1 / 24

สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาและบุตร

สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาและบุตร. บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดา. มาตรา ๑๕๖๑ “บุตร มีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดา ใน กรณีที่บิดาไม่ปรากฏ บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของ มารดา ” พ.ร.บ.ชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 มาตรา 11 บุตรที่มีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดา ต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย

joanna
Download Presentation

สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาและบุตร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาและบุตรสิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาและบุตร กฎหมายครอบครัว

  2. บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดาบุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดา มาตรา ๑๕๖๑ “บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดา ในกรณีที่บิดาไม่ปรากฏ บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของมารดา” • พ.ร.บ.ชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 มาตรา 11 • บุตรที่มีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดา ต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย • บุตรนอกสมรสหากบิดาได้ยอมให้ใช้ชื่อสกุลก็เป็นเหตุให้ฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1555(7) • ดังนั้นหากบุตรนอกสมรสมาใช้ชื่อสกุลของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมาย บิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายก็สามารถเรียกให้บุคคลนั้นระงับความเสียหาย หรือขอให้ศาลสั่งห้ามใช้ก็ได้ เพราะเป็นการใช้โดยมิได้รับอำนาจตามมาตรา 18 • ในทางตรงกันข้ามหากบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายยินยอมให้ใช้ แม้ภริยาชอบด้วยกฎหมายของบิดาจะมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของสามีได้ ตามมาตรา 12 พ.ร.บ.ชื่อบุคคล พ.ศ. 2548 ภริยาจะฟ้องว่าบุตรนอกสมรสของสามีใช้ชื่อสกุลอันเป็นการละเมิดต่อภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาไม่ได้ (ฎีกาที่ 1435/2523) กฎหมายครอบครัว

  3. ห้ามผู้สืบสันดานฟ้องบุพการีห้ามผู้สืบสันดานฟ้องบุพการี • มาตรา ๑๕๖๒ “ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้ แต่เมื่อผู้นั้นหรือญาติสนิทของผู้นั้นร้องขอ อัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้” • ผู้ฟ้องจะต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย • บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ห้าม • แต่หากบิดารับรองโดยพฤตินัยแล้วก็ฟ้องไม่ได้ • บุตรบุญธรรมฟ้องผู้รับบุตรบุญธรรมได้ • บุตรจะมอบอำนาจให้ผู้อื่นฟ้องแทนก็ไม่ได้ • บิดามารดาในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมจะฟ้องแทนบุตรก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน • บุตรฟ้องบุพการีในฐานะอื่นที่มิใช่ในฐานะส่วนตัว เช่น ในฐานพนักงานอัยการ ผู้อนุบาล กรรมการบริษัท ผู้จัดการมรดก ไม่เป็นคดีอุทลุม • ฎีกาที่ 1707/2515 ,ฎีกาที่ 2505/2515, ฎีกาที่ 4757/2533, ฎีกาที่ 2387/2529 กฎหมายครอบครัว

  4. บุพการี หมายถึง ญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไป ไม่รวมถึง • บุตรเขยฟ้องพ่อตา แม่ยาย หรือ • ลูกสะใภ้ฟ้องบุพการีของสามี หรือ • น้อง หรือหลานฟ้องพี่ ป้า น้า อา และญาติผู้ใหญ่ อื่นๆ • ฟ้อง หมายถึง การเสนอข้อหาต่อศาล ไม่วาจะทำด้วยวาจา หรือหนังสือ ไม่ว่าจะได้เสนอต่อศาลชั้นต้น หรือชั้นอุทธรณ์ หรือฎีกา และไม่จำกัดว่าจะต้องเสนอในขณะที่เริ่มฟ้องคดี อาจเสนอในภายหลังโดยคำฟ้องเพิ่มเติม หรือแก้ไข หรือฟ้องแย้ง หรือโดยการร้องสอดเข้ามาในคดีก็ได้ กฎหมายครอบครัว

  5. การฟ้องคดีที่ต้องห้ามตามมาตรา 1562 นี้ ต้องเป็นคดีมีข้อพิพาทโดยฟ้องบุพการีเป็นจำเลย หากเริ่มต้นคดีเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท เช่น บุตรร้องขอให้แสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ บิดาร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความ ไม่เป็นคดีอุทลุม (พิจารณาขณะที่มีการยื่นฟ้องต่อศาล) • ฎีกาที่ 596/2494 • แม้ผู้สืบสันดานจะฟ้องบุพการีไม่ได้ แต่ไม่ห้ามผู้สืบสันที่จะฟ้องให้ผู้รับมรดกของบิดารับผิดในหนี้ที่บิดามีอยู่ต่อตน และรวมตลอดไปถึงการฟ้องผู้ทีรับประโยชน์จากการกระทำของบุพการี กฎหมายครอบครัว

  6. ฎีกาที่ 6181/2533 การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นกรณีที่ผู้ร้องจะต้องใช้สิทธิทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 นั้น เป็นการร้องขอเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิของตนตามกฎหมาย มิใช่เป็นกรณีที่ผู้ร้องมีคำขออย่างใดอย่างหนึ่งในทางที่จะเป็นการบังคับเอาแก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุพการี และถึงแม้ว่าผู้คัดค้านจะยื่นคำคัดค้านเข้ามาก็เป็นการกระทำของผู้คัดค้านเอง มิใช่การกระทำของผู้ร้อง และการที่ผู้คัดค้านเข้ามานั้นก็มีผลเพียงทำให้คดีของผู้ร้องเดิมกลายเป็นคดีมีข้อพิพาทขึ้นเท่านั้นจึงไม่อยู่ในความหมายที่จะเรียกได้ว่าเป็นการฟ้องบุพการีอันจักต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่จำกัดสิทธิ ต้องตีความโดยเคร่งครัด คดีของผู้ร้องจึงไม่เป็นอุทลุม กฎหมายครอบครัว

  7. บิดามารดาและบุตรมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกันบิดามารดาและบุตรมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน • บิดามารดาและบุตรมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน มาตรา ๑๕๖๓ “บุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา” มาตรา ๑๕๖๔ “บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วแต่เฉพาะผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้” มาตรา ๑๕๖๕ “การร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรหรือขอให้บุตรได้รับการอุปการะเลี้ยงดูโดยประการอื่น นอกจากอัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวตามมาตรา ๑๕๖๒ แล้ว บิดาหรือมารดาจะนำคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้” กฎหมายครอบครัว

  8. บิดาที่จะมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดู หรือบุตรต้องอุปการะเลี้ยงดู หมายถึง บิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย • ส่วนบิดาที่รับรองโดยพฤตินัยแม้จะเป็นพฤติการณ์อาจฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรได้ก็ตาม แต่ความสัมพันธ์ระหว่างบิดากับบุตรยังไม่เกิดขึ้น จึงยังไม่มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูจนกว่าจะเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย • (ฎีกาที่ 148/2522, ฎีกาที่ 1409/2549) • หน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดานั้นกฎหมายได้กำหนดให้มีขึ้นตั้งแต่ขณะที่บุตรมีสภาพบุคคล (มาตรา 15) แต่การจะให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูมากน้อยเพียงใดหรือไม่ต้องพิจารณาจากมาตรา 1598/38 • มาตรา ๑๕๙๘/๓๘ “ค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างสามีภริยา หรือระหว่างบิดามารดากับบุตรนั้นย่อมเรียกจากกันได้ในเมื่อฝ่ายที่ควรได้รับ อุปการะเลี้ยงดูไม่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือได้รับการอุปการะเลี้ยงดู ไม่เพียงพอแก่อัตภาพ ค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งกรณี” กฎหมายครอบครัว

  9. กรณีที่มีผู้ทำละเมิดให้บิดามารดาหรือบุตรถึงแก่ความตาย อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องผู้ทำละเมิดตามมาตรา 420, มาตรา 443 วรรคสาม ได้โดยไม่ต้องพิจารณาว่าขณะเกิดเหตุผู้ตายกับผู้ขาดไร้อุปการะจะอุปการะกันจริงหรือไม่ เพราะเป็นสิทธิที่ผู้เสียหายจะได้รับชดใช้ตามกฎหมาย และชอบที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูทั้งในปัจจุบันและอนาคตโดยผลแห่งกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 443 วรรคสาม ประกอบกับมาตรา 1564 • แม้บุตรจะมีอายุ 4 ขวบ ก็ต้องเข้าใจว่าการทำให้บิดาต้องขาดไร้อุปการะจากผู้ตายตามกฎหมาย บิดาชอบที่จะได้รับค่าขาดไร้อุปการะทั้งในปัจจุบันและความหวังในอนาคต โดยไม่ต้องพิจารณาว่าขณะเกิดเหตุผู้ตายได้อุปการะบิดาจริงหรือไม่ และในอนาคตผู้ตายจะอุปการะบิดาหรือไม่ (ฎีกาที่ 1659/2538) • แม้บิดามารดาจะมีเป็นบุคคลที่มีฐานะดีไม่จำต้องได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดุจากบุตรก็ตาม บิดามารดาก็ชอบที่จะได้ค่าสินไหมทดแทนในการที่ต้องขาดไร้อุปการะได้ตามมาตรา 443 วรรคสาม เพราะเป็นคนละกรณีกับการเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างกันเอง (ฎีกาที่ 215/1515, 625/2515, 1432/2519) กฎหมายครอบครัว

  10. บุตรบุญธรรมก็มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูต่อผู้รับบุตรบุญธรรม (มาตรา 1598/28) • หากไม่อุปการะเลี้ยงดูก็เป็นเหตุให้ฟ้องคดีเลิกรับบุตรบุญธรรมได้ ตามมาตรา 1598/33 • นอกจากนี้ แม้บุตรจะเป็นบุตรบุญธรรมผู้อื่นแล้วก็ยังมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาในครอบครัวที่ได้กำหนดมาอยู่ (มาตรา 1598/28) • ฉะนั้นแม้บิดาจะยกผู้ตายให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น ผู้ตายก็ยังคงมีความผูกพันต่อบิดา เมื่อลูกจ้างของจำเลยกระทำละเมิดต่อผู้ตายในทางการที่จ้าง บิดาจึงมีอำนาจฟ้อง (ฎีกาที่ 689/2512) กฎหมายครอบครัว

  11. การเรียกค่าเลี้ยงดู • มาตรา ๑๕๖๕ “การร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรหรือขอให้บุตรได้รับการอุปการะเลี้ยงดูโดยประการอื่น นอกจากอัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวตามมาตรา ๑๕๖๒ แล้ว บิดาหรือมารดาจะนำคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้” • ค่าอุปการะเลี้ยงดู หรือการอุปการะเลี้ยงดูโดยประการอื่น เช่น ค่าที่อยู่อาศัย ค่ายารักษาโรค ฯลฯ • บุตรที่จะได้รับความอุปการะเลี้ยงดูต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย • แม้บุตรจะมีฐานะดี ไม่เป็นเหตุให้บิดามารดาหลุดพ้นจากหน้าที่อุปการะเลี้ยงดู • ฎีกาที่ 360/2488 กฎหมายครอบครัว

  12. บุตรชอบด้วยกฎหมาย จะฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูเองไม่ได้เพราะจะเป็นคดีอุทลุม บุคคลที่จะฟ้องขอให้ศาลกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรและเลี้ยงดูประการอื่นๆ เช่น ได้แก่ • อัยการ หรือ • โดยบุตร หรือญาติสนิทอาจร้องขอให้อัยการร้องขอต่อศาลตามมาตรา 1562 • บิดาหรือมารดา • บุตรนอกสมรสจะเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาได้ต่อเมื่อได้ฟ้องให้รับเด็กเป็นบุตร และเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูรวมกันในคดีเดียวกัน หรือในภายหลัง (ไม่เป็นคดีอุทลุม) กฎหมายครอบครัว

  13. อำนาจปกครอง(Parental Power) • ปกติอำนาจในการปกครองบุตรซึ่งไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องอยู่ในอำนาจการปกครองของบิดามารดาทั้งสองคน บิดามารดาจึงใช้อำนาจปกคอรงเกี่ยวกับบุตรนั้น ในกรณีนี้ ต้องเข้าใจว่าการใช้อำนาจปกครองเกี่ยวกับบุตรไม่ว่าในทางส่วนตัวหรือในทางทรัพย์สินนั้นปกติบิดามารดาจะต้องใช้ร่วมกัน มิใช่ต่างฝ่ายต่างทำได้เพราะจะทำให้เกิดความแตกร้าวในครอบครัวได้เง่าย • แต่การใช้อำนาจปกครองบางกรณี แม้มีทั้งบิดามารดา แต่กฎหมายมิได้กำหนดให้ต้องจัดการ่วมกัน เช่น กรณีสามีภริยา ตามมาตรา 1476(1) ถึง (8) และต่างจากผู้ปกครองซึ่งมีหลายคน ศาลจะกำหนดให้ผู้ปกครองเหล่านั้นกระทำการร่วมกันหรือกำหนดอำนาจเฉพาะสำหรับคนหนึ่งๆ ก็ได้ ตามมาตรา 1590 กฎหมายครอบครัว

  14. ดังนั้น บิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งจึงมีสิทธิใช้อำนาจปกครองของบุตรผู้เยาว์ได้ตามมาตรา 1569 • ฎีกาที่ 1114/2535 • ฎีกาที่ 482/2537 • แต่สำหรับการกำหนดที่อยู่นั้นกฎหมายกำหนดให้สามีภริยาอาจถือภูมิลำเนาต่างกันได้ ในกรณีเช่นนี้ การกำหนดที่อยู่คงต้องทำร่วมกัน อย่างไรก็ดี หากบิดามารดามีความขัดแย้งกันเรื่องการใช้อำนาจปกครอง ทางแก้ก็คือ ร้องขอให้ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ กฎหมายครอบครัว

  15. อำนาจปกครองอาจตกอยู่กับบิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในกรณีต่อไปนี้อำนาจปกครองอาจตกอยู่กับบิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในกรณีต่อไปนี้ • โดยผลของกฎหมาย • (1) มารดาหรือบิดาตาย • รวมถึงการสาบสูญด้วยหรือไม่ ? • (2) ไม่แน่นอนว่ามารดาหรือบิดามีชีวิตอยู่หรือตาย • ไม่แน่นอนว่ามีชีวิตอยู่หรือไม่ ไม่จำต้องเป็นเวลา 2 ปี หรือ 5 ปี ซึ่งเป็นเรื่องการขอให้เป็นคนสาบสูญ • (3) มารดาหรือบิดาถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ • (4) มารดาหรือบิดาต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือน กฎหมายครอบครัว

  16. (5) ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดา • อาจเกิดจากกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้หย่า หรือศาลชี้ขาดตามมาตรา 1520 หรือมีการเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองตามมาตรา 1521 หรือตามมาตรา 1555 ก็ได้ • (6) บิดาและมารดาตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ตกลงกันได้ • การจะเปลี่ยนแปลงผู้ใช้อำนาจปกครองจำกัดไว้เฉพาะตามที่กฎหมายกำหนดหรือโดยคำพิพากษาของศาล เท่านั้น • เช่น ตามมาตรา 1520, 1521, 1566(5), 1582 • ฎีกาที่ 2076/2497 มารดาจะโอนอำนาจปกครองให้ใครไม่ได้ และผู้อื่นจะเป็นผู้ปกครองเด็กนั้นไม่ได้ก่อนที่มารดาจะถูกถอนอำนาจปกครอง กฎหมายครอบครัว

  17. กรณีที่บิดามารดาจะตกลงกันให้อำนาจปกครองอยู่กับอีกฝ่ายหนึ่งได้นั้นจะต้องมีกฎหมายรับรองให้กระทำได้ เช่น มาตรา 1520 วรรคหนึ่ง • การตกลงกันนี้เป็นเรื่องระหว่างบิดามารดาเท่านั้น บิดาหรือมารดาจะตกลงกับบุคคลอื่นไม่ได้ เช่นกัน เพราะผู้ปกครองจะตั้งได้โดยคำสั่งศาล หรือศาลแต่งตั้งผู้ปกครองโดยข้อกำหนดพินัยกรรมของบิดามารดาที่ตายที่หลังได้ระบุชื่อไว้เท่านั้น (มาตรา 1586) • แต่การยินยอมให้บุตรไปอยู่ในความดูแลของบุคคลอื่นมิใช่เป็นการโอนอำนาจปกครองและไม่กระทบกระทั่งต่อการทีบิดาหรือมารดาจะใช้อำนาจปกครอง ย่อมกระทำได้ ตราบเท่าที่บิดาหรือมารดาจะยกเลิกความยินยอมเช่นนั้น ซึ่งไม่ถือว่าเป็นข้อตกลงหรือสัญญาในอันที่จะบังคับกันได้ กฎหมายครอบครัว

  18. ฎีกาที่ 2652/2516 โจทก์ฟ้องว่า โจทก์กับจำเลยอยู่กินกันฉันสามีภริยา แต่มิได้จดทะเบียนสมรส เกิดบุตรด้วยกัน ๔ คนซึ่งเป็นผู้เยาว์ต่อมาโจทก์จำเลยตกลงเลิกจากการเป็นสามีภริยากัน โจทก์ยอมให้จำเลยรับบุตรไปเลี้ยงดูชั่วคราว ต่อมาโจทก์ฟ้องเรียกบุตรคืนจากจำเลย จำเลยจะยกข้อตกลงที่โจทก์ยอมให้จำเลยรับบุตรไปเลี้ยงดูขึ้นไม่ได้ เพราะจำเลยมิใช่บิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย กฎหมายครอบครัว

  19. ฎีกาที่ 7473/2537 โจทก์จำเลยซึ่งอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสได้ตกลงแยกกันอยู่และร่วมกันทำบันทึกข้อตกลงผลัดกันดูแลบุตรผู้เยาว์ โจทก์ซึ่งมิได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ในฐานะที่เป็นบิดาของบุตรผู้เยาว์ ข้อพิพาทอันเกี่ยวกับการปกครองดูแลบุตรผู้เยาว์ระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมไม่มี จึงไม่อาจทำบันทึกข้อตกลงเพื่อระงับข้อพิพาทอันเกี่ยวกับบุตรผู้เยาว์ได้บันทึกข้อตกลงดังกล่าวไม่มีผลเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 โจทก์ไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวได้ กฎหมายครอบครัว

  20. ฎีกาที่ 3484/2542 โจทก์เป็นภริยาจำเลยโดยมิได้จดทะเบียนสมรส มีบุตรผู้เยาว์ด้วยกัน 1 คน โจทก์จึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กหญิง ธ. ตามกฎหมายแต่เพียงผู้เดียว ส่วนจำเลยเป็นบิดามิชอบด้วยกฎหมายจึงไม่มีอำนาจปกครองผู้เยาว์ การที่โจทก์ทำบันทึกระบุข้อความมอบผู้เยาว์ให้อยู่ในความปกครองของพี่สาวจำเลยจึงเป็นการตั้งผู้ปกครองกันเองย่อมไม่มีผล เพราะการตั้งผู้ปกครองตามกฎหมายจะมีได้เฉพาะด้วยคำสั่งศาลหรือบิดามารดาตกลงกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1566 (6) เท่านั้น ข้อความตามบันทึกดังกล่าวเป็นเพียงการกำหนดที่อยู่ของบุตรผู้เยาว์ให้อยู่กับพี่สาวจำเลยเท่านั้น และกรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ผู้เป็นมารดาได้สละการใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้บิดาหรือมารดาสามารถสละการใช้อำนาจปกครองให้แก่บุคคลอื่นได้ ทั้งมิใช่กรณีที่บิดาและมารดาตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ตกลงกันได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1566 (6) เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นมารดายังเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์อยู่ จำเลยซึ่งเป็นบิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงมีหน้าที่ต้องส่งผู้เยาว์ให้แก่โจทก์ กฎหมายครอบครัว

  21. โดยการตกลงระหว่างสามีภริยาในกรณีหย่าโดยความยินยอมโดยการตกลงระหว่างสามีภริยาในกรณีหย่าโดยความยินยอม • มาตรา ๑๕๒๐ วรรค 1 “ในกรณีหย่าโดยความยินยอม ให้สามีภริยาทำความตกลงเป็นหนังสือว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใด ถ้ามิได้ตกลงกันหรือตกลงกันไม่ได้ ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด” • กรณีที่บิดาหรือมารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองตามความตกลงแล้ว หากต่อมาภายหลังฝ่ายนั้นตายลง ศาลวินิจฉัยว่า อำนาจปกครองย่อมตกอยู่แก่บิดามารดาที่ยังมีชิวติอยู่ตามมาตรา 1566 (ฎีกาที่ 2563/2544, 2960/2548) กฎหมายครอบครัว

  22. การใช้อำนาจปกครอง การใช้อำนาจปกครองเกี่ยวกับตัวบุตร • การใช้อำนาจปกครองเกี่ยวกับตัวบุตร • การใช้อำนาจปกครองเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุตร • มาตรา 1567ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิ (1) กำหนดที่อยู่ของบุตร (2) ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน (3) ให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป (4) เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย -บุคคลอื่น ต้องมิใช่ผู้ใช้อำนาจปกครอง ผู้ปกครอง ผู้อนุบาล หรือผู้มีสิทธิตามกฎหมายอื่นด้วย กฎหมายครอบครัว

  23. อำนาจของผู้แทนโดยชอบธรรมในทางทรัพย์สินอาจจำแนกได้ 2 ลักษณะ คือ • อำนาจให้ความยินยอมในการที่บุตรผู้เยาว์ทำนิติกรรม • ยกเว้นแต่ มาตรา 22-27 • กรณีผู้แทนโดยชอบธรรมไม่มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์ ผู้แทนโดยชอบธรรมจะให้ความยินยอมมิได้ • อำนาจจัดการทรัพย์สินแทนบุตรผู้เยาว์ • ผู้ใช้อำนาจปกครองมีอำนาจจัดการทรัพย์สินแทนบุตรผู้เยาว์ แต่ต้องใช้ความระมัดระวังในการดูแลรักษาและจัดการทรัพย์สิน ซึ่งอาจเป็นการทำนิติกรรมหรือมิใช่ก็ได้ • การจัดการทรัพย์สิน ได้แก่ การสงวนบำรุงรกัษา การจัดการหาประโยชน์ ใช้สิทธิติดตามทรัพย์ ขัดขวางมิให้ผู้อื่นเกี่ยวข้องกับทรัพย์ ตลอดถึงการจำหน่าย จำนำ จำนอง หรือก่อให้เกิดภาระติดพัน อำนาจฟ้อง และต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์ของผู้อยู่ใต้อำนาจปกครอง กฎหมายครอบครัว

  24. การใช้อำนาจของผู้แทนโดยชอบธรรม ไม่จำต้องให้ความยินยอมร่วมกันหรือจัดการทรัพย์สินร่วมกัน • เพราะไม่มีบทบัญญัติทำนองเดียวกับการจัดการสินสมรสตามมาตรา 1476 (1)-(8) หรือกรณีผู้ปกครองหลายคน ตามมาตรา 1590 บิดามารดาสามารจัดการได้โดยลำพัง • ฎีกาที่ 1114/2535, ฎีกาที่ 482/2537 กฎหมายครอบครัว

More Related