1 / 58

ซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จำแนกได้เป็น 10 ประเภท (ตามลำดับความสำคัญ)

การประชุมรับฟังความคิดเห็น ต่อร่างยุทธศาสตร์การจัดการ ซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เชิงบูรณาการ ระยะที่ ๒ ปี พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙ (ร่างครั้งที่ ๒) วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๕ ห้องกิ่งเพชร โรงแรมเอเชีย กรุงเทพฯ. 2.

imaran
Download Presentation

ซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จำแนกได้เป็น 10 ประเภท (ตามลำดับความสำคัญ)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อร่างยุทธศาสตร์การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เชิงบูรณาการระยะที่ ๒ปี พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙(ร่างครั้งที่ ๒)วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๕ห้องกิ่งเพชร โรงแรมเอเชีย กรุงเทพฯ

  2. 2

  3. ซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จำแนกได้เป็น 10 ประเภท (ตามลำดับความสำคัญ) 1. หลอดฟลูออเรสเซนต์ 2. แบตเตอรี่แห้ง 3. ตู้เย็น 4. โทรทัศน์ 5. เครื่องปรับอากาศ 6. กล้องถ่ายภาพ/วีดีโอ 7. อุปกรณ์เล่นภาพ/เสียงขนาดพกพา 8. เครื่องพิมพ์และเครื่องโทรสาร 9. โทรศัพท์ 10. คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

  4. ระบบการจัดการภายในประเทศยังไม่ได้มาตรฐาน

  5. ระบบการจัดการภายในประเทศยังไม่ได้มาตรฐาน Photo by PCD

  6. ระบบการจัดการภายในประเทศยังไม่ได้มาตรฐาน

  7. ระบบการจัดการภายในประเทศยังไม่ได้มาตรฐาน

  8. แหล่งทรัพยากรที่มีมูลค่า 8

  9. คพ. ร่วมกับ ๑๓ หน่วยงาน ยกร่างยุทธศาสตร์ฯ ระยะที่ ๑ (๒๕๕๐-๒๕๕๔) เสนอ คณะรัฐมนตรี เห็นชอบ ๒๔ ก.ค. ๕๐ 9

  10. คณะทำงานเพื่อพิจารณาปรับปรุงยุทธศาสตร์ฯคณะทำงานเพื่อพิจารณาปรับปรุงยุทธศาสตร์ฯ ยกร่างยุทธศาสตร์การจัดการซากผลิตภัณฑ์ครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เชิงบูรณาการ ระยะที่ ๒ ระหว่างปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ (ร่างครั้งที่ ๒) คณะอนุกรรมการกำกับการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ฯ กก.วล. / คณะรัฐมนตรี

  11. กำหนดการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นฯ ๓ ครั้ง

  12. ร่างยุทธศาสตร์ฯ ระยะที่ ๒ บทที่ ๑ สถานการณ์และปัญหาการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ บทที่ ๒ การดำเนินงานที่ผ่านมา บทที่ ๓ ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง บทที่ ๔ ร่างยุทธศาสตร์ฯ ระยะที่ ๒ 13

  13. บทที่ ๑ ๑.๑ รายงานภาวะอุตสาหกรรม ๑.๒ ข้อมูลปริมาณการผลิต การนำเข้า การส่งออก และการบริโภค ผลิตภัณฑ์ที่มีความสำคัญ ๑๐ ผลิตภัณฑ์ ๑.๓ ข้อมูลการถือครองและระยะเวลาใช้งาน ๑.๔ พฤติกรรมของผู้บริโภค ๑.๕ การคาดการณ์ปริมาณซากผลิตภัณฑ์ฯ ๑.๖ ผลการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ ๑.๗ เทคโนโลยีการจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ ๑.๘ วัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ฯ ๑.๙ ปัญหาของการจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ 14

  14. ๑.๑ ภาวะอุตสาหกรรม : มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่มีอัตราการขยายตัวที่ไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับปี ๒๕๕๓ โดยอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๒ ส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๐ 15

  15. ๑.๒ ปริมาณการบริโภคผลิตภัณฑ์ฯ : ปริมาณการบริโภคผลิตภัณฑ์ฯ ที่มีความสำคัญ ๑๐ ประเภทในปี ๒๕๕๓ มีอัตราเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ ๒.๖ จากปี ๒๕๕๒ 16

  16. ๑.๓ ข้อมูลการถือครองและระยะเวลาใช้งานเฉลี่ย: ๓ ลำดับแรก ที่มีการถือครองสูง คือ โทรทัศน์ ตู้เย็น และโทรศัพท์มือถือ 17

  17. ๑.๔ พฤติกรรมของผู้บริโภค : เมื่อไม่ใช้งานผลิตภัณฑ์ฯ แล้ว จะ - ขาย (ร้อยละ ๕๑.๒๗) - เก็บไว้ (ร้อยละ ๒๕.๓๒) - ทิ้งรวม (ร้อยละ ๑๕.๖๐) - ให้ผู้อื่น (ร้อยละ ๗.๘๔) 18

  18. ๑.๕ การคาดการณ์ปริมาณซากผลิตภัณฑ์ : ปี ๒๕๕๙ คาดว่าจะเกิดซากWEEE (ไม่รวม DC FL)๒๔.๓ ล้านเครื่อง 19

  19. แบตเตอรี่: ปี ๒๕๕๙ คาดว่าจะซากประมาณ ๖๕๐ล้านก้อน 20

  20. หลอดฟลูออเรสเซนต์: ปี ๒๕๕๙ คาดว่าจะซากประมาณ ๒๘๐ล้านหลอด 21

  21. ๑.๖ ผลการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม : 22

  22. ๑.๗ เทคโนโลยีการจัดการซาก : มีผู้ประกอบการจัดการซากฯ จำนวน๒๒ แห่ง(ภาคกลางและภาคตะวันออก) ส่วนใหญ่ถอดแยกชิ้นส่วนและวัสดุแล้วส่งไปรีไซเคิลยัง ตปศ. ส่วนน้อยที่มีเทคโนโลยีสกัดโลหะมีค่าจากซาก WEEE (ผู้ประกอบการในประเทศยังมิได้ลงทุนวิธีการและเทคโนโลยีในการบำบัดสารอันตรายที่มีอยู่ในชิ้นส่วนของซาก เนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนสูง) 23

  23. ๑.๘ วัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ : -การเกิดเป็นของเสีย ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ - การถูกจัดการขั้นที่ ๑ โดยการเก็บรวบรวมของเทศบาล - การจัดการขั้นที่ ๒ โดยสถานที่ฝังกลบขยะมูลฝอย และการบำบัด/กำจัดโดยโรงงานประเภท ๑๐๑ ๑๐๕ และ ๑๐๖ 24

  24. ๑.๙ ปัญหา(ก่อนมียุทธศาสตร์ฯ ระยะที่ ๑ ปี ๕๐-๕๔) กลไกตลาด กำกับดูแลโดย อปท. กำกับดูแลโดย อก. • การนำเข้า EEE คุณภาพต่ำ- ข้อกำหนดด้านการค้าและสิ่งแวดล้อมจำหน่าย - ขาดกลไกทางการเงินสนับสนุนการจัดการซากฯ • ระบบการจัดการซากภายในประเทศไม่ได้มาตรฐาน • ข้อจำกัดด้านกฎระเบียบในการจัดการซาก (คัดแยก ถอดแยก เก็บรวบรวม) • การกำจัดไม่ถูกต้อง ประชาชน • การออกแบบและผลิตชิ้นส่วน/ผลิตภัณฑ์ฯ ที่เป็นมิตรกับ สวล. อยู่ในวงจำกัด- การนำเข้า used/WEEE- ไม่มีโรงงานรีไซเคิลครบวงจร สถานที่กำจัดไม่ได้รับอนุญาต • ขาดความตระหนักด้านสวล. การเลือกซื้อเลือกใช้สินค้าที่เป็นมิตรกับ สวล.- ซากเกิดขึ้นมากและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ฐานข้อมูลมีข้อจำกัด ที่มาของยุทธศาสตร์ฯ ระยะที่ ๑ ปี ๕๐-๕๔ 25

  25. เสริม ความสามารถ วิจัย ออกแบบ PP + PPP PP + PPP ด้าน ด้านกฎหมาย บริหารจัดการ ปรับปรุงกฎระเบียบ พัฒนาเทคโนโลยี การผลิต ด้านเทคนิค / ด้าน เศรษฐ ศาสตร์ กลไกการเงิน วิชาการ และการลงทุน บริหารจัดการ ยุทธศาสตร์ฯ ระยะที่ ๑ ปี ๕๐-๕๔ • เป้าหมาย: • อัตราการรวบรวมร้อยละ ๕๐ ในปี๒๕๕๔ • อัตราการรีไซเคิลร้อยละ ๕๐ในปี๒๕๕๔ • มีโรงงานคัดแยก+รีไซเคิล WEEE ที่เกิดขึ้นในประเทศ • อุตสาหกรรมไฟฟ้าฯไทยออกแบบ/ผลิตเพื่อคัดแยก+ • รีไซเคิลเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก • มีศูนย์จัดการ HW ชุมชนของอปท. ๑แห่งในปี๒๕๕๔ • มีการจัดการซากมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลทั่วประเทศภายในปี ๒๕๖๐ วัตถุประสงค์ :เพื่อจัดการ WEEE ในประเทศ ถูกต้องครบวงจร มีประสิทธิภาพ ยั่งยืน ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมลด HWเพิ่มการแข่งขันทางการค้า การจัดการมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผลทั่วประเทศภายใน ปี ๒๕๖๐ วัตถุประสงค์ : เป้าหมาย : ? 50% 1. อัตราการรวบรวม ภายใน ปี 2554 ? 50 % 2 . อัตราการหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ WEEE ของ ที่เกิดขึ้นแต่ละปี ภายในปี 2554 WEEE 3. สนับสนุนโรงงานคัดแยก + รีไซเคิล ยุทธศาสตร์ ๑ พัฒนาเทคโนโลยีและวิธีการที่เหมาะสมในการจัดการ WEEEยุทธศาสตร์ ๒ เสริมสร้างขีดความสามารถการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการ WEEE ยุทธศาสตร์ ๓เสริมสร้างประสิทธิภาพการบังคับใช้ ก.ม.และพัฒนาระบบ ก.ม.ที่เอื้ออำนวยต่อการจัดการ WEEEยุทธศาสตร์ ๔พัฒนากลไกทางการเงินการคลังและส่งเสริมการลงทุนเพื่อสนับสนุนการจัดการ WEEEยุทธศาสตร์ ๕พัฒนาระบบการบริหารจัดการ WEEE แนวคิด ปรับปรุงกฎระเบียบ แปลงไปสู่การปฏิบัติ : ๑๙ มาตรการ และ ๑๔ โครงการ

  26. มาตรการภายใต้ยุทธศาสตร์ฯ ๑๙ มาตรการ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ (๑) ส่งเสริม SME ในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตฯ (๒) สนับสนุนการวิจัยเพื่อออกแบบและผลิต Green Production (๓) สนับสนุนการวิจัยเพื่อทำฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์และซากฯ (๔) สนับสนุนการนำเทคโนโลยีมาจัดการซากฯ ในประเทศ (๕) พัฒนาระบบจัดการซากฯ ในพื้นที่นำร่อง ยุทธศาสตร์ที่ ๒ (๑) รณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจผลิตภัณฑ์และการจัดการซากฯ (๒) จัดทำแผนงาน/เครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร (๓) สนับสนุนประชาชนคัดแยก จัดเก็บ และรวบรวมซากฯ ยุทธศาสตร์ที่ ๓ (๑) ให้มีกฎระเบียบกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ฯ และคุมการนำเข้าคุณภาพต่ำ (๒) กำหนด Guideline โรงงานคัดแยกและรีไซเคิล (๓) กำหนดให้ผู้ผลิต-ผู้นำเข้า-ผู้รับรีไซเคิล-ผู้รับกำจัด แจ้งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง (๔) ให้มี กม. เพื่อสร้างระบบการจัดการและกลไกทางการเงินเพื่อจัดการซาก (๕) ปรับปรุงข้อบัญญัติ อปท. ในการทิ้งซาก 27

  27. มาตรการ (ต่อ) ยุทธศาสตร์ที่ ๔ (๑) สนับสนุนทางการเงินเพื่อตั้งศูนย์ทดสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์ฯ (๒) สนับสนุนการตั้งกลไกทางการเงินในการบริหารจัดการซากฯ (๓) ส่งเสริมการผลิตและให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีจูงใจให้มีการใช้วัสดุหมุนเวียน (๔) สนับสนุนทางการเงินตั้งศูนย์จัดการของเสียอันตรายจากชุมชน (๕) สนับสนุนมาตรการทางการตลาดในการเลือกซื้อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทีเป็นมิตรกับ สวล. ยุทธศาสตร์ที่ ๕ (๑) การสร้าง/จัดระเบียบองค์กรการบริหารจัดการซาก ให้ประสานกับส่วนกลางและ อปท. ในการจัดการซากอย่างครบวงจรและมีประสิทธิภาพ 28

  28. แผนปฏิบัติการ ๑๔ โครงการ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ (๑) โครงการ Eco-design (๒) โครงการพัฒนาเครือข่ายศูนย์ปฏิบัติการทดสอบฯ (๓) โครงการกำหนดและจัดลำดับผลิตภัณฑ์ฯ (๔) โครงการจัดทำฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ฯ (๕) โครงการนำร่อง FL (๖) โครงการจัดระบบบริหารจัดการซากฯ ยุทธศาสตร์ที่ ๒ (๗) โครงการปรับปรุงและกำหนดมาตรฐานฯ ยุทธศาสตร์ที่ ๓ (๘) กิจกรรมควบคุมการนำเข้าฯ (๙) กิจกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์คัดแยกและรีไซเคิล (๑๐) การออกกฎหมายการจัดการซาก (อยู่ระหว่างดำเนินการ) (๑๑) กิจกรรมการพัฒนาข้อบัญญัติของ อปท. (ยังไม่ได้ดำเนินการ) ยุทธศาสตร์ที่ ๔ (๑๒) โครงการจัดตั้งศูนย์กลางการรีไซเคิล (ยังไม่ได้ดำเนินการ) (๑๓) โครงการรณรงค์ Recycle/Reuse - Green Product (๑๔) โครงการกระตุ้นการเลือกซื้อฯ 29

  29. ผลการดำเนินงานของยุทธศาสตร์ฯ ระยะที่ ๑ ปี ๕๐-๕๔ : จำเป็นต้องดำเนินการต่อเนื่อง ปี ๕๕-๕๙ ประเด็นที่เน้นดำเนินการต่อเนื่อง กลไกตลาด กำกับดูแลโดย อปท. กำกับดูแลโดย อก. • การนำเข้า EEE คุณภาพต่ำ- ข้อกำหนดด้านการค้าและสิ่งแวดล้อม - ขาดกลไกทางการเงินสนับสนุนการจัดการซากฯ • ระบบการจัดการซากภายในประเทศไม่ได้มาตรฐาน • ข้อจำกัดด้านกฎระเบียบในการจัดการซาก (คัดแยก ถอดแยก เก็บรวบรวม) • การกำจัดไม่ถูกต้อง ประชาชน • การออกแบบและผลิตชิ้นส่วน/ผลิตภัณฑ์ฯ ที่เป็นมิตรกับ สวล. ขยายวงกว้าง- การนำเข้า used เข้มงวดขึ้น- ไม่มีโรงงานรีไซเคิลครบวงจร สถานที่กำจัด- ระบบควบคุมโรงงานรับกำจัดเข้มงวดขึ้น • ขาดความตระหนักด้านสวล. การเลือกซื้อเลือกใช้สินค้าที่เป็นมิตรกับ สวล.- ซากเกิดขึ้นมากและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี- ฐานข้อมูลมีข้อจำกัด หมายเหตุ ได้รับการแก้ไข/มีแนวโน้มคลี่คลาย จำเป็นต้องให้ความสำคัญ/แก้ปัญหาต่อ 30

  30. ๑.๙ ปัญหา : (ปัจจุบัน+แนวทางแก้ไข) จัดการไม่ถูกต้อง?ถอดแยกเฉพาะวัสดุมีค่า? ซากที่มีมูลค่า ปริมาณการเกิด? ซาเล้ง/ร้านรับซื้อของเก่า ทิ้งซากที่ไม่มีมูลค่า?ลักลอบทิ้ง? ทิ้งรวมกับขยะทั่วไป? ซากที่ไม่มีมูลค่า ภาระของ อปท. /ส่งกำจัดที่ไหน? ปริมาณการเกิด? 31

  31. ๑.๙ ปัญหา : (ปัจจุบัน+แนวทางแก้ไข) จัดการไม่ถูกต้อง?ถอดแยกเฉพาะวัสดุมีค่า? ซากที่มีมูลค่า ปริมาณการเกิด? ยุทธศาสตร์ที่ ๑ความเข้มแข็งในการควบคุมการนำเข้า-ส่งออก ยุทธศาสตร์ที่ ๖ความตระหนักและความรู้เกี่ยวกับการจัดการซาก WEEE ยุทธศาสตร์ที่ ๓ฐานข้อมูลปริมาณซาก WEEE ซาเล้ง/ร้านรับซื้อของเก่า ทิ้งซากที่ไม่มีมูลค่า?ลักลอบทิ้ง? ยุทธศาสตร์ที่ ๒สนับสนุนการผลิตและเลือกซื้อฯ ยุทธศาสตร์ที่ ๔ ปรับปรุงกลไกการคัดแยก เก็บรวบรวมและขนส่งซากฯ ทิ้งรวมกับขยะทั่วไป? ซากที่ไม่มีมูลค่า ยุทธศาสตร์ที่ ๕ มีโรงงานคัดแยกและรีไซเคิลครบวงจร ภาระของ อปท. /ส่งกำจัดที่ไหน? ปริมาณการเกิด? 32

  32. บทที่ ๔ ๔.๑ วัตถุประสงค์ ๔.๒เป้าหมาย ๔.๓แนวคิดในการจัดการ ๔.๔ยุทธศาสตร์และมาตรการ ๔.๕แผนปฏิบัติการ 33

  33. บทที่ ๔ ร่างยุทธศาสตร์ฯ ยุทธศาสตร์การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์เชิงบูรณาการ ระยะที่ ๒ (๒๕๕๕-๒๕๕๙) วัตถุประสงค์ ๑) ซากได้รับการจัดการที่ถูกต้องและครบวงจร ๒) มีระบบเก็บรวบรวมอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ๓) ส่งเสริมและสนับสนุนการออกแบบและผลิตฯ ลดการเกิดของเสียอันตรายในผลิตภัณฑ์ฯ อย่างต่อเนื่อง ๔) จัดตั้งโรงงานรีไซเคิลซากฯ อย่างครบวงจร ๕) ส่งเสริมความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมฯ และด้านการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า โดยการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ๖) เสริมสร้างความเข้มแข็งในการควบคุมการนำเข้าผลิตภัณฑ์คุณภาพต่ำ ๗) พัฒนาฐานข้อมูลปริมาณซากผลิตภัณฑ์ฯ 34

  34. เป้าหมาย ๑) มีระบบการคัดแยกและเก็บรวบรวมซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป้าหมาย จำนวน ๑๐ ประเภท/ชนิด คือ (๑) FL (๒) DC (๓) R/F (๔) TV (๕) A/C (๖) Camera (๗) Player (๘) Printer/Fax (๙) โทรศัพท์ และ (๑๐) PCที่มีประสิทธิภาพและถูกต้องตามหลักวิชาการ ในเทศบาลนคร ๒๖ แห่ง กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา โดยมีอัตราการรวบรวมซากผลิตภัณฑ์เป้าหมาย ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕ ของปริมาณซากผลิตภัณฑ์ฯ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ภายในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒) มีการรับคืนซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป้าหมาย จำนวน ๔ ประเภท/ชนิด คือ (๑) FL (๒) DC (๓) R/F และ (๔) TV โดยผู้ผลิตและผู้นำเข้า อย่างน้อยร้อยละ ๕ ของปริมาณการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ภายในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ๓) มีโรงงานคัดแยกและรีไซเคิลซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป้าหมาย จำนวน ๑ ประเภท ที่มีกระบวนการเหมาะสมกับประเภทผลิตภัณฑ์ฯ อย่างครบวงจร อย่างน้อย ๑ แห่ง ภายในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ 35

  35. แนวคิด ๑) การใช้หลักการเชิงป้องกัน และ EPR ๒) การใช้หลักการ 3R และ SCP ๓) การแก้ไขกฎระเบียบให้ไม่ซ้ำซ้อน ๔) การสร้างกลไกทางเศรษฐศาสตร์และการเงินการคลัง และหลักการผู้ก่อมลพิษและผู้ได้รับประโยชน์เป็นผู้รับผิดชอบ ๕) การพัฒนาแนวทางฯ ในรูปโครงการนำร่อง ๖) การสนับสนุนอื่นๆ เช่น การเสริมสร้างขีดความสามารถของ อปท. ในการจัดการซากฯ การสนับสนุนการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ฯลฯ 36

  36. บทที่ ๔ ร่างยุทธศาสตร์ฯ ๔.๔ ยุทธศาสตร์และมาตรการ ยุทธศาสตร์การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์เชิงบูรณาการ ระยะที่ ๒ (๒๕๕๕-๒๕๕๙) ยุทธศาสตร์ ๓ การพัฒนา ระบบฐาน ข้อมูล ปริมาณซาก WEEE ยุทธศาสตร์ ๑การเสริม สร้างความ เข้มแข็ง ในการ ควบคุมการนำเข้า-ส่งออก ยุทธศาสตร์ ๒ การสนับสนุน การผลิต และเลือกซื้อ ผลิตภัณฑ์ฯ ที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ ๔ การพัฒนา ปรับปรุงกลไก การคัดแยก เก็บรวบรวม และขนส่ง ซาก WEEE ยุทธศาสตร์ ๕ การเสริมสร้าง ขีดความ สามารถของ โรงงานคัดแยก และรีไซเคิล ซาก WEEE อย่างครบวงจร และปลอดภัยต่อ สิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ ๖ การส่งเสริม ความตระหนัก และความรู้ เกี่ยวกับการ จัดการซาก WEEE และด้านการ ใช้ทรัพยากร อย่างคุ้มค่า อย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง ๖ มาตรการ ๔ มาตรการ ๓ มาตรการ ๕ มาตรการ ๕ มาตรการ ๔ มาตรการ 37

  37. ยุทธศาสตร์ ๑ การเสริมสร้างความเข้มแข็งในการควบคุมการนำเข้า-ส่งออก เป้าหมาย มีระบบควบคุมการนำเข้าผลิตภัณฑ์ฯ คุณภาพต่ำจากต่างประเทศซึ่งจะกลายเป็นของเสียในประเทศ และป้องกันการลักลอบนำเข้า-ส่งออกซากผลิตภัณฑ์ฯ มาตรการ ๑. การจัดทำระบบการเชื่อมโยงข้อมูลการนำเข้า-ส่งออกผลิตภัณฑ์ฯ และซากผลิตภัณฑ์ฯ ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์สมดุลมวลรวมของประเทศ ๒. การขึ้นทะเบียนผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ฯ ใหม่และซากผลิตภัณฑ์ฯ ๓. การจัดทำระบบการประกันการนำเข้าผลิตภัณฑ์ฯ ที่มีความเสี่ยงต่อการส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูง อาทิ แบตเตอรี่แห้งและหลอดฟลูออเรสเซนต์ ๔. การสนับสนุนการนำเข้าผลิตภัณฑ์ฯ ที่ได้มาตรฐาน ๕. การติดตามและควบคุมการนำเข้า-ส่งออกผลิตภัณฑ์ฯ ที่ใช้แล้ว ๖. การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการนำเข้า-ส่งออกซากผลิตภัณฑ์ฯ และผลกระทบจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง 38

  38. ยุทธศาสตร์ ๒ การสนับสนุนการผลิตและการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป้าหมาย เป้าหมาย ภายในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ หน่วยงานภาครัฐมีการจัดซื้อจัดจ้างผลิตภัณฑ์ฯ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๐ จากปริมาณการจัดซื้อจัดจ้างในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ มาตรการ ๑. การสนับสนุนการผลิตและการใช้ผลิตภัณฑ์ฯ ที่มีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ๒. การพัฒนาเครือข่ายศูนย์ปฏิบัติการทดสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์ฯ ๓. การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้บริโภคในการเลือกซื้อหรือเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ฯ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ๔. การส่งเสริมให้มีการใช้ระบบเช่าผลิตภัณฑ์ฯ แทนการซื้อ 39

  39. ยุทธศาสตร์ ๓ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลปริมาณซากผลิตภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป้าหมาย มีฐานข้อมูลปริมาณซากฯ และวัสดุที่ได้จากการ รีไซเคิลซากผลิตภัณฑ์ฯ ใน ทน. ๒๖ แห่ง กทม. เมืองพัทยา และ ทม. ที่มีความพร้อม ภายในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ มาตรการ ๑. การพัฒนาระบบฐานข้อมูลการคาดการณ์ปริมาณซากฯ และผลิตภัณฑ์ฯ ๒. การศึกษาทบทวนและปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการรายงานข้อมูลปริมาณการเกิดซากฯ ๓. การพัฒนาระบบฐานข้อมูล ปริมาณซากฯ ที่เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลและวัสดุที่ได้จากการรีไซเคิล 40

  40. ยุทธศาสตร์ ๔ การพัฒนาปรับปรุงกลไกการคัดแยก เก็บรวบรวม และขนส่งซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป้าหมาย ๑. ทน. ๒๖ แห่ง กทม. เมืองพัทยา และ ทม. ที่มีความพร้อม มีกลไกการรับคืนและเก็บรวบรวมซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป้าหมาย ๑๐ ประเภท/ชนิด ได้แก่ (๑) FL (๒) DC (๓) R/F (๔) TV (๕) A/C (๖) camera (๗) player (๘) Printer/Fax (๙) โทรศัพท์ และ (๑๐) PC ที่มีประสิทธิภาพ และส่งซากผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ไปรีไซเคิลหรือบำบัดกำจัดอย่างถูกต้อง ๒. ภาคเอกชนที่เป็นผู้ผลิตและนำเข้าผลิตภัณฑ์ฯ มีกลไกการเรียกคืนซากผลิตภัณฑ์ฯ เป้าหมาย จำนวน ๔ ประเภท/ชนิด คือ (๑) FL (๒) DC (๓) R/F และ (๔) TV อย่างน้อยประเภทละ ๑ ราย และส่งไปรีไซเคิลหรือบำบัดกำจัดอย่างถูกต้อง มาตรการ ๑.การสนับสนุน อปท. ทางด้านเทคนิคและการเงิน ให้มีขีดความสามารถในการคัดแยก รับคืนและเก็บรวบรวมซากฯ จากแหล่งต่าง ๆ ในชุมชน ๒. การพัฒนาข้อกำหนดเกี่ยวกับการคัดแยก รับคืน เก็บรวบรวมและขนส่ง เพื่อนำซากฯ ไปจัดการอย่างเหมาะสม ทั้งจากครัวเรือนและร้านซ่อม ๓. การพัฒนากฎหมายเพื่อกำหนดให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้า รับผิดชอบในการจัดการซากฯ ๔. การพัฒนาระบบการกำกับตรวจสอบการรับคืน เก็บรวบรวมและขนส่ง ๕. การพัฒนาหลักเกณฑ์การร่วมเป็นเครือข่ายการรับคืนซากฯ สำหรับสถานประกอบการร้านค้าและผู้ประกอบการรายย่อย 41

  41. ยุทธศาสตร์ ๕ การเสริมสร้างขีดความสามารถของโรงงานคัดแยกและรีไซเคิลซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้จากระบบคัดแยก เก็บรวบรวม และขนส่ง ไปจัดการอย่างครบวงจรและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม เป้าหมาย มีโรงงานคัดแยกและรีไซเคิลซากฯ อย่างน้อย ๑ ประเภท ที่มีกระบวนการเหมาะสมกับประเภทผลิตภัณฑ์อย่างครบวงจรอย่างน้อย ๑ แห่ง ภายในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ มาตรการ ๑. การสนับสนุนการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการรีไซเคิลที่มีประสิทธิภาพและไม่ก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ๒. การส่งเสริมและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการรีไซเคิลที่เหมาะสมและสามารถใช้ประโยชน์จากชิ้นส่วนหรือวัสดุต่าง ๆ ได้อย่างคุ้มค่าสำหรับผลิตภัณฑ์ฯกลุ่มเป้าหมาย ๓. การสนับสนุนการลงทุนสร้างโรงงานรีไซเคิลหรือขยายกระบวนการให้ครอบคลุมการรีไซเคิลซากฯ ให้เหมาะสมกับประเภทผลิตภัณฑ์ฯ ที่ยังเป็นปัญหาหรือในพื้นที่ที่ยังขาดแคลน โดยอาจใช้สิทธิพิเศษทางภาษี หรือการใช้กองทุนสิ่งแวดล้อมสนับสนุนการลงทุนสร้างโรงงาน ๔. การพัฒนาข้อกำหนดที่เหมาะสมด้านสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการคัดแยกและรีไซเคิลซากฯ ๕. การบังคับใช้กฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับโรงงานหรือสถานประกอบการที่ไม่ได้มาตรฐาน 42

  42. ยุทธศาสตร์ ๖ การส่งเสริมความตระหนักและความรู้เกี่ยวกับการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และด้านการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เป้าหมาย มีช่องทางการสื่อสารสาธารณะเพื่อการเข้าถึงข้อมูลการจัดการซากฯ อย่างถูกต้อง มาตรการ ๑. การจัดเตรียมช่องทางการสื่อสารแก่ประชาชน ผู้ประกอบการ ภาครัฐทั้งส่วนกลางและท้องถิ่น และสื่อมวลชน ในเรื่องเกี่ยวกับการจัดการซากฯ ๒. การบูรณาการและจัดกระบวนการเรียนรู้ในหลักสูตรการศึกษา เพื่อสร้างความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมจากการจัดการซากฯ และด้านการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ๓. การจูงใจให้มีการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นความรู้เกี่ยวกับการจัดการซากฯ อย่างถูกต้องผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น สิ่งพิมพ์ อินเตอร์เน็ต คู่มือการใช้งานผลิตภัณฑ์ฯ และพนักงานขาย เป็นต้น ๔. การสร้างเครือข่ายเพื่อสร้างความตระหนักและความรู้เกี่ยวกับการจัดการซากฯ 43

  43. การแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ ๒๕ โครงการ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ ๑. การปรับปรุงการเชื่อมโยงข้อมูลการนำเข้า-ส่งออกซากฯ ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๒. การทบทวนกฎหมายและนิยามของเสียของประเทศภาคีของอนุสัญญาบาเซลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับซากฯ หรือผลิตภัณฑ์ฯ ใช้แล้ว ๓. การศึกษาความเป็นไปได้ในการในการจำกัดการส่งออกซากฯ ๔. การพัฒนาหลักสูตรอบรม/สื่อการสอน ในเรื่องของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพอนามัยฯ ๕. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมผู้ควบคุมการนำเข้า-ส่งออกซากฯ ๖. การศึกษาผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ต่อการเคลื่อนย้ายของเสียในระดับภูมิภาค ยุทธศาสตร์ที่ ๒ ๗. การปรับปรุงนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของภาครัฐฯ ๘. การรณรงค์การเลือกซื้อ/เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ฯ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้บริโภคทั่วไป ๙. การพัฒนามาตรการให้สิทธิพิเศษ/ให้รางวัลแก่ผลิตภัณฑ์ฯ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 44

  44. การแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ ๒๕ โครงการ ยุทธศาสตร์ที่ ๓ ๑๐. การพัฒนาเครือข่ายศูนย์ปฏิบัติการทดสอบฯ ของประเทศ ๑๑. การพัฒนาฐานข้อมูลการคาดการณ์ปริมาณซากฯ ที่เกิดขึ้นในประเทศ ๑๒. การพัฒนาฐานข้อมูลด้านวัสดุและทรัพยากรทดแทนจากซากฯ ยุทธศาสตร์ที่ ๔ ๑๓. การกำหนดมาตรการและออกกฎหมายการรับคืนซากฯ ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคและเหมาะสมกับแต่ละประเภทผลิตภัณฑ์ ๑๔. การสนับสนุน อปท. ในการจัดเตรียมระบบคัดแยกและเก็บรวบรวมซากฯ ๑๕. การพัฒนาข้อกำหนดเกี่ยวกับการคัดแยก รับคืน และเก็บรวบรวมซากฯ จากครัวเรือนและร้านซ่อม และการขนส่งซากไปบำบัดกำจัด ๑๖. การพัฒนาระบบการติดตามตรวจสอบการเก็บรวบรวม ขนส่งและบำบัดซากผลิตภัณฑ์ฯ ๑๗. การยกระดับสถานประกอบการร้านค้าให้เป็นเครือข่ายการรับคืนซากผลิตภัณฑ์ฯ ที่ได้มาตรฐาน 45

  45. การแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ ๒๕ โครงการ ยุทธศาสตร์ที่ ๕ ๑๘. การพัฒนาข้อกำหนดสำหรับโรงงานคัดแยกและรีไซเคิลที่มีกระบวนการเหมาะสมกับประเภทผลิตภัณฑ์อย่างครบวงจร ๑๙. การพัฒนาศูนย์เทคโนโลยีการแปรรูปของเสียเป็นทรัพยากรทดแทนด้านแร่ โลหะและพลังงานทดแทน ๒๐. การศึกษาเพื่อยกระดับขีดความสามารถของโรงงานคัดแยกและรีไซเคิลซากผลิตภัณฑ์ฯ อย่างครบวงจร ๒๑. การพัฒนาเทคโนโลยีและการสนับสนุนการลงทุนในเทคโนโลยีการรีไซเคิลที่สามารถนำวัสดุมีค่ากลับมาใช้ประโยชน์ในประเทศ ยุทธศาสตร์ที่ ๖ ๒๒. การนำร่องการเรียกคืนและจัดการซากฯ ที่มีความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ๒๓. การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้และสาธิตด้านการจัดการซากฯ ๒๔. การประกาศเกียรติคุณแก่ อปท. หรือภาคเอกชนที่มีกลไกการรับคืนซากฯ และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และมีระบบการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ๒๕. การติดตามการดำเนินงานโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ฯ 46

  46. ประเด็นเพื่อพิจารณา (๑) ความเหมาะสมของโครงสร้างเนื้อหา จำนวน ๔ บท (๒) ความเหมาะสมและสอดคล้องของสาระสำคัญของวัตถุประสงค์ เป้าหมาย แนวคิด ยุทธศาสตร์ มาตรการ และแผนปฏิบัติการ (๓) ประโยชน์หรือผลกระทบของผู้ที่เกี่ยวข้องต่อการแปลงยุทธศาสตร์ฯ ไปสู่การปฏิบัติ ความเห็นที่ประชุม… THE END 47

  47. ๑.๘ ปัญหา : (ปัจจุบัน ที่มาของยุทธศาสตร์ฯ ระยะที่ ๒) ๑)มีข้อจำกัดด้านกฎระเบียบและแนวทางการปฏิบัติเพื่อการจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ ในภาพรวม ๒)ประชาชนยังไม่มีความตระหนักและไม่มีความรู้ความเข้าใจ 48

  48. ๓)อปท. ส่วนใหญ่ยังไม่มีระบบคัดแยก เก็บขนและเก็บกัก ๔)ภาคเอกชนไม่มีแรงจูงใจในการลงทุนและดำเนินงานโรงงานคัดแยกและรีไซเคิลอย่างครบวงจร ๕)กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยที่ไม่ได้จดทะเบียนโรงงาน ๖)โรงงานกระจุกตัว 49

  49. ๗)ยังคงมีการลักลอบหรือหลีกเลี่ยงการนำเข้าส่งออกซากผลิตภัณฑ์ฯ๗)ยังคงมีการลักลอบหรือหลีกเลี่ยงการนำเข้าส่งออกซากผลิตภัณฑ์ฯ ๘)ยังไม่มีระบบการจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ และชิ้นส่วนที่เกิดจากร้านซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า 50

More Related