html5-img
1 / 33

การพยากรณ์เชิงปริมาณ

วิธีการพยากรณ์. การพยากรณ์เชิงคุณภาพ. การพยากรณ์เชิงปริมาณ. Regression Analysis. Time Series Analysis. Decomposition. Smoothing Techniques (Exponential & its Extensions). Box- jenkins Processes. Vector of Autoregressive (VAR). Regression Analysis ( การวิเคราะห์การถดถอย ).

jaden
Download Presentation

การพยากรณ์เชิงปริมาณ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิธีการพยากรณ์ การพยากรณ์เชิงคุณภาพ การพยากรณ์เชิงปริมาณ Regression Analysis Time Series Analysis Decomposition Smoothing Techniques(Exponential & its Extensions) Box- jenkins Processes Vector of Autoregressive (VAR)

  2. Regression Analysis(การวิเคราะห์การถดถอย) เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะหรือปัจจัยที่แทนด้วยตัวแปรตั้งแต่สองตัวแปรขึ้นไป เพื่อทำให้ทราบถึงความสัมพันธ์ ทิศทางความสัมพันธ์ และลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

  3. หรือเป็นการวิเคราะห์โดยอาศัยค่าที่ทราบจากตัวแปรหนึ่ง แล้วนำไปพยากรณ์ ค่าของอีกตัวแปรหนึ่ง ว่ามีความแปรผันในสัดส่วนเท่าใดหรือในระดับใด

  4. ตัวอย่างเช่น การศึกษาความสัมพันธ์เกี่ยวกับ • ยอดขายสินค้า… ราคาสินค้า และยอดโฆษณา • ผลผลิตข้าว… เนื้อที่เพาะปลูก และปริมาณปุ๋ยที่ใช้เฉลี่ยต่อไร่ • จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศ… รายได้ประชาชาติ และยอดโฆษณาด้านการท่องเที่ยว • ความดันโลหิต… อายุ และประเภทของอาหารที่รับประทาน

  5. ตัวแปรตาม (Dependent Var.) ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น (Independent Var.) การวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis) X1 ตัวแปรตาม (Dependent Var.) X2 เป็นวิธีการทางสถิติ ใช้ในการตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ≥ 2 ตัวขึ้นไป Xn ตัวแปรอิสระ มักเรียกว่า ตัวแปรพยากรณ์หรือตัวแปรทำนาย(Predicted Variable) ตัวแปรตามมักเรียกว่า ตัวแปรตอบสนอง(Response variable)

  6. จากตัวอย่างเช่น ความสัมพันธ์เกี่ยวกับ • ยอดขายสินค้า… ราคาสินค้า และยอดโฆษณา • ผลผลิตข้าว… เนื้อที่เพาะปลูก และปริมาณปุ๋ยที่ใช้เฉลี่ยต่อไร่ • จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศ… รายได้ประชาชาติ และยอดโฆษณาด้านการท่องเที่ยว • ความดันโลหิต… อายุ และประเภทของอาหารที่รับประทาน อะไรเป็นตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น และอะไรเป็นตัวแปรตาม?

  7. ดังนั้นนักศึกษาแต่ละกลุ่มต้องช่วยกันคิดแล้วว่าข้อมูลสถิติที่เราหามานั้นน่าจะขึ้นกับอะไรบ้างแล้วก็ไปหาข้อมูลนั้นเพิ่มเติมดังนั้นนักศึกษาแต่ละกลุ่มต้องช่วยกันคิดแล้วว่าข้อมูลสถิติที่เราหามานั้นน่าจะขึ้นกับอะไรบ้างแล้วก็ไปหาข้อมูลนั้นเพิ่มเติม

  8. การวิเคราะห์การถดถอยทำให้สามารถนำผลการศึกษาไปประมาณค่าของตัวแปรใดตัวแปรหนึ่ง หรือพยากรณ์เหตุการณ์ในอนาคตเพื่อประโยชน์ต่อการวางแผนและการตัดสินใจ

  9. ตัวอย่างเช่น • บริษัทแห่งหนึ่งทราบว่าในปีที่ผ่านมายอดโฆษณากับยอดขายสินค้ามีความสัมพันธ์กัน ดังนั้นหากกำหนดยอดโฆษณาในปีหน้าก็จะสามารถประมาณยอดขายในปีหน้าได้ด้วย

  10. ชนิดของการวิเคราะห์การถดถอยชนิดของการวิเคราะห์การถดถอย 1. Linear Regression • ***Simple Linear Regression (SLR) X 1 : Y 1 • Multiple Linear Regression (MLR) X > 1 : Y 1 2. Non-linear Regression

  11. การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย (Simple Linear Regression Analysis)

  12. รูปแบบสมการเชิงเส้น (linear model) I. Degree = 1 II. Additive model Y = a + bX Y = b0 + b1X1 Y = b0 + b1X1 + b2X2 Y = b0 + b1X1 + b2X2 + b3X3 Y = b0 + b1X1 + b2X2 + … + bnXn

  13. สัมประสิทธิ์การถดถอย (Regression Coefficient) หรือสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ เป็นค่าของ bที่เป็นความชันของกราฟเส้นตรง ที่เกิดจากสมการเชิงเส้น ถ้าทราบค่าของ b และค่าของ a แล้ว ก็จะสามารถพยากรณ์ค่าของตัวแปร Y ได้ซึ่งสรุปได้ดังนี้1. ถ้า b > 0 แสดงว่า X และ Y มีความสัมพันธ์กันในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ ถ้า X มีค่าสูงขึ้น ค่าของ Y ก็จะมีค่าสูงขึ้นตามไปด้วย

  14. 2. ถ้า b < 0 แสดงว่า X และ Y มีความสัมพันธ์กันในทิศทางตรงกันข้าม กล่าวคือ ถ้า X มีค่าสูงขึ้น ค่าของ Y จะต่ำลง y x

  15. 3. ถ้า b มีค่าใกล้ 0 แสดงว่า X และ Y มีความสัมพันธ์กันน้อย 4. ถ้า b = 0 แสดงว่า X และ Y ไม่มีความสัมพันธ์กันเลย เส้นกราฟที่ได้จะเป็นเส้นตรง ค่าของ Y จะมีค่าเท่ากับค่าคงที่ (a)

  16. 5. ถ้า b = 1 แสดงว่าความชันของเส้นกราฟมีค่าเท่ากับ 45 องศา ค่า X และ Y จะมีค่าเท่า กัน ในกรณีที่ค่าคงที่ a เท่ากับศูนย์

  17. ลักษณะของเส้นกราฟถดถอยอย่างง่าย มีดังนี้ 1. ค่า aเป็นค่าคงที่ จะมีค่าเป็นบวก เมื่อเส้นกราฟตัดกับแกน Y เหนือเส้นแกน X ขึ้นไปหากเส้นกราฟตัดที่จุดกำเนิดหรือจุดกำเนิด (0,0) ค่า a จะมีค่าเป็นศูนย์ ณ จุดนี้ค่า Y จะขึ้นอยู่กับผลของค่า X กับสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่านั้น แต่ถ้าเส้นกราฟตัดกับแกน Y ต่ำกว่าเส้นแกน X ค่า a จะมีค่าเป็นลบ y x

  18. 2. ค่า bที่เป็นค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเป็นความชันของเส้นกราฟ เป็นค่าที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของเส้นกราฟ เมื่อตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น (X) เปลี่ยนแปลงไปหนึ่งหน่วย จะทำให้ตัวแปร Y เปลี่ยนแปลงไป b หน่วย

  19. ถ้าเส้นกราฟมีความชันมาก การเปลี่ยนแปลงของ ตัวแปร X จะทำให้ค่าของ Y เปลี่ยนแปลงไปเป็นจำนวนมาก • - ถ้าความชันมีค่าเท่ากับ 1 การเปลี่ยนแปลงของตัวแปร X จะส่งผลให้ค่าของ Y เปลี่ยนแปลงไปเป็นจำนวนที่เป็นสัดส่วนกับค่า X • - ถ้าความชันมีค่าต่ำๆ (b < 1) จะทำให้ค่าของ Y เปลี่ยนแปลงเป็นจำนวนน้อยกว่าค่าของ X b>1 b<1

  20. 3. ในกรณีที่ a มีค่าเป็นศูนย์และ b มีค่าเท่ากับ 1 เส้นกราฟจะผ่านจุดกำเนิดและความชันเป็น 45 องศา ซึ่งทำให้ค่าของ X และ Y มีค่าเท่ากัน b=1

  21. ตัวอย่าง ผลการทดสอบวิชาโครงสร้างข้อมูลของผู้เรียนกลุ่มหนึ่ง พบว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 18 และค่าเฉลี่ยวิชาการโปรแกรมมีค่าเท่ากับ 25 สมมติให้สัมประสิทธิ์การถดถอยมีค่าเท่ากับ .6 จงหาค่าคงที่ a และเขียนสมการถดถอยเพื่อหาความสัมพันธ์ของผลการสอบในวิชาทั้งสอง (Tips: ผลการสอบของวิชาโครงสร้างข้อมูลส่งผลต่อผลการสอบของวิชาการโปรแกรม คือ ถ้าเรียนวิชาโครงสร้างข้อมูลรู้เรื่องก็จะเขียนโปรแกรมได้ดี)

  22. แทนค่าในสูตร a = 25 – 0.6(18) = 14.2 ค่าคงที่มีค่าเท่ากับ 14.2 และมีค่าเป็นบวก แสดงว่าเส้นกราฟถดถอยตัดกับแกน Y ที่ระดับ 14.2 สามารถเขียนสมการถดถอยอย่างง่ายได้ว่า Y = 14.2 + 0.6X

  23. จากตัวอย่างสรุปได้ว่า หากทราบค่า X ซึ่งในที่นี้คือผลการสอบวิชาโครงสร้างข้อมูล ก็จะสามารถพยากรณ์ค่าของ Y ซึ่งเป็นผลการสอบวิชาการโปรแกรมได้ โดยการแทนค่าในสมการY = 14.2 + 0.6X เพื่อศึกษาว่าถ้าตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น X มีค่าเท่ากับค่าต่าง ๆ ตัวแปรตาม Y จะมีค่าเท่าใด ดังที่ปรากฏในตารางต่อไปนี้ (แทนค่า X ด้วย 1, 2, 3, … ,10)

  24. การพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงของตัวแปรตาม ที่มีความสัมพันธ์กับตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น ในลักษณะเชิงเส้น ค่าที่ได้จากตารางสามารถนำไปเขียนเป็นเส้นกราฟเพื่อแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรทั้งสองได้ เส้นกราฟที่ได้ก็จะเป็นเส้นกราฟถดถอยนั่นเอง

  25. การวิเคราะห์การถดถอยจากสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์การวิเคราะห์การถดถอยจากสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ในการพยากรณ์ค่าของตัวแปรตาม Y จากการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น X ถ้าทราบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของตัวแปรทั้งสอง (r = Correlation Coefficient) จะสามารถวิเคราะห์การถดถอยเพื่อการพยากรณ์ได้ โดยไม่ต้องอาศัยค่าคงที่ a และสัมประสิทธิ์การถดถอย b แต่อย่างใด แต่จำเป็นต้องทราบส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของตัวแปรทั้งสอง

  26. r = 1 r = -1

  27. แต่ละกลุ่มลองหาว่าตัวแปรต้น และตัวแปรตามของเรามีความสัมพันธ์กันมากน้อยอย่างไร (r=?)

  28. สูตรการหาค่าคะแนนพยากรณ์ของตัวแปรตามคือสูตรการหาค่าคะแนนพยากรณ์ของตัวแปรตามคือ

  29. ตัวอย่าง ผลการทดสอบของผู้เรียนห้องหนึ่ง ในวิชาไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งมีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ปรากฏว่าได้ข้อมูลดังนี้ จงพยากรณ์คะแนนภาคปฏิบัติของผู้เรียนคนหนึ่งที่สอบภาคทฤษฎีได้ 62 คะแนน สมมติให้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของวิชาไมโครโพรเซสเซอร์ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเท่ากับ 0.5 (ให้หาคะแนนภาคปฏิบัติ ฉะนั้นภาคปฏิบัติจึงเป็นตัวแปรตาม หรือ Y ดังนั้นคะแนนภาคทฤษฎีจึงเป็นตัวแปรต้น หรือ X)

  30. คะแนนภาคปฏิบัติของผู้เรียนคนนั้น มีค่าเท่ากับ 68 คะแนน

More Related