1 / 55

หน่วยที่ 6 ความปลอดภัยในการเก็บสารเคมีและวัตถุอันตราย

หน่วยที่ 6 ความปลอดภัยในการเก็บสารเคมีและวัตถุอันตราย. ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง คู่มือการเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตราย พ.ศ. 2550 สารเคมี หมายถึง สารที่ประกอบด้วยธาตุเดียวกันหรือสารประกอบจากธาตุต่างๆ รวมกันด้วยพันธะเคมี

Download Presentation

หน่วยที่ 6 ความปลอดภัยในการเก็บสารเคมีและวัตถุอันตราย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หน่วยที่ 6 ความปลอดภัยในการเก็บสารเคมีและวัตถุอันตราย • ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง คู่มือการเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตราย พ.ศ. 2550 • สารเคมี หมายถึง สารที่ประกอบด้วยธาตุเดียวกันหรือสารประกอบจากธาตุต่างๆ รวมกันด้วยพันธะเคมี • วัตถุอันตราย หมายถึง วัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นผู้รับผิดชอบตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม แห่ง พรบ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 • ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่องการเก็บรักษาวัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ. 2551 • ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำหนดให้สถานประกอบการวัตถุอันตรายมีบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ. 2551

  2. ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งมีบุคลากรเฉพาะ การจดทะเบียนบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ และการรายงานความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย พ.ศ.2551 • สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี เรียนวิชาเคมีไม่น้อยกว่า 8 หน่วยกิต หรือ ม.6 มีประสบการณ์ เก็บรักษาวัตถุอันตรายไม่น้อยกว่า 3 ปี • ผ่านการทดสอบความรู้ตามหลักสูตรความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด ได้คะแนนทดสอบไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 • ส่งรายงานความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย บฉ.4 ปีละ 1 ครั้ง ทุกสิ้นปีปฏิทิน อิเลคทรอนิคส์

  3. กฎหมาย ของกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการวัตถุอันตรายที่ต้องจัดให้มีบุคลากรเฉพาะดังกล่าวคือ ผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือผู้ส่งออกวัตถุอันตรายที่มีวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ชนิดที่ 2 หรือชนิดที่ 3 ปริมาณรวมกันตั้งแต่ 1,000 เมตริกตัน/ปี ขึ้นไป  ผู้ที่ครอบครองวัตถุอันตรายมีพื้นที่ตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป  ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออกหรือผู้มีไว้ซึ่งวัตถุไวไฟ หรือวัตถุออกซิไดซ์ และวัตถุ เปอร์ออกไซด์

  4. อันตรายที่อาจเกิดขึ้นในสถานที่จัดเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในสถานที่จัดเก็บสารเคมีและวัตถุอันตราย • อัคคีภัย • การระเบิด • การรั่วไหลหรือหก ของสารพิษ • การรั่วไหลหรือหกของสารกัดกร่อน

  5. การจำแนกประเภทของสารเคมีและวัตถุอันตรายสำหรับการจัดเก็บการจำแนกประเภทของสารเคมีและวัตถุอันตรายสำหรับการจัดเก็บ • ตาม พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ได้จำแนกวัตถุอันตรายออกเป็น 9 ประเภท แต่ในกรณีของการจัดเก็บเพื่อความปลอดภัย ได้มีการจำแนกสารเคมีและวัตถุอันตรายออกเป็น 13 ประเภท โดยพิจารณา สมบัติการติดไฟ การระเบิดและการออกซิไดซ์ รองลงมาด้านความเป็นพิษและความกัดกร่อน

  6. ประเภทที่ 1 วัตถุระเบิด • ประเภทที่ 2 • - 2A ก๊าซอัด ก๊าซเหลว หรือก๊าซที่ละลายภายใต้ความดัน • - 2 B ก๊าซภายใต้ความดันในภาชนะบรรจุขนาดเล็ก (กระป๋องสเปรย์) • ประเภทที่ 3 • - 3A ของเหลวไวไฟจุดวาบไฟไม่เกิน 60 องศาเซลเซียส • - 3B จุดวาบไฟระหว่าง 60-93 องศา C และมีสมบัติผสมกับน้ำไม่ได้ • ประเภทที่ 4 • - 4.1A ของแข็งไวไฟที่มีสมบัติการระเบิด • - 4.1B ของแข็งไวไฟ • - 4.2 สารที่มีความเสี่ยงต่อการลุกไหม้ได้เอง • ประเภทที่ 5 • - 5.1A 5.1B 5.1 C สารออกซิไดซ์ • - 5.2 สารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์

  7. ประเภทที่ 6 • - 6.1 A สารติดไฟที่มีสมบัติความเป็นพิษ และ 6.1 B สารไม่ติดไฟที่มีคุณสมบัติความเป็นพิษ • - 6.2 สารติดเชื่อ หมายถึงสารที่เป็นจุลินทรีย์ หรือมีจุลินทรีย์เป็นส่วนประกอบ หรือพยาธิ เป็น • สาเหตุให้เกิดโรคในมนุษย์ • ประเภทที่ 7 วัสดุกัมมันตรังสี • ประเภทที่ 8 สารกัดกร่อน • - 8A สารติดไฟที่มีสมบัติการกัดกร่อน • - 8B สารม่ติดไฟที่มีสมบัติการกัดกร่อน • ประเภทที่9 ซึ่งเป็นวัตถุอันตรายประเภทอื่นๆ ตามการจำแนกเพื่อการขนส่ง ไม่นำมาพิจารณาในกระบวนการจัดเก็บ • ประเภทที่ 10 ของเหลวติดไฟ • ประเภทที่ 11 ของแข็งติดไฟ • ประเภทที่ 12 ของเหลวไม่ติดไฟ • ประเภทที่ 13 ของแข็งไม่ติดไฟ

  8. ปัจจัยที่ต้องพิจารณาจัดเก็บสารเคมีหรือวัตถุอันตรายปัจจัยที่ต้องพิจารณาจัดเก็บสารเคมีหรือวัตถุอันตราย • ต้องไม่อยู่ใกล้สถานที่สำคัญ เช่น ที่พักอาศัย ตลาด แหล่งน้ำสาธารณะ • มีเส้นทางที่สะดวกต่อการขนส่ง และการดำเนินงานในภาวะฉุกเฉิน • มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอเช่น ไฟฟ้าแหล่งน้ำ • มีพื้นที่เพียงพอต่อการสร้างสถานที่จัดเก็บ • อยู่ในทำเลที่ปลอดภัย

  9. แนวทางการจัดการความปลอดภัยในอาคารจัดเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายแนวทางการจัดการความปลอดภัยในอาคารจัดเก็บสารเคมีและวัตถุอันตราย • จัดหาหรือมอบหมายผู้ที่เหมาะสม (มีคุณสมบัติตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด) เป็นผู้รับผิดชอบด้านความปลอดภัยเป็นการเฉพาะ • จัดทำบัญชีรายชื่อสารเคมีและวัตถุอันตรายที่เก็บไว้ พร้อมมีแผนผังแสดงว่าจัดเก็บไว้ที่ใด • กำหนดให้มีการรับเข้าและจ่ายออกในลักษณะมาก่อนไปก่อน • ติดฉลากภาชนะบรรจุ และจัดหาข้อมูลความปลอดภัยสารเคมีไว้พร้อมใช้งาน • ฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานและผู้เกี่ยวข้องให้เข้าใจเรื่องความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมีและวัตถุอันตรายที่จัดเก็บไว้ • กำหนดวิธีการจัดเก็บกรณีที่มีปริมาณมากพอสมควรในรูปแบบแยกบริเวณและแบบแยกห่าง และกรณีที่ปริมาณจัดเก็บเล็กน้อย

  10. มาตรการจัดการด้านสุขศาสตร์สำหรับผู้ปฏิบัติงานในอาคารจัดเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายมาตรการจัดการด้านสุขศาสตร์สำหรับผู้ปฏิบัติงานในอาคารจัดเก็บสารเคมีและวัตถุอันตราย • จัดชุดปฏิบัติการที่เหมาะสมและเก็บแยกไว้เป็นการเฉพาะ • ห้ามรับประทานอาหาร ดื่มน้ำ หรือสูบบุหรี่ในอาคารดังกล่าว • จัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน และที่ล้างตาฉุกเฉิน • ไม่อนุญาตให้พักอาศัยภายในอาคารสถานที่จัดเก็บ • จัดให้มีที่ล้างมือ ล้างหน้า และห้องอาบน้ำ ไม่น้อยกว่า 1 ที่ ต่อผู้ปฏิบัติงาน 15 คน เพิ่มจำนวนขึ้นตามสัดส่วนของผู้ปฏิบัติงาน ส่วนที่เกิน 7 คน ให้ถือเป็น 15 คน

  11. มาตรการเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายสารเคมีและวัสดุอันตราย • ต้องตรวจสอบสภาพของภาชนะ หีบห่อ ฉลากว่าอยู่ในสภาพที่ดี • ใช้รถยกที่มีขนาดและความเหมาะสมกับปริมาณ/ประเภทของสารที่จัดเก็บ • เมื่อจะเปลี่ยนแบตเตอรี่ของรถยกไฟฟ้าต้องทำภายนอกอาคารจัดเก็บ • รถยกที่ใช้ในสถานที่จัดเก็บของเหลวไวไฟ ก๊าซไวไฟ และวัตถุระเบิด ต้องมีระบบป้องกันการระเบิด

  12. หน่วยที่ 7 ความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าอันตราย • กฎระเบียบสากลในการขนส่งสินค้าอันตรายได้มีการพัฒนาขึ้นภายใต้คณะกรรมการด้านเศรษฐกิจแห่งสหประชาชาติสำหรับภาคพื้นยุโรป หรือ UNECE (United Nations Economic Commission for Europe) ค.ศ. 1957 (พ.ศ. 2500) ใช้ชื่อว่า ข้อแนะนำของสหประชาชาติว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตราย มีการปรับปรุงทุก 2 ปี • ประเทศไทยเกิดเหตุการณ์รถบรรทุกก๊าซพลิกคว่ำ ที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ใน พ.ศ. 2533 • ไทยขอความร่วมมือกับเยอรมัน รับข้อแนะนำของสหประชาชาติว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายมาใช้ จัดทำเป็นภาษาไทย ใช้ชื่อว่า ข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายของประเทศไทย (Thai Provisions Volume 1; TP1) • จัดทำ ข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายทางถนนของประเทศไทย (Thai Provisions Volume 2 ; TP2) รับเอาข้อตกลงของสหภาพยุโรปว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายระหว่างประเทศทางถนนเป็นต้นแบบ • 2545 ASEAN ได้มีการลงนามในพิธีศาล ฉบับที่ 9 (Protocol 9 ) ว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายข้ามแดนระหว่างประเทศคู่สัญญา TP1 และ TP2 จึงถือได้ว่าเป็นไปตามข้อตกลงของกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

  13. โครงสร้างของกฎหมายของข้อแนะนำสหประชาชาติว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตราย

  14. การจำแนกประเภทความเป็นอันตรายและตารางบัญชีรายชื่อสินค้าอันตรายการจำแนกประเภทความเป็นอันตรายและตารางบัญชีรายชื่อสินค้าอันตราย

  15. หมายเลขสหประชาชาติ (UN Number) คือ • ตัวเลขสี่หลักที่กำหนดโดยสหประชาชาติ ซึ่งมีคำย่อว่า UN นำหน้าตัวเลขดังกล่าว เช่น UN No. 1090 ACETONE การทดสอบสมรรถนะของบรรจุภัณฑ์ • การทดสอบการตกกระทบ (drop test) • การทดสอบการซ้อนทับ (stacking test) • การทดสอบแรงดันของเหลว (hydraulic test) • การทดสอบการกันรั่ว (leakproofenss test)

  16. การทำเครื่องหมายและปิดป้ายบนหน่วยขนส่งการทำเครื่องหมายและปิดป้ายบนหน่วยขนส่ง • 1. ข้อกำพหนดในการทำเครื่องหมายและปิดป้ายบนหน่วยขนส่ง เป็นฉลากขนาด ใหญ่มีขนาดอย่างน้อย 25x 25 เซนติเมตร เพื่อแสดงประเภทของสินค้าอันตรายที่ขนส่งอยู่ การทำเครื่องหมายด้วยแผ่นป้ายสีส้มเพื่อแสดงว่ากำลังทำการขนส่งสินค้าอันตราย ต้องมีรูปแบบดังนี้ • - เป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก • - มีพื้นสีส้ม • - สะท้อนแสง • - ความยาวฐาน 40 เซนติเมตร • - ความสูง 30 เซนติเมตร • - เส้นขอบสีดำมีขนาดความหนาเส้น 15 มิลลิเมตร • 2. แสดงหมายเลขที่เป็นอันตราย • 3. ทำเครื่องหมายและการปิดป้ายบนแท็งก์ที่บรรจุสินค้าอันตราย

  17. การทำเครื่องหมายและติดฉลากบนบรรจุภัณฑ์การทำเครื่องหมายและติดฉลากบนบรรจุภัณฑ์

  18. ข้อกำหนดเกี่ยวกับเงื่อนไขในการบรรทุกและการขนถ่ายเคลื่อนย้ายสินค้าอันตรายข้อกำหนดเกี่ยวกับเงื่อนไขในการบรรทุกและการขนถ่ายเคลื่อนย้ายสินค้าอันตราย • มาตรการที่ต้องดำเนินการก่อนการบรรทุกตรวจเช็คต่างๆ • สินค้าอันตรายที่เข้ากันไม่ได้ • การจัดแยกสินค้าอันตรายจากอาหาร • การผูกยึดสินค้า • การห้ามบุหรี่ในระหว่างการเคลื่อนย้ายสินค้าขึ้นและลงจากรถ • ข้อควรระวังเกี่ยวกับการเกิดประจุไฟฟ้าสถิตสำหรับแท็งก์ • การทำความสะอาดพาหนะหลังจากการขนถ่าย

  19. หน่วยที่ 8 การรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสถานประกอบการ • 1. เป็นพื้นฐานที่สำคัญของทุกระบบคุณภาพ ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม • 2. ทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความรู้สึกนึกคิดที่เป็นระบบและมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยไปด้วย ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของทุกระบบคุณภาพ ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม • 3. ช่วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการทำงาน • 4. ช่วยลดปริมาณการใช้ทรัพยากรที่สิ้นเปลือง และทำให้การใช้สอยพื้นที่เกิดประโยชน์สูงสุด • 5. ช่วยสร้างความภูมิใจของผู้ปฏิบัติงานต่อสถานที่ทำงานของตนเอง • 6. ทำให้เกิดผลผลิตที่สูงขึ้น • 6. ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการประกันภัย

  20. หลักการการรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสถานประกอบการมี 7 หลักการ • 1 การแบ่งพื้นที่ความรับผิดชอบและกำหนดผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน • 2. กำหนดมาตรฐานของเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ วัสดุ และสิ่งของ ต่างๆ ให้ชัดเจน • 3. สิ่งของที่ต้องใช้ประจำให้เบิกไว้ประจำตัว • 4. สิ่งที่ไม่ได้ใช้เป็นประจำ ให้จัดไว้เป็นส่วนกลางโดยกำหนดมาตรฐานการจัดเก็บให้ชัดเจน • 5. สิ่งของต้องระบุผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน • 6. ใช้หลัก Reduce , Reuse , Recycle ลดการใช้ ใช้หมุนเวียน นำกลับมาใช้ใหม่ • 7. ต้องทำความสะอาดสิ่งของอยู่เสมอ

  21. กิจกรรม 5 ส เพื่อการจัดการรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย การนำกิจกรรม 5 ส มาใช้งานในสถานประกอบการ มีแนวทางการ ดำเนินงานตามลำดับ • ประกาศนโยบาย • จัดตั้งคณะกรรมการ 5 ส และคณะกรรมการตรวจติดตาม • ประชาสัมพันธ์และจัดอบรม • กำหนดมาตรฐานและขอบเขตการดำเนินงาน • แบ่งพื้นที่รับผิดชอบ • กำหนดแผนปฏิบัติการ และดำเนินการตามแผน • ตรวจติดตามผล • ประเมินผลและปรับปรุงแก้ไข

  22. แนวทางการกำหนดมาตรฐานกิกกรรม 5 ส เป็นการกำหนดแนวทางปฏิบัติสำหรับแต่ละกิจกรรม • กิจกรรม ส 1 สะสาง ได้แก่ การแยกให้ชัด ขจัดให้ออก • กิจกรรม ส 2 สะดวก ได้แก่ หยิบง่าย หายรู้ ดูงามตา และกำหนดมาตรฐานจำนวนอุปกรณ์สำนักงานที่ควรมีประจำโต๊ะทำงานของแต่ละโต๊ะ • กิจกรรม ส 3 สะอาด ได้แก่ จัดสถานที่ทำงาน และวัสดุอุปกรณ์ ให้น่าใช้ และใหม่เสมอ โดยทำ ส1 สะสาง ส2 สะดวก และ ส 3 สะอาด ควบคู่กันไป • กิจกรรม ส 4 สุขลักษณะ ได้แก่ การทำกิจกรรม ส1 ส2 ส3 ให้เป็นนิจ สุขภาพจิตสดใส • กิจกรรม ส 5 สร้างนิสัย ได้แก่ ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบอย่างเคร่งครัดสม่ำเสมอ

  23. การตรวจสอบการรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยการตรวจสอบการรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย • การตรวจสอบแบบไม่เป็นทางการ (Informal Inspections) • การตรวจสอบแบบเป็นทางการ (Formal Inspections)

  24. ขอบข่ายการตรวจสอบการรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย • พื้นห้องและพื้นที่อื่นๆ • การบำรุงรักษาระบบการให้แสงสว่าง • ช่องทางเดินและบันไดทางเดิน • ควบคุมการหก/รั่วไหล • เครื่องมือและอุปกรณ์ • การกำจัดของเสีย /ขยะ • การจัดเก็บ • การระบายอากาศ • การป้องกันระงับอัคคีภัย • การบริหารจัดการระบบการรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย

  25. หน่วยที่ 9 ความปลอดภัยในการทำงานกับหม้อน้ำ ภาชนะรับแรงดันและภาชนะบรรจุก๊าซ • หม้อน้ำเป็นเครื่องจักรที่ใช้ผลิตไอน้ำ มี 3 แบบคือ แบบท่อไฟ แบบท่อน้ำ และแบบสร้างขึ้นมาพิเศษ โดยทั่วไปสามารถแบ่งโครงสร้างของหม้อไอน้ำออกตามหน้าที่ได้ 3 ส่วนคือ ส่วนที่ใช้ถ่ายเทความร้อน ส่วนเก็บน้ำ และส่วนเก็บไอน้ำ

  26. หม้อน้ำ (Boilers) ตามกฎกระทรวง 2549 หมายถึง ภาชนะปิดสำหรับบรรจุน้ำที่มีปริมาณความจุเกิน 2 ลิตรขึ้นไป • หม้อน้ำแบบท่อน้ำ หมายถึง หม้อน้ำชนิดที่มีน้ำอยู่ในท่อ ส่วนไฟจะอยู่ภายนอกท่อ • แรงม้าหม้อน้ำ หมายถึง ความสามารถของหม้อน้ำที่ผลิตไอน้ำได้ 34.5 ปอนด์ในเวลา 1 ชั่วโมงโดยที่น้ำในหม้อน้ำมีอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส และไอน้ำที่ผลิตได้มีอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ที่ความดัน 14.7 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว • อัตราการผลิตไอน้ำ หมายถึง ความสามารถของหม้อน้ำที่ผลิตไอน้ำได้ในเวลา 1 ชั่วโมง เมื่อมารตวัดความดันอ่านค่าได้ 0 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว • ส่วนเก็บน้ำ หมายถึง บริเวณภายในหม้อน้ำที่ทำหน้าที่เก็บน้ำไว้สำหรับผลิตไอน้ำ โดยจะ อยู่ใต้ส่วนที่เก็บไอน้ำ

  27. ไอน้ำ (Steam) น้ำที่แตกตัวอยู่ในสภาวะของก๊าซบางส่วน ดังนั้นไอน้ำจึงประกอบไปด้วยของเหลวและก๊าซ เมื่อต้มน้ำในภาชนะปิดน้ำจะกลายเป็นไอ ที่อุณหภูมิ 212 องศาฟาเรนไฮท์ หรือ 100 องศาเซลเซียส ที่ความดันบรรยากาศ • (14.7 ปอนด์/ตารางนิ้ว) • ไอดงหรือไอแห้ง (Superheated steam) หมายถึงไอน้ำที่มีอุณหภูมิสูงกว่าไอน้ำอิ่มตัว ไอดง ได้มาจากการผ่านไอน้ำอิ่มตัวเข้าไปในขดท่อที่ร้อน ไอน้ำจะมีอุณหภูมิสูงจนกลายเป็นไอดง เหมาะขับเคลื่อนกังหันไอน้ำ • ความดัน (Pressure) หมายถึงแรงที่กระทำต่อหน่วยพื้นที่ ที่นิยม ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (psi) กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (kg/cm2 ) บาร์ (bar) และ ปาสคาล (pa) • อัตราการผลิตไอน้ำ (Steam rate) หมายถึง ความสามารถของหม้อน้ำที่ผลิตไอน้ำได้ในเวลา 1 ชั่วโมง เรียก ตันต่อชั่วโมง เช่นหม้อน้ำขนาด 5 ตัน หมายถึง หม้อน้ำที่สามารถผลิตไอน้ำๆได้ 5 ตันในเวลา 1 ชั่วโมง

  28. โครงสร้าง ส่วนประกอบ อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยของหม้อน้ำ

  29. อุปกรณพื่อความปลอดภัยของหม้อน้ำอุปกรณพื่อความปลอดภัยของหม้อน้ำ • ลิ้นนิรภัย เซฟตี้วาล์ว • ปลั๊กหลอมละลายหรือสะดือหม้อน้ำ • เครื่องควบคุมระดับน้ำ • สัญญาณเตือนภัยอัตโนมัติ • เครื่องควบคุมควมดัน • ฝานิรภัย • อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิปล่องไอเสีย

  30. การปรับปรุงคุณภาพน้ำ ทำได้ 2 วิธี  ปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนเติมเข้าหม้อน้ำ การปรับปรุงคุณภาพน้ำภายในหม้อน้ำ

  31. เชื้อเพลิงและการเผาไหม้สำหรับหม้อน้ำเชื้อเพลิงและการเผาไหม้สำหรับหม้อน้ำ • เชื้อเพลิงแข็ง เช่น ถ่านหิน ไม้ ชานอ้อย และแกลบ เป็นเชื่อเพลิงที่มีราคาถูกและหาง่าย • เชื้อเพลิงเหลว ส่วนใหญ่ได้มาจากน้ำมันดิบหรือปิโตรเลียม เช่น น้ำมันเตา น้ำมันดีเซล น้ำมันก๊าด นิยมใช้กับหม้อน้ำสำเร็จรูปใช้ในเขตชุมชนได้ • เชื้อเพลิงก๊าซหรือแก๊ส ได้มาจากหลุมก๊าซธรรมชาติหรือจากน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซชีวภาค

  32. มาตรการป้องกันอันตรายจากหม้อน้ำระเบิดลักษณะของหม้อน้ำที่ดีมาตรการป้องกันอันตรายจากหม้อน้ำระเบิดลักษณะของหม้อน้ำที่ดี • 1 มีการออกแบบโครงสร้างอย่างง่ายๆ มีความแข็งแรงและถูกแบบวิศวกรรม • 2. ออกแบบให้มีการถ่ายเทความร้อนและการไหลเวียนของน้ำได้ดี • 3. มีพื้นที่ สำหรับเก็บไอน้ำมาก • 4. มีพื้นที่ถ่ายเทความร้อนมาก • 5. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ได้มาตรฐานและเป็นชนิดที่ใช้สำหรับหม้อน้ำ • 6. ส่วนประกอบและอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยมีอย่างเพียงพอ • 7. เตาเผาหรือห้องเผาไหม้มีพื้นที่เพียงพอที่จะทำให้การเผาไหม้สมบูรณ์ • 8. สามารถตรวจสอบและซ่อมแซมทุกส่วนของหม้อน้ำได้ • 9. ควบคุมง่ายและมีความปลอดภัยในการใช้งานสูง

  33. สาเหตุจากหม้อน้ำระเบิดสาเหตุจากหม้อน้ำระเบิด • ความบกพร่องในการออกแบบ การสร้าง การติดตั้ง และการซ่อมแซมหม้อน้ำ • วัสดุที่นำมาใช้ทำโครงสร้างไม่เหมาะสม • ใช้อุปกรณ์ต่างๆ ไม่ถูกต้องตามข้อกำหนดของอุปกรณ์นั้นๆ • ผู้ควบคุมหม้อไอน้ำมีความรู้ไม่เพียงพอในการปฏิบัติงานควบคุมหม้อไอน้ำด้วยความปลอดภัย • ขาดการตรวจสอบ บำรุงรักษา โครงสร้างส่วนประกอบและอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย • น้ำที่ใช้สำหรับหม้อน้ำมีคุณภาพไม่เหมาะสม • ใช้งานหม้อน้ำที่ความดันสูงกว่าที่ออกแบบหรือกำหนดไว้ โดยการปรับตั้งลิ้นนิรภัยให้ระบายไอน้ำที่ความดันสูงเกินไป

  34. ภาชนะรับแรงดันและภาชนะบรรจุก๊าซภาชนะรับแรงดันและภาชนะบรรจุก๊าซ • ภาชนะรับแรงดัน หมายถึง ภาชนะที่รับความดันจากภายนอกแล้วทำให้ภายในภาชนะมีความดันสูงกว่าความดันภายนอก มากกว่า 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เช่น หม้ออบหรือหม้อต้มในโรงงานปลาป่น หม้อนึ่งฆ่าเชื้อ และหม้ออบยางเป็นต้น • ภาชนะบรรจุก๊าซ หมายถึง ภาชนะที่สร้างขั้นมาสำหรับบรรจุก๊าซอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างซึ่งอยู่ในสภาวะเป็นของเหลวหรือก๊าซก็ได้ เช่น ถังก๊าซปิโตรเลียมเหลว ท่อออกซิเจน และถังแอมโมเนีย เป็นต้น

  35. อุปกรณ์ความปลอดภัยของภาชนะรับแรงดัน • ลิ้นนิรภัยมาตรวัดความดัน ทำหน้าที่วัดความดันภายในภาชนะรับความดันเพื่อให้ผู้ควบคุมทราบ • วาล์วรับไอน้ำ ทำหน้าที่รับไอน้ำที่ส่งมาจากภายนอก เข้าสู่ภายในภาชนะรับความดัน • วาล์วระบายไอ ทำหน้าที่ปล่อยไอน้ำออกจากภาชนะรับความดัน • วาล์วถ่ายน้ำ ทำหน้าที่ระบายน้ำที่เกิดจากการกลั่นตัวของไอน้ำออกไปภายนอก

  36. การกำหนดมาตรฐานป้องกันหม้อน้ำระเบิด • กำหนดให้การสร้างหม้อน้ำจะต้องดำเนินการตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 18 (พ.ศ.2528) • กำหนดให้มีการตรวจสอบคุณภาพน้ำที่ป้อนเข้าหม้อน้ำ และตรวจสอบการเกิดตะกรันในหม้อน้ำเป็นระยะ • จัดอบรมให้ความรู้แก่เจ้าของโรงงานและผู้ควบคุมหม้อน้ำ ให้ตระหนักถึงอันตรายและรู้จักเลือกใช้หรือควบคุมหม้อน้ำอย่างปลอดภัย

  37. หน่วยที่ 10 ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง ประเภทของงานก่อสร้าง สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภทหลักๆ ได้แก่ ที่พักอาศัย อาคารสาธารณะ งานโยธา งานอุตสาหกรรม และงานก่อสร้างด้านพลังงาน

  38. ปัจจัยพื้นฐานในการเตรียมงานก่อสร้างปัจจัยพื้นฐานในการเตรียมงานก่อสร้าง • วัตถุประสงค์ของโครงการ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้โครงการเกิดขึ้น เช่น ต้องการก่อสร้างที่พักอาศัย อาคารสำนักงาน • ประเภทและจำนวนเครื่องมือเครื่องจักรที่จะใช้ในหน่วยงาน • ประเภทและจำนวนวัสดุที่ใช้ในงานก่อสร้าง • จำนวนผู้ปฏิบัติงาน เช่น คนงาน หัวหน้างาน และวิศวกร • ขั้นตอนการทำงาน • การแบ่งพื้นที่ในหน่วยงานก่อสร้าง • การจัดสวัสดิการและมาตรการการป้องกันอันตราย

  39. ขั้นตอนหลักของงานก่อสร้างขั้นตอนหลักของงานก่อสร้าง สามารถแบ่งขั้นตอนหลักๆ ของการทำงานก่อสร้างได้ 4 ขั้นตอน คือ • การศึกษาและวิจัยเบื้องต้น • การออกแบบและรายละเอียด • การประกวดราคาหรือการจ้างเหมา • การก่อสร้าง

  40. กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้าง • กลุ่มเจ้าของโครงการ กลุ่มผู้ลงทุน 2 ประเภทคือ เจ้าของโครงการภาครัฐ และเจ้าของโครงการภาคเอกชน • กลุ่มที่ปรึกษาโครงการ ช่วยกำหนดนโยบาย และ วัตถุประสงค์ จัดหาแหล่งทุน จัดหาผู้ออกแบบ • กลุ่มออกแบบ บางกลุ่มที่ปรึกษาก็เป็นกลุ่มเดียวกับผู้ออกแบบ • กลุ่มผู้ก่อสร้าง คือกลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้าง แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ • ผู้รับเหมาใหญ่ (General Contractor) ทำสัญญาโดยตรงกับเจ้าของโครงการ หรือผู้ว่าจ้าง • ผู้รับเหมาช่วง ( Sub Contractor) รับงานบางส่วนจากเจ้าของโครงการ หรือผู้รับเหมาใหญ่ • ผู้รับเหมาย่อย (Sub Nominated Contractor) รับงานบางส่วนจากเจ้าของโครงการอาจจะเป็นงานชำนาญเฉพาะด้าน ทำสัญญาโดยตรงกับผู้รับเหมาใหญ่ เช่น งานไฟฟ้า งานปรับอากาศ งานโครงสร้าง

  41. ลักษณะอุบัติเหตุในงานก่อสร้างสามารถจำแนกตามประเภทงานก่อสร้างที่สำคัญๆ ได้ 3 ประเภท • ประเภทงานอาคาร • ประเภทงานโยธา • ประเภทงานอุตสาหกรรม

  42. อุบัติเหตุและอันตรายจากงานก่อสร้างอุบัติเหตุและอันตรายจากงานก่อสร้าง • อันตรายจากการทำรูเจาะขนาดใหญ่ • อันตรายจากงานตอกเสาเข็ม • อันตรายจากปั้นจั่นสำหรับยกของ • อันตรายจากรถขุดดินและรถแทรกเตอร์ • อันตรายจากนั่งร้าน • อันตรายจากลิฟต์ชั่วคราว • อันตรายจากของตกหล่น • อันตรายจากคนตกจากที่สูงและพฤติกรรมของคน • อันตรายจากไฟฟ้า • อันตรายจากไฟไหม้ • อันตรายจากการก่อสร้างผิดวิธีและหลักวิชา • อันตรายจากการขนส่งและอุปกรณ์การก่อสร้าง

More Related