1 / 66

สรุป การคลังภาครัฐ

สรุป การคลังภาครัฐ. ความหมาย. บุญชนะ อัตถากร >>>> มองการคลังว่าคือ ปัญหา กล่าวว่า การคลังภาครัฐ หมายถึง ปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศ แบ่งเป็น 4 ประการใหญ่ ปัญหาการจัดสรรทรัพยากร ( RESOURCES ALLOCATION ) ปัญหาการกระจายรายได้ของประชาชาติ ( INCOME DISTRIBUTION ). ความหมาย.

Download Presentation

สรุป การคลังภาครัฐ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สรุปการคลังภาครัฐ

  2. ความหมาย • บุญชนะ อัตถากร>>>> มองการคลังว่าคือ ปัญหา กล่าวว่า การคลังภาครัฐ หมายถึง ปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศ แบ่งเป็น 4 ประการใหญ่ • ปัญหาการจัดสรรทรัพยากร(RESOURCES ALLOCATION) • ปัญหาการกระจายรายได้ของประชาชาติ(INCOME DISTRIBUTION)

  3. ความหมาย • ปัญหาการทำให้คนมีงานทำ(FULL EMPLOYMENT) • ปัญหาเสถียรภาพของระดับราคาและการพัฒนาเศรษฐกิจ(PRICE-LEVEL STABILITY AND ECONOMIC GROWTH)

  4. ความหมาย • RICHARD A. MUSGRAVE และ PEGGY B. MUSGRAVE >> มองการคลังคือ บทบาท กล่าวว่า การคลัง คือ การที่รัฐบาลเข้าไปมีบทบาททางเศรษฐกิจ ใน 4 ด้านดังนี้ • การจัดสรรทรัพยากร(THE ALLOCATION FUNCTION) • การกระจายรายได้(THE DISTRIBUTION FUNCTION)

  5. ความหมาย • การรักษาเสถียรภาพและความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ(THE STABILIZATION FUNCTION) • การประสานงบประมาณ(C00RDINATION)

  6. ต่างประเทศ หน่วยผลิต หน่วยครัวเรือน รัฐบาล ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย

  7. สรุปความหมาย • การคลังภาครัฐ ประกอบด้วย การศึกษาแนวคิด ทฤษฎี พฤติกรรม กิจกรรมการดำเนินงาน ตลอดจนแนวปฏิบัติต่างๆเกี่ยวกับการหารายได้ การใช้จ่ายสาธารณะ ภาษีอากร การก่อหนี้สาธารณะ การใช้จ่ายของรัฐบาล บทบาทของรัฐบาลในทางเศรษฐกิจ นโยบายการเงิน นโยบายการคลัง ระดับประเทศ/ท้องถิ่น รวมมทั้งผลกระทบจากกิจกรรมที่มีผลต่อสังคมและประเทศโดยส่วนรวม

  8. ระบบการคลัง • หมายถึง องค์ประกอบของสถาบันการคลังต่างๆ ซึ่งรวมกันเป็นโครงสร้างของระบบการคลัง และทำงานเกี่ยวเนื่องกันอย่างเป็นระบบตามระเบียบกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้

  9. ระบบบริหารการคลังประกอบด้วยระบบบริหารการคลังประกอบด้วย • กำหนดนโยบายและวางแผนการคลัง • บริหารงบประมาณแผ่นดิน • จัดเก็บภาษีอากรและหารายได้ประเภทต่างๆ • บริหารหนี้สาธารณะ • บริหารเงินคงคลัง(รับ-จ่าย-เก็บรักษา-สำรองเงิน) • บริหารเงินนอกงบประมาณ

  10. ระบบบริหารการคลังประกอบด้วยระบบบริหารการคลังประกอบด้วย • บริหารพัสดุ • บริหารทรัพย์สินแผ่นดิน • ระบบบัญชีและระบบข้อมูลข่าวสาร • ตรวจสอบและรายงานทางการคลัง • ประเมินผลทางการคลัง

  11. นโยบายการคลัง(FISCAL POLICY) • หมายถึง นโยบายที่เกี่ยวข้องกับรายรับและรายจ่ายของรัฐบาลทั้งหมด

  12. นโยบายทางการเงิน(MONETARY POLICY) • หมายถึง นโยบายที่เกี่ยวกับการกำหนดจำนวนหรือปริมาณเงินของประเทศ

  13. วิธีการของนโยบาย • นโยบายการคลัง มีวิธีที่สำคัญคือ • การกำหนดรายจ่ายต้องจัดทำเป็นงบประมาณก่อน • การหารายได้ของรัฐโดยการเก็บภาษีอากร ต้องคำนึงถึงความชอบธรรม การสร้างรายได้ให้พอเพียง และหลักความสามารถในการจ่าย(ของผู้เสียภาษี) • ในกรณีที่รายได้ของประเทศไม่เพียงพอต่อรายจ่าย รัฐอาจเลือกใช้วิธีการก่อหนี้

  14. วิธีการของนโยบาย • นโยบายการเงิน มีวิธีการที่สำคัญคือ • การเพิ่ม/ลดประมาณเงินสดสำรอง • การเพิ่ม/ลดอัตราดอกเบี้ย • การรับช่วงซื้อลด • การซื้อ/ขายพันธบัตรรัฐบาล

  15. วิธีการศึกษาการคลังภาครัฐวิธีการศึกษาการคลังภาครัฐ • ศึกษาตามแนวความจริงที่เกิดขึ้น(POSITIVE/PREDICTIVE APPROACH) ศึกษาโดยใช้แบบจำลอง เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมทางเศรษฐกิจของประชาชน แล้วนำไปคาดคะเนหรือพยากรณ์พฤติกรรมทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต(อดีต-กำลังเป็นอยู่-กำลังจะเป็นในอนาคต) โดยการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทางเศรษฐศาสตร์และการคลัง

  16. วิธีการศึกษาการคลังภาครัฐวิธีการศึกษาการคลังภาครัฐ • ศึกษาตามแนวทางที่ควรจะเป็น(NORMATIVE/OPTIMAL THEORY) ใช้หลัก WHAT OUGHT TO BE และ ทฤษฏีประสิทธิภาพสูงสุด คือ ตั้งทฤษฎีขึ้นมาก่อน แล้วพิจารณาจากทฤษฎีว่า ระบบเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพนั้นควรเป็นอย่างไร? จากนั้นจึงพิจารณาสภาพจริงที่เป็นอยู่ แล้ววิเคราะห์ว่า รัฐควรใช้นโยบายหรือมาตรการใดที่จะทำให้ระบบเศรษฐกิจอยู่ในจุดที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

  17. วิธีศึกษาการคลังภาครัฐที่ดีที่สุดคือวิธีศึกษาการคลังภาครัฐที่ดีที่สุดคือ ทั้ง 2 แบบควบคู่กัน โดย • วิเคราะห์แบบ POSITIVE เพื่อตอบปัญหาว่า สิ่งที่กำลังเป็นอยู่เป็นอย่างไร? • วิเคราะห์แบบ NORMATIVE เพื่อตอบปัญหาว่า สิ่งที่ควรจะเป็นนั้นควรเป็นอย่างไร?

  18. ขอบข่ายการศึกษาการคลังภาครัฐขอบข่ายการศึกษาการคลังภาครัฐ • มหภาค(MACRO ) การกำหนดนโยบายและการบริหาร • จุลภาค(MICRO)การจัดการเกี่ยวกับกิจการการคลัง กิจกรรม ส่วนย่อยลงมา

  19. หน้าที่ทางเศรษฐกิจของรัฐบาลหน้าที่ทางเศรษฐกิจของรัฐบาล • คือ หน้าที่ในกำหนดนโยบายและดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพื่อแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของประชาชน รวมทั้งบทบาทในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจให้บรรลุเป้าหมาย

  20. เหตุผลที่ทำให้รัฐบาลเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจเหตุผลที่ทำให้รัฐบาลเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจ • เป็นเรื่องของส่วนรวม • เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงหลายทาง ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รัฐไม่เกี่ยวไม่ได้ • รัฐระดมทรัพยากรได้ดีกว่าเอกชน

  21. เหตุผลที่ทำให้รัฐแทรกแซงกิจการทางเศรษฐกิจเหตุผลที่ทำให้รัฐแทรกแซงกิจการทางเศรษฐกิจ • รักษากฎหมายและจัดระเบียบสังคม • กำหนดกลไกตลาด • จัดสรรสินค้า/บริการ โดยเฉพาะสินค้าที่มีผลกระทบภายนอก • สร้างกลไกการตัดสินใจเลือกให้ประชาชน • ป้องกันการผันผวนทางเศรษฐกิจ • สร้างความเป็นธรรม

  22. สรุปความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของภาครัฐกับเอกชนสรุปความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของภาครัฐกับเอกชน • ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม รัฐมีบทบาทมาก • ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เอกชนมีบทบาทมาก รัฐมีบทน้อย • ระบบเศรษฐกิจยุคข้อมูลข่าวสาร/โลกาภิวัฒน์ แบ่งโครงสร้างเป็น 2 ส่วน คือ ภาคเอกชน กับภาครัฐ ++ปัจจุบันเป็นแบบผสมเป็นส่วนใหญ่++

  23. แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับสินค้าและบริการแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับสินค้าและบริการ • ถ้าอุปสงค์มากกว่าอุปทาน แสดงถึง มีผู้บริโภคมากกว่าปริมาณการผลิต---สินค้าแพงขึ้น • ถ้าอุปสงค์น้อยกว่าอุปทาน แสดงถึง มีผู้บริโภคน้อยกว่าปริมาณการผลิต--สินค้าราคาต่ำลง

  24. สินค้าและบริการสาธารณะสินค้าและบริการสาธารณะ • เกณฑ์การพิจารณา • พิจารณาจากลักษณะสินค้าและบริการ • แบ่งแยกการบริโภคจากกัน>>ความสามารถในการกีดกันคนบางกลุ่มไม่ให้สามารถซื้อสินค้า/บริการได้ เช่น ทางด่วน • ลักษณะการเป็นปรปักษ์ในการบริโภค>>คนที่มาใช้บริการคนที่2-3-4ต่อๆไป ได้รับความไม่สะดวกจากการใช้สินค้า/บริการชนิดเดียวกัน เช่น ถนน

  25. พิจารณาจากลักษณะสินค้าและบริการพิจารณาจากลักษณะสินค้าและบริการ

  26. เกณฑ์การพิจารณา(ต่อ) • พิจารณาจากความต้องการ • ความต้องการนั้นเป็นชนิดไหน?>>เอกชนหรือสาธารณะ • ความต้องการนั้นถูกบำบัดด้วยสินค้าประเภทใด>>เอกชน/สาธารณะ ประเภทของความต้องการ • ความต้องการสาธารณะ>>ประโยชน์ที่เกิดขึ้นตกอยู่กับสังคม เช่น การรักษาความปลอดภัยของตำรวจ ปลอดภัยทั้งสังคม ไม่ใช่แค่คนคนเดียว • ความต้องการเอกชน>>ประโยชน์ที่เกิดขึ้นตกอยู่กับผู้บริโภคคนนั้นๆ เช่น หิวก็ไปกินข้าว อิ่มคนเดียว

  27. เกณฑ์การพิจารณา(ต่อ) รากฐานของความต้องการที่เกิดขึ้น • สินค้าเอกชน>>เกิดจากความสมัครใจของคนๆคนนั้น • สินค้าสาธารณะ>>ถูกชักนำหรือบังคับ ประเภทของความต้องการ • PRIVATE WANTS>>ความต้องการที่ตกอยู่กับเอกชน และ สมัครใจ • SOCIAL WANTS>>ความต้องการที่ตกอยู่กับสังคม และเป็นความสมัครใจ

  28. เกณฑ์การพิจารณา(ต่อ) • MERIT WANTS>>ความต้องการที่มาจากการบังคับ ประโยชน์อาจตกอยู่กับตนเองหรือสังคมก็ได้ • MIXED WANTS>>ไม่ใช่ทั้งสองอย่าง

  29. ประเภทของความต้องการ

  30. ผลกระทบภายนอก • HARVEY S.ROSEN >>ให้ความหมายว่า --เมื่อกิจกรรมของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง(อาจเป็นผู้บริโภคหรือผู้ผลิต)ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสวัสดิการของผู้อื่น โดยไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของราคาตลาด

  31. ผลกระทบภายนอก • E.J.MISCAN>>ให้ความหมายว่า --ผลที่กระทบการผลิตหรือการบริโภคของบุคคลอื่นโดยตรง เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นโดยที่ผู้ก่อไม่ได้จงใจ แต่เกิดจากผู้กระทำไม่รู้ตัวและมิได้นำสิ่งนี้มาคำนึงถึงในกระบวนการตัดสินใจของเขา

  32. ผลกระทบภายนอก • NICHOLAS HENRY>>ให้ความหมายว่า --เกิดเมื่อรัฐนำนโยบายสาธารณะหนึ่งไปปฏิบัติในสังคมแล้ว ก่อให้เกิดผลกระทบอีกด้านหนึ่งขึ้น

  33. ผลกระทบภายนอก(EXTERNALITY) • ผลที่เกิดจากการกระทำของหน่วยผลิตหรือผู้บริโภคแล้วกระทบโดยตรงต่อมูลค่าทางเศรษฐกิจของการผลิต/การบริโภค/การแลกเปลี่ยนของหน่วยผลิตหรือบุคคลนั้นๆ

  34. ชนิดของผลกระทบภายนอก(ดูจากผล)ชนิดของผลกระทบภายนอก(ดูจากผล) • เป็นคุณประโยชน์(POSITIVEEXTERNALITY) —ผู้บริโภคได้รับความพอใจมากขึ้น/ผู้ผลิตได้รับผลตอบแทนมากขึ้น 2. เป็นโทษ(NEGATIVE EXTERNALITY) --ผู้บริโภคได้รับความพอใจน้อยลง/ผู้ผลิตได้รับผลตอบแทนน้อยลง

  35. ประเภทของผลกระทบภายนอกประเภทของผลกระทบภายนอก • ด้านเทคนิค—เช่น เมื่อมีผู้บริโภคกลุ่มหนึ่งซื้อสินค้าหนึ่งเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาสูงขึ้นกว่าเดิม กระทบกระเทือนต่อผู้บริโภครายอื่น • จากกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคลไม่ชัดเจน • จากสินค้าและบริการสาธารณะ--โรงงานต้นแม่น้ำปล่อยน้ำเสีย

  36. ข้อพิจารณาของรัฐในการเข้าไปแก้ไขผลกระทบภายนอกข้อพิจารณาของรัฐในการเข้าไปแก้ไขผลกระทบภายนอก • ธรรมชาติของหน่วยเศรษฐกิจต่างๆ มักมีพฤติกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงผลประโยชน์ของตนเป็นหลัก และมักก่อให้เกิดผลกระทบภายนอก • รัฐต้องวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นว่ากระทบต่อผลประโยชน์ส่วนบุคคล/ส่วนรวม/สังคม หรือส่งผลเสียต่อต้นทุนส่วนบุคคล/ต้นทุนทางสังคม • รัฐสามารถใช้อำนาจและมาตรการทางการคลัง ในการแก้ปัญหาเมื่อไม่สามารถแก้ไขกลไกการตลาด

  37. รูปแบบการเข้าไปแก้ไขปัญหาผลกระทบภายนอกของรัฐรูปแบบการเข้าไปแก้ไขปัญหาผลกระทบภายนอกของรัฐ • เกี่ยวข้องกับคนไม่มาก—จ่ายค่าทดแทนความเสียหาย , เจรจาตกลงกันเอง , รัฐเข้าไปไกล่เกลี่ย เพื่อประนีประนอม • เกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก—มาตรการทางภาษี/เงินอุดหนุน , ออกกฎหมาย , ใช้เครื่องมือป้องกันผลกระทบนั้น , รวมหน่วยผลิตเข้าด้วยกัน

  38. ลักษณะการเกิดผลกระทบภายนอกลักษณะการเกิดผลกระทบภายนอก ผล เหตุ

  39. หน้าที่ความรับผิดชอบในทางเศรษฐกิจตามแนวทางของ MUSGRAVE • จัดสรรทรัพยากรของสังคม >>ทรัพยากรของสังคม หมายถึง ที่ดิน แรงงาน ทุน เทคโนโลยี รัฐต้องกระจายอย่างทั่วถึง >>ความต้องการของประชาชนมี 2 อย่างคือ สินค้าและบริการเอกชน และสินค้าสังคม/สินค้าสาธารณะ การจะเข้าแทรกแซงทางเศรษฐกิจรัฐต้องคำนึงถึง ความต้องการสินค้าและบริการ , ประสิทธิภาพในผลิตของรัฐและเอกชน , ประเมินการจัดสวัสดิการในสังคม

  40. หน้าที่ความรับผิดชอบในทางเศรษฐกิจตามแนวทางของ MUSGRAVE • กระจายรายได้และความมั่งคั่งทางสังคม >>รัฐต้องเข้ามาดูแลให้สินค้า/บริการที่ผลิตขึ้น มีการจำหน่ายจ่ายแจกให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง >>สังคมไม่มีความเหลื่อมล้ำมากนัก >>ประชาชนทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข

  41. หน้าที่ความรับผิดชอบในทางเศรษฐกิจตามแนวทางของ MUSGRAVE • รักษาเสถียรภาพและความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ >>รัฐสนับสนุนและส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจให้เป็นไปด้วยความราบรื่นและมีเสถียรภาพ สร้างสรรค์ความเติบโตทางเศรษฐกิจ >>รักษาภาวะการมีงานทำในตลาดแรงงานให้อยู่ในอัตราสูง

  42. หน้าที่ความรับผิดชอบในทางเศรษฐกิจตามแนวทางของ MUSGRAVE • ประสานการใช้งบประมาณ >>ควบคุมดูแลการนำงบประมาณไปใช้ในทางเศรษฐกิจให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของแต่ละนโยบาย

  43. ความแตกต่างระหว่างภาครัฐกับเอกชนในการจำแนกภารกิจความแตกต่างระหว่างภาครัฐกับเอกชนในการจำแนกภารกิจ • ความแตกต่างด้านเครื่องมือที่ใช้ในการจัดสรรทรัพยากร • เอกชน—ใช้กลไกราคา • รัฐบาล—ใช้เครื่องมือเยอะ ทั้งกฎหมาย มาตรการทางภาษี • ความแตกต่างด้านเป้าหมาย • เอกชน—มุ่งหวังกำไร - รายได้ – ประโยชน์สูงสุด • รัฐบาล—ให้บริการและสร้างความพึงพอใจแก่ประชาชน

  44. รายรับของรัฐบาล รายรับ รายจ่ายสาธารณะ ไม่ใช่รายได้ รายได้ การขายสิ่งของ/ บริการของรัฐ เงินกู้ เงินคงคลัง ภาษีอากร รัฐพาณิชย์ (รัฐวิสาหิจ) รายได้อื่น -เงินช่วยเหลือ -เงินบริจาค

  45. ความหมาย • รายได้รัฐบาล—เงินหรือทรัพยากรที่รัฐบาลได้มา และสามารถนำไปใช้ในกิจการต่างๆของรัฐ โดยที่รัฐไม่มีข้อผูกพันที่ต้องชำระคืน • รายรับรัฐบาล—เงินหรือทรัพยากรที่รัฐบาลได้มา และสามารถนำไปใช้ในกิจการต่างๆของรัฐ แต่รัฐมีข้อผูกพันที่ต้องชำระเงินหรือทรัพยากรดังกล่าวคืน

  46. รายได้ รายรับ ภาษี ไม่ใช่ภาษี เงินบังคับกู้ยืม หนี้สาธารณะ ค่าบริการ สินค้าสาธารณะ เงินบริจาค ค่าปรับต่างๆ

  47. แหล่งที่มาของรายได้ของรัฐแหล่งที่มาของรายได้ของรัฐ • รายได้ ส่วนใหญ่ มาจากภาษีอากร(79.2) • รายได้ส่วนน้อย มาจาก • รัฐพาณิชย์(5.1) • ขายสิ่งของและบริการ(0.8) • ประเภทอื่น(1.3)

  48. ภาวะการคลังในกรณีพิเศษภาวะการคลังในกรณีพิเศษ • ในภาวะเศรษฐกิจมีปัญหา เก็บภาษีได้น้อย เหตุจาก • ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ • ภาวะเงินฝืด • ภาวะเศรษฐกิจถดถอย

  49. ภาวะการคลังในกรณีพิเศษภาวะการคลังในกรณีพิเศษ • ภาวะที่รัฐมีนโยบายต้องใช้จ่ายเกินกว่าประมาณการรายได้ เหตุจาก • แผนเร่งรัดพัฒนาประเทศ • รัฐมีนโยบายเร่งด่วน • เกิดทุกข์ภัยธรรมชาติ • เกิดวิกฤติอันตรายต่อประเทศชาติ

  50. ภาวะการคลังในกรณีพิเศษภาวะการคลังในกรณีพิเศษ • ประมาณการรายรับของประเทศ อาจหาได้จากแหล่ง • เงินคงคลัง • เงินกู้/หนี้สาธารณะ

More Related