขององค์กร ความมุ่งมั่นของพนักงาน ทำงานเพื่อส่วนรวม มีความร่วมมือ สามารถทำงานเป็นทีมได้ดี ประสานงานกันอย่างเต็มที่

  45. สิ่งที่ทุกคน ควรคำนึง • ปรับเปลี่ยนนิสัยที่ให้โทษกับชีวิตตนเอง • สร้างแนวคิดใหม่ที่ให้พลังแก่ชีวิต • ทุกคนควรทำงานด้วยใจ • พร้อมพัฒนา / ปรับปรุงตนเอง

  46. วิธีการทำงานให้ดีขึ้น • 5 WAYS TO WORK • เข้าใจนโยบายขององค์กร • ทำความรู้จักกับขั้นตอนการทำงาน • ทำงานให้มากกว่าที่รับผิดชอบอยู่ • ปรับสภาพให้เข้ากับเพื่อนร่วมงาน • เรียนรู้สิ่งใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา

  47. ความสามารถในการปฏิบัติงานความสามารถในการปฏิบัติงาน • รู้ตำแหน่งงาน • รู้หน้าที่งาน และรู้วัตถุประสงค์ของงาน • มีความรับผิดชอบงาน • รู้วิธีปฏิบัติงานและเทคนิคต่างๆ • รู้จักพัฒนางาน และปรับปรุงงาน • รู้จักพัฒนาตนเอง

  48. ความสามารถในเรื่องคน • รู้จักศึกษาและวิเคราะห์ตนเอง • รู้จักศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของบุคคลอื่น • รู้จักตอบสนองต่อความต้องการของบุคคลอื่น • รู้จักและยอมรับในความแตกต่างของบุคคลอื่น

  49. การกระตุ้นจากสิ่งเร้าการกระตุ้นจากสิ่งเร้า หมายถึง สภาพแวดล้อม หรือ สิ่งที่มากระทบ และมีผลต่อการตัดสินใจ เช่น สภาพแวดล้อม แรงกดดัน ความเร่งด่วน กฎระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น • คิด ไตร่ตรอง ขั้นตอนนี้จะเป็นการรวบรวมข้อมูลที่จำเป็น และสามารถหาได้ เพื่อประกอบกับทักษะ ประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถแนวคิดใหม่ (Idea) และพิจารณาหาทางเลือกต่างๆ ทั้งหมดที่จะเกิดขึ้น • เลือกแนวทาง และลงมือปฏิบัติ เป็นการเลือกทางเลือกที่คิดว่าดีถูกต้อง และเหมาะสมที่สุด แล้วปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้ • ผลลัพธ์ คือ ผลที่ได้จากการเลือกตัดสินใจ และปฏิบัติตาม ที่ได้ตัดสินใจไว้ ซึ่งมี 2 ทาง คือ สมหวัง หรือ บรรลุเป้าหมาย กับผิดหวัง หรือ พลาดเป้าหมาย

  50. กระบวนการตัดสินใจ (Decision Marking Process) การกระตุ้นจากสิ่งเร้า ปัญหา ความต้องการ แรงกดดัน คิด ไตร่ตรอง รวบรวมข้อมูล ทักษะ ประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ ผนวกความคิดใหม่(Idea) เลือกแนวทาง และลงมือปฏิบัติ เลือกทางเลือกที่คิดว่าดี ถูกต้อง และเหมาะสมที่สุด ปฏิบัติงานตามแผนงานที่วางไว้ ผลลัพธ์ สมหวัง บรรลุเป้าหมาย หรือ ผิดหวัง ไม่บรรลุเป้าหมาย

More Related