1 / 41

เคมีนิวเคลียร์

เคมีนิวเคลียร์. ปฏิกิริยานิวเคลียร์ 1. ธาตุอาจเปลี่ยนจากธาตุหนึ่งไปเป็นอีกธาตุหนึ่ง 2. เกี่ยวข้องกับอนุภาคภายในนิวเคลียส 3. มีการดูดหรือคายพลังงานจำนวนมาก 4. อัตราของปฏิกิริยาไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก. ปฏิกิริยาธรรมดา 1. ไม่เกิดธาตุใหม่ 2. ปกติจะเกี่ยวข้องเพียง e- ชั้นนอกสุด

iokina
Download Presentation

เคมีนิวเคลียร์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เคมีนิวเคลียร์

  2. ปฏิกิริยานิวเคลียร์ 1. ธาตุอาจเปลี่ยนจากธาตุหนึ่งไปเป็นอีกธาตุหนึ่ง 2. เกี่ยวข้องกับอนุภาคภายในนิวเคลียส 3. มีการดูดหรือคายพลังงานจำนวนมาก 4. อัตราของปฏิกิริยาไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก ปฏิกิริยาธรรมดา 1. ไม่เกิดธาตุใหม่ 2. ปกติจะเกี่ยวข้องเพียง e- ชั้นนอกสุด 3. มีการดูดหรือคายพลังงานปริมาณเล็กน้อย 4. อัตราของปฏิกิริยาขึ้นอยู่กับปัจจัยเช่น ความเข้มข้น อุณหภูมิ ตัวเร่งปฏิกิริยา และความดัน เคมีนิวเคลียร์

  3. ปฏิกิริยานิวเคลียร์ • ปฏิกิริยาการแยกนิวเคลียส (Nuclear fission) • ปฏิกิริยาการหลอมนิวเคลียส (Nuclear fusion) • อนุภาคมูลฐานของสาร • อนุภาค มวล (amu) ประจุ • อิเล็กตรอน (e-) 0.00054858 -1 • โปรตอน (p) 1.0073 +1 • นิวตรอน (n) 1.0087 0 • 1 amu = 1.66 x 10-24 g • ในนิวเคลียสประกอบด้วย n และ p และมี e- กระจายอยู่ในที่ว่าง รอบ ๆ นิวเคลียส

  4. A Z • Nucleon = p + n อนุภาคของนิวเคลียส • X “nuclide” • A = mass number (เลขมวล) = p + n • Z = atomic number (เลขอะตอม) = p หรือ e- • ตัวอย่าง Pb • Isotope C C C C • Isotone Li Be B C (n=6) • Isobar B C N 208 82 12 13 14 11 6 6 6 6 9 10 11 12 3 4 5 6 12 12 12 5 6 7

  5. จำนวนนิวไคลด์ที่มีอยู่ในธรรมชาติจำนวนนิวไคลด์ที่มีอยู่ในธรรมชาติ • จำนวนโปรตอน คู่ คู่ คี่ คี่ • จำนวนนิวตรอน คู่ คี่ คู่ คี่ • จำนวนนิวไคลด์ 201 69 61 4 • นิวเคลียสของธาตุใด ๆ ที่มีจำนวน p และ n เป็น 2, 8, 20, 28, 50, 82 และ 126 พบว่า นิวเคลียสจะมีเสถียรภาพมากและมีจำนวน isotope มากด้วย เช่น • He O Ca Sr Pb • 3 isotope 6 isotope 4 40 208 16 88 82 2 8 20 38

  6. สารกัมมันตรังสีในธรรมชาติสารกัมมันตรังสีในธรรมชาติ ธาตุที่มีเลขอะตอมสูงกว่า 83 ล้วนแต่เป็นนิวไคลด์กัมมันตรังสีทั้งสิ้น ธาตุเหล่านี้ล้วนแต่อยู่ในอนุกรมการสลายตัวตามธรรมชาติโดยเริ่มจากนิวไคลด์กัมมันตรังสีต่างๆ กันและสลายต่อเนื่องกันมากมาย แบ่งออกเป็น 3 อนุกรม • อนุกรมยูเรเนียม • อนุกรมนี้เริ่มจาก U-238 แล้วสิ้นสุดที่ Pb-206 • การสลายตัวแต่ละครั้งจะให้อนุภาคหรือรังสีออกมา เช่น แอลฟา เบตา แกมมา • อนุกรมนี้ยูเรเนียมมีครึ่งชีวิตมากที่สุดคือ 4.5 x 109ปี • นิวไคลด์กัมมันตรังสีทุกตัวใน อนุกรมนี้ จะมีเลขมวล = 4n + 2 ; n คือ เลขจำนวนเต็ม เช่น U-238 มีเลขมวล = ( 4 x 59 ) + 2

  7. อนุกรมทอเรียม • อนุกรมนี้ ทอเรียม-232 จะสลายตัวเป็นขั้นๆ จนสิ้นสุดที่ ตะกั่ว-208 • อนุกรมนี้ Th - 232 มีครึ่งชีวิตมากที่สุดคือ 1.42 x 109ปี มีการสลายตัว 10 ขั้น โดยปล่อยอนุภาคเบตา 4 ครั้ง และ อนุภาคแอลฟา 6 ครั้ง • อนุกรมทอเรียมนี้พบว่าทุกธาตุมีเลขมวล =4n ; n คือ เลขจำนวนเต็ม อนุกแอกทิเนียม • เริ่มต้นจากยูเรเนียม-235 สิ้นสุดที่ตะกั่ว-207 • อนุกรมนี้ ยูเรเนียม-235 มีครึ่งชีวิตมากที่สุดคือ 7.1 x 108ปี สลายตัว 14 ขั้น ให้อนุภาค เบตา 6 ครั้ง และแอลฟา 8 ครั้ง • อนุกรมแอกทิเนียมนี้ทุกธาตุมีเลขมวล = 4n + 3 ; n คือ เลขจำนวนเต็ม

  8. การสลายกัมมันตรังสี • Nuclide ที่มีอัตราส่วน n : p อยู่นอกขอบเขตแถบเสถียร จะเกิดการคายกัมมันตรังสีขึ้นเองได้ โดยคายอนุภาคย่อยตั้งแต่ 1 อนุภาคขึ้นไป หรือคายรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า • ชนิดของการสลาย ปกติขึ้นอยู่กับอัตราส่วน n : p ที่อยู่ข้างบน ล่างหรือขวาของแถบเสถียร

  9. กราฟแสดงการ plot ระหว่างจำนวน p (แกน x) และจำนวน n (แกน y) สำหรับ isotopes ที่เสถียรหลายชนิดซึ่งแสดงโดยจุดสีแดง แถบที่ปรากฏเป็นบริเวณของ isotopes ที่มีเสถียรภาพ ส่วนเส้นตรงแสดงถึง isotopes ที่จำนวน n ต่อ จำนวน p เท่ากับ 1

  10. ชนิดของการคายกัมมันตรังสีชนิดของการคายกัมมันตรังสี 0 0 -1 -1 • ชนิด ประเภท มวล (amu) ความเร็ว อำนาจทะลุทะลวง • เบตา (B-) อิเลคตรอน 0.00055 < 90% ความเร็วแสง ต่ำ-ปานกลาง • B or e • โพสิตรอน (B+) ประจุบวก 0.00055 < 90% ความเร็วแสง ต่ำ-ปานกลาง • B or e • อัลฟา นิวเคลียสฮีเลียม 4.0026 < 10% ความเร็วแสง ต่ำ • He • โปรตอน นิวเคลียสไฮโดรเจน 1.0073 < 10% ความเร็วแสง ต่ำ-ปานกลาง • H • นิวตรอน นิวตรอน 1.0087 < 10% ความเร็วแสง สูงมาก • n • รังสีแกมม่า รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า 0 ความเร็วแสง สูง 0 0 +1 +1 4 2 1 1 1 0

  11. ความสามารถในการทุทะลวงของอนุภาคและรังสี เป็นสัดส่วนกับพลังงานของ nuclide นั้น • อนุภาคแอลฟา - อำนาจในการทะลุทะลวงต่ำ ไม่สามารถทำลายหรือทะลุผ่านผิวหนังได้ แต่สามารถทำลายเนื้อเยื่อภายในที่ว่องไวได้ถ้าหายใจเอาเข้าไปในร่างกาย • อนุภาคเบตาและโพสิตรอน - มีอำนาจทะลุทะลวงมากกว่าอนุภาคแอลฟาที่หนักกว่าประมาณ 100 เท่าและมีความเร็วในการเคลื่อนที่ช้ากว่า ซึ่งมีอำนาจทะลุผ่านแผ่น Al ได้ 0.3 cm และทำให้ผิวหนังไหม้แต่ไม่สามารถเข้าถึงอวัยวะภายในได้ • รังสีแกมม่าพลังงานสูง - มีอำนาจทะลุทะลวงสูงมาก สามารถทำลายผิวหนังและอวัยวะภายในได้ มีความเร็วเท่ากับแสง

  12. นิวไคลด์ที่อยู่เหนือแถบเสถียรนิวไคลด์ที่อยู่เหนือแถบเสถียร • มีอัตราส่วนของนิวตรอนสูงเกินไป จะเกิดการสลายที่ทำให้อัตราส่วน n/p ลดลง เช่นการคายอนุภาคเบตาหรือคายอนุภาคนิวตรอน อนุภาคเบตาเป็นอิเล็กตรอนที่ถูกปล่อยออกมาจากนิวเคลียส • n p + B • ผลการคายเบตาทำให้เพิ่มจำนวนโปรตอน 1 โปรตอนและลดจำนวนนิวตรอน 1 นิวตรอน ดังตัวอย่าง • Ra Ac + B • การคายนิวตรอนจะลดจำนวนนิวตรอนไป 1 นิวตรอน โดยปราศจากการเปลี่ยนแปลงเลขอะตอม ได้ไอโซโทปที่เบากว่าเกิดขึ้น • I I + n 1 1 0 0 -1 1 228 228 0 89 -1 88 1 137 136 0 53 53

  13. นิวไคลด์ที่อยู่ต่ำกว่าแถบเสถียรนิวไคลด์ที่อยู่ต่ำกว่าแถบเสถียร • สามารถเพิ่มอัตราส่วน n : p ในนิวเคลียสได้ โดยการคายโพสิตรอน หรือการยึดจับอิเล็กตรอน (โพสิตรอนมีมวลเท่ากับอิเล็กตรอน แต่มีประจุเป็นบวก โพสิตรอน ถูกคายเมื่อโปรตอนเปลี่ยนไปเป็นนิวตรอน) • p n + B • การคายโพสิตรอนเป็นผลให้เลขอะตอม (Z) ลดลงไปหนึ่งและเพิ่มจำนวนนิวตรอนขึ้นหนึ่งนิวตรอน โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลขมวล (A) • K Ar + B • การยึดจับ e- ซึ่ง e- จากชั้น K(n=1) ถูกยึดจับโดยนิวเคลียส • Ag + e Pd 1 1 0 1 +1 0 38 38 0 18 +1 19 106 0 106 47 -1 46

  14. 22 0 22 11 10 -1 22 0 22 11 10 +1 • นิวไคลด์บางชนิด จะเกิดได้ทั้งการยึดจับ e- และการคายโพสิตรอน เช่น • Na + e Ne (3%) • Na Ne + B (97%) • บางนิวไคลด์ โดยเฉพาะชนิดที่หนักกว่า จะเกิดการคายอนุภาคแอลฟา ( He) มี 2 โปรตอน และ 2 นิวตรอน การคายแอลฟาเป็นผลทำให้เพิ่มอัตราส่วน n: p ดังตัวอย่าง • Pb Hg + He 4 2 4 204 200 80 2 82

  15. 226 4 222 • นิวไคลด์ทั้งหมดที่มีเลขอะตอม (Z) มากกว่า 82 อยู่นอกแถบเสถียร และเป็นสารกัมมันตรังสี การสลายของนิวไคลด์เหล่านี้ หลายชนิดเกิดการคายอนุภาคแอลฟา เช่น • Ra Rn + He • Po Pb + He • บางไอโซโทปของยูเรเนียม (Z = 92) และธาตุที่มีเลขอะตอมสูงกว่า ปกติ สลายโดยการแยกนิวเคลียส ในขบวนการนี้ นิวไคลด์ที่หนักจะแตกตัวไปเป็นนิวไคลด์ที่มีมวลขนาดกลางและนิวตรอน • Cf Ba + Mo + 4 n 88 86 2 206 210 4 82 2 84 1 252 142 106 98 56 42 0

  16. การแตกสลายตัวของนิวไคลด์กัมมันตรังสีการแตกสลายตัวของนิวไคลด์กัมมันตรังสี • นิวไคลด์กัมมันตรังสีมีสมบัติเฉพาะ คือ มีการแตกสลายและการแผ่รังสีออกมาตลอดเวลา • อัตราการแตกสลายตัวนี้ไม่ขึ้นอยู่กับอิทธิพลต่าง ๆ เช่น สถานะทางเคมี อุณหภูมิ ความดัน และอายุของนิวเคลียส • อัตราการแตกสลายตัวเป็นปฏิภาคโดยตรงกับจำนวนนิวไคลด์กัมมันตรังสีในขณะนั้นและเป็นจลนศาสตร์อันดับหนึ่ง

  17. กัมมันตภาพรังสี หรือ activity (radioactivity) = จำนวนการสลายตัวภายในหนึ่งหน่วยเวลา • Activity จะเป็นปฏิภาคโดยตรงกับจำนวนอะตอมของนิวไคลด์กัมมันตรังสี • เดิมหน่วยของแอกติวิตีเป็นคูรี่ (Curie) หมายถึง สารกัมมันตรังสีที่มีการแตกสลายตัวในอัตรา3.7x1010 ครั้ง/วินาที • ปัจจุบันหน่วย SI ของ activity คือ Becquerl, Bq) • 1Bq = การสลายตัวทางกัมมันตรังสี 1 ครั้งต่อวินาที = 2.70x10-11 Ci (Curie)

  18. อัตราการสลาย = k[A] • log [A0]/[A] = akt/2.303 หรือ ln [A0]/[A] = akt • A = ปริมาณนิวไคลด์กัมมันตรังสีที่ยังคงมีอยู่ ณ เวลาหนึ่ง (t) • A0 = ปริมาณนิวไคลด์ตอนเริ่มต้น • k = ค่าคงที่อัตรา • a = 1 (แต่ละอะตอมที่เกิดการสลายไม่ขึ้นกับสารอื่น ๆ ) • ให้ N = จำนวนสารที่สลายต่อหน่วยเวลา • log [N0]/[N] = kt/2.303 หรือ ln [N0]/[N] = kt

  19. ความสัมพันธ์ระหว่าง log N กับเวลา

  20. Half-life (t1/2) • ครึ่งชีวิตของปฏิกิริยา = ปริมาณเวลาที่ใช้ไปในการที่สารตั้งต้นทำปฏิกิริยาไปครึ่งหนึ่งของปริมาณเริ่มต้น • สำหรับขบวนการอันดับหนึ่ง: • t 1/2 = ln2/k = 0.693/k • Sr - nuclide กัมมันตรังสีที่เกิดการคายเบตา มี t 1/2 = 28 ปี • กราฟของ nuclide กัมมันตรังสีทั่วไป เป็นรูปกราฟการสลาย exponential ประมาณ 10 t 1/2 (280 ปี สำหรับ Sr) nuclide กัมมันตรังสีจะสลายไป 99.9% 90 38 90 38

  21. ตัวอย่าง โคบอลต์ ในทางการแพทย์ใช้ในการทำลายเนื้อเยื่อมะเร็ง โดยการสลายให้รังสีแกมม่า โคบอลต์-60 สลายตัวด้วยการคายอนุภาคเบตาและรังสีแกมม่า มีครึ่งชีวิต 5.27 ปีCo Ni + B + ถ้าสารตัวอย่างโคบอลต์-60 มี 3.42 ug จะเหลือเท่าไร หลังจากเวลาผ่านไป 30.0 ปี 0 -1 60 27 60 28 • วิธีทำ หาค่าคงที่อัตรา • t 1/2 = 0.693/k ดังนั้น k = 0.693/ t 1/2 = 0.693/5.27 ปี = 0.131 ปี-1 • ใช้ค่า k หาอัตราส่วนของ A0 ต่อ A หลังเวลาผ่านไป 30 ปี • log [A0]/[A] = kt/2.303 = 0.131 ปี-1(30 ปี)/2.303 = 1.71 • A0/A = 10 1.71 = 51 • 3.42 ug /A = 51 • A = 0.067 ug

  22. การตรวจสอบและการวัดกัมมันตภาพรังสีการตรวจสอบและการวัดกัมมันตภาพรังสี • กัมมันตภาพรังสีไม่มีกลิ่น เสียง และมองไม่เห็น แต่เมื่อรังสีวิ่งผ่านสสารหรือวัตถุที่ขวางกั้นและมีการถ่ายเทพลังงาน จะทำให้เกิดไอออไนเซชัน หรือการเร้าขึ้น ซึ่งเป็นรากฐานในการประดิษฐ์เครื่องมือตรวจวัดรังสี • การตรวจรังสีด้วยฟิล์ม • Henry Becquerel ได้สังเกตเห็นจุดดำๆ บนฟิล์มที่ใช้ห่อผลึกเกลือยูเรเนียม โดยที่รังสีจะกระตุ้นให้เกิดเกลือเฮไลด์ของเงินในฟิล์ม อนุภาคของเกลือเฮไลด์ที่ถูกรังสีกระตุ้นจะถูกรีดิวซเป็นเงินได้ดีกว่าอนุภาคที่ไม่ถูกกระตุ้นและจะปรากฏเป็นสีดำบนฟิล์ม จากความเข้มที่ปรากฏบนฟิล์มสามารถบอกปริมาณรังสีได้

  23. เครื่องวัดรังสีแบบคลาวด์เชมเบอร์ (cloud chamber) • เครื่องมือชนิดนี้อาศัยหลักที่ว่า เมื่อรังสีจากสารกัมมันตรังสีผ่านไปในอากาศที่อิ่มตัวด้วยไอน้ำจะเกิดไอออไนเซชันเป็นคู่ไอออนและไอน้ำที่อิ่มตัวจะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำเล็กๆ เกาะที่ไอออนทำให้เกิดเป็นทางขาวๆ ให้เห็นเป็นทางเดินรังสี • ทิศทางเดินของอนุภาคของรังสีแอลฟา จะเป็นทางเดินที่สั้นตรงและหนา • อนุภาคเบตาจะมีทางเดินที่ยาวและบางกว่า

  24. เครื่องมือวัดรังสีแบบไกเกอร์มูลเลอร์ (Geiger-Muller) • ประกอบด้วยหัววัดรังสีที่เรียกว่า หลอดไกเกอร์มูลเลอร์ ซึ่งเป็นหลอดแก้วที่อยู่ในกระบอกโลหะ ภายในหลอดแก้วบรรจุแก๊สที่มีความดันต่ำ เช่น อาร์กอนปนกับไอของแอลกอฮอล์ ตรงกลางหลอดจะมีลวดโลหะเส้นเล็กๆ ทำหน้าที่เป็นขั้วบวก ส่วนกระบอกโลหะเป็นขั้วลบ ขั้วทั้งสองจะต่อไปยังเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีความต่างศักย์สูงมาก เมื่อทำการวัดรังสีอนุภาคที่มีประจุจะไอออไนส์แก๊สภายในหลอดให้อิเล็กตรอนและไอออนบวก อิเล็กตรอนที่เกิดขึ้นจะวิ่งด้วยความเร็วสูงไปยังขั้วบวก เมื่ออิเล็กตรอนและไอออนบวกวิ่งไปยังขั้วทั้งสองจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นซึ่งจะต่อเข้ากับเครื่องขยายและเครื่องนับรังสีเพื่อบอกปริมาณรังสีออกมาเป็นตัวเลข

  25. เครื่องมือวัดรังสีแบบไกเกอร์มูลเลอร์ (Geiger-Muller)

  26. เครื่องวัดรังสีแบบซินทิลเลชัน (Scintillation Counter)) • สร้างขึ้นโดยอาศัยหลักการที่รังสีไปกระทำกับสารเรืองแสง เช่น ZnS แล้วทำให้เกิดแสงประกายวาบและวัดปริมาณรังสีจากการนับจำนวน scintillation บนฉากเรืองแสงที่อยู่ในห้องมืด • ต่อมามีการประดิษฐ์เครื่องมือหลอดไวแสงที่เรียกว่า photomultiplier tube ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนแสงที่เกิดจากรังสีให้กลายเป็นกระแสไฟฟ้าจำนวนน้อยๆ และถูกส่งไปยังเครื่องขยายและเข้าไปยังส่วนประกอบทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าไปเป็นตัวเลขที่บอกปริมาณรังสี

  27. เครื่องเร่งอนุภาค • เครื่องเร่งตามแนวตรง (Linear accelerators) • เครื่องเร่งตามแนวตรงอย่างง่ายประกอบด้วยท่อทรงกระบอกทำหน้าที่เป็นอิเล็กโตรด ท่อทั้งหมดที่เป็นเลขคู่ต่อกับลวดตัวนำเส้นหนึ่ง ส่วนท่อเลขคี่ก็ต่อกับลวดตัวนำแล้วนำลวดตัวนำทั้งสองมาต่อกับเครื่องสลับความถี่ที่มีความถี่สูง ในขณะที่อิเล็กโตรดที่เป็นเลขคี่ติดลบ อิเล็กโตรดที่เป็นเลขคู่จะเป็นบวกและสลับกันไปตลอดเวลา

  28. สำหรับอนุภาคที่ต้องการจะเร่ง จะต้องทำให้เป็นไอออนเสียก่อน เป็นต้นว่าต้องการเร่งโปรตอนจะต้องทำให้อะตอมของไฮโดรเจนเป็นไอออนบวกอนุภาคก็จะมีความเร็วคงที่ เพราะสนามคงที่แต่จะมีการเร่งความเร็วขึ้นตรงช่องว่างระหว่างทรงกระบอก ฉะนั้นทันทีที่โปรตอนเคลื่อนที่พ้นกระบอกที่1 กระบอกที่2 จะเป็นลบและกระบอกที่1จะกลับเป็นบวกความเป็นบวกและลบจะสลับกันไปตลอดความยาวของเครื่องเร่ง พลังงานทั้งหมดของโปรตอนที่เพิ่มขึ้นเป็นผลบวกของพลังงานส่วนที่เพิ่มขึ้นทั้งหมดในขณะที่มีความเร่งในช่องว่างระหว่างกระบอกตลอดแนว

  29. เนื่องจากความเร็วของโปรตอนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะทางที่เพิ่มขึ้นในขณะที่ความถี่ของการสลับคงที่ เพราะฉะนั้นความยาวของกระบอกจะยาวขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้เพื่อจะให้โปรตอนผ่านพ้นกระบอกต่างๆ ในเวลาเท่ากัน • เครื่องเร่งตามแนวตรงสำหรับโปรตอน

  30. เครื่องเร่งตามแนววงกลม (Circular accelerators) • ในเครื่องเร่งตามแนววงกลม อนุภาคที่มีประจุจะถูกเร่งด้วยสนามไฟฟ้าและจะเคลื่อนที่ในลักษณะที่เป็นวงกลมโดยการบังคับของสนามแม่เหล็ก เครื่องแรกได้สร้างขึ้นโดย โอ. อี. ลอเรนซ์ (O.E. Lawrence) และ เอ็ม. เอส. ลิฟวิงสตัน (M.S. Livingston) ในปี ค.ศ. 1930 ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เมืองเบิร์กเลย์ ตอนแรกให้ชื่อว่า magnetic resonance accelerator แต่ตอนหลังได้เปลี่ยนชื่อให้เหมาะสมเป็นเครื่อง ไซโคลตรอน (cyclotron) หลักการของเครื่องไซโคลตรอนขึ้นอยู่กับความจริงสองประการคือ • 1. อนุภาคที่มีประจุจะดึงดูดหรือผลักกับสิ่งที่มีประจุตรงข้ามหรือประจุอย่างเดียวกัน 2. อนุภาคที่มีประจุจะเคลื่อนที่ในสนามแม่เหล็กในลักษณะเป็นเส้นโค้ง แบบวงกลม

  31. เครื่องไซโคลตรอนประกอบด้วยแม่เหล็กขนาดใหญ่ ระหว่างขั้วแม่เหล็กทั้งสองมีภาชนะที่เป็นสุญญากาศ (vacuum chamber) ในภาชนะสุญญากาศมีแหล่งกำเนิดไอออนและ อิเล็กโตรดสองอันเรียกว่า “ดี” (Dee) ซึ่งมีลักษณะเป็นครึ่งวงกลมแบบตัวอักษร D และกลวงข้างใน ต่ออิเล็กโตรดทั้งสองกับเครื่องสลับความถี่ (radiofrequency oscillator) เพื่อสลับความเป็นบวกและลบของอิเล็กโตรดทั้งสอง • เครื่องไซโคลตรอน

  32. เมื่ออิเล็กโตรดอันหนึ่งเป็นบวกและอีกอันหนึ่งเป็นลบ ดังนี้ไอออนบวกก็จะถูกเร่งเข้าไปยังที่ๆเป็นลบและเคลื่อนที่แบบวงกลมในนั้นเพราะอยู่ภายใต้สนามแม่เหล็กด้วยความเร็วที่คงที่ เมื่อมีการสลับความเป็นบวกและลบอีกครั้งหนึ่งไอออนบวกก็จะถูกเร่งไปยัง “ดี” ทั้งสอง เมื่อกระบวนการนี้ทำต่อเนื่องกันตลอด ความเร็วของไอออนจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้รัศมีของการเคลื่อนที่ของไอออนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน เมื่อการเพิ่มรัศมีของการเดินทางจวนถึงริมขอบของ “ดี” ก็จะให้อนุภาคนั้นสะท้อนออกโดยใช้แผ่นสะท้อน (reflector plate) ไอออนที่มีพลังงานสูงก็สามารถนำมาใช้ในการทำปฏิกิริยาตามที่ต้องการ

  33. เครื่องเร่งตามแนววงกลมอีกแบบหนึ่งเรียกว่า ซินโครตรอน (synchrotron) ซึ่งอนุภาคจะเคลื่อนที่เป็นวงกลมด้วยรัศมีที่คงที่ แทนที่จะแผ่ออกไปเรื่อยๆ อย่างในเครื่องไซโคล ตรอน แม่เหล็กที่ใช้เป็นวงแหวนซึ่งทำเป็นร่องตามวงแหวนนั้น ระหว่างแม่เหล็กมีภาชนะรูปคล้ายโดนัทที่กลวงเป็นสุญญากาศซึ่งเป็นทางเคลื่อนที่ของอนุภาค ก่อนที่จะนำอนุภาคเข้าไปในเครื่องไซโครตรอนอนุภาคจะต้องถูกเร่งด้วยเครื่องเร่งอย่างอื่นเสียก่อน เช่น ใช้เครื่องเร่งตามแนวตรง เมื่อผ่านไอออนเข้าไปในซินโครตรอนที่มีสนามแม่เหล็กค่อนข้างต่ำ ในตอนแรกไอออนจะเคลื่อนที่รอบๆ ตามแนวของวงแหวน และผ่านอิเล็กโตรดที่ใช้เร่ง (accelerating electrode) ซึ่งทำหน้าที่เร่งความเร็วของอนุภาคทุกครั้งที่เคลื่อนที่ผ่านอิเล็กโตรดนี้แต่ละรอบความเร็วของไอออนจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วย เพื่อรักษาการเคลื่อนที่ของไอออนให้อยู่ในรัศมีที่คงที่ เนื่องจากพลังงานและความเร็วของไอออนเพิ่มขึ้น ความถี่ของเครื่องสลับ (oscillator frequency) จะต้องเพิ่มขึ้นด้วยเพื่อที่จะให้ไอออนและอิเล็กโตรดอยู่ในลักษณะที่ดึงดูดกัน ได้พอดี จึงจะเร่งไอออนได้

  34. เครื่องโปรตอน-ซินโครตรอน เมื่อไอออนได้พลังงานตามต้องการแล้วก็สามารถนำมาใช้ทำปฏิกิริยนิวเคลียร์ต่อไปและเครื่องเร่งก็พร้อมที่จะเร่งไอออนกลุ่มต่อไป ซึ่งแต่ละครั้งอาจใช้เวลาประมาณ 6 วินาที เครื่องซินโครตรอนสามารถเร่งอนุภาคให้มีพลังงานได้ถึง 70 GeV (70 gigaelectronvolts)

  35. ปฏิกิริยาการแยกนิวเคลียร์ (Nuclear Fission) • isotope ของธาตุบางชนิด ที่มีเลขอะตอม (Z) มากกว่า 80 สามารถเกิดปฏิกิริยาการแยกนิวเคลียร์ซี่งจะให้ nuclide ที่มีมวลปานกลางและคายนิวตรอนตั้งแต่ 1 นิวตรอนขึ้นไป • บางปฏิกิริยาการแยกนิวเคลียร์ เกิดขึ้นได้เอง บางปฏิกิริยาต้องใช้พลังงานกระตุ้นโดยการยิงอนุภาค • นิวเคลียร์สามารถแยกได้หลายวิธี ซึ่งจะให้พลังงานออกมาอย่างมหาศาล

  36. 160 62 72 30 1 0 146 57 87 35 1 0 • บางปฏิกิริยาการแยกที่เป็นไปได้ เป็นผลจากการยิงยูเรเนียม-235 ที่เกิดการแยกได้ด้วยนิวตรอนเร็ว และยูเรนียม-236 เป็นสารตัวกลางอายุสั้น • Sm + Zn + 4 n + พลังงาน • La + Br + 3 n + พลังงาน • U + n [ U] Ba + Kr + 3 n + พลังงาน • Cs + Rb + 2 n + พลังงาน • Ba + Kr + 2 n + พลังงาน 235 92 1 0 236 92 140 56 93 36 1 0 144 55 90 37 1 0 144 54 90 38 1 0

  37. พลังงานยึดเหนี่ยว = ปริมาณพลังงานที่ให้เข้าไปทำให้นิวเคลียสแตกสลายไปเป็นอนุภาคย่อยของอะตอม • อะตอมที่มีเลขมวล (A) ปานกลาง จะมีพลังงานยึดเหนี่ยวสูงสุด • มีความเสถียรมาก ( Fe) • ปฏิกิริยาการแยกนิวเคลียร์ของอะตอมหนักเป็นปฏิกิริยาดูดพลังงาน 56 26

  38. Nuclide ที่มี Z ระหว่าง 89-98 จะเกิดการแยกนิวเคลียร์ขึ้นเองได้ ด้วย t 1/2ที่ยาว ( 10 4- 10 7 ปี) • nuclide ที่มี Z มากกว่า 98 เกิดการแยกนิวเคลียร์ด้วย t 1/2ที่สั้นกว่า (2 ms - 60.5 days) • nuclide ที่มี A ระหว่าง 225 และ 250 ไม่เกิดการแยกนิวเคลียสที่เกิดขึ้นเองได้ แต่สามารถทำให้เกิดการแยกนิวเคลียสได้ด้วยการยิงด้วย อนุภาคที่มีพลังงานจลน์ต่ำ เช่น นิวตรอน โปรตอน แอลฟา อิเล็กตรอน • nuclide ที่มีจำนวน โปรตอน และนิวตรอนเป็นเลขคู่ จะมีความเสถียรสูง • ไม่สามารถเกิดการแยกนิวเคลียสได้ เช่น • U p = 92, n = 146 • แต่ U และ U เกิดได้ 238 92 233 92 235 92

  39. ปฏิกิริยาการหลอมนิวเคลียร์ (Nuclear Fusion) • การทำให้ nuclide ที่เบากว่ารวมกันเป็น nuclide ที่หนักกว่า จะเกิดได้ดีในอะตอมที่เบามาก ๆ • ปริมาณพลังงานต่อหน่วยมวลอะตอมที่เกิดปฏิกิริยา ในปฏิกิริยาการ หลอมนิวเคลียร์มีมากกว่าปฏิกิริยาการแยกนิวเคลียร์ • ดวงอาทิตย์ เป็นปฏิกรณ์ปฏิกิริยาการหลอมนิวเคลียร์ขนาดมหึมา ที่ประกอบด้วย H 73%, He 26% และธาตุอื่น ๆ อีก 1% • มีปฏิกิริยาหลอมนิวเคลียร์หลักคือ • H + H He + n + พลังงาน • ดิวทีเรียม ตริเตรียม 2 1 40,000,000 K 3 1 4 2 1 0

  40. ดังนั้น พลังงานแสงอาทิตย์จริง ๆ เกิดจากพลังงานการหลอมนิวเคลียร์ เป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมด ในอนาคต่อไป เชื้อเพลิงฟอสซิล จะถูกทดแทนด้วยพลังงานการหลอมนิวเคลียร์

  41. ระเบิดไฮโดรเจน หรือระเบิดเทอร์โมนิวเคลียร์ (thermonuclear bomb) เกิดจากปฏิกิริยาฟิวชันของดิวทีเรียมและ ตริเตียม ปฏิกิริยาดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีอุณหภูมิสูงซึ่งได้จากการระเบิดของระเบิดปรมาณู (fission bomb) ปฏิกิริยาเริ่มต้นในระเบิดไฮโดรเจนเกิดขึ้นได้หลายปฏิกิริยา แต่ที่สำคัญได้แก่ H + H He + n + 17.6 MeV พลังงานที่ให้ออกมาทั้งหมดขึ้นอยู่กับปริมาณของ ดิวทีเรียม และ ตริเตียม ถ้าเราสามารถควบคุมพลังงานที่ได้จากระเบิดไฮโดรเจนได้ มนุษย์เราก็จะมีแหล่งพลังงานอย่างไม่มีขีดจำกัด เพราะว่าในโลกของเรามีปริมาณของไฮโดรเจนอยู่เป็นจำนวนมหาศาล

More Related