1 / 36

สภาพทั่วไปของสถานศึกษา

สภาพทั่วไปของสถานศึกษา. ( ห้องสมุด ). ๑ . ทำเลที่ตั้งห้องสมุด.

julie-avery
Download Presentation

สภาพทั่วไปของสถานศึกษา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สภาพทั่วไปของสถานศึกษาสภาพทั่วไปของสถานศึกษา ( ห้องสมุด )

  2. ๑.ทำเลที่ตั้งห้องสมุด๑.ทำเลที่ตั้งห้องสมุด

  3. ทำเลที่ตั้งห้องสมุดอาคารสถานที่ ควรมีสถานที่ที่เหมาะสมใช้เป็นห้องสมุดโดยเฉพาะอาจเป็นอาคารเอกเทศ หรือเป็นส่วนหนึ่งของอาคาร หากเป็นส่วนหนึ่งของอาคารควรมีทางเข้าออกของห้องสมุดเองโดยเฉพาะ ห้องสมุดควรอยู่ชั้นล่างของอาคาร หรือไม่เกินชั้น ๒ ของอาคาร ซึ่งอยู่ในจุดศูนย์กลางที่นักเรียน ครู อาจารย์มาใช้ได้สะดวก ห่างไกลจากเสียงรบกวน มีแสงสว่างเพียงพอ อากาศถ่ายเทได้สะดวก

  4. ๒. ขนาดเนื้อที่ห้องสมุด

  5. ขนาดเนื้อที่ห้องสมุดห้องสมุดขนาดใหญ่พิเศษ มีเนื้อที่ ๖ห้องเรียนหรือประมาณ ๓๗๘ ตารางเมตร ห้องสมุดขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ ๕ ห้องเรียน หรือ ๓๑๕ ตารางเมตร ห้องสมุดขนาดกลาง มีเนื้อที่ ๔ ห้องเรียน หรือ ๒๕๒ ตารางเมตร ห้องสมุดขาดเล็ก มีเนื้อที่ ๓ ห้องเรียน หรือ ๑๘๙ ตารางเมตร

  6. ๓. ประเภท จำนวนหนังสือ วารสารและอื่นๆ ในห้องสมุด

  7. ประเภทของหนังสือสำหรับห้องสมุดโรงเรียน๑) หนังสืออ้างอิงที่เป็นมาตรฐาน ได้แก่ - พจนานุกรม เช่น พจนานุกรมไทยของราชบัณฑิตยสถานพจนานุกรมไทย-อังกฤษ พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย ฯลฯ - สารานุกรม เช่น สารานุกรมสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สารานุกรมไทยของราชบัณฑิตยสถาน ฯลฯ สารานุกรมของต่างประเทศ ควรซื้อฉบับภาษาอังกฤษง่ายๆ หรือฉบับแปล - อักขรานุกรม เช่น อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ ฯลฯ - นามานุกรม เช่น มานานุกรมพฤกษศาสตร์

  8. ๒) หนังสือสารคดี - หนังสือเกี่ยวกับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช พระราชวงศ์ - หนังสือที่ได้รับรางวัลต่างๆ - หนังสือสารคดีประกอบการเรียนการสอนวิชาต่างๆ ตามหลักสูตร เช่น ชุดความรู้ไทย ฯลฯ - หนังสือนอกเวลา หนังสืออ่านประกอบ และหนังสืออ่านเพิ่มเติม - หนังสือชีวประวัติ

  9. ๓) หนังสือบันเทิงคดี - หนังสือนวนิยายที่มีเนื้อเรื่องสนับสนุนการเรียนการสอนเช่น นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ นวนิยายชีวประวัติ นวนิยายแนะแนวอาชีพ ฯลฯ - หนังสือนวนิยายที่ได้รับรางวัล - นิทาน๔) หนังสือสำหรับครู เช่น หลักสูตร คู่มือครู คู่มือประกอบการสอน ฯลฯ

  10. ๑.๒ วารสาร๑)วารสารวิชาการ ควรจัดหาไว้บริการจำนวน ดังนี้ ห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ จำนวน ๒๕ ชื่อเรื่อง ห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่ จำนวน ๒๐ ชื่อเรื่อง ห้องสมุดโรงเรียนขนาดกลาง จำนวน ๑๕ ชื่อเรื่อง ห้องสมุดโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน ๑๐ ชื่อเรื่อง ๒) วารสารทั่วไป ควรจัดหาไว้บริการจำนวน ดังนี้ ห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ จำนวน ๒๐ ชื่อเรื่อง ห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่ จำนวน ๑๕ ชื่อเรื่อง ห้องสมุดโรงเรียนขนาดกลาง จำนวน ๑๐ ชื่อเรื่อง ห้องสมุดโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน ๕ ชื่อเรื่อง

  11. ๑.๓ หนังสือพิมพ์ ควรจัดหาไว้บริการจำนวน ดังนี้ ห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ จำนวน ๒๐ ชื่อเรื่อง ห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่ จำนวน ๑๕ ชื่อเรื่อง ห้องสมุดโรงเรียนขนาดกลาง จำนวน ๑๐ ชื่อเรื่อง ห้องสมุดโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน ๕ ชื่อเรื่อง ๒ วัสดุไม่ตีพิมพ์ ควรจัดหาไว้ใช้ประกอบการเรียนการสอน และใช้ศึกษาค้นคว้าของนักเรียนโดยให้มีเนื้อหาตรงตามหลักสูตร และมีจำนวนเพียงพอแก่นักเรียน ได้แก่ ๑ แถบบันทึกเสียง ๒ ภาพนิ่ง

  12. ๓ เกม ๔ วีดีทัศน์ ๕ CD-ROM ๖ CAI ๗ Multi-media ๘ สื่ออื่นๆวัสดุไม่ตีพิมพ์เหล่านี้ ควรจัดหาไว้บริการ ดังนี้ -ห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและขนาดใหญ่ จำนวน ๔ รายการ-ห้องสมุดโรงเรียนขนาดกลางและขนาดเล็ก จำนวน ๓ รายการ

  13. ๔. การจัดหนังสือในห้องสมุด

  14. การจัดหนังสือในห้องสมุด การจัดหมู่หนังสือ คือการจัดหมวดหมู่หรือแยกประเภทหนังสือออกไปตามเนื้อเรื่องหรือลักษณะประพันธ์ลักษณ์และคิดสัญลักษณ์ขึ้นแทนประเภทของหนังสือระบบการจัดหมู่หนังสือที่นิยมใช้กันแพร่หลายทั่วโลก รวมทั้ง ห้องสมุดในประเทศไทยด้วย มี ๒ ระบบคือ๑. ระบบทศนิยมของดิวอี้ การจัดหมู่หนังสือระบบทศนิยมของดิวอี้ เรียกย่อๆว่า ระบบ D.C.ระบบทศนิยมของดิวอี้ใช้ ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์แทนชนิดของหนังสือ ทำให้เข้าใจง่าย ไม่สับสนจำง่าย แผนการแบ่งหมวดหนังสือแบบทศนิยมของดิวอี้ ( D.C.) แบ่งตามลำดับจากหมวดใหญ่ไปหาหมวดย่อย คือ

  15. ๑.) หมวดใหญ่ ดิวอี้ แบ่งวิชาความรู้ออกเป็น ๑๐ หมวดใหญ่ๆ ( เรียกว่า การแบ่งครั้งที่ ๑ )ดังนี้ ๐๐๐ เบ็ดเตล็ด ๕๐๐ วิทยาศาสตร์ ๑๐๐ ปรัชญา ๖๐๐ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ๒๐๐ ศาสนา ๗๐๐ ศิลปะและการบันเทิง ๓๐๐สังคมศาสตร์ ๘๐๐วรรณคดี ๔๐๐ ภาษาศาสตร์ ๙๐๐ ประวัติศาสตร์

  16. ๒.) หมู่ (การแบ่งครั้งที่ ๒) คือ การแบ่งหมวดใหญ่แต่ละหมวดออกเป็น ๑๐ หมู่ ( รวมเป็น ๑๐๐ หมู่ )โดยใช้เลขหลัก ๑๐ แทนหมู่วิชา ๐๐๐ เบ็ดเตล็ด ๐๕๐ วารสารทั่วไป ๐๑๐ บรรณานุกรม ๐๖๐ สมาคมและพิพิธภัณฑ์ทั่วไป ๐๒๐ บรรณารักษ์ ๐๗๐ วารสารศาสตร์ ๐๓๐ สารานุกรมทั่วไป ๐๘๐ ชุมนุมนิพนธ์ ๐๔๐ รวมความเรียงทั่วไป ๐๙๐ หนังสือหายาก

  17. ๓.) หมู่ย่อย (การแบ่งครั้งที่ ๓) คือการแบ่งแต่ละหมู่ออกเป็น ๑๐ หมู่ย่อย ( รวมเป็น ๑,๐๐๐ หมู่ย่อย ) โดยใช้เลขหลักหน่วยแทนหมู่ย่อย เช่น ๓๗๐ การศึกษา ๓๗๕ หลักสูตร ๓๗๑ การสอน ๓๗๖ การศึกษาของสตรี ๓๗๒ ประถมศึกษา ๓๗๗ การศึกษาทางศาสนา และศิลธรรมจรรยา ๓๗๓ มัธยมศึกษา ๓๗๘ วิทยาลัย และ มหาวิทยาลัย ๓๗๔ การศึกษาผู้ใหญ่ ๓๗๙ การศึกษาและรัฐ

  18. สรุปการแบ่งหมู่หนังสือของดิวอี้ ๑) แบ่งออกเป็น ๑๐ หมวดใหญ่ ๆ ( หลักร้อย ) ๒) แต่ละหมวดแบ่งเป็น ๑๐ หมู่ ( หลักสิบ ) ๓) แต่ละหมู่แบ่งออกเป็น ๑๐ หมู่ย่อย ( หลักหน่วย ) ๔) แต่ละหมู่ย่อยแบ่งให้ละเอียดลงไปโดยใช้จุดทศนิยม

  19. 2. ระบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน ระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (อังกฤษ: Library of Congress Classification) เรียกย่อๆ ว่า L.C. เป็นระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุดที่นิยมในหอสมุดขนาดใหญ่ที่มีหนังสือเฉพาะสาขาอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหอสมุดในมหาวิทยาลัยและ ห้องสมุดทางการวิจัย ซึ่งถูกริเริ่มคิดขึ้นโดย ดร.เฮอร์เบิร์ต พัทนัม (Dr.Herbert Putnum) ชาวอเมริกัน บรรณารักษ์ของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน, ชาร์ลส์ มาร์เตล (Charles Martel) ชาวสวิตเซอร์แลนด์ หัวหน้าแผนกจัดหมวดหมู่หนังสือ

  20. และวิลเลียมปาร์เกอร์คัตเตอร์ (William Parker Cutter) หมวดหมู่การจัดหมวดหมู่หนังสือตามระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน แบ่งหนังสือออกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ ตามประเภทของหนังสือ โดยใช้ ตัวอักษรโรมันผสมกันตัวเลขอารบิก หมวดใหญ่โดยออกเป็น 20 หมวดใหญ่ โดยใช้ตัวอักษร A-Z ยกเว้น I,O,W,X และ Y ดังนี้A ความรู้ทั่วไป (General Work)B ปรัชญา จิตวิทยา ศาสนา (Philosophy, Psychology, Religion)C ศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ (Auxiliary Sciences of History)

  21. D ประวัติศาสตร์ทั่วไปและโลกเก่า (History:General)E-F ประวัติศาสตร์อเมริกา (History:America (Western Hemisphere))G ภูมิศาสตร์ แผนที่ มานุษยวิทยา นันทนาการ (Geography, Maps, Anthropology, Recreation)H สังคมศาสตร์ (Social Sciences)J รัฐศาสตร์ (Political Science)K กฎหมาย (Law)L การศึกษา (Education)M ดนตรี (Music)

  22. N วิจิตรศิลป์ (Fine Arts)P ภาษาศาสตร์ วรรณกรรม (Linguistics, Literature)Q วิทยาศาสตร์ (Science)R แพทยศาสตร์ (Medicine)S เกษตรศาสตร์ (Agriculture)T เทคโนโลยี (Technology)U วิทยาการทหาร (Military Science)V นาวิกศาสตร์ (Naval Science)Z บรรณานุกรม บรรณารักษศาสตร์ (Bibliography, Library Science)

  23. ๕.ส่วนอื่นๆเพิ่มเติม

  24. อื่นๆประเภทของงานบริการห้องสมุด งานบริการของห้องสมุดมีหลายอย่าง ขึ้นอยู่กับนโยบายและวัตถุประสงค์ของห้องสมุด สำหรับห้องสมุดโรงเรียนโดยทั่วไป มีดังนี้ ๑. บริการการอ่าน เป็นบริการหลักของห้องสมุดที่จัดหาและคัดเลือกหนังสือ สิ่งพิมพ์ต่างๆ มาไว้เพื่อให้บริการ และจัดเตรียมสถานที่ให้อำนวยความสะดวกต่อการอ่าน เพื่อตอบสนองความต้องการ และความสนใจของผู้ใช้มากที่สุด

  25. ๒.บริการยืม - คืน คือบริการให้ยืม - คืนทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ ตามระเบียบการยืมของห้องสมุดแต่ละแห่ง เพื่อให้ความสะดวกในการใช้ ในกรณีที่ยืมเกินกำหนด ผู้ยืมจะต้องเสียค่าปรับตามอัตราที่ห้องสมุดกำหนด ๓.บริการหนังสือจอง เป็นบริการที่ห้องสมุดจัดแยกหนังสือรายวิชาต่าง ๆ ที่ครูผู้สอนกำหนดให้นักเรียนอ่านประกอบ รวมทั้งเป็นบริการพิเศษที่จัดขึ้นในกรณีที่หนังสือนั้นมีจำนวนน้อย แต่มีผู้ใช้ต้องการจำนวนมาก โดยแยกไว้ต่างหาก และมีกำหนดระยะเวลาให้ยืมสั้นกว่าหนังสือทั่วไป

  26. ๔.บริการแนะนำการใช้ห้องสมุด เป็นบริการเพื่อแนะนำผู้ใช้ให้ทราบว่า ห้องสมุดจัดบริการอะไรบ้างให้กับผู้ใช้ เช่น ห้องสมุดส่วนใหญ่จะจัดทำคู่มือการใช้ห้องสมุด เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับห้องสมุด เช่น ประวัติของห้องสมุด ระเบียบการยืม - คืนทรัพยากรสารสนเทศ เป็นต้น๕. บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า เป็นบริการที่ครูบรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุด จะช่วยให้คำแนะนำและบริการตอบคำถามแก่นักเรียนและผู้ใช้ ทั้งคำถามทั่วไปเกี่ยวกับการใช้ห้องสมุด และคำถามที่ต้องค้นหาคำตอบจากทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ ในห้องสมุด

  27. ๖. บริการแนะแนวการอ่าน เป็นบริการสำคัญที่ห้องสมุดจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการอ่าน พัฒนานิสัยรักการอ่าน และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยเหลือผู้ใช้ห้องสมุดที่มีปัญหาในการอ่าน ผู้ที่ไม่อยากอ่านหนังสือ หรือเลือกหนังสืออ่านไม่เหมาะสมกับความต้องการของตน๗. บริการสอนการใช้ห้องสมุด เป็นบริการของห้องสมุดในโรงเรียนที่จัดสอนให้แก่นักเรียนที่เข้าเรียนใหม่ในชั้นปีแรก เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ห้องสมุด การเลือกใช้ทรัพยากรสารสนเทศแต่ละประเภท และบริการต่างๆ ของห้องสมุด ให้ผู้ใช้สามารถใช้ประโยชน์จากห้องสมุดได้อย่างเต็มที่

  28. ๘. บริการสืบค้นฐานข้อมูล เป็นบริการสืบค้นฐานข้อมูลหนังสือของห้องสมุดช่วยให้ผู้ใช้ สามารถค้นหาหนังสือด้วยตนเองได้สะดวก รวดเร็วขึ้น๙. บริการรวบรวมบรรณานุกรม เป็นการรวบรวมรายชื่อหนังสือ สำหรับใช้ประกอบการเรียนการสอน ในรายวิชาต่างๆ รวมถึงการรวบรวมบรรณานุกรมหนังสือใหม่ประจำเดือนที่ห้องสมุดออกให้บริการแก่ผู้ใช้๑๐. บริการอื่นๆ ที่ห้องสมุดอาจจัดขึ้น เช่น บริการโสตทัศนวัสดุ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ บริการห้องสมุดเคลื่อนที่ บริการชุมชน บริการขอใช้สถานที่ประชุม เป็นต้น

  29. ๑๑. บริการข่าวสารทันสมัย เป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดได้ทราบข้อมูลใหม่ๆ ในสาขาวิชาต่างๆ โดยการถ่ายสำเนาหน้าสารบัญวารสารฉบับล่าสุดที่ห้องสมุดได้รับรวบรวมไว้ในแฟ้ม เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ในการศึกษาค้นคว้า๑๒. บริการอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่สนใจได้ทั่วโลก ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ทันสมัยได้มากขึ้น ตรงตามความต้องการและสะดวกรวดเร็ว

  30. ขอขอบคุณแหล่งที่มา๑. http://school.obec.go.th/e-lb/pic/Library2.htm ๒. http://www.lib.ru.ac.th/libthai.html

  31. จัดทำโดย นางสาวชัชฎาภรณ์ มะลิสุวรรณ ๕๒๑๘๑๑๑๖ นางสาวอโณทัย ใจต๊ะพิงค์ ๕๒๑๘๑๑๕๓ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์เสนอต่อ อาจารย์ไพรศิลป์ ปินทะนาวิชาการศึกษาและการมีส่วนร่วมในสถานศึกษา SECTION ๐๕

More Related