1 / 24

การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในผู้หญิงอายุ 35-60 ปี

การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในผู้หญิงอายุ 35-60 ปี. NUR-301 กลุ่มที่ 5. ความเป็นมาและความสำคัญ.

Download Presentation

การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในผู้หญิงอายุ 35-60 ปี

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิงอายุ 35-60 ปี NUR-301 กลุ่มที่ 5

  2. ความเป็นมาและความสำคัญความเป็นมาและความสำคัญ มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในเพศหญิง พบได้ในสตรีตั้งแต่วัยสาวจนถึงวัยชรา พบมากในช่วงอายุ 30-50 ปี ในแต่ละปี ผู้หญิงทั่วโลกป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นปีละ 500,000 คน เสียชีวิตปีละ 200,000 คน ซึ่งประมาณร้อยละ 80 ของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา

  3. ความเป็นมาและความสำคัญ(ต่อ)ความเป็นมาและความสำคัญ(ต่อ) มะเร็งที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากที่สุดคือมะเร็งปากมดลูกจากรายงานสถานการณ์การเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ถึง พ.ศ. 2553 พบผู้เสียชีวิตมากที่สุดในพื้นที่ภาคกลาง รองลงมาคือ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าหญิงไทยมีแนวโน้มการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูกสูงขึ้นทุกปี เฉลี่ยปีละประมาณ 5,000 คน หรือคิดเป็นผู้เสียชีวิตวันละ 14 คนแหล่งที่มา

  4. วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์1.เพื่อศึกษาสถานการณ์มะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย 2.เพื่อศึกษาธรรมชาติและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก 3.เพื่อศึกษาการป้องกันและควบคุมการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก 4.เพื่อศึกษาถึงแนวทางการจัดการความไม่สมดุลทางสุขภาพ (การเฝ้าระวัง การคัดกรอง การสอบสวน การป้องกันโรคในระดับ Primary prevention, Secondary prevention, Tertiary prevention)5.เพื่อศึกษาสถิติเกี่ยวกับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสตรีในประเทศไทย)

  5. ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรค 1.ปัจจัยก่อโรค (Agent) (วสันต์ ลีนะสมิต, 2542) - Human papillomavirus (HPV) น่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็งปากมดลูกรวมถึง CIN โดยเฉพาะ Types 16, 18,31 และ 33 โดยไวรัสจะอยู่บริเวณเยื่อบุหรือชั้นผิว และก่อให้เกิด hyperproliferationของเซลล์ - Herpes simplex virus (HSV) ไวรัสชนิดนี้สามารถทำให้เซลล์เปลี่ยนแปลงได้ และอาจพบโปรตีนของ HSV ในมะเร็งปากมดลูก ในปัจจุบันผลการศึกษาความสัมพันธ์ของไวรัสนี้กับมะเร็งปากมดลูกยังไม่มีข้อสรุปแน่นอน มีบางรายงานเสนอว่าไวรัสนี้น่าจะเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกได้คล้ายกับ HPV

  6. ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรค (ต่อ) 2.ปัจจัยด้าน Host (วสันต์ ลีนะสมิต, 2542) -ระบบภูมิต้านทาน (immune response) ในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกทุกรายตรวจพบว่าจำนวนของ T cell จะลดลง ซึ่งโยงไปถึงแนวคิดที่ว่าระบบภูมิต้านทานประเภท cell mediated immunity เป็นปัจจัยหนึ่งในการเกิดมะเร็งปากมดลูก -ความผิดปกติทางพันธุกรรม พบความผิดปกติของ karyotypeที่จำเพาะในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก -พฤติกรรมทางเพศ พบความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนคู่ร่วมเพศมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งปากมดลูก -ปัจจัยเกี่ยวกับการเจริญพันธุ์ พบว่าเป็นปัจจัยอ้อมโดยมีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยอื่น เช่น อายุเมื่อเริ่มมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก

  7. ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรค (ต่อ) 3. ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) (วสันต์ ลีนะสมิต, 2542) -ปัจจัยทางฝ่ายชาย (male factor) พบว่ามะเร็งปากมดลูกเกิดขึ้นกับหญิงที่มีสามีเป็นมะเร็งขององคชาติได้บ่อย -การสูบบุหรี่ ระยะเวลาที่สูบบุหรี่ และปริมาณบุหรี่ที่สูบพบว่ามีเพิ่มเกณฑ์เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก โอกาสเกิดมะเร็งปากมดลูกในหญิงที่สูบบุหรี่พบสูงขึ้น 2 เท่า และพบมากในหญิงที่ยังสูบบุหรี่อยู่

  8. Web of causation มีการสำส่อนทางเพศ(การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อ) มีเพศสัมพันธ์อายุน้อย Chemical To Bacco (ยาคุมกำเนิด , บุหรี่) HPV Infection Dexamethasone (analog ของ glucocorticoid ความผิดปกติทางพันธุกรรม เกิดการกระตุ้นและเพิ่มจำนวนของ DNA ของเชื้อไวรัสHPV Hormone มีการเปลี่ยนแปลงของโครโมโซมที่ผิดปกติไป DNA ของไวรัส HPVเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนากรไป ไวรัสจะสร้างโปรตีน E6, E7 ซึ่งเป็น Oncogenic Protein มายั้งยังการทำงาน เกิดการกระตุ้นและเพิ่มจำนวนเซลล์ที่ผิดปกติ ยับยั้งการทำงานชองเซลล์ปกติ มะเร็งปากมดลูก

  9. การเฝ้าระวังมะเร็งปากมดลูกการเฝ้าระวังมะเร็งปากมดลูก 1.Clinical Criteria Patient Inclusion Criteria: -อายุ 35-60 ปี -ผู้ที่มีระบบภูมิต้านทานต่ำ -ผู้ที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม

  10. การเฝ้าระวังมะเร็งปากมดลูก(ต่อ)การเฝ้าระวังมะเร็งปากมดลูก(ต่อ) Patient Exclusion Criteria: -ผู้ที่มีประวัติมีคู่หลับนอนหลายคน -ผู้ที่คลอดบุตรจำนวนหลายคน -การสูบบุหรี่ ระยะเวลาที่สูบบุหรี่ และปริมาณบุหรี่ที่สูบพบว่ามีเพิ่มเกณฑ์ เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก โอกาสเกิดมะเร็งปากมดลูกในหญิงที่สูบ บุหรี่พบสูงขึ้น 2 เท่า และพบมากในหญิงที่ยังสูบบุหรี่อยู่เสมอ

  11. การเฝ้าระวังมะเร็งปากมดลูก(ต่อ)การเฝ้าระวังมะเร็งปากมดลูก(ต่อ) Laboratory Criteria การตรวจหาเชื้อ high-risk หรือ oncogenic HPV ที่ปากมดลูก เรียกว่า “HPV DNA test” การติดเชื้อเอชพีวีแบบเนิ่นนาน (persistent) เป็นขั้นตอนสำคัญของกระบวนการเกิดมะเร็งปากมดลูก ก่อนที่จะคืบหน้ารุนแรงเป็น LSIL , HSIL และมะเร็งปากมดลูก การตรวจเซลล์วิทยาของปากมดลูก (cervical cytology หรือ Pap smear) เป็นการตรวจหาผลของการติดเชื้อเอชพีวีต่อเซลล์เยื่อบุปากมดลูก การตรวจอื่นๆ เช่น การตรวจการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุผิวปากมดลูกด้วยน้ำส้มสายชู เรียกว่า visual inspection after acetic acid

  12. การเฝ้าระวังมะเร็งปากมดลูก(ต่อ)การเฝ้าระวังมะเร็งปากมดลูก(ต่อ) 2. ประเภทผู้ป่วย (Case Classification)(จรวย สุวรรณบำรุง, 2554) ผู้ป่วยที่สงสัย (Suspected case) หมายถึง ผู้ที่มีประวัติมีคู่นอนหลายคน ผู้ที่มีระบบภูมิต้านทานต่ำ ผู้ป่วยที่เข้าข่าย (Probable case) หมายถึง ผู้ที่มีอาการตามเกณฑ์ทางคลินิกได้แก่ อาการตกเลือดทางช่องคลอด ลักษณะ เลือดที่ออกอาจจะเป็นเลือดออกกะปริบกะปรอยระหว่างรอบเดือน มีตกขาวผิดปกติ กลิ่นเหม็น มีเลือดปน หรือมีเลือดออกเวลามีเพศสัมพันธ์ ถ้าเป็นมากและมะเร็งลุกลามออกไปด้านข้าง หรือลุกลามไปที่อุ้งเชิงกรานก็จะมีอาการปวดหลังได้ เพราะไปกดทับเส้นประสาท

  13. การเฝ้าระวังมะเร็งปากมดลูก(ต่อ)การเฝ้าระวังมะเร็งปากมดลูก(ต่อ) ผู้ป่วยที่ยืนยันผล (Confirmed case) หมายถึง ผู้ที่มีอาการตามเกณฑ์ทางคลินิก และได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยการทำ Pap smear แล้วมีเชื้อ HPV หรือการใช้เทคนิคตรวจสอบแบบใหม่ คือ การตรวจหาตัวเชื้อเอชพีวีโดยตรง หรือที่เรียกว่า HPV  DNA โดยวิธี PCR หรือ Polymerase  Chain  Reaction เป็นเทคนิคการตรวจทางด้านชีวโมเลกุล

  14. การสอบสวนโรค สอบสวนเฉพาะราย (Individual Case Investigation) เมื่อมีรายงานผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับนิยามโรคมะเร็งปากมดลูก ให้สอบสวนโรค ยืนยันการวินิจฉัย และการควบคุมโรค สอบสวนการระบาด (Outbreak Investigation) เมื่อมีรายงานผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับนิยามโรคมะเร็งปากมดลูก ให้สอบสวนโรค ยืนยันการวินิจฉัย/การระบาด หาสาเหตุและระบาดวิทยาของการระบาด และควบคุมโรค

  15. การสอบสวนโรค(ต่อ) 1.การตั้งวัตถุประสงค์ในการสอบสวนโรค 2.การยืนยันการวินิจฉัยและยืนยันการระบาด 3. การค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในชุมชน 4. การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา (Descriptive study) 5. การศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ (Analytic study) 6. การศึกษาทางด้านการระบาดของโรค 7. สรุปผลและนำเสนอผลการสอบสวนโรคให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ 8. การดำเนินมาตรการควบคุมและป้องกันโรค

  16. การคัดกรอง มะเร็งปากมดลูกระยะแรกๆนั้นจะไม่สามารถสังเกตเห็นได้แต่ตรวจพบได้โดยการตรวจเช็คมะเร็งปากมดลูกทุกปีถ้าตรวจพบมะเร็งปากมดลูกตั้งแต่ระยะแรกๆจะมีโอกาสในการหายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้มากกว่า อาการที่อาจจะพบในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปากมดลูกคือการมีเลือดออกทางช่องคลอดและอาการปวดท้องน้อย อาการเหล่านี้อาจจะพบในผู้ป่วยโรคอื่นได้เช่นกัน ผู้ป่วยที่มีอาการเหล่านี้จึงควรที่จะไปปรึกษาแพทย์เพื่อการวินิจฉัยที่แน่ชัด อาการดังกล่าวนั้น

  17. การคัดกรอง(ต่อ) กลุ่มคนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูก -มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย(น้อยกว่า 20 ปี)       -มีคู่นอนหลายคน       -มีประวัติการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์        -การสูบบุหรี่        -โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น โรคเอดส์ หรือรับประทานยากดภูมิ ต้านทาน        -การติดเชื้อไวรัสHuman papilloma virus-HPV

  18. การป้องกันโรค การป้องกันมะเร็งปากมดลูกตามการแบ่งขององค์กรอนามัยโลก แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ 1.การป้องกันขั้นปฐมภูมิ (primary prevention) คือการหลีกเลี่ยงสาเหตุหรือลดปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อเอชพีวีที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก เช่น หารหลีกเลี่ยงการมีคู่นอนหลายคน การมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ร่วมเพศ (safe sex)และการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อการติดเชื้อ HPV ได้แก่ การฉีดวัคซีน HPV กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันไม่ให้ปากมดลูกติดเชื้อ HPV

  19. การป้องกันโรค(ต่อ) 2.การป้องกันทุติยภูมิ (secondary prevention) คือ การตรวจหา ความผิดปกติในระยะเริ่มแรกของกระบวนการเกิดมะเร็งปากมดลูก (early detection) เพื่อให้การศึกษาก่อนที่จะคืบหน้าเป็นมะเร็ง เช่น การตรวจหาเชื้อ high-risk หรือ oncogenic HPV ที่ปากมดลูก การตรวจเซลล์วิทยาของปากมดลูก (cervical cytology หรือ Pap smear) เป็นการตรวจหาผลของการติดเชื้อHPVต่อเซลล์เยื่อบุปากมดลูก การตรวจอื่นๆ เช่น การตรวจการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุผิวปากมดลูกด้วยน้ำส้มสายชู เรียกว่า visual inspection after acetic acid หรือ VIA

  20. การป้องกันโรค(ต่อ) 3.การป้องกันตติยภูมิ (tertiary prevention) คือการรักษามะเร็งปากมดลูกและการรักษาประคับประคองเพื่อให้หายจากโรคและมีคุณภาพชีวิตที่ดี การป้องกันในระดับนี้เป็นการป้องกันเมื่อเป็นมะเร็งปากมดลูกแล้ว

  21. สรุปผลการศึกษา มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในเพศหญิงพบได้ในสตรีตั้งแต่วัยสาวจนถึงวัยชราพบมากในช่วงอายุ 30-50 ปี ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสที่ HPV หรือที่เรียกกันว่า “ไวรัสหูด” ไวรัสชนิดนี้เป็นการติดต่อทางเพศสัมพันธ์จากการรับเชื้อเข้ามาแล้วส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเนื้อเยื่อหรือเซลล์เกิดเป็นหูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศ หรือหูดที่กล่องเสียง หรือร้ายแรงที่สุดก็เกิดมะเร็ง ได้แก่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด และมะเร็งปากช่องคลอด ซึ่งมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งปากมดลูก นับตั้งแต่การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย การสำส่อนทางเพศ สารเคมี เช่น ยาคุมกำเนิด บุหรี่ และที่สำคัญคือ การติดเชื้อ HPV และความผิดปกติของยีน

  22. ข้อจำกัด ในการคัดกรองผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกจะมีข้อจำกัดในเรื่องของตัวผู้ป่วยเนื่องจากอายที่จะเข้ารับการตรวจภายในและไม่กล้าให้ข้อมูลที่เป็นจริง รวมไปถึงความไม่ใส่ใจทางด้านสุขภาพโดยเฉพาในกลุ่มที่เป็นวัยรุ่นและคนที่อายุมากแล้ว โดยที่โรคนี้จะไม่มีอาการไม่มีสัญญาณใดๆซึ่งโรคร้ายนี้จะใช้เวลาประมาณ  5-10  ปีนับจากช่วงแรกที่เซลล์บริเวณปากมดลูกเริ่มมีอาการเปลี่ยนแปลงจนถึงระยะที่ภาวะของโรคอยู่ในระดับรุนแรงมากขึ้น

  23. ข้อเสนอแนะ ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเสี่ยงรับรู้ถึงปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกให้เห็นถึงความสำคัญและความรุนแรงของโรค หันมาสนใจสุขภาพโดยกับการเข้าร่วมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมากขึ้นเพื่อลดจำนวนผู้ป่วย ผู้เสียชีวิตในแต่ละปี รวมถึงค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เป็นต้น โดยวิธีการคัดกรองจะเป็นวิธีการป้องกันการเกิดความรุนแรงของโรคได้

  24. ขอบคุณค่ะ

More Related