1 / 72

เนื้อหานำเสนอ

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) โอกาส (ที่ไม่ต้องรอ) ทางธุรกิจ การค้า การลงทุน. เนื้อหานำเสนอ. 1. ความรู้ความเข้าใจ AEC 2. โอกาสและผลกระทบจาก AEC 3. แนวทางการเตรียมความพร้อมของนักธุรกิจ 4. การเตรียมความพร้อมของไทย 5. การใช้ประโยชน์จาก AEC

Download Presentation

เนื้อหานำเสนอ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) โอกาส (ที่ไม่ต้องรอ) ทางธุรกิจ การค้า การลงทุน

  2. เนื้อหานำเสนอ 1. ความรู้ความเข้าใจ AEC 2. โอกาสและผลกระทบจาก AEC 3. แนวทางการเตรียมความพร้อมของนักธุรกิจ 4. การเตรียมความพร้อมของไทย 5. การใช้ประโยชน์จาก AEC 6. มองอนาคต อาเซียนหลังปี 2015

  3. 1. ความรู้ความเข้าใจ AEC

  4. รู้จักอาเซียน • สมาชิกผู้ก่อตั้งปี 2510 • ไทย • มาเลเซีย • อินโดนีเซีย • ฟิลิปปินส์ • สิงคโปร์ สมาชิกเพิ่มเติม + บรูไน ดารุสซาลาม ปี 2527 + เวียดนาม ปี 2538 + ลาว ปี 2540 + เมียนมาร์ ปี 2540 + กัมพูชา ปี 2542 ประชากร - 600 ล้านคน พื้นที่ - 4.5 ล้าน ตาราง กม. ศาสนาหลัก - อิสลาม พุทธ คริสต์ และฮินดู GDP รวม 2.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ การค้ารวม 2.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ การลงทุนจากต่างประเทศ 107,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

  5. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 600 600

  6. Source: สำนักเลขาธิการอาเซียน, มกราคม 2014

  7. รู้จักประเทศสมาชิกอาเซียน : สินค้าเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติ

  8. รู้จักประเทศสมาชิกอาเซียน : สินค้าเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติ

  9. กฎบัตรอาเซียน ASEAN Charter ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ASCC Blueprint เชื่อมโยงทางกายภาพ เชื่อมโยงด้านกฎระเบียบ เชื่อมโยงระหว่างกันของประชาชน ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน APSC Blueprint ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน AEC Blueprint กฎบัตรอาเซียน เป็นกรอบทางกฎหมายและทางสถาบันของอาเซียน ประกอบด้วยหลักการพื้นฐานของอาเซียน เป้าหมาย วัตถุประสงค์ และโครงสร้างของความร่วมมือ

  10. วิวัฒนาการอาเซียนด้านเศรษฐกิจจากอดีตถึงปัจจุบันสู่อนาคตวิวัฒนาการอาเซียนด้านเศรษฐกิจจากอดีตถึงปัจจุบันสู่อนาคต 2510 : กำเนิดอาเซียน 2535 :เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) 2538 :ความตกลงด้านการค้าบริการของอาเซียน 2541 : เขตการลงทุนอาเซียน 2550 : ASEAN Charterกฎบัตรอาเซียน / ธรรมนูญอาเซียน 2552 :ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน 2554 :ความตกลงด้านการลงทุนของอาเซียน 2558 :เป้าหมายเป็น AEC หลัง 2558 ???

  11. 4 4 เป้าหมายภายใต้ AEC Blueprint เพื่อประสานกลายเป็นหนึ่งเดียว คือ อาเซียน 1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว 2. การสร้างเสริมขีดความสามารถแข่งขัน เคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรี นโยบายการแข่งขัน เคลื่อนย้ายบริการอย่างเสรี การคุ้มครองผู้บริโภค AEC 2015 สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา เคลื่อนย้ายการลงทุนอย่างเสรี โครงสร้างพื้นฐาน เคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี นโยบายภาษี เคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น e-ASEAN 3. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค 4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก สนับสนุนการพัฒนา SMEs ปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจ สร้างเครือข่ายการผลิต จำหน่าย ลดช่องว่างการพัฒนา IAI จัดทำ FTA กับประเทศนอกภูมิภาค การมีส่วนร่วมภาครัฐ-เอกชน PPE

  12. 1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว การดำเนินงานที่สำคัญสู่ AEC

  13. การดำเนินงานที่สำคัญสู่ AEC 2. การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง

  14. การดำเนินงานที่สำคัญสู่ AEC 3. การเป็นภูมิภาคที่มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจ ที่เท่าเทียม IAI SMEs การจัดทำข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน จัดทำแผนปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนา SMEs ของอาเซียน ปี 2553-2558 จัดตั้งสภาที่ปรึกษา SMEs อาเซียน เพื่อเป็นเวทีสำหรับสร้างเครือข่ายระหว่างผู้แทนภาคเอกชน

  15. การดำเนินงานที่สำคัญสู่ AEC • จีน • ญี่ปุ่น • เกาหลีใต้ • อินเดีย • ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ • โดยมีเป้าหมายจะเจรจาให้แล้วเสร็จภายในปี 2558 4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก • อาเซียนจะเริ่มเจรจาความตกลงการค้าเสรีกับฮ่องกงในช่วงต้นปี 2558

  16. Next Station>>RCEP Global Engagement is Key ASEAN-Russia ASEAN-Canada ASEAN-China FTA ASEAN-EU ASEAN-US TIFA ASEAN-Korea FTA ASEAN-Japan CEP RCEP ASEAN-Pakistan ASEAN-India FTA AEC คู่เจรจาที่มี FTA กับอาเซียน คู่เจรจาของอาเซียน ASEAN-Australia- New Zealand FTA

  17. เมื่อเปิดเสรีการค้าในอาเซียนแล้ว ประเทศไหนได้ประโยชน์ ? • ผลการศึกษาของสถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจเพื่ออาเซียนและเอเชียตะวันออก (Economic Research Institution for ASEAN and East Asia :ERIA) พบว่า • การเปิดเสรีการค้าสินค้าให้ผลประโยชน์สูงสุด รองลงมา คือ การเปิดเสรีการค้าบริการ • เมื่อเปิดเสรีการค้าในอาเซียนแล้ว ในภาพรวมทุกประเทศได้รับประโยชน์ เศรษฐกิจเติบโต โดยกลุ่มประเทศที่ได้ประโยชน์สูงสุด คือ กัมพูชา รองลงมา เวียดนาม ลาว และอินโดนีเซีย ตามลำดับ • สำหรับกลุ่มประเทศที่ได้รับประโยชน์ระดับปานกลาง คือ สิงคโปร์ ไทย และมาเลเซีย • ขณะที่ประเทศที่ได้รับประโยชน์น้อยที่สุด คือ ฟิลิปปินส์

  18. 2. โอกาสและผลกระทบจาก AEC

  19. โอกาสและความท้าทายของไทยใน AEC

  20. ผลกระทบด้านบวกต่อภาคธุรกิจไทยผลกระทบด้านบวกต่อภาคธุรกิจไทย นำเข้าวัตถุดิบ/สินค้ากึ่งสำเร็จรูปมาผลิตโดยไม่มีภาษีนำเข้า เข้าถึงตลาดอาเซียนที่มีประชากร 600 ล้านคน และประเทศคู่เจรจาอาเซียน รวม 3,300 ล้านคน ต้นทุนภาคบริการลดลงจากการเปิดเสรี เช่น ขนส่ง โลจิสติกส์ การเงิน ฯลฯ เคลื่อนย้ายเงินทุนเสรีมากขึ้น เช่น การโอนผลกำไรกลับประเทศ ต้นทุนการทำธุรกิจลดลงจากมาตรการอำนวยความสะดวกทางการค้า เช่น ASW, Self Certification ลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานวิชาชีพจากการอำนวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายแรงงาน ขยายฐานการผลิตในประเทศอาเซียนเพื่อใช้ทรัพยากรที่มีความได้เปรียบ ดึงดูดการลงทุนจากประเทศทั่วโลก เพิ่มอำนาจการต่อรองทางเศรษฐกิจในตลาดโลก

  21. ผลกระทบด้านลบต่อภาคธุรกิจไทยผลกระทบด้านลบต่อภาคธุรกิจไทย มีคู่แข่งทางการค้าสินค้าและการให้บริการจากประเทศอาเซียนอื่นเพิ่มขึ้น อาจถูกใช้มาตรการที่มิใช่ภาษีจากประเทศอาเซียนอื่นเพิ่มขึ้น ถูกครอบงำจาก นักลงทุนต่างชาติกลายเป็นผู้รับจ้างผลิตมากกว่าเป็นเจ้าของกิจการ ผู้ประกอบการจากประเทศอาเซียนเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น ทำให้การแข่งขันสูงขึ้น อาจถูกลอกเลียนแบบสินค้าและบริการโดยประเทศอาเซียนอื่น อาจถูกแย่งแรงงานวิชาชีพไปทำงานในประเทศอาเซียนอื่น ขาดแคลนแรงงานทั่วไปเนื่องจากแรงงานดังกล่าวอาจกลับประเทศหรือไปทำงานในประเทศอาเซียนอื่น

  22. ความพร้อมของสินค้าและบริการของไทยความพร้อมของสินค้าและบริการของไทย • สินค้า / บริการ ที่แข่งขันไม่ได้ • สินค้าเกษตร: ผลิตภัณฑ์นม ชา กาแฟ น้ำมันปาล์ม มะพร้าว • สินค้าอุตสาหกรรม: ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องสำอาง เครื่องจักรกล และด้ายไหมในระดับอุตสาหกรรม • บริการ:โทรคมนาคมโลจิสติกส์ การเงิน การธนาคาร การค้าปลีก-การค้าส่ง วิชาชีพ (บริการด้านบัญชี วิศวกร สถาปนิกขนาดกลางและขนาดเล็ก และกฎหมาย) บันเทิง โฆษณา บริการนำเที่ยว และมัคคุเทศก์ • สินค้า / บริการ ที่แข่งขันได้ • สินค้าเกษตร/เกษตรแปรรูป : ข้าวไทยระดับพรีเมี่ยม ยางพารา ผลิตภัณฑ์อาหาร(ไก่สด/แปรรูป ผลไม้)น้ำตาล มันสำปะหลัง และอาหารทะเล • สินค้าอุตสาหกรรม: ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องปรับอากาศ อัญมณีและเครื่องประดับ กระดาษและสิ่งพิมพ์ และสินค้าหัตถกรรม • บริการ : บริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว (เช่น โรงแรม ร้านอาหาร ภัตตาคาร และบริการสุขภาพ)ธุรกิจรักษาพยาบาลและเสริมความงาม ธุรกิจการศึกษา และธุรกิจการออกแบบและก่อสร้าง หมายเหตุ: รวบรวมจากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการเพื่อพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

  23. รู้ไหม จุดแข็งของนักธุรกิจไทย นักธุรกิจไทย สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ • มีทักษะ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์การทำธุรกิจการค้า บริการ ผลิต และลงทุนในอาเซียนและประเทศเพื่อนบ้าน • มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง AEC • มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ • มีเครือข่ายตลาดทั่วโลก เนื่องจากฐานเศรษฐกิจของไทยคือการส่งออก • ตระหนักถึงความสำคัญของประชาคมอาเซียนและ AEC • แรงงาน/บุคลากรมีคุณภาพ • ภูมิปัญญาท้องถิ่น และความมีฝีมืองานหัตถกรรม • นโยบายรัฐให้ความสำคัญอาเซียนเป็นวาระแห่งชาติ • ภาครัฐสนับสนุนเรื่องการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน จัดอบรมสัมมมาเผยแพร่ความรู้เรื่อง AEC จำนวนมาก • ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน โครงข่ายถนน โทรคมนาคม ไฟฟ้า ประปา สนามบิน และท่าเรือ • สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ • ความได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้งภูมิศาสตร์ เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางถนนและอากาศในภูมิภาคอาเซียน

  24. ตัวอย่างผู้ประกอบการไทยที่ประสบความสำเร็จในอาเซียน

  25. ตัวอย่างผู้ประกอบการไทยที่ประสบความสำเร็จในอาเซียน

  26. ตัวอย่างผู้ประกอบการไทยที่ประสบความสำเร็จในอาเซียน

  27. มุมมองนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในตลาดอาเซียนมุมมองนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในตลาดอาเซียน คุณธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ที่มา :CP E-News ฉบับเดือนเมษายน 2555) “เวลานี้ไทยไปพัวพันกับโลก ไทยเป็นฐานส่งออกรถยนต์ขายไปทั่วโลก อย่างน้อยขายไปในอาเซียน 10 ประเทศ และยังมีอะไหล่รถยนต์ซึ่งส่งออกไปจีนในจำนวนไม่น้อย ซึ่งต่อไปมีแนวโน้มว่านักธุรกิจจีนจะมาลงทุนผลิตอะไหล่ในไทย และถ้ามาผลิตอะไหล่ในไทย ยิ่งมากเท่าไร กำลังการผลิตของรถยนต์ก็ยิ่งจะเข้มแข็งมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งคาดว่าต่อไปญี่ปุ่นก็จะเลิกผลิตรถยนต์ หรือผลิตน้อย เพราะส่วนใหญ่จะมาผลิตที่เมืองไทย ประเทศไทยจึงมีโอกาสเติบโตเป็นแหล่งผลิตรถยนต์ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก รองจากจีนซึ่งเป็นที่หนึ่งแน่นอน เพราะมีประชากร 1,300 กว่าล้านคน แนวโน้มการใช้รถยนต์ก็เพิ่มขึ้นมากมาย เนื่องจากวันนี้อินเดียเริ่มมาใช้รถยนต์ ยุโรปตะวันออกก็เริ่มมาใช้รถยนต์ในอดีต 10 กว่าปีที่ผ่านมาประเทศที่กล่าวมาเหล่านี้ไม่มีรถยนต์เลย ประชาชนซื้อรถยนต์ไม่ได้ รถยนต์ที่เห็นก็มีแต่แท็กซี่กับของรถของรัฐบาล เพราะแม้แต่บริษัทใหญ่ๆ ยังต้องขออนุมัติจากรัฐบาล เอกชนจะซื้อไม่ได้ แต่วันนี้รถยนต์เต็มถนน รถติด แล้วยังมีความต้องการใช้รถยนต์อีกมาก อย่างในจีนอีก 700 ล้านคนที่เป็น เกษตรกรจะร่ำรวยขึ้นจะมีกำลังซื้อรถยนต์มหาศาลดังนั้น ที่ผ่านมาไทยกับจีนเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกัน ทำให้ไม่มีภาษี เมืองไทยจึงได้เปรียบเป็นโอกาสสำหรับเกษตรไทย ยกตัวอย่างผลไม้หรือพืชผัก ประเทศไทยมีประชากร 66 ล้านคน แต่จีนมีประชากร 1,300 ล้านคน คนไทยซื้อสินค้าเต็มที่ก็ได้แค่ 60 กว่าล้านคน แต่ถ้าจีนซื้อผลไม้ไทยสัก 10 % ประเทศไทยก็ไม่รู้จะเอาที่ไหนไปขายให้เขาแล้ว โดยเฉพาะทุเรียน เป็นผลไม้ที่คนจีนโปรดปราน”

  28. มุมมองนักธุรกิจ : การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ AEC คุณสกนธ์ กัปปิยจรรยา กรรมการผู้จัดการ บริษัท นีโอ สุกี้ ไทย เรสเทอรองต์ จำกัด (ที่มา : อุตสาหกรรมสาร วารสารของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, กุมภาพันธ์ 2557) “แนวโน้มการรุกตลาดอาเซียนของ นีโอ สุกี้ ถือว่าเป็นไป ในทิศทางที่ดี อย่างเช่นที่ เวียดนาม ถือว่าได้รับการตอบรับที่ดี ทั้งสาขา Big-C เมืองด่องใน และหน้านิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร เมืองด่องใน เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจและอัตราการจับจ่ายของ ชาวเวียดนามค่อนข้างเป็นไปในทิศทางที่ดี ประกอบกับพฤติกรรม การรับประทานที่คล้ายคลึงคนไทย และรัฐบาลเองก็ส่งเสริม นักลงทุนต่างชาติ จึงเห็นว่าตลาดเวียดนามยังมีลู่ทางการเติบโตและน่าจะขยายสาขาได้อีก ส่วนข้อควรระวังสำหรับการลงทุนกับ ประเทศนี้คือ การจดลิขสิทธิ์แบรนด์ อีกทั้งเรื่องข้อตกลงเกี่ยวกับ สัญญาเช่าพื้นที่ จำเป็นต้องศึกษาให้ลึกซึ้ง ส่วนการลงทุนที่ ลาว กัมพูชา และอินโดนีเซีย ก็เติบโตในทิศทางที่ดี มีโอกาสในการขยาย สาขาสูง ส่วนที่ พม่า ถือเป็นตลาดต่างประเทศที่ล่าสุด ในการลงทุน ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการเจรจากับมาสเตอร์แฟรนไชส์ที่นั่นเพื่อ ลุยเปิดสาขาแรกในอีกไม่นาน”

  29. มุมมองนักธุรกิจ : การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ AEC คุณวิฐรา จิตนราพงศ์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจระหว่างประเทศ บริษัท แบล็คแคนยอน (ประเทศไทย) จำกัด (ที่มา : อุตสาหกรรมสาร วารสารของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, กุมภาพันธ์ 2557) “ด้วยจุดแข็งของแบรนด์ แบล็คแคนยอน ซึ่งเป็นร้านกาแฟ ควบคู่อาหารไทยสไตล์ฟิวชั่น ที่ดำเนินงานอย่างจริงจังทั้งสองส่วน อย่างผลิตภัณฑ์กาแฟ เราคัดสรรกาแฟคุณภาพสูงจากโครงการหลวง มาคั่วบดด้วยกระบวนการเฉพาะภายใต้โรงงานของเราเองรวมกับ การใช้เครื่องชงกาแฟและบาริสต้าเทรนด์มาอย่างดีทำให้กาแฟและ เมนูเครื่องดื่มของแบล็คแคนยอน โดดเด่นด้วยคุณภาพและรสชาติ อร่อยเข้มข้นเป็นเอกลักษณ์ในทุกสาขา.............อย่างไรก็ตาม การให้คนท้องถิ่นรู้สึกมีส่วนร่วมกับแบรนด์ก็ เป็นสิ่งที่ผู้บริหารไม่ได้มองข้าม โดยได้เสริมวัฒนธรรมเฉพาะของแต่ละท้องถิ่นลงในเมนูพิเศษที่มีเฉพาะสาขาเพื่อเพิ่มความใกล้ชิดและสร้างความสุขใจให้กับลูกค้า ซึ่งทำมาตลอดกว่า 10 ปี ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีมาโดยตลอด และเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ทำให้บริษัทสามารถขยายสาขาในต่างประเทศได้แล้วกว่า 50 แห่ง โดย อินโดนีเซีย มีสาขาสูงสุดถึง 30 สาขา ส่วนในมาเลเซียมี 14 สาขา ซึ่งถือว่าเราโชคดีที่ได้มาสเตอร์แฟรนไชส์ที่มีศักยภาพสูงในการเลือกโลเกชั่นและวางแผนการตลาดที่ตอบโจทย์ลูกค้า”

  30. มุมมองนักธุรกิจ : การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ AEC คุณอนุวัตร เฉลิมไชย แบรนด์ไดเรกเตอร์ SCG และนายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย (ที่มา :www.tcdcconnect.com , 2556) ข้อคิดสำหรับ SME ไทย ในการเตรียมตัวเข้าสู่ยุค AEC  “อย่างแรกคือคุณต้องมีจุดยืนที่ชัดเจนในตัวเอง จับจุดให้ได้ว่าเราแข็งแกร่งเรื่องอะไร ศึกษาทำความเข้าใจลูกค้าให้มาก และที่สำคัญคือหมั่นสร้างพันธมิตรทางการค้าไว้ เพราะเดี๋ยวนี้หลายๆ อย่างคุณไม่จำเป็นต้องทำคนเดียว ให้ใช้หลัก Co-Create คือใช้ความเชี่ยวชาญและมุมมองหลายๆ ด้านเข้าช่วยกันสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ผมว่ากับ AEC เราต้องไม่ไปหวั่นไหวเกินเหตุนะ ยังไงทุกวันนี้เวทีการแข่งขันมันก็ไร้พรมแดนอยู่แล้ว คุณทำการซื้อขายออนไลน์ได้กับทุกทวีป ดังนั้นขอแค่คุณรักษาจุดยืน สร้างเอกลักษณ์ สร้างตลาด Niche ของตัวเองขึ้นมา และทำตัวให้พร้อมที่จะเปิดรับความเปลี่ยนแปลง ... มันสำคัญที่ว่าคุณจะรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้เร็วแค่ไหนมากกว่า”

  31. มุมมองนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในตลาดอาเซียน คุณณรงค์ เลิศกิตศิริ ประธานของ บริษัทโทเร อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) และผู้อำนวยการบริษัทเท็กซ์ไทล์แกลเลอรี่ ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของแบรนด์ชั้นนำระดับโลกอย่าง “PASAYA” (ที่มา : www.tcdc.or.th, 2556) “สำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอแล้ว AEC คือ การเปิดโอกาสให้กับตลาดใหม่ที่มีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม (10 ชาติรวมเป็นหนึ่งเดียว) และเมื่อฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น โอกาสการขยายตัวทางภาคธุรกิจก็มีความเป็นไปได้มากขึ้นด้วย แต่ทุกอย่างจะไม่สามารถเติบโตได้เลยถ้าเราไม่พัฒนาคุณภาพของบุคลากรครับ แม้ว่าโดยพื้นฐานแล้วไทยเราจะเป็นประเทศที่มีรสนิยมการแต่งตัวดี (เมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียน) แต่ข้อเสียของเด็กรุ่นใหม่ที่เป็นกำลังขับเคลื่อนประเทศ ก็คือ เขาไม่มีความอดทนในการทำงาน คุณจะเห็นว่าเด็กจบใหม่สมัยนี้เปลี่ยนที่ทำงานบ่อยมาก ไม่สู้งาน อยากทำงานสบายแต่ได้ค่าตอบแทนสูง ซึ่งผมว่ามันเป็นค่านิยมที่ผิด ส่วนในภาคการผลิตนั้น ไทยเราได้เปรียบเรื่องคุณภาพแรงงานที่มีความละเอียดอ่อน ฝีมือเยี่ยม เทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย หรือพม่าแล้ว แม้เขาจะมีค่าแรงต่ำกว่าแต่คุณภาพงานฝีมือที่ต้องการความเนี้ยบก็ยังสู้เราไม่ได้ แต่ถึงกระนั้นเราก็ไม่ควรประมาทครับ เพราะถ้าเราทำได้ วันหนึ่งชาติอื่นเขาก็อาจพัฒนาขึ้นมาแข่งได้เช่นกัน”

  32. มุมมองนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในตลาดอาเซียน คุณสวัสดิ์ โสภะ เลขาธิการสมาคมมิตรภาพไทย-เวียดนาม และกรรมการรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายการผลิตสุราและเทคนิค บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) (ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ, 2555) “ ในเรื่องของการค้าขายนั้น ไทยเราค่อนข้างได้เปรียบเพราะแบรนด์เนมสินค้าไทยเป็นที่ชื่นชอบของคนเวียดนามอยู่แล้ว เวลาเขามาเมืองไทยก็จะมาซื้อสินค้าจากไทยกลับไปกันเยอะ เอาใส่กระเป๋าใบใหญ่ๆกันไป เพราะสินค้าบ้านเรามีคุณภาพ ดังนั้นโอกาสสินค้าไทยที่จะเข้าไปสู่ตลาดเวียดนามหลังภาษีเหลือ 0% ในปี 2558 นั้นผมว่าจะมีมากขึ้น ส่วนการลงทุน ไทยเราเข้าไปลงทุนในเวียดนามนานหลายปีแล้วและมีความต่อเนื่อง อีกทั้งโอกาสและศักยภาพของเวียดนามที่จะเอื้อต่อนักลงทุนต่างชาตินั้นก็ยังมีอยู่อีกมากเพราะเป็นประเทศที่จัดอยู่ในกลุ่มดาวรุ่งกำลังพัฒนา หรือ new emerging economies มีการเติบโตทางเศรษฐกิจค่อนข้างดีเมื่อเทียบกับประเทศในยุโรปและอเมริกาที่เศรษฐกิจกำลังแย่ สำหรับอุตสาหกรรมที่น่าเข้าไปลงทุนในเวียดนามนั้น มีความหลากหลายซึ่งบริษัทไทยก็ได้เข้าไปลงทุนอยู่แล้วหลายราย เช่น อุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์ กล่องกระดาษ พลาสติก ขวดแก้ว กระป๋อง พวกภาชนะ นอกจากนี้ ที่ผมมองว่าน่าจะไปได้ดีคืออุตสาหกรรมด้านไอที-คอมพิวเตอร์ เพราะมันจะเข้ามารองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ เราจะเห็นได้ว่าประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ทั้งหลายมีความจำเป็นจะต้องใช้เทคโนโลยีทางด้านนี้เยอะแทนระบบ manual ที่จะหมดไป แล้วมีระบบ digital เข้ามาแทน”

  33. 3. แนวทางการเตรียมความพร้อมของนักธุรกิจ

  34. ภาคเอกชนไทยมีความพร้อมแค่ไหนภาคเอกชนไทยมีความพร้อมแค่ไหน • ระดับความรู้ความเข้าใจของภาคเอกชนไทย • ไม่รู้ และไม่คิดจะรู้ • รู้ แต่ไม่รู้เรื่อง เห็นเป็นเรื่องไกลตัว • รู้ แต่ไม่รู้จะปรับตัวอย่างไร • รู้ เห็นเป็นโอกาส มีการปรับตัวเชิงรุก • 2. เราจะตั้งรับอย่างเดียวไม่ได้แล้ว • เอกชนต้องมีการปรับตัวให้รองรับ • การเปลี่ยนแปลงจาก AEC โดยเฉพาะ SMEsเป็นกลุ่มใหญ่ที่ยังขาดความพร้อม และรัฐไม่ควรละเลย ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีความพร้อมทั้งเงินทุนและบุคลากร

  35. การรับรู้ AEC ของนักธุรกิจ • นักธุรกิจไทยรับรู้เรื่อง AEC มากกว่าร้อยละ 70 แต่ปัญหาของนักธุรกิจต่อการรับรู้ มีดังนี้ 1. ไม่รู้ว่าจะใช้ประโยชน์จาก AEC และอาเซียนกับธุรกิจของตนเองได้อย่างไร 2. รู้เรื่อง AEC ในภาพรวมแต่ไม่รู้รายละเอียดเชิงลึก 3. สื่อสารมวลชน ผู้ถ่ายทอด และวิทยากร ไม่สามารถสื่อข้อมูล AEC เชิงวิชาการ ให้ได้อย่างเข้าใจง่ายและถูกต้อง 4. ข้อมูล AEC และอาเซียนบางเรื่อง เป็นภาษาอังกฤษ ทำให้ไม่สามารถเข้าใจ AEC อย่างลึกซึ้ง (ข้อมูลจากสภาหอการค้าแห่งประเทศ)

  36. ภาคเอกชนไทยควรเตรียมความพร้อมอย่างไรภาคเอกชนไทยควรเตรียมความพร้อมอย่างไร 31

  37. บัญญัติ 20 ประการ เพื่อเตรียมความพร้อมทำการค้าการลงทุนใน AEC ที่มา: สรุปจากวารสาร “ส่งเสริมการลงทุน” ปีที่ 23 ฉบับที่ 3 มีนาคม 2555 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

  38. บัญญัติ 20 ประการ เพื่อเตรียมความพร้อมทำการค้าการลงทุนใน AEC ที่มา: สรุปจากวารสาร “ส่งเสริมการลงทุน” ปีที่ 23 ฉบับที่ 3 มีนาคม 2555 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

  39. รู้ไว้ใช่ว่า ??? ลักษณะการทำธุรกิจและพฤติกรรมผู้บริโภค เมียนมาร์ ลาว การดำรงชีวิตส่วนใหญ่ไม่เร่งรีบและอยู่อย่างพอเพียง ประชากรน้อยมีเพียง 6.5 ล้านคน มี 68 ชนเผ่า เมืองเศรษฐกิจอันดับ 1 คือ นครหลวงเวียงจันทน์ รองลงมา คือ สะหวันนะเขต จำปาสัก และหลวงพระบาง ตามลำดับ กินอาหารรสจืด เน้นการกินผัก ไก่ และปลา นับถือผีธรรมชาติ ผีบรรพบุรุษ และเชื่อเรื่องขวัญ และไสยศาสตร์ ห้ามถ่ายภาพสถานที่ที่เกี่ยวกับความมั่นคง เช่น ค่ายทหาร และห้ามแจกใบปลิว ประกาศ หรือเผยแพร่ต่างๆ โดยไม่ได้รับอนุญาต อย่าแจกของเด็ก เพราะจะสร้างนิสัยการขอ การเจรจาธุรกิจจะสำเร็จที่งานเลี้ยงตอนค่ำ และเต้นรำวงร่วมกัน การมองของที่ระลึกเป็นการแสดงน้ำใจและรักษามิตรภาพ ธุรกิจที่น่าลงทุนในลาว คือ การจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคของไทย เกษตรกรรม โรงแรม ที่พัก ร้านนวดสปา บริการเสริมความงาม ร้านอาหาร และเหมืองแร่ รวมถึงอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้สิทธิพิเศษ GSP • อู U เรียกคนเมียนมาร์, ทุน Tun เรียกคนไทยใหญ่, ซอ Saw เรียกคนกระเหรี่ยง และโก Ko เรียกคนจีน • ประชากร 55 ล้านคน มี 135 ชนเผ่า เมืองเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 1 คือ กรุงย่างกุ้ง รองลงมา คือ มัณฑะเลย์ และเมาะลำไย • คนเมียนมาร์กินอาหารรสจืด เค็ม และมัน ไม่กินรสเผ็ด และกินอาหารมังสะวิรัติ • กินกะปิ กุ้งแห้ง ปลาเค็ม นิยมทานอาหารด้วยปิ่นโต และนั่งทานอาหารกับพื้นด้วยเสื่อ และกินข้าวกับมือ • เชื่อถือเรื่องดูหมอ ดูดวง สะเดาะห์ ชาติหน้า ผีต่างๆ เข้าทรง และไสยศาสตร์ต่างๆ • ผู้ชายนิยมสวมเสื้อเชิ้ต โสร่งลองจี และรองเท้าแตะ ขณะที่ผู้หญิงนิยมสวมผ้าถุง สินค้าจากไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย และนิยมสวมรองเท้าแตะที่มีส้นเตี้ย • นิยมชมชอบสินค้าแบรนด์เนม • การใช้จ่ายเงินต้องเป็นเงินสด แต่ในร้านค้าหรือโรงแรมขนาดใหญ่เริ่มมีการใช้บัตรเครดิต • ธุรกิจที่น่าลงทุนในเมียนมาร์ คือ การจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคของไทย เกษตรกรรม โรงแรม ที่พัก ร้านอาหาร ร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก เหมืองแร่ และอุตสาหกรรมผลิตอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้สิทธิพิเศษ GSP

  40. รู้ไว้ใช่ว่า ??? ลักษณะการทำธุรกิจและพฤติกรรมผู้บริโภค เวียดนาม กัมพูชา ประชากรน้อย14ล้านคน เมืองเศรษฐกิจใหญ่ คือ กรุงพนมเปญและเมืองเสียมราฐ เมืองอู่ข้าวอู่น้ำ หรือพื้นที่เพาะปลูกของประเทศ คือ เมืองพระตะบอง มีความเชื่อเรื่องผีธรรมชาติ และไสยศาสตร์ นิยมกินข้าวด้วยมือ นั่งทานอาหารกับพื้นด้วยเสื่อ เคารพผู้อาวุโส และไม่หันปลายเท้าไปทางผู้อื่น เวลานั่งกับพื้น ต้องเก็บปลายเท้า ไม่วิพากย์วิจาณ์การเมือง การห่อของขวัญ ไม่ใช่กระดาษสีขาว เพราะสีขาวคือสีแห่งการไว้ทุกข์ ควรใช้กระดาษห่อของขวัญสีสัน ศรีษะเป็นของสูง อย่าจับ เมื่อรับของขวัญห้ามเปิดทันที ธุรกิจที่น่าลงทุนในกัมพูชา คือ การจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคของไทย โรงแรม ที่พัก ร้านนวดสปา ร้านอาหาร ร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก และเกษตรกรรม รวมถึง อุตสาหกรรมที่ต้องการใช้สิทธิพิเศษ GSP • ประชากร 92 ล้านคน เมืองเศรษฐกิจใหญ่ คือ นครโฮจิมินห์และกรุงฮานอย • นิยมทานผัก และที่โต๊ะอาหารจะมีผักสดจำนวนมากเป็นเครื่องเคียง ทานอาหารรสจืด ลักษณะอาหารใกล้เคียงกับอาหารจีน • การเจรจาควรพูดให้ตรงประเด็นไม่อ้อมค้อม หากชาวเวียดนามพยักหน้าในระหว่างที่ดำเนินการเจรจาไม่ได้มีความหมายว่าจะยอมรับ • ชาวเวียดนามตรงต่อเวลา ขอนัดเพื่อเจรจาธุรกิจก็ควรไปให้ตรงเวลา และเมื่อต้องการนัดเจรจาธุรกิจควรนัดล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์ • ควรแต่งกายเรียบร้อย มิดชิด เพราะเวียดนามเป็นประเทศอนุรักษ์นิยมประเทศหนึ่ง • ไม่ควรสนทนาเรื่องความเชื่อ การเมือง ศาสนา สงครามเวียดนาม หรือเรื่องต่อต้านรัฐบาลเวียดนาม • ควรใช้กระดาษห่อของขวัญสีสดใส • นิยมของแบนด์เนม และไม่ชอบการลองสินค้าใหม่ • ธุรกิจที่น่าลงทุนในเวียดนาม คือ การจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคของไทย โรงแรม ที่พัก ร้านนวดสปา ร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก และร้านอาหาร

  41. รู้ไว้ใช่ว่า ??? ลักษณะการทำธุรกิจและพฤติกรรมผู้บริโภค อินโดนีเซีย มาแลเซีย ส่งของและรับประทานอาหารด้วยมือขวา ไม่ควรใช้นิ้วชี้มือขวาชี้สถานที่ สิ่งของ หรือคน ให้ใช้นิ้วโป้งมือขวาชี้ โดยพับนิ้วที่เหลือทั้งสี่เก็บไว้ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ การพิมพ์นามบัตร สองด้าน ภาษาอังกฤษและภาษาจีน ใช้ตัวอักษรสีทอง เพื่อสร้างความประทับใจแก่นักธุรกิจชาวจีน เมื่อรับนามบัตรต้องอ่านก่อน อย่าเก็บลงกระเป๋าทันที มอบนามบัตรด้วย 2 มือ หรือ มือขวา ห้ามใช้สีเหลืองในการแต่งกาย เสื้อผ้า เพราะเป็น สีราชวงศ์และกษัตริย์ นิยมใช้กระดาษห่อของขวัญสีแดงและสีเขียว ห้ามใช้กระดาษห่อของขวัญสีขาว เพราะเป็นสีสื่อถึงความตาย สังคมคนมาเลย์ เน้นความสุภาพและความเกรงใจ ธุรกิจที่น่าลงทุนในมาเลเซีย คือ โรงแรม ที่พัก ร้านอาหาร และร้านนวดสปา • คนอินโดนีเซียไม่ค่อยตรงเวลา เมื่อนัดคนอินโดนีเซีย เขาอาจเพื่อมาร่วมวงด้วย • ห้ามดื่มแอลกอฮอล์เป็นข้อห้ามของศาสนา • เมื่อเจ้าภาพชาวอินโดนีเซียเสิร์ฟกาแฟหรือชาให้ ควรรอให้เจ้าภาพดื่มก่อน และเป็นมารยาทที่ควรดื่มหรือทานอาหารที่เจ้าภาพหยิบยื่นให้ • การนั่งควรนั่งให้ฝ่าเท้าลงพื้น อย่านั่งไขว่ห้าง หรือหันปลายเท้าไปทางผู้อื่น • มีความเรื่องศาสนา คริสต์ อิสลาม ฮินดู และพุทธ • และยังมีความเชื่อเรื่องผี เข้าทรง หมอดู พิธีกรรมในแต่ละวัน • คนอินโดนีเซีย เป็นคนไม่คิดซับซ้อน คิดด้านเดียว เมื่ออยากได้อะไรไม่ค่อยพูด และไม่ควรดูถูกคนอินโดนีเซีย เป็นคนน้อยเนื้อต่ำใจตนเอง เพราะเป็นเมืองขึ้นมาก่อน • การจราจรในเมืองหนาแน่นมาก • ธุรกิจที่น่าลงทุนในอินโดนีเซีย คือ การจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคของไทย โรงแรม ที่พัก ร้านอาหาร ร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก และเหมืองแร่ รวมถึงอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้แรงงานจำนวนมาก เช่น สิ่งทอ และรองเท้า

  42. รู้ไว้ใช่ว่า ??? ลักษณะการทำธุรกิจและพฤติกรรมผู้บริโภค ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เป็นประเทศที่รักษาความสะอาด ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพในการบริหารประเทศหนึ่ง ห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ ฝ่าฝืนปรับ 1,000 เหรียญสิงคโปร์ หรือ 25,000 บาท ห้ามถ่มน้ำลายในที่สาธารณะ ห้ามข้ามถนนที่ไม่ใช่ทางม้าลาย การเสพยาติดติดหรือเกี่ยวข้องกับยาเสพติด การนำพาอาวุธ มีโทษหนักรุนแรง ถึงขั้นประหารชีวิต การรับนามบัตร ควรใช้ มือ 2 ข้างรับพร้อมกัน อาหารจานเด็ดของสิงคโปร์ คือ บักกุ๊กเต๋ ข้าวมันไก่ และเย็นตาโฟ ไม่พูดตรงๆ เมื่อไม่เห็นด้วย เพราะมีความเกรงใจ การเชิญรับประทานอาหารสามารถสร้างมิตรภาพได้ ธุรกิจที่น่าลงทุนในสิงคโปร์ คือ ร้านอาหาร และร้านนวดสปา • การรู้จักพบกันครั้งแรก เรียกชื่อคู่สนทนาด้วยชื่อสกุล/นามสกุล เมื่อคุ้นเคยกันแล้ว จึงเรียกชื่อตัวได้ • คนฟิลิปปินส์เป็นมิตรและเข้ากับคนง่าย และมีความเป็นตะวันตกค่อนข้างสูง รูปร่างหน้าตาของคนฟิลิปปินส์ เหมือนคนไทย ชาวฟิลิปปินส์มีสไตล์ลูกครึ่งจำนวนมาก เพราะในอดีตเคยเป็นประเทศอาณานิคมของทั้ง สเปน อังกฤษ อเมริกัน และฝรั่งเศส   • กรุงมะนิลา เป็นเมืองที่มีสลัมมาก เป็นลำดับต้นๆของโลก ฟิลิปปินส์มีความห่างของฐานะมาก คนรวยรวยอักโข คนจน จนมากมาย • คนฟิลิปปินส์สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ดี • คนฟิลิปปินส์ร้อยละ 90 อยากออกไปทำงานที่ต่างประเทศเพื่อต้องการหลุดพ้นจากขุมนรกในประเทศตัวเอง • ฟิลิปปินส์ก็เป็นประเทศที่มีอู่ต่อเรือขึ้นแท่นอันดับ 4 ของอุตสาหกรรมต่อเรือโลก • ธุรกิจที่น่าลงทุนในฟิลิปปินส์ คือ การจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคของไทย ร้านอาหาร และธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว

  43. รู้ไว้ใช่ว่า ??? ลักษณะการทำธุรกิจและพฤติกรรมผู้บริโภค บรูไน • ประชากรเพียง 430,000 คน แต่มีกำลังซื้อสูง • ไม่มีสายการบินไทยบินตรงไปบรูไน โดยสายการบินที่ไปบรูไน คือ รอยัล บรูไน แอร์ไลน์ • การสั่งอาหารควรให้คนบรูไน เป็นคนสั่ง เพื่อหลีกเลี่ยงอาหารเนื้อหมูและแอลกอฮอล์ • แต่งกายมิดชิด โดยเฉพาะผู้หญิง • ไม่ควรใช้นิ้วชี้มือขวาชี้สถานที่ สิ่งของ หรือคน ให้ใช้นิ้วโป้งมือขวาชี้ โดยพับนิ้วที่เหลือทั้งสี่เก็บไว้ • หลีกเลี่ยงการสนทนาเรื่องเพศ ความเชื่อ และการเมือง • ธุรกิจที่น่าลงทุนในอินโดนีเซีย คือ การจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคของไทย ที่พัก ร้านอาหาร และร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก

  44. ข้อมูลและลู่ทางการติดต่อทำธุรกิจในตลาดอาเซียน ในประเทศ ในประเทศอาเซียน • - กระทรวงพาณิชย์ • กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ • กรมการค้าต่างประเทศ • กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ • กรมศุลกากร • สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย • - สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย • - กระทรวงพาณิชย์ • กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ • กรมการค้าต่างประเทศ • กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ • สำนักงานพาณิชย์จังหวัด • -  ศูนย์พัฒนาการค้าและธุรกิจไทยในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน • กรมศุลกากร • สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย • - หอการค้าจังหวัด • - สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย การทำธุรกิจการค้า • สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ • ศูนย์พัฒนาการค้าและธุรกิจไทยในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน • สถานเอกอัครราชทูต • สมาคมธุรกิจ • กระทรวงอุตสาหกรรม • สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) • กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ • สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย • - หอการค้าจังหวัด • - สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย • - อุตสาหกรรมจังหวัด การลงทุน

  45. โอกาสเศรษฐกิจที่ประตูชายแดน • ประเทศไทยมีพรมแดนติดต่อประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ คือ - ลาว 1,810 กิโลเมตร 12 จังหวัด (เช่น เชียงราย เลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร และอุบลราชธานี เป็นต้น) - เมียนมาร์ 2,401 กิโลเมตร 10 จังหวัด (เช่น แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และระนอง เป็นต้น) - กัมพูชา 798 กิโลเมตร 7 จังหวัด (เช่น อรัญประเทศ ตราด จันทบุรี ศรีสะเกษ และสุรินทร์ เป็นต้น) - มาเลเซีย 498 กิโลเมตร 5 จังหวัด (เช่น สงขลา นราธิวาส และปัตตานี เป็นต้น) • พรมแดนชายแดนประเทศยาวรวม 5,500 กิโลเมตร • จังหวัดชายแดนไทย 32 จังหวัด (เชียงราย มีพรมแดนติดต่อกับเมียนมาร์และลาว และอุบลราชธานี มีพรมแดนติดต่อกับลาวและกัมพูชา) คิดเป็นร้อยละ 42 ของจังหวัด ทั่วประเทศ

  46. ช่องทางการค้าชายแดน จุดผ่านแดน หมายถึง ช่องทางที่เปิดระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดต่อกัน

  47. เส้นทางการขนส่งภายใต้กรอบ GMS

  48. เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ ในกรอบ GMS • เส้นทางเศรษฐกิจ 3 เส้นทาง ทุกเส้นทาง 4 ประเทศเข้าร่วม แต่ละเส้นทางระยะทางประมาณ 1,800 กิโลเมตร เรียงลำดับ ดังนี้ 1. ระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) เมียนมาร์-ไทย-ลาว-เวียดนาม 2. ระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor: NSEC) จีน-ลาว-ไทย และ จีน-เมียนมาร์-ไทย 3. ระเบียงเศรษฐกิจแนวตอนใต้ (Southern Economic Corridor: SEC) เวียดนาม-กัมพูชา-ไทย-เมียนมาร์ SEC EWEC NSEC

  49. การค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ปี 2555

  50. สินค้าชายแดนนำเข้า-ส่งออก

More Related