1 / 49

บทที่ 2 พื้นฐานชีววิทยาของพฤติกรรม Biological Foundations of Behavior

บทที่ 2 พื้นฐานชีววิทยาของพฤติกรรม Biological Foundations of Behavior. : กลไกการเกิดพฤติกรรมของมนุษย์แบ่งออกเป็น 3 ระบบ ด้วยกัน ได้แก่ 1) ระบบกล้ามเนื้อ 2) ระบบต่อม 3) ระบบประสาท. ระบบกล้ามเนื้อ ( Muscles). กล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์ มี 3 ชนิด คือ

Download Presentation

บทที่ 2 พื้นฐานชีววิทยาของพฤติกรรม Biological Foundations of Behavior

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 2พื้นฐานชีววิทยาของพฤติกรรม Biological Foundations of Behavior :กลไกการเกิดพฤติกรรมของมนุษย์แบ่งออกเป็น 3ระบบ ด้วยกัน ได้แก่ 1)ระบบกล้ามเนื้อ 2)ระบบต่อม 3)ระบบประสาท

  2. ระบบกล้ามเนื้อ (Muscles) กล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์ มี 3 ชนิด คือ • กล้ามเนื้อลาย(striated or skeletal muscles) • กล้ามเนื้อเรียบ(Smooth or Unstriated muscles) • กล้ามเนื้อหัวใจ(Cardiac muscles)

  3. กล้ามเนื้อลาย(striated or skeletal muscles)  ลักษณะลายๆ ประกอบด้วยใยกล้ามเนื้อที่บางเป็นเส้นยาวๆ เป็นอิสระจากกัน  มีอยู่ในร่างกายของมนุษย์ประมาณ 7,000 มัด  ทำงานภายใต้การควบคุมของระบบประสาทโซมาติกและสมอง ตามเจตนาของมนุษย์  มักอยู่ติดกับกระดูกทำหน้าที่ยืดและหดตัวขณะเคลื่อนไหว

  4. รูปกล้ามเนื้อลาย

  5. กล้ามเนื้อเรียบ(Smooth or Unstriated muscles)  ลักษณะคล้ายกระสวยทอผ้า หัวท้ายเล็กและเรียวป่องตรงกลาง  มักอยู่อวัยวะภายในอันอ่อนนุ่ม เช่น มดลูก รังไข่  ทำงานภายใต้ระบบประสาทอัตโนมัติ

  6. รูปกล้ามเนื้อเรียบ

  7. กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac muscles)  คล้ายกล้ามเนื้อลายแต่ไม่แยกกันเป็นอิสระ อยู่เป็นมัดๆ  อยู่บริเวณหัวใจเท่านั้น  ทำงานภายใต้ระบบประสาทอัตโนมัติ  ทำหน้าที่ประสานการทำงานของหัวใจให้ทำงานมี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

  8. รูปกล้ามเนื้อหัวใจ

  9. ระบบต่อม(Gland Systems) มี 2จำพวก ใหญ่ๆ ได้แก่ 1.ต่อมมีท่อ และ 2)ต่อมไร้ท่อ • ต่อมมีท่อ(Duct glands) ส่งสารเคมีที่ขับออกมา เช่น ต่อมน้ำลาย ต่อมน้ำตา ต่อมน้ำย่อย

  10. 2. ต่อมไร้ท่อ(Ductless glands) มีบทบาทสำคัญในการคงสภาพความคงที่ของสิ่งแวดล้อมในร่างกาย สร้างสารเคมีชื่อว่า “ฮอร์โมน” จะถูกขับสู่สายเลือดหรือน้ำเหลืองโดยตรง เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมไทมัส ต่อมเพศ เป็นต้น

  11. หน้าที่ของต่อมไร้ท่อ • มีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย • มีผลต่อพฤติกรรมและบุคลิกภาพ • ทำงานภายใต้การควบคุมของระบบประสาทอัติโนมัติอย่างเดียว

  12. ต่อมไร้ท่อที่มีความสำคัญทางจิตวิทยาต่อมไร้ท่อที่มีความสำคัญทางจิตวิทยา คือ ต่อมใต้สมองต่อมหมวกไตต่อมเพศ มีความสำคัญทางจิตวิทยา เพราะมีบทบาท ต่อพฤติกรรมเชิงปัญญา พฤติกรรมเชิงสังคมและ อารมณ์ รวมถึงบุคลิกภาพ

  13. 1.ต่อมไทรอยด์ • อยู่ตรงคอหอย แบ่งออกเป็น 2กลีบ ซ้าย/ขวา • ผลิตฮอร์โมน “ไทรอกซิน” (thyroxin)ทำหน้าที่ ในการควบคุมการเผาผลาญอาหารภายในร่างกาย • “ไทรอกซิน” มากเกินไป เรียก “Hyperthyroidism” : น้ำหนักลด เพลีย ใจสั่น การเผาผลาญในร่างกายเร็ว

  14. ต่อมไทรอยด์(ต่อ) • “ไทรอกซิน” น้อยเกินไป เรียก “Hypothyroidism” :หัวใจเต้นช้า ต้านทานอากาศหนาวได้น้อย การเผาผลาญในร่างกายช้า • ต่อมไทรอยด์ จะต้องอาศัย “ธาตุไอโอดีน” ในการผลิตฮอร์โมน หากขาดไอโดดีนจะทำให้เป็น “คอหอยพอก” • นอกจากนั้น ยังผลิตฮอร์โมน“thyrocalcitonin” ทำหน้าที่ ป้องกันไม่ให้ระดับแคลเซี่ยมในเลือดสูงเกินไป

  15. 2.ต่อมพาราไทรอยด์ • ลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ 4 ต่อม อยู่ด้านหลังของต่อมไทรอยด์ • ผลิตฮอร์โมนชื่อ “ พาราทรอโมน” ซึ่งทำหน้าที่ ควบคุมสารประกอบของแคลเซี่ยมและฟอสฟอรัสในเลือดให้ได้สัดส่วนกัน • “พาราทรอโมน” มากเกินไป เรียก “Hyperparathyroidism”

  16. ต่อมพาราไทรอยด์(ต่อ) : จะทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ปวดกระดูก กล้ามเนื้อไม่มีแรง อาจเกิดโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะได้ • “พาราทรอโมน” น้อยเกินไป เรียก “Hypoparathyroidism”” :อาการกล้ามเนื้อกระตุก เกร็ง กระสับกระส่าย เป็นตะคริวที่มือและเท้า เลือดออกง่ายหยุดยาก

  17. 3.ต่อมไทมัส • จะอยู่บริเวณช่วงอก เหนือขั้วหัวใจ • ทำหน้าที่ในการสร้างเม็ดเลือดขาว เพื่อสร้างความต้านทานเชื้อโรคต่างๆที่เข้าสู่ร่างกาย

  18. 4.ต่อมไพเนียล • ลักษณะคล้ายรูปไข่ ฝังอยู่ส่วนกลางของสมอง • ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ คือ “เมลาโทนิน” เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมทางเพศของคนและการเจริญเติบโตตามวัย • หากต่อมไพเนียลถูกทำลาย จะเป็นผลทำให้เป็นหนุ่มเป็นสาวเร็วกว่าวัยอันควร • หากต่อมไพเนียลสร้างฮอร์โมนมากกว่าปกติ จะทำให้การเป็นหนุ่มเป็นสาวช้ากว่าเวลาอันควร

  19. 5.ต่อมในตับอ่อน • เป็นกลุ่มเซลล์ที่ตั้งอยู่หลังกระเพาะอาหารทอดขวางท้องอยู่ แทรกอยู่ในเนื้อตับอ่อนเรียกว่า “Islets of Langerhands” • สร้างฮอร์โมน “อินซูลิน และ กลูคากอน” • “อินซูลิน” ทำหน้าที่ เปลี่ยนน้ำตาลที่เกินความต้องการของร่างกายให้เป็นไขมันเพื่อป้องกันไม่ให้คนเป็นโรคเบาหวาน • “กลูคากอน” ทำหน้าที่ เพิ่มปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดเมื่อร่างกายต้องการหรือขาดน้ำตาล

  20. 5.ต่อมในตับอ่อน(ต่อ) • ถ้า อินซูลิน น้อยกว่าปกติ : จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ไตจะช่วยขับน้ำตาลออกมาภายนอกร่างกายทางปัสสาวะเพื่อลดปริมาณน้ำตาลในเลือด กลายเป็น “โรคเบาหวาน” • ถ้า อินซูลิน มากกว่าปกติ : จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง จะอยู่ในสภาวะที่เรียกว่า “hypoglycemia”จะมีอาการชัก เป็นลมหน้ามืด เวียนศรีษะ อาจถึงหมดสติได้

  21. 6.ต่อมเพศ แบ่งออกเป็น 1.ต่อมเพศชาย2.ต่อมเพศหญิง • ต่อมเพศชาย • กระตุ้นให้อวัยวะเพศชายหรืออัณฑะผลิตตัวอสุจิ • ผลิตฮอร์โมน “แอนโดรเจน และ เทสโตสเตอโรน”จะทำให้เกิดลักษณะเฉพาะของความเป็นชาย เช่น มีหนวด เครา ขน เสียงแตกหนุ่ม เป็นต้น

  22. 6.ต่อมเพศ(ต่อ) 2. ต่อมเพศหญิง • กระตุ้นให้รังไข่ผลิตไข่เพื่อสืบพันธุ์ • ผลิตฮอร์โมน “เอสโตรเจน และ โปรเจสเตอโรน”จะทำให้เกิดลักษณะเฉพาะของความเป็นหญิง เช่น หน้าอก สะโพกผาย เอวคอด มีประจำเดือน เป็นต้น

  23. 1. ต่อมใต้สมองส่วนหน้า 7.ต่อมใต้สมอง : แบ่งออกเป็น 3ส่วน ได้แก่ 1.ส่วนหน้า2.ส่วนกลาง3.ส่วนหลัง  ผลิตฮอร์โมน 6ชนิด ได้แก่GH/TSH/ACTH /LTH/LH/ FSH

  24. 1. GH(Growth hormone): ทำหน้าที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของร่างกายทั่วๆไป ให้มีความเหมาะสมในแต่ละวัย หากมีการหลั่ง GHน้อยกว่าปกติ: จะทำให้ร่างกาย เตี้ยแคระแกรน หากมีการหลั่ง GHมากกว่าปกติ: หากเกิดกับเด็กจะทำให้มีรูปร่างสูงใหญ่ยักษ์ เติบโตผิดคนธรรมดา หากเกิดในผู้ใหญ่จะมีการเติบโตผิดส่วน เรียกว่า “Acromegaly”

  25. 2. TSH(Thyroid stimulating hormone):ทำหน้าที่กระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ให้มีการทำงานเป็นไปโดยปกติ 3. ACTH (Adreno corticotropic hormone):ทำหน้าที่กระตุ้นการขับฮอร์โมนและการเจริญของต่อมหมวกไตส่วนนอก 4. LTH (Luteotropic hormone):ทำหน้าที่กระตุ้นการหลั่งน้ำนมหลังคลอดและพฤติกรรมความเป็นแม่ในเพศหญิง

  26. 2. ต่อมใต้สมองส่วนกลาง 5. LH (Luteinizing hormone):ทำหน้าที่กระตุ้นให้ไข่ตกและสร้างไข่ที่รังไข่ในหญิงและสร้างฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในผู้ชาย 6. FSH (Follicular stimulating hormone):ทำหน้าที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของอัณฑะและรังไข่เพื่อสร้างอสุจิและไข่ :ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมน MSH (Melanocyte stimulating hormone)เพื่อสร้างเม็ดเมลานินให้ผิวเข้มขึ้น

  27. 3.ต่อมใต้สมองส่วนหลัง :ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมน 2 ชนิด • ADH(Antidiuretic hormone): ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นการทำงานของไตเพื่อขับปัสสาวะออกมา • Oxytocin :ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อเรียบ และการทำงานของหลอดเลือดแดง

  28. 7.ต่อมหมวกไต : อยู่บริเวณเหนือไตทั้ง 2ข้าง แบ่งเป็น 2ส่วน คือ • ส่วนใน  สร้างฮอร์โมนAdrenalin ซึ่งทำหน้าที่เพิ่มน้ำตาลในเลือดและกล้ามเนื้อลายให้มีพลังงานมากทำให้เราสามารถยกวัตถุหนักได้เวลาอยู่ในสภาวะตกใจ ตื่นเต้น เครียด  สร้างฮอร์โมนNoradrenalinควบคุมอัตราการเน้นของหัวใจ • ส่วนนอก สร้างฮอร์โมน steroid hormoneทำหน้าที่ควบคุมฮอร์โมนเพศ เช่น เอสโตรเจน และเอนโดรเจน

  29. ระบบประสาท(Nervous system) ประกอบด้วย 2ระบบ ใหญ่ๆ ดังนี้ • ระบบประสาทส่วนกลาง  ไขสันหลัง  สมอง 2. ระบบประสาทส่วนปลาย  ระบบประสาทโซมาติค  ระบบประสาทอัตโนมัติ

  30. องค์ประกอบพื้นฐานของระบบประสาทองค์ประกอบพื้นฐานของระบบประสาท • เซลล์ประสาท(Neuron):เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของประสาทในร่างกายมีเซลล์ประสาทนับล้านเซลล์ซึ่งมีหน้าที่แตกต่างกัน หน้าที่ของเซลล์ประสาท • ทำหน้าที่รับความรู้สึกไปยังสมองและไขสันหลัง • ทำหน้าที่เป็นตัวสั่งการโดยนำข้อมูลจากสมองและไขสันหลังส่งไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย

  31. “ประเภทของเซลล์ประสาท”“ประเภทของเซลล์ประสาท” • เซลล์ประสาทรับความรู้สึก(sensory neurons) : นำข้อมูลจากอวัยวะรับสัมผัสไปยังสมองและไขสันหลัง • เซลล์ประสาทมอเตอร์(motor neurons): นำข้อมูลจากสมองและไขสันหลังไปยังกล้ามเนื้อและต่อมเพื่อแสดงการเคลื่อนไหว • เซลล์ประสาทเชื่อมโยง(interneurons): เป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างเซลล์รับความรู้สึกและเซลล์ประสาทมอเตอร์

  32. 1 เซลล์ประสาท ประกอบด้วย เดนไดรท์(Dendrites): เป็นเส้นใยงอกจากตัวเซลล์ อาจมีหลายเส้นในแต่ละเซลล์ประสาท ทำหน้าที่ รับกระแสประสาทเข้าสู่ตัวเซลล์ แอกซอน(Axon): เป็นเส้นใยเดี่ยวๆ งอกออกจากตัวเซลล์ทำหน้าที่นำกระแสประสาทจาก cell bodyส่งไปยังเซลล์ประสาทที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งจะมีเดนไดรท์ของเซลล์ประสาทอื่นออกมารับข้อมูลข่าวสาร ตัวเซลล์(Cell body): มีนิวเคลียสซึ่งทำหน้าที่รักษาสภาพการคงชีวิตของเซลล์

  33. องค์ประกอบพื้นฐานของระบบประสาท(ต่อ)องค์ประกอบพื้นฐานของระบบประสาท(ต่อ) 2. เส้นประสาท(Nerve):กลุ่มของแอกซอนและเดนไดรท์รวมตัวเป็นมัดเดียวกัน เรียกว่า “เส้นประสาท 1 เส้น” 3. เกลียเซลล์(Glial cells):เป็นเซลล์เล็กๆ อยู่รอบเซลล์ประสาท ทำหน้าที่ ลำเลียงอาหารให้เซลล์ประสาทและเส้นเลือด 4. ไซแนปส์(Synapse):ช่องว่างระหว่างเซลล์ประสาทกับเซลล์ประสาท ทำหน้าที่ในการส่งข่าวสารข้อมูลไปยังเซลล์ประสาทอื่นๆเพื่อให้ได้รับรู้ข้อมูลได้ทั่วถึงกัน 5. กระแสประสาท(Neural impulses): เป็นตัวส่งข่าวสารในรูปของกระแสประสาท

  34. ระบบประสาทส่วนกลางcentral nervous systemหรือ cns ประกอบด้วย “ไขสันหลัง” กับ “สมอง” หน้าที่ที่สำคัญของไขสันหลัง • รับข้อมูลด้านความรู้สึกไปยังสมองและกล้ามเนื้อ • ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย • แสดงปฏิกิริยาสะท้อนอัตโนมัติ

  35. “สมอง”ประกอบด้วย 3ส่วนใหญ่ๆ ดังนี้ • สมองส่วนหน้า • สมองส่วนกลาง • สมองส่วนหลัง

  36. สมองส่วนหน้า แบ่งได้เป็น 3ส่วน 1. Thalamus 2. Hypothalamus 3. ซีรีบรัม

  37. 1.ทาลามัส(Thalamus) • อยู่เหนือสมองส่วนกลางมีรูปร่างคล้ายไข่ ทำหน้าที่เสมือนเป็นสถานีจำแนกประสาทไปยังศูนย์ต่างๆ ที่ cerebrum 2.ไฮโปทาลามัส(Hypothalamus) • เป็นเนื้อเยื่อขนาดเท่าน้ำตาลก้อน อยู่ใต้ทาลามัส มีหน้าที่สำคัญ 2ประการ

  38. ไฮโปทาลามัส(Hypothalamus)(ต่อ) ควบคุมการปรับตัวของร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุล เช่นควบคุมการหายใจ ความดันโลหิต สมดุลของน้ำในร่างกาย ความหิวกระหาย การนอนหลับ ควบคุมการทำงานของต่อมใต้สมองและพฤติกรรมเรื่องเพศ ประสานการทำงานของต่อมเพศ

  39. 3. ซีรีบรัม(Cerebrum) : มีความสำคัญต่อการรับรู้ของมนุษย์ แบ่งหน้าที่การทำงานออกเป็น 4ส่วน • ส่วนหน้า:ทำหน้าที่รับรู้ด้านการคิด เช่น ความมีเหตุผล ความจำ การเรียนรู้ การวิเคราะห์ • ส่วนกลาง:ทำหน้าที่รับรู้สัมผัสของร่างกาย หนาว ร้อน เย็น • ส่วนข้าง: ทำหน้าที่รับรู้การได้ยิน เช่น เสียงสูง ต่ำ • ส่วนหลัง:ทำหน้าที่รับรู้ด้านการมองเห็น

  40. สมองส่วนกลาง ตั้งอยู่ระหว่างสมองส่วนกลางและสมองส่วนหน้า ทำหน้าที่สำคัญ คือ ควบคุมการมองเห็นและการได้ยิน เช่น ความสามารถในการกลอกตาตามวัตถุที่เคลื่อนที่

  41. สมองส่วนหลัง ประกอบด้วย 4ส่วน 1. เมดุลลา 2. ซีรีเบลลัม 3. พอนส์ 4. เรติคิวลาร์ ฟอร์เมชั่น .

  42. 1. เมดุลลา(Medulla) : ทำหน้าที่ควบคุมการมีชีวิต เช่น การควบคุมการหายใจ การไหลเวียนโลหิต และการเต้นของหัวใจ 2. ซีรีเบลลัม(Cerebellum) : ทำหน้าที่ควบคุมความตึงตัวของกล้ามเนื้อลาย ควบคุมการทรงตัวของร่างกายให้สมดุล รวมถึงควบคุมให้กล้ามเนื้อเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วดี

  43. 3. พอนส์(Pons) : ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างซีรีเบลลัมซีกซ้าย-ขวา เชื่อมสู่สมองส่วนหน้า และยังทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายด้วย 4. เรติคิวลาร์ ฟอร์เมชั่น(Reticular formation) : ทำหน้าที่ควบคุมการหลับการตื่น เหมือนสวิทซ์เปิดรับความรู้สึก และเป็นศูนย์กลางการจัดลำดับก่อนหลังของข้อมูลในการรับรู้ข่าวสารจากภายนอก

  44. ระบบประสาทส่วนปลายperipheral nervous systemหรือ PNS แบ่งเป็น 2ประเภท • ระบบประสาทโซมาติค • ระบบประสาทอัตโนมัติ ระบบประสาทซิมพาเธติค ระบบประสาทพาราซิมพาเธติค

  45. 1. ระบบประสาทโซมาติค …ทำหน้าที่… รับความรู้สึกผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5เข้าสู่ไขสันหลังและสมอง ทำให้เกิดความรู้สึกต่างๆ เช่น เจ็บ ร้อน หนาว ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อลาย

  46. 2. ระบบประสาทอัตโนมัติ : ทำหน้าที่เป็นระบบสั่งการ มีบทบาทสำคัญในการเกิดปฏิกิริยาทางอารมณ์ ...ประกอบด้วยเส้นประสาท 2ชุด… ระบบประสาทซิมพาเธติค: ควบคุมการทำงานเมื่ออยู่ในสภาวะเครียดหรือภาวะฉุกเฉิน ซึ่งจะมีการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาล อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต ม่านตาขยาย

  47. ระบบประสาทพาราซิมพาเธติค: จะทำงานเมื่อคนเราอยู่ในสภาวะผ่อนคลาย เพื่อเก็บรักษาพลังงานไว้ เช่น เมื่อนอนฟังเพลงเบาๆ ดูโทรทัศน์ อัตราการเต้นของหัวใจจะปกติ ต่อมน้ำลายปกติ

  48. ซิมพาเธติค รูม่านตาขยาย ยับยั้งการหลั่งน้ำลาย กระตุ้นหัวใจเต้นเร็วขึ้น หลอดลมขยาย ขับฮอร์โมนอะดรีนาลีนและนออะดรีนาลีน หักห้ามการปัสสาวะ พาราซิมพาเธติค รูม่านตาหรี่ลง กระตุ้นให้น้ำลายไหล หัวใจเต้นช้าลง กระตุ้นน้ำย่อยและอินซูลิน กระตุ้นน้ำดี กระเพาะปัสสาวะหดตัว หลอดลมตีบ เปรียบเทียบการทำงานอวัยวะส่วนต่างๆในร่างกายเมื่อระบบสาททั้ง 2ชุดทำงาน

  49. “จบบทที่ 2”

More Related