1 / 52

ข้อผิดพลาดที่พบมากที่สุดในการวิจัยเชิงคุณภาพของวงการวิจัยไทย

ข้อผิดพลาดที่พบมากที่สุดในการวิจัยเชิงคุณภาพของวงการวิจัยไทย. รองศาสตราจารย์ ดร. กรรณิการ์ สุขเกษม 27 พฤษภาคม 2562. ประเด็นที่จะนำเสนอ. ทำความเข้าใจการวิจัยเชิงคุณภาพแบบสรุปย่อ ความแตกต่างระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพที่นิยมในวงการวิจัยไทย

imunoz
Download Presentation

ข้อผิดพลาดที่พบมากที่สุดในการวิจัยเชิงคุณภาพของวงการวิจัยไทย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ข้อผิดพลาดที่พบมากที่สุดในการวิจัยเชิงคุณภาพของวงการวิจัยไทยข้อผิดพลาดที่พบมากที่สุดในการวิจัยเชิงคุณภาพของวงการวิจัยไทย รองศาสตราจารย์ ดร. กรรณิการ์ สุขเกษม 27 พฤษภาคม 2562

  2. ประเด็นที่จะนำเสนอ • ทำความเข้าใจการวิจัยเชิงคุณภาพแบบสรุปย่อ • ความแตกต่างระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ • การวิจัยเชิงคุณภาพที่นิยมในวงการวิจัยไทย • การมองผลงานการวิจัยเชิงคุณภาพ • การประเมินผลงานการวิจัยเชิงคุณภาพ • ความผิดพลาดของการวิจัยเชิงคุณภาพที่พบเห็นในแวดวงวิชาการไทย • แนวทางการแก้ไข

  3. ทำความเข้าใจการวิจัยเชิงคุณภาพแบบสรุปย่อทำความเข้าใจการวิจัยเชิงคุณภาพแบบสรุปย่อ การวิจัยเชิงคุณภาพ เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคม มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจสังคมที่เราอยู่ และ เพื่อค้นหาคำตอบให้กับคำถาม เช่น • ทำไมมนุษย์จึงมีพฤติกรรมอย่างนั้น อย่างนี้ ? • ความคิดเห็นและทัศนคติเรื่อง ... จะเกิดขึ้นได้อย่างไร ? • มนุษย์ได้รับอิทธิพลจากปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัวเขาอย่างไร ? • ความแตกต่างระหว่างกลุ่มสังคมต่าง ๆ (คนรุ่นเก่า รุ่นกลาง รุ่นใหม่ ?) • วัฒนธรรมได้พัฒนาอย่างนี้ ได้อย่างไร ? และ เพราะเหตุใด ?

  4. การวิจัยเชิงคุณภาพ • การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์เชิงสำรวจเพื่อรวบรวมข้อมูลที่ไม่ใช่ตัวเลข ไม่สนใจ 'การนับหรือการวัด' เหมือนในการวิจัยเชิงปริมาณ • วิธีการทั่วไปในการทำวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์ การสังเกต และ การสนทนากลุ่ม มีการใช้อย่างแพร่หลายในหลากหลายสาขาวิชา • การศึกษาเชิงจิตวิสัยของการวิจัยเชิงคุณภาพอาจทำให้ผู้วิจัยแยกออกจากข้อมูลได้ยาก หมายความว่าเป็นการยากที่จะรักษาความเป็นกลางและหลีกเลี่ยงอคติ • อคติ หมายถึง “ความโน้มเอียง หรือความรังเกียจ หรือ ความลำเอียงต่อบุคคลหรือกลุ่มคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางที่ถือว่าไม่ยุติธรรม” อาจเป็นอันตรายต่อความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างมากเนื่องจากอาจนำไปสู่การบิดเบือนความจริง และส่งผลกระทบต่อความถูกต้อง และเชื่อถือได้ของผลการวิจัย

  5. ข้อสมมติเชิงปรัชญาของการวิจัยเชิงคุณภาพข้อสมมติเชิงปรัชญาของการวิจัยเชิงคุณภาพ • ภววิทยา (ontology) – nature of reality ธรรมชาติของสิ่งที่ต้องการศึกษา เกี่ยวกับ ธรรมชาติ คุณสมบัติ และบริบทของสิ่งที่ต้องการศึกษา • ญาณวิทยา ( epistemology) – ความรู้หรือความจริงคืออะไร หรืออะไรคือความรู้ที่แท้จริง ไม่ใช้กรอบแนวความคิดหรือทฤษฎี แต่เป็นแบบ inductive • ค่านิยมวิทยา (axiology) – จริยธรรม และค่านิยมของผู้วิจัยที่มีในทุกขั้นตอนของการวิจัย

  6. ข้อสมมติเชิงปรัชญาของการวิจัยเชิงคุณภาพ (ต่อ) 4. วิธีวิทยา (methodology) – กระบวนการ ขั้นตอน วิธีการ และกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องทำ มีข้อคำถามที่ต้องการคำตอบ ไม่มีการกำหนดไว้ล่วงหน้า เก็บข้อมูลไปวิเคราะห์ไป จนอิ่มตัว 5.วาทกรรมวิทยา (rhetoric) – การใช้ภาษาในกระบวนการวิจัย และผลที่ได้จากการวิจัย ไม่เป็นทางการ

  7. ขั้นตอนที่สำคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพขั้นตอนที่สำคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ • ทบทวนวรรณกรรม • ระบุความสำคัญที่ต้องศึกษาให้ชัดเจน • กำหนดคำถามวิจัยให้ครอบคลุมประเด็นที่ต้องการ • กำหนดการปฏิบัติงานภาคสนาม • เก็บข้อมูลใช้เวลานาน หลายรอบ • บันทึกการเก็บข้อมูล • บันทึกงานสนาม • วิเคราะห์ไปพร้อมกับการเก็บข้อมูล • รายงานผล

  8. จาก สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2559). กระบวนทัศน์การวิจัย การประเมินผลโครงการวิจัยเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ และแบบผสม. กรุงเทพ: สามลดา .

  9. จุดแข็งของการวิจัยเชิงคุณภาพจุดแข็งของการวิจัยเชิงคุณภาพ • ให้ข้อมูลรายละเอียดอย่างลึกซึ้งและครบถ้วนตามสภาพความเป็นจริง ที่การวิจัยเชิงปริมาณไม่สามารถลงลึกในรายละเอียด • ได้ข้อมูลตามสภาพความเป็นจริงของเรื่องที่ศึกษาจากปากคำของผู้ให้ข้อมูลที่เรียกว่า “ผู้เข้าร่วมวิจัย” (research participants) • ใช้พหุวิธีเพื่อความถูกต้องของข้อค้นพบ • การใช้คำถามเปิด มีการซักไซ้ไล่เลียง(probing) ทำให้ผู้เข้าร่วมวิจัยมีโอกาสได้ให้ข้อมูลอย่างอิสระ โต้ตอบ ซักถาม ทำให้ได้ข้อมูลที่ดี ไม่คาดคิด สมบูรณ์กว่า

  10. จุดแข็งของการวิจัยเชิงคุณภาพ(ต่อ)จุดแข็งของการวิจัยเชิงคุณภาพ(ต่อ) • เก็บข้อมูลจากสภาพธรรมชาติ ไม่มีภาวะแทรกซ้อน • เป็นการตีความแบบอิสระ ไม่มีโครงสร้าง • มีความยืดหยุ่นในการศึกษา • ให้ความเข้าใจสถานการณ์และพฤติกรรมที่ซับซ้อน • การรายงานแบบเล่าเรื่องสามารถเข้าใขได้มากกว่าการนำเสนอด้วยตาราง สถิติ ตัวเลข โดยเฉพาะกับผู้ที่ไม่ใช่นักสถิติ

  11. จุดอ่อนของการวิจัยเชิงคุณภาพจุดอ่อนของการวิจัยเชิงคุณภาพ • ข้อค้นพบจะนำไปอ้างใช้กับกรณีอื่น(ทั่วๆไป)ไม่ได้ • ตัวผู้วิจัย คือ เครื่องมือที่สำคัญที่สุด และ จะต้องได้รับการอบรมเป็นพิเศษ • ใช้เวลามาก(การเก็บ/วิเคราะห์ข้อมูล) และ ทำได้กับประชากรกลุ่มเล็กเท่านั้น

  12. จุดอ่อนของการวิจัยเชิงคุณภาพ (ต่อ) • วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และ วิเคราะห์ข้อมูลขึ้นกับผู้วิจัยมาก • การตีความผลลัพธ์จะมีอคติได้ง่ายเพราะขึ้นอยู่กับแนวคิดของนักวิจัย เป็นจิตวิสัยมาก • ไม่ได้นำปัจจัยส่วนบุคคลเข้ามาพิจารณา

  13. สรุปการวิจัยเชิงคุณภาพสรุปการวิจัยเชิงคุณภาพ 1. เน้นเรื่องความเข้าใจ ค้นหาความจริง ในสภาพแวดล้อม 2. เน้นความเข้าใจจากทัศนะหรือมุมมองของผู้ให้ข้อมูล 3. วิธีการศึกษาโดยการตีความและอาศัยเหตุผล 4. ใช้การสังเกตการณ์ และประเมินในสภาพธรรมชาติ 5. เชิงจิตวิสัยได้ข้อมูลจากมุมมองของบุคคลภายในที่ใกล้ชิดกับข้อมูล 6. ขั้นตอนการวิจัยเชิงคุณภาพ

  14. สรุปการวิจัยเชิงคุณภาพ (ต่อ) 7. การค้นหาคำอธิบาย 8. เน้นที่กระบวนการ 9. การมีโลกทัศน์แบบภาพรวม 10. มีการเปรียบเทียบของคุณสมบัติและบริบทของบุคคล

  15. ความแตกต่างระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ • การวิจัยเชิงคุณภาพ • จิตวิสัย • ให้ความสนใจกับความเข้าใจพฤติกรรมของ • มนุษย์ • นักวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ: มุมมอง • จากภายใน • ขึ้นอยู่กับบริบท • มุ่งมั่นเพื่อความเป็นเอกลักษณ์ • ไม่ให้ความสำคัญกับขนาดของตัวอย่าง • เน้นที่ความเป็นจริงที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การวิจัยเชิงปริมาณ • วัตถุวิสัย • ค้นหาความจริงหรือสาเหตุของปรากฎการณ์ทางสังคมโดยไม่คำนึงถึงตัวบุคคล • นักวิจัยแยกจากกระบวนการ: จากมุมมองภายนอก • เป็นอิสระจากบริบท • มุ่งมั่นเพื่อใช้ได้ทั่วไป • ขนาดตัวอย่างเป็นเรื่องสำคัญ • มุ่งเน้นที่ความจริงแบบคงที่ด้วยความหวังในการพัฒนาเป็นกฎของสากล

  16. เปรียบเทียบการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ

  17. ปรัชญาของการวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ • เชิงคุณภาพ ใช้หลักตรรกวิทยาแบบinductive เป็นสำคัญ เชิงปริมาณ ใช้หลักตรรกวิทยาแบบ deductive เป็นสำคัญ

  18. การวิจัยเชิงคุณภาพที่นิยมใช้ในวงการวิจัยไทยการวิจัยเชิงคุณภาพที่นิยมใช้ในวงการวิจัยไทย • การสัมภาษณ์เจาะลึก (in-depth interview) • การสนทนากลุ่ม (focus group) • ประชุมระดมสมอง (brainstorming) • การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (participatory action research) • การสังเกต (observation) • แบบมีส่วนร่วม • แบบไม่มีส่วนร่วม

  19. ผลงานการวิจัยเชิงคุณภาพผลงานการวิจัยเชิงคุณภาพ • มักถูกวิพากษ์วิจารณ์เนื่องจากขาดความโปร่งใส และความเข้มงวดทางวิทยาศาสตร์ • มักถูกวิจารณ์ผลงานที่อยู่ภายใต้อคติของนักวิจัย อย่างไรก็ตามการวิจัยเชิงคุณภาพมีประโยชน์ในการยืดหยุ่นและให้ความคิดสร้างสรรค์ จึงให้ข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมที่ไม่สามารถรวบรวมได้จากการวิจัยเชิงปริมาณ • นักวิจัยเชิงคุณภาพต้องเผชิญกับอคติประเภทใด และมีวิธีการหลีกเลี่ยงใด ๆ เมื่อจะเข้าใจและระบุอคติชนิดต่าง ๆ แล้วก็จะง่ายขึ้นที่จะใช้มาตรการเพื่อหลีกเลี่ยง • ในวงกว้างอคติมีสองประเภท คือ • อคติของผู้เข้าร่วม และ • อคตินักวิจัย

  20. อคติของผู้เข้าร่วม และอคติของนักวิจัย • อคติของผู้เข้าร่วม • เกิดจากผู้ตอบแบบสอบถามหรือผู้เข้าร่วมตอบคำถามตามสิ่งที่คิดว่าเป็นคำตอบที่ถูกต้อง หรือสิ่งที่เป็นที่ยอมรับของสังคมมากกว่าสิ่งที่รู้สึก • อาจนำมาซึ่งความลำเอียงของผู้เข้าร่วม คือ ถ้าผู้เข้าร่วมมีความเห็นเกี่ยวกับสปอนเซอร์ของการวิจัยซึ่งอาจทำให้พวกเขาเห็นด้วยกับทุกอย่างหรือไม่เห็นด้วยกับทุกอย่าง • อคติของนักวิจัย • อาจมีหากนักวิจัยตีความข้อมูลโดยไม่เจตนาเพื่อให้เป็นไปตามสมมติฐานของเขา เขาอาจถามคำถามตามลำดับที่อาจส่งผลต่อการตอบคำถามของผู้เข้าร่วมต่อคำถามถัดไป หรือถามคำถามนำที่อาจทำให้เกิดการตอบสนองบางอย่าง • ในขณะที่จะหลีกเลี่ยงอคติอย่างสมบูรณ์เป็นไปไม่ได้ แต่มีหลายวิธีในการลด

  21. การประเมินผลงานการวิจัยเชิงคุณภาพ - มีหลากหลายวิธี • ประเด็นเชิงญาณวิทยา หรือ เชิงศาสตร์แห่งความรู้ • การออกแบบวิจัย • การเลือกตัวอย่าง และการจัดเก็บข้อมูล • ความชัดเจนเกี่ยวกับเนื้อหาสาระของบทความของวิจัย • กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล • ข้อค้นพบ/การตีความและความคุ้มค่าของงานวิจัย และ • นัยสำคัญกับขอบเขตของการวิจัย

  22. ตัวอย่าง - องค์ประกอบของงานวิจัย - 8 หัวข้อ

  23. องค์ประกอบของงานวิจัย (ต่อ)

  24. นักวิจัยเชิงคุณภาพควรทราบเกณฑ์การประเมินเพื่อพัฒนางานของตนนักวิจัยเชิงคุณภาพควรทราบเกณฑ์การประเมินเพื่อพัฒนางานของตน • สิบหลักเกณฑ์ในการประเมินงานวิจัยเชิงคุณภาพของฮอร์สเบริกฮ์ (Horsburgh) (1) การเข้าสนาม (field entry) (2) ความสัมพันธ์ระหว่างผู้วิจัยและผู้เข้าร่วมวิจัย (reflexivity) (3) การใช้ภาษา (rhetoric) ในการเขียนงานวิจัย (4) การให้ความสำคัญเกี่ยวกับบริบท (context) ของงานวิจัย (5) การคัดเลือกผู้เข้าร่วมวิจัย (6) ลักษณะจัดเก็บข้อมูลไปวิเคราะห์ไป (7) การตีความ (interpretation) คำบอกเล่าของผู้เข้าร่วมวิจัย (8) การรับรู้ความรู้พื้นฐาน (lay knowledge) ของผู้เข้าร่วมวิจัย (9) ความยืดหยุ่นในกระบวนการวิจัย (flexibility) และ (10) ความใช้ได้ทั่วไป (generalizability) ของข้อค้นพบ

  25. หกหลักเกณฑ์ในการประเมินงานวิจัยเชิงคุณภาพของบรอมเลย์และคณะ(Bromley et al.) • ญาณวิทยา หรือข้อสมมติเชิงทฤษฎี • การออกแบบวิจัย • การสุ่มตัวอย่างและการเก็บข้อมูล • การวิเคราะห์ข้อมูล • ข้อค้นพบ/การตีความ/ความไว้วางใจ • ความสำคัญ/ของการวิจัย

  26. ความผิดพลาดของการวิจัยเชิงคุณภาพที่พบเห็นในแวดวงวิชาการไทยความผิดพลาดของการวิจัยเชิงคุณภาพที่พบเห็นในแวดวงวิชาการไทย • ดูจากผลงานการเขียนรายงาน • ย้อนไปดูที่กล่าวมาแล้วในทุกหัวข้อ • ที่สำคัญที่สุด คือ ไม่มีการวิเคราะห์ เพียงแต่เล่าข้อมูลที่ไปสอบถามมาแต่ละคน รายงานหนามาก • ยังทำแบบโบราณ ไม่ใช้เทคนิคที่ทันสมัย เช่น โปรแกรมการวิเคราะห์ที่จะทำให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพ

  27. ไม่ยากที่จะระบุแหล่งที่มาของความผิดพลาดในการวิจัยทั้งหมดไม่ยากที่จะระบุแหล่งที่มาของความผิดพลาดในการวิจัยทั้งหมด ตัวอย่างเช่น: • อคติในการคัดเลือก รวมถึงการสุ่มตัวอย่าง เวลาสถานที่เหตุการณ์ผู้คนปัญหาคำถาม และความสมดุลระหว่างการแสดงออกและความจริง • ความพร้อมใช้งาน และความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล หรือชนิดของข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะโดยทั่วไปหรือความพร้อมให้กับนักวิจัยที่แตกต่างกัน • ความสัมพันธ์ของนักวิจัยกับคนบางประเภท การออกแบบ ข้อมูล ทฤษฎี แนวคิดคำ คำอธิบาย • ความสามารถของนักวิจัย รวมถึงความรู้ ทักษะ จุดแข็งของระเบียบวิธี ความสามารถในการจินตนาการ • คุณค่าและความมุ่งมั่นของนักวิจัย และความรู้ของพวกเขาหรือสิ่งอื่นใด

  28. ไม่ยากที่จะระบุแหล่งที่มาของความผิดพลาดในการวิจัยทั้งหมด(ต่อ)ไม่ยากที่จะระบุแหล่งที่มาของความผิดพลาดในการวิจัยทั้งหมด(ต่อ) • คุณสมบัติส่วนบุคคลของนักวิจัย รวมถึงความสามารถในการมีสมาธิและความอดทน (ความอดทนต่อความเบื่อหน่ายและความกำกวม) • ความต้องการในการแก้ไข ข้อสรุป และความมั่นใจ • ปัญหา คือ แม้ว่ามันจะง่ายต่อการระบุแหล่งที่มีศักยภาพของข้อผิดพลาด ไม่สามารถสร้างกฎสำหรับการตัดสินความถูกต้องของการศึกษาหรือการสอบถามโดยเฉพาะ หรือเป็นไปไม่ได้ที่จะระบุขั้นตอนซึ่งถ้าปฏิบัติตามจะเป็นการกำจัดอคติและความผิดพลาดอย่างเป็นระบบ ดังนั้นเราจึงต้องคิดถึงกระบวนการทางสังคมที่อาจทำให้การวิจัยมีความซื่อสัตย์ และยุติธรรม และยกระดับคุณภาพ

  29. ความผิดพลาดของงานวิจัยเชิงคุณภาพ - เกิดได้ในทุกเรื่อง • ชื่อเรื่อง • ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา • วัตถุประสงค์ และคำถามวิจัย • ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ • การทบทวนวรรณกรรม • ระเบียบวิธีวิจัย • การรายงานผล/ข้อค้นพบ • บทสรุปและข้อเสนอแนะ • เอกสารอ้างอิง • ภาคผนวก

  30. ชื่อเรื่อง • ไม่สื่อความ • ไม่ชัดเจน ยาวเกินไป หรือสั้นเกินไป • ไม่สอดคล้องกับประเด็นสำคัญที่ต้องการศึกษา • ไม่ครอบคลุมประเด็นที่ศึกษา ไม่รู้ว่าทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร • ไม่ตรงประเด็นปัญหาวิจัย และวัตถุประสงค์วิจัย

  31. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา • ไม่สอดคล้องกับประเด็นสำคัญซึ่งต้องการศึกษา • เนื้อหาสั้นหรือยาวเกินไป • ไม่มีหลักฐานประกอบการเขียน(การอ้างอิง) • อ้างอิงเอกสาร/ผลงานเก่า มีแต่ของคนไทย • มีอ้างอิงในเนื้อหาแต่ไม่มีในเอกสารอ้างอิง และกลับกัน • อ้างอิงข้อมูลไม่ครบถ้วน ของประเทศอื่น ระดับประเทศ และพื้นที่ทำการวิจัย

  32. วัตถุประสงค์ และคำถามวิจัย • ไม่ตรงกับความสำคัญของปัญหา และชื่อเรื่องวิจัย • ไม่มีคำถามวิจัย ขอบเขตของการวิจัย ไม่ครบถ้วน ขอบเขตด้านพื้นที่ ขอบเขตด้านประชากร ขอบเขตด้านเนื้อหา ขอบเขตด้านระยะเวลา

  33. อะไรเป็นคำถามวิจัยเชิงคุณภาพที่ดี?อะไรเป็นคำถามวิจัยเชิงคุณภาพที่ดี? • คำถามการวิจัยเชิงคุณภาพนั้นมีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับผู้ที่ต้องการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวหรือแบบสนทนากลุ่ม เพื่อเข้าใจกลุ่มประชากรเป้าหมายว่าคิดและรู้สึกอย่างไร และทำไมพวกเขาถึงเลือกอย่างนี้ อย่างนั้น • คุณสมบัติที่สำคัญของคำถามการวิจัยเชิงคุณภาพที่ดีคือ: 1. ความสามารถในการค้นพบปัญหาและโอกาสจากผู้ตอบ2. เปิดกว้างโดยธรรมชาติ3. เข้าใจง่ายและสรุปง่ายโดยไม่ต้องชี้แจง

  34. การถามคำถามที่ถูกต้องการถามคำถามที่ถูกต้อง • ขึ้นอยู่กับเป้าหมายและรูปแบบที่จะทำการวิจัยเชิงคุณภาพ คำถามจะแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม หรือการสังเกต คำถามต้องได้รับการระบุอย่างชัดเจนก่อนเริ่มกระบวนการ • พิจารณาถึงเป้าหมาย ว่าจะถามใคร เคล็ดลับที่ควรพิจารณา: • ใช้คำกริยา: บทบาทของนักวิจัย คือขอให้พวกเขาอธิบาย บอกลักษณะ ความเข้าใจ การพิจารณา ประเด็นของการซักถามนั้นจะนำไปสู่รายละเอียดของข้อมูลที่ต้องการ • ระบุหัวข้อคำถามที่น่าสนใจ: ต้องชัดเจนเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นหัวข้อจริงก่อน แล้วถามคำถามเพื่อให้ผู้ตอบได้แจกแจงลงในรายละเอียด

  35. คำถาม • ภาษากลางที่ไม่ใช่ทิศทางบวก - ลบ: หลายครั้งที่นักวิจัยใส่ความรู้สึกส่วนตัวไปสู่คำถาม ซึ่งจะสร้างอคติในการตอบสนอง • กำหนดตัวอย่างและสถานที่ตั้ง: จะทำการวิจัย - วิธีใด คำถามอาจแตกต่างกันไป ต้องมีคำชี้แจงว่าทำไมกำลังดำเนินการวิจัยมีประโยชน์ ณ จุดนี้ เป้าหมายคืออะไร • ต้องแม่นยำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้: งานส่วนใหญ่เกิดขึ้นในขั้นตอนการสร้างคำถาม หากเร่งรีบและสร้างคำถามแบบลวก ๆ ก็มีโอกาสได้รับคำตอบแบบลวก ๆ ตัวอย่าง: • เพื่อสำรวจมุมมองของผู้หญิงที่อ่านเรื่องการวิจัยความงาม • เพื่อทำความเข้าใจมุมมองของผู้เยี่ยมชมสถานปฎิบัติธรรม • เพื่ออธิบายและจำแนกปัจจัยที่กำหนดแรงจูงใจของผู้เยี่ยมชมบ้านผู้สูงอายุ • เพื่อทำความเข้าใจความรู้ ทัศนคติ ความเชื่อ ความชอบ และอุปสรรคเกี่ยวกับการดูแลเด็กก่อนวัยเรียน

  36. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ • เขียนตามวัตถุประสงค์ ต่างที่สำนวน • เขียนเอง ไม่เกี่ยวกับเรื่องทีศึกษา • ไม่พูดถึงประโยชน์เกิดแก่ใคร ใครจะนำไปใช้ จะเกิดขึ้นได้อย่างไร

  37. การทบทวนวรรณกรรม • อ้างอิงไม่เกี่ยวกับเรื่อง • เขียนแบบไม่บูรณาการ • วรรณกรรมเก่า ไม่ทันสมัย • มีแต่ของไทย ไม่มีของต่างประเทศ • ใช้ “อ้างใน” มาก • คัดลอกมาเป็นคน ๆ ตัดแปะ • ไม่มีการสรุป วิเคราะห์ แสดงความคิดเห็น • ไม่เพียงพอที่จะเข้าใจเนื้อหาสาระที่ศึกษา • แหล่งค้นคว้าไม่น่าเชื่อถือ • ไม่สอดรับกับเอกสารอ้างอิง

  38. การทบทวนวรรณกรรม (ต่อ) • ถือเป็นเรื่องสำคัญ นักวิชาการ กล่าวว่า “การได้อยู่อย่างทันยุคทันสมัยกับวรรณกรรมเป็นทักษะที่สำคัญที่สุดของอาชีพการทำงานของนักวิจัย การทราบว่าช่องว่างปัจจุบันอยู่ที่ใด จะทำให้นักวิจัยทันสมัย และไม่หลุดออกไปนอกสาขา” • การทบทวนวรรณกรรมเป็นการประเมินผลงาน • การทบทวนวรรณกรรมที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับงานวิจัยที่ดี • กลยุทธ์การค้นหาอาจไม่ถูกต้องทั้งหมดหรือไม่เพียงพอ • จะต้องนำเสนอมุมมองของสาขาการวิจัยตามที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

  39. เคล็ดลับเหล่านี้จะช่วยให้เริ่มต้นในการทบทวนวรรณกรรมเคล็ดลับเหล่านี้จะช่วยให้เริ่มต้นในการทบทวนวรรณกรรม 1. ขยายขอบเขตการค้นหา 2. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าใช้คำหลักที่ถูกต้อง 3. หากพบบทความที่เกี่ยวข้องให้ลงรายละเอียดในเชิงลึก 4. ทำตามการอ้างอิงของบทความที่ค้นหามาได้ (ค้นหาต่อ) 5. ขอความช่วยเหลือจากบุคคล/หน่วยงาน

  40. การออกแบบการวิจัย • การออกแบบการวิจัย หมายถึง การวางแผน โครงสร้าง และกลยุทธของการวิจัย เป็นเหมือนพิมพ์เขียวที่ชี้แนะแนวทางของกระบวนการวิจัยทั้งหมด • การทดสอบคุณภาพของการออกแบบการวิจัย คือ ความถูกต้องของการสรุปผลการศึกษา • อคติการออกแบบ • การออกแบบการศึกษาที่ไม่ดีและความไม่ลงรอยกันระหว่างจุดมุ่งหมายและวิธีการเพิ่มโอกาสของความลำเอียง • ความมีอคติสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อความเชื่อส่วนตัวของนักวิจัยมีอิทธิพลต่อการเลือกคำถามและวิธีการวิจัย • ตัวอย่างเช่น นักวิจัยที่ทำงานให้กับบริษัทยาอาจเลือกคำถามการวิจัยที่สนับสนุนประโยชน์ของยาที่ถูกตรวจสอบ

  41. การเลือกผู้เข้าร่วม • อคติของการคัดเลือก / ผู้เข้าร่วม • อคติการคัดเลือกนั้นเกี่ยวข้องกับทั้งกระบวนการสรรหาผู้เข้าร่วม และศึกษาเกณฑ์การคัดเลือก • การวิจัยที่ประสบความสำเร็จเริ่มต้นด้วยการคัดเลือกผู้เข้าร่วมที่ตรงตามเป้าหมาย • ตัวอย่างเช่น อคติการสรรหาอาจเกิดขึ้นได้หากผู้เข้าร่วมได้รับเชิญให้เข้าร่วมในการสำรวจที่โพสต์บนอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะแยกบุคคลโดยไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตโดยอัตโนมัติ • นอกจากนี้การทำรายชื่อสำหรับความแตกต่างระหว่างคนที่ยังคงอยู่ในการศึกษาและผู้ที่ถอนตัวอาจมีความสำคัญในการออกแบบการศึกษาบางอย่าง • ตัวอย่างเช่น การประเมินผลโปรแกรมลดน้ำหนักอาจได้รับผลกระทบจากการถอนตัวของผู้เข้าร่วม

  42. การเก็บข้อมูล • ความลำเอียงในการเก็บข้อมูล • อคติการรวบรวมข้อมูลสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อความเชื่อส่วนตัวของนักวิจัยมีอิทธิพลต่อวิธีการรวบรวมข้อมูลหรือข้อมูล • ไม่เหมาะสำหรับการสถานที่เฉพาะหรือกลุ่มผู้ป่วย (เช่น การใช้เครื่องมือประเมินความเจ็บปวดด้วยวาจากับเด็กเล็ก) เครื่องมือที่ไม่ได้สอบเทียบอย่างถูกต้องอาจวัดอย่างไม่ถูกต้องอย่างสม่ำเสมอ (ตัวอย่างเช่น การชั่งน้ำหนักทารกที่มีเครื่องชั่งน้ำหนักที่สอบเทียบไม่ดี) • ในการศึกษาย้อนหลัง เช่น เมื่อทำแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการกินเมื่อการรวบรวมข้อมูลอาศัยการเรียกความจำ ผู้เข้าร่วมอาจไม่จำและรายงานเหตุการณ์ได้ไม่ถูกต้อง • ในการวิจัยเชิงคุณภาพการสัมภาษณ์เป็นวิธีที่ใช้กันทั่วไปในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีถามคำถามจะมีผลต่อข้อมูลที่ได้รับ ตัวอย่างเช่น คำถามนำ “คุณพบว่าบริการสุขภาพที่โรงพยาบาลไม่ดีหรือไม่” มีแนวโน้มที่จะได้รับคำตอบที่ใช่หรือไม่ใช่ และไม่ได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประสบการณ์ของผู้เข้าร่วม อาจด้วยคำถาม 'โปรดอธิบาย ถึงความรู้สึกในการไปโรงพยาบาลครั้งสุดท้ายของคุณ?'

  43. ระเบียบวิธีการวิจัย • ไม่ได้กล่าวถึงวิธีการ และเหตุผลในการเลือกพื้นที่/ประชากรเป้าหมาย/ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ การเข้าสู่งานสนาม และการออกจากงานสนาม • ขนาดตัวอย่าง ความอิ่มตัว(saturation) • วิธีการรวมถึง • การสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว • การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ • การสนทนากลุ่ม • การสังเกต (ในสถานที่ตั้งตามธรรมชาติ) • เป็นต้น

  44. เลือกวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพที่เหมาะสมเลือกวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพที่เหมาะสม • การวิจัยเชิงคุณภาพเกี่ยวข้องกับรูปแบบและวิธีการที่แตกต่างกันมากมายโดยแต่ละวิธีมีการใช้งานและเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง • การสัมภาษณ์ • ควรถูกพิจารณาว่าเป็น "การสนทนาโดยมีวัตถุประสงค์" มีวิธีในการสัมภาษณ์ ตัวต่อตัว หรือทางโทรศัพท์ หรือทางออนไลน์ ขณะที่อยู่ในโลกดิจิตอลในปัจจุบันผู้คนมีโอกาสน้อยที่จะเผชิญหน้ากัน ที่จะทำให้มีโอกาสที่ความแม่นยำจะลดลงเมื่อไม่สามารถเห็นบุคคลและการแสดงออกเมื่อพวกเขาตอบ • มีประโยชน์สำหรับ: มุมมองและประสบการณ์ของแต่ละบุคคล หัวข้อที่ละเอียดอ่อน สถานการณ์ที่มีการรับรู้ถึงอันตรายของการแก้แค้น หัวข้อที่ไม่สามารถตรวจสอบผ่านการสำรวจ การรวบรวมข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับหัวข้อ

  45. การจัดการกับข้อมูล • เมื่อได้เก็บข้อมูลมาแล้ว ต้องนำมาเข้ากระบวนการจัดการกับข้อมูล • ข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อผิดพลาดในการถอดความ สามประเภท ได้แก่ • ความล้มเหลวของอุปกรณ์ • อันตรายจากสิ่งแวดล้อม และ • ข้อผิดพลาดในการถอดความ

  46. การวิเคราะห์ข้อมูล • การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นเรื่องใหญ่ มีหลากหลายแบบ • แบบดั้งเดิม • แบบเริ่มพัฒนา (ใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น) • แบบก้าวหน้า (ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์) • อคติในการวิเคราะห์ • เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยอาจมองหาข้อมูลที่ยืนยันสมมติฐานของตน หรือยืนยันประสบการณ์ส่วนตัว โดยไม่มองข้อมูลที่ไม่สอดคล้องกับความเชื่อส่วนตัว

  47. กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล (ทำการวิเคราะห์ไปพร้อมกับการเก็บข้อมูล) ได้ข้อความการ อ่านทบทวน ดึงประเด็น สัมภาษณ์มา หลาย ๆ รอบ ที่เกี่ยวข้อง ตั้งชื่อประเด็น ทบทวนใหม่ เหล่านั้น(ให้รหัส) รวมกลุ่มให้ เหลือน้อยลง ได้กรอบแนวคิด (กลุ่มรหัส) สร้างแบบจำลอง (network)

  48. การเขียนรายงาน • นักวิจัยต้องเรียนรู้การเขียนงานที่ดี • มีแบบฟอร์มการเขียนรายงานที่ถูกต้อง • กติกา APA • อคติของสำนักพิมพ์ • การศึกษาที่ตีพิมพ์มักมีอคติในระดับหนึ่ง ตัวอย่างเช่นในการวิจัยเชิงปริมาณการศึกษามีแนวโน้มที่จะได้รับการตีพิมพ์ ถ้ารายงานการค้นพบที่มีนัยสำคัญทางสถิติ การไม่ได้รับการตีพิมพ์ในการศึกษาเชิงคุณภาพมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากการขาดความลึกเมื่ออธิบายวิธีการศึกษา

  49. การเขียนรายงานผลการวิจัยการเขียนรายงานผลการวิจัย 1. ดำเนินการวิเคราะห์โดยเร็ว โดยอาจทำคู่ขนานกับการเก็บข้อมูล และเขียนรายงาน (ทำทันที ไม่ทิ้งไว้นาน) 2. ถ้ามีผู้ร่วมงานหลายคนเป็นการ cross-check ซึ่งกันและกัน 3. ใช้เวลาสำหรับการอ่านและเขียนอย่างต่อเนื่อง 4. ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วย 5. รายงานร่างแรกให้คนอื่นช่วยอ่าน ปรับแก้หลาย ๆ รอบ จนได้ฉบับสุดท้ายที่ค่อนข้างสมบูรณ์ 6. ระหว่างการเขียนอาจมีการประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อระดมสมองแสดงความคิดเห็นให้งานยิ่งมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

  50. แนวทางแก้ไข • ตัวผู้วิจัย (researcher) • ความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจ ประสบการณ์ • วิธีการที่ใช้ (methodology) • การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การเขียนรายงาน • เครื่องมือ อุปกรณ์ (tool) • ที่ใช้ในทุกขั้นตอนของการวิจัย รวมถึงการเข้าถึง • สภาพแวดล้อม • ความร่วมมือ การเข้าถึงตัวบุคคล • วิธีการนำเสนอ/จริยธรรม • การเรียงลำดับ การนำเสนอ ภาษาสำนวณ

More Related