1 / 39

การเลือกและการใช้งานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้

หน่วยที่ 2. การเลือกและการใช้งานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้. การเลือกและการใช้งานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้. ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์ องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ องค์ประกอบด้านฮาร์ดแวร์ องค์ประกอบด้านซอฟต์แวร์ องค์ประกอบด้านบุคลากร องค์ประกอบด้านข้อมูลและสารสนเทศ

Download Presentation

การเลือกและการใช้งานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หน่วยที่ 2 การเลือกและการใช้งานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้

  2. การเลือกและการใช้งานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้การเลือกและการใช้งานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้ ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์ องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ องค์ประกอบด้านฮาร์ดแวร์ องค์ประกอบด้านซอฟต์แวร์ องค์ประกอบด้านบุคลากร องค์ประกอบด้านข้อมูลและสารสนเทศ องค์ประกอบด้านระเบียบปฏิบัติและกระบวนการ องค์ประกอบด้านระบบสื่อสารข้อมูล การเลือกและใช้งานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

  3. 2.1.ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์2.1.ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งตามขนาดและประสิทธิภาพ 1.ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ( Supercomputer ) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็ว ในการทำงาน และมีประสิทธิภาพสูงสุด มีราคาแพงมาก ดูแลรักษายาก เหมาะกับงานที่มีข้อมูลจำนวนมาก มีขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อน   ตัวอย่างการใช้งาน  เช่น ในต่างประเทศ ใช้ในการพยากรณ์สภาพอากาศล่วงหน้า สามารถบอกได้ว่าพื้นที่ใดจะมีฝนตก ฯลฯ

  4. 2.เมนเฟรม (Mainframe )  เป็นเครื่องที่มีขนาดใหญ่ มีประสิทธิภาพรองจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์    ผู้ใช้หลายร้อยคน สามารถใช้งานพร้อมกันได้  มี ใช้ในองค์กรขนาดใหญ่ เช่น ระบบธนาคารให้บริการถอนเงินอัตโนมัติ    ปัจจุบัน เริ่มลดความสำคัญลง เพราะใช้ระบบการประมวลผล แบบศูนย์กลาง   ซึ่งมีข้อเสียหลายประการ ใช้การลงทุนสูง ดูแลรักษายาก ฯลฯ

  5. 3.มินิคอมพิวเตอร์( Mini Computer ) เป็นเครื่องที่ทำงานได้เหมือนกับเครื่องเมนเฟรม   แต่มีขนาดเล็กกว่า ราคาถูกกว่า มีหลาย CPU จึงสามารถประมวลผลแบบหลายงาน (Multi Tasking & Multi Programming) นิยมนำไปทำเป็นเครื่อง  Server   มีใช้อยู่ในมหาวิทยาลัยต่างๆ และองค์กรทั่วไป

  6. 4.คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล4.คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer /Micro Computer ) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ แบบตั้งโต๊ะ มี CPUเดียว แต่สามารถทำงานหลาย ๆ พร้อมกันได้ เนื่องจาก ใช้หลักการแบ่งเวลากันทำงาน (Time Sharing)มีราคาถูก ทำให้คนทั่วไป สามารถหาซื้อมาใช้ได้ นอกจากนี้ยัง สามารถซื้ออุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ มาประกอบ เป็นระบบมัลติมีเดียได้ คือ ทำให้คอมพิวเตอร์มีทั้งภาพ (ภาพนิ่ง, ภาพเคลื่อนไหว) ,  เสียง , ข้อความ เราสามารถฟังเพลง พร้อมกับพิมพ์งานไปด้วย หรือดูหนังก็ได้ กลายเป็นคอมพิวเตอร์เอนกประสงค์ เหมาะกับการใช้งานทั่วไป

  7. 4.คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(Personal Computer / Micro Computer )   เนื่องจากมีผู้นิยมทั่วโลก   จึงมีการพัฒนา ทั้งทางด้าน Hardware และ Software มากมาย  ทำให้มีรุ่นใหม่ ๆ ออกมาเร็วมาก  ดังนั้น การเลือกซื้อ ก็ให้เหมาะกับงานที่เราจะทำ   ปัจจุบันมักเรียกตามชื่อของ CPU เช่น รุ่น 386, 486, Pentium I (60-166 MHz) ,Pentium II (200-450 MHz ), Pentium III (450 MHz -1000 MHz) , Pentium IV เป็นต้น

  8. 5. คอมพิวเตอร์กระเป๋าถือ(Laptop Computer) เป็นคอมพิวเตอร์แบบเคลื่อนย้ายไปมาได้สะดวก มีขนาดเล็กกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล   โดยทั้งชุดสามารถเก็บไว้ในกระเป๋าที่สามารถถือไปมาได้   แต่ไม่เป็นที่นิยมใช้แล้ว เพราะ มีคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น ที่มีขนาดเล็กกว่า ใช้งานได้ดีกว่า  6.คอมพิวเตอร์โน๊ตบุค(Notebook Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่สามารถพกพาไปในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก มีขนาดเล็กกระทัดรัด บางรุ่นมีขนาดเท่ากับหนังสือตำรา เล่มโต ๆ เล่มหนึ่ง   ถึงแม้ว่าจะมีขนาดเล็ก แต่ยังมีประสิทธิภาพเท่ากับ เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล   มีข้อดีหลายอย่าง เช่น สามารถพกพาไปใช้งานในที่ต่าง ๆ ได้ , ใช้ไฟฟ้าน้อยกว่า แต่ราคา ค่อนข้างแพง และที่สำคัญUpdateได้ยาก

  9. 7.คอมพิวเตอร์มือถือ(Palmtop ComputerหรือPocket PCหรือ Handheld) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กมาก สามารถถือไปมาได้สะดวก   สั่งงานด้วยจอภาพแบบสัมผัส   มีหน่วยความจำและความจุน้อยกว่าNotebook Computerดังนั้นประสิทธิภาพในการทำงานจึงมีน้อยกว่า

  10. 8.คอมพิวเตอร์เฉพาะกิจ( Embedded Computer)   เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ถูกออกแบบมาให้ใช้งานเฉพาะด้าน โดยมีหลักการทำงาน เช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์ มักฝังอยู่ในอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ   เช่น นาฬิการะบบดิจิตอล , โทรศัพท์มือถือระบบดิจิตอล ฯลฯ   ในอนาคตอันใกล้นี้   อุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านเกือบทุกชนิด เช่น เครื่องปรับอากาศ, ตู้เย็น, เครื่องชักผ้า ฯลฯ จะมีการฝัง แผงวงจร คอมพิวเตอร์ที่ออกแบบมาพิเศษ ซึ่งสามารถสั่งให้เปิด - ปิดการทำงาน ผ่าน โทรศัพท์มือถือได้  

  11. 2.1.ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์2.1.ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งตามการจำนวนเครื่องที่ใช้งาน 1.คอมพิวเตอร์ชุดเดียว (Stand Alone Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ชุดเดียวที่สามารถรับข้อมูล ประมวลผล และแสดงผลภายในเครื่องเดียวกัน   ทำให้ไม่สามารถรับข้อมูลจากเครื่องอื่นได้ และยังไม่สามารถส่งข้อมูลให้กับเครื่องอื่น ๆ ได้ 

  12. 2.คอมพิวเตอร์เครือข่าย ( Network Computer) เป็นการนำเอาคอมพิวเตอร์ชนิดเดียวกัน หรือต่างชนิดกัน   มาเชื่อมโยงเป็นระบบเครือข่าย ที่เชื่อมต่อกันภายในองค์กร(LAN) หรือเชื่อมต่อกันภายนอกองค์กร(WAN) ก็ได้ เช่น Internet ,ATMการเชื่อมต่อกันอาจทำเป็น workgroup โดยคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีสิทธิเท่าเทียมกัน - เครื่องที่ให้บริการ ( Server) คอยให้บริการไฟล์ เรียกว่า File Server - เครื่องที่ให้บริการข้อมูล เรียกว่า Database Server - เครื่องที่ให้บริการ Internet มีชื่อ เรียกว่าหลายชื่อเช่น   Web Server , Mail Server , Proxy Server, FTP Server  ฯลฯ   คอมพิวเตอร์เครือข่ายมีใช้กันทั่วไป ที่เห็นได้ชัดคือ ระบบ Internet ที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน   

  13. 2.2.องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์2.2.องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย 6 ส่วนดังนี้ - ฮาร์ดแวร์( Hardware ) - ซอฟต์แวร์( Solfware ) - บุคลากร( Peopleware ) - ข้อมูลและสารสนเทศ( Data and Information ) - ระเบียบปฏิบัติและกระบวนการ( Procedure ) - ระบบสื่อสารข้อมูล( Data Communication )

  14. 2.3.องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ด้านฮาร์ดแวร์2.3.องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ด้านฮาร์ดแวร์ ฮาร์ดแวร์ ( Hardware ) หมายถึง อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถจับต้องได้   ส่วนประกอบพื้นฐาน ของฮาร์ดแวร์มี 5 หน่วยที่สำคัญ ดังนี้ 1.หน่วยรับข้อมูล ( Input Unit ) คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับคำสั่งหรือข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น แป้นพิมพ์ (Keyboard),เมาส์ (Mouse),เครื่องกวาดภาพสี (Scanner)ฯลฯ

  15. องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ด้านฮาร์ดแวร์ (ต่อ) 2.หน่วยประมวลผลกลาง ( Central Processing Unit:CPU )คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ประมวลผลคำสั่ง หรือข้อมูลที่รับเข้ามา ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน - หน่วยคำนวณเลขคณิตและตรรกวิทยา ( Arithmetic and Logical Unit :ALU ) ทำหน้าที่ คำนวณและเปรียบเทียบข้อมูล - หน่วยควบคุม (Control Unit) ทำหน้าที่ ควบคุมการทำงานของ ส่วนประกอบต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ 3.หน่วยแสดงข้อมูล ( Output Unit )คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล   เช่น จอภาพ (Monitor)  ,เครื่องพิมพ์แบบหัวเข็ม (Dot Matrix  Printer) ,เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Lazer Printer) , เครื่องพ่นหมึก(สี) (Inkjet) , เครื่องวาดลายเส้น (Plotter)  เป็นต้น

  16. องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ด้านฮาร์ดแวร์ (ต่อ) 4.หน่วยความจำ ( Memory Unit )คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เก็บคำสั่งและข้อมูล ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท  4.1.หน่วยความจำที่อ่านได้อย่างเดียว ( Read Only Memory ) หรือ เรียกว่า ROM  ทำหน้าที่ เก็บคำสั่งหรือข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์   โดยจะบันทึกคำสั่งหรือข้อมูลจากโรงงานผู้ผลิตเพียงครั้งเดียว มีข้อดีคือ   เมื่อไฟดับข้อมูลไม่หายไปด้วย หน่วยความจำแบบนี้เราไม่สามารถซื้อมาเพิ่มเติมในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ เช่น BIOS ฯลฯ

  17. องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ด้านฮาร์ดแวร์ (ต่อ) 4.2.หน่วยความจำที่อ่านได้และเขียนได้ ( Random Access  Memory ) หรือ เรียกว่า RAM ทำหน้าที่ เก็บคำสั่งหรือข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์   สามารถบันทึกคำสั่งหรือข้อมูลกี่ครั้งก็ได้   แต่เมื่อไฟดับข้อมูลก็จะหายไปด้วย   หน่วยความจำแบบนี้เราสามารถหาซื้อมาเพิ่มเติมในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้   เพื่อความจุของหน่วยความจำ ช่วยทำให้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้น   มีชื่อเรียกมากมายเช่น  SRAM, DRAM, SDRAM ฯลฯ

  18. องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ด้านฮาร์ดแวร์ (ต่อ) 5.หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ( Secondary Storage Unit ) คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ ่เก็บโปรแกรม หรือ ข้อมูลที่มีขนาดใหญ่กว่า ROM หรือ RAM   ไฟดับโปรแกรมหรือข้อมูลก็ยังอยู่    มี 3 ประเภท คือ 5.1.หน่วยเก็บข้อมูลสำรองแบบลำดับ   ( Sequential Access Storage ) คือ อุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลแบบลำดับ ข้อมูลใดมาก่อนบันทึกก่อน ข้อมูลใดมาหลังก็จะเก็บต่อๆกันไป เวลาอ่านข้อมูลก็จะอ่านตั้งแต่ต้นจนจบ อุปกรณ์แบบนี้เช่น เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape) ฯลฯ

  19. องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ด้านฮาร์ดแวร์ (ต่อ) 5.2.หน่วยเก็บข้อมูลสำรองแบบเข้าถึงโดยตรง (Direct/Random Access Storage) คือ อุปกรณ์ที่สามารถ เก็บและอ่านข้อมูลในพื้นที่ใดก็ได้โดยไม่เรียงลำดับ มีลักษณะเป็นแผ่นจานทรงกลม จึงถูกเรียกว่า จานแม่เหล็ก (Magnetic Disk)    ซึ่งมีทั้งจานแม่เหล็กแบบอ่อน (Floppy Disk) และ จานแม่เหล็กแบบแข็ง (Hard Disk) 5.3.หน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่บันทึกแบบลำดับแต่อ่านแบบสุ่ม   (Sequential and Random Access Storage) คือ อุปกรณ์ที่บันทึกข้อมูลแบบลำดับ แต่สามารถอ่านข้อมูลในพื้นที่ใดก่อนก็ได้   อุปกรณ์แบบนี้ก็คือ แผ่นบันทึกข้อมูลด้วยแสง (Optical Disk) มีหลายชนิด เช่น แผ่น CD-ROM(Compact Disk Read Only Memory)  , DVD ฯลฯ

  20. 2.4.องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์ด้านซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ชุดคำสั่งที่สามารถควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ  ให้ทำงานได้ตามที่ต้องการ   ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 1.ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) หมายถึง โปรแกรมที่ควบคุมการทำงานให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยตรง เป็นโปรแกรมพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น • ระบบปฏิบัติการ (Operation System : OS ) เช่น DOS,Windows,Unix, • OS/II ฯลฯ • ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ (Translator) เช่น Assembler, Interpreter, • Compiler ฯลฯ

  21. 2.4.องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์ด้านซอฟต์แวร์(ต่อ) 2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) คือ   จะเป็นโปรแกรมที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานต่างๆตามที่ผู้ใช้ต้องการ ซอฟต์แวร์ประยุกต์แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ(วาสนา สุขกระสานติ. 2541:3-9) 1) ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน (Special Purpose Software) จะไม่มีการจำหน่ายอยู่ทั่วไป องค์กร ที่ต้องการใช้งาน   มักจะต้องพัฒนาด้วยตนเอง หรือว่าจ้างบริษัทซอฟต์แวร์พัฒนาให้โดยเฉพาะ   เช่น โปรแกรมบัญชีเงินเดือน, โปรแกรมฝาก-ถอนเงิน ฯลฯ

  22. 2.4.องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์ด้านซอฟต์แวร์ (ต่อ) 2) ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป (General Purpose Software) จะเป็นซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาสำหรับงานทั่ว ๆ ไป สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานทั่ว ๆ ไปขององค์กรหรืองานส่วนตัวได้อย่างหลากหลาย   เช่น   (วาสนา สุขกระสานติ. 2541:3-10)

  23. 2) ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป (General Purpose Software)

  24. 2.5.องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์ด้านบุคลากร ( Peopleware ) บุคลากร (Peopleware) คือ บุคคลที่ใช้หรือสั่งการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ บุคลากรแบ่งตามลักษณะงานได้ดังนี้ - ผู้ใช้ (User) คือ บุคคลที่ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไป โดยจะทำงานตามโปรแกรมที่ตั้งไว้แล้ว เช่น ต้องการพิมพ์งาน ก็เลือกใช้โปรแกรมประมวลผลคำเช่น MS-WORD ฯลฯ

  25. 2.5.องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์ด้านบุคลากร ( Peopleware )(ต่อ) - นักเขียนโปรแกรม (Programmer) คือ บุคคลที่เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้ทำงานตามที่ต้องการ เป็นการสร้างโปรแกรมใหม่ ๆ ให้บุคคลอื่นใช้งาน ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมที่มีอยู่แล้วให้ทำงานได้ดีขึ้นด้วย นักวิเคราะห์ระบบและออกแบบ (System Analyst and Designer) คือ บุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในการคิด วิเคราะห์ระบบงาน และสามารถออกแบบระบบงานใหม่ได้ ผลที่ได้จากการวิเคราะห์และออกแบบระบบ จะส่งให้ ผู้เขียนโปรแกรม ทำการสร้างโปรแกรม ตามที่ออกแบบไว้

  26. - นักควบคุมระบบ (Administrator) คือ บุคคลที่มีความรู้ มีความเชี่ยวชาญในการควบคุม ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ ให้ทำงานได้ตลอดเวลา เป็นผู้ควบคุมและจัดสรรทรัพยากรให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น กำหนดสิทธิ ของผู้ที่เข้ามาใช้งาน ในระบบคอมพิวเตอร์, กำหนดขนาดของพื้นที่การใช้งานให้กับผู้ใช้ ฯลฯ 2.6.องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์ด้านข้อมูลและสารสนเทศ ปัจจุบันเป็นยุคสังคมข่าวสาร หรือยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนั้นสิ่งที่สำคัญในระบบคอมพิวเตอร์อีกอย่างหนึ่งก็คือ ข้อมูล (DATA) ผู้ใดมีข้อมูลมากย่อมได้เปรียบ แต่ข้อมูลที่นำมาใช้นั้นควรผ่านการตรวจสอบความถูกต้อง ก่อนที่จะผ่านขั้นตอน การประมวลผล แล้วออกมาเป็นสารสนเทศที่ดีและถูกต้อง ข้อมูลต้องมีความทันสมัย สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงข้อมูล ได้ตลอดเวลา มีความเที่ยงตรงเชื่อถือได้

  27. 2.7.องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์ด้านระเบียบปฏิบัติและกระบวนการ2.7.องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์ด้านระเบียบปฏิบัติและกระบวนการ ระเบียบปฏิบัติหรือกระบวนการทำงาน เป็นตัวกำหนดวิธีการประมวลผลข้อมูล นักเขียนโปรแกรม ต้องเขียนโปรแกรม ให้เป็นไปตาม ขั้นตอนการทำงานของแต่ละงาน เช่น ระบบงานจ่ายเงินเดือน ก็มีขั้นตอนการทำงานที่แตกต่างจาก ระบบงานโรงแรม เป็นต้น และผู้ใช้โปรแกรมก็ต้องใช้โปรแกรมให้ถูกต้องตามขั้นตอนการทำงานที่กำหนดไว้ด้วย ในระบบงานใหญ่ ที่มีงานระบบงานย่อยหลาย ๆ งาน บางกรณีจะมีการกำหนดว่าต้องทำระบบงานย่อยที่ 1 ก่อนแล้วจึงจะสามารถทำระบบงานย่อยที่ 2 ได้ ตัวอย่างระบบงานใหญ่ คือ ระบบงานทะเบียนและวัดผล ซึ่งมีระบบงานย่อยๆ อีกมากมาย เช่น ระบบงานย่อยที่ 1 งานทะเบียนประวัตินักศึกษา และกำหนดให้ระบบงานย่อยที่ 2 คืองานประเมินผลการเรียน ฯลฯ จะเห็นได้ชัดว่า ถ้าเราไม่กรอกข้อมูลประวัตินักศึกษาก่อน จะไม่สามารถประเมินผลการเรียน ของนักศึกษาได้ เพราะไม่มีข้อมูลของนักศึกษาเลย เป็นต้น

  28. 2.8.องค์ประกอบด้านระบบสื่อสารข้อมูล2.8.องค์ประกอบด้านระบบสื่อสารข้อมูล การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลต่อบุคคล หรือบุคคลต่อหน่วยงานต่าง ๆ แต่เดิมจะใช้การไปติดต่อโดยตรง เมื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม มีความทันสมัยมากขึ้น ประกอบกับมีราคาไม่แพง พอที่จะซื้อหามาใช้ได้ บุคคลหรือหน่วยงานต่าง ๆ จึงหันมาใช้การติดต่อสื่อสารข้อมูลผ่านระบบคอมพิวเตอร์กันมาก เพราะสะดวกรวดเร็ว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปทั่วโลก ตัวอย่างที่เห็น ได้ชัดคือ ระบบ Internet นั่นเอง ที่แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วทั่วโลก ทำให้โลกไร้พรมแดน เกิดบริการใหม่ ๆ เช่น การค้าขายบน Internet ที่เรียกกันว่า E-Commerce เป็นต้น

  29. 2.9.การเลือกและการใช้งานอุปกรณ์ระบบคอมพิวเตอร์   การเลือกซื้อเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานทั่วไป การเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าบุคคลทั่วไปควรจะใช้เครื่องระดับ ไมโครคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล แต่ถ้าเป็นหน่วยงานที่ต้องการเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูง ใช้กับงานที่ซับซ้อนก็อาจจะเลือกซื้อคอมพิวเตอร์แบบอื่นๆได้ ตามความเหมาะสม แต่ในที่นี้จะขอแนะนำการเลือกซื้อไมโครคอมพิวเตอร์สำหรับงานทั่วไป การซื้อไมโครคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันนี้ จะได้เป็นระบบมัลติมีเดียทั้งชุด เพราะมีราคาถูก และถือเป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่ต้องมี แต่เราอาจจะแยกซื้อเป็นชิ้นส่วนแล้วนำมาประกอบด้วยตนเองก็ได้ แต่ส่วนประกอบต่าง ๆ ควรมีดังต่อไปนี้

  30. - จอภาพ (Monitor) ควรใช้จอภาพสี ที่คุณภาพไม่ต่ำกว่า SVGA ซึ่งมีความละเอียดหลายระดับตั้งแต่ 640*480, 800*600, 1024*720 เป็นต้น และมีขนาดไม่ต่ำกว่า 14 นิ้ว ถ้าใช้กับงานที่ต้องการพื้นที่ของจอภาพกว้าง ก็เลือกจอภาพ ที่มีขนาดใหญ่มากขึ้นเช่น ขนาด 15" ,17" ,21", 29" เป็นต้น และควรเป็นจอภาพที่ลดรังสี หรือปลอดรังสี - แป้นพิมพ์ (Keyboard) ควรมีตัวอักษรไทยติดให้เห็นเด่นชัดบนแป้นพิมพ์ต่าง ๆ ด้วย และควรมีอย่างน้อย 104 คีย์ ซึ่งจะมีแป้นพิมพ์ตัวเลข และปุ่มฟังก์ชั่นแยกต่างหาก ทำให้ไม่มีปัญหาเวลาใช้ระบบภาษาไทย ถ้าจะซื้อแป้นพิมพ์ใหม่มาทดแทนอันเก่า ต้องสังเกต ที่หัวเสียบสายแป้นพิมพ์ว่าเป็น หัวโต หรือหัวเล็ก(PS/2) เพราะถ้าซื้อมาผิดขนาดจะใช้ไม่ได้ ต้องมีหัวแปลง มาเสียบเพิ่ม จึงจะใช้ได้

  31. - เมาส์(Mouse) เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการสั่งการให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้สะดวกรวดเร็ว ซึ่งจะมีหลากหลายแบบ แต่โดยทั่วไปจะมี 3 ปุ่ม กับ 2 ปุ่ม บางรุ่นจะมีล้อหมุนตรงกลาง หรือมีปุ่มเพิ่มด้านข้างก็ได้ จะทำให้การสั่งงานทำได้สะดวกขึ้น แต่เมื่อมีปุ่มเพิ่มพิเศษ ต้องลงโปรแกรมพิเศษเข้าไปในคอมพิวเตอร์ด้วย จึงจะใช้ได้ เมาส์จะมีทั้งหัวโต และหัวเล็ก (PS/2) แบบเดียวกับแป้นพิมพ์ ดังนั้นต้องสังเกตให้ดีก่อนซื้อมาเปลี่ยน - ลำโพง(Speaker) เป็นอุปกรณ์ต่อพ่วง ปกติที่มีมาให้เป็นลำโพงที่พอฟังได้ แต่ถ้าต้องการเสียงที่มีคุณภาพดีมากๆ ควรจะซื้อรุ่นที่มี Subwoofer หรือมีราคาแพง ๆ ทั้งนี้ต้องสัมพันธ์กับ Sound Card ที่มีด้วย

  32. - หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) (CPU) เป็นกล่องสี่เหลี่ยมแบบตั้ง(Tower) หรือแบบนอนก็ได้ ซึ่งภายในบรรจุไปด้วยอุปกรณ์สำคัญๆ หลายอย่าง ที่ควรพิจารณาในการเลือกซื้อมีดังนี้ - รุ่นของ Micro Processor หรือเรียกย่อ ๆ ว่า CPU ปัจจุบันไม่ควรต่ำกว่ารุ่น Pentium III หรือ Pentium IV เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ ,สมหมาย แม้นมณี : 2543 - แผงวงจรหลักคอมพิวเตอร์ (Mainboard) เป็นอุปกรณ์สำคัญซึ่งเป็นที่รวมของอุปกรณ์ต่าง ๆ มากมาย ที่สำคัญต้องใช้กับรุ่นของ CPU ที่เราเลือกข้างต้นได้ ถ้าไม่มีความชำนาญให้สอบถามจากทางร้าน

  33. - หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) (ต่อ) - อุปกรณ์เก็บสำรองข้อมูล หรือเรียกว่า Harddisk ควรมีขนาดหรือความจุไม่ต่ำกว่า 20 GB - หน่วยความจำ หรือเรียกว่า Memory ควรมีขนาดไม่ต่ำกว่า 256 MB (ยิ่งมากยิ่งดี) เป็นชนิด SDRAM , RDRAM ฯลฯ แต่จะขึ้นอยู่กับแผงวงจรหลักคอมพิวเตอร์ด้วย - อุปกรณ์กำเนิดเสียง หรือเรียกว่า Sound Card ปัจจุบันนี้จะประกอบอยู่ในแผงวงจรหลักคอมพิวเตอร์ (Mainboard) เรียกว่า Sound on board แต่คุณภาพเสียงพอฟังได้ ถ้าต้องการเสียงในระดับคุณภาพ ต้องซื้อชนิดที่เป็นแผงเสียบ แต่ก็ไม่ให้เลือกหลายรุ่นหลายยี่ห้อ เช่น Roland, Yamaha ฯลฯ

  34. - หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) (ต่อ) - อุปกรณ์อ่านแผ่นซีดีรอม (CD-ROM Drive) ความเร็วไม่ต่ำกว่า 50 เท่า แผ่นซีดีรอม 1 แผ่นบรรจุข้อมูลได้ประมาณ 600-700 MB แต่ถ้าต้องการความจุที่มากกว่านี้หลายเท่า ต้องใช้ DVD Drive แต่ราคาของแผ่น DVD จะแพงกว่า ปัจจุบันยังนิยมใช้ CD-ROM Drive เพราะแผ่นมีราคาถูก หาซื้อง่าย ถ้ามีความต้องการที่จะบันทึกข้อมูลบนแผ่นซีดีรอมได้ด้วย ต้องซื้อ CD-ROM Drive แบบอ่าน(read) และเขียน(write) ได้ - เครื่องบันทึกแผ่นข้อมูล (Floppy Disk Drive) ควรจะมีอย่างน้อย 1 ช่อง ขนาด 1.44 MB

  35. - หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) (ต่อ) - แผงวงจรควบคุมการแสดงผล (Display Card) จะต้องสัมพันธ์กับจอภาพที่เลือกใช้ จะเป็นแบบติดตั้งมากับแผงวงจรหลักคอมพิวเตอร์ (VGA on board) หรือ เป็นแผงเสียบก็ได้ ซึ่งควรจะมีหน่วยความจำไม่น้อยกว่า 4 MB ถ้าต้องการต่อกับโทรทัศน์ก็ควรจะมีช่อง TV-Out ด้วย และถ้าต้องการให้ใช้ได้กับเกม 3 มิติที่ต้องการความละเอียดสูง ๆ ต้องสอบถามจากทางร้าน ซึ่งมีหลายรุ่น หลายยี่ห้อ เช่น Voodoo, Riva ฯลฯ - แผงวงจรเครือข่าย (Network Card) เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเชื่อมต่อเครือข่าย ต้องซื้ออุปกรณ์ชุดนี้เพิ่มเข้าไปด้วย แผงวงจรหลักคอมพิวเตอร์บางรุ่นจะมีแผงวงจรเครือข่ายอยู่แล้ว แผงวงจรเครือข่ายต้องใช้ได้กับ สาย UTP Cat 5 โดยต่อกับหัว RJ-45 ได้ และมีความเร็วไม่ต่ำกว่า 10/100 Mbps

  36. - หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) (ต่อ) - FAX/ MODEM เป็นอุปกรณ์สื่อสารที่สามารถรับ-ส่งข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ได้ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ เสียง รูปภาพ และโดยเฉพาะถ้าต้องการใช้ INTERNET ที่บ้านได้ ต้องมีอุปกรณ์ตัวนี้ ความเร็วของ FAX/MODEM ไม่ควรต่ำกว่า 56K นอกจากนี้ต้องสมัครเป็นสมาชิก INTERNET โดยเสียค่าสมาชิกเป็นรายเดือนหรือรายชั่วโมงก็ได้ และที่บ้านต้องมีเบอร์โทรศัพท์อย่างน้อย 1 เบอร์ เวลาใช้งานก็จะเสียค่าโทรศัพท์ตามราคาปกติอีกด้วย

  37. - เครื่องพิมพ์ (Printer) ถ้าต้องการพิมพ์งานออกทางกระดาษหรือแผ่นใสต้องใช้เครื่องพิมพ์เลเซอร์(Laser Printer) ถ้าต้องการพิมพ์สี ต้องใช้ Inkjet Printer หรือ Laser Color Printer ก็ได้ ถ้าต้องการพิมพ์ลงกระดาษไข ต้องใช้เครื่องพิมพ์ DOT Matrix Printer ถ้าต้องการพิมพ์ลายเส้นหรือใช้กับออกแบบสร้างอาคารต้องใช้ Plotter ฯลฯ

  38. 2.10.แบบฝึกหัดท้ายหน่วยที่ 2 1.จงอธิบายความหมายของคำต่อไปนี้ Microcomputer CPU Time Sharing PC Notebook Computer Stand Alone Computer Network Computer LAN WAN Web Server File Server Hardware Software Peopleware Data Information Procedure Data Communication ALU Scanner ROM RAM Magnetic Tape Magnetic Disk

  39. 2.10.แบบฝึกหัดท้ายหน่วยที่ 2 (ต่อ) Harddisk Floppy Disk CD-ROM DVD OS Word Processing Presentation Software User Programmer System Analyst and Designer Administrator Internet E-Commerce Mainboard Network Car FAX/MODEM Display Card Speaker 2.จงอธิบายข้อแตกต่างระหว่าง Micro Computer กับ Notebook Computer 3.จงอธิบายองค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์อย่างย่อ ๆ ประมาณ 5-10 บรรทัด เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ ,สมหมาย แม้นมณี : 2543 4.จงอธิบายการเลือกซื้อไมโครคอมพิวเตอร์อย่างย่อ ๆ ประมาณ 5-10 บรรทัด

More Related