1 / 22

Electronic Control Transmission

Electronic Control Transmission. Control of ECT. Engine&ECT ECU

kana
Download Presentation

Electronic Control Transmission

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Electronic Control Transmission

  2. Control of ECT • Engine&ECT ECU จะควบคุมจังหวะการเปลี่ยนเกียร์และการล็อคอัพจากการควบคุมโซลินอยด์วาล์วของชุดควบคุมไฮดรอลิกเพื่อรักษาสภาพการขับขี่ที่เหมาะสมโดยการใช้สัญญาณจากเซ็นเซอร์และสวิตช์ที่ติดตั้งอยู่บนเครื่องยนต์และเกียร์อัตโนมัตินอกจากนี้ ECU ยังได้รับการติดตั้งฟังก์ชั่นการวิเคราะห์และป้องกันการทำงานบกพร่องเมื่อเซ็นเซอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ ไม่ทำงาน “ECU ในปัจจุบันเป็นการรวมกันของ ECUเครื่องยนต์ และ ECT ECU ซึ่งก่อนหน้านี้ถูกแยกจากกัน”

  3. โครงสร้างและชนิดของเซ็นเซอร์ต่างๆโครงสร้างและชนิดของเซ็นเซอร์ต่างๆ เซ็นเซอร์/สวิตช์ มีหน้าที่ดังนี้ • เก็บข้อมูลที่ใช้ในการระบุการควบคุมชนิดต่างๆ • แปลงเป็นสัญญาณกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะส่งต่อไปยัง Engine & ECT ECU

  4. โครงสร้างและชนิดของเซ็นเซอร์ต่างๆโครงสร้างและชนิดของเซ็นเซอร์ต่างๆ ชนิดของเซ็นเซอร์/สวิตช์มีดังต่อไปนี้ 1. เซ็นเซอร์ตำแหน่งลิ้นเร่ง / เซ็นเซอร์ตำแหน่งแป้นคันเร่ง ตรวจวัดมุมเปิดลิ้นเร่ง 2. สวิตช์ เปลี่ยนเกียร์ด้วยเท้า(คิก-ดาวน์) ตรวจสอบว่ามีการเหยียบคันเร่งลงไปจนลิ้นเร่งเปิดกว้างสุดหรือไม่ 3. เซ็นเซอร์ตำแหน่งเพลาข้อเหวี่ยง ตรวจวัดความเร็วของเครื่องยนต์

  5. โครงสร้างและชนิดของเซ็นเซอร์ต่างๆโครงสร้างและชนิดของเซ็นเซอร์ต่างๆ ชนิดของเซ็นเซอร์/สวิตช์มีดังต่อไปนี้ 4. เซ็นเซอร์ความเร็วเกียร์ • เซ็นเซอร์ความเร็วเทอร์ไบน์เข้า ตรวจวัดความเร็วของเพลารับกำลังเข้าห้องเกียร์ อัตโนมัติ • เซ็นเซอร์ความเร็วเฟืองรอง ตรวจวัดความเร็วเพลาส่งกำลังออกห้องเกียร์อัตโนมัติ 5. เซ็นเซอรว์ ัดอุณหภูมิน้ำ ตรวจวัดอุณหภูมิน้ำหล่อเย็น

  6. โครงสร้างและชนิดของเซ็นเซอร์ต่างๆโครงสร้างและชนิดของเซ็นเซอร์ต่างๆ ชนิดของเซ็นเซอร์/สวิตช์มีดังต่อไปนี้ 6. เซ็นเซอร์วัดความเร็วรถ ตรวจวัดความเร็วของรถยนต์ 7. เซ็นเซอรว์ ัดอุณหภูมิน้ำมันเกียร์ ตรวจวัดอุณหภูมิของน้ำมัน ATF (Automatic Transaxle Fluid) ในเกียร์อัตโนมัติ

  7. โครงสร้างและชนิดของเซ็นเซอร์ต่างๆโครงสร้างและชนิดของเซ็นเซอร์ต่างๆ 8. สวิตช์ควบคุมโอเวอร์ไดรฟ์ สวิตช์หลักโอเวอร์ไดรฟ์คือสวิตช์ยกเลิกเกียร์ O/Dเมื่อสวิตช์อยู่ที่ตำแหน่งOFF เกียร์ O/D จะไม่เปลี่ยนแม้เมื่อถึงความเร็วของการเปลี่ยนเกียร์ถ้าสวิตช์อยู่ที่ตำแหน่งOFF ขณะขับขี่เกียร์ O/Dเกียร์จะเปลี่ยนลงเป็นเกียร์ 3นอกจากนี้ ไฟแสดงสถานการณ์ทำงาน O/D จะติดขึ้นเมื่อสวิตช์ควบคุมโอเวอร์ไดรฟ์อยู่ที่ตำแหน่งOFF ข้อแนะนำ: สวิตช์ควบคุมโอเวอร์ไดรฟ์อาจเรียกว่าสวิตช์ปิดของ โอเวอร์ไดรฟ์ หรือสวิตช์ควบคุมเกียร์ (ระบบส่งกำลัง) การทำงานของคันเกียร์แบบเกทสามารถยกเลิก เกียร์ O/Dได้โดยจะไม่มีไฟแสดงสถานะการทำงาน O/Dเพราะไฟแสดงตำแหน่งเกียร์สามารถใช้บอกตำแหน่งเกียร์ได้

  8. โครงสร้างและชนิดของเซ็นเซอร์ต่างๆโครงสร้างและชนิดของเซ็นเซอร์ต่างๆ 9.สวิตช์สตาร์ทเกียร์ว่าง สวิตช์สตาร์ทเกียร์ว่างส่งสัญญาณตำแหน่งคันเกียร์ไปยังEngine & ECT ECU จะรับข้อมูลของตำแหน่งคันเกียร์ซึ่งมีการเปลี่ยนเกียร์ไป จากเซ็นเซอร์ตรวจตำแหน่งคันเกียร์ที่ติดตั้งอยู่ในสวิตช์สตาร์ทเกียร์ว่าง จากนั้นจึงกำหนดรูปแบบการเปลี่ยนเกียร์ที่เหมาะสม ข้อแนะนำ: นอกจากนี้ การเลื่อนสวิตช์นี้ยังใช้แสดงการทำงาน ของไฟแสดงสถานะตำแหน่งคันเกียร์เพื่อแจ้งให้ผู้ ขับขี่ทราบตำแหน่งคันเกียร์ในปัจจุบันด้วยนอกจากนี้ECU ยังควบคุมเพื่อให้มอเตอร์สตาร์ททำงานได้เฉพาะเมื่อคันเกียร์อยู่ในตำแหน่ง “P”หรือ “N” เท่านั้น“ ”และเมื่อคันเกียร์อยู่ในตำแหน่ง R สัญญาณเตือนถอยหลังจะดังขึ้นและไฟถอยหลังจะติดการส่งสัญญาณไปยัง ECU จากสวิตช์สตาร์ท เกียร์ว่างจะแตกต่างกัน แล้วแต่รุ่น

  9. โครงสร้างและชนิดของเซ็นเซอร์ต่างๆโครงสร้างและชนิดของเซ็นเซอร์ต่างๆ 10. สวิตช์ไฟเบรก เมื่อเหยียบเบรก Engine & ECT ECU จะยกเลิกการล็อคอัพซึ่งป้องกันมิให้กำลังเครื่องยนต์ตกเนื่องจากการล็อคอัพ 11.สวิตช์เลือกรูปแบบการขับขี่ สวิตช์เลือกรูปแบบการขับขี่ช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถเลือกรูปแบบที่ตนต้องการได้สวิตช์เลือกรูปแบบการขับขี่ที่ติดตั้งนั้นขึ้นอยู่กับรุ่นและภูมิภาคที่จำหน่าย • โหมดกำลังสูง:จะตั้งเวลาเปลี่ยนเกียร์ให้เข้ากับช่วยความเร็วเครื่องยนต์สูง • โหมดหิมะ:จะตั้งให้เกียร์ 2 เป็นเกียร์ออกตัว • โหมดประหยัด:ทำให้จังหวะการเปลี่ยนเกียร์มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อลดการใช้น้ำมันระหว่าง ขับขี่ • โหมดแมนวล:ทำให้สามารถเปลี่ยนเกียร์ได้ตามต้องการ

  10. หน้าที่ของ ECU ในการควบคุมส่วนหลัก ประกอบไปด้วย • ควบคุมจังหวะการเปลี่ยนเกียร์ • ควบคุมการล็อคอัพ • ควบคุมเฟล็กซ์ล็อคอัพ • การควบคุมอื่นๆ ชุดควบคุมข้างต้นทำให้เราขับขี่รถ ECT ได้อย่างราบรื่นและสะดวกสบาย

  11. หน้าที่ของ ECU ในการควบคุมส่วนหลัก ควบคุมจังหวะการเปลี่ยนเกียร์ Engine & ECT ECU ได้ตั้งโปรแกรมเกี่ยวกับรูปแบบการเปลี่ยนเกียร์แต่ละตำแหน่งและรูปแบบการขับขี่ไว้ในหน่วยความจำECU จะ เปิดหรือปิดการทำงานของโซลินอยด์วาล์วตามสัญญาณความเร็วของรถยนต์จากเซ็นเซอร์วัดความเร็วรถพร้อมสัญญาณมุมเปิดลิ้นเร่งจากเซ็นเซอร์ตรวจตำแหน่งลิ้นเร่งและสัญญาณต่างๆ จากเซ็นเซอร์/สวิตช์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบการขับขี่ด้วยวิธีนี้ ECU จะสั่งงานโซลินอยด์วาล์วแต่ละตัวให้เปิดหรือปิดเส้นทางการไหลของของเหลวไปยังคลัตช์และเบรกทำให้เกียร์เปลี่ยนขึ้นหรือลงได้ “ เมื่อขับขี่รถยนต์ คุณสามารถบอกได้ว่าเกียร์อัตโนมัติเสียหรือไม่โดย ดูว่าจุดเปลี่ยนเกียร์สอดคล้องกับแผนผังการเปลี่ยนเกียร์ได้ดีเพียงใด ”

  12. หน้าที่ของ ECU ในการควบคุมส่วนหลัก ควบคุมจังหวะการเปลี่ยนเกียร์ ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วรถยนต์กับเกียร์จะแตก ต่างกันไปตามมุมเปิดของคันเร่งแม้กระทั่งที่ความเร็ว เดียวกันเมื่อขับขี่โดยรักษามุมเปิดของคันเร่งให้คงที่ ความเร็วของรถยนต์จะเพิ่มขึ้น เกียร์ก็จะเลื่อนขึ้น เมื่อปล่อยคันเร่งที่จุด A ดังแสดงในรูปด้านซ้าย และ มุมเปิดของคันเร่งไปถึงจุด B เกียร์จะเปลี่ยนจากเกียร์3 ไปเกียร์ O/D ในทางกลับกัน เมื่อเหยียบคันเร่งอีกที่ จุด A และมุมเปิดของคันเร่งไปถึงจุด C เกียร์จะเปลี่ยน จากเกียร์ 3ลงเป็นเกียร์ 2 “ ความเร็วที่เกียร์เปลี่ยนขึ้นและลงจะเกิดขึ้นที่ช่วงหนึ่งๆ โดยไม่เกี่ยวกับเกียร์ช่วงนี้เรียกว่า การชะลอ การชะลอ เป็นลักษณะอย่างหนึ่งที่สร้างขึ้นในระบบเกียร์อัตโนมัติทั้งหมดเพื่อป้องกันเกียร์มิให้เปลี่ยนขึ้นลงบ่อยเกินไป ”

  13. หน้าที่ของ ECU ในการควบคุมส่วนหลัก ควบคุมจังหวะการเปลี่ยนเกียร์ การควบคุมจังหวะการเปลี่ยนเกียร์จะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสวิตช์เลือกรูปแบบการขับขึ่ ECU จะพิจารณา ว่าขณะนี้อยู่ในโหมดใดและจะควบคุมจังหวะการ เปลี่ยนเกียร์ ตัวอย่าง: สำหรับโหมดกำลังสูง จุดเปลี่ยนเกียร์และจุดล็อคอัพ ถูกตั้งไว้ที่ความเร็วเครื่องยนต์สูงกว่าโหมดปกติ ซึ่ง ช่วยให้ขับขี่ในช่วงที่ต้องการกำลังได้มากกว่าเพราะ ใช้ความเร็วรอบเครื่องยนต์สูงกว่า

  14. หน้าที่ของ ECU ในการควบคุมส่วนหลัก ควบคุมการล็อคอัพ ECU จะเปิดการทำงานของโซลินอยด์วาล์วเพื่อใช้งาน ระบบล็อคอัพถ้ามีสภาวะต่อไปนี้เกิดขึ้นพร้อมกันทั้งสามอย่าง - รถยนต์วิ่งด้วยเกียร์ 2 หรือ 3 หรือโอเวอร์ไดรฟ์ ( ช่วง "D") - ความเร็วรถยนต์สูงกว่าความเร็วที่กำหนดและมุมเปิด ลิ้นเร่งสูงกว่าค่าที่กำหนด - ECU ได้รับสัญญาณยกเลิกระบบการล็อคอัพที่ไม่จำเป็น อย่างไรก็ตาม ECU จะยกเลิกการทำงานของระบบ ล็อคอัพภายใต้สภาวะต่อไปนี้ - ไฟเบรกสว่างขึ้น (ระหว่างการเบรก) - จุด IDL ของเซ็นเซอร์ตรวจตำแหน่งลิ้นเร่งปิด - อุณหภูมิของสารหล่อเย็นต่ำกว่าจุดที่กำหนด - ความเร็วรถยนต์ตกลงประมาณ10 กม./ชม. หรือ ต่ำกว่าความเร็วที่ตั้งไว้เมื่อระบบควบคุมความเร็วคงที่ กำลังทำงาน

  15. หน้าที่ของ ECU ในการควบคุมส่วนหลัก ควบคุมเฟล็กซ์ล็อคอัพ ระบบเฟล็กซ์ล็อคอัพจะขยายการทำงานของล็อค อัพคลัตช์โดยการรักษาเสถียรภาพและป้องกันการลื่น ไถลของล็อคอัพคลัตช์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ ประหยัดน้ำมัน Engine & ECT ECU จะระบุช่วงการเฟล็กซ์ล็อค อัพจากมุมเปิดของลิ้นเร่งและความเร็วรถยนต์ จาก นั้น ECU จะส่งสัญญาณไปยังโซลินอยด์วาล์วเชิงเส้น (SLU) นอกจากนี้ ECU ยังใช้ความเร็วเครื่องยนต์และ สัญญาณเซ็นเซอร์ความเร็วเข้าสู่เกียร์เพื่อตรวจหา ความแตกต่างระหว่างความเร็วของใบพัด ทอร์คคอนเวอร์เตอร์ (เครื่องยนต์) กับตัวหมุน เทอร์ไบน์ (เกียร์)ทำให้เกิดการควบคุมย้อนกลับ เพื่อปรับสภาพการกระจายการส่งกำลังของ ทอร์คคอนเวอร์เตอร์ (การส่งกำลังด้วยของเหลว) และ ล็อคอัพคลัตช์ (การส่งกำลังด้วยกลไก)

  16. หน้าที่ของ ECU ในการควบคุมส่วนหลัก การควบคุมอื่นๆ • การควบคุมแรงดันในระบบ ECT ใช้เซ็นเซอร์ตรวจตำแหน่งลิ้นเร่งเพื่อวัดมุม การเปิดของคันเร่ง (ภาระ) และควบคุมแรงดัน ท่อโซลินอยด์วาล์วเชิงเส้น (SLT) จะควบคุมแรงดัน ท่อจะมีการควบคุมแรงดันท่อด้วยการใช้โซลินอยด์ วาล์วเชิงเส้น (SLT) อย่างพอเหมาะตามข้อมูลแรงบิด ของเครื่องยนต์ รวมทั้งกับสภาพการทำงานภายใน ของทอร์คคอนเวอร์เตอร์และเกียร์ ดังนั้น จึงมีการควบคุมแรงดันท่ออย่างละเอียดตาม กำลังเครื่องยนต์ สภาพการเดินทาง และ อุณหภูมิน้ำมัน ATF จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนเกียร์ ที่ราบรื่นและปรับภาระที่จะเกิดขึ้นกับปั๊มน้ำมันเครื่อง

  17. หน้าที่ของ ECU ในการควบคุมส่วนหลัก การควบคุมอื่นๆ 2.ชุดควบคุมแรงดันคลัตช์ให้เหมาะสม โซลินอยด์วาล์วเชิงเส้น (SLT) ใช้ควบคุมแรงดัน คลัตช์ให้เหมาะสม ECU จะตรวจสอบสัญญาณ จากเซ็นเซอร์ชนิดต่างๆ เช่น เซ็นเซอร์ความเร็ว เทอร์ไบน์เข้า ซึ่งช่วยให้โซลินอยด์วาล์วเชิงเส้น (SLT) ควบคุมแรงดันคลัตช์ให้สอดคล้องกับ กำลังเครื่องยนต์และสภาพการขับขี่ได้อย่างทั่วถึง ผลที่ได้คือลักษณะการเปลี่ยนเกียร์ที่นุ่มนวล

  18. หน้าที่ของ ECU ในการควบคุมส่วนหลัก การควบคุมอื่นๆ 3. คลัตช์ไปยังชุดควบคุมแรงดันคลัตช์ เมื่อเปลี่ยนเกียร์อัตโนมัติ จะมีการปล่อยแรงดัน ไฮดรอลิกจากส่วนหนึ่งและใช้สำหรับอีกส่วนหนึ่ง คลัตช์ไปยังชุดควบคุมแรงดันคลัตช์ใช้เพื่อทำให้ ขั้นตอนนี้ราบรื่นการควบคุมนี้ที่ ECU ส่งสัญญาณ ไปยังโซลินอยด์วาล์วเชิงเส้น (SLT)และ แรงดันไฮดรอลิกที่เกิดขึ้นบนด้านแรงดัน ย้อนกลับของแอคคิวมูเลเตอร์จะถูกปรับให้เหมาะสม

  19. หน้าที่ของ ECU ในการควบคุมส่วนหลัก การควบคุมอื่นๆ 4. ชุดควบคุมแรงบิดเครื่องยนต์ เมื่อพบจังหวะการเปลี่ยนเกียร์ตามสัญญาณจาก เซ็นเซอร์ต่างๆ ECU จะ สั่งให้โซลินอยด์วาล์ว ควบคุมการเปลี่ยนเกียร์เพื่อทำหน้าที่เปลี่ยน เกียร์เมื่อเริ่มการเปลี่ยนเกียร์ ECU จะชะลอเวลา จุดระเบิดของเครื่องยนต์เพื่อลดแรงบิดของ เครื่องยนต์ผลที่ได้คือแรงจากการทำงานของคลัตช์ และเบรกของชุดเฟืองเพลนเนตตารีจะลดลงและ การเปลี่ยนเกียร์จะเป็นไปอย่างราบรื่น

  20. หน้าที่ของ ECU ในการควบคุมส่วนหลัก การควบคุมอื่นๆ 5. ชุดควบคุม squat "N" ไป "D“ เมื่อเปลี่ยนเกียร์จากตำแหน่ง "N" ไปสู่ตำแหน่ง "D" ระบบป้องกันการกระชากจะป้องกันไม่ให้ เปลี่ยนเป็นเกียร์ 1 โดยตรง ด้วยการเปลี่ยนเป็น เกียร์ 2 หรือ 3 ก่อน จากนั้นจึงเป็นเกียร์ 1ที่เป็น เช่นนี้ก็เพื่อลดแรงสั่นสะเทือนจากการเปลี่ยน เกียร์และการกระชากของรถ การป้องกันการกระชากจะทำงานต่อเมื่อสภาวะ ทั้งหมดต่อไปนี้เกิดขึ้นพร้อมกัน • หยุดรถ • สวิตช์ไฟเบรกอยู่ที่ตำแหน่ง ON • เปลี่ยนเกียร์จากตำแหน่ง "N" เป็นตำแหน่ง "D" • สารหล่อเย็นมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น

  21. หน้าที่ของ ECU ในการควบคุมส่วนหลัก การควบคุมอื่นๆ 6. เปลี่ยนเกียร์ระหว่างขับขึ้นเนิน/ลงเนิน ในเกียร์อัตโนมัติทั่วไป เมื่อมีการเร่งความเร็ว/ลด ความเร็วบนเนิน จะมีการเปลี่ยนเกียร์บ่อยครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะ ซึ่งทำให้การขับขี่ไม่ราบรื่น เพื่อควบคุมการเปลี่ยนเกียร์ขณะขับขึ้นเนิน/ลง เนิน Engine & ECT ECU จะใช้เซ็นเซอร์ ตรวจตำแหน่งลิ้นเร่งและเซ็นเซอร์วัดความเร็ว เพื่อเลือกตำแหน่งเกียร์ที่เหมาะสมที่สุด เมื่อ ECU ทราบว่าเป็นการไต่ขึ้น การเปลี่ยนเป็น เกียร์ O/D จะถูกยับยั้งเพื่อให้การขับขี่ราบรื่น นอกจากนี้ เมื่อทราบว่าเป็นการลงเนินและตรวจ พบการใช้เบรก ECU จะเปลี่ยนเกียร์ลงเป็น เกียร์ 3 และเบรกเครื่องยนต์ “ การไต่เนินและลงเนินจะทราบได้โดยการเปรียบเทียบการเร่งความเร็วจริงที่ คำนวณจากสัญญาณตรวจจับความเร็วกับการเร่งความเร็วมาตรฐานที่ บันทึกไว้ในหน่วยความจำของ ECU “

More Related