1 / 165

ดร.นภาพร แก้วดวงดี (Room 951)

ความหลากหลายทางชีวภาพ. ดร.นภาพร แก้วดวงดี (Room 951) โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. Email: nkaewdoungdee@yahoo.com. ความหลากหลายทางชีวภาพ. ความหลากหลายทางชีวภาพของกลุ่มพืช. ความหลากหลายทางชีวภาพของกลุ่มสัตว์.

ita
Download Presentation

ดร.นภาพร แก้วดวงดี (Room 951)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความหลากหลายทางชีวภาพความหลากหลายทางชีวภาพ ดร.นภาพร แก้วดวงดี(Room 951) โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา Email: nkaewdoungdee@yahoo.com

  2. ความหลากหลายทางชีวภาพความหลากหลายทางชีวภาพ

  3. ความหลากหลายทางชีวภาพของกลุ่มพืชความหลากหลายทางชีวภาพของกลุ่มพืช

  4. ความหลากหลายทางชีวภาพของกลุ่มสัตว์ความหลากหลายทางชีวภาพของกลุ่มสัตว์

  5. ความหมายของความหลากหลายทางชีวภาพความหมายของความหลากหลายทางชีวภาพ "ความหลากหลายทางชีวภาพ" หรือ "BiologicalDiversity"อาจเรียกสั้น ๆ ว่า"Biodiversity"เกิดจากการผสมคำ 2 คำเข้าด้วยกัน คือ "Biological"หมายถึง "ชีวภาพ" หรือสิ่งมีชีวิต กับ "Diversity"ซึ่งหมายถึง ความหลากหลาย ดังนั้น Biological Diversityจึงหมายถึง ความมากมาย หลากหลายของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ

  6. ความหมายของความหลากหลายทางชีวภาพความหมายของความหลากหลายทางชีวภาพ • หมายความถึง สิ่งมีชีวิตในโลกมีหลากหลายชนิดซึ่งรวมถึงพืช สัตว์ จุลินทรีย์ สารพันธุกรรมและระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิต ตามประวัติศาสตร์ทางวิวัฒนาการพบว่า สิ่งมีชีวิตหลายชนิดมีวิวัฒนาการมาเป็นเวลานานนับพันๆปีโดยปกติแล้วความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตมีกลไกการนำไปสู่ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต

  7. ความหมายของความหลากหลายทางชีวภาพความหมายของความหลากหลายทางชีวภาพ

  8. ความหลากหลายทางชีวภาพความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ความหลากหลายทางพันธุกรรม (Genetic Diversity) ความหลากหลายของชนิด (Species Diversity) ความหลากหลายของระบบนิเวส (Ecological Diversity)

  9. ความหลากหลายทางพันธุกรรม (genetic diversity) • ได้แก่ ความหลากหลายขององค์ประกอบทางพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิต ซึ่งแสดงออกด้วยลักษณะ ทางพันธุกรรมต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นโดยทั่วไปทั้งภายในสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันและระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน ทุกวิธี

  10. สาเหตุของความแปรผันทางพันธุกรรมสาเหตุของความแปรผันทางพันธุกรรม

  11. ความหลากหลายของชนิดหรือชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต(species diversity) • ความหลากหลายแบบนี้วัดได้จากจำนวนชนิดของสิ่งมีชีวิต และจำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด รวมทั้งโครงสร้างอายุและเพศของประชากรด้วย • สปีชีส์ คือ กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่เป็นประชากรเดียวกันผสมพันธุ์กันแล้วได้ลูกหลานสืบทอดต่อไป

  12. สิ่งมีชีวิตสปีชีส์เดียวกันจะมีลักษณะเฉพาะตัวที่ต่างไปจากสปีชีส์อื่นแต่ความหลากหลายภายในสปีชีส์เดียวกันก็ยังมีอยู่เป็นต้นว่า...สิ่งมีชีวิตสปีชีส์เดียวกันจะมีลักษณะเฉพาะตัวที่ต่างไปจากสปีชีส์อื่นแต่ความหลากหลายภายในสปีชีส์เดียวกันก็ยังมีอยู่เป็นต้นว่า... • ความแตกต่างระหว่างสายพันธุ์ เช่น คนไทย -คนญี่ป่น-คนอังกฤษ • ความแตกต่างระหว่างเพศ เช่น เป็ดมัลลาร์ดเพศผู้เพศเมีย

  13. สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกัน แต่มีความแตกต่างทางพฤติกรรมและทางพันธุกรรมมาก จะไม่จัดเป็นสปีชีส์เดียวกัน ดังที่ชาร์ลส์ ดาร์วิน พบนกจับแมลง 3 ชนิดมีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่จะมีการผสมพันธุ์แยกเฉพาะในแต่ละชนิด เนื่องจากแต่ละชนิดมีพฤติกรรมและเสียงร้องเป็นเอกลักษณ์เฉพาะในการผสมพันธุ์ นก 3 ชนิดนี้จึงจัดเป็นสัตว์คนละสปีชีส์กัน

  14. บางกรณี สิ่งมีชีวิตแต่ต่างสปีชีส์ซึ่งมีความใกล้ชิดกันสามารถผสมพันธุ์กันได้สุนัขลูกผสม ซึ่งส่งผลให้เกิดสิ่งมีชีวิตหลายชนิดในพืชและสัตว์

  15. การเกิดสปีชีส์ใหม่ • สิ่งมีชีวิตสปีชีส์เดียวกันเมื่อแบ่งกันอยู่เป็นกลุ่มย่อยๆด้วยสาเหตุจากสภาพภูมิศาสตร์หรือเหตุใดๆก็ตามแล้ว มีผลให้เกิดการผสมพันธุ์เฉพาะภายในกลุ่ม กรณีนี้ ลักษณะของสิ่งมีชีวิตในประชากรแต่ละกลุ่มจะเปลี่ยนไปจนกลายเป็นสปีชีส์ใหม่ขึ้น เมื่อกลับมารวมกันอีกครั้งก็ไม่ผสมพันธุ์กัน หรือผสมพันธ์อาจได้ลูกที่เป็นหมัน • ไม่สามารถสืบลูกหลานร่วมกันได้อีก ดังภาพในหน้าถัดไป

  16. นักชีววิทยาจำแนกสิ่งมีชีวิตเป็น 5 กลุ่มใหญ่ หรือ 5 อาณาจักร

  17. อาณาจักรโมเนรา(Kingdom Monera)ได้แก่ สิ่งมีชีวิตประเภทสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน และแบคทีเรีย • อาณาจักรโปรโตซัว(Kingdom Protista)ได้แก่ สิ่งมีชีวิตประเภทสาหร่าย (algae)โปรโตซัว และราเมือก • อาณาจักรเห็ดรา(Kingdom Fungi) ได้แก่ สิ่งมีชีวิตประเภทเห็ด รา และยีสต์ • อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)ได้แก่ สิ่งมีชีวิตประเภทพืช • อาณาจักรสัตว์(Kingdom Animalia)ได้แก่ สิ่งมีชีวิตประเภทสัตว์

  18. ความหลากหลายทางชีวภาพของกลุ่มพืชความหลากหลายทางชีวภาพของกลุ่มพืช

  19. ความหลากหลายทางชีวภาพของกลุ่มสัตว์ความหลากหลายทางชีวภาพของกลุ่มสัตว์

  20. ความหลากหลายทางชีวภาพของไลเคนความหลากหลายทางชีวภาพของไลเคน

  21. ความหลากหลายทางชีวภาพของแพลงก์ตอนความหลากหลายทางชีวภาพของแพลงก์ตอน

  22. ความหลากหลายทางชีวภาพของแมลงความหลากหลายทางชีวภาพของแมลง

  23. ความหลากหลายของระบบนิเวศ(ecological diversity) • ระบบนิเวศแต่ละระบบเป็นแหล่งของถิ่นที่อยู่อาศัย (habitat) ของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ซึ่งมีปัจจัยทางกายภาพและชีวภาพที่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดในระบบนิเวศนั้นสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดผ่านกระบวนการวิวัฒนาการในอดีต และมีขีดจำกัดที่จะดำรงอยู่ในภาวะความแปรปรวนของสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความหลากหลายทางพันธุกรรมภายในประชากร และความรุนแรงของความแปรปรวนของสิ่งแวดล้อมด้วย

  24. ความสำคัญ • ประโยชน์ทางตรง • 1.เป็นอาหารของมนุษย์ และสัตว์ เช่น หน่อไม้ เห็ด ผักต่างๆ • 2.เป็นคลังยา เช่น พืชสมุนไพร • 3.เป็นคลังเศรษฐกิจ เช่น เก็บของป่ามาขาย • 4.เป็นคลังเอนกประสงค์ เช่น สร้างบ้านเรือน เฟอร์นิเจอร์

  25. ความสำคัญ • ประโยชน์ทางอ้อม • 1.เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร • 2.เป็นแหล่งพอกอากาศ คือ ต้นไม้ช่วยผลิตก๊าซอออกซิเจน • 3.เป็นกำแพงธรรมชาติ คือ รากของต้นไม้ป้องกันการพังทลายของดิน • 4.เป็นศูนย์เรียนรู้ธรรมชาติและสิ่งมีชีวิต • 5.เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ

  26. สาเหตุของความหลากหลายทางพันธุกรรมสาเหตุของความหลากหลายทางพันธุกรรม • มิวเตชั่นเป็นสาเหตุเบื้องต้นของความหลากหลายทางพันธุกรรม ซึ่งเมื่อผนวกกับปัจจัยเริ่มต่างๆ ก็ทำให้เกิดความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศได้ นอกจากนี้เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ อาทิ การถ่ายทอดหน่วยพันธุกรรมให้แก่เซลล์โดยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเซลล์ และเทคโนโลยีระดับโมเลกุล ก็เป็นวิธีการ รั้งความหลากหลายของกลุ่มหน่วยพันธุกรรมได้เช่นเดียวกัน

  27. สาเหตุของความหลากหลายของชนิดของสิ่งมีชีวิตสาเหตุของความหลากหลายของชนิดของสิ่งมีชีวิต • การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่สามารถสืบพันธุ์ได้เฉพาะภายในกลุ่มของตนเอง แต่ไม่สามารถถ่ายทอดพันธุกรรมให้กับสิ่งมีชีวิตต่างชนิดได้ ปัจจัยสำคัญของการเกิดสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ จึงได้แก่การพัฒนาระบบและกลไกการสืบพันธุ์โดยผ่านการคัดเลือกตามธรรมชาติ ซึ่งจะคัดพันธุ์ที่ด้อยกว่าในด้านการสืบทอดลูกหลานออกไป

  28. สาเหตุของความหลากหลายของระบบนิเวศสาเหตุของความหลากหลายของระบบนิเวศ • ระบบนิเวศที่ยั่งยืนมักจะผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงแทนที่มาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน จนกระทั่งระบบนั้นมีกลไกทั้งทางชีวภาพและกายภาพที่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้ดี ซึ่งจัดว่าเป็นระบบนิเวศในภาวะสมดุล คำว่า “สมดุล” ในที่นี้ หมายถึง ภาวะที่ระบบนิเวศสามารถปรับตัวเข้าภาวะเดิมได้เมื่อประสบกับการเปลี่ยนแปลง

  29. การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ • 1.การนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์มากเกินไป • 2.การค้าขายสัตว์และพืชป่าแบบผิดกฎหมาย • 3.การรบกวนแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติและระบบนิเวศ • 4.การสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัยเนื่องจากการสร้างเขื่อน • 5.การล่าสัตว์ ทำให้สัตว์สูญพันธุ์ • 6.ภาวะมลพิษต่างๆ

  30. สาเหตุของการสูญเสียความหลากหลายสาเหตุของการสูญเสียความหลากหลาย

  31. การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ • 1. จัดระบบนิเวศให้ใกล้เคียงตามธรรมชาติโดยให้คงความหลากหลายทางชีวภาพไว้มากที่สุด • 2. จัดให้มีศูนย์อนุรักษ์หรือพิทักษ์สิ่งมีชีวิตนอกถิ่นกำเนิด เพื่อเป็นที่พักพิงชั่วคราวที่ปลอดภัย ก่อนนำกลับไปสู่ธรรมชาติ • 3. ส่งเสริมการเกษตรแบบไร่นาสวนผสม เพื่อให้มีพืชและสัตว์หลากหลายชนิดมาอาศัยอยู่ร่วมกัน ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพได้

  32. สรุป • ความหลากหลายทางชีวภาพมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตมาก ดังนั้นจึงต้องมีการรักษาสมดุลของธรรมชาติ โดยใช้มาตรการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการพัฒนาโครงการใดๆ ควรเป็นการพัฒนาแบบยั่งยืน โดยมีการดำเนินการอย่างรัดกุม รอบคอบไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อตนเอง ทั้งทางตรงและทางอ้อม

  33. การจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต อนุกรมวิธาน (taxonomy) ซึ่งเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการจำแนกประเภทของสิ่งมีชีวิตให้เป็นหมวดหมู่ (classification) การตรวจสอบสิ่งมีชีวิต (identification) และการกำหนดชื่อตามหลักเกณฑ์สากล (nomenclature) ให้กับหมวดหมู่และชนิดของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ

  34. การจัดจำแนกหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิตการจัดจำแนกหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต การจัดจำแนกหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต มี 3 วิธี คือ การจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตแบบผิวเผิน (artificial system) การจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตตามลักษณะทางพันธุกรรม(phylogenetic system) การจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตตามลักษณะทางธรรมชาติ(natural classification)

  35. หลักเกณฑ์ทั่วไปที่ใช้ในการจำแนกสิ่งมีชีวิตหลักเกณฑ์ทั่วไปที่ใช้ในการจำแนกสิ่งมีชีวิต พิจารณาโครงสร้างภายนอกและภายใน พิจารณาถึงความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต พิจารณาแบบแผนการเจริญของตัวอ่อน ตั้งแต่แรกเริ่ม พิจารณากระบวนการทางชีวเคมีและสรีรวิทยา พิจารณาการแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์และพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต

  36. ลำดับการจำแนกสิ่งมีชีวิตลำดับการจำแนกสิ่งมีชีวิต • Kingdom • Phylum or Division • Class • Order • Family • Genus • species

  37. การกำหนดชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตการกำหนดชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต • ค.ศ. 1758Carlorus Linnaeus บิดาแห่งวิชาอนุกรมวิธาน (binomial nomenclature) กุหลาบ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rosarubra คำว่า rubra หมายถึง สีแดง พริกไทย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Piper nigrum คำว่า nigrum หมายถึง สีดำ

  38. ไวรัส (VIRUS) ไวรา (Kingdom Vira) มีขนาด 0.01-0.3 ไมครอน อนุภาค (particle)หรือไวริออน (virion) • มีโครงสร้างที่ยังไม่จัดว่าเป็นเซลล์เรียกว่า อนุภาค • ดำรงชีพแบบปรสิต

  39. การจำแนกชนิดของสิ่งมีชีวิตการจำแนกชนิดของสิ่งมีชีวิต • ปัจจุบันมีสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการจำแนกชนิดประมาณ 2 ล้านชนิด โดยจำแนกออกเป็นอาณาจักร (Kingdom) ต่างๆ กันถึง 5 อาณาจักร ซึ่งเป็นระบบที่นิยมกันมากที่สุดในปัจจุบัน

  40. การจำแนกประเภททำเพื่ออะไรการจำแนกประเภททำเพื่ออะไร • เพื่อความสะดวกในการค้นคว้าหาข้อมูล เช่นเดียวกับการค้นหาหนังสือในห้องสมุดสักเล่ม หากเจ้าหน้าที่จัดไว้ให้เป็นระบบจะค้นคว้าได้อย่างรวดเร็ว • เพื่อแสดงความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ชีวิตทุกชีวิตย่อมมีวิวัฒนาการ การจัดหมวดหมู่ในปัจจุบัน จะยึดหลักวิวัฒนาการทั้งสิ้น การรู้จักวิวัฒนาการ จะช่วยให้หาความใกล้เคียงของชนิดสิ่งมีชีวิตได้

More Related