1 / 28

Future Research : การวิจัยเชิงอนาคต

Future Research : การวิจัยเชิงอนาคต. นำเสนอต่อ. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร . ศิริ ถี อาสนา. ดาวน์โหลด เอกสารประกอบการบรรยาย และเนื้อหา ได้ที่ www.kiddd.org. สมาชิก. 1. นายปริญญา จุทาสงฆ์. 2. นายทรงศักดิ์ ทุง จันทร์. 3. นายปิยศักดิ์ ถี อาสนา.

jin-ratliff
Download Presentation

Future Research : การวิจัยเชิงอนาคต

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Future Research : การวิจัยเชิงอนาคต

  2. นำเสนอต่อ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริ ถีอาสนา • ดาวน์โหลด เอกสารประกอบการบรรยาย และเนื้อหา ได้ที่ www.kiddd.org

  3. สมาชิก 1 นายปริญญา จุทาสงฆ์ 2 นายทรงศักดิ์ ทุงจันทร์ 3 นายปิยศักดิ์ ถีอาสนา • ดาวน์โหลด เอกสารประกอบการบรรยาย และเนื้อหา ได้ที่ www.kiddd.org

  4. 1 ความเป็นมาของการศึกษาเกี่ยวกับอนาคต • การศึกษาอนาคต หรือการพยากรณ์เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจอย่างมากในปัจจุบันแต่ในการศึกษาอนาคตต่าง ๆ เหล่านี้จะได้รับความเชื่อถือจากวิธีการที่นำมาใช้ในการศึกษา หากว่าเป็นการศึกษาในเชิงวิทยาศาสตร์ที่มีการแสวงหาความรู้อย่างมีระเบียบแบบแผน การศึกษานั้น ๆ ก็จะได้รับความเชื่อถือมากตามไปด้วยคำว่า “อนาคต” • การศึกษาเกี่ยวกับ “อนาคต” จากเดิมดูเสมือนหนึ่งว่าจะเป็นเรื่องที่ห่างไกลจากความเป็นศาสตร์ หรือการมีหลักวิชารองรับ แต่เมื่อมีการพิจารณาว่าการดำเนินงานใดๆ ก็ตาม ในปัจจุบันบุคคลย่อมดำเนินอยู่บนบริบทของความรู้และประสบการณ์ในอดีต และเป้าหมายซึ่งกำหนดไว้ในอนาคตทั้งสิ้นด้วยเหตุนี้ อนาคตจึงมีความสำคัญในฐานะที่เป็นสิ่งกำหนดปัจจุบัน • ดาวน์โหลด เอกสารประกอบการบรรยาย และเนื้อหา ได้ที่ www.kiddd.org

  5. 2 ความหมายของการวิจัยเชิงอนาคต • อนาคตศึกษา เป็นคําที่แปลมาจากคําภาษาอังกฤษว่า “Futures Studies” ซึ่งหมายถึงวิชา หรือสาขาวิชา (Field/Program of Study) ที่ศึกษาถึงแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการศึกษาอนาคต ตลอดจนระเบียบวิธีที่ใช้ในการศึกษาแนวโน้ม และทางเลือกต่างๆ ที่มีความเป็นไปได้ในอนาคต อนาคตศึกษาจะประกอบไปด้วยเนื้อหาอย่างน้อย 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ ส่วนที่เป็นแนวคิด (Perspectives) และทฤษฎี (Theories) ซึ่งอาจใช้คํารวมว่าอนาคตนิยม (Futurism) และ ส่วนที่เป็นระเบียบวิธี (Methodologies) ซึ่งอาจเรียกว่าการวิจัยอนาคต (Futures Research) • ดาวน์โหลด เอกสารประกอบการบรรยาย และเนื้อหา ได้ที่ www.kiddd.org

  6. ความหมายของการวิจัยเชิงอนาคต (ต่อ) • การวิจัยอนาคต มาจากคําภาษาอังกฤษว่า “Futures Research” ซึ่งเป็นคําศัพท์เฉพาะ(Technical Term) ที่สื่อถึงแนวคิด วิธีการ กระบวนการ และระเบียบวิธีที่ใช้ในการสํารวจ ศึกษาแนวโน้มที่มีความเป็นไปได้ในอนาคตเกี่ยวกับเรื่องที่ทําการศึกษา ทั้งแนวโน้มที่พึ่งประสงค์ และไม่พึงประสงค์ จึงมีตัว “S” ต่อท้ายคําว่า Future เพื่อสะท้อนแนวคิดว่าเรื่องของอนาคตนั้น มีความ เป็นไปได้ในหลายทิศทาง จึงต้องสํารวจ และศึกษาแนวโน้มที่มีความเป็นไปได้เหล้านั้น ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ …จุมพล พูลภัทรชีวิน (2551) • ดาวน์โหลด เอกสารประกอบการบรรยาย และเนื้อหา ได้ที่ www.kiddd.org

  7. ความหมายของการวิจัยเชิงอนาคต (ต่อ) • การวิจัยเชิงอนาคต เป็นงานวิจัยที่จำเป็นอย่างยิ่งในการวางแผนและกำหนดนโยบายตลอดจนแนวทางการดำเนินงานในอนาคต โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะทำการทำนาย เหตุการณ์ คาดคะเนหรือพยากรณ์เหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้จะต้องอิงพื้นฐานข้อมูลและข้อค้นพบที่จะได้จากการวิจัย เพื่อค้นหาและอาจจะต้องอิงกับข้อมูลในระยะเวลาหนึ่งที่ผ่านมาในอดีตด้วยเพื่อที่จะสามารถวาดภาพพิจารณาถึงแนวโน้มที่จะเกิดเหตุการณ์หนึ่งๆในอนาคต … เทียนฉาย กีระนันทน์ (2537) • ดาวน์โหลด เอกสารประกอบการบรรยาย และเนื้อหา ได้ที่ www.kiddd.org

  8. ความหมายของการวิจัยเชิงอนาคต (ต่อ) สรุป • สรุปได้ว่า การวิจัยอนาคตเป็นระเบียบวิธีการค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับอนาคตโดยใช้วิธีการวิทยาศาสตร์และมีกิจกรรม 3 ขั้นตอน คือ การวางแผน การพยากรณ์ และการตัดสินใจ เพื่อศึกษาเหตุการณ์หรือพฤติกรรมต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอันเนื่องมาจากการตัดสินใจหรือนโยบายในปัจจุบันเพื่อที่จะนำผลที่ได้มาวางแผนระยะยาว • ดาวน์โหลด เอกสารประกอบการบรรยาย และเนื้อหา ได้ที่ www.kiddd.org

  9. 3 พัฒนาการของการวิจัยอนาคต ปี ค.ศ. 1907 ปี ค.ศ. 1964 ปี ค.ศ. 1967 ดี ซี กิลฟิลแลม (D.C. Gilfillam) ได้เริ่มใช้คำว่า ฟิวเจอโรโลยี (Futurology) ผนวกเข้า (Policy Research) นิโคลัสเรสเชอร์ (NicholasRescher) และโอลาฟเฮลเมอร์ (Olaf Helmer) ได้พัฒนาเทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) มาใช้ศึกษาอนาคต โอลาฟเฮลเมอร์ (Olaf Helmer) และเจมส์กอร์ดอน (Jame Gordon) ในนามบริษัทแรนด์ ได้ทำการวิจัย Long – Range Forecasting Study เพื่อทำนายเหตุการณ์ ทางวิทยาศาสตร์ 103 โครงการ เบอร์ตรัง เดอ ยองเวเนล (Bertrand de jonvenel) ได้จัดตั้ง สโมสร แห่งโรมขึ้น (Club of Rome) ผลงานสำคัญ ของคณะนักวิจัยอนาคตกลุ่มนี้ ได้เสนอ “ขีดจำกัดความเจริญ” (The Limit of Growth) • บทบาทและหน้าที่สำคัญที่สุดของการวิจัยอนาคตหรือการศึกษาอนาคตก็ คือ การช่วยให้เราเข้าใจความเป็นไปได้ของสิ่งต่างๆ ในอนาคต ซึ่งจะช่วยให้เราตัดสินใจเรื่องต่างๆ ในปัจจุบันได้ดีและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพราะข้อมูลจากการศึกษาอนาคต จะช่วยให้เราจัดการกับความไม่แน่นอน (uncertainty) ด้วยการสร้างความกระจ่างในสิ่งที่เรารู้แล้วและสิ่งที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นมากที่สุดในอนาคต …กฤษดากรุดทอง (2530) • ดาวน์โหลด เอกสารประกอบการบรรยาย และเนื้อหา ได้ที่ www.kiddd.org

  10. 4 ขอบเขตของการวิจัยเชิงอนาคต • การวิจัยเชิงอนาคตมีขอบเขตของการวิจัยโดยแบ่งตามระยะเวลา ซึ่งแบ่งออกเป็น5 ระยะ ประกอบด้วย 1.  Near Term Future  อนาคตภายใน 1 ปี นับจากปัจจุบัน  2.  Short Range Future  อนาคตระหว่าง 1-5 ปี นับจากปัจจุบัน3.  Middle Range Future อนาคตระหว่าง 5-20 ปี นับจากปัจจุบัน4.  Long Range Future  อนาคตระหว่าง 20-50 ปี นับจากปัจจุบัน  5.  Far Future  อนาคตตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไป นับจากปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า การกำหนดระยะเวลาในการวิจัยแบ่งออกเป็นหลายระยะด้วยกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสนใจและเป้าหมายในการวิจัย • ดาวน์โหลด เอกสารประกอบการบรรยาย และเนื้อหา ได้ที่ www.kiddd.org

  11. 5 การเปรียบเทียบความเชื่อและวิธีการเกี่ยวกับอนาคต จุมพล พูลภัทรชีวิน (2552) • ดาวน์โหลด เอกสารประกอบการบรรยาย และเนื้อหา ได้ที่ www.kiddd.org

  12. 6 จุดมุ่งหมายของการวิจัยเชิงอนาคต • เท็กซ์เตอร์ (Textor. 1995) ได้กล่าวถึงจุดหมายของการวิจัยอนาคตไว้ ดังนี้ 1. บรรยายทางเลือกในอนาคตที่เป็นไปได้หรือเกิดขึ้นได้สำหรับประชาชน กลุ่มหนึ่ง 2. กำหนดระดับความรู้เกี่ยวกับอนาคตที่เป็นไปได้ 3. จำแนกผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต 4. เป็นสัญญาณเตือนว่าอนาคตที่ไม่พึงปรารถนาที่อาจจะเกิดขึ้น 5. เข้าใจถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลง • ดาวน์โหลด เอกสารประกอบการบรรยาย และเนื้อหา ได้ที่ www.kiddd.org

  13. จุดมุ่งหมายของการวิจัยเชิงอนาคต (ต่อ) • กฤษดา กรุดทอง (1987 : 14-15) ได้กล่าวถึง ลักษณะสำคัญ จุดมุ่งหมายของการวิจัยอนาคต สรุปได้ดังนี้ 1. การวิจัยอนาคตมุ่งเพื่อการตัดสินใจ กำหนดนโยบายและการวางแผน 2. การวิจัยอนาคตมุ่งชี้ถึงทางเลือกที่เป็นไปได้หลายวิธีมิใช่วิธีใดวิธีหนึ่งวิธีเดียว 3. การวิจัยอนาคตมุ่งมองอนาคตทั้งในด้านดี (Utopia) และในด้านเลว (Dytstopia) 4. การวิจัยอนาคตมุ่งพัฒนา “อนาคตที่ควรจะเป็น” (Probabilistic Future) • ดาวน์โหลด เอกสารประกอบการบรรยาย และเนื้อหา ได้ที่ www.kiddd.org

  14. จุดมุ่งหมายของการวิจัยเชิงอนาคต (ต่อ) • การ์เร็ต. (2540 : 122) ในการศึกษาอนาคตเราใช้เครื่องมือเพื่อทำหน้าที่ ต่อไปนี้ 1. หาความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ (Soliciting expert opinion) เพื่อให้ได้ แนวคิดหรือการตัดสินใจจากคนนอกกลุ่มแกนกลาง 2. สร้างแนวคิด (Generating ideas) จินตนาการมีความหลากหลาย 3. หาข้อสรุป (Developing consensus) หรือความเห็นร่วมของกลุ่ม 4. วิเคราะห์(Analyzing) อธิบายโครงสร้าง หน้าที่ และความสัมพันธ์ในระบบ 5. ตรวจสอบ(Scanning) ค้นหาแนวโน้มและการพัฒนาใหม่ๆ ที่มีผลกระทบ ต่ออนาคตของระบบ 6. ฉายภาพข้างหน้า (projection) คาดการณ์จากปัจจุบันไปสู่อนาคต 7. ตัดสินใจ(Making judgment) และให้นำผลที่ตามเพิ่มศักยภาพ (Empowering) ให้กำลังใจ ช่วยประชาชนวาดภาพของเขา • ดาวน์โหลด เอกสารประกอบการบรรยาย และเนื้อหา ได้ที่ www.kiddd.org

  15. 7 รูปแบบหรือเทคนิคของการวิจัยเชิงอนาคต • 1. การวิเคราะห์แนวโน้ม (trend analysis) หรือ การสำรวจแนวโน้ม (trend extrapolation) • การวิเคราะห์แนวโน้มเป็นวิธีการที่นิยมนำมาใช้ในการวิจัยอนาคต วิธีการนี้ประกอบด้วยเทคนิคย่อยหลายเทคนิค ซึ่งส่วนใหญ่จะต้องอาศัยข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์  (historical data)  เทคนิคหนึ่งที่มักจะมีการนำมาใช้คือการกำหนดจุดของแนวโน้ม (spotting trend) ในเรื่องต่างๆ และเริ่มสืบสอบข้อมูลย้อนกลับไปในอดีต • ดาวน์โหลด เอกสารประกอบการบรรยาย และเนื้อหา ได้ที่ www.kiddd.org

  16. รูปแบบหรือเทคนิคของการวิจัยเชิงอนาคต (ต่อ) • 2. วิธีเดลฟาย (Delphi Forecasting) • เทคนิคเดลฟายเป็นเทคนิคหนึ่งที่นิยมในการนำมาใช้ทำนายอนาคตซึ่งได้รับความนิยมแพร่หลายไม่ว่าจะเป็นด้านธุรกิจ การเมืองเศรษฐกิจและการศึกษา ตัวอย่างเช่น การวิจัยแนวโน้มของการพัฒนา และการผลิตครูแนวโน้มของหลักสูตรและการสอน เป็นต้น • เทคนิคเดลฟายสรุปได้ดังนี้ • 1.   เป็นเทคนิคที่มุ่งแสวงหาข้อมูลจากความคิดเห็นของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง • 2. เป็นเทคนิคที่ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนที่ร่วมในการวิจัยจะไม่ทราบว่าผู้เชี่ยวชาญคนอื่นๆ เป็นใคร • 3. ข้อมูลที่ได้จากเทคนิคเดลฟายจะมาจากการสอบถาม • 4. การตอบคำถามของผู้เชี่ยวชาญจะต้องมีการกลั่นกรองหลายรอบ • 5. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากเทคนิคเดลฟายจะเป็นสถิติเบื้องต้น • ดาวน์โหลด เอกสารประกอบการบรรยาย และเนื้อหา ได้ที่ www.kiddd.org

  17. รูปแบบหรือเทคนิคของการวิจัยเชิงอนาคต (ต่อ) • 3. การสำรวจสิ่งแวดล้อม  (Environmental  Scanning) • การวิเคราะห์และการประเมินเงื่อนไขต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกขององค์กร ตลอดจนปัจจัยต่างๆ ที่จะมีผลกระทบต่อองค์กรนั้น การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน และภายนอกดังกล่าว มักมีการประเมินใน 4 ด้าน ประกอบด้วย การประเมินความจุดแข็งขององค์กร (strengths)การประเมินข้อควรปรับปรุงหรือสิ่งที่เป็นจุดอ่อนขององค์กร  (weaknesses)  การประเมินโอกาสขององค์กร  (opportunities)  และการประเมินสิ่งที่จะเป็นภัยหรือสร้างความเสียหายให้องค์กร (threats)  การวิเคราะห์ทั้ง 4 ด้านเรียกว่า  “SWOT analysis” • ดาวน์โหลด เอกสารประกอบการบรรยาย และเนื้อหา ได้ที่ www.kiddd.org

  18. รูปแบบหรือเทคนิคของการวิจัยเชิงอนาคต (ต่อ) • 4. การพยากรณ์แบบเมตริกซ์ (Matrix Forecasting) • เป็นเทคนิคที่แสดงให้เห็นว่า แนวโน้มหรือเหตุการณ์ต่างๆ อาจมีผลกระทบต่อกันและกันได้อย่างไร วิธีการนี้เป็นการแยกแยะอนาคตที่มีความซับซ้อน เป็นองค์ประกอบย่อย โดยแต่ละองค์ประกอบมีอิสระออกจากกันและให้องค์ประกอบแต่ละอย่าง หรือทางเลือกอนาคตแต่ละอย่าง มีการเปรียบเทียบกันและกันในลักษณะต่างๆกัน ช่วยให้เห็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องซึ่งกันและกันระหว่าง 2 เหตุการณ์ หรือ 2 สิ่ง • ดาวน์โหลด เอกสารประกอบการบรรยาย และเนื้อหา ได้ที่ www.kiddd.org

  19. รูปแบบหรือเทคนิคของการวิจัยเชิงอนาคต (ต่อ) • 5. การวิเคราะห์ผลกระทบแบบไขว้ (Cross – Impact Analysis) • การวิเคราะห์ เมทริกซ์ผลกระทบไขว้ (cross-impact matrix analysis) เป็นวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเพื่อ ศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุผลกระทบปฏิสัมพันธ์ ระหว่างสถานการณ์สองชุด ใช้กันมากในการวิจัยอนาคต และการวิจัยเกี่ยวกับการบริหารจัดการโดยเฉพาะด้านการวางแผน วิธีการวิเคราะห์ทําโดยการศึกษาผลกระทบ ของเหตุการณ์ชุดหนึ่งที่เป็นสาเหตุ ที่มีผลต่อเหตุการณ์อีกชุดหนึ่งที่ เป็นผล โดยการประยุกต์เมทริกซ์แสดงระดับความเข้มของผลกระทบระหว่างเหตุการณ์ทั้งสองชุด จากนั้นนักวิจัยใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพมาตรวจสอบระดับความเข้มของผลกระทบ • ดาวน์โหลด เอกสารประกอบการบรรยาย และเนื้อหา ได้ที่ www.kiddd.org

  20. รูปแบบหรือเทคนิคของการวิจัยเชิงอนาคต (ต่อ) • 6. กงล้ออนาคต (Futures Wheel) • เป็นเทคนิคการประเมินความคงที่ภายในของการพยากรณ์แนวโน้ม โดยเริ่มปัญหาที่ศูนย์กลาง แล้วจากปัญหานี้จะนำให้เกิดสิ่งต่างๆเชื่อมโยงต่อไป กงล้ออนาคตเป็นวิธีหนึ่งที่นิยมใช้ของนักอนาคต เพราะว่าเป็นวิธีการที่ง่ายมากที่เข้าใจถึงความคิดของคนเกี่ยวกับอนาคต การใช้กงล้อมาช่วยรวบรวมความคิดเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือแนวโน้มในอนาคต • ดาวน์โหลด เอกสารประกอบการบรรยาย และเนื้อหา ได้ที่ www.kiddd.org

  21. รูปแบบหรือเทคนิคของการวิจัยเชิงอนาคต (ต่อ) • 7. การสร้างภาพอนาคต (Scenario) • เป็นการเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับอนาคต เป็นแนวทางในการแสดงความคิดเห็นในเชิงสร้างสรรค์เกี่ยวกับอนาคตที่เป็นไปได้ และกระบวนการสร้าง scenario จะทำให้ผู้เขียนหรือผู้อ่าน ได้แนวทางในการตรวจสอบอนาคต และการตัดสินใจในแนวทางต่างๆ การเขียนเป็นการพรรณนาเรื่องอนาคต โดยเขียนเป็นเรื่องราวหรือนิยาย เนื้อหาจะเป็นการกล่าวถึงว่า เราจะก้าวจากปัจจุบันไปสู่อนาคตได้อย่างไร • ดาวน์โหลด เอกสารประกอบการบรรยาย และเนื้อหา ได้ที่ www.kiddd.org

  22. รูปแบบหรือเทคนิคของการวิจัยเชิงอนาคต (ต่อ) • 8. การวิจัยแบบ EFR (Ethnographic Futures Research) • อนาคตภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์เพียงรอบเดียวโดยเลือกเอาแนวโน้มที่มีฉันทามติ (Consensus) ระหว่างผู้ให้สัมภาษณ์ จุดอ่อนของวิธีนี้ คือ การขาดระบบที่น่าเชื่อถือในการพิจารณาแนวโน้มที่ไม่มีฉันทามติ • 9. การวิจัยแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) • ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้การสัมภาษณ์รอบแรกแล้วตามด้วยเทคนิคเดลฟายในรอบที่ 2 และรอบที่ 3เป็นเทคนิคการวิจัยอนาคตชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เนื่องจากเทคนิคนี้เป็นการผสมผสานจุดดี และลบจุดด้อยของเทคนิควิธีวิจัยที่เป็นสากลทั้ง เทคนิควิธีวิจัย แบบ Delphi และเทคนิควิธีวิจัยแบบ EFR • ดาวน์โหลด เอกสารประกอบการบรรยาย และเนื้อหา ได้ที่ www.kiddd.org

  23. 8 งานวิจัยในประเทศที่ใช้รูปแบบหรือเทคนิคของวิจัยเชิงอนาคต เทคนิคเดลฟาย • ดาวน์โหลด เอกสารประกอบการบรรยาย และเนื้อหา ได้ที่ www.kiddd.org

  24. งานวิจัยในประเทศที่ใช้รูปแบบหรือเทคนิคของวิจัยเชิงอนาคต (ต่อ) • ดาวน์โหลด เอกสารประกอบการบรรยาย และเนื้อหา ได้ที่ www.kiddd.org

  25. งานวิจัยในประเทศที่ใช้รูปแบบหรือเทคนิคของวิจัยเชิงอนาคต (ต่อ) • ดาวน์โหลด เอกสารประกอบการบรรยาย และเนื้อหา ได้ที่ www.kiddd.org

  26. งานวิจัยในประเทศที่ใช้รูปแบบหรือเทคนิคของวิจัยเชิงอนาคต (ต่อ) • ดาวน์โหลด เอกสารประกอบการบรรยาย และเนื้อหา ได้ที่ www.kiddd.org

  27. 9 ตัวอย่างงานวิจัยเชิงอนาคต • เรื่อง อนาคตภาพของหลักสูตรวิชาชีพครูในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2550-2559) THE SCENARIO OF TEACHER PROFESSIONAL CURRICULUM IN THE NEXT DECADE (B.E.2550-2559) • โดย ชมพูนุช ร่วมชาติ ดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ • ดาวน์โหลด เอกสารประกอบการบรรยาย และเนื้อหา ได้ที่ www.kiddd.org

  28. Thank You Thank You

More Related