1 / 33

ข้อสอบเขียนตอบ ( 3)

ข้อสอบเขียนตอบ ( 3). ลักษณะของข้อสอบเขียนตอบแบบอธิบาย. ใส่วัตถุ B ที่มีขนาดเดียวกันในสารละลาย A ที่มีความเข้มข้นต่างกันวัดความสูงของวัตถุ B ที่ลอยพ้นผิวของสารละลาย A ได้เป็นดังนี้. สถานการณ์.

Download Presentation

ข้อสอบเขียนตอบ ( 3)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ข้อสอบเขียนตอบ (3)

  2. ลักษณะของข้อสอบเขียนตอบแบบอธิบายลักษณะของข้อสอบเขียนตอบแบบอธิบาย ใส่วัตถุ B ที่มีขนาดเดียวกันในสารละลาย A ที่มีความเข้มข้นต่างกันวัดความสูงของวัตถุ B ที่ลอยพ้นผิวของสารละลาย A ได้เป็นดังนี้ สถานการณ์ สารละลาย A ในชุดการทดลองใด ที่มีแรงพยุงกระทำต่อวัตถุ B มีค่าสูงที่สุด ให้เหตุผลประกอบคำตอบ คำถาม แนวคำตอบชุดการทดลองที่ 2 เพราะสารละลายมีแรงพยุงทำให้วัตถุลอยพ้นผิวของสารละลายได้มากที่สุด คำตอบ

  3. กิจกรรมที่ 2.5 การพิจารณาข้อสอบเขียนตอบแบบอธิบาย คำชี้แจง: ให้ผู้เข้ารับการอบรมแต่ละกลุ่มพิจารณา ข้อสอบเขียนตอบแบบอธิบายที่กำหนดให้ แล้วตอบคำถามต่อไปนี้ 1. สถานการณ์และคำถามเหมาะสมกับข้อสอบเขียนตอบ แบบอธิบายหรือไม่ อย่างไร 2. เสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแก้ไขข้อสอบ

  4. นำเสนอผลงานและอภิปรายร่วมกันนำเสนอผลงานและอภิปรายร่วมกัน

  5. ข้อสอบข้อนี้เป็นอย่างไร ? ข้อที่ 1: นำดินสอใส่ในของเหลวที่มีปริมาตรเท่ากัน 3 ชนิด ดังภาพ บันทึกความยาวของดินสอส่วนที่โผล่พ้นผิวของเหลว ได้ดังตาราง ดินสอลอยในของเหลวชนิดใดได้ดีที่สุด

  6. แนวทางการปรับปรุงแก้ไข ข้อที่ 1: นำดินสอใส่ในของเหลวที่มีปริมาตรเท่ากัน 3 ชนิด ดังภาพ บันทึกความยาวของดินสอส่วนที่โผล่พ้นผิวของเหลว ได้ดังตาราง เพราะเหตุใดดินสอจึงลอยได้แตกต่างกันในการทดลอง 3 ชุด

  7. ข้อสอบข้อนี้เป็นอย่างไร ? ข้อที่ 2 : ผลการสำรวจสัตว์ป่าในพื้นที่แห่งหนึ่ง เป็นดังนี้ จากข้อมูล สัตว์ชนิดใดใกล้สูญพันธุ์

  8. แนวทางการปรับปรุงแก้ไข ข้อที่ 2 : ผลการสำรวจสัตว์ป่าในพื้นที่แห่งหนึ่ง เป็นดังนี้ จากข้อมูล 1. สัตว์ชนิดใดใกล้สูญพันธุ์ เพราะเหตุใด 2. การเปลี่ยนแปลงจำนวนของเสือ ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิต ชนิดใดบ้าง และส่งผลอย่างไร

  9. ข้อสอบข้อนี้เป็นอย่างไร ? ดาวเหนือ ข้อที่ 3 :สังเกตท้องฟ้าเวลากลางคืน พบดาวเหนือบนท้องฟ้า ดังภาพ จากภาพ ด้านหน้าของบ้านเป็นทิศใด

  10. แนวทางการปรับปรุงแก้ไข ดาวเหนือ ข้อที่ 3 :สังเกตท้องฟ้าเวลากลางคืน พบดาวเหนือบนท้องฟ้า ดังภาพ 1. บริเวณใดของบ้านที่จะได้รับแสงมากเวลาเช้า เพราะเหตุใด 2. ถ้าต้องการปลูกต้นไม้ที่ต้องการแสงแดดจัดในช่วงบ่าย โดยเลือกปลูกพืชในบริเวณ B นักเรียนคิดว่า เหมาะสม หรือไม่ เพราะเหตุใด

  11. ข้อสอบข้อนี้เป็นอย่างไร ? ข้อที่ 4 : ถ้ามีนักเรียน 2 คน รับประทานอาหารดังนี้ นักเรียนคนที่ 1 นักเรียนคนที่ 2 นักเรียนแต่ละคนรับประทานอาหารครบทุกหมู่หรือไม่ ถ้าไม่ครบจะขาดหมู่ใด

  12. แนวทางการปรับปรุงแก้ไข • ข้อที่ 4 : ข้อมูลแสดงพลังงานที่ได้รับจากการรับประทานอาหาร ชนิดต่างๆ เป็นดังนี้ • จากข้อมูลถ้าร่างกายของเด็กคนหนึ่งต้องการพลังงาน 1,200-1,500 กิโลแคลอรีต่อวัน จะต้องรับประทานอาหารอย่างไรให้เพียงพอกับความต้องการพลังงาน ให้ระบุชนิดและจำนวนอาหารที่เลือกรับประทานมา 3 จาน พร้อมทั้งแสดงวิธีการคำนวณ

  13. ข้อสอบข้อนี้เป็นอย่างไร ? • ข้อที่ 5 : ทดลองปลูกพืชชนิดหนึ่งในดิน 4 ชนิด นาน 4 สัปดาห์ • สังเกตการเจริญเติบโตของพืชได้ดังนี้ อธิบายตารางตามความคิดของนักเรียน

  14. แนวทางการปรับปรุงแก้ไข • ข้อที่ 5 : ทดลองปลูกพืชชนิดหนึ่งในดิน 4 ชนิด นาน 4 สัปดาห์ • สังเกตการเจริญเติบโตของพืชได้ดังนี้ ดินชนิดใดมีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ชนิดนี้มากที่สุด เพราะเหตุใด

  15. เฟร็ดจะทำนายเกี่ยวกับความสูง ของต้นถั่วได้อย่างไร จงให้เหตุผลประกอบ ข้อที่ 6 : เฟร็ดมีเมล็ดถั่วอยู่หนึ่งซองซึ่งมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกันทุกประการ เขาปลูกถั่ว 4 เมล็ด ลงในภาชนะ 2 ใบ ที่มีลักษณะดังภาพ และรดน้ำเมล็ดถั่วทุกวัน ต้นถั่วในภาพที่ 2 อาจสูงกว่า ในภาพ ที่ 1 เพราะได้รับแสงและธาตุอาหารมากกว่า หรืออาจกล่าวว่าได้รับสิ่งที่จำเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงมากกว่า แสงสว่างมาก แสงสว่างน้อย เมล็ดถั่ว ภาพที่ 1 ภาพที่ 2 ธาตุอาหารต่ำ ธาตุอาหารสูง นักเรียนไทยตอบถูก: 53% ที่มา: ข้อสอบจากโครงการ TIMSS ตัวชี้วัด: ว 1.1 ป.4/2

  16. ข้อที่ 7 : ทาโต้ขี่จักรยานล้มและทำให้เกลือที่อยู่ในถุงหกกระจาย เขาเก็บเกลือที่ตกอยู่บนพื้นดินซึ่งมีทรายและใบไม้ปนมาด้วยใส่ในถุงพลาสติก ในตารางต่อไปนี้ จงอธิบายขั้นตอนที่ทาโต้ แยกเกลือออกจากของผสมระหว่างเกลือ ทรายและใบไม้ และให้เหตุผลของการกระทำแต่ละขั้นตอนไว้ด้วย ขั้นตอนที่ 1 เติมไว้ให้แล้ว เติมน้ำ กรอง เพื่อแยกสารละลายเกลือ ต้ม / ทิ้งกลางแดด เพื่อให้น้ำระเหยเหลือแต่เกลือ ที่มา : ข้อสอบจากโครงการTIMSS ตัวชี้วัด: ว 3.1 ป.6/3

  17. ใช้ข้อมูลต่อไปนี้ตอบคำถามข้อที่ 8 นักเรียน 4 กลุ่ม หาความหนาแน่นของกระป๋องที่มีโซดาอยู่ แต่ละกลุ่ม จะได้รับกระป๋องโซดา 1 กระป๋อง นักเรียนกลุ่ม A B C และ D หาความหนาแน่นของกระป๋องได้ 1.04 0.04 2.77 และ 1.05 กรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ และหามวลของกระป๋องโซดา ได้ดังตารางที่ 1 ที่มา : ดัดแปลงจากข้อสอบจากโครงการ TIMSS

  18. ข้อที่ 8 :เพราะเหตุใดกลุ่ม A และกลุ่ม D จึงหามวลของกระป๋อง และโซดาได้แตกต่างกับกลุ่ม B และกลุ่ม C เพราะกลุ่ม A และ D ชั่งมวลของกระป๋องและโซดา ในขณะที่กลุ่ม B และ C ชั่งเฉพาะมวลของกระป๋อง ........................................................................................ ........................................................................................ นักเรียนไทยตอบถูก: 42% ที่มา: ดัดแปลงจากข้อสอบโครงการ TIMSS ตัวชี้วัด: ว 3.1 ป.5/1

  19. ข้อที่ 9 : ใส่น้ำ 300 กรัม ในถาดแล้วแช่ในตู้เย็นเพื่อทำให้เป็นน้ำแข็ง เมื่อน้ำกลายเป็นน้ำแข็ง มวลของน้ำแข็งจะมีค่าเท่าใด เพราะเหตุใด (เลือกเพียง 1 คำตอบ) คำตอบที่ถูกต้องมี 3 กรณี ดังนี้  • มากกว่า 300 กรัม เพราะน้ำเปลี่ยนเป็นน้ำแข็งด้วยปริมาณเท่าเดิม หรือมวลเท่าเดิมไม่มีอะไรหายไป มวลคงที่ เมื่อเปลี่ยนแปลงทางกายภาพสิ่งที่เปลี่ยนแปลง คือความหนาแน่น เพราะมีอากาศเข้ามาขณะน้ำแข็งมีการขยายตัวและกักอากาศไว้ข้างใน  • 300 กรัม  เพราะมีการระเหยของน้ำบางส่วน เช่น น้ำหนักของน้ำแข็งจะไม่เปลี่ยนแปลง แต่อาจจะระเหยไปนิดหน่อย หรือ น้ำหนักของน้ำแข็งอาจน้อยลงเล็กน้อยเพราะบางส่วนจะระเหยไป • น้อยกว่า 300 กรัม นักเรียนไทยตอบถูก: 27% ตัวชี้วัด: ว 3.1 ป.5/1 ที่มา: ดัดแปลงจากข้อสอบโครงการ TIMSS

  20. ข้อที่ 10 : เด็กชายคนหนึ่งยืนหันหน้าหาดวงอาทิตย์ โดยเกิดเงาบนพื้นดังภาพ ดวงอาทิตย์ เงา จากภาพเงาของเด็กชาย มีสิ่งที่ผิดปกติ 2 เรื่อง ให้นักเรียนระบุสิ่งที่ผิดปกติ พร้อมอธิบาย เด็กชาย 1. ในทิศทางที่เกิดเงาบนพื้น หรือ มุมที่เกิดเงาบนพื้นผิดปกติ เพราะเงา ต้องอยู่ตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์ 2. ลักษณะของเงาไม่ตรงกับท่าทางของเด็กชาย เพราะ เด็กชายยกแขน ข้างหนึ่ง แต่เงาเด็กชายไม่ยกแขน ที่มา: ข้อสอบจากโครงการ TIMSS ตัวชี้วัด: ว 7.1ป.3/1

  21. ข้อที่ 11 :กล่องขนาดเท่ากัน 3 ใบ บรรจุสารที่มีสถานะแตกต่างกัน ชนิดละ กล่อง ดังภาพ ต่อมานำสารจากแต่ละกล่องไปใส่ในกล่องที่มีขนาดใหญ่เป็นสี่เท่าจากเดิม สังเกตลักษณะของสารที่อยู่ในกล่องได้ผลดังภาพต่อไปนี้ ให้นักเรียนระบุว่าสารที่อยู่ในแต่ละกล่องมีสถานะเป็นของแข็ง หรือ ของเหลว หรือ แก๊ส พร้อมอธิบายเหตุผล ของเหลว เพราะมีปริมาตรคงที่และเปลี่ยนแปลงรูปร่างตามภาชนะที่บรรจุ ของแข็ง เพราะมีปริมาตรที่คงที่และไม่เปลี่ยนแปลงรูปร่างตามภาชนะที่บรรจุ แก๊ส เพราะปริมาตรและรูปร่างเปลี่ยนแปลงตามภาชนะที่บรรจุ ตัวชี้วัด: ว 3.1ป.6/1 ที่มา: ข้อสอบจากโครงการ TIMSS

  22. ใช้ข้อมูลต่อไปนี้ตอบคำถามข้อที่ 12 ศึกษาการตอบสนองต่อแสงของปลายยอดพืชโดยนำพืชชนิดหนึ่งที่มีลักษณะลำต้นตั้งตรงและมีขนาดของต้นเท่ากันมาไว้ในกล่องทึบแสงที่มีช่องรับแสงอยู่ ณ ตำแหน่งต่างๆ กัน และให้รับแสงและน้ำปริมาณเท่ากันเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ได้ผลดังนี้ ที่มา: ข้อสอบ สสวท. ตัวชี้วัด: ว 1.1ป.4/3

  23. ข้อที่ 12 :นักเรียนมีวิธีการอย่างไรที่จะทำให้ต้นพืชในชุดการทดลองที่ 2 ที่มีปลายยอดเอนไปทางด้านซ้ายกลับมาตั้งตรง พร้อมอธิบายเหตุผล ให้ต้นพืชได้รับแสงทางด้านบน เพราะปลายยอดพืชจะเอนกลับมาตั้งตรงตามทิศทางที่ได้รับแสง .............................................................................................................................................. ....................................................................... หรือ ให้ต้นพืชได้รับแสงทางด้านขวาเพราะปลายยอดพืชจะเอนกลับมาทางด้านขวาจนตั้งตรง แล้วจึงเปลี่ยนเป็นให้ได้รับแสงด้านบน เพื่อไม่ให้พืชเอนไปทางด้านขวา .............................................................................................................................................. ....................................................................... ตัวชี้วัด: ว 1.1ป.4/3 ที่มา: ข้อสอบ สสวท.

  24. ใช้ข้อมูลต่อไปนี้ตอบคำถามข้อที่ 13 – 14 • ลากวัตถุก้อนหนึ่งด้วยแรงต่างกัน บนพื้นผิว 2 ชนิด เป็นเวลา 1 นาที บันทึกระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ดังตาราง ที่มา : ข้อสอบ สสวท.

  25. ข้อที่ 13 :จากข้อมูล พื้นผิวชนิดใดมีแรงเสียดทานมากที่สุด นักเรียนทราบได้อย่างไร จงอธิบาย พื้นผิวชนิดที่ 1 เพราะถ้าต้องการให้วัตถุเคลื่อนที่ได้ระยะทางเท่ากันในระยะเวลา 1 นาที จะต้องออกแรงมากกว่า .............................................................................................................................................. ....................................................................... หรือ พื้นผิวชนิดที่ 1 เพราะเมื่อออกแรงเท่ากัน วัตถุบนพื้นผิวชนิดที่ 1 เคลื่อนที่ได้ระยะทางน้อยกว่าพื้นผิวชนิดที่ 2 .............................................................................................................................................. ....................................................................... ที่มา: ข้อสอบ สสวท. ตัวชี้วัด: ว 4.2ป.5/1

  26. 5 นิวตัน 10 นิวตัน ข้อที่ 14 :ถ้าออกแรงพร้อมกัน 10 นิวตัน และ 5 นิวตัน ในทิศ ตรงข้ามกันลากวัตถุก้อนเดิมบนพื้นผิวชนิดที่ 1 ดังภาพ จากข้อมูล วัตถุจะเคลื่อนที่หรือไม่ เพราะเหตุใด ไม่เคลื่อนที่ เพราะจากตาราง เมื่อแรงลัพธ์เท่ากับ 5 นิวตัน วัตถุที่อยู่บนพื้นผิวชนิดที่ 1 จะยังไม่เคลื่อนที่ .............................................................................................................................................. ....................................................................... ที่มา: ข้อสอบ สสวท. ตัวชี้วัด: ว 4.1ป.5/1

  27. ประเด็นในการพิจารณาข้อสอบประเด็นในการพิจารณาข้อสอบ ให้สมาชิกในกลุ่มร่วมกันพิจารณา และเปรียบเทียบ ข้อสอบในแต่ละชุดดังนี้ • ความสอดคล้องกับสาระ มาตรฐาน และตัวชี้วัด • การส่งเสริมให้นักเรียนคิดวิเคราะห์

  28. เปรียบเทียบข้อสอบชุดที่ 1 หยดเทียน วัสดุ

  29. เปรียบเทียบข้อสอบชุดที่ 2 ข้อมูลแสดงอุณหภูมิร่างกายของสัตว์ 4 ชนิด เมื่ออุณหภูมิของอากาศเป็น 40 ๐C และ 10 ๐C เป็นดังนี้ สัตว์เลือดเย็นมีลักษณะอย่างไร จากข้อมูล สัตว์ชนิดใดบ้างเป็นสัตว์เลือดเย็นเพราะเหตุใด

  30. เปรียบเทียบข้อสอบชุดที่ 3 กระดาษ วัสดุที่ติดไฟได้

  31. สรุปแนวทางการสร้างข้อสอบเขียนตอบแบบอธิบายสรุปแนวทางการสร้างข้อสอบเขียนตอบแบบอธิบาย สถานการณ์ - มีข้อมูลเพียงพอและจำเป็นต่อการตอบคำถาม- ชัดเจนและเหมาะสมกับระดับชั้นของผู้เรียน • คำถาม • สอดคล้องกับสถานการณ์ • ชัดเจนและสอดคล้องกับตัวชี้วัด • - เปิดโอกาสให้อธิบายเหตุผล หรือ แสดงวิธีคิด แนวการตอบ - ครอบคลุมหลักการ หรือ แนวคิดที่ถูกต้อง และเป็นไปได้ทั้งหมด

  32. กิจกรรมที่ 2.6 การสร้างข้อสอบเขียนตอบแบบอธิบาย คำชี้แจง : ให้ผู้เข้ารับการอบรมแต่ละคนปฏิบัติ ดังนี้ 1) สร้างหรือเลือกสถานการณ์จากเอกสารในภาคผนวก 1 สถานการณ์ 2) ระบุระดับชั้น สาระ มาตรฐาน และตัวชี้วัด ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในข้อ1 แล้วนำมาสร้างข้อสอบเขียนตอบแบบแสดงวิธีทำหรือเขียนอธิบาย 1 ข้อ พร้อมแนวการตอบ

  33. แบบประเมินรายวัน 3-2-1 • ขอให้ผู้เข้ารับการอบรมเขียน • 3 สิ่งใหม่ที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ • 2 เรื่องที่จะนำไปปรับใช้ในห้องเรียน ของตนเอง • 1 คำถามเกี่ยวกับประเด็นที่ยังไม่เข้าใจหรือสิ่งที่อยากให้วิทยากรอธิบายเพิ่มเติม

More Related