1 / 23

นโยบายพลังงาน

นโยบายพลังงาน. โดย นางสาว พรชนก นัน ทานนท์ 55440555. ความต้องการพลังงานในอนาคต.

Download Presentation

นโยบายพลังงาน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. นโยบายพลังงาน โดย นางสาว พรชนก นันทานนท์ 55440555

  2. ความต้องการพลังงานในอนาคตความต้องการพลังงานในอนาคต แนวโน้มการใช้พลังงานของโลกยังมีอัตราที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่แหล่งพลังงานประเภทฟอสซิลมีปริมาณสำรองลดลง และจะหมดไปในที่สุด หากไม่มีการค้นพบเพิ่มเติม ข้อมูล ณ ปี พ.ศ. 2546 พบว่าถ่านหินจะมีปริมาณ 192 ปี แก๊สธรรมชาติ ประมาณ 67 ปี และน้ำมันดิบ 41 ปี ในปี พ.ศ. 2548 ประเทศไทยต้องเผชิญกับวิกฤตราคาพลังงานที่สูงสุดในประวัติศาสตร์ ภาพรวมการใช้พลังงานในปี พ.ศ. 2548 ที่ผ่านมา การใช้พลังงานของประเทศไทยเติบโตอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.9 ซึ่งชะลอลงจากปีที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 7.3 เนื่องจากประชาชนให้ความร่วมมือประหยัดพลังงานมากขึ้น การรณรงค์ประหยัดพลังงานของภาครัฐ รวมถึงปัจจัยทางด้านความผันผวนของราคาพลังงานในตลาดโลกที่สูงขึ้น ทำให้การนำเข้าพลังงานลดลงจากปี พ.ศ. 2547 ถึงร้อยละ 2.3

  3. ด้านการใช้น้ำมันสำเร็จรูป พบว่าน้ำมันเบนซินมีการใช้ลดลงร้อยละ 5.3 น้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 ขณะที่น้ำมันเตามีการใช้สูงขึ้นร้อยละ 6.8 เนื่องจากต้องนำไปใช้ผลิตไฟฟ้ามากขึ้น และแก๊สหุงต้มที่เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 7.5 เพราะมีการนำไปใช้ในรถยนต์สูงขึ้นจากเดิมทั้งในส่วนการใช้ไฟฟ้า พบว่ามีปริมาณการใช้ที่ชะลอตัวลงโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 หากเทียบกับปี พ.ศ. 2547 ซึ่งมีปริมาณการใช้อยู่ที่ระดับร้อยละ 7.5 อย่างไรก็ตาม แม้ภาพรวมการใช้พลังงานจะลดลง และมีอัตราการนำเข้าลดลง ตาค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงานทั้งประเทศสูงขึ้นจากปี พ.ศ. 2547 ถึงร้อยละ 19 หรือคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 1.22 ล้านล้านบาท ขณะที่การนำเข้าพลังงาน พบว่ามูลค่าสูงถึง 7.44 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2547 ถึงร้อยละ 36.7

  4. สำหรับแนวโน้มการใช้พลังงานในปี พ.ศ. 2549 จาการประมาณการภาวะเศรษฐกิจไทย โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่าปี พ.ศ. 2549 การใช้พลังงานจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7-5.7 จึงคาดการณ์ว่าภาพรวมการใช้พลังงานของประเทศจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.6 การใช้น้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มจากปี พ.ศ. 2548 ร้อยละ 3.9 แบ่งเป็น น้ำมันเบนซิน สูงขึ้นร้อยละ 2.4 แต่น้ำดีเซลจะยังปรับตัวลดลง จากผลของการขึ้นราคาในช่วงกลางปี โดยลดลงร้อยละ 0.7 ส่วนน้ำมันเตาคาดว่าจะใช้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 19.8 เนื่องจากต้องนำไปใช้ผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. เพราะท่อแก๊สธรรมชาติเส้นที่ 3 ยังสร้างไม่เสร็จเรียบร้อย โดยในปี พ.ศ. 2549 การใช้ไฟฟ้าก็จะเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 7

  5. นโยบายการประหยัดพลังงานนโยบายการประหยัดพลังงาน นโยบายการประหยัดพลังงานของประเทศไทยได้เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2516 ซึ่งอยู่ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515-2519) โดยรัฐบาลในขณะนั้นได้กำหนดมาตรการมีลักษณะชั่วคราว เช่น ลดการใช้ไฟฟ้าแสงสว่างในทางสาธารณะลงร้อยละ 50 จำกัดขนาดเครื่องยนต์ของส่วนราชการที่จัดซื้อใหม่ไม่เกิน 1300 ซีซี เป็นต้น

  6. ซึ่งมาตรการเหล่านี้ยกเลิกไปหมดแล้วเมื่อสถานการณ์ผ่อนคลายลง สำหรับมาตรการด้านอนุรักษ์พลังงาน หรือการประหยัดการใช้พลังงานที่ใช้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) ก็ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการใช้น้ำมันยังอัตราที่สูงมาก มาตรการประหยัดพลังงานในขณะนั้นครอบคลุมทั้งการคมนาคมขนส่ง อุตสาหกรรม ภาคส่วนราชการซึ่งส่วนใหญ่เป็นมาตรการชั่วคราวที่เน้นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น เช่น จำกัดความเร็วรถยนต์นั่ง และรถบรรทุก กำหนดบัสเลนห้ามจอดรถในถนนสายหลัก ห้ามไม่ให้โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ใช้ไฟฟ้าในช่วงที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (Peak Load) สาธิตการประหยัดพลังงาน กำหนดเวลาเปิด-ปิดของสถานบริการ สถานเริงรมย์ ลดเวลาออกอากาศทางโทรทัศน์ในช่วงเย็น เป็นต้น

  7. จากมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลได้ใช้เพื่อเป็นการลดการใช้น้ำมัน และไฟฟ้าในช่วงที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีราคาแพง และขาดแคลนนั้น ยังไม่สามารถลดการใช้น้ำมัน และลดการพึ่งพาน้ำมันปิโตรเลียมจากต่างประเทศลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนกระทั่งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2525-2529) จึงได้มีการกำหนดนโยบายทางด้านพลังงานไว้ เพื่อใช้เป็นหลักในการพัฒนาด้านพลังงานของประเทศที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาประเทศ โดยรวมถึงการปรับโครงสร้างการผลิต และการใช้พลังงานให้ลดลง มาตรการประหยัดพลังงานที่นำมาใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในสาขาอุตสาหกรรมและคมนาคมขนส่งตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 นั้นกำหนดให้เน้นถึงประสิทธิภาพการใช้พลังงานต่อหน่วยการผลิตให้เกิดการประหยัด และลดการใช้พลังงานลง โดยให้มีการดำเนินงานในรูปโครงการประหยัดพลังงานของประเทศ

  8. โครงการดังกล่าวได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง และขยายขอบเขตกว้างขวางเพิ่มขึ้นจนถึงในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2530-2534) จึงได้กำหนดเป้าหมายเพิ่มขึ้นให้มีการอนุรักษ์พลังงานในอาคารพาณิชย์ และที่อยู่อาศัยด้วย ในปี พ.ศ.2529 ภายหลังจากที่ได้ดำเนินมาตรการส่งเสริมการประหยัดพลังงาน จนได้ผลมาในระดับหนึ่ง แต่จากการที่เศรษฐกิจของประเทศมีแนวโน้มที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในด้านการส่งออก การลงทุน และการท่องเที่ยว ทำให้ความต้องการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ขยายตัวขึ้นสูงตามไปด้วย จึงเป็นภาระของทั้งภาครัฐ และเอกชนในการจัดหาพลังงานมาสนองตอบความต้องการใช้ให้เพียงพอ การอนุรักษ์พลังงานอย่างมีประสิทธิผล และยั่งยืนจะเป็นมาตรการอีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยรักษาเสถียรภาพทางด้านพลังงานของประเทศได้ และจากการเห็นผลสำเร็จของต่างประเทศในการอนุรักษ์พลังงาน อาทิ ญี่ปุ่น เยอรมนี แคนาดา ซึ่งประเทศเหล่านี้มีกฎหมายอนุรักษ์พลังงานเป็นเครื่องมือสำคัญในการให้การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานแก่ภาคเอกชน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานได้ยกร่างกฎหมายส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานขึ้นมา และได้ผ่านการพิจารณาจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ.2535

  9. แผนยุทธศาสตร์การอนุรักษ์พลังงาน ในช่วงปี พ.ศ. 2545-2554 ความเป็นมา นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2544 แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามการดำเนินงานตามนโยบายประหยัดพลังงานของประเทศขึ้น ตลอดจนบรรลุผลสำเร็จตามแนวนโยบายของรัฐ ซึ่งต่อมาได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา 3 คณะ ประกอบด้วย

  10. คณะอนุกรรมการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานใน โรงงาน อาคาร และบ้าน • คณะอนุกรรมการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในสาขาขนส่ง • คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน เพื่อจัดทำแผนและเป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานของประเทศในระยะต่อไป ต่อมาได้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การอนุรักษ์พลังงาน ในช่วงปี พ.ศ. 2545-2554 ขึ้น และได้นำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2545 และวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 ตามลำดับ

  11. กรอบความคิดและแนวทางในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การอนุรักษ์พลังงานกรอบความคิดและแนวทางในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การอนุรักษ์พลังงาน คณะรัฐมนตรีได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 เห็นชอบทางการดำเนินงานแผนยุทธศาสตร์การอนุรักษ์พลังงาน ในช่วงปี พ.ศ. 2545-2554 มีกรอบความคิดและแนวทางหลัก ๆ ดังนี้ - เร่งเตรียมการปรับโครงสร้างการบริหารการจัดการพลังงานให้เหมาะสม และแก้ไขกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง ให้เอื้ออำนวยต่อโครงสร้างใหม่ - เร่งให้มีการพัฒนาพลังงานจากเชื้อเพลิงที่เป็นชีวมวล และพลังงานทดแทนอื่น ๆ เพื่อช่วยลดการพึ่งพาเชื้อเพลิง และพลังงานนำเข้า ซึ่งต้องคำนึงถึงความพร้อมของนโยบายด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย

  12. - เร่งจัดทำแผนประหยัด และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในทุกสาขา โดยเน้นการประหยัดพลังงานในภาคขนส่ง และให้ความสำคัญกับงานศึกษาวิจัยอย่างจริงจัง พร้อมทั้งเร่งพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ และปริมาณที่เพียงพอ และวางรากฐานการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาประเทศในระยะยาว - เร่งสร้างเครือข่ายเพื่อรณรงค์เรื่องการอนุรักษ์พลังงานของประเทศ ในช่วงปี พ.ศ. 2545-2554 ประกอบด้วย 4 ด้านหลัก คือ

  13. 1. ด้านการอนุรักษ์พลังงาน ประกอบด้วย - การอนุรักษ์พลังงานในโรงงาน / อาคาร และบ้านที่อยู่อาศัย มุ่งส่งเสริมการฝึกอบรมทักษะ และการให้ความรู้เรื่องการอนุรักษ์พลังงาน การพัฒนาบุคลากร พร้อมทั้งเร่งปรับปรุงกฎกระทรวง ระเบียบ และขั้นตอนการดำเนินงานตาม พ.ร.บ.การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535 ตลอดจนปรับปรุงรูปแบบของการให้การสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการใช้พลังงานของประเทศภายใน 10 ปีข้างหน้าลดลงในอัตราร้อยละ 4.21 หรือคิดเป็นจำนวนรวม 1,862.8 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อปี

  14. - การอนุรักษ์พลังงานในสาขาขนส่ง มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการจราจร และการขนส่งคน และสินค้า รวมทั้งการดำเนินการที่ทำให้มีการนำรถใหม่ที่มีประสิทธิภาพการใช้น้ำมันสูง และมีมลพิษต่ำมาใช้แทนรถเก่า รวมทั้งสนับสนุนให้มีการขนส่งสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกับส่งเสริมการขนส่งสาธารณะให้เป็นระบบขนส่งหลักของประเทศ ตลอดจนสนับสนุนให้ผู้ประกอบการขนส่งรายย่อยรวมตัวกันเพื่อจัดธุรกิจศูนย์ขนส่งสินค้า (Depot) กระจายทั่วประเทศ ซึ่งหาการดำเนินการตามแผนประสบผลสำเร็จ คาดว่าจะช่วยให้ความต้องการใช้น้ำมัน และเชื่อเพลิงอื่นๆ ของประเทศภายใน 10 ปีข้างหน้าลดลงในอัตราร้อยละ 22.16 หรือคิดเป็นจำนวนรวม 7,094.65 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อปี

  15. 2. ด้านการใช้พลังงานหมุนเวียน มุ่งสนับสนุนให้ทุนการศึกษา ทุนวิจัย และทุนพัฒนา นักวิจัยในแต่ละเทคโนโลยี และเร่งสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชน นักวิชาการ และผู้แทนประชาชน ตลอดจนเร่งทำให้ราคารับซื้อเพลิงอยู่ในระดับที่เหมาะสมรวมทั้งเร่งแก้ไขระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP ขนาดเล็กมาก และสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์บริการข้อมูล เพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษา และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพในระยะ 10 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะมีการใช้พลังงานหมุนเวียน ร้อยละ 9.39 ซึ่งจะช่วยลดการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ได้ถึง 5,068.83 พันตัน เทียบเท่าน้ำดิบต่อปี

  16. 3. ด้านการพัฒนาบุคลากร เพื่อเพิ่มจำนวน และคุณภาพของบุคลากรให้เพียงพอในการนำเป้าหมายของแผนอนุรักษ์พลังงานไปสู่การปฏิบัติ โดยมุ่งดำเนินการให้เกิดองค์กรความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงาน และการใช้พลังงานหมุนเวียน บูรณาการอยู่ในหลักสูตรประถมศึกษามัธยมศึกษา และอุดมศึกษาของประเทศ พร้อมทั้งส่งเสริมให้ผู้ที่จบการศึกษาระดับอุดมศึกษาแล้วได้รับการฝึกอบรมเพิ่มเติมด้านการอนุรักษ์พลังงาน และพลังงานหมุนเวียน

  17. 4. ด้านการประชาสัมพันธ์ ดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปทราบถึงความสำคัญ และผลกระทบของการใช้พลังงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งเผยแพร่วิธีการประหยัดพลังงานที่ทำได้ง่ายในชีวิตประจำวัน และมีการลงทุนต่ำหรือไม่มีเลย ตลอดจนรายงานผลสำเร็จ และผลตอบแทนการลงทุนในการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานหมุนเวียนให้ประชาชนทราบ เพื่อจูงใจให้มีผู้อนุรักษ์พลังงาน และใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น

  18. ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ เมื่อแผนยุทธศาสตร์การอนุรักษ์พลังงาน ในช่วงปี 2545-2554 ได้นำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังแล้ว จะทำให้เกิดการใช้พลังงานอย่างประหยัด และมีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยลดความต้องการใช้พลังงานของประเทศลง โดยจะมีการผลิต และการใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงจากต่างประเทศลง และจะทำให้ประชาชนทั่วไปได้ตระหนักถึงความสำคัญของการประหยัดพลังงาน และหันมาใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตลอดจนจะทำให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน และพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น

  19. แผนปฏิบัติการความร่วมมืออาเซียนด้านพลังงาน พ.ศ.2547-2552 แผนปฏิบัติการความร่วมมืออาเซียนด้านพลังงานนับเป็นแผนแม่บทในการพัฒนาด้านพลังงานที่สำคัญของภูมิภาคอาเซียน เพื่อให้วิสัยทัศน์อาเซียน 2020 (ASEAN Vision 2020) บรรลุผล ซึ่งจะก่อให้เกิดความมั่นคง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียนในเวทีโลกให้สูงขึ้น สำหรับวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 ได้กำหนดเป้ามายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับด้านพลังงานไว้ดังนี้

  20. “สร้างโครงข่ายเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียนด้านไฟฟ้า แก๊สธรรมชาติ และน้ำ ด้วยโครงการสายส่งไฟฟ้าอาเซียน(ASEAN Power Grid:APG) โครงการท่อส่งแก๊สธรรมชาติอาเซียน(Trans-ASEAN Gas Pipeline:TAGP) และโครงการท่อส่งน้ำอาเซียน (ASEAN Water Pipeline) โดยมุ่งมั่นในการสร้างกลไกการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนในภูมิภาค รวมทั้งเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชากรในภูมิภาคให้ดีขึ้น”

  21. แผนงานดำเนินการภายใต้กรอบของแผนปฏิบัติการความร่วมมืออาเซียนด้านพลังงานประกอบด้วยแผนงาน 6 ส่วนหลัก คือ 1. การเชื่อมโยงระบบสายส่งไฟฟ้าอาเซียน เพื่อเอื้อต่อการดำเนินงาน และเกิดกรอบนโยบายสำหรับโครงข่างไฟฟ้า 2. การเชื่อมโยงระบบท่อส่งแก๊สธรรมชาติอาเซียน เพื่อสนับสนุนการดำเนินการ และการสร้างความตระหนักถึงโครงการโครงสร้างพื้นฐานของการเชื่อมระบบท่อส่งแก๊สธรรมชาติอาเซียน เพื่อให้มั่นใจว่าโครงการมีคุณค่าทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น และมีแหล่งแก๊สธรรมชาติที่มั่นคง 3. กลุ่มงานด้านถ่านหิน เพื่อร่วมมือและส่งเสริมการพัฒนาการใช้ถ่านหินอย่างยั่งยืนพร้องกับการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และช่วยเหลือปัญหาที่เกี่ยวกับถ่านหินในอาเซียน 4. ด้านประสิทธิภาพพลังงานและการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือด้านประสิทธิภาพพลังงานและการอนุรักษ์พลังงานผ่านการสร้างขีดความสามารถของทางราชการและเพิ่มการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน โดยยกระดับความตระหนักของสาธารณชนพร้อมไปกับการขยายตลาดผลิตภัณฑ์ที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

  22. 5. ด้านพลังงานทดแทน เพื่อกำหนดและรักษาการพัฒนาที่ยั่งยืนในการใช้พลังงานทดแทนและเทคโนโลยีของพลังงานทดแทน 6. ด้านนโยบายและแผนพลังงานระดับภูมิภาค เพื่อส่งเสริมการวิเคราะห์นโยบายพลังงานของแต่ละประเทศ และภูมิภาค และวางแผนให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน แผนปฏิบัติการความร่วมมืออาเซียนด้านพลังงาน พ.ศ. 2547-255 เป็นเอกสารที่สะท้อนให้เห็นถึงลำดับความสำคัญของความร่วมมือด้านพลังงานในภูมิภาค แผนนี้จะได้รับการพิจารณาเพื่อปรับปรุงเป็นประจำทุกปีเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ และตอบสนองต่อสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในภูมิภาค

  23. จบการนำเสนอ

More Related