1 / 90

การจัดการและแนวความคิดทางการจัดการ (Management & Management Thought)

บทที่ 1. การจัดการและแนวความคิดทางการจัดการ (Management & Management Thought). บ.ซีพี. ธุรกิจอาหารสัตว์ . ร้านค้าเมล็ดพันธ์พืช . ธุรกิจเลี้ยงสัตว์ . ร้านค้าปลีก . 7-11. Lotus. ร้านอาหาร . Chester Grill. ไก่ย่างห้าดาว. บัวบาน. ธุรกิจ IT . TRUE  TRUE

Download Presentation

การจัดการและแนวความคิดทางการจัดการ (Management & Management Thought)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 1 การจัดการและแนวความคิดทางการจัดการ (Management & Management Thought)

  2. บ.ซีพี ธุรกิจอาหารสัตว์  ร้านค้าเมล็ดพันธ์พืช  ธุรกิจเลี้ยงสัตว์  ร้านค้าปลีก  7-11 Lotus ร้านอาหาร Chester Grill ไก่ย่างห้าดาว บัวบาน ธุรกิจ IT TRUE  TRUE UBC

  3. การบริหาร VS การจัดการ (Administration VS Management) การบริหาร (Administration) เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายและแผนงาน ตลอดจนการกำกับดูแลเพื่อให้แน่ใจว่า ความสำเร็จที่เกิดขึ้นสอดคล้องกับนโยบายและแผนที่วางไว้ การจัดการ (Management) เป็นกระบวนการของการนำเอานโยบายและแผนงานไปปฏิบัติ ให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดในขั้นของการบริหาร

  4. การจัดการ (Management)  องค์การภาคเอกชน (Business Private Sector) การบริหาร (Administration)  การบริหารรัฐกิจ (Public Administration Sector) การจัดการ (Management) < == > การบริหาร (Administration)

  5. ผู้บริหารTop Manager ผู้จัดการ Middle Manager หัวหน้าคนงานFirst Line Manager ลำดับชั้นของการจัดการ

  6. ความหมายของการจัดการ “การจัดการเป็นเทคนิคการทำงานให้สำเร็จ โดยอาศัยผู้อื่น” “การจัดการ คือ กระบวนการการจัดองค์การและการใช้ทรัพยากรต่างๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดขึ้นไว้ล่วงหน้า” Mary Parker Follett Ernest Dale

  7. “การจัดการเป็นการใช้ศาสตร์และศิลปะนำเอาทรัพยากรการบริหาร มาประกอบตามกระบวนการบริหารเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ” สมพงษ์ เกษมสิน

  8. การจัดการ ทรัพยากร ทางการบริหาร - คน - เงิน - วัสดุ - วิธีการ - เครื่องจักร การจัดองค์การ การวางแผน เป้าหมายขององค์การ การจัดคนเข้าทำงาน การควบคุม การสั่งการ กระบวนการทางการจัดการ

  9. ทรัพยากรทางการจัดการ(Management Resources) • คน (Man) • เงิน (Money) • วัสดุ (Materials) • วิธีการบริหาร(Management or Method) • เครื่องจักร (Machine) • ตลาด (Market) M ?? สำคัญที่สุด !!!

  10. คน เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด กรณีศึกษา เจริญ สิริวัฒนภักดี ตัน ภาสกรนที

  11. ความสำคัญของการศึกษาการจัดการความสำคัญของการศึกษาการจัดการ • สภาพแวดล้อมทางธุรกิจเปลี่ยนแปลง • การขยายเขตการค้าเสรี • ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ • Globalization

  12. การจัดการเป็นศาสตร์ (Science) หรือ ศิลป์ (Art) ? การจัดการ  ศาสตร์ด้านสังคม (Social Science) x ศาสตร์บริสุทธิ์ (Pure Science) x การจัดการ  ศาสตร์และศิลป์ อัตราส่วน ????

  13. แนวความคิดทางการจัดการ (Management Thought) ยุคที่ 1 ยุคก่อนการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ยุคที่ 2 ยุคการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ยุคที่ 3 แนวความคิดของมนุษย์สัมพันธ์ ยุคที่ 4 ยุคของการจัดการเชิงปริมาณ ยุคที่ 5 ยุคของการจัดการสมัยใหม่

  14. ยุคที่ 1 ยุคก่อนการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Pre-scientific Management Period) นายกับบ่าว กษัตริย์กับทาส เริ่มประมาณปี ค.ศ. 1800 หลังมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม

  15. ยุคที่ 1 ยุคนี้เป็นยุคก่อนปี ค.ศ. 1880 การจัดการในยุคนี้ต้องอาศัยอำนาจหรือการบังคับ เป็นปัจจัยทางการบริหารที่สำคัญที่สุด วิธีการใช้อำนาจ การใช้แส้ โซ่ตรวน การจำคุก ฯลฯ มนุษย์ในยุคนี้ยอมทำงานก็เพราะกลัวการลงโทษ ถูกบังคับด้วยความจำใจ ความสัมพันธ์ภายในหน่วยงานมีลักษณะเป็น นายกับบ่าว กษัตริย์กับทาส ฯลฯ

  16. ยุคที่ 2 ยุคการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) • ค.ศ. 1880 - 1930 • ปฏิวัตอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว • คนงานย้ายจากชนบทสู่เมือง นายจ้างตกลงค่าแรงกับลูกจ้าง • ก่อนเริ่มทำงาน คนงานมีโอกาสพัฒนาความรู้ความสามารถ

  17. ยุคที่ 2 ยุคการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) • บุคคลที่มีชื่อเสียงในการบริหารงานยุคนี้ • Robert Owen, • FrederickW.Taylor • Henri Fayol

  18. ยุคที่ 2 1. Robert Owen “การลงทุนที่ดีที่สุดของผู้บริหาร คือ การลงทุนในคน” • การปรับปรุงสภาพของพนักงาน/คนงานให้ดีขึ้น จะส่งผลไปสู่การเพิ่มการผลิตและผลกำไร ในขณะที่ผู้บริหารคนอื่นๆมุ่งที่จะใช้เงินลงทุนไปในการปรับปรุงเทคนิคการผลิตมากกว่า

  19. ยุคที่ 2 1. Robert Owen ผู้บริหาร งดใช้แรงงานเด็ก สร้างที่พักที่ดี และร้านขายของถูกให้คนงาน ปฏิรูป ลดชั่วโมงการทำงาน ปรับปรุงขวัญ และให้กำลังใจพนักงาน เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต

  20. ยุคที่ 2 2. Frederic W. Taylor “The Father of Scientific Management” • คัดค้านการบริหารงานแบบเก่าที่ใช้“อำนาจ” • เสนอว่าการบริหารที่ดีจะต้องมี“หลักเกณฑ์” • การบริหารงานที่ขาดประสิทธิภาพเกิดจาก: • การแบ่งงานที่ไม่เหมาะสม ที่ไม่ได้กำหนดมาตรฐาน/ เกณฑ์ในการวัดผลงานของคนงาน

  21. ยุคที่ 2 2. Frederic W. Taylor เสนอวิธีแสวงหาหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม ที่เรียกว่า “Time & Motion Study” • Time: ศึกษาว่างานแต่ละขั้นนั้นต้องใช้เวลาอย่างน้อยที่สุด • เท่าใดจึงจะเสร็จ • Motion: ศึกษาเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวในการทำงาน • แต่ละขั้นเพื่อปรับปรุงวิธีการทำงานให้สำเร็จโดยใช้ • พลังงานต่ำที่สุด • แบ่งงานออกเป็นขั้นตอน เพื่อให้คนงานได้ทำงาน • ในขั้นตอนที่เขาทำได้ดีที่สุดและมากที่สุด

  22. ยุคที่ 2 2. Frederic W. Taylor การจัดการต้องเน้นที่ “การปรับปรุงระบบการผลิต” โดยผู้บริหารจะต้องปฏิบัติดังนี้ 1. กำหนดวิธีการทำงานของคนงานแต่ละคนด้วยหลักเกณฑ์ที่ทดลองแล้วว่า เป็นวิธีที่ดีที่สุด (One Best Way) 2. จัดให้มีระบบการคัดเลือกบุคคลหาคนให้เหมาะสมกับงานมากที่สุด 3. ให้ความร่วมมือกับคนงานเสมอ และให้ความสำคัญกับการทำงานที่มี ประสิทธิภาพพอๆกับการจัดองค์กร 4. วางแผนงาน โดยแบ่งงานและมองหมายงานให้คนงานตามความถนัด และความสนใจ

  23. ยุคที่ 2 2. Frederic W. Taylor ให้ความสำคัญกับ การจูงใจให้คนงานทำงานมากขึ้น เสนอให้ “จ่ายค่าแรงเป็นชิ้น(A Piece Rate System)” หลักการ: แบ่งอัตราค่าจ้างเป็น 2 อัตรา 1. อัตราที่ใช้สำหรับระดับผลผลิตที่ ยังไม่ถึงมาตรฐาน 2. อัตราที่กับระดับผลผลิตที่ เท่ากับหรือสูงกว่ามาตรฐาน

  24. ยุคที่ 2 ตัวอย่าง:“Piece Rate System” 1. Time & MotionStudyมาตรฐาน คนงานต้องผลิตสินค้าได้ 100 หน่วย/วัน 2. กำหนดค่าจ้างหน่วยละ 1.20 สำหรับหน่วยที่ 0 – 99 แต่ ถ้าคนงานผลิตได้ 100 หน่วย หรือ มากกว่า ค่าจ้างหน่วยละ 1.35 ดังนั้น Case 1: ผลิตได้ 99 หน่วย ได้ผลตอบแทน 118.80 (99 x 1.20) Case 2: ผลิตได้ 100 หน่วย ได้ผลตอบแทน 135 (100 x 1.35)

  25. ยุคที่ 2 2. Frederic W. Taylor Famous Publications: 1. “Shop Management” (1903) 2. “The Principle of Scientific Management” (1910) ได้รับความนิยมสูงสุดโดยมี หลักสำคัญ คือ ใช้คนให้ถูกต้องกับงาน“Put the Man in the Right Job”

  26. ยุคที่ 2 ตัวอย่าง การศึกษาถึงหลักการบริหารของ Taylor 1. การขนแร่เหล็ก 2. การทดลองตักวัตถุ

  27. ยุคที่ 2 การขนแร่เหล็ก การทดลองของ Taylor เป็นเรื่องของการขนแร่เหล็กที่ออกจากเตาหลอมไปยังรถบรรทุกที่บริษัท Bethlehem Steel

  28. ยุคที่ 2 การทดลองตักวัตถุ การทดลองนี้นำชื่อเสียงมาให้แก่ Taylor อย่างมาก เมื่อ Taylor เข้ามาทำงานที่บริษัท Bethlehem Steel

  29. ยุคที่ 2 ผู้สนับสนุนแนวความคิดของ Taylor - Henry L. Gantt - Frank and Lillian Gilbreth Ex. Ford and Scientific Management

  30. ยุคที่ 2 Henry L. Gantt • ควรมีการกำหนดผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษในรูปของ “โบนัส” • สำหรับคนงานที่สามารถทำงานได้ตามที่มอบหมายในแต่ละวัน - Gantt Chart

  31. ยุคที่ 2 กิจกรรม 1 กิจกรรม 2 กิจกรรม 3 กิจกรรม 4 ตุลาคม มกราคม เมษายน มิถุนายน รูปที่ 2.4 แผนผังการทำงานของแกนท์ (Gantt chart) *

  32. ยุคที่ 2 FrankBunker Gilbreht Lillian Moller Gilbreht จัดทำภาพยนตร์แสดงการเคลื่อนไหวของคนงาน เพื่อชี้ให้แสดงถึงการเคลื่อนไหวที่สูญเปล่า และไม่มีผลทางการผลิต และเคลื่อนไหวที่จำเป็นในการทำงาน ทั้งนี้โดยเรียกความเคลื่อนไหวพื้นฐานนี้ว่า Therblig Ex.Bricklaying Ergonomics

  33. ยุคที่ 2 3. Henri J. Fayol ความแตกต่างระหว่างการศึกษาของFayol vs.Taylor

  34. ยุคที่ 2 3. Henri J. Fayol มุ่งแสวงหาการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นสากล (Universal) โดยแบ่งงานด้านอุตสาหกรรมเป็น 6 กลุ่ม ดังนี้ 1. Technical 2. Commercial 3. Financial 4. Security 5. Accounting 6. Managerial

  35. ยุคที่ 2 Fayol ให้ความสนใจในกลุ่มที่ 6 เกี่ยวกับเรื่องการจัดการทั้งนี้เนื่องจากได้มีผู้กล่าวถึง 5 กลุ่มแรกกันมากแล้วและเขาก็ได้เน้นถึงคุณภาพของผู้จัดการที่ดีต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ 1. ร่างกายที่แข็งแรง (มีสุขภาพอนามัยดี) 2. มีสติปัญญา (มีความสามารถเข้าใจ เรียนรู้ ริเริ่ม ตัดสินใจและปรับตัว) 3. มีจริยธรรม (มีความซื่อสัตย์ รับผิดชอบ รู้จักกาลเทศะ จงรักภักดี) 4. มีการศึกษา (มีความรู้) 5. มีความสามารถและเทคนิควิธีการในการจัดการ 6. มีประสบการณ์

  36. ยุคที่ 2 3. Henri J. Fayol ผู้บุกเบิกแนวความคิด การจัดการเชิงบริหาร(Administrative Management) I.หน้าที่ของนักบริหาร(Management Functions)  II. หลักการบริหาร(Management Principles) 

  37. ยุคที่ 2 I. หน้าที่ของนักบริหาร (Management Functions) 1.การวางแผน (Planning) 2.การจัดองค์การ (Organizing) 3.การสั่งการ (Directing) 4.การประสานงาน (Coordinating) 5.การควบคุม (Controlling)

  38. ยุคที่ 2 II. หลักการบริหาร (Management Principles) 1.การแบ่งงานกันทำ(Division of Work) 2.อำนาจหน้าที่(Authority) 3.มีระเบียบวินัย(Discipline) 4.เอกภาพในการบังคับบัญชา(Unity of Command) 5.เอกภาพในการสั่งการ(Unity of Directing) 6.ผลประโยชน์ส่วนบุคคลต้องเป็นรอง ผลประโยชน์ขององค์การ

  39. ยุคที่ 2 II. หลักการบริหาร (Management Principles) 7.ผลตอบแทน (Remuneration) 8.การรวมอำนาจ(Centralization) 9.สายการบังคับบัญชา(Scalar Chain) 10.ความมีระเบียบเรียบร้อย(Order) 11.ความเสมอภาค(Equity) 12.ความมั่นคงในการทำงาน(Stability of Tenure) 13.ความคิดริเริ่ม (Initiative) 14.ความสามัคคี (Esprit de Corps)

  40. ยุคที่ 3 ยุคที่ 3 แนวความคิดของมนุษย์สัมพันธ์ (Human Relations)

  41. ยุคที่ 3 ยุคที่ 3: แนวความคิดมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations) • ค.ศ. 1930 - 1950 • เน้นการสร้างมนุษยสัมพันธ์ ภายในองค์กร เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องแนวความคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ที่เน้นแต่ ประสิทธิภาพการทำงาน • คนงานเป็นมนุษย์ที่มีชีวิต ไม่ใช่วัตถุดิบที่เจ้าของจะซื้อได้ด้วยเงิน

  42. ยุคที่ 3 George Elton Mayo Mayo เป็นนักจิตวิทยาชาวออสเตรเลีย เริ่มงานวิชาชีพในการสอนจริยธรรม ปรัชญา และตรรกวิทยาที่มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ทำการทดลองที่โรงงาน “Hawthorne Experiment”

  43. ยุคที่ 3 โดยแบ่งการศึกษาทดลองออกเป็น 3 ประเภทคือ 1. Room studies ทำการทดลองระหว่างปี ค.ศ. 1924 - 1927 2.Interviewing studies ทำการทดลองระหว่างปี ค.ศ. 1928 - 1931 3.Observational studies ทำการทดลองระหว่างปี ค.ศ. 1931 - 1932

  44. ยุคที่ 3 • การศึกษาทดลองภายในห้อง • (Room studies) 1.1 การปรับสภาพความชื้นของอุณหภูมิในห้องให้มีสภาพต่างๆกัน 1.2 จัดให้ทำงานและหยุดเป็นระยะๆ 1.3 เปลี่ยนแปลงการทำงานไม่ให้ทำซ้ำๆซากๆในงานอย่างเดียวกัน นานๆ 1.4 เพิ่มค่าจ้างแรงงานเพื่อเป็นเครื่องจูงใจ 1.5 เปลี่ยนแปลงวิธีการควบคุมงาน

  45. ยุคที่ 3 2. การศึกษาโดยการสัมภาษณ์ (Interviewing studies) การทดลองนี้ได้สัมภาษณ์คนงานในโรงงานรวม 2,000 คน จากทุกๆ แผนกของบริษัท ผล คือ ปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมมักจะจัดให้มี โครงการที่ปรึกษาพนักงานเจ้าหน้าที่(Employee Counseling Program)

  46. ยุคที่ 3 3. การศึกษาโดยการสังเกต (Observational studies) 1. คนงานมิใช่วัตถุหรือสิ่งของที่จะซื้อหามาด้วยเงิน 2. ประสิทธิภาพของการทำงานมิได้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่ดี เพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับมนุษยสัมพันธ์ที่ดีภายในองค์การ 3.การแบ่งงานกันทำตามลักษณะเฉพาะอย่าง(Specialization) มิได้ทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเสมอไป 4. พนักงานในระดับสูง การจูงใจทางด้านจิตใจ (Mental Motivation) สำคัญกว่าเงิน

  47. ยุคที่ 3 สรุปการศึกษาของเมโย ”เงิน” ไม่ใช่ปัจจัยที่สำคัญที่สุด Organization Without Man  ยุคที่ 2 Man Without Organization  ยุคที่ 3 ต่างก็มีข้อบกพร่องด้วยกันทั้งคู่

  48. ยุคที่ 3 Mary Parker Follett กล่าวว่าในการจัดการหรือการบริหารงาน จำเป็นต้องมีการประสานงาน 4 ชนิด ดังต่อไปนี้ 1. การประสานงานโดยการติดต่อโดยตรงกับตัวบุคคลที่รับผิดชอบงานนั้น ๆ 2. การประสานงานในระยะเริ่มแรกหรือในขั้นวางแผนกิจกรรมต่างๆ 3. การประสานงานที่เป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในกิจกรรมทุกอย่างที่กระทำ 4. การประสานงานที่กระทำเป็นกระบวนการต่อเนื่อง

  49. ยุคที่ 3 Chester Irving Barnard เป็นบุคคลแรกที่เขียนเกี่ยวกับความ สัมพันธ์ระหว่างวัตถุประสงค์ของตัวบุคคล และวัตถุ ประสงค์ขององค์การ เขาเห็นว่าความต้องการเป็นรากฐานของการทำงาน ผู้บริหารที่ดี ต้องตอบสนองได้ทั้งวัตถุประสงค์ของคนและองค์การ

  50. ยุคที่ 3 AbrahamHarold Maslow อธิบายได้ว่าเมื่อความต้องการนั้นได้รับการตอบสนองแล้ว ความต้องการของมนุษย์ ก็จะเลื่อนขึ้นไปอีกเป็นขั้นๆ ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ (Hierarchy of needs theory)

More Related