1 / 25

หนังสือราชการ นำเสนอโดย

หนังสือราชการ นำเสนอโดย. นายอรรถพล ฤทธิ์มั่น. ประวัติและความเป็นมาของหนังสือราชการ.

Download Presentation

หนังสือราชการ นำเสนอโดย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หนังสือราชการนำเสนอโดยหนังสือราชการนำเสนอโดย นายอรรถพล ฤทธิ์มั่น

  2. ประวัติและความเป็นมาของหนังสือราชการประวัติและความเป็นมาของหนังสือราชการ • เริ่มตั้งแต่ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง เมื่อ พ.ศ. 1826 ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น โดยใช้อักษรมอญและอักษรขอมเป็นตัวอย่าง รวมทั้งอักษรไทยเก่าแก่บางอย่างขึ้น หนังสือราชการได้เริ่มมีตั้งแต่สมัยสุโขทัยของพ่อขุนรามคำแหงตามหลักฐานที่มีปรากฏไว้ เป็นต้นมา

  3. หนังสือเล่มแรกที่มาจากการเขียนหนังสือเล่มแรกที่มาจากการเขียน • จินดามณี ของศรีปราชญ์กับพระโหราธิบดี แต่งอยู่ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา จินดามณี (มีความหมายว่า แก้วสารพัดนึก) เป็นแบบเรียนภาษาไทยเล่มแรก

  4. หนังสือเล่มแรกที่มาจากการพิมพ์หนังสือเล่มแรกที่มาจากการพิมพ์ • ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กรุงศรีอยุธยา มิชชันนารีฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาสอนศาสนาในสมัยนั้น ได้ริเริ่มแต่งและพิมพ์หนังสือ คำสอนทางคริสต์ศาสนาขึ้น สมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงทรงโปรดให้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นที่เมืองลพบุรี • ในสมัยพระเจ้าตากสิน บาทหลวงคาทอลิกชื่อ คาร์โบล ได้กลับเข้ามาสอนศาสนา จัดตั้งโรงพิมพ์และพิมพ์หนังสือขึ้นที่วัดซันตาครูส ตำบลกุฎีจีน จังหวัดธนบุรี แม่พิมพ์คงใช้วิธีการแกะแม่พิมพ์ไม้เป็นหน้า ๆ มากกว่าการใช้ตัวเรียงพิมพ์โลหะ ได้มีการหล่อตัวพิมพ์เป็นภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกโดยนางจัดสันซึ่งเป็นมิชชันนารีอเมริกัน

  5. หนังสือราชการกิจจานุเบกษาหนังสือราชการกิจจานุเบกษา • สิ่งพิมพ์ของรัฐบาลฉบับแรกของไทย • เกิดขึ้นในสมัย รัชกาลที่ 4 มี 4 ประเภท ประเภท ก ฉบับกฤษฎีกา ลงประกาศเกี่ยวกับกฎหมาย ประเภท ข ฉบับทะเบียนฐานันดร ลงประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญราชการและยศ ประเภท ค ฉบับทะเบียนการค้า ประกาศเกี่ยวกับการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน และบริษัท ประเภท ง ฉบับประกาศทั่วไป เป็นประกาศเรื่องอื่นๆ นอกเหนือจากที่ระบุใน ประเภท ก - ค

  6. ความหมายงานสารบรรณ • งานสารบรรณ หมายความว่า งานที่เกี่ยวกับ การบริหารเอกสาร เริ่มตั้งแต่ การจัดทำ การรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม จนถึงการทำลาย

  7. ระเบียบหนังสือราชการในปัจจุบันระเบียบหนังสือราชการในปัจจุบัน • หนังสือราชการ มี 6 ชนิด 1.หนังสือภายนอก 2.หนังสือภายใน 3.หนังสือประทับตรา 4.หนังสือสั่งการ 5.หนังสือประชาสัมพันธ์ 6.หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นเอกสารทางราชการ

  8. หนังสือภายนอก • หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธี • โดยใช้กระดาษตราครุฑ • เป็นหนังสือติดต่อระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการมีถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีถึงบุคคลภายนอก

  9. หนังสือภายใน • หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีน้อยกว่าหนังสือภายนอก • เป็นหนังสือติดต่อภายในกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดเดียวกัน • ใช้กระดาษบันทึกข้อความ

  10. ข้อแตกต่างระหว่างหนังสือภายนอกและหนังสือภายในข้อแตกต่างระหว่างหนังสือภายนอกและหนังสือภายใน

  11. หนังสือประทับตรา • หนังสือประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป • หัวหน้าส่วนราชการระดับกองหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป เป็นผู้รับผิดชอบ ลงชื่อย่อกำกับตรา • หนังสือประทับตราใช้ กระดาษตราครุฑ

  12. หนังสือสั่งการ • คำสั่ง คือ บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมาย • ระเบียบ คือ บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางไว้ โดยจะอาศัยอำนาจของกฎหมาย หรือไม่ก็ได้ เพื่อถือเป็นหลักปฏิบัติงานเป็นการประจำ • ข้อบังคับ คือ บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดให้ใช้โดยอาศัยอำนาจของกฎหมายที่บัญญัติให้กระทำได้ คำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับ ใช้กระดาษตราครุฑ

  13. หนังสือประชาสัมพันธ์ • ประกาศ คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศหรือชี้แจงให้ทราบหรือแนะแนวทางปฏิบัติ • แถลงการณ์ คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลง เพื่อทำความเข้าใจในกิจการของทาง ราชการ หรือเหตุการณ์หรือกรณีใด ๆ ให้ทราบชัดเจนโดยทั่วกัน • ข่าว คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการเห็นสมควรเผยแพร่ให้ทราบ ประกาศ และแถลงการณ์ใช้กระดาษตราครุฑ

  14. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นเอกสารทางราชการหนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นเอกสารทางราชการ • หนังสือรับรอง • รายงานการประชุม • บันทึก • หนังสืออื่น

  15. หนังสือที่ต้องปฏิบัติให้เร็วกว่าปกติหนังสือที่ต้องปฏิบัติให้เร็วกว่าปกติ • เป็นหนังสือที่ต้องจัดส่งและดำเนินการด้วยความรวดเร็วเป็นพิเศษ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ • 1. ด่วนที่สุด (ปฏิบัติทันทีที่ได้รับหนังสือ) • 2. ด่วนมาก (ปฏิบัติโดยเร็ว) • 3. ด่วน (ปฏิบัติเร็วกว่าปกติ เท่าที่จะทำได้

  16. หนังสือเวียน • คือ หนังสือที่มีถึงผู้รับเป็นจำนวนมาก มีใจความเดียวกัน ให้เพิ่มรหัสพยัญชนะ ว หน้าเลขทะเบียนหนังสือส่งและไม่มีจุดหลัง ว ซึ่งกำหนดเป็นเลขที่หนังสือเวียนโดยเฉพาะเริ่มตั้งแต่เลข 1 เรียงเป็นลำดับไป จนถึงสิ้นปีปฏิทิน หรือใช้เลขที่ของหนังสือทั่วไปแบบหนังสือภายนอกอย่างใดอย่างหนึ่ง

  17. ชั้นความลับในหนังสือราชการชั้นความลับในหนังสือราชการ • ชั้นความลับของข้อมูลข่าวสารลับ แบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ • ลับที่สุด (TOP SECRET) หมายความถึง ข้อมูลข่าวสารลับซึ่งหากเปิดเผยทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์แห่งรัฐอย่างร้ายแรงที่สุด • ลับมาก (SECRET)หมายความถึง ข้อมูลข่าวสารลับซึ่งหากเปิดเผยทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์แห่งรัฐอย่างร้ายแรง • ลับ (CONFIDENTIAL)หมายความถึง ข้อมูลข่าวสารลับซึ่งหากเปิดเผยทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์แห่งรัฐ

  18. หนังสือภาษาต่างประเทศ ให้ใช้กระดาษตราครุฑ • มาตรฐานตราครุฑสำหรับแบบพิมพ์ มี 2 ขนาด คือ • 1.ขนาดตัวครุฑ 3 เซนติเมตร • 2.ขนาดตัวครุฑ 1.5 เซนติเมตร

  19. การร่างหนังสือ • การร่างหนังสือ คือการเรียบเรียงข้อความขั้นต้นตามเรื่องที่จะแจ้งความประสงค์ไปยังผู้รับหรือผู้ที่ต้องการทราบหนังสือนั้น ก่อนที่จะใช้จัดทำเป็นต้นฉบับ • เหตุที่ต้องร่างหนังสือ • หลักการร่างหนังสือ • การร่างหนังสือโต้ตอบ • การร่างหนังสือที่มีลักษณะเป็นการสั่งการ • การร่างหนังสือประชาสัมพันธ์

  20. หลักการเขียนจดหมายราชการหลักการเขียนจดหมายราชการ • เขียนเรื่องอะไร • เขียนถึงใคร • เขียนอย่างไร • ส่วนต่าง ๆ ของจดหมายราชการ • หัวเรื่อง • เนื้อเรื่อง • จุดประสงค์ของเรื่อง • ท้ายเรื่อง

  21. การเขียนและการพิมพ์ • การเขียน หมายถึง การทำให้เกิดลายลักษณ์อักษรเป็นข้อความบนกระดาษ การเขียน ส่วนใหญ่จะใช้ ในการร่างหนังสือจดรายงานการประชุม และใช้ในกรณีที่ส่วนราชการ • การพิมพ์ หมายถึง การพิมพ์โดยใช้เครื่องพิมพ์ ปกติแล้วงานใดที่เป็นเอกสารทั่ว ๆ ไป สามารถใช้เครื่องพิมพ์ดีด เพื่อให้อ่านง่ายและสามารถทำสำเนาได้ง่าย

  22. หลักการเขียนหนังสือราชการหลักการเขียนหนังสือราชการ • หลักทั่วไปที่นิยมยึดถือในการเขียนหนังสือราชการ • ๑. เขียนให้ถูกต้อง • ๒. เขียนให้ชัดเจน • ๓. เขียนให้รัดกุม • ๔. เขียนให้กะทัดรัด • ๕. เขียนให้บรรลุวัตถุประสงค์

  23. การทำสำเนาหนังสือ • สำเนาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ • 1. สำเนาคู่ฉบับ • 2. สำเนา

  24. ชั้นความลับในหนังสือราชการชั้นความลับในหนังสือราชการ • ลับที่สุด (TOP SECRET) หมายความถึง ข้อมูลข่าวสารลับซึ่งหากเปิดเผยทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์แห่งรัฐอย่างร้ายแรงที่สุด • ลับมาก(SECRET)หมายความถึง ข้อมูลข่าวสารลับซึ่งหากเปิดเผยทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์แห่งรัฐอย่างร้ายแรง • ลับ(CONFIDENTIAL)หมายความถึง ข้อมูลข่าวสารลับซึ่งหากเปิดเผยทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์แห่งรัฐ

  25. สวัสดี ครับ

More Related