1 / 39

CHAPTER 2 กลยุทธ์การดำเนินงานและการปฏิบัติงาน (Production and Operation Strategy)

CHAPTER 2 กลยุทธ์การดำเนินงานและการปฏิบัติงาน (Production and Operation Strategy).

Download Presentation

CHAPTER 2 กลยุทธ์การดำเนินงานและการปฏิบัติงาน (Production and Operation Strategy)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. CHAPTER 2กลยุทธ์การดำเนินงานและการปฏิบัติงาน(Production and Operation Strategy) ในการดำเนินงานด้านการผลิตหรือการบริการสำหรับธุรกิจต่างๆ ในปัจจุบันนี้ ผู้บริหารจะใช้กลยุทธ์ที่แตกต่างกันเพื่อสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นการลดต้นทุน การตอบสนองที่รวดเร็ว และการสร้างความแตกต่าง หรือรูปแบบอื่นๆ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้

  2. การกำหนดภารกิจ กลยุทธ์และยุทธวิธี ภารกิจ (Missions) เป็นจุดมุ่งหมายขั้นพื้นฐาน (basic purpose) และเป็นขอบเขตการปฏิบัติการ (scope of operations) ขององค์การ เป็นข้อความที่กำหนดจุดมุ่งหมาย เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์และการตัดสินใจ กลยุทธ์ ประกอบด้วยเป้าหมายและวิธีการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือภารกิจ และเป็นวิธีการที่องค์การเลือกใช้เพื่อการแข่งขันอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งทุกองค์การต้องมีภารกิจ ตัวอย่างเช่น ภารกิจของธุรกิจ คือ การผลิต การจัดจำหน่ายสินค้าและบริการ ภารกิจของสถานศึกษา คือการสอนและการวิจัย เป็นต้น

  3. การกำหนดภารกิจ กลยุทธ์และยุทธวิธี ตัวอย่างการแสดงข้อความภารกิจขององค์การ • ธุรกิจของเรามุ่งที่การให้บริการ • ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าจากบริษัทเรา และสามารถซื้อสินค้าที่เหมือนกันจากที่อื่นได้ในราคาที่ต่ำกว่า • ลูกค้าซื้อผลิตภัณฑ์จากบริษัทเรา เพราะมีมูลค่าเพิ่มจากการบริการและการให้ความสะดวกที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน • บริษัทสามารถสร้างความพอใจแก่ลูกค้า โดยการตอบสนองความต้องการทันทีด้วยบริการอย่างหลากหลายและในทำเลหลายแห่ง

  4. การกำหนดภารกิจ กลยุทธ์และยุทธวิธี ตัวอย่างการแสดงข้อความภารกิจขององค์การ • การจัดให้สังคมมีสินค้าที่มีนวัตกรรม • สามารถปรับปรุงคุณภาพของชีวิตและ • ทำให้ลูกค้าพอใจด้วยการตอบสนองที่ดีกว่า • ตลอดจนให้พนักงานมีโอกาสก้าวหน้าในอาชีพ รวมทั้ง • ให้ผู้ลงทุนมีอัตราผลตอบแทนที่มากกว่า

  5. การกำหนดภารกิจ กลยุทธ์และยุทธวิธี • กลยุทธ์ (Strategy)เป็นแผนปฏิบัติการขององค์การ เพื่อให้บรรลุภารกิจขององค์การ โดยกลยุทธ์ มีลักษณะดังนี้ • เป็นแผนปฏิบัติการขององค์การ เพื่อให้บรรลุภารกิจ ซึ่งช่วยให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ • ต้องอธิบายถึงการจัดสรรทรัพยากรและกิจกรรมอื่นๆ ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม • เป็นแผนอย่างกว้างและถูกพัฒนาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในระยะยาว ช่วยให้องค์การสามารถปฏิบัติภารกิจทั้งหมดได้ • ให้วิธีการหาประโยชน์และแนวทางแก้ไขจาก SWOT ให้หมดไป

  6. การวิเคราะห์ปัจจัยภายในและสภาวะภายนอกองค์การ (SWOT Analysis) อันประกอบด้วย

  7. การกำหนดภารกิจ กลยุทธ์และยุทธวิธี ยุทธวิธี (Tactics)เป็นวิธีการและการปฏิบัติ เพื่อให้เป็นไปตามกลยุทธ์ที่กำหนดไว้ กลยุทธ์การปฏิบัติการ (Operation strategy)เป็นแผนเพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์การปฏิบัติการในสายผลิตภัณฑ์ เป็นการกำหนดวิธีการที่บริษัทจะใช้ขีดความสามารถในด้านการผลิต (Production capability) เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์ระดับบริษัท

  8. การกำหนดภารกิจ กลยุทธ์และยุทธวิธี ระดับของแผนงานกลยุทธ์สำหรับองค์การธุรกิจ - แผนกลยุทธ์ระดับองค์การ (Corporate-level Strategic Plan) เป็นแผนงานที่กำหนดพันธกิจ (Mission) ขององค์การโดยรวม ซึ่งแสดงโอกาสและช่องทางในการดำเนินธุรกิจ ช่วยจัดสรรทรัพยากรขององค์การอย่างทั่วถึงและเหมาะสม และเปิดช่องทางในการทำธุรกิจใหม่ๆ แผนกลยุทธ์ระดับองค์การวางแนวทางให้แต่ละหน่วยธุรกิจขององค์การ (Single Business Unit: SBU) มีกรอบของการดำเนินงานอย่างชัดเจน

  9. การกำหนดภารกิจ กลยุทธ์และยุทธวิธี ระดับของแผนงานกลยุทธ์สำหรับองค์การธุรกิจ - แผนกลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business-level Strategic Plan) เป็นแผนงานที่หน่วยธุรกิจขององค์การจะแข่งขันกับผู้ประกอบการรายอื่น โดยแสดงถึงวัตถุประสงค์หลักของธุรกิจและวิธีการที่จะบรรลุวัตถุประสงค์นั้น แผนกลยุทธ์ระดับธุรกิจนี้ต่อเนื่องมาจากแผนกลยุทธ์ระดับองค์การ - แผนกลยุทธ์ระดับหน้าที่หรือผลิตภัณฑ์ (Functional หรือ Product-level Strategic Plan) เป็นแผนงานในระดับฝ่ายของหน้าที่ต่างๆ ซึ่งเป็นทั้งแผนวัตถุประสงค์และวิธีการดำเนินงานที่สืบเนื่องรายละเอียดต่อจากแผนกลยุทธ์ระดับธุรกิจ

  10. ส่วนประกอบของกลยุทธ์การปฏิบัติการ(Elements of operation strategy) การกำหนดตำแหน่งของระบบการผลิต (Positioning the production system) การให้ความสำคัญในการผลิต (Production focus) แผนผลิตภัณฑ์และบริการ (Product/Service plan) แผนด้านกระบวนการและเทคโนโลยีการผลิต (Production process and technology plans) การจัดสรรทรัพยากรให้กับกลยุทธ์ทางเลือก (Resources allocation to strategic alternatives) แผนเกี่ยวกับปัจจัยอำนวยความสะดวก (Facility plan)

  11. ส่วนประกอบของกลยุทธ์การปฏิบัติการ(Elements of operation strategy) 1) การกำหนดตำแหน่งของระบบการผลิต (Positioning the production system)

  12. 1) การกำหนดตำแหน่งของระบบการผลิต • - การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product design) • มีความสำคัญต่อกระบวนการผลิตและการดำเนินงานขององค์การทั้งด้านต้นทุน ความซับซ้อน ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการดำเนินงาน แบ่งการออกแบบเป็น 2 ลักษณะ คือ • ออกแบบตามความต้องการ (Custom to product) ของลูกค้า ที่มีลักษณะเฉพาะ วิธีการผลิตมีความยืดหยุ่นสูง ผลิตจำนวนน้อยหรือผลิตตามคำสั่ง ให้ความสำคัญกับระยะเวลาการจัดส่งและความตรงต่อเวลา • ออกแบบตามมาตรฐาน (Custom to standard) โดยมีแบบผลิตภัณฑ์ให้เลือกตามที่กำหนด เหมาะกับการผลิตอย่างต่อเนื่อง หรือปริมาณมาก ส่งผลให้เกิดการประหยัด ต้นทุนการผลิตต่ำ การจัดส่งรวดเร็ว สินค้าแต่ละชิ้นต้องมีคุณภาพ

  13. 1) การกำหนดตำแหน่งของระบบการผลิต • - กระบวนการผลิต (Processing system) • เป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดตำแหน่งของระบบการผลิต ซึ่งเป็นขั้นตอนการแปรรูปปัจจัยนำเข้าให้กลายเป็นสินค้า/บริการ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด • เน้นกระบวนการ (Process-focused) สินค้าถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ ปริมาณจำกัด มักสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตตามต้องการ มีความยืดหยุ่นมาก เปลี่ยนแปลงได้บ่อย • เน้นผลิตภัณฑ์ (Product-focused) หรือ การผลิตแบบไหลตามผลิตภัณฑ์ หรือ การผลิตแบบสายการผลิต หรือ การผลิตแบบสายการประกอบ มีลักษณะการดำเนินงานของอุตสาหกรรม มีแบบน้อยและผลิตในปริมาณมาก มักสัมพันธ์กับการออกแบบตามมาตรฐาน

  14. 1) การกำหนดตำแหน่งของระบบการผลิต • - นโยบายสินค้าคงคลัง (Finished-goods inventory) • มีความสำคัญกับประสิทธิภาพในการดำเนินงาน โดยเฉพาะการจัดการต้นทุนของธุรกิจ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด • ผลิตเพื่อเก็บไว้ (Produce-to-stock policy) ทำการผลิตสินค้าล่วงหน้า เก็บไว้ในโกดังในรูปสินค้าคงคลัง จะส่งออกไปต่อเมื่อได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้า ผู้บริหารต้องควบคุมปริมาณที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดต้นทุนการเก็บรักษาหรือค่าเสียโอกาส • ผลิตตามคำสั่ง (Produce-to-order policy) ผู้จัดการจะไม่สั่งให้ผลิตสินค้า จนกระทั่งมีการสั่งซื้อจากลูกค้า ให้ความสำคัญกับความต้องการ ความพึงพอใจของลูกค้า ตลอดจนคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และการส่งมอบสินค้าตรงตามสัญญา

  15. 1) การกำหนดตำแหน่งของระบบการผลิต

  16. 2) การให้ความสำคัญในการผลิต • โรงงานและสิ่งอำนวยความสะดวกสามารถจะถูกออกแบบและจัดสร้างโดยให้ความสำคัญได้ 2 วิธี คือ • ความเชี่ยวชาญเฉพาะผลิตภัณฑ์ (Product specialization) • ความเชี่ยวชาญในกระบวนการผลิต (Process specialization) • ทำให้โรงงานมีขนาดเล็กและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้นในด้านค่าใช้จ่าย การส่งมอบ คุณภาพและบริการ • เราเรียกแนวคิดนี้ว่า โรงงานเฉพาะเจาะจง (Focused factory) ให้ความสำคัญกับส่วนประสมผลิตภัณฑ์ที่แคบ แต่ชัดเจน เน้นสำหรับกลุ่มตลาดเฉพาะ (Niche market) ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายและค่าโสหุ้ย (overhead) ในการดำเนินงานต่ำ

  17. 3) แผนผลิตภัณฑ์และบริการ เป็นส่วนสำคัญในการสร้างรายได้และกำไรให้ธุรกิจ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สร้างลักษณะเฉพาะขององค์การ และเป็นที่ต้องการของลูกค้า ซึ่งมีอิทธิพลโดยตรงต่อกลยุทธ์การดำเนินงาน 4) แผนด้านกระบวนการและเทคโนโลยีการผลิต เป็นส่วนสำคัญสำหรับความสำเร็จของกลยุทธ์การดำเนินงาน การวางแผนกระบวนการและเทคโนโลยีในการผลิต ซึ่งมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่การดำเนินงานนี้จะมีค่าใช้จ่ายสูงในระยะยาวขององค์การ ถ้าตัดสินใจผิดพลาดจะก่อให้เกิดข้อเสียเปรียบ และจะแก้ไขลำบาก

  18. 5) การจัดสรรทรัพยากรให้กับกลยุทธ์ทางเลือก จะต้องพิจารณาจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสม เพื่อสร้างโอกาสในการสร้างกำไรและช่วยให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดในการดำเนินงาน และพิจารณาความสำคัญของทรัพยากรผ่านการวางแผนระยะยาว 6) แผนเกี่ยวกับปัจจัยอำนวยความสะดวก การตัดสินใจจะมีผลต่อรายได้และการดำเนินงานระยะยาว ที่สำคัญเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงและความไม่แน่นอนของอนาคต การตัดสินใจที่ผิดพลาดหรือไม่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์

  19. ข้อควรพิจารณาในการกำหนดกลยุทธ์การดำเนินงานข้อควรพิจารณาในการกำหนดกลยุทธ์การดำเนินงาน - อุปสงค์ของสภาพแวดล้อม (Environmental demand) คือ ธุรกิจควรดำเนินการอย่างไรภายใต้สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ปัจจัยทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง และสภาพแวดล้อมของการดำเนินงาน เช่น ผู้ขาย ลูกค้า คู่แข่งขัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์การ - อุปสงค์ของการแข่งขัน (Competitive demand) คือ ต้องพิจารณาว่าอะไรเป็นจุดอ่อนหรือจุดแข็งของคู่แข่ง และคู่แข่งขันกำลังพยายามทำอะไร เพื่อกำหนดแนวทางในการตอบสนองหรือแผนการของธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ

  20. ข้อควรพิจารณาในการกำหนดกลยุทธ์การดำเนินงานข้อควรพิจารณาในการกำหนดกลยุทธ์การดำเนินงาน - ภารกิจและกลยุทธ์ขององค์การ (Corporate mission and strategy) คือ การกำหนดกลยุทธ์การดำเนินงานต้องเข้าใจภาพรวมของธุรกิจว่า ปัจจุบันองค์การกำลังทำอะไร และต้องการอะไรในอนาคต เพื่อกำหนดแนวทางในการปฏิบัติอย่างเหมาะสม และส่งเสริมให้ธุรกิจสามารถบรรลุเป้าหมายได้ - วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product life cycle) คือ ชีวิตของผลิตภัณฑ์จะมีความสัมพันธ์กับกลยุทธ์การดำเนินงาน โดยผู้บริหารต้องทราบว่าผลิตภัณฑ์ของตน กำลังอยูในช่วงใดของวงจร โดยพิจารณาเปรียบเทียบกับวงจรชีวิต 4 ขั้นตอน

  21. Units/$ Introduction แนะนำ Growth เติบโต Maturity เติบโตเต็มที่ Decline ถดถอย Sales Profits Time Losses เพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว ถึงจุดสูงสุด และคงที่ ยอดขาย ลดลง ต่ำ เพิ่มขึ้น ตามยอดขาย สูงสุดและ เริ่มลดลง กำไร ขาดทุน ลดลง Product Life Cycle : Characteristics

  22. Sales Early Adopters Majorities Laggards Innovators น้อย เพิ่มขึ้น คงที่ ลดลง Product Life Cycle : Characteristics Units/$ Introduction Growth Maturity Decline Time ประเภทลูกค้า จำนวนคู่แข่ง

  23. Sales สร้างการ รู้จักและ ทดลองใช้ เน้นส่วน ครองตลาด สูงสุด รักษาส่วน ครองตลาด และเน้น กำไรสูงสุด ลดค่าใช้จ่าย รักษาลูกค้า และยอดขาย Product Life Cycle : Characteristics Units/$ Introduction Growth Maturity Decline Time วัตถุประสงค์ ทางการตลาด

  24. Sales สินค้า พื้นฐาน เน้นคุณภาพ เพิ่มลักษณะ รูปแบบ เพิ่มบริการ เพิ่มลักษณะ รูปแบบ เพิ่มตรายี่ห้อ ลดรายการ ที่ไม่ทำกำไร Product Life Cycle : Marketing Strategies Units/$ Introduction Growth Maturity Decline Time ผลิตภัณฑ์

  25. Sales Skimming or Penetration ต้องคุ้มทุน ลดราคา และ เพิ่มแนว ระดับราคา รักษาระดับ ราคาให้คงที่ หลีกเลี่ยง สงครามราคา ตัดราคา (เลิกผลิต) ราคาคงที่ (ผลิตต่อ) Product Life Cycle : Marketing Strategies Units/$ Introduction Growth Maturity Decline Time ราคา

  26. Sales เลือกสรร หรือผูกขาด (Selective or Exclusive) กระจาย ให้ทั่วถึง (Intensive) กระจาย ให้ทั่วถึง มากที่สุด (Intensive) เลือกสรร เฉพาะที่ ได้กำไร (Selective) Product Life Cycle : Marketing Strategies Units/$ Introduction Growth Maturity Decline Time การจัด จำหน่าย

  27. Sales ให้รู้จัก สินค้า (Primary Demand) ให้รู้จัก และสนใจ (Selective Demand) เน้นความ แตกต่าง (Selective Demand) ลดลง เน้นย้ำเตือน (Reminding) Product Life Cycle : Marketing Strategies Units/$ Introduction Growth Maturity Decline Time การโฆษณา (Advertising)

  28. Sales เน้นมาก ให้เกิดการ ทดลองใช้ ครั้งแรก ลดลง เพิ่มขึ้น เน้น Brand Switching & Loyalty ลดลง ให้ต่ำสุด Product Life Cycle : Marketing Strategies Units/$ Introduction Growth Maturity Decline Time การส่งเสริม การขาย (Sales Promotion)

  29. การได้เปรียบทางการแข่งขันด้วยการปฏิบัติการการได้เปรียบทางการแข่งขันด้วยการปฏิบัติการ การสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive Advantage) เป็นการทำให้เกิดลักษณะที่แตกต่างที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน และความแตกต่างนั้นสามารถตอบสนองความพึงพอใจของ ลูกค้าได้ ซึ่งสามารถสรุปเป็น 4 Cs ได้ดังนี้ 1. ความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction) ข้อได้เปรียบทางการแข่งขันนั้นจะต้องสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า โดยส่งมอบคุณค่าที่เป็นเอกลักษณ์ (Unique Mix of Value) ให้กับลูกค้าและสร้างตำแหน่งกลยุทธ์ที่เป็นเอกลักษณ์ (Unique Position Does) 2. ความเหนือกว่าคู่แข่งขัน (Competitive Advantage) ข้อได้เปรียบทางการแข่งขันนั้นจะต้องอยู่เหนือกว่าคู่แข่งขัน

  30. การได้เปรียบทางการแข่งขันด้วยการปฏิบัติการการได้เปรียบทางการแข่งขันด้วยการปฏิบัติการ 3. เปลี่ยนแปลงและยืดหยุ่นได้ (Changeable and Flexibility) ข้อได้เปรียบทางการแข่งขันนั้นจะต้องสามารถเปลี่ยนแปลงและยืดหยุ่นได้ตลอดเวลา 4. ความแตกต่างด้านคุณลักษณะ (Characteristic Differentiation) ต้องมีข้อได้เปรียบทางการแข่งขันหลายด้าน (Multicharacteristic) กลยุทธ์การสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน ประกอบด้วย • การแข่งขันด้านความแตกต่าง (Competing on Differentiation) • การแข่งขันด้านต้นทุน (Competing on Cost) • การแข่งขันด้านการตอบสนอง (Competing on Response)

  31. การแข่งขันด้านความแตกต่าง (Competing on Differentiation) ธุรกิจจะต้องพยายามพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้มีความแตกต่างจากคู่แข่งขัน โดยทำให้ลูกค้ามองเห็นว่าสินค้าของบริษัทนั้นมีคุณค่าเหนือกว่าคู่แข่งขัน การสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าและบริการสามารถทำได้ดังนี้ 1.1 การสร้างความแตกต่างทางด้านกายภาพ (Physical Differentiation) ทำได้โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้มีความเป็นเอกลักษณ์ เพื่อให้เกิดคุณค่าที่สูงขึ้นในสายตาของลูกค้า ซึ่งความแตกต่างนี้จะทำให้บริษัทสามารถหลีกเลี่ยงการแข่งขันที่รุนแรงได้ เช่น บริษัทเซฟสกิน ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตถุงมือ ใช้กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง (Differentiation) โดยการพัฒนาถุงมือสำหรับผิวที่แพ้ง่าย ซึ่งเป็นถุงมือแบบใช้แล้วทิ้ง จึงทำให้สินค้ามีคุณค่าเหนือกว่าคู่แข่งขัน

  32. การแข่งขันด้านความแตกต่าง (Competing on Differentiation) 1.2 การสร้างความแตกต่างทางด้านบริการ (Services Differentiation) สามารถทำได้โดยการอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า การมีสถานที่จัดจำหน่ายหรือศูนย์กระจายสินค้าที่ทั่วถึง การจัดส่งสินค้าที่รวดเร็ว ตลอดจนการบริการหลังการขาย เป็นต้น 1.3 การสร้างความแตกต่างทางด้านประสบการณ์ (Experience Differentiation) โดยการทำให้ลูกค้ามีประสบการณ์ร่วมกับสินค้าและบริการของเราผ่านทางประสาทสัมผัสทั้งห้า (Five Senses) คือ รูป รส กลิ่น เสียงและสัมผัส ร้านกาแฟสตาร์บั๊กส์ เป็นตัวอย่างที่ดีของการสร้างประสบการณ์ร่วมกับลูกค้า

  33. การแข่งขันด้านต้นทุน (Competing on Cost) เป็นความพยายามทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อที่จะได้สามารถขายสินค้าได้ในราคาถูก ซึ่งเป็นกลยุทธ์ทางการแข่งขันอย่างหนึ่งที่เรียกว่า ความเป็นผู้นำด้านต้นทุน (Cost Leadership) ซึ่งเป็นรูปแบบทางการแข่งขันที่คำนึงถึงประสิทธิภาพในการลดต้นทุน และการจ้างงานเพื่อที่จะได้มีประสิทธิภาพเหนือคู่แข่งขัน การแข่งขันโดยใช้กลยุทธ์ต้นทุนต่ำจะต้องใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิผล ดังนั้นบริษัทที่ใช้กลยุทธ์ต้นทุนต่ำจึงต้องมีความเข้าใจในด้านการพยายามใช้ทรัพยากรให้เต็มที่อย่างมีประสิทธิผล การกำหนดขนาดที่เหมาะสมทำให้บริษัทสามารถกระจายค่าโสหุ้ยได้อย่างเพียงพอส่งผลให้ต้นทุนต่ำลงและทำให้มีข้อได้เปรียบด้านต้นทุน

  34. การแข่งขันด้านการตอบสนอง (Competing on Response) การตอบสนองเป็นคุณค่าของการพัฒนาผลิตภัณฑ์และจัดส่งให้ทันเวลา มีตารางการทำงานที่เชื่อถือได้ และมีการปฏิบัติงานที่สามารถยืดหยุ่นได้ ในการตอบสนองต่อลูกค้าจะต้องมีความยืดหยุ่นได้ ความเชื่อถือได้ของการจัดตารางการทำงานและมีความรวดเร็ว โดยใช้วิธีการดังต่อไปนี้ - การตอบสนองด้วยความยืดหยุ่น (Flexible Response) เป็นความสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงการออกแบบและปริมาณการผลิตสินค้า หรือบริการให้สอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้ เพื่อก่อให้เกิดข้อได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน (Sustainable Competitive Advantage)

  35. การแข่งขันด้านการตอบสนอง (Competing on Response) - ความเชื่อถือได้ของการจัดตารางการทำงาน (Reliability of Scheduling) ความเชื่อถือได้หมายถึง ความตรงต่อเวลา ความแม่นยำ ไม่ผิดพลาด ทำให้ลูกค้ามีความเชื่อถือในบริษัท ซึ่งก่อให้เกิดข้อได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน - ความรวดเร็ว (Quickness) หมายถึงความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า ได้อย่างรวดเร็ว ทันตามกำหนดเวลาทั้งด้าน การออกแบบ การผลิต และการจัดส่ง ซึ่งการบริการลูกค้าด้วยความรวดเร็วเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญประการหนึ่งในการแข่งขัน และเป็นเรื่องที่ผู้บริหารการปฏิบัติการต้องให้ความสำคัญ การแข่งขันด้วยความรวดเร็วเป็นประเด็นใหม่ที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทั้งทางด้านบริการและการผลิตสินค้า

  36. การตัดสินใจในการบริหารการปฏิบัติการการตัดสินใจในการบริหารการปฏิบัติการ • ด้านคุณภาพ(Quality) • การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ (Product design) • การออกแบบกระบวนการ (Process design) • การเลือกทำเลที่ตั้ง (Location selection) • การออกแบบผังโรงงาน (Layout design) • ทรัพยากรมนุษย์และการออกแบบงาน (Human resources and job design) • การบริหารเครือข่ายปัจจัยการผลิต (Supply-chain management) • สินค้าคงเหลือ (Inventory) • การกำหนดตารางการปฏิบัติงาน (Scheduling) • การบำรุงรักษา (Maintenance)

  37. ประเด็นปัญหาในกลยุทธ์การปฏิบัติการ (issues in operations strategy) 1. การวิจัย (research) เพื่อตรวจสอบประสิทธิผลของกลยุทธ์การบริหารการปฏิบัติการ 2. ศึกษาสภาพก่อนหน้าการปฏิบัติการ (preconditions) ในการพัฒนาประสิทธิผลของกลยุทธ์การบริหารการปฏิบัติการ 3. การเคลื่อนไหว (dynamics) ในการพัฒนากลยุทธ์การบริหารการปฏิบัติการ กลยุทธ์จะมีการเปลี่ยนแปลงด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ - กลยุทธ์เคลื่อนไหวเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ (changes within the organization) - กลยุทธ์เคลื่อนไหวเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อม (changes in the environment)

  38. ปัจจัยสู่ความสำเร็จที่สำคัญ (critical success factors : CSFs) การสร้างและการจัดหาคนเข้าทำงานขององค์การ (build and staff the organization) เป็นกิจกรรมหรือปัจจัยที่สำคัญ ซึ่งจะทำให้ข้อได้เปรียบในการแข่งขันบรรลุผลสำเร็จ โดยเป็นปัจจัยที่มีผลมาจากความพึงพอใจของลูกค้าและส่งเสริมการทำงานทั้งหมดขององค์การ คือ 1) การตลาด 2) การเงิน/การบัญชี และ3) การผลิต/การปฏิบัติการ งานของผู้บริหารการปฏิบัติการ จะมีกระบวนการ 3 ขั้นตอน คือ1. กำหนดกลยุทธ์และปัจจัยสู่ความสำเร็จที่สำคัญ (CSFs)2. กำหนดกลุ่มกิจกรรมที่จำเป็นเข้าในโครงการสร้างขององค์การ3. การบรรจุพนักงานด้วยบุคลากรที่เห็นว่าจะสามารถทำให้งานสำเร็จได้

  39. คำถามท้ายบท ภารกิจในการดำเนินงานหมายถึงอะไร กลยุทธ์การดำเนินงานคืออะไร และมีความเกี่ยวข้องกับหน้าที่ของธุรกิจอื่นอย่างไร ส่วนประกอบของกลยุทธ์ในการดำเนินงานมีอะไรบ้าง อธิบายพอสังเขป วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ในมุมมองของนักการตลาด มีความสัมพันธ์กับการกำหนดกลยุทธ์อย่างไรบ้าง การบรรลุข้อได้เปรียบทางการแข่งขันด้วยการปฏิบัติการที่สำคัญ มีด้วยกันกี่ข้อ พร้อมอธิบาย การตัดสินใจในการบริหารการปฏิบัติการมีความสัมพันธ์กับธุรกิจอย่างไร ปัจจัยที่ส่งผลให้การดำเนินกลยุทธ์ประสบผลสำเร็จมีอะไรบ้าง พร้อมอธิบาย

More Related