1 / 37

ภาษาไทย ป.๕

ภาษาไทย ป.๕. วิชาพัฒนาเว็บ สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. การพูดในโอกาสต่างๆ.

jetta
Download Presentation

ภาษาไทย ป.๕

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ภาษาไทย ป.๕ วิชาพัฒนาเว็บ สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

  2. การพูดในโอกาสต่างๆ • การพูดในโอกาสสำคัญ ๆ เป็นการพูดที่เราได้พบบ่อย ๆ ในชีวิตประจำวันของคนเราโดยเฉพาะบุคคลที่ได้รับยกย่องสรรเสริญจากบุคคลในสังคมต่าง ๆ ย่อมมีโอกาสได้รับเชิญให้พูดในโอกาสสำคัญ ๆ ที่มีการจัดงานหรือจัดกิจกรรมต่าง ๆ ทางสังคมขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ บุคคลที่เป็นผู้นำในทางสังคม หรือเป็นผู้นำในหน่วยงานต่าง ๆ จะต้องฝึกฝนตนเองในการพูดในลักษณะต่างๆไว้ การพูดในโอกาสต่างๆ ที่ถือว่ามีความสำคัญควรจะต้องฝึกฝนตนเองเอาไว้การพูดในโอกาสต่าง ๆ เท่าที่เห็นมีอยู่เสมอนั้น มีดังนี้

  3. การพูดในโอกาสต่างๆ การปฏิบัติหน้าที่โฆษก การกล่าวคำสดุดี การให้โอวาท การปฏิบัติหน้าที่พิธีกร การกล่าวแนะนำผู้พูด การกล่าวคำปราศรัย การกล่าวอวยพร การกล่าวคำต้อนรับ การกล่าวขอบคุณผู้พูด การกล่าวคำเลี้ยงส่ง

  4. การปฏิบัติหน้าที่โฆษกการปฏิบัติหน้าที่โฆษก • ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นโฆษก นอกจากจะเป็นผู้ที่มีลีลาการพูดที่น่าฟังแล้ว จะต้องเป็นผู้ที่มีไหวพริบและปฏิภาณดี สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างแคล่วคล่องว่องไว ปราศจากความเก้อเขิน มีอารมณ์รื่นเริงและแจ่มใสอยู่เสมอโฆษกที่ดีนั้นจะต้องมีลักษณะดังนี้ 1) มีความสง่าผ่าเผย 2) เสียงดัง ชัดเจน นุ่มนวล และหนักแน่น 3) ใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส 4) มีมารยาทในการใช้ถ้อยคำดี 5) รู้จักเลือกใช้ถ้อยคำ และเลือกเรื่องที่จะนำมาพูดได้อย่างเหมาะสม 6) ไม่ใช้ถ้อยคำจำเจและซ้ำซาก 7) นำเรื่องที่จะพูดให้น่าสนใจ 8) ให้เกียรติผู้รับเชิญ และแนะนำเรื่องที่จะพูดให้น่าสนใจ

  5. การปฏิบัติหน้าที่พิธีกรการปฏิบัติหน้าที่พิธีกร • พิธีกรเป็นบุคคลสำคัญในการชักนำให้การพูดแต่ละครั้งไปสู่จุดมุ่งหมายที่วางไว้ บางครั้งพิธีกรตั้งอยู่ในฐานะเป็นประธาน ในที่ประชุม ผู้ทำหน้าที่เป็นพิธีกรจะต้องมีความรอบรู้รอบคอบ ละเอียดลออ จะต้องพร้อมไปด้วยคุณสมบัติและรู้หน้าที่ดังต่อไปนี้คุณสมบัติของพิธีกร 1) ต้องได้รับการฝึกพูดมาแล้วพอสมควร 2) มีความรอบรู้ระเบียบวิธีการพูดในที่ชุมนุมชน 3) เป็นที่เชื่อถือของบุคคลทั่วไป 4) เป็นผู้ยอมรับฟังความคิดเห็นของบุคคลอื่น 5) ไม่มีอคติ 6) มีมารยาทดีมีความอ่อนน้อมไม่ลุอำนาจต่อโทสะ 7) มีความอดทน รู้จักอดกลั้นต่อความรู้สึกต่างๆ 8) มีปฏิภาณดี สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

  6. การปฏิบัติหน้าที่พิธีกรการปฏิบัติหน้าที่พิธีกร • หน้าที่ของพิธีกร พิธีกรมีหน้าที่คล้ายคลึงกับโฆษก ต่างกันที่ว่า หน้าที่พิธีกรนั้นใช้ในงานที่เป็นพิธีการที่มีผู้รับเชิญให้มาพูดมากกว่า 1 คนขึ้น พิธีกรมีหน้าที่สำคัญดังต่อไปนี้ 1) วางแผนการพูดแต่ละครั้ง 2) แนะนำกลุ่ม 3) เชิญผู้พูดแต่ละท่านให้ขึ้นมาพูดตามลำดับ 4) จัดระเบียบวาระของการพูดแต่ละครั้งให้เหมาะสมตามสมควรแต่โอกาส

  7. การกล่าวแนะนำผู้พูด • การกล่าวแนะนำผู้พูดนั้น มักจะกล่าวในโอกาสที่มีการปาฐกถา หรือในโอกาสที่มีการอภิปราย เช่น การกล่าวแนะนำผู้ดำเนินการอภิปราย และการกล่าวแนะนำวิทยากรในการสัมมนา เป็นต้นสรุปการกล่าวแนะนำผู้พูด 1) การกล่าวแนะนำผู้พูดและเรื่องที่จะพูด ต้องแนะนำให้เหมาะกับลักษณะ และอารมณ์ผู้ฟัง 2) การแนะนำไม่ควรต่ำกว่า 20 วินาที และไม่เกิน 2 นาที 3) ไม่ควรให้ตัวผู้แนะนำและคำแนะนำเด่นจนเกินไป 4) ไม่ควรให้ผู้พูดรู้สึกขวยเขินเพราะคำยกยอจนเกินควร 5) เลือกใช้คำแนะนำให้เหมาะสม 6) วางการแนะนำตามลำดับขั้นของอารมณ์

  8. การกล่าวอวยพร • การกล่าวสุนทรพจน์ที่ใช้บ่อยที่สุด เพราะว่าสังคมไทยมักจะจัดงานมงคลต่างๆ ขึ้นเสมอ เช่น งานมงคลสมรส ขึ้นบ้านใหม่ เลี้ยงส่ง วันขึ้นปีใหม่ ตลอดจนงานมงคลอื่นๆ ตามประเพณีที่มีมาแต่ก่อน- การกล่าวอวยพรในงานมงคลสมรส การกล่าวในงานพิธีมงคลสมรสจะใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที นิยมกล่าวปากเปล่า ซึ่งมีหลักการกล่าวที่ควรยึดเป็นแนวปฏิบัติดังนี้1) กล่าวคำปฏิสันถาร2) กล่าวถึงความรู้สึกว่าเป็นเกียรติที่ได้มาอวยพร3) ความสัมพันธ์ของผู้พูดกับคู่บ่าวสาว4) ให้คำแนะนำในการดำเนินชีวิต และการครองรัก5) อวยพรและชักชวนให้ดื่ม

  9. การกล่าวอวยพร • การกล่าวอวยพรในวันขึ้นปีใหม่ เมื่อถึงวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี ชาวไทยทุกคนต่างก็ทำบุญตักบาตร จัดงานเลี้ยงกันอย่างเอิกเกริกในหมู่ผู้ร่วมงานเดียวกัน ในหมู่ญาติสนิทมิตรสหายการกล่าวคำอวยพรในวันขึ้นปีใหม่มักจะพูดปากเปล่า โดยมีแนวปฏิบัติในการกล่าวดังนี้1) กล่าวคำปฏิสันถาร2) กล่าวถึงชีวิตในปีเก่าที่ผ่านมา3) กล่าวถึงการเริ่มต้นชีวิตใหม่ในปีใหม่ • การกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิดการกล่าวอวยพรตามประเพณีนิยมนั้น มีการกล่าวอวยพรเมื่อเสร็จจากการรับประทานอาหาร และผู้รับเชิญก็จะถือเอาผู้ที่มีอาวุโสในที่ประชุมนั้น หรือบางทีก็เป็นบุตรหัวปี เป็นผู้กล่าวในการกล่าวพิธีเช่นดังกล่าวนี้ มีแนวปฏิบัติในการกล่าวดังนี้1) กล่าวคำปฏิสันถาร2) กล่าวรู้สึกเป็นเกียรติที่มีโอกาสกล่าวอวยพร3) การสร้างคุณงามความดี หรือพูดถึงความสัมพันธ์ที่ผู้พูดมีต่อท่านผู้นั้น4) การเป็นที่พึ่งของบุตรหลาน

  10.  การกล่าวขอบคุณผู้พูด การกล่าวขอบคุณผู้พูด • เมื่อการพูดได้จบสิ้นลงแล้ว ผู้กล่าวแนะนำเป็นผู้กล่าวขอบคุณผู้พูดด้วยตามปรกติแล้วผู้กล่าวคำขอบคุณจะกล่าวถึงเรื่องสำคัญของเรื่องที่ผู้พูดได้พูดอย่างสั้นๆ พร้อมทั้งเน้นให้เห็นว่าผู้ฟังจะได้รับประโยชน์จากการฟังครั้งนี้ด้วยอนึ่งในกรณีการสัมมนา ซึ่งมีวิทยากร มีวิธีกล่าวขอบคุณดังนี้1) เริ่มด้วยการกล่าวคำขอบคุณ2) สรุปเนื้อหาที่วิทยากรพูดไว้อย่างสั้นๆ พร้อมทั้งกล่าวเชื้อเชิญวิทยากรไว้สำหรับการพูดครั้งต่อไป3) จบลงด้วยการกล่าวขอบคุณอีกครั้งหนึ่ง

  11.  การกล่าวคำสดุดี • การกล่าวสดุดีเป็นสุนทรพจน์อย่างหนึ่ง ที่ใช้พูดยกย่องสรรเสริญคุณความดีของบุคคลรวมทั้งผู้ที่มีชีวิตอยู่ และผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว การกล่าวสดุดีมุ่งที่จะพูดให้ผู้ฟังได้ตระหนักรำลึกถึงชีวิต และผลงานของบุคคลนั้น การกล่าวสดุดีควรยึดแนวปฏิบัติดังนี้ 1) กล่าวปฏิสันถาร 2) กล่าวถึงประวัติโดยย่อ (สำหรับผู้เสียชีวิตแล้ว) 3) กล่าวถึงคุณความดีหรือผลงานของบุคคลนั้น4) จบลงด้วยการพูดที่ทำให้ผู้ฟังรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณของบุคคล

  12. การให้โอวาท • การให้โอวาท เป็นสุนทรพจน์ที่ผู้ใหญ่กล่าวกับผู้น้อย เพื่อจะให้ข้อคิด แนะนำตักเตือนและสั่งสอน เนื่องในโอกาสสำคัญๆ เช่น พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่บัณฑิตใหม่เนื่องในวันพระราชทานปริญญาบัตร โอวาทของอธิการบดีในวันปฐมนิเทศนิสิตใหม่ เป็นต้น การให้โอวาทควรยึดแนวปฏิบัติในการกล่าวดังนี้1) ความสำคัญของโอกาสที่ให้โอวาท2) ให้หลักการ ข้อแนะนำ ตักเตือน ข้อคิดที่สมเหตุผล และอธิบายประกอบให้แจ่มแจ้ง3) ถ้ามีเวลาพอก็อาจจะชี้ให้เห็นข้อบกพร่องต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นแล้วเสนอแนะวิธีแก้ไขข้อบกพร่องนั้นๆ4) ไม่ควรให้โอวาทหลายเรื่องพร้อม ๆ กัน5) ลงท้ายด้วยการอวยชัยให้พร

  13. การกล่าวคำปราศรัย • คำปราศรัยมีลักษณะคล้ายคลึงกับสุนทรพจน์ในด้านภาษา เนื้อหา และทัศนคติของผู้กล่าว ซึ่งสามารถจะนำไปปฏิบัติได้ คำปราศรัยที่เป็นการพูดที่เป็นพิธีการ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีการเตรียมมาก่อนเป็นอย่างดีคำปราศรัยอาจแบ่งได้เป็นประเภทต่างๆ ดังนี้1) คำปราศรัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เรียกว่า กระแสพระราชดำรัส หรือพระราชดำรัส เช่น กระแสพระราชดำรัสแก่ประชาชนชาวไทยเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ เป็นต้น2) คำปราศรัยในโอกาสครบรอบปี เช่น คำปราศรัยเนื่องในวันเด็ก เนื่องในวันกาชาดสากล เนื่องในวันกรรมกรสากล เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ เป็นต้น3) คำปราศรัยในงานพิธีต่างๆ ซึ่งเรียกว่า คำกล่าวเปิด…ถ้าเป็นงานที่เป็นพิธีการเรียกว่า "คำปราศรัย" เช่น คำปราศรัยของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ในการเปิดอบรมกำนันผู้ใหญ่บ้านทั่วราชอาณาจักร เป็นต้น

  14. การกล่าวคำต้อนรับ • ในโอกาสที่มีผู้มาใหม่ เช่น เจ้าหน้าที่ใหม่ พนักงานใหม่ นักศึกษาใหม่ หรือมีผู้มาเยี่ยมเพื่อพบปะชมกิจการ การกล่าวต้อนรับควรยึดแนวปฏิบัติดังนี้1) เริ่มด้วยการกล่าวแสดงความยินดีที่ได้มีโอกาสต้อนรับผู้มาใหม่2) กล่าวถึงจุดมุ่งหมายในการเยี่ยมเยือน เพื่อให้เห็นว่าฝ่ายต้อนรับนั้นเห็นความสำคัญของการมาเยี่ยม3) แสดงความหวังว่าผู้มาเยี่ยมจะได้รับความสะดวกสบายระหว่างที่พำนักอยู่ในสถานที่นั้น หรือระหว่างการเยี่ยมเยือนนั้น4) สรุปเป็นทำนองเรียกร้องให้อาคันตุกะกลับมาเยี่ยมเยือนอีก ส่วนกรณีผู้มาใหม่ก็หวังว่าจะได้ร่วมงานกันตลอดไปด้วยความราบรื่น

  15. การกล่าวคำเลี้ยงส่งข้าราชการการกล่าวคำเลี้ยงส่งข้าราชการ • ในหน่วยงานต่างๆ ถ้าหากว่ามีข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่โยกย้าย หรือออกจากงานก็ถือเป็นประเพณีอย่างหนึ่งที่จะต้องจัดงานเลี้ยง และมอบของที่ระลึกเพื่อแสดงความอาลัยให้1) กล่าวปฏิสันถาร2) กล่าวถึงความสัมพันธ์ของผู้ที่จากไปกับผู้ที่อยู่3) กล่าวถึงคุณความดีทั้งในด้านการงาน และด้านส่วนตัวของผู้ที่จากไป4) กล่าวถึงความอาลัยอาวรณ์ของผู้ที่5) อวยพร

  16. การฟังและการดู • การฟัง หมายถึงการรับสาร หรือเสียงที่ได้ยินทางหู การฟังอย่างมีจุดมุ่งหมาย มีมารยาทและรู้จักพินิจพิเคราะห์เนื้อหาของสาร ที่รับว่ามีข้อเท็จจริง อย่างไร รู้จักจับใจความสำคัญ ใจความย่อย สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผู้รับสาร ได้ประโยชน์จากการฟังอย่างเต็มที่การฟังต้องมีจุดมุ่งหมาย1) ฟังเพื่อความรู้ ได้แก่ การฟังเรื่องราวที่เป็นวิชาการ ข่าวสารและข้อแนะนำต่าง ๆ การฟังเพื่อความรู้ จำเป็นต้องฟังให้เข้าใจและจดจำสาระสำคัญให้ได้2) ฟังเพื่อความเพลิดเพลิน คือ การฟังเรื่องราวที่สนุกสนานเพลิดเพลิน ทำให้ผ่อนคลายความตึงเครียดจากภารกิจการงานและสิ่งแวดล้อม3) ฟังเพื่อให้ได้รับคติหรือความจรรโลงใจ คือ การฟังเรื่องที่ทำให้เกิดแนวคิด และสติปัญญา เกิดวิจารณญาณ ขัดเกลาจิตใจให้มีคุณธรรม การฟังประเภทนี้ต้องรู้จักเลือกฟัง และเลือกเชื่อในสิ่งที่ถูกที่ควรซึ่งจะช่วยให้ผู้ฟัง มีคติในการดำเนินชีวิตไปในทางดีงาม และรู้จักสร้างสรรค์ประโยชน์เพื่อสังคม

  17. การฟังและการดู • ประโยชน์ส่วนตน 1.1 การฟังเป็นเครื่องมือของการเขียน ผู้ที่เรียนหนังสือได้ดีต้องมีการฟังที่ดีด้วย คือ ต้องฟังคำอธิบายให้รู้เรื่องและจับใจความสำคัญให้ได้จึงจะทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการฟังคำอธิบายในห้องเรียน การฟังอภิปราย การฟังบทความ ล้วนแต่ช่วยพัฒนาสติปัญญาทำให้เกิดความรู้และเกิดความเฉลียวฉลาดจากการฟัง1.2 การฟังช่วยให้ผู้ฟังพัฒนาความสามารถในการพูด พัฒนาความสามารถในการใช้ภาษา เพราะการฟังทำให้ผู้ฟังมีความรู้กว้างขึ้นและมีประสบการณ์มากขึ้น1.3 การฟังช่วยปูพื้นฐานความคิดที่ดีให้กับผู้ฟัง ซึ่งจะได้จากการฟังเรื่องราวที่มีคุณค่ามีประโยชน์จากผู้อื่น ช่วยพัฒนาสติปัญญาแก่ผู้ฟัง การได้รับข้อคิดเห็นที่มีประโยชน์ทำให้เกิดแนวความคิดใหม่ ๆ ได้1.4 การฟังช่วยให้ผู้มีมารยาทในการฟัง สามารถเข้าสังคมกับผู้อื่นได้เช่น รู้จักฟังผู้อื่น รู้จักซักถามโต้ตอบได้ตามกาลเทศะ

  18. การฟังและการดู • ประโยชน์ทางสังคม 2.1 การฟังทำให้เกิดความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง เช่น การฟังประกาศ ฟังปราศรัย ฟังการอภิปราย เป็นต้น2.2 การฟังช่วยให้ประพฤติดี ปฏิบัติให้สังคมเป็นสุข เช่น ฟังธรรม ฟังเทศนา ฟังคำแนะนำ การอบรม เป็นต้น • ผู้มีมารยาท ในการฟังควรปฏิบัติตน ดังนี้1. เมื่อฟังอยู่เฉพาะหน้าผู้ใหญ่ ควรฟังโดยสำรวมกิริยามารยาท ฟังด้วยความสุภาพเรียบร้อย และตั้งใจฟัง2. การฟังในที่ประชุม ควรเข้าไปนั่งก่อนผู้พูดเริ่มพูด โดยนั่งที่ด้านหน้าให้เต็มก่อนและควรตั้งใจฟังจนจบ3. จดบันทึกข้อความที่สนใจหรือข้อความที่สำคัญ หากมีข้อสงสัยเก็บไว้ถามเมื่อมีโอกาสและถามด้วยกิริยาสุภาพ เมื่อจะซักถามต้องเลือกโอกาสที่ผู้พูดเปิดโอกาสให้ถาม หรือยกมือขึ้นขออนุญาตหรือแสดงความประสงค์ในการซักถาม ถามด้วยถ้อยคำสุภาพ และไม่ถามนอกเรื่อง

  19. การฟังและการดู 4. มองสบตาผู้พูด ไม่มองออกนอกห้องหรือมองไปที่อื่น อันเป็นการแสดงว่าไม่สนใจเรื่องที่พูด และไม่เอาหนังสือไปอ่านขณะที่ฟัง หรือนำอาหารเครื่องดื่มเข้าไปรับประทานระหว่างฟัง 5. ฟังด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสเป็นกันเองกับผู้พูด แสดงสีหน้าพอใจในการพูด ไม่มีแสดงกิริยาก้าวร้าว เบื่อหน่าย หรือลุกออกจากที่นั่งโดยไม่จำเป็นขณะฟัง 6. ฟังด้วยความสุขุม ไม่ควรก่อความรำคาญให้บุคคลอื่น ควรรักษามารยาทและสำรวมกิริยา ไม่หัวเราะเสียงดังหรือกระทืบเท้าแสดงความพอใจหรือเป่าปาก 7. ฟังด้วยความอดทนแม้จะมีความคิดเห็นขัดแย้งกับผู้พูดก็ควรมีใจกว้างรับฟังอย่างสงบ 8. ไม่พูดสอดแทรกขณะที่ฟัง ควรฟังเรื่องให้จบก่อนแล้วค่อยซักถามหรือแสดงความคิดเห็น 9. ควรให้เกียรติวิทยากรด้วยการปรบมือ เมื่อมีการแนะนำตัวผู้พูด ภายหลังการแนะนำ

  20. การฟังและการดู ในการฟังและการดู เราไม่อาจจะจดจำสารที่ฟังและดูได้ทั้งหมด หลังจากฟังหรือดูเพียงไม่กี่วันหรือไม่กี่ชั่วโมง เราก็ลืมเสียแล้ว นอกจากจะฝึกการจำให้มากขึ้น ซึ่งเราอาจฝึกฝนปรับปรุงโดยการทำเป็นโครงการระยะยาว แต่ในขั้นต้นซึ่งนักเรียนควรจะได้ฝึกฝน คือ การจดบันทึกสารที่ได้ฟังและดู การจดบันทึกสิ่งต่าง ๆ จะช่วยให้เราจำได้ดีขึ้น เพราะการได้เขียนทำให้สิ่งนั้นผ่านประสาทตาและประสาทสัมผัสของเราอีกครั้งหนึ่ง เป็นการช่วยย้ำเตือนความจำของเราให้ดีขึ้น การจดบันทึกช่วยให้เรามีสมาธิ และตั้งใจจดจ่ออยู่กับการฟังและดู และประโยชน์สำคัญที่ได้คือ ข้อความที่บันทึกไว้นั้นเป็นลายลักษณ์อักษรช่วยให้เราทบทวนได้เมื่อลืมนักเรียนจะเห็นได้ว่า การจดบันทึกจากการฟังและดู มีความสำคัญมาก แต่เราก็ไม่ควรจดบันทึกในทุกโอกาส เช่น การฟังเพียงสั้นๆ และเป็นเรื่องที่มีประเด็นสำคัญซับซ้อน ก็ไม่จำเป็นต้องจดบันทึก บางทีอาจรอจนฟังจบแล้ว จึงค่อยเขียนบันทึกไว้ก็ได้ และในบางกรณีเราก็ควรมีมารยาทด้วยการอนุญาตผู้พูดเสียก่อนจึงจะจดบันทึกได้

  21. การอ่าน • การอ่าน คือ การรับรู้ข้อความในการเขียนของตนเองหรือของผู้อื่น รวมถึงการการรับรู้ความหมายจากเครื่องหมายและสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น สัญลักษณ์จราจร เครื่องหมายที่แสดงบนแผนที่ เป็นต้น การรับรู้ข้อความ เข้าใจเรื่องราว หรือได้รับรสความบันเทิงใจตรงตามจุดประสงค์ของผู้เขียนเป็นการอ่านที่ดีและได้ประโยชน์อย่างแท้จริง • ความสำคัญของการอ่าน ชีวิตของแต่ละคนย่อมต้องเกี่ยวข้องผูกพันกับสังคม คือ กลุ่มคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่มีใครที่จะอยู่ได้โดยปราศจากสังคมและการอยู่ร่วมกับคนอื่น ซึ่งจะต้องมีความเข้าใจซึ่งกันและกันมีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ความสนใจ เพื่อให้สังคมเกิดความสงบสุขและพัฒนาไปข้างหน้าอย่างแท้จริง ดังนั้นการติดต่อสื่อสารจึงเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการเชื่อมโยงมนุษย์ทุกคนเข้าด้วยกัน

  22. การอ่าน • จุดมุ่งหมายของการอ่าน การอ่านเพื่อการศึกษาค้นคว้า การอ่านเพื่อความบันเทิง การอ่านเพื่อความคิดหรือเพื่อสนองความต้องการอื่นๆ • ระดับของการอ่าน แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ อ่านออก การที่ผู้อ่านรู้จักพยัญชนะ สระและเครื่องหมายต่างๆ สามารถอ่านออกเสียงออกมาเป็นคำได้อย่างถูกต้อง อ่านเป็น หมายความว่า ผู้อ่านจะต้องอ่านได้ถูกต้อง คล่องแคล่ว จับใจความได้ตรงตามที่ผู้เขียนต้องการ ทราบความหมายของข้อความทุกอย่างรวมถึงความหมายที่ผู้เขียนเจตนาแฝงเร้นไว้ สามารถเข้าใจเจตนาและอารมณ์ของผู้เขียน

  23. การเขียน • การเขียน หมายถึง การถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดและความต้องการของบุคคลออกมาเป็นสัญลักษณ์ คือ ตัวอักษร เพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจ จากความข้างต้น ทำให้มองเห็นความหมายของการเขียนว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่น นักเรียน ใช้การเขียนบันทึก ความรู้ ทำแบบฝึกหัดและตอบข้อสอบบุคคลทั่วไป ใช้การเขียนจดหมาย ทำสัญญา พินัยกรรมและค้ำประกัน เป็นต้น พ่อค้า ใช้การเขียนเพื่อโฆษณาสินค้า ทำบัญชี ใบสั่งของ ทำใบเสร็จ รับเงิน แพทย์ ใช้บันทึกประวัติคนไข้เขียนใบสั่งยาและอื่นๆ เป็นต้น  • การเขียนแบ่งได้ 4 ประเภท คือ 1. การเขียนเรื่องสั้น 2. การเขียนบทความ 3. การใช้สำนวนโวหาร 4. การย่อความ

  24. การเขียน • ลักษณะผู้เขียน มีดังนี้1) มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และจินตนาการ2) มีความรอบรู้ เพราะความรู้เปรียบเสมือนวัตถุดิบ3) เลือกเนื้อหาและใช้ภาษาได้ถูกต้อง และเหมาะสมตามหลักการใช้ภาษา4) หลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็น ที่จะทำให้ผู้อื่นหรือตัวเองเดือดร้อน5) ลักษณะท่าทาง ผู้เขียนนอกจากมีความคิด ความรู้ และความสามารถบุคลิกลักษณะ ท่าทางในการนั่ง การวางมือ การจับปากกาดินสอ ผู้เขียนต้องเข้าใจและปฏิบัติให้ถูกต้องเพื่อสุขภาพของผู้เขียนเอง6) ลายมือของผู้เขียน เขียนให้ถูกต้อง เป็นระเบียบ สะอาดและชัดเจน7) จรรยาบรรณผู้เขียน หมายถึง มารยาท เช่น การให้เกียรตินักเขียนโดยลงชื่อเจ้าของผลงานที่เราลอกหรือเอาแนวคิดของ เขามาทุกครั้ง

  25. คำและการใช้คำ • ความหมายของคำ๑.๑ คำที่มีความหมายตรงและความหมายโดยนัย - ความหมายตรง คือ ความหมายที่เป็นที่รับรู้ เข้าใจตรงกันในหมู่ผู้ใช้ภาษาไม่ต้องตี ความเป็นอย่างอื่น - ความหมายแฝง คือ ความหมายที่ซ่อนเร้นอยู่ในความหมายของคำนั้นๆ เป็นความ หมายที่เพิ่มขึ้นจากความหมายตรง จะเข้าใจตรงกันหรือไม่ขึ้นอยู่กับพื้นฐานความรู้ประสบการณ์ของ แต่ละบุคคล ตลอดจนคำแวดล้อม๑.๒ คำบางคำอาจมีได้หลายความหมาย คือ เมื่ออยู่ในประโยคหนึ่ง คำบางคำอาจมี ความแตกต่างไปจากเมื่ออยู่ในอีกประโยคหนึ่ง ๑.๓ คำบางคำมีความหมายใกล้เคียงกัน อาจทำให้ผู้ใช้ภาษาเกิดความสับสนได้การใช้คำให้ถูกต้องตามไวยากรณ์ ไวยากรณ์ หมายถึง หลักว่าด้วยรูป และระเบียบวิธีการประกอบรูปคำให้เป็นประโยค การเขียนสะกดการันต์ให้ถูกต้อง การเขียนสะกดคำเรื่องสำคัญ เพราะถ้าเขียนสะกดบกพร่องหรือผิดความหมายก็อาจจะ เปลี่ยนแปลงไปได้ ดังนั้น ในการเขียนจึงต้องอาศัยการสังเกตและการจดจำหลักการเขียนคำประเภท

  26. คำและการใช้คำ • การออกเสียงให้ถูกต้องและชัดเจน พยางค์หนึ่งๆ ในภาษาไทยประกอบด้วย พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ ถ้าเสียงพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์เปลี่ยนไป ความหมายก็จะเปลี่ยนไปด้วย ซึ่งจะทำให้สื่อความหมายผิดพลาดได้ เรื่องนี้ต้องอาศัยการสังเกตและจดจำเป็นสำคัญ ...ตัวอย่างการออกเสียงให้ถูกต้องและชัดเจน>> การใช้คำในภาษาไทยใช้ต่างกันตามความเหมาะสมหรือตามระดับของคำ เวลานำคำไปใช้จะต้อง คำนึงถึงความเหมาะสมของบุคคล กาลเทศะ โอกาส และความรู้สึก ชนิดของคำแบ่งออกเป็น ๗ ชนิด ได้แก่ - คำนาม - คำสรรพนาม - คำกริยา - คำวิเศษณ์ - คำบุพบท - คำสันธาน - คำอุทาน

  27. คำและการใช้คำ • ระดับของภาษา แบ่งอย่างกว้างๆ ได้ ๓ ระดับคือ๑. ภาษาปาก เป็นภาษาที่ใช้พูดหรือเขียน เพื่อความเข้าใจในกลุ่มคนที่มีความใกล้ชิดสนิทสนม กัน ถ้อยคำที่ใช้ไม่ต้องพิถีพิถันกันมากนัก๒. ภาษากึ่งแบบแผน เป็นภาษาที่ใช้ทั้งในการพูดและเขียน๓. ภาษาแบบแผน เป็นภาษาที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าถูกต้องและประณีต มักใช้ในการพูดและ เขียนที่เป็นทางการ • การใช้คำให้เหมาะสม ๑. การใช้คำให้เหมาะสมกับบุคคลและกาลเทศะ การใช้คำที่สุภาพหรือคำที่เหมาะสมกับบุคคลเป็น เรื่องที่คนไทยถือเป็นเรื่องสำคัญ ควรใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสม๒. การใช้คำให้เหมาะสมกับความรู้สึก คำบางคำในภาษาไทยจะแสดงความรู้สึกของผู้ใช้ภาษาได้ ว่ารู้สึกเช่นใด ในขณะเดียวกันก็จะส่งผลต่อความรู้สึกของผู้รับสารได้เช่นกัน หวังว่า ท่านจะนำหลักการเหล่านี้ไปเป็นพื้นฐานในการใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง

  28. การแต่งประโยค • ความหมายของประโยค ประโยค เกิดจากคำหลายๆคำ หรือวลีที่นำมาเรียงต่อกันอย่างเป็นระเบียบให้แต่ละคำมีความสัมพันธ์กัน มีใจความสมบูรณ์ แสดงให้รู้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เช่น สมัครไปโรงเรียน ตำรวจจับคนร้าย เป็นต้น • ส่วนประกอบของประโยค ประโยคหนึ่ง ๆ จะต้องมีภาคประธานและภาคแสดงเป็นหลัก และอาจมีคำขยายส่วนต่าง ๆ ได้ 1. ภาคประธาน 2. ภาคแสดง 

  29. การแต่งประโยค • ชนิดของประโยค ประโยคในภาษาไทยแบ่งเป็น 3 ชนิด ตามโครงสร้างการสื่อสารดังนี้ 1. ประโยคความเดียว ประโยคความเดียว คือ ประโยคที่มีข้อความหรือใจความเดียว ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เอกรรถประโยค เป็นประโยคที่มีภาคประโยคเพียงบทเดียว และมีภาคแสดงหรือกริยาสำคัญเพียงบทเดียว หากภาคประธานและภาคแสดงเพิ่มบทขยายเข้าไป ประโยคความเดียวนั้นก็จะเป็นประโยคความเดียวที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น 2. ประโยคความรวม ประโยคความรวม คือ ประโยคที่รวมเอาโครงสร้างประโยคความเดียวตั้งแต่2 ประโยคขึ้นไปเข้าไว้ในประโยคเดียวกัน โดยมีคำเชื่อมหรือสันธานทำหน้าที่เชื่อมประโยคเหล่านั้นเข้าด้วยกัน ประโยคความรวมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อเนกกรรถประโยค

  30. การแต่งประโยค • หน้าที่ของประโยค สามารถแบ่งออกเป็น4 ลักษณะ ดังนี้ 1. บอกเล่าหรือแจ้งให้ทราบ  2. ปฏิเสธ  3. ถามให้ตอบ  4. บังคับ ขอร้อง และชักชวน  • สรุป การเรียบเรียงถ้อยคำเป็นประโยคความเดียว ประโยคความรวม และประโยคความซ้อน สามารถขยายให้เป็นประโยคยาวขึ้นได้ด้วยการใช้คำ กลุ่มคำ หรือประโยค เป็นส่วนขยาย ยิ่งประโยคมีส่วนขยายหรือองค์ประกอบมากส่วนเพียงใด ก็จะยิ่งทำให้การสื่อสารเกิดความเข้าใจต่อกันมากขึ้นเพียงนั้น ข้อสำคัญ คือ ต้องเข้าใจรูปแบบประโยค การใช้คำเชื่อมและคำขยาย ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงเจตนาในการส่งสารด้วย ผู้มีทักษะในการเรียบเรียงประโยคสามารถพัฒนาไปสู่การเขียน เล่า บอกเรื่องราวที่ยืดยาวได้ตามเจตนาของการสื่อสาร ดังนั้นผู้ใช้ภาษาจึงต้องศึกษาและทำความเข้าใจโครงสร้างประโยค และวิธีการสร้างประโยคให้แจ่มแจ้งชัดเสียก่อนจะทำให้การสื่อสารเกิดประสิทธิผล และสามารถใช้ภาษาสื่อสารให้เกิดความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น

  31. พยัญชนะและสระ • พยัญชนะไทย ปัจจุบันมี ๔๔ ตัว แต่ใช้เพียง ๔๒ ตัว โดยมีพยัญชนะที่ไม่ได้ใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๔๕ อยู่ ๒ ตัว ได้แก่ ขอขวด และ คอคน พยัญชนะไทยมี ๒๑ เสียง มี ๔๔ รูป

  32. พยัญชนะและสระ • สระไทยปัจจุบันสระในภาษาไทย มีการแบ่งรูปและเสียงต่างกันเป็น ๒ ลักษณะ๑. หนังสือหลักภาษาไทยของ พระยาอุปกิตศิลปะสาร กล่าวถึงรูปสระและเสียงสระในภาษาไทย ว่ามี ๒๑ รูป ได้แก่

  33. วรรณยุกต์ • ภาษาไทยได้กำหนดวรรณยุกต์ไว้ใช้ในภาษาเขียน เพื่อนเป็นเครื่องหมายแทนระดับเสียงสูง ต่ำในภาษา วรรณยุกต์ไทยมี ๔ รูป ได้แก่๑. ก่ เรียกว่า ไม้เอก๒. ก้ เรียกว่า ไม้โท๓. ก๊ เรียกว่า ไม้ตรี๔. ก๋ เรียกว่า ไม้จัตวารูปวรรณยุกต์ทั้ง ๔ จะใช้เขียนบนส่วนท้ายของพยัญชนะต้น เช่น น่า หน้า จ๋า เป็นต้น ในกรณีที่คำมีรูปสระกำกับอยู่ข้างบนแล้วให้เขียนรูบวรรณยุกต์นั้นกำกับเหนือรูปสระอีกทีหนึ่ง เช่น ชื่อ เที่ยว เรื่อย เป็นต้น นอกจากนี้ในเรื่องของเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทย ยังมีข้อสังเกตอีกว่า คำบางคำที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์กำกับ อาจไม่เป็นเสียงสามัญ เช่น ผี เหงา ครับ เป็นต้น และคำบางคำอาจมีเสียงไม่ตรงกับรูปวรรณยุกต์ที่กำกับ เช่น ว่าว เท้า เลื้อย เป็นต้น

  34. มาตราตัวสะกด • ตัวสะกด เป็นพยัญชนะที่ใช้บังคับเสียงท้ายคำ หรือ พยัญชนะที่ประกอบอยู่ท้ายสระ และมีเสียงประสมเข้ากับสระ มาตราตัวสะกดมีอยู่ 8 แม่ ได้แก่ แม่กง แม่กน แม่กม แม่กก แม่กด แม่กบ แม่เกย และแม่เกอว • เสียงพยัญชนะท้าย (หรือตัวสะกด) มี 9 มาตรา ได้แก่1. แม่ ก กา คำที่ไม่มีตัวสะกด2. แม่ กก (- k) / ก / ได้แก่ ก ข ค ฆ3. แม่ กด (- t) / ด / ได้แก่ จ ด ต ถ ท ธ ฎ ฏ ฑ ฒ ช ซ ศ ษ ส4. แม่ กบ (- p) / บ / ได้แก่ บ ป พ ภ ฟ5. แม่ กน (- n) / น / ได้แก่ น ณ ญ ร ล ฬ6. แม่ กง (- n) / ง / ได้แก่ ง7. แม่ กม (- m) / ม / ได้แก่ ม8. แม่ เกย (- j) / ย / ได้แก่ ย9. แม่ เกอว (- w) / ว / ได้แก่ ว

  35. วรรณกรรมและวรรณคดี • ความหมายของวรรณคดีเนื่องจากมีการเข้าใจสับสนระหว่างคำว่า วรรณคดี กับวรรณกรรม อยู่เสมอ เนื่องจากทั้งสองคำ มาจากภาษาอังกฤษว่า Literature เช่นเดียวกัน สำหรับในภาษาไทยนั้นมีการใช้คำว่า "วรรณคดี" ก่อนภายหลังจึงได้เกิดมีคำว่า "วรรณกรรม" ขึ้น และจริง ๆ แล้ว ในอดีตก่อนปี พ.ศ. 2457 ไทยเรายังไม่มีคำว่า "วรรณคดี" ใช้ เราเรียกหนังสือวรรณคดีว่า "หนังสือ"  • ความหมายของวรรณกรรม" วรรณกรรมและศิลปกรรม หมายความรวมว่าการทำขึ้นทุกชนิดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ แผนกศิลปะ จะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปร่างอย่างใดก็ตาม เช่น สมุด สมุดเล็ก และหนังสืออื่น ๆ เช่น ปาฐกถา กถาอื่น ๆ เทศนา หรือวรรณกรรมอื่น ๆ อันมีลักษณะเช่นเดียวกัน หรือนาฏกียกรรม หรือนาฏกีย-ดนตรีกรรม หรือแบบฟ้อนรำและการเล่นแสดงให้คนดูโดยวิธีใบ้

  36. วรรณกรรมและวรรณคดี • ความสำคัญและคุณค่าของวรรณกรรมวรรณกรรมมิใช่เป็นแต่เพียงสื่ออย่างเดียว หากสิ่งที่แฝงลึกลงไปในช่องไฟระหว่างตัวอักษร ยังสะท้อนให้เห็นถึงความตื้นลึกหนาบางทางภูมิปัญญาของผู้เขียน และลึกลงไปในภูมิปัญญานั้นก็คือความจริงใจที่ผู้เขียนสะท้อนต่อตัวเองและต่อ วรรณกรรมเป็นเครื่องชี้ให้รู้ว่า ชาติใดมีความเจริญทางวัฒนธรรมสูงแค่ไหนและยุคใดมีความเจริญสูงสุด ยุคใดมีความเสื่อมทรามลง เพราะฉะนั้นวรรณกรรมแต่ละชาติ จึงเป็นเครื่องชี้วัดได้ว่า ยุคใดจิตใจของประชาชนในชาติ มีความเจริญหรือเสื่อมอย่างไร • ความแตกต่างระหว่างวรรณกรรมและวรรณคดีจากการที่ได้ศึกษาความหมายของคำว่า วรรณกรรม และ วรรณคดีนั้นแม้มองเผิน ๆ ดูเหมือนว่าจะมีความหมายเกือบคล้ายกันบ้าง แตกต่างกันบ้าง แต่ก็มีผู้เข้าใจผิด ๆ ระหว่างการใช้ 2 คำนี้อยู่เสมอ วรรณกรรม หมายถึง งานหนังสือ งานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิด ไม่ว่าแสดงออกมาโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใดส่วน วรรณคดี หมายถึง หนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี

  37. The end นางสาวนุชนาถ ชมภูพันธ์ รหัส 115310201129-9 ศษ/ท53A

More Related