1 / 8

กลุ่ม 2 ด้านการจัดการน้ำเสีย

กลุ่ม 2 ด้านการจัดการน้ำเสีย. ประธานกลุ่ม : นายชัยศรี ธาราสวัสดิ์พิพัฒน์ เลขากลุ่ม : นางสาวอรุณี สุรัตน์พิพิธ. โครงการวิจัย เรื่อง การจัดการน้ำเสียเชิงบูรณาการในตลาดน้ำอโยธยา. โครงการวิจัย เรื่อง การจัดการน้ำเสียเชิงบูรณาการในตลาดน้ำอโยธยา.

Download Presentation

กลุ่ม 2 ด้านการจัดการน้ำเสีย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กลุ่ม 2 ด้านการจัดการน้ำเสีย ประธานกลุ่ม :นายชัยศรี ธาราสวัสดิ์พิพัฒน์ เลขากลุ่ม :นางสาวอรุณี สุรัตน์พิพิธ โครงการวิจัย เรื่อง การจัดการน้ำเสียเชิงบูรณาการในตลาดน้ำอโยธยา

  2. โครงการวิจัย เรื่อง การจัดการน้ำเสียเชิงบูรณาการในตลาดน้ำอโยธยา หลักการ/ความสำคัญของการจัดทำโครงการวิจัย เนื่องจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่จัดอยู่ในอันดับที่ 2 ของประเทศ โดยลักษณะทางภูมิศาสตร์มีแม่น้ำ 3 สายไหลผ่าน ซึ่งเชื่อมกับเครือข่ายคลองธรรมชาติและคลองขุด ซึ่งเป็นแหล่งสัญจรและมีการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ปัจจุบันตลาดน้ำเป็นทางเลือกหนึ่งที่ผู้ประกอบการสร้างขึ้นเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาจับจ่ายใช้สอย เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชน จะเห็นได้ว่าปัจจุบันมีการเพิ่มจำนวนของตลาดน้ำมากขึ้น จากสาเหตุของการเพิ่มจำนวนตลาดน้ำดังกล่าวทำให้มีกิจกรรมที่ก่อให้เกิดน้ำเสียในพื้นที่อย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก เครือข่ายนักวิจัยสิ่งแวดล้อมเล็งเห็นว่า การจัดการน้ำเสียที่เป็นระบบและเป็นแบบบูรณาการที่ชุมชนมีส่วนร่วมจึงต้องมีระบบการจัดการน้ำเสียโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อรองรับการพัฒนาระบบการท่องเที่ยวของจังหวัดและทำให้เกิดแนวทางลดผลกระทบด้านผลพิษทางหนึ่งในปัจจุบัน จึงต้องมีระบบการจัดการน้ำเสียโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม

  3. 2. วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อสำรวจและศึกษาคุณภาพน้ำบริเวณตลาดน้ำอโยธยา 2.2 เพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมในการจัดการน้ำเสียที่ชุมชนมีส่วนร่วม 3. ขอบเขตการศึกษาวิจัย (ประเด็นการศึกษา ,พื้นที่ศึกษา,กลุ่มตัวอย่าง) 3.1 พื้นที่การศึกษา คือ ตลาดน้ำอโยธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3.2 ประเด็นการศึกษาคุณภาพน้ำ คือ ทางกายภาพ ทางเคมี และทางชีวภาพของแหล่งน้ำก่อนและหลังการศึกษา 3.3 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการ นักท่องเที่ยว และชุมชนข้างเคียงบริเวณตลาดน้ำ 3.4 วิธีการจัดการน้ำเสีย - วิธีการบำบัดน้ำเสีย - การหาแนวทางให้ชุมชนมีส่วนร่วม

  4. 4. วิธีดำเนินการและสถานที่ทำการวิจัยหรือเก็บข้อมูล 4.1 สำรวจแหล่งที่มาและปริมาณของน้ำเสีย 4.1.1 สร้างแบบสำรวจ / แบบสอบถาม 4.1.2 ดำเนินการสำรวจกิจกรรมที่ก่อให้เกิดน้ำเสีย, ปริมาณน้ำเสีย, พฤติกรรมการใช้น้ำ, ความรู้ของชาวบ้านในชุมชนเกี่ยวกับน้ำเสีย 4.1.3 ประมวลผลทางสถิติ 4.2 วิเคราะห์คุณภาพน้ำ (ก่อนและหลัง) 4.2.1 เก็บตัวอย่างน้ำบริเวณก่อนถึงตลาดน้ำ ในบริเวณตลาดน้ำและหลังออกจากตลาดน้ำ 4.2.2 วิเคราะห์คุณภาพน้ำทางกายภาพ เช่น อัตราการไหล, สี, กลิ่น, ความขุ่น, อุณหภูมิ, TPS, SS, Conductivity 4.2.3 วิเคราะห์คุณภาพน้ำทางเคมี เช่น pH, DO, BOD, Nitrate, Phosphate 4.2.4 วิเคราะห์คุณภาพน้ำทางชีวภาพ เช่น TPC, Coliform, Fecal coliform, Plankton, (phytoplankton , zooplankton) และ benthos

  5. 4.3 วิธีการจัดการน้ำเสียที่มีชุมชนเป็นส่วนร่วม 4.3.1 ประชุมผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อค้นหาปัญหาและความคิดเห็นของชุมชนเกี่ยวกับการจัดการน้ำเสีย 4.3.2 จัดอบรมให้ความรู้และสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน 4.3.3 สาธิตวิธีการบำบัดน้ำเสียตัวอย่างโดยใช้ระบบบำบัดน้ำเสียอย่างง่าย 4.3.4 ผู้ประกอบการและชุมชนข้างเคียงที่เกี่ยวข้องร่วมกันสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย/ ปรับปรุงจัดทำระบบบำบัดน้ำเสียขนาดเล็กให้ชุมชน 4.3.5 จัดประชุมประเมินการมีส่วนร่วมของชุมชนแบบเวทีชาวบ้าน (ไม่เกิน 50 คน)

  6. แผนการดำเนินงาน

  7. 6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 6.1 เป็นตลาดน้ำต้นแบบด้านการจัดการน้ำเสีย 6.2 ทำให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวตลาดน้ำอย่างยั่งยืน 6.3 ชุมชนได้รับความรู้ มีส่วนร่วมและพึ่งพาตนเองได้ในการจัดการน้ำเสีย 6.4 สามารถลดปัญหาของผลกระทบที่เกิดจากมลพิษทางน้ำ 6.5 เกิดการบูรณาการงานวิจัยของเครือข่ายนักวิจัยสิ่งแวดล้อม

  8. สมาชิกกลุ่มด้านการจัดการน้ำเสียสมาชิกกลุ่มด้านการจัดการน้ำเสีย

More Related