1 / 6

ประวัติความเป็นมาและสภาพ ปัจจุบัน

ประวัติความเป็นมาและสภาพ ปัจจุบัน. โครงการจัดตั้งสถานวิจัยวิทยาการสุขภาพ. 1.1 อุทยานการศึกษา “ เฉลิมพระเกียรติ ” มหาวิทยาลัยวลัย ลักษณ์.

Download Presentation

ประวัติความเป็นมาและสภาพ ปัจจุบัน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ประวัติความเป็นมาและสภาพปัจจุบันประวัติความเป็นมาและสภาพปัจจุบัน โครงการจัดตั้งสถานวิจัยวิทยาการสุขภาพ

  2. 1.1 อุทยานการศึกษา “เฉลิมพระเกียรติ” มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ • มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เนื่องในวโรกาส “ฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปีกาญจนาภิเษก ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” (21 มกราคม 2539) เพื่อเทิดพระเกียรติ และสนองแนวพระราช ดำริต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษา วัฒนธรรม และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยใช้พื้นที่ 9,000 ไร่ ของมหาวิทยาลัยเป็นแหล่งศึกษา ทั้งในระบบและนอกระบบเพื่อการศึกษาตามอัธยาศัย เน้นความหลากหลายทางดุลยภาพความตระหนักในคุณค่าของสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น จริยธรรม วัฒนธรรม ภูมิปัญญาชาวบ้าน วิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ และส่งเสริมการใช้ทรัพยากรโดยวิธีบูรณาการองค์ความรู้ และทรัพยากรจากหน่วยงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ และมีการจัดการศึกษาแบบสหวิทยาการ องค์ประกอบของอุทยานการศึกษา มีดังนี้ คือ • 1) หอเฉลิมพระเกียรติ 7) อุทยานพฤกษศาสตร์ • 2) อุทยานเทิดพระเกียรติ 8) วนอุทยาน • 3) อุทยานสัมมนาและสาธิต 9) อุทยานโบราณคดี • 4) อุทยานไทยทักษิณ 10) อุทยานสิ่งแวดล้อม • 5) อุทยานธรรมนิทัศน์ 11) อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี • 6) เขตการศึกษา โดยในส่วนที่ 6) เขตการศึกษานั้น ได้แบ่งออกเป็น 3 หน่วยงานหลัก ได้แก่ 1. ศูนย์การแพทย์ กำหนดเป็นแหล่งให้การศึกษาวิชาชีพเฉพาะแก่นักศึกษาแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพอื่นๆ และยังกำหนดให้มีการบริการทางการแพทย์/วิชาการและการวิจัยควบคู่กันไปด้วย 2. สถานกีฬาและสุขภาพ 3. ฟาร์มมหาวิทยาลัย

  3. 1.2 โครงการพัฒนาระบบสุขภาพจังหวัดนครศรีธรรมราช ด้วยชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชได้รณรงค์เพื่อขอให้มีมหาวิทยาลัยในจังหวัดนครศรีธรรมราชจนประสบความสำเร็จได้มีการก่อตั้ง “มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์” ขึ้น ณ ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช (พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีผลบังคับตามกฎหมาย เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2539) โดยในระยะแรกของการบริหารงานนั้นชาวนครศรีธรรมราชมีความต้องการให้มหาวิทยาลัยมีศูนย์การแพทย์ เพื่อบริการสุขภาพแก่ชุมชนได้ในระดับก้าวหน้าและทันสมัย ซึ่งก็มีความสอดคล้องกับการจัดทำโครงการอุทยานการศึกษา “เฉลิมพระเกียรติ” มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่มีเขตการศึกษาซึ่งเน้นการจัดตั้งศูนย์การแพทย์เช่นเดียวกัน ดังนั้นมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จึงร่วมกับจังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราชโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช โรงพยาบาลชุมชน สถานีอนามัยและศูนย์บริการสุขภาพชุมชน องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช องค์การบริหารส่วนตำบล และประชาชนชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ร่วมกันจัดทำโครงการพัฒนาระบบสุขภาพจังหวัดนครศรีธรรมราชขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้เป็นต้นแบบในการพัฒนาสุขภาพอนามัยระดับปฐมภูมิ (รากหญ้า) ของชุมชนอย่างยั่งยืน และชุมชนมีส่วนร่วม ณ ศูนย์บริการสุขภาพชุมชนที่เชื่อมโยงกับเครือข่ายโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้วขยายเครือข่ายออกไปในกลุ่มจังหวัดต่างๆ ของภาคใต้ตอนบนต่อไป โดยเน้นการดำเนินการ 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการผลิตแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์เพิ่มเติมเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลน 2) ด้านการกระจายบุคลากรเหล่านี้ลงในพื้นที่ที่ต้องการได้อย่างต่อเนื่อง และ 3) ด้านการศึกษาวิจัยกระบวนการบริการสุขภาพต้นแบบในระดับปฐมภูมิให้มีประสิทธิภาพ

  4. 1.3 โครงการจัดตั้งวิทยาลัยวิทยาการสุขภาพ ปรัชญาและแนวคิดการดำเนินการ โดยการจัดตั้งโครงการวิทยาลัยวิทยาการสุขภาพ (มกราคม ๒๕๔๘) เพื่อเป็นองค์กรที่จะรับผิดชอบในการประสานงานและติดตามประเมินผล กับสำนักวิชาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการสุขภาพทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยให้เกิดการดำเนินการได้จริงตามนโยบายที่วางไว้ ในการจัดทำหลักสูตรและจัดกระบวนการเรียนการสอน การจัดการที่เน้นนักศึกษาเป็นสำคัญ (ศูนย์กลาง) ในกลุ่มวิชาศึกษาทั่วไป กลุ่มวิทยาศาสตร์พื้นฐาน กลุ่มวิชาปรีคลินิก และ เวชศาสตร์ชุมชนและครอบครัว ตลอดจนรายวิชาในกลุ่มคลินิก ทั้งในห้องเรียน และชุมชน รวมสถานีอนามัยและศูนย์บริการสุขภาพชุมชน สำหรับด้านการวิจัยเชิงบูรณาการและการบริการวิชาการจะต้องประสานงานกับสถาบันวิจัยวิทยาการสุขภาพวลัยลักษณ์ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ได้ โดยเป็นองค์กรประสานงานอำนวยความสะดวก ด้านโครงการวิจัยของอาจารย์ในสำนักวิชาด้านวิทยาการสุขภาพในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และอาจารย์แพทย์ในโรงพยาบาลร่วมผลิตต่างๆ โดยเฉพาะโครงการที่เกี่ยวข้องกับการทดลองในมนุษย์ เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากร ร่วมกันโดยให้เกิดประโยชน์สูงสุด

  5. 1.4 โครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยวิทยาการสุขภาพ การพัฒนาปรับเปลี่ยน ชื่อเดิม แนวคิด วัตถุประสงค์และโครงสร้าง เมื่อแรกในการจัดตั้ง (มกราคม ๒๕๔๘ ) ใช้ชื่อว่า “โครงการจัดตั้งสถาบันวิจัยวิทยาการสุขภาพวลัยลักษณ์ สถาบันเฉลิมพระ เกียรติ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี” โดยมีแนวคิดที่จะให้คณาจารย์ที่มีการเรียน การสอนร่วมกันได้มีโอกาส ทำงานควบคู่ไปกับการวิจัยและการบริการทางวิชาการ ทั้งนี้จะประสานงานร่วมกันกับวิทยาลัยวิทยาการ สุขภาพ สำหรับวัตถุประสงค์เดิมนั้น ตั้งใจจะจัดตั้ง 1) เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารีองค์พระผู้ทรงปรีชา ชาญด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และวิทยาการสุขภาพระดับโลกและเนื่องใน วโรกาสที่ทรงเจริญพระชันษาครบ 48 ปี 2) เพื่อพัฒนาการวิจัยองค์ความรู้ใหม่ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ก้าวหน้าและทันสมัยในการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพ อนามัย และด้านสังคมเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน 3) เพื่อจัดการเรียนการสอนกลุ่มวิชาปรีคลินิก แก่นักศึกษาแพทย์และนักศึกษาวิทยาศาสตร์การแพทย์ร่วมกันโดยมีเป้าหมายใน การรับนักศึกษาแพทย์ไม่น้อยกว่า 300 คน (ระยะเวลา 6 ปี) และนักศึกษาวิทยาศาสตร์การแพทย์อื่นๆ จำนวน 1,860 คน 4) เพื่อการให้การบริการทางวิชาการในการชันสูตรโรค วิเคราะห์อาหารและสารเคมี (ยาเสพติด) การพัฒนาสมุนไพรเพื่อการ พึ่งพาตนเอง และการสนับสนุนด้านนิติวิทยาศาสตร์ แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย

  6. 1.4 โครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยวิทยาการสุขภาพ ในการประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยวิทยาการสุขภาพ ครั้งที่ 4/2550 เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2550 มีมติว่าให้โครงการวิทยาลัยวิทยาการสุขภาพ บริหารโดยคณะกรรมการบริหารระบบวิทยาการสุขภาพ อนึ่งเนื่องจากยังไม่มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารระบบวิทยาการสุขภาพ และยังมิได้แต่งตั้งกรรมการและเลขานุการ ของคณะกรรมการชุดนี้ ระหว่างนี้ ศาสตราจารย์ ดร.วรนันท์ศุภพิพัฒน์ จึงทำหน้าที่กรรมการและเลขานุการ เพื่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปก่อน จนกว่าจะมีการแต่งตั้งเป็นทางการโดยมีมติให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการการจัดการเรียนการสอน 3 ชุด ได้แก่ 1) คณะอนุกรรมการการจัดการเรียนการสอนชั้นปรีคลินิกและวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (รวมวิชาศึกษาทั่วไป) 2) คณะอนุกรรมการการจัดการเรียนการสอนชั้นคลินิก และ 3) คณะอนุกรรมการ จัดการเรียนการสอนด้านเวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งและดำเนินการตามภารกิจตามที่ได้รับมอบหมายไประดับหนึ่งแล้ว ส่วนการจัดตั้งศูนย์วิจัยวิทยาการสุขภาพนั้นที่ประชุมเห็นชอบให้ ศาสตราจารย์ ดร.วรนันท์ศุภพิพัฒน์ เป็นหัวหน้าโครงการศูนย์วิจัยวิทยาการสุขภาพและเป็นที่ปรึกษาในการก่อสร้างอาคารศูนย์วิจัยวิทยาการสุขภาพ พร้อมทั้งได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการโครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยวิทยาการสุขภาพ เพื่อทำหน้าที่ดังนี้ 1) กำหนดนโยบาย 2) กำหนดแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ 3) ดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ 4) ประสานให้เกิดการพัฒนางานวิจัย และระบบฐานข้อมูลวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งจะนำมาซึ่งการพัฒนาสุขภาพแบบองค์รวมของชุมชนอย่างยั่งยืน 5) ประสานให้เกิดการพัฒนาระบบและกลไกในการสร้างเครือข่าย ความร่วมมือด้านงานวิจัยกับหน่วยงาน หรือสถาบันภายในประเทศและภายนอกประเทศ

More Related