1 / 57

ระบบเครือข่าย Computer Networking

ระบบเครือข่าย Computer Networking. ระบบเครือข่าย. คอมพิวเตอร์สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานด้านการสื่อสารระหว่างกันได้ เช่นเดียวกันกับเครื่องมืออื่นเช่น โทรศัพท์ มือถือ เพจเจอร์ เป็นต้น

iren
Download Presentation

ระบบเครือข่าย Computer Networking

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระบบเครือข่าย Computer Networking

  2. ระบบเครือข่าย • คอมพิวเตอร์สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานด้านการสื่อสารระหว่างกันได้ เช่นเดียวกันกับเครื่องมืออื่นเช่น โทรศัพท์ มือถือ เพจเจอร์ เป็นต้น • เราสามารถนำคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องมาเชื่อมต่อกัน เพื่อสามารถใช้สื่อสารระหว่างกันได้ และยังได้รับประโยชน์อื่นอีกมากมาย

  3. Receiving device Sending device Communication Channel Communication Device Communication Device Communication การสื่อสารข้อมูลเป็นการรับ-ส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จากต้นทางไปยัง ปลายทางผ่านสื่อหรือสายนำสัญญาณ (Communication Channel) ซึ่ง อาจเป็นสายเคเบิลหรืออุปกรณ์ไร้สาย

  4. การใช้งานในระบบเครือข่ายUse of Communication • E-Mail • Voice Mail • Fax • Smart Phones • Instant Messaging • Telecommuting • Video Conferencing • Groupware • Global Positioning System • Bulletin Board System • The Internet ( WWW, E-Commerce, Telephony)

  5. ประโยชน์ที่ได้รับจากระบบเครือข่ายประโยชน์ที่ได้รับจากระบบเครือข่าย Simultaneous Access ผู้ใช้หลายคนสามารถใช้ข้อมูลจากที่เดียวกันได้ Shared Peripheral Devices การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน

  6. Personal Communication การสื่อสารระหว่างบุคคล Personal Communication: Video Conferencing การสื่อสารในกลุ่มผู้ใช้ที่อยู่ต่างสถานที่กัน โดยได้ทั้งภาพและเสียง

  7. อุปกรณ์พื้นฐานในการเชื่อมโยงระบบเครือข่ายอุปกรณ์พื้นฐานในการเชื่อมโยงระบบเครือข่าย • การ์ดแลน (Network Interface Card หรือ NIC) ใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่าย หน้าที่ควบคุมการรับ-ส่งข้อมูล ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล • สื่อหรือสายนำสัญญาณสำหรับการเชื่อมโยงเครือข่าย (Link Media, Communication Channel) เช่น สายเคเบิล หรือสายแลนชนิดต่างๆ หรือการเชื่อมโยงแบบไร้สาย • ซอฟต์แวร์ในการสื่อสาร เช่น ระบบปฏิบัติการเครือข่ายและApplication SW • อุปกรณ์เสริมอื่นๆ เช่น Hub, Switch, Router,โมเด็มและอื่นๆ

  8. อุปกรณ์พื้นฐานในการเชื่อมโยงระบบเครือข่ายอุปกรณ์พื้นฐานในการเชื่อมโยงระบบเครือข่าย

  9. ชนิดของระบบเครือข่าย ชนิดของระบบเครือข่าย • LAN • MAN • WAN • Internet

  10. LAN (Local Area Network) เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกัน ในระยะใกล้ๆ เช่น ภายในห้องเดียวกัน ชั้นเดียวกัน หรือ อาคารเดียวกัน

  11. MAN (Metropolitan Area Network) เป็นเครือข่ายในเขตเมือง ครอบคลุมพื้นที่ ในอำเภอ หรือในจังหวัดเดียวกัน อาจเป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ท้องถิ่นหรือ LANs ในเขตเมืองขององค์กรเข้าด้วยกัน เช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสาขาต่างๆในเขตเมืองขององค์กรเข้าด้วยกันเพื่อการสื่อสารและแบ่งปันข้อมูลระหว่างสาขาในองค์กร

  12. WAN (Wide Area Network) เป็นเครือข่ายวงกว้าง โดยทั่วไป WAN เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายขนาดเล็กหรือ LANs ตั้งแต่สองเครือข่ายย่อยหรือมากกว่าเข้าด้วยกัน โดยใช้สายส่งข้อมูลความเร็วสูงครอบคลุมพื้นที่วงกว้าง (พื้นที่กว้างใหญ่กว่า MAN) หรือเป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่หลายๆจังหวัดภายในประเทศหรือระหว่างประเทศก็ได้ เช่น บริษัทที่มีสาขาตั้งอยู่ตามจังหวัดต่างๆ หรืออาจมีสาขาที่ต่างประเทศด้วย สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายของทุกสาขาเข้าด้วยกันผ่านเครือข่าย WAN เพื่อให้สามารถส่งข้อมูลและสื่อสารกันได้

  13. Wan (Wide Area Network)

  14. Internet (Internetworking) • เป็นระบบเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจจะเป็นการนำเอา LAN MAN หรือ WAN มาเชื่อมต่อกันครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลก

  15. ชนิดของ LAN 1. Peer-to-Peer หรืออาจเรียกว่า “เวิร์คกรุ๊ป” (Workgroup) มีลักษณะคือ เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในระบบมีสิทธิในการร้องขอข้อมูลหรือบริการจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆในเครือข่ายเท่าเทียมกัน และในขณะเดียวกันก็พร้อมที่จะส่งข้อมูลหรือรับคำร้องขอด้วยเช่นเดียวกัน เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายขนาดเล็ก โดยทั่วไปควรเชื่อมต่อกันไม่เกิน 10 เครื่อง โดยที่ทุกเครื่องในเครือข่ายมีความสำคัญเท่ากันหมด

  16. Peer-to-Peer Network - เหมาะกับระบบขนาดเล็กแผนกเล็กๆ หรือองค์กรขนาดเล็กที่ต้องการใช้ทรัพยากรร่วมกันและแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน

  17. Peer-to-Peer Network ข้อดี คือ – ง่ายในการติดตั้งทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ - ใช้งบประมาณลงทุนด้านระบบปฏิบัติการต่ำ - ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาระบบต่ำ ข้อเสีย คือ - มีประสิทธิภาพและความเร็วค่อนข้างต่ำ เนื่องจากมีการใช้ข้อมูลและทรัพยากรร่วมกัน ทำให้สมรรถนะของเครื่องและระบบต่ำลง - มีข้อจำกัดเรื่องขนาดของเครือข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายมีขนาดจำกัด หากเพิ่มจำนวนคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากขึ้น ประสิทธิภาพของระบบจะต่ำลง - ข้อมูลมีความปลอดภัยต่ำ

  18. ชนิดของ LAN 2. Client/Server Networks เป็นชนิดของเครือข่ายที่ได้รับความนิยมใช้กันแพร่หลาย มีการแบ่งแยกหน้าที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละประเภทออกจากกันอย่างชัดเจน โดยมีลักษณะคือ ในระบบเครือข่ายจะมีคอมพิวเตอร์หลักเป็นศูนย์กลางของระบบ เรียกว่า เครื่องแม่ข่าย หรือ เซิร์ฟเวอร์ (Server) ทำหน้าที่ดูแลจัดการเครือข่าย และให้บริการแก่คอมพิวเตอร์ผู้ใช้บริการอื่นๆที่เชื่อมต่อกับระบบซึ่งเรียกว่า เครื่องลูกข่าย หรือ ไคลเอนต์

  19. Client/Server Networks • คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายจะแบ่งปันการประมวลผลและการทำงานกับหน่วยความจำสำรอง (Storage) กับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ผู้ให้บริการ • Server: ผู้ให้บริการด้านต่างๆ เช่นไฟล์ เครื่องพิมพ์ Client: ผู้ขอใช้บริการจาก Server • ข้อเสีย คือ - การเชื่อมโยงและการติดตั้งเครือข่ายทำได้ยากกว่า - ต้นทุนค่าระบบปฏิบัติการสูงกว่า - ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาระบบสูง

  20. Client/Server Networks • ข้อดี คือ - ระบบมีประสิทธิภาพการทำงานสูงกว่าเครือข่ายแบบ Peer-to-Peer และโดยทั่วไปจะมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลจัดการระบบเครือข่าย - สามารถขยายขนาดของระบบหรือเพิ่มจำนวนคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายได้ไม่จำกัด จึงสามารถรองรับการเติบโตขององค์ขนาดใหญ่ได้ดี - มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ดีกว่าเครือข่ายแบบ Peer-to-Peer

  21. Client-Server Network Client ขอบริการจาก Server Server ให้บริการและส่งผลลัพธ์กลับไปยัง Client

  22. Client-Server

  23. ข้อมูลบนระบบเครือข่ายจะถูกแบ่งเป็นส่วนย่อย (Packet) แล้วส่งไปยังปลายทาง แล้วที่ปลายทางคอมพิวเตอร์จะทำการรวม Packet ที่ได้รับมาประกอบกลับรวมกันเป็นข้อมูลเดิม • การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ (ซึ่งอาจต่างชนิดกัน) สามารถเข้าใจกันได้ทุกเครื่องโดยใช้ภาษาหรือกฎเดียวกันหมดเรียกว่า Protocol เช่น TCP/IP IPX/SPX และ NetBEUI

  24. อุปกรณ์เพิ่มเติมในเครือข่ายอุปกรณ์เพิ่มเติมในเครือข่าย

  25. Hub ฮับมักจะถูกใช้เป็นอุปกรณ์ศูนย์กลางการสื่อสารหรือการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์จำนวนมากภายใน LAN

  26. Hub • ฮับแต่ละรุ่นจะมีจำนวนพอร์ต (Port) ที่ใช้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกัน การทำงานของฮับคือเมื่อมีเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ส่งข้อมูลเข้ามายังฮับ ฮับทำหน้าที่นำสัญญาณที่ได้รับจากแต่ละพอร์ตมาทำการขยายหรือทวนสัญญาณแล้วส่งต่อไปยังพอร์ตอื่นๆที่เหลือทุกพอร์ต เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆที่ได้รับข้อมูลต้องตรวจสอบส่วนหัว (Header) ของข้อมูล ถ้าข้อมูลถูกระบุว่าส่งมาถึงตนเองจึงรับเข้าไป แต่ถ้าไม่ใช่ข้อมูลของเครี่องตนก็ไม่ต้องรับข้อมูลและทิ้งไป

  27. Switch • อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมโยงสัญญาณของอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายคล้ายฮับแต่มีความฉลาดกว่าฮับ และใช้สำหรับเชื่อมต่อเครือข่ายย่อย (LANs) หลาย ๆ เครือข่ายเข้าด้วยกันได้

  28. Switch • การทำงานของสวิตซ์คือ เมื่อมีเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ส่งข้อมูลเข้ามายังสวิตซ์ สวิตซ์จะรับข้อมูลจากพอร์ตผู้ส่งดังกล่าว ตรวจสอบที่อยู่ผู้รับที่ระบุในส่วนหัวของข้อมูล แล้วส่งออกไปยังอีกพอร์ตหนึ่งซึ่งเป็นพอร์ตที่เชื่อมต่อไปยังเครื่องผู้รับเท่านั้น โดยจะไม่ส่งข้อมูลออกไปยังเครื่องอื่นหรือเครือข่ายย่อยอื่นที่ไม่ใช่เครือข่ายของเครื่องผู้รับ ทำให้ลดปัญหาการจราจรคับคั่งของเครือข่ายโดยรวมได้

  29. Router • เราเตอร์ (Router) เป็นอุปกรณ์เครือข่ายที่มีความฉลาด ทำหน้าที่เชื่อมโยงระบบเครือข่ายเข้าด้วยกัน โดยสามารถเชื่อมต่อ LAN ที่ต่างชนิดกันได้ เช่น Ethernet และ Token-ring • เราเตอร์มีหน้าที่สำคัญคือ กำหนดหรือเลือกเส้นทางในการรับ-ส่งข้อมูลจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่งหรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

  30. Router

  31. รูปแบบการเชื่อมโยงระบบเครือข่าย (Network Topology) • เป็นรูปแบบการนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงกัน แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งานแตกต่างกัน • BUS • Ring • Star • หมายเหตุ โหนด (Node) หมายถึง อุปกรณ์ที่นำมาเชื่อมต่อกันในระบบเครือข่าย อาจเป็น คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์และอื่น ๆ เป็นต้น

  32. การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส (BUS) ในเครือข่ายมีสายนำสัญญาณรับ-ส่งข้อมูลหลักหนึ่งสาย โดยโหนดทุกโหนดเชื่อมต่อกับเครือข่ายที่สายนี้

  33. การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส (BUS) การส่งข้อมูลจะเป็นลักษณะการช่วงชิงใช้สายนำสัญญาณรับ-ส่งข้อมูลหลักของเครือข่าย โดยจะมีเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะส่งข้อมูลในเครือข่ายได้ หากโหนดอื่นต้องการส่งข้อมูล ต้องรอจนกว่าสายนำสัญญาณรับ-ส่งข้อมูลหลักของเครือข่ายว่างเสียก่อน

  34. การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส (BUS) ข้อดี 1. ใช้สื่อหรือสายนำสัญญาณในการเชื่อมต่อเครือข่ายค่อนข้างน้อย 2. สามารถเพิ่มหรือลดจำนวนโหนดได้โดยไม่กระทบระบบโดยรวม 3. ถ้ามีโหนดเสียจะไม่กระทบการทำงานของระบบโดยรวม ข้อเสีย อาจเกิดการชนกันของข้อมูล (Collision) ถ้าโหนดในเครือข่ายตั้งแต่สองโหนดขึ้นไปส่งข้อมูลพร้อมกัน

  35. การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบวงแหวน (RING)

  36. การเชื่อมต่อแบบวงแหวน (RING) เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อที่โหนดแต่ละโหนดเชื่อมต่อเรียงกันไปเป็นวงกลม โหนดสุดท้ายเชื่อมต่อกับโหนดแรก ให้สิทธิ์ในการส่งข้อมูลแก่โหนดเพียงหนึ่งโหนดในช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง ข้อมูลที่รับ-ส่งจะถูกส่งจากโหนดต้นทางไปยังโหนดถัดๆไปตามลำดับโหนดที่เชื่อมต่อกันเป็นวงกลมอยู่ในเครือข่ายจนถึงโหนดผู้รับปลายทาง ไม่มีคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางของการรับ-ส่งข้อมูล และการส่งข้อมูลต้องทำในทิศทางเดียวกัน

  37. การเชื่อมต่อแบบวงแหวน (RING) ข้อดี ไม่มีการชนกันของข้อมูล ข้อเสีย ถ้าสายสื่อสารเกิดชำรุดเสียหายหรือขาดออกจากกัน จะส่งผลให้ระบบเครือข่ายล้มเหลวไม่สามารถใช้งานได้ หรือ มีโหนดเสียจะกระทบกับการทำงานของระบบ

  38. การเชื่อมต่อแบบรูปดาว (STAR)

  39. การเชื่อมต่อแบบรูปดาว (STAR) เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ในเครือข่ายมีอุปกรณ์ศูนย์กลางหรือเรียกว่า ฮับ (Hub) ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการเชื่อมโยงและการรับ-ส่งข้อมูลของระบบ โดยที่โหนดทุกโหนดในเครือข่ายเชื่อมต่อเข้ากับฮับและสื่อสารระหว่างกันผ่านฮับ ข้อมูลที่รับส่งกันจะเดินทางจากโหนดผู้ส่งไปยังฮับและส่งต่อไปจนถึงโหนดปลายทาง

  40. การเชื่อมต่อแบบรูปดาว (STAR) ข้อดี 1. ไม่มีการชนกันของข้อมูล 2. ถ้ามีโหนดเสียจะไม่กระทบกับการทำงานของระบบ ข้อเสีย ถ้าฮับหรืออุปกรณ์ศูนย์กลางเสีย จะทำให้ระบบเครือข่ายไม่สามารถใช้งานได้

  41. เทคโนโลยีเครือข่าย • Ethernetเป็นเทคโนโลยีเครือข่ายที่ใช้กันมากที่สุดทั่วโลก อัตรราเร็ว 10 Mbps มีหลายชนิด เช่น 10base-2 , 10base-5 , 10base-T • Fast Ethernetหรือ 100base-T มีโครงสร้างรูปแบบของระบบเครือข่ายและสายสื่อสารเหมือนกับอีเทอร์เน็ต แต่ใช้การ์ดแลน (NIC card) ที่มีความเร็ว 100 Mbps ดังนั้นอัตราเร็วในการรับส่งข้อมูลของระบบสูงถึง 100 Mbps • Gigabit Ethernetเป็นเทคโนโลยีใหม่ของเครือข่ายอีเทอร์เน็ต ซึ่งมึความสามารถในการส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงถึง 1000 Mbps หรือ 1 Gbps

  42. สื่อหรือสายนำสัญญาณ (Network Media) ใช้เชื่อมโยงโหนดแต่ละตัวเข้ากับระบบเครือข่าย • แบบใช้สาย • Twisted Pair, Coaxial Cable, Fiber Optic • แบบไร้สาย • Infrared light, Microwave, Satelliteetc.

  43. อุปกรณ์เชื่อมโยงแบบใช้สาย (Cable)

  44. A) Twisted pair : เป็นสายทองแดงหุ้มด้วยฉนวนบิดพันเกลียว • มี 2 ชนิดหลักคือ แบบที่มีชิลด์ (Shield) หรือมีการหุ้ม เรียกว่า STP (Shield Twisted-Pair) และชนิดที่ไม่มีชิลด์ หรือไม่มีการหุ้ม เรียกว่า UTP (Unshielded Twisted-Pair) • สายชนิด UTP เป็นสายนำสัญญาณที่นิยมใช้แพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในเครือข่ายแบบอีเทอร์เน็ต • การที่สายนำสัญญาณข้างในถูกจับคู่บิดพันไขว้เป็นเกลียวตลอดสาย เนื่องจากตามหลักการทางวิศวกรรมไฟฟ้าการบิดไขว้ดังกล่าวจะช่วยลดการรบกวนจากสัญญาณภายนอกระบบได้เป็นอย่างดี • ใช้ส่งข้อมูลได้ทั้งแบบสัญญาณอนาล็อกและดิจิตอล

  45. A) Twisted pair: เป็นสายทองแดงบิดเกลียวหุ้มด้วยฉนวน • อัตราการรับ-ส่งข้อมูล คือ 1-100 Mbps • ข้อดีคือ ราคาถูก น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น สายโทรศัพท์, สาย CAT 5 • ข้อเสีย คือ ถูกรบกวนจากสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าจากภายนอกได้ง่าย เช่น ฟ้าผ่า มอเตอร์ไฟฟ้า

  46. B) Coaxial: เป็นสายทองแดงหุ้มด้วยฉนวน • อาจเรียกว่าสาย Coax เช่น สาย Cable TV • แบ่งเป็นแบบ Thick และ Thin • อัตราการรับ-ส่งข้อมูลสูงถึง 10 Mbps • ข้อดี อัตราการรับ-ส่งข้อมูลสูงกว่าสายคู่ตีเกลียว และมีสัญญาณรบกวนน้อยกว่า • ปัจจุบันใช้น้อยลง เนื่องจากราคาแพงกว่าและสายมีขนาดใหญ่กว่า ส่งผลให้การติดตั้งทำได้ยากกว่าเมื่อเทียบกับสาย UTP และความก้าวหน้าของ UTP ที่สามารถส่งข้อมูลได้เร็ว ติดตั้งง่ายกว่า มีราคาถูก จึงเป็นที่นิยมมากกว่า

  47. C) Fiber Optic:เส้นใยแก้วนำแสง • แปลงสัญญาณข้อมูลเป็นสัญญาณแสงและส่งผ่านเส้นใยนำแสงไปยังปลายทาง เป็นสายนำสัญญาณที่มีประสิทธิภาพการรับ-ส่งข้อมูลดีและเร็วที่สุด • โครงสร้างภายในของสายประกอบด้วย แก้วซึ่งทำหน้าที่สะท้อนแสง ทำให้แสงซึ่งถูกส่งผ่านไปในปลายข้างหนึ่งสะท้อนไปมาตลอดแนวความยาวของสายนำสัญญาณไปออกที่ปลายอีกข้างหนึ่ง • มีคุณสมบัติในการป้องกันการรบกวนจากสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้า และสัญญาณรบกวนภายนอกอื่นๆได้ดี • มีอัตราเร็วในการส่งข้อมูลสูงมากถึง 100 Mbps - 2 Gbps

  48. C) Fiber Optic:เส้นใยแก้วนำแสง • สามารถใช้รับ-ส่งข้อมูลไปได้ในระยะทางไกลๆ ส่วนใหญ่ใช้เป็นสายนำสัญญาณของเส้นทางหลัก (Backbone) ในการรับส่งข้อมูลของระบบเครือข่าย ใช้เชื่อมโยงระหว่าง LANs และในเครือข่าย LAN ความเร็วสูง • ข้อดี ไม่มีปัญหาสัญญาณรบกวน อัตราความผิดพลาดในการส่งข้อมูลต่ำ ส่งสัญญาณได้ในระยะไกล • ข้อเสียคือ ราคาแพง และติดตั้งยาก เนื่องจากไม่สามารถงอตามมุมเวลาเดินสายได้ อย่างไรก็ตามปัจจุบันราคาเริ่มถูกลง

  49. 2. แบบไร้สาย Wireless Links • เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสาร โดยไม่ต้องเชื่อมแต่ละจุดด้วยสายนำสัญญาณอีกต่อไป เพราะในหลายกรณีไม่สามารถเชื่อมโยงด้วยสายได้ เช่น ระยะทางห่างไกลกันมาก • Microware: เป็นคลื่นความถี่สูงที่เดินทางเป็นเส้นตรง คลื่นที่ส่งจากผู้ส่งไปยังผู้รับ-สัญญาณจะต้องตรงกัน โดยปกติคลื่นไมโครเวฟส่งได้ไกลระยะ 30 ไมล์ • อัตราการรับ-ส่งข้อมูล 45 Mbps

  50. Microware

More Related