1 / 13

เรื่อง : ความน่าเชื่อถือของระดับ Serum PSA ในการตรวจหา

งานวิจัยทางคลินิก. เรื่อง : ความน่าเชื่อถือของระดับ Serum PSA ในการตรวจหา มะเร็งต่อมลูกหมากเปรียบเทียบกับผลการตรวจชิ้นเนื้อ ต่อมลูกหมาก ( PROSTATE BIOPSY). หลักการและเหตุผล. มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับที่ 9 ในผู้ป่วยชายไทย (จากงานสถิติสถาบันมะเร็งแห่งชาติปี 2539)

Download Presentation

เรื่อง : ความน่าเชื่อถือของระดับ Serum PSA ในการตรวจหา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. งานวิจัยทางคลินิก เรื่อง :ความน่าเชื่อถือของระดับ Serum PSA ในการตรวจหา มะเร็งต่อมลูกหมากเปรียบเทียบกับผลการตรวจชิ้นเนื้อ ต่อมลูกหมาก ( PROSTATE BIOPSY)

  2. หลักการและเหตุผล • มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับที่ 9 ในผู้ป่วยชายไทย (จากงานสถิติสถาบันมะเร็งแห่งชาติปี 2539) • มะเร็งต่อมลูกหมากพบมากเป็นอันดับ 1 และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 3 ของผู้ป่วยชายที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งทั้งหมดในสหรัฐอมริกา (สถิติปี ค.ศ. 1997) • ในโรงพยาบาลพุทธชินราชมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากเข้ารับการตรวจรักษาเป็นจำนวนมาก (ประมาณ 517 ราย ในปี 2543- ปัจจุบัน พฤศจิกายน 2545)

  3. หลักการและเหตุผล การวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมากในโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก อาศัยการวัดระดับ serum PSA เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจทำ Prostate biopsy โดยจะทำการตรวจชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากก็ต่อเมื่อ : • DRE ไม่บ่งชี้ว่าเป็นมะเร็งแต่มีระดับ serum PSA >10 ng/ml • DRE บ่งชี้ว่าเป็นมะเร็งและมีระดับ serum PSA ตั้งแต่ 4 ng/ml ขึ้นไป

  4. วัตถุประสงค์ เพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมในการใช้ระดับ serum PSA มาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาทำการตรวจชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากในผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

  5. ผลที่คาดว่าจะได้รับ แนวทางที่เหมาะสมที่ใช้ช่วยพิจารณาวิธีการและขั้นตอนในการตรวจหาข้อมูลที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก

  6. คำถามวิจัย คำถามหลัก : ระดับ Serum PSA สามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาทำการตรวจชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก (prostate biopsy) ในผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้หรือไม่ คำถามรอง • Digital Rectal Examination (DRE) ที่ไม่บ่งชี้ว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากและระดับ Serum PSA> 10 ng/ml พบเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากเท่าใด • Digital Rectal Examination (DRE) ที่บ่งชี้ว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากและมีระดับ Serum PSA ตั้งแต่ 4 ng/ml ขึ้นไปพบว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากเท่าใด

  7. วิธีการดำเนินการวิจัยวิธีการดำเนินการวิจัย • รูปแบบการศึกษา : การศึกษาเชิงพรรณาแบบย้อนหลัง • ระยะเวลา : 1 กุมภาพันธ์ 2544 – 31 ตุลาคม 2545 • กลุ่มตัวอย่าง : ผู้ป่วยในโรงพยาบาลพุทธชินราชที่ได้รับการตรวจระดับ serum PSA ร่วมกับการตรวจชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก จำนวน 43 ราย

  8. วิธีการดำเนินการวิจัยวิธีการดำเนินการวิจัย • เครื่องมือการวิจัย : เวชระเบียนของผู้ป่วย ประกอบด้วย • ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย • ผลการตรวจ Digital Rectal Examination • ผลการตรวจระดับ Serum PSA • ผลการตรวจชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก • สถิติการวิจัย : ใช้สถิติเชิงพรรณาโดยคิดเป็นร้อยละและหาความสัมพันธ์โดยใช้ Odds ratio และ95% Confident interval

  9. ผลการศึกษา ตารางที่ 1 : ผลการตรวจ Digital Rectal Examination Sensitivity = 61.90% Specificity = 45.45%

  10. ผลการศึกษา ตารางที่ 2 : Serum PSA levelที่ตรวจวัดในโรงพยาบาลพุทธชินราชตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2544 – 31 ตุลาคม 2545 หมายเหตุ : Serum PSA level ที่เป็นผู้ป่วยของ ร.พ.พุทธชินราชมีจำนวน ทั้งสิ้น 513ราย แต่ที่มีผลการตรวจชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากและผล DRE มีจำนวน 43 ราย

  11. ผลการศึกษา ตารางที่ 3 : Not suggested CA Prostate DRE

  12. ผลการศึกษา ตารางที่ 4 : Suggested CA Prostate DRE

  13. สรุป • ในกรณีที่ Digital Rectal Examination (DRE) ไม่บ่งชี้ว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากและระดับ Serum PSA> 10 ng/ml พบว่ามีความเหมาะสมที่จะใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจทำการตรวจชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก • ในกรณีที่ Digital Rectal Examination (DRE) บ่งชี้ว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากและร่วมกับระดับ Serum PSA ตั้งแต่ 4 ng/ml ขึ้นไปพบว่าไม่เหมาะที่จะใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจทำการตรวจชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก

More Related