1 / 103

โรคยางพารา

โรคยางพารา. จัดทำโดย ผศ. อดิศักดิ์ บ้วนกียาพันธุ์. โรคพืชที่เกิดจากสภาวะ แวดล้อม. อาการเปลือกแห้ง Tapping panel dryness. ลักษณะอาการ หลังจากกรีดยางแล้วน้ำยางแห้งเป็นจุด อยู่ตามรอยกรีดยาง น้ำยางจางลง เปลือกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน แยกจากกันเป็นชั้นๆ. ลักษณะอาการ(ต่อ)

kaili
Download Presentation

โรคยางพารา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โรคยางพารา จัดทำโดย ผศ. อดิศักดิ์ บ้วนกียาพันธุ์

  2. โรคพืชที่เกิดจากสภาวะโรคพืชที่เกิดจากสภาวะ แวดล้อม

  3. อาการเปลือกแห้งTapping panel dryness ลักษณะอาการ • หลังจากกรีดยางแล้วน้ำยางแห้งเป็นจุด อยู่ตามรอยกรีดยาง • น้ำยางจางลง • เปลือกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน แยกจากกันเป็นชั้นๆ

  4. ลักษณะอาการ(ต่อ) • ถ้ายังกรีดยางต่อเปลือกยางจะแห้งสนิทเปลือกใต้รอยกรีดแตก ขยายบริเวณจนถึงพื้นดินและหลุดออก

  5. สาเหตุ • ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน • มีรายงานว่าเป็นความผิดปกติทางสรีรวิทยาของต้นยาง เช่น - การใช้ระบบกรีดหักโหม - การใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง - ความผิดปกติของพันธุ์ยาง และสภาพแวดล้อม

  6. การป้องกันกำจัด • ถ้าเริ่มแสดงอาการเปลือกแห้งให้หยุดกรีดทันที อย่างน้อย 6-12 เดือน หรือจนกว่าน้ำยางจะไหลเป็นปกติ • ใส่ปุ๋ยบำรุงต้นยาง • ใช้ระบบกรีดให้เหมาะสมกับพันธุ์ยางและไม่กรีดหักโหมติดต่อกันเป็นเวลานาน • ไม่ควรใช้สารเคมีเร่งน้ำยางสำหรับสวนที่พบต้นยางเริ่มแสดงอาการเปลือกแห้ง

  7. อาการตายจากยอดDie back ลักษณะอาการ • ใบอ่อนเริ่มเหี่ยวและแห้งจากปลายกิ่งหรือปลายยอด ลุกลามเข้ามาหาส่วนโคนทีละน้อย • กรณีอาการเป็นอย่างช้าๆ กิ่งและลำต้นที่ยังไม่ตายจะแตกแขนงใหม่เพื่อเจริญต่อไป

  8. ลักษณะอาการ(ต่อ) • ถ้าอาการแห้งตายเป็นไปอย่างรวดเร็ว จะแห้งตายตลอดต้นในระยะเวลาอ้นสั้น • เปลือกล่อนออกจากเนื้อไม้ มองเห็นเชื้อราสีดำหรือขาวเกิดขึ้นบริเวณด้านในของเปลือก

  9. สาเหตุ • อากาศแห้งแล้งจัดเป็นเวลานานติดต่อกัน ทำให้ดินบริเวณรอบๆ รากขาดน้ำ หรือในดินทรายจัดซึ่งมีลักษณะไม่อุ้มน้ำ • การมีแผ่นหินดาน หรือโครงสร้างคล้ายดินดาน อยู่ใต้พื้นดินระดับสูงกว่า 1 เมตร ขึ้นมา • เชื้อสาเหตุโรคบางชนิดเข้าทำลาย เช่น โรคใบจุดนูน โรคราแป้ง โรคใบจุดก้างปลา • สารเคมีตกค้างในดิน เช่น สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช • การใส่ปุ๋ยมากเกินไป

  10. การป้องกันกำจัด • ตัดกิ่งหรือยอดส่วนที่แห้งออก โดยตัดให้ต่ำลงมา 1-2 นิ้วแล้วใช้สารเคมีป้องกันกำเชื้อราทาบริเวณรอยแผล • บำรุงรักษาต้นยางให้สมบูรณ์อยู่เสมอ • แก้ไขสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น ความแห้งแล้งให้รดน้ำตามความจำเป็น หรือใช้วัสดุคลุมดินรอบโคนต้น • ถ้าเกิดโรคระบาด ให้ทำการรักษาตามคำแนะนำ • การใช้ปุ๋ยและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

  11. อาการที่เกิดจากฟ้าผ่าLightning strike ลักษณะอาการ • พบทุกระยะการเจริญเติบโต ต้นที่ถูกทำลายจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม อาจเป็น 5-6 ต้น อาการจะปรากฏทันที • ใบที่มีสีเขียวร่วงหล่นเหลือแต่ ก้านใบติดอยู่

  12. ลักษณะอาการ(ต่อ) • ลำต้นอาจปริ เปลือกแตก น้ำยางไหล • เมื่อเฉือนเปลือกออก พบว่าเนื้อเยื่อ ส่วนที่เป็นท่อน้ำท่ออาหารเป็นสีน้ำตาล • ต่อมาจะเป็นสีม่วงอย่างรวดเร็ว และ กลายเป็นสีดำในที่สุด • ลำต้นของต้นยางที่ถูกฟ้าผ่า อาจพบแผล เน่าเป็นแผ่น ๆ ซึ่งทำให้เข้าวใจว่าเกิดจาก เชื้อรา ท่อน้ำท่ออาหารเป็นสีน้ำตาล

  13. ลักษณะอาการ(ต่อ) • แผลเน่าจะเกิดทุกแห่งบนลำต้น ขนาดแผล 2-3 ตารางนิ้ว • มีของเหลวสีม่วงไหลออกมา • ถ้าตัดแผลเน่าออกดูจะเห็นชั้นใต้เปลือกแทนที่จะเป็นสีครีมกลับเป็นสีคล้ายเหล้าองุ่น ซึ่งจะมีสีม่วงแดงภายใน 2-3 วัน • บริเวณโคนต้นส่วนที่ติดกับพื้นดินจะยังสดอยู่ บริเวณโคนต้นยังสดอยู่

  14. การป้องกันกำจัด • ต้นที่ตายควรขุดออก • ต้นที่ถูกทำลายเพียงบางส่วน ควรตัดส่วนที่แห้งออก แล้วทาบาดแผลด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา

  15. อาการที่เกิดจากการขาดอาการที่เกิดจากการขาด ธาตุอาหาร

  16. ธาตุอาหารหลัก

  17. อาการที่เกิดจากการขาดธาตุไนโตรเจน(N)อาการที่เกิดจากการขาดธาตุไนโตรเจน(N) • ในต้นยางอ่อนที่ยังไม่แตกกิ่งก้าน ใบแก่หรือใบล่างมีสีซีด โดยทั่วไปมีสีสม่ำเสมอทั้งใบ

  18. อาการที่เกิดจากการขาดธาตุฟอสฟอรัส(P)อาการที่เกิดจากการขาดธาตุฟอสฟอรัส(P) • อาการบนใบที่อยู่กลางลำต้นจนถึงปลายยอด ผิวใบด้านบน • มีสีเหลืองอมน้ำตาล ผิวใบด้านล่างมีสีเหลืองแดง

  19. อาการที่เกิดจากการขาดธาตุโปแตสเซียม(K)อาการที่เกิดจากการขาดธาตุโปแตสเซียม(K) • เนื้อเยื่อของใบแก่หรือใบล่าง มีสีเหลือง และพบอาการไหม้ ที่ปลายใบ • ในต้นยางที่สร้างทรงพุ่มแล้ว ใบจะมีอาการเหลืองซีด แต่สีไม่ สม่ำเสมอ • อาการเหลืองผิดปกติ ไม่สามาแยกขอบเขตของเนื้อเยื่อระหว่างสีเหลือง • ซีดและเขียวได้ชัดเจน มักแสดงอาการมากๆ รอบขอบใบ

  20. ธาตุอาหารรอง

  21. อาการที่เกิดจากการขาดธาตุแมกนีเซียม(Mg)อาการที่เกิดจากการขาดธาตุแมกนีเซียม(Mg) • อาการที่ใบแก่หรือใบล่าง มีสีเหลืองซีดแต่ไม่สม่ำเสมอ เนื้อเยื่อ • ระหว่างเส้นใบมีสีเหลืองไปจนถึงขอบใบ • อาการบนใบที่ได้รับแสงเต็มที่ ปกติพบที่ยอดใบมีอาการเหลืองซีด • แต่ไม่สม่ำเสมอ เนื้อเยื่อระหว่างเส้นใบมีสีเหลือง จนถึงขอบใบ

  22. อาการที่เกิดจากการขาดธาตุแคลเซียม(Ca)อาการที่เกิดจากการขาดธาตุแคลเซียม(Ca) • อาการบนฉัตรยอด หรือยอดที่แตกใหม่ ในใบมีรูปร่างปกติปลายใบและขอบใบไหม้ สีน้ำตาลซีดโดยไม่มีอาการเหลืองซีดมาก่อน • ต้นยางแก่ที่สร้างทรงพุ่มแล้ว บนใบที่อยู่ในร่มเงาของทรงพุ่ม มีอาการไหม้แห้ง สีน้ำตาลซีด

  23. อาการที่เกิดจากการขาดธาตุกำมะถัน(S)อาการที่เกิดจากการขาดธาตุกำมะถัน(S) • อาการบนฉัตรยอด หรือยอดที่แตกใหม่ ในใบรูปร่างปกติ เริ่มแรกใบมีอาการเหลืองซีดต่อมาเกิดอาการไหม้แห้งที่ปลายใบ

  24. ธาตุอาหารเสริม

  25. อาการที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็ก(Fe)อาการที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็ก(Fe) • อาการบนฉัตรยอด หรือยอดที่แตกใหม่ ในใบที่มีรูปร่างปกติ ใบจะมีขนาดเล็กมาก ไม่มีอาการไหม้ สีเขียวซีดถึงเหลืองอมเขียว • ในต้นยางแก่ที่สร้างทรงพุ่มแล้ว บนใบที่ได้รับแสงเต็มที่ ปกติพบที่ยอด ใบมีอาการเหลืองซีด สีเสมอกัน ใบมีสีเหลืองซีดหรือเหลืองอมเขียว

  26. อาการที่เกิดจากการขาดธาตุแมงกานีส (Mn) • อาการบนใบแก่ หรือใบล่าง ใบมีสีเหลืองซีด แต่สีไม่สม่ำเสมอทั้งใบ เนื้อเยื่อระหว่างเส้นใบมีสีเหลืองไปจนถึงขอบใบ • อาการที่ใบกลางลำต้นจนถึงปลายยอดใบเหลืองซีด หรือสีเขียวอ่อน ส่วนบริเวณเส้นกลางใบและเส้นใบมีสีเขียวเข้ม • อาการบนใบที่อยู่ในร่มเงาของทรงพุ่ม ไม่มีอาการไหม้แห้ง ใบมีสีเขียวซีด เส้นกลางและเส้นใบยังมีสีเขียวเข้ม

  27. อาการที่เกิดจากการขาดธาตุโบรอน(B)อาการที่เกิดจากการขาดธาตุโบรอน(B) • อาการบนฉัตรยอด หรือยอดที่แตกใหม่ ในใบผิดรูปผิดร่าง ใบมีขนาดเล็กลงเล็กน้อย มีสีเขียวเข้ม รูปร่างผิดปกติ

  28. อาการที่เกิดจากการขาดธาตุทองแดง(Cu)อาการที่เกิดจากการขาดธาตุทองแดง(Cu) • อาการบนฉัตรยอด หรือยอดที่แตกใหม่ ในใบที่มีรูปร่างปกติ ใบเล็ก ปลายใบไหม้ มีการแตกตาข้างจำนวนมาก

  29. อาการที่เกิดจากการขาดธาตุสังกะสี(Zn)อาการที่เกิดจากการขาดธาตุสังกะสี(Zn) • อาการบนฉัตรยอด หรือยอดที่แตกใหม่ ในใบผิดรูปผิดร่าง ใบจะเล็ก มีลักษณะเรียวยาว ขอบใบเป็นคลื่น

  30. อาการที่เกิดจากการขาดธาตุโมลิบดินัม(Mo)อาการที่เกิดจากการขาดธาตุโมลิบดินัม(Mo) • อาการบนใบแก่ หรือใบล่าง ใบมีสีเขียวปกติ แต่มีอาการขอบใบไหม้ขยายวงกว้าง

  31. การป้องกันและแก้ไข • ก่อนปลูกยางพารา ควรทำการวิเคราะห์ดินว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ หากสภาพของดินอยู่ในสภาวะที่ยากต่อการแก้ไขควรหลีกเลี่ยงการปลูกยางในพื้นที่นั้น ในกรณีที่สามารถปรับปรุงสภาพดินได้ ควรกระทำก่อนเริ่มลงมือปลูกยาง • การปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่ว จะช่วยลดอาการขาดธาตุไนโตรเจนได้ และการปลูกพืชแซมบางชนิดจะมีผลทำให้ต้นยางขาดธาตุอาหารได้ จึงควรพิจารณาชนิดของพืชแซมก่อนปลูกพืชอาจจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยให้เหมาะสมกับพืชแซมเพื่อไม่ให้เกิดการแก่งแย่งธาตุอาหารในดิน

  32. การป้องกันและแก้ไข(ต่อ)การป้องกันและแก้ไข(ต่อ) • รักษาความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม เพื่อความสมดุลย์ของธาตุอาหารต่างๆ ในดิน • การใส่ธาตุอาหารบางตัวมากเกินไป อาจชักนำให้เกิดอาการของธาตุอาหารอีกชนิดหนึ่ง เช่น การใส่โปแตสเซียมมากเกินไปอาจชักนำให้เกิดการขาดแมกนีเซียม • หากพบความผิดปกติหลังจากปลูกยางพารา ควรทำการตรวจวิเคราะห์ดินและปริมาณธาตุอาหารจากใบยาง เพราะในบางกรณีอาจจำเป็นต้องเพิ่มธาตุอาหารตัวใดตัวหนึ่งให้กับต้นยาง

  33. โรคที่เกิดจากเชื้อรา

  34. โรคราแป้งPowdery mildew ลักษณะอาการ • ปลายใบยางพาราอ่อนบิดงอ เน่า มีสีดำจากปลาย แล้วร่วงหล่นจากต้น รอยแผลสีน้ำตาลที่มีขนาด รูปร่างไม่แน่นอนบนใบแก่ ลักษณะแผลเป็นรอยสีเหลืองซีดบนใบเพสลาด

  35. ลักษณะอาการ(ต่อ) • เชื้อราทำให้ดอกร่วง เป็นปัญหาสำหรับการผสมพันธุ์ • ถ้าเชื้อเข้าทำลายใบที่แข็งแรงจะเห็นกลุ่มสปอร์และเส้นใยที่มีมีขาวเทา กลุ่มของเส้นใยและสปอร์ของเชื้อราสีขาวเทาบนด้านล่างของแผ่นใบ

  36. ลักษณะอาการ(ต่อ) • จุดรอยแผลมีขนาดค่อนข้างใหญ่และมีขอบเขตไม่แน่นอน • ถ้าใบเจริญต่อไปแผลที่เชื้อเข้าทำลายจะเป็นรอยสีเหลืองซีดและเปลี่ยนเป็นรอยไหม้สีน้ำตาลที่มีรูปร่างไม่แน่นอน

  37. สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Oidium heveae Steinm.

  38. การแพร่ระบาด • ระบาดในช่วงยางผลิใบใหม่ • มักแพร่ระบาดในสภาพอากาศกลางวันค่อนข้างร้อน • กลางคืนอากาศเย็น มีหมอกในตอนเช้า มีความชื้นสูง • มีฝนตกปรอยๆ ในบางวัน • เชื้อแพร่ระบาดโดยลมและแมลง พืชอาศัย หญ้ายาง เงาะ

  39. การป้องกันกำจัด • ใช้วิธีการเขตกรรม เช่นการใส่ปุ๋ยในอัตราที่สูงกว่าปกติก่อนสิ้นฤดูกาลผลัดใบ เพื่อให้ต้นยางสมบูรณ์ยิ่งขึ้นในขณะที่เริ่มผลิใบ • ใช้สารกำจัดเชื้อรา เบโนมิล (benomyl), คาร์เบนดาซิม(carbendazim), ซัลเฟอร์(sulfur), ไตรดีมาร์ฟ*(tridemorph), กำมะถันผง *ห้ามใช้ในอัตราสูงกว่าคำแนะนำเพราะจะทำให้ใบยางไหม้

  40. โรคใบจุดนูนColletotrichum leaf spot ลักษณะอาการ • ปลายใบยางอ่อนที่เชื้อเข้าทำลาย บิดงอ เหี่ยวเน่าดำ หลุดร่วง • ระยะใบเพสลาด ใบบางส่วนบิดงอ • พบจุดแผลสีน้ำตาล • ขอบแผลสีเหลือง ขนาดประมาณ 1-2 มิลลิเมตร

  41. ลักษณะอาการ(ต่อ) • เมื่อใบยางมีอายุมากขึ้น จุดเหล่านี้จะนูน • เนื้อเยื่อตรงกลางแผลอาจทะลุเป็นรู • ถ้าระบาดรุนแรงอาจพบแผลบนกิ่งอ่อนหรือยอดอ่อนทำให้เกิดอาการตายจากยอดได้

  42. ลักษณะอาการ(ต่อ) แผลบนใบมีสีน้ำตาล ขอบแผลสีเหลือง ในใบแก่จุดแผล มีลักษณะนูนขึ้น

  43. ลักษณะอาการ(ต่อ) ใบอ่อนที่เป็นโรคมีลักษณะเน่าดำ และร่วง เหลือแต่ก้านใบ แผลบนกิ่งอ่อนรูปร่างยาวรี

  44. สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides (Penz.) Sacc.

  45. การแพร่ระบาด • ระบาดรุนแรงกับยางที่แตกใบอ่อน • ในช่วงที่มีฝนตกชุก • ความชื้นสูง • เชื้อแพร่ระบาดโดยน้ำฝน ลม และแมลง พืชอาศัยอาโวกาโด โกโก้ กาแฟ ชา ส้ม กล้วย มะละกอ

  46. การป้องกันกำจัด • ต้นยางที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี ใช้สารเคมีพ่นบนใบยางเมื่อเริ่มพบการระบาด เช่น ไซเนบ(zineb), คลอโรธาโลนิล(chlorothalonil), เบโนมิล(benomyl), โพรพิเนบ(propineb)

  47. โรคใบจุดก้างปลาCorynespora leaf disease ลักษณะอาการ • เป็นจุดแผลขนาดใหญ่ที่ใบ ถ้าเป็นขณะที่ใบยังอ่อน ปลายใบจะไหม้เนื่องจากมีแผลลุกลามติดต่อกัน • เริ่มแรกเป็นแผลที่เนื้อเยื่อใบและลุกลามออกไปตามเส้นใบ • เห็นใบช้ำเป็นลายสีน้ำตาลหรือดำ ลักษณะคล้ายลานก้างปลา

  48. ลักษณะอาการ (ต่อ) • เมื่อแผลแห้งจะทำให้ใบร่วง • ในพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรค ใบจะร่วงและพบกิ่งตายจากยอด • กรณีเกิดโรครุนแรง ต้นยางที่อ่อนแอจะยืนต้นตายเป็นจำนวนมาก

  49. สาเหตุ เชื้อราCorynespora cassicola (Burk. &Curt.) Wei.

  50. การแพร่ระบาด • เชื้อระบาดโดยลม ฝน • โรคระบาดในสภาพอากาศร้อน ความชื้นสูง พืชอาศัย • มีมากกว่า 80 ชนิด เช่น งา ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ฝ้าย ป่านรามี ยาสูบ มะละกอ แตงโม มะเขือเทศ ผักกาดหอม สะระแหน่ ฟักเขียว หญ้ายาง พืชคลุมตระกูลถั่ว เป็นต้น

More Related