1 / 50

บทที่ 1

บทที่ 1. ตรรกศาสตร์. ภาพรวมเนื้อหา. ประพจน์ และ ค่าความจริงของประพจน์ ตัวดำเนินการตรรกะ NOT AND , OR , XOR ถ้า...แล้ว ก็ต่อเมื่อ การสมมูลกันของประพจน์. ตรรกศาสตร์ (Logic). เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาวิธีการให้เหตุผลที่สมเหตุสมผลอย่างมีระบบ

kairos
Download Presentation

บทที่ 1

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 1 ตรรกศาสตร์

  2. ภาพรวมเนื้อหา • ประพจน์ และ ค่าความจริงของประพจน์ • ตัวดำเนินการตรรกะ • NOT • AND , OR , XOR • ถ้า...แล้ว • ก็ต่อเมื่อ • การสมมูลกันของประพจน์

  3. ตรรกศาสตร์ (Logic) • เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาวิธีการให้เหตุผลที่สมเหตุสมผลอย่างมีระบบ • ถูกคิดค้นโดยนักปรัชญาชาวกรีก ชื่อ Aristotle • ตรรกศาสตร์สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวาง เช่น • ออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์แบบดิจิตอล • แสดงเงื่อนไขในโปรแกรม • สอบถามข้อมูลในฐานข้อมูล และ โปรแกรมค้นหา (search engines)

  4. การให้เหตุผล • ในการให้เหตุผลจะต้องใช้ภาษาที่สื่อความหมายได้ชัดเจน ไม่คลุมเครือ • ประโยคทุกประเภทสามารถใช้ในการให้เหตุผลได้หรือไม่ ??? • เราเรียกประโยคที่มีลักษณะนี้ว่า “ประพจน์” • เรียกค่าความเป็นจริงหรือเท็จของประพจน์ว่า “ค่าความจริงของประพจน์” ไม่ ประโยคที่สามารถใช้ในการให้เหตุผลได้ จะเป็นประโยคที่สามารถตัดสินได้ทันทีว่า ประโยคนั้นเป็นจริงหรือเป็นเท็จอย่างใดอย่างหนึ่ง

  5. ตัวอย่างของประโยคที่เป็นประพจน์ตัวอย่างของประโยคที่เป็นประพจน์ สังเกตว่าประโยคที่เป็นประพจน์จะอยู่ในรูปประโยคบอกเล่า หรือ ประโยคปฏิเสธ

  6. ตัวอย่างประโยคที่ไม่เป็นประพจน์ตัวอย่างประโยคที่ไม่เป็นประพจน์

  7. แบบฝึกหัดที่ 1 จากตัวอย่างประโยคที่กำหนดให้ เป็นประพจน์หรือไม่ และถ้าเป็นประพจน์ค่าความจริงของประพจน์ดังกล่าวคืออะไร • แมวเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม • เดือนมกราคมมี 29 วัน • 3 เป็นจำนวนเฉพาะ • ช่วยกันรักษาความสะอาด • แมงมุมมีกี่ขา • อุ๊ย.. ว๊ายต๊าย ตาย!!! • 4 + 8 > 6 • อย่าบอกลากันอีกเลย • ฉันอยากไปดูหนัง T F T ไม่เป็น ไม่เป็น ไม่เป็น T ไม่เป็น ไม่เป็น

  8. ค่าความจริงของประพจน์ค่าความจริงของประพจน์ • โดยปกติ ค่าความจริงที่เป็นไปได้ของ 1 ประพจน์ เป็นไปได้ 2 ค่า คือ จริง กับ เท็จ • หากมีการเชื่อมประพจน์ย่อย หลายๆประพจน์เข้าด้วยกัน การพิจารณาค่าความจริงของประพจน์จะต้องพิจารณาค่าที่เป็นไปได้ในทุกกรณีของแต่ละประพจน์ย่อย • การคำนวณกรณีที่เป็นไปได้ของประพจน์ ทำได้ดังนี้ • ถ้ามี 1 ประพจน์ จะมีกรณีที่เป็นไปได้ 2 กรณี (2^1 = 2) • ถ้ามี 2 ประพจน์ จะมีกรณีที่เป็นไปได้ 4 กรณี (2^2 = 4) • ถ้ามี nประพจน์ จะมีกรณีที่เป็นไปได้ 2^nกรณี

  9. ตัวดำเนินการ/ตัวเชื่อม (Operators/Connectives) • ในชีวิตจริง เราไม่ได้ใช้ประพจน์เดี่ยวๆ เรามักจะใช้คำเหล่านี้ “และ” “หรือ” “ซึ่ง” “ถ้า” “แต่” “ที่” “เมื่อ” เพื่อช่วยเชื่อมประพจน์ให้สื่อความหมายได้ซับซ้อนมากขึ้น • คำเหล่านี้เราเรียกว่า “ตัวดำเนินการทางตรรกะ” โดยแต่ละตัวมีความหมายที่แตกต่างกัน • ประเภทของตัวดำเนินการ (operators) • Unary operators ใช้กับตัวถูกดำเนินการเพียงตัวเดียว หรือ ประพจน์เพียงประพจน์เดียว • Not • Binary operators ใช้กับตัวถูกดำเนินการสองตัว หรือ ใช้เชื่อมสองประพจน์เข้าเป็นประโยคเดียว • AND • OR • XOR

  10. ตัวดำเนินการทางตรรกะ (Boolean Operators) • ตัวดำเนินการทางตรรกะที่จะศึกษาในบทนี้ มีดังนี้

  11. ตัวดำเนินการ “นิเสธ” (Negation operator) • ตัวดำเนินการ “นิเสธ” ถูกใช้สำหรับสร้างประโยคที่เป็นปฏิเสธ • สมมุติให้ P คือประพจน์ • โครงสร้างของตัวดำเนินการ “นิเสธ” คือ Not P • สังเกตว่า ตัวดำเนินการ “นิเสธ” ใช้เชื่อมประพจน์ย่อยเพียง 1 ประพจน์ • เราเรียกตัวดำเนินการรูปแบบนี้ว่า Unary operators

  12. ตารางค่าความจริง • ตารางค่าความจริงของประพจน์ P สามารถเขียนได้ดังนี้ • ตัวดำเนินการ “นิเสธ” ทำหน้าที่เปลี่ยนค่าความจริง ให้เป็นในทางตรงกันข้าม • เช่น • ถ้าประพจน์ P มีค่าความจริงเป็น จริง • “นิเสธ” ของ P มีค่าความจริงเป็น เท็จ

  13. ตัวอย่าง ตัวดำเนินการ“นิเสธ” • ให้ R แทนประพจน์ “17 ไม่เป็นจำนวนเฉพาะ” • P แทน ประพจน์ย่อย “17 เป็นจำนวนเฉพาะ” • ดังนั้น R แทน Not P • การตัดสินค่าความจริงของประพจน์ R จะพิจารณาค่าความจริงของประพจน์ P • ประพจน์ P มีค่าความจริงเป็น • ดังนั้น ประพจน์ R มีค่าความจริงเป็น เท็จ • จริง

  14. การเขียนตัวดำเนินการ“นิเสธ” ในรูปสัญลักษณ์ • ตัวดำเนินการ “นิเสธ” สามารถเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ ~ • ตัวอย่างเช่น นิเสธ p สามารถเขียนในรูปสัญลักษณ์ได้เป็น ~p

  15. ตัวดำเนินการ “และ” (Conjunction Operator) • ประโยคที่เกิดจากการเชื่อมประพจน์ย่อยด้วยตัวเชื่อม “และ” จะมีค่าความจริงเป็น • จริง เมื่อ ประพจน์ย่อยทุกประพจน์มีค่าความจริงเป็น • เท็จ เมื่อ ประพจน์ย่อยบางประพจน์มีค่าความจริงเป็น • ตารางค่าความจริงของประพจน์ P และ Q สามารถเขียนได้ดังนี้ • จริง • เท็จ

  16. ตัวอย่างการพิจารณาค่าความจริง ตัวดำเนินการ “และ” • ให้ R แทนประพจน์ “กรุงเทพและลอนดอนเป็นเมืองหลวง” • P แทน ประพจน์ย่อย “กรุงเทพเป็นเมืองหลวง” • Q แทน ประพจน์ย่อย “ลอนดอนเป็นเมืองหลวง” • การตัดสินค่าความจริงของประพจน์ R ต้องพิจารณาค่าความจริงของประพจน์ย่อย P และ Q • ประพจน์ย่อย (P) “กรุงเทพเป็นเมืองหลวง” มีค่าความจริงเป็น • ประพจน์ย่อย (Q) “ลอนดอนเป็นเมืองหลวง” มีค่าความจริงเป็น • ดังนั้น ประพจน์ (R) “กรุงเทพและลอนดอนเป็นเมืองหลวง” มีค่าความจริงเป็น • จริง • จริง • จริง

  17. การเขียนตัวดำเนินการ “และ” ในรูปสัญลักษณ์ • ตัวดำเนินการ “และ” สามารถเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ ^ • ตัวอย่างเช่น p และ q สามารถเขียนในรูปสัญลักษณ์ได้เป็น p ^ q

  18. ตัวดำเนินการ“หรือ” (Disjunction Operator) • ประโยคที่เกิดจากการเชื่อมประพจน์ย่อยด้วยตัวดำเนินการ “หรือ” มีค่าความจริงเป็น • เท็จ เมื่อ ประพจน์ย่อยทุกประพจน์มีค่าความจริงเป็น • จริง เมื่อมีอย่างน้อย 1 ประพจน์ที่มีค่าความจริงเป็น • ตารางค่าความจริงของประพจน์ P หรือ Q สามารถเขียนได้ ดังนี้ • เท็จ • จริง

  19. ตัวอย่างการพิจารณาค่าความจริง ตัวดำเนินการ “หรือ” • ให้ R แทนประพจน์ “4 เป็นจำนวนเต็ม หรือ เป็นจำนวนเฉพาะ” • P แทน ประพจน์ย่อย “4 เป็นจำนวนเต็ม” • Q แทน ประพจน์ย่อย “4 เป็นจำนวนเฉพาะ” • การตัดสินค่าความจริงของประพจน์ R ต้องพิจารณาค่าความจริงของประพจน์ย่อย P และ Q • ประพจน์ย่อย P มีค่าความจริงเป็น • ประพจน์ย่อย Q มีค่าความจริงเป็น • ดังนั้น ประพจน์ R มีค่าความจริงเป็น • จริง • เท็จ • จริง

  20. การเขียนตัวดำเนินการ “หรือ” ในรูปสัญลักษณ์ • ตัวดำเนินการ “หรือ” สามารถเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ v • ตัวอย่างเช่น p หรือ q สามารถเขียนในรูปสัญลักษณ์ได้เป็น p v q

  21. ตัวดำเนินการExclusive-OR Operator • ประโยคที่เกิดจากการเชื่อมประพจน์ย่อยด้วยตัวดำเนินการ “XOR” มีค่าความจริงเป็น • เท็จ เมื่อ ประพจน์ย่อยทุกประพจน์มีค่าความจริง เหมือนกัน • จริง เมื่อ ประพจน์ย่อยทุกประพจน์มีค่าความจริง ต่างกัน • ตารางค่าความจริงของประพจน์ P หรือ Q สามารถเขียนได้ ดังนี้ • ข้อสังเกต ตัวดำเนินการนี้คล้ายกับตัวดำเนินการ “หรือ” ต่างกันตรงที่ต้องเป็นจริงแค่ประพจน์ใดประพจน์หนึ่ง ห้ามเป็นจริงทั้งคู่

  22. ตัวอย่างการพิจารณาค่าความจริง ตัวดำเนินการ “XOR” • ให้ R แทนประพจน์ “ฉันได้เกรด A วิชานี้ หรือ ฉันได้เกรด B วิชานี้” • P แทน ประพจน์ย่อย “ฉันได้เกรด A วิชานี้ ” • Q แทน ประพจน์ย่อย “ฉันได้เกรด B วิชานี้” • การตัดสินค่าความจริงของประพจน์ R ต้องพิจารณาค่าความจริงของประพจน์ย่อย P และ Q • ประพจน์ย่อย P มีค่าความจริงเป็น จริง • ประพจน์ย่อย Q มีค่าความจริงเป็น เท็จ • ดังนั้น ประพจน์ R มีค่าความจริงเป็น จริง

  23. การเขียนตัวดำเนินการ “XOR” ในรูปสัญลักษณ์ • ตัวดำเนินการ “XOR” สามารถเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ ⊕ • ตัวอย่างเช่น p XOR q สามารถเขียนในรูปสัญลักษณ์ได้เป็น p ⊕ q

  24. ตัวดำเนินการ “ถ้า...แล้ว” (Implication operator) • ตัวดำเนินการชนิดนี้ มักใช้สำหรับการสร้างประโยคที่เป็นเงื่อนไข • ประโยคที่เป็นเงื่อนไขจะมีโครงสร้างดังนี้ ถ้า .........เหตุ............. แล้ว .............ผล............ • ค่าความจริงของประพจน์ที่เชื่อมด้วย ถ้า...แล้ว จะมีค่าเป็นจริง เมื่อ • เหตุมีค่าเป็น จริง แล้วผลมีค่าเป็น จริง ด้วย • เหตุมีค่าเป็น เท็จ ผล อาจจะมีค่าเป็น จริง หรือ เท็จ ก็ได้ • ค่าความจริงของประพจน์ที่เชื่อมด้วย ถ้า...แล้ว จะมีค่าเป็นเท็จ เมื่อ • เหตุมีค่าเป็น จริง และ ผลมีค่าเป็น เท็จ

  25. ตารางค่าความจริง • ตารางค่าความจริงของประพจน์ ถ้า P แล้ว Q สามารถเขียนได้ดังนี้

  26. ตัวอย่าง ตัวดำเนินการ “ถ้า...แล้ว” • ให้ R แทนประพจน์ “ถ้า -5 เป็นจำนวนนับ แล้ว -5 เป็นจำนวนเต็มบวก” • P แทน ประพจน์ย่อย “-5 เป็นจำนวนนับ” • Q แทน ประพจน์ย่อย “-5 เป็นจำนวนเต็มบวก” • การตัดสินค่าความจริงของประพจน์ R จะต้องพิจารณาค่าความจริงของประพจน์ย่อย P และ Q • ประพจน์ย่อย P มีค่าความจริงเป็น • ประพจน์ย่อย Q มีค่าความจริงเป็น • ดังนั้น ประพจน์ R มีค่าความจริงเป็น • เท็จ • เท็จ • จริง

  27. การเขียนตัวดำเนินการ “ถ้า...แล้ว” ในรูปสัญลักษณ์ • ตัวดำเนินการ “ถ้า...แล้ว” สามารถเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ => • ตัวอย่างเช่น ถ้า p แล้ว q สามารถเขียนในรูปสัญลักษณ์ได้เป็น p => q

  28. ตัวดำเนินการ “ก็ต่อเมื่อ” (Biconditional operator) • ประโยคที่เกิดจากการเชื่อมประพจน์ย่อยด้วยตัวดำเนินการ “ก็ต่อเมื่อ” มีค่าความจริงเป็น • จริง เมื่อ ประพจน์ย่อยทุกประพจน์มีค่าความจริง เหมือนกัน • เท็จเมื่อ ประพจน์ย่อยทุกประพจน์มีค่าความจริง ต่างกัน • ตารางค่าความจริงของประพจน์ P ก็ต่อเมื่อ Q สามารถเขียนได้ดังนี้

  29. ตัวอย่าง ตัวดำเนินการ “ก็ต่อเมื่อ” • ให้ R แทนประพจน์ “11 เป็นจำนวนคู่ ก็ต่อเมื่อ 11 หารด้วย 2 ลงตัว” • P แทน ประพจน์ย่อย “11 เป็นจำนวนคู่ ” • Q แทน ประพจน์ย่อย “11 หารด้วย 2 ลงตัว” • การตัดสินค่าความจริงของประพจน์ R จะต้องพิจารณาค่าความจริงของประพจน์ย่อย P และ Q • ประพจน์ย่อย P มีค่าความจริงเป็น • ประพจน์ย่อย Q มีค่าความจริงเป็น • ดังนั้น ประพจน์ R มีค่าความจริงเป็น • เท็จ • เท็จ • จริง

  30. การเขียนตัวดำเนินการ “ก็ต่อเมื่อ” ในรูปสัญลักษณ์ • ตัวดำเนินการ “ก็ต่อเมื่อ” สามารถเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ <=> • ตัวอย่างเช่น p ก็ต่อเมื่อ q สามารถเขียนในรูปสัญลักษณ์ได้เป็น p <=> q

  31. หลักการจำง่ายๆ • ตัวดำเนินการ • “และ” เป็น เท็จ เมื่อมีประพจน์ย่อยอย่างน้อย 1 ที่เป็น เท็จ • “หรือ” เป็น จริง เมื่อมีประพจน์ย่อยอย่างน้อย 1 ที่เป็น จริง • “XOR เป็น จริง เมื่อ ประพจน์ย่อยมีค่าความจริงต่างกัน • “ถ้า...แล้ว” เป็น เท็จ เมื่อ เหตุเป็น จริง แต่ผลเป็น เท็จ • “ก็ต่อเมื่อ” เป็น จริง เมื่อ ประพจน์ย่อยมีค่าความจริงเหมือนกัน • “นิเสธ” เป็น ตรงข้ามกับค่าความจริงของประพจน์

  32. แบบฝึกหัดที่ 2 • ให้จับคู่ความสัมพันธ์ของข้อความด้านซ้าย และ ด้านขวา • และ ( ^ ) A. เปลี่ยนค่าความจริงของประพจน์เป็นตรงข้าม • หรือ ( v ) B. เป็นจริงกรณีเดียว เมื่อประพจน์ย่อยเป็นจริงทุกประพจน์ • XOR ( ⊕ ) C. เป็นเท็จกรณีเดียว เมื่อเหตุเป็นจริง และ ผลเป็นเท็จ • ถ้า...แล้ว... (=>) D. เป็นจริงเมื่อประพจน์ย่อยมีค่าความจริงเหมือนกัน • ก็ต่อเมื่อ (<=>) E. เป็นจริงเมื่อมีประพจน์ย่อยใดประพจน์หนึ่งเป็นจริง • นิเสธ ( ~ ) G. เป็นจริงเมื่อประพจน์ย่อยมีค่าความจริงต่างกัน H. เป็นเท็จกรณีเดียว เมื่อประพจน์ย่อยเป็นเท็จทุกประพจน์

  33. การสมมูล (Equivalence) • ประพจน์ที่เขียนต่างกัน แต่มีค่าความจริงเหมือนกันทุกกรณี เราจะถือว่า ประพจน์ทั้งสอง“สมมูล” กัน • ประพจน์ที่สมมูลกันสามารถนำไปใช้แทนกันได้ • พิจารณาตารางค่าความจริงของ 2 ประพจน์นี้ p -> q กับ ~p v q • ดังนั้น ประพจน์ p->q สมมูลกับ ~p v q • รูปแบบการสมมูลเขียนเป็นสัญลักษณ์ได้ดังนี้ p  q หรือ p  q

  34. การสมมูลกันในแต่ละตัวดำเนินการการสมมูลกันในแต่ละตัวดำเนินการ • ตัวดำเนินการ “หรือ” • ตัวดำเนินการ “และ” • ตัวดำเนินการ “ถ้า...แล้ว” • ตัวดำเนินการ “ก็ต่อเมื่อ”

  35. การสมมูลกันของตัวดำเนินการ “หรือ” ลองสลับที่ สังเกตว่า การสลับที่ยังคงให้ค่าความจริงเหมือนเดิม ดังนั้น P v Q  Q v P

  36. การสมมูลกันของตัวดำเนินการ “หรือ” นอกเหนือจากการสลับที่ ยังมีการสมมูลในรูปแบบอื่นๆอีก ดังนี้

  37. การสมมูลกันของตัวดำเนินการ “หรือ” • ข้อควรระวัง • ถ้าเจอ P v Q  P v R ห้าม สรุปว่า P v R เด็ดขาด • การสมมูลรูปแบบอื่นๆ เพิ่มเติม • (P v Q) v R  P v (Q v R)  P v Q v R (เชื่อมด้วย “v” ทั้งหมด จัดกลุ่มใหม่ได้ ถอดวงเล็บได้) • ~(P v Q)  ~P ^ ~Q (ลุยนิเสธเข้าไปในวงเล็บ แล้วเปลี่ยนตัวเชื่อม)

  38. การสมมูลกันของตัวดำเนินการ “และ” ลองสลับที่ สังเกตว่า การสลับที่ยังคงให้ค่าความจริงเหมือนเดิม ดังนั้น P ^ Q  Q ^ P

  39. การสมมูลกันของตัวดำเนินการ “และ” นอกเหนือจากการสลับที่ ยังมีการสมมูลในรูปแบบอื่นๆอีก ดังนี้

  40. การสมมูลกันของตัวดำเนินการ “และ” • ข้อควรระวัง • ถ้าเจอ P ^ Q  P ^ R ห้าม สรุปว่า P ^ R เด็ดขาด • การสมมูลรูปแบบอื่นๆ เพิ่มเติม • (P ^ Q) ^ R  P ^ (Q ^ R)  P ^ Q ^ R (เชื่อมด้วย “^” ทั้งหมด จัดกลุ่มใหม่ ถอดวงเล็บได้) • ~(P ^ Q)  ~P v ~Q (ลุยนิเสธเข้าไปในวงเล็บ แล้วเปลี่ยนตัวเชื่อม)

  41. การสมมูลกันของตัวดำเนินการ “และ” • การสมมูลรูปแบบอื่นๆ เพิ่มเติม • P v (Q ^ R)  (P v Q) ^ (P v R) • P ^ (Q v R)  (P ^ Q) v (P ^ R)

  42. การสมมูลกันของตัวดำเนินการ “ถ้า...แล้ว” • สำหรับตัวดำเนินการชนิดนี้ ไม่มีสมบัติในการสลับที่ นั่นคือ • P -> Q  Q -> P เรียกว่า บทกลับ (Converse) • P -> Q  ~P -> ~Q เรียกว่า ข้อความผกผัน (Inverse) • P -> Q  ~Q -> ~P เรียกว่า ข้อความแย้งสลับที่ (Contrapositive)

  43. การสมมูลกันของตัวดำเนินการ “ถ้า...แล้ว”

  44. การสมมูลกันของตัวดำเนินการ “ถ้า...แล้ว”

  45. การสมมูลกันของตัวดำเนินการ “ถ้า...แล้ว” • ข้อควรระวัง • ถ้าเจอ P -> Q  P -> R ห้าม สรุปว่า P -> R เด็ดขาด • การสมมูลรูปแบบอื่นๆ เพิ่มเติม • P -> (Q v R)  (P -> Q) v (P->R) P -> (Q ^ R)  (P->Q) ^ (P -> R) • (P v Q) -> R  (P -> R) ^ (Q -> R) (P ^ Q) -> R  (P -> R) v (Q -> R) ถูกชี้เครื่องหมายไม่เปลี่ยน ไปชี้เครื่องหมายเปลี่ยน

  46. การสมมูลกันของตัวดำเนินการ “ก็ต่อเมื่อ” ลองสลับที่ สังเกตว่า การสลับที่ยังคงให้ค่าความจริงเหมือนเดิม ดังนั้น P <-> Q  Q <-> P

  47. การสมมูลกันของตัวดำเนินการ “ก็ต่อเมื่อ” • ถ้าเติมนิเสธไปทั้ง 2 ข้างให้กับประพจน์ P <-> Q จะพบว่า • ~P <-> ~Q  P <-> Q • ถ้าใส่นิเสธให้กับประพจน์ (P <->Q) จะได้ว่า • ~(P <->Q)  ~P <-> Q  P <-> ~Q • นอกจากนี้ ยังมีสมบัติการเปลี่ยนกลุ่มด้วย • P <-> (Q <-> R)  (P <-> Q) <-> R  P <-> Q <-> R ใส่นิเสธแค่ตัวเดียวพอ

  48. กฎการสมมูล (Equivalence Laws)

  49. กฎการสมมูล (Equivalence Laws)

  50. คำถาม ???

More Related