1 / 26

หมวดวิชาที่ 2 สุขศาสตร์อุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม

รศ.ดร.ประมุข โอศิริ ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล. หมวดวิชาที่ 2 สุขศาสตร์อุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม. ประมุข โอศิริ. 1. ประกอบด้วยหัวข้อวิชา. (ก) ความรู้พื้นฐานและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสุขศาสตร์อุตสาหกรรม

jensen
Download Presentation

หมวดวิชาที่ 2 สุขศาสตร์อุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รศ.ดร.ประมุข โอศิริ ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล หมวดวิชาที่ 2 สุขศาสตร์อุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม ประมุข โอศิริ 1

  2. ประกอบด้วยหัวข้อวิชา (ก) ความรู้พื้นฐานและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสุขศาสตร์อุตสาหกรรม (ข) อันตรายจากความร้อน ความเย็น อันตรายจากสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพและการป้องกัน (ค) อันตรายจากเสียงดังและการอนุรักษ์การได้ยิน อันตรายจากความสั่นสะเทือนอันตรายจากความกดดันบรรยากาศที่ผิดปกติและการป้องกัน (ง) อันตรายจากรังสีและการป้องกัน (จ) ความปลอดภัยในการทำงานในสถานที่อับอากาศ

  3. ประกอบด้วยหัวข้อวิชา (ฉ) อันตรายจากสิ่งแวดล้อมทางเคมีและการป้องกัน (ช) ความปลอดภัยในการใช้สารเคมี (ซ) การตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงานและฝึกปฏิบัติ (ฌ) หลักการควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม (ญ) การจัดการอุบัติภัยจากสารเคมี

  4. แนวคิด ลักษณะและสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่เหมาะสมจะเป็นสาเหตุทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดอันตรายหรือเกิดการเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานได้ดังนั้นผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบงานด้านความปลอดภัยในการทำงานหรือผู้เข้ารับการอบรมจึงควรมีความรู้เกี่ยวกับหลักการและวิธีการประเมิน เพื่อค้นหาสภาพแวดล้อมการทำงานที่อาจคุกคามสุขภาพอนามัย และเมื่อทราบผลการประเมินแล้ว จะได้วางแผนกำหนดมาตรการการป้องกัน เพื่อทำให้สภาพแวดล้อมการทำงานมีความเหมาะสมและส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  5. วัตถุประสงค์ เมื่อเข้ารับการอบรมในหมวดนี้แล้ว ผู้เข้ารับการอบรมสามารถ 1. มีความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการตระหนัก วิธีการในการสืบค้นหรือประเมินและการควบคุมสภาพแวดล้อมการทำงานที่คุกคามสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน 2. นำความรู้ในหมวดวิชานี้ไปประยุกต์ใช้ในงานได้อย่างเหมาะสม

  6. หัวข้อวิชา ก. ความรู้พื้นฐานและกฎหมายเกี่ยวกับสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ประกอบด้วย ความหมายและความสำคัญของสุขศาสตร์อุตสาหกรรม แนวคิด 1. สุขศาสตร์อุตสาหกรรมเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ในการควบคุมทั้งระบบ ประกอบด้วย การตระหนัก การประเมิน และการควบคุมป้องกันอันตรายจากปัญหาสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย โดยนักสุขศาสตร์อุตสาหกรรมต้องตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมการ ทำงานได้

  7. หัวข้อวิชา ก. ความรู้พื้นฐานและกฎหมายเกี่ยวกับสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ประกอบด้วย ความหมายและความสำคัญของสุขศาสตร์อุตสาหกรรม แนวคิด 2. การศึกษาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสุขศาสตร์อุตสาหกรรม จะต้องศึกษาให้ครอบคลุมความหมาย ความสำคัญ ความเป็นมา หลักการกำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวกับสุขศาสตร์อุตสาหกรรม และการพัฒนามาตรฐานสุขศาสตร์อุตสาหกรรม

  8. หัวข้อวิชา ก. ความรู้พื้นฐานและกฎหมายเกี่ยวกับสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ประกอบด้วย ความหมายและความสำคัญของสุขศาสตร์อุตสาหกรรม แนวคิด 3. สภาพแวดล้อมการทำงานหรือสิ่งแวดล้อมการทำงาน ประกอบด้วยสิ่งแวดล้อมทางเคมี กายภาพ ชีวภาพ และเออร์กอนอมิคส์ซึ่งสิ่งแวดล้อมการทำงานเหล่านี้ ถ้าอยู่ในสภาพที่ไม่เหมาะสม ก็จะเป็นสิ่งคุกคามสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงานได้

  9. หัวข้อวิชา ก. ความรู้พื้นฐานและกฎหมายเกี่ยวกับสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ประกอบด้วย ความหมายและความสำคัญของสุขศาสตร์อุตสาหกรรม แนวคิด 4. นักวิชาการสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นทีมงานในการปฏิบัติงาน ได้แก่ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน นักเออร์กอนอมิคส์หรือนักวิชาการจัดสภาพงาน นักเวชศาสตร์อุตสาหกรรมพยาบาลอาชีวอนามัย 5. รู้หลักการควบคุมปัญหาสิ่งแวดล้อมการทำงาน

  10. ความหมายของสุขศาสตร์อุตสาหกรรมความหมายของสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ความหมายของสุขศาสตร์อุตสาหกรรม สุขศาสตร์อุตสาหกรรมเป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ของการควบคุมทั้งระบบซึ่งรวมถึงการตระหนักและการประเมินปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่อาจเป็นอันตราย ซึ่งเกิดขึ้นในหรือสถานที่ทำงานอันอาจทำให้เกิดการเจ็บป่วย สุขภาพและความเป็นอยู่ที่เสื่อมทรามลงไปหรือก่อให้เกิดความรู้สึกไม่สบายทำให้ประสิทธิภาพของงานลดลงหรือทำให้ประชาชนในชุมชนได้รับผลกระทบดังกล่าว

  11. ความหมายของสุขศาสตร์อุตสาหกรรมความหมายของสุขศาสตร์อุตสาหกรรม สุขศาสตร์อุตสาหกรรมจะครอบคลุมการดำเนินงานในด้านการตระหนักหรือการค้นหาปัญหาสิ่งแวดล้อมการทำงาน ด้านการประเมินระดับของปัญหาสิ่งแวดล้อมการทำงานและด้านการควบคุมป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมการทำงาน ดังนี้ ก. การตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมการทำงาน(Recognition) เป็นการตระหนักหรือการค้นหาปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่อาจคุกคามต่อชีวิตและสุขภาพอนามัยการทำให้ร่างกายเสื่อมเร็วกว่าปกติหรือเป็นสาเหตุของความรู้สึกไม่สบายและทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง

  12. ความหมายของสุขศาสตร์อุตสาหกรรมความหมายของสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ข. การประเมินระดับปัญหาสิ่งแวดล้อมการทำงาน(Evaluation) เป็นการประเมินระดับปัจจัยสิ่งแวดล้อมการทำงานที่อาจคุกคามสุขภาพซึ่งเกิดขึ้นในหรือจากสถานที่ทำงานซึ่งต้องใช้ความรู้ ประสบการณ์ ในการตรวจวัดและวิเคราะห์ระดับสารเคมีในอากาศระดับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ สภาวะด้านเออร์กอนอมิคส์และระดับสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพซึ่งผลจากการประเมินนั้นจะทำให้ทราบถึงระดับความปลอดภัยของสิ่งแวดล้อมนั้นว่า อาจจะมีอันตรายในระยะสั้น หรือระยะยาว

  13. ความหมายของสุขศาสตร์อุตสาหกรรมความหมายของสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ค. การควบคุมป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมการทำงาน(Control) เป็นการดำเนินการมาตรการป้องกันหรือแก้ไขเพื่อลดอันตรายต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานลงให้มีน้อยที่สุดการควบคุมและป้องกันได้แก่ การลดจำนวนผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับปัญหาลง การเปลี่ยนมาใช้สารที่มีอันตรายน้อยกว่าการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตเพื่อขจัดหรือลดการสัมผัสสิ่งที่อาจเป็นอันตรายให้น้อยลงติดตั้งระบบการระบายอากาศการดูแลความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการจัดหาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เป็นต้น

  14. ความเป็นมาและความสำคัญของสุขศาสตร์อุตสาหกรรมความเป็นมาและความสำคัญของสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานในสถานที่ที่ทำงาน ไม่ว่าจะอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรม ในสถานที่ก่อสร้างในท้องไร่ท้องนาหรือแม้แต่ผู้ที่ทำงานในสำนักงานย่อมต้องสัมผัสหรือเกี่ยวข้องหรืออยู่ภายใต้สภาวะใดสภาวะหนึ่งที่อาจทำให้ผู้ปฏิบัติงานนั้นต้องอยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายในระดับต่างๆ ที่อาจมีความรุนแรงหรือการได้รับอันตรายเพียงเล็กน้อยอันตรายเหล่านั้นบางส่วนอาจเห็นได้ รู้สึกได้ แต่อันตรายบางอย่างนั้น ผู้เกี่ยวข้องสัมผัส อาจจะไม่เห็น ไม่รู้สึก หรือไม่ทราบเลยก็เป็นได้ซึ่งสิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องสัมผัสดังกล่าว อาจจะเป็นเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ โต๊ะ เก้าอี้ คอมพิวเตอร์ รถไถ เครื่องถ่ายเอกสาร หรืออาจจะเป็นความร้อน ความเย็น รังสี ความสั่นสะเทือน แสงสว่างอิริยาบถการทำงาน วิธีการทำงาน เชื้อโรคต่าง ๆ ฝุ่นละออง สารเคมีในรูปต่าง ๆ ทั้งที่เป็นของเหลว ของแข็ง ไอ ละออง เป็นต้น

  15. ความเป็นมาและความสำคัญของสุขศาสตร์อุตสาหกรรมความเป็นมาและความสำคัญของสุขศาสตร์อุตสาหกรรม มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับสุขศาสตร์อุตสาหกรรม 1. หลักการกำหนดมาตรฐานสุขศาสตร์อุตสาหกรรม การขจัดอันตรายให้หมดไปจากสถานที่ทำงานนั้น ปกติจะเป็นหลักการหรือเป้าหมายสูงสุดในการคุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานแต่ในทางปฏิบัติมักจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ทุกครั้งดังนั้นการสัมผัสกับสารพิษอันตรายและปัจจัยอื่น ๆ จึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เสมอไป ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการกำหนดมาตรฐานที่เป็นตัวเลขของระดับปัจจัยสิ่งแวดล้อมการทำงาน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานที่ต้องสัมผัสหรือเกี่ยวข้อง ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน

  16. ความเป็นมาและความสำคัญของสุขศาสตร์อุตสาหกรรมความเป็นมาและความสำคัญของสุขศาสตร์อุตสาหกรรม 2. การพัฒนามาตรฐานสุขศาสตร์อุตสาหกรรม โดยหลักการแล้ว มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับสุขศาสตร์อุตสาหกรรมของปัจจัยสิ่งแวดล้อมทั้งหลายนั้นได้มีการพัฒนามาโดยตลอดแต่ก็ยังไม่สามารถพัฒนาได้สมบูรณ์แบบทั้งหมดเท่าที่ได้มีการพัฒนามาแล้วได้แก่มาตรฐานของสารเคมีในบรรยากาศการทำงาน และมาตรฐานสิ่งแวดล้อมทางกายภาพบางส่วน เช่น แสงสว่าง เสียงดัง ความร้อน รังสี เป็นต้น

  17. ความเป็นมาและความสำคัญของสุขศาสตร์อุตสาหกรรมความเป็นมาและความสำคัญของสุขศาสตร์อุตสาหกรรม 2. การพัฒนามาตรฐานสุขศาสตร์อุตสาหกรรม 1941 สมาคมนักสุขศาสตร์อุตสาหกรรม (American Conference of Governmental Industrial Hygienists, ACGIH) แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดค่า ระดับความเข้มข้นสูงสุดที่ยอมให้มีได้ (Maximum Allowable Concentration, MAC) ต่อมาเปลี่ยนเป็น Threshold Limit Values (TLVs) เป็นค่ากำหนดที่ คนโดยส่วนใหญ่ไม่ผลกระทบต่อสุขภาพ Time Weighted Average (TWA) Short Term Exposure Limit (STEL) Ceiling

  18. กฎหมายและกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับสุขศาสตร์อุตสาหกรรม 1. กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง 2. กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม(สารเคมี) 3. ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย 4. กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานประดาน้ำ 5. กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ 6. กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับรังสีชนิดก่อไอออน

  19. นักวิชาการที่ปฏิบัติงานด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรมนักวิชาการที่ปฏิบัติงานด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม การดูแลงานด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ดังที่กล่าวมาแล้ว จะมุ่งเน้นทางด้านป้องกันการเกิดโรคจากการทำงาน ที่อาจเกิดจากสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่เหมาะสม ปกติจะยึดหลัก 3 ประการ คือ 1. ทำการสำรวจสถานที่ที่มีคนงานอยู่ เพื่อเป็นการตระหนักหรือค้นหาอันตรายที่อาจเกิดจากสภาพแวดล้อมการทำงานภายในสถานที่ที่ทำงานนั้น 2. ทำการประเมินอันตรายต่าง ๆ ที่พบจากการสำรวจโดยอาจใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ด้าน สุขศาสตร์อุตสาหกรรมประกอบ เช่น อุปกรณ์วัดระดับเสียง อุปกรณ์วัดแสงสว่าง อุปกรณ์วัดดัชนีความร้อน อุปกรณ์เก็บตัวอย่างอากาศเพื่อวิเคราะห์หาปริมาณสารเคมีต่าง ๆ

  20. นักวิชาการที่ปฏิบัติงานด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรมนักวิชาการที่ปฏิบัติงานด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม 3. เมื่อทราบถึงระดับอันตรายต่าง ๆ จากการประเมินแล้ว ขั้นต่อไปก็จะพยายามจัดให้มีมาตรการควบคุมและป้องกันหรือปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมนั้นให้ดีขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น จัดให้มีการระบายอากาศที่เหมาะสม ปรับปรุงและติดตั้งอุปกรณ์หรือวัสดุดูดซับเสียงรอบ ๆ เครื่องจักรที่มีเสียงดังและการจัดสวัสดิการทางด้านสุขาภิบาลที่เหมาะสม เป็นต้น หลังจากนั้นก็อาจจะมีการตรวจตราและเฝ้าระวังทางด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรมเป็นระยะ ๆ เพื่อจะได้ทราบถึงความผิดปกติของสภาพแวดล้อมการทำงานและหาทางปรับปรุงแก้ไข โดยการให้ความรู้หรือจัดฝึกอบรมให้แก่ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการศึกษาวิจัยด้านวิชาการระบาดเพื่อให้ทราบถึงปัญหาโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้น หรือความสัมพันธ์กับงานที่ทำ เป็นต้น

  21. การตระหนักถึงองค์ประกอบและความสำคัญของสิ่งแวดล้อมการทำงานการตระหนักถึงองค์ประกอบและความสำคัญของสิ่งแวดล้อมการทำงาน สิ่งแวดล้อมการทำงาน โดยทั่วไปจะหมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ล้อมรอบตัวผู้ปฏิบัติงานในขณะที่ทำงานนั้นเอง เช่น หัวหน้าควบคุมงาน เพื่อนร่วมงาน เครื่องจักร เครื่องกล เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ อากาศที่หายใจ แสงสว่าง เสียง ความสั่นสะเทือน รังสี ความร้อน ความเย็น ก๊าซ ไอ ฝุ่น ฟูม ละออง และสารเคมีอื่น ๆ และยังรวมถึงเชื้อโรคและสัตว์ต่าง ๆ เป็นต้น

  22. การตระหนักถึงองค์ประกอบและความสำคัญของสิ่งแวดล้อมการทำงานการตระหนักถึงองค์ประกอบและความสำคัญของสิ่งแวดล้อมการทำงาน ปัจจัยสิ่งแวดล้อมการทำงานที่อยู่ล้อมรอบตัวผู้ปฏิบัติงานในขณะทำงานนั้น พอจะแบ่งเป็นหมวดหมู่ได้ 4 ประเภท คือ 1. ปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ 2. ปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางเคมี 3. ปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพและ 4. ปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางเออร์กอนอมิคส์ ในการทำงานนั้น อาจต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมการทำงาน 4 ประเภท แต่จะมากหรือน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับลักษณะงาน

  23. หลักการประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อมการทำงานหลักการประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อมการทำงาน ในการประเมินระดับของปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นจะต้องนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาหรือสำรวจเบื้องต้นมาใช้ประกอบในการประเมินระดับปัญหา และผู้ดำเนินการจะต้องเข้าใจกระบวนการผลิตเป็นอย่างดี เพื่อจะได้ทราบแหล่งและต้นตอของปัญหาได้ละเอียดขึ้น ซึ่งผู้ดำเนินการจะต้องดำเนินการ ดังนี้ 1) ศึกษาข้อกำหนดทางกฎหมายแรงงาน ที่กำหนดระดับเกณฑ์ความปลอดภัยของปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องหรือสัมผัส ในกรณีที่กฎหมายของประเทศยังมิได้กำหนดก็อาจใช้แนวทางปฏิบัติของนานาชาติหรือประเทศอื่นที่พอจะใช้เป็นแนวทางได้เช่น ACGIH-TLV เป็นต้น 2)ศึกษาระดับปัจจัยทางกายภาพต่าง ๆ ที่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องหรือสัมผัส 3) ศึกษาจำนวนผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องและได้เกี่ยวข้องมานานเพียงใด

  24. หลักการประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อมการทำงานหลักการประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อมการทำงาน 4)ศึกษาและระบุสารเคมีและมลพิษที่เกิดจากกระบวนการผลิต 5)ศึกษาระดับมลพิษทางอากาศในกระบวนการผลิตโดยใช้เทคนิคการเก็บตัวอย่างอากาศที่เหมาะสมแล้วดำเนินการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ 6)คำนวณผลที่ได้จากการศึกษาถึงระดับเฉลี่ยที่ผู้ปฏิบัติสัมผัส และระดับสูงสุดที่สัมผัสตลอดจนระยะเวลาที่สัมผัส 7)เปรียบเทียบผลการคำนวณที่ได้กับข้อกำหนดหรือมาตรฐานของกฎหมายแรงงานหรือมาตรฐานสากล

  25. การประเมินสิ่งแวดล้อมการทำงานการประเมินสิ่งแวดล้อมการทำงาน การประเมินสิ่งแวดล้อมการทำงานแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 1) การสำรวจขั้นต้น 2) การสำรวจขั้นละเอียด * สภาพแวดล้อมการทำงาน * สภาพแวดล้อมการทำงานควบคู่กับผลตรวจสุขภาพ

  26. หลักการควบคุมปัญหาสิ่งแวดล้อมการทำงานหลักการควบคุมปัญหาสิ่งแวดล้อมการทำงาน การควบคุมและป้องกันสิ่งแวดล้อมการทำงานมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี การเลือกหรือหาวิธีที่เหมาะสมในการควบคุมและป้องกัน ย่อมก่อให้เกิดการประหยัดและเป็นผลดีทั้งผู้ประกอบการและผู้ปฏิบัติงานด้วยหลักในการควบคุมและป้องกันสิ่งแวดล้อมที่คุกคามสุขภาพอนามัยและความปลอดภัย โดยทั่วไปนั้นจะประกอบด้วย 1. การควบคุมและป้องกันที่แหล่งหรือต้นเหตุ (Source) ที่เป็นสาเหตุให้เกิดอันตราย 2. การควบคุมและป้องกันทางผ่านของอันตราย (Path) 3. การควบคุมและป้องกันที่ตัวผู้ปฏิบัติงาน (Receiver)

More Related