1 / 36

บทที่ 4 การผลิตพืช

รศ. นิพนธ์ ไชยมงคล. ผศ.ดร. สห ตุลพงศ์. ผศ. นพดล จรัสสัมฤทธิ์. อ.ดร. เกษศินี สิทธิวงศ์. นายกฤษนันท์ ทองทิพย์. บทที่ 4 การผลิตพืช. Concept: การดำรงชีวิตของพืชและผลิตภัณฑ์จากพืช. คณาจารย์ผู้สอน (ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร). หลักการจำแนกพืชพรรณ ในอาณาจักรพืช.

Download Presentation

บทที่ 4 การผลิตพืช

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รศ. นิพนธ์ ไชยมงคล ผศ.ดร. สห ตุลพงศ์ ผศ. นพดล จรัสสัมฤทธิ์ อ.ดร. เกษศินี สิทธิวงศ์ นายกฤษนันท์ ทองทิพย์ บทที่ 4 การผลิตพืช Concept: การดำรงชีวิตของพืชและผลิตภัณฑ์จากพืช คณาจารย์ผู้สอน (ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร)

  2. หลักการจำแนกพืชพรรณ ในอาณาจักรพืช เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหญ่ประเภทหนึ่ง (ประมาณ 360,000 ชนิด) อยู่ในอาณาจักรพืช (Kingdom Plantae) เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารขึ้นเองได้ ไม่มี กล้ามเนื้อ ไม่มีระบบประสาท และไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ พืช (Plant) คือ อะไร?

  3. (ตายอด) (ตาข้าง) (ดอก) (ก้านใบ) (ปล้อง) กิ่ง (ข้อ) (เนื้อเยื่อลำเลียง) (รากแก้ว) (รากแขนง) โครงสร้างพืช (Plant Body)

  4. ความแตกต่างระหว่างพืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวความแตกต่างระหว่างพืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น อ้อย ข่า หญ้าคา ตะไคร้ ข้าวโพด ไผ่ เช่น มะม่วง ตะเคียน ขนุน มังคุด ลำไย มะนาว ฝรั่ง

  5. พืชใบเลี้ยงเดี่ยว พืชใบเลี้ยงคู่

  6. การจำแนกพืชออกเป็นหมวดหมู่ โดยจัดให้พืชพรรณที่มีลักษณะ เหมือนกันไว้ในกลุ่มเดียวกัน คือ การจำแนกพืชตามลักษณะส่วนต่างๆ ของพืช เช่น - ราก - ลำต้น - ใบ - ดอก - ผล - เมล็ด หลักการจำแนกพืชพรรณ 1. การจำแนกพืชทางพฤกษศาสตร์

  7. Kingdom (อาณาจักรพืช) - Division (หมวด) - Class (ชั้น) - Order (อันดับ) - Family (วงศ์) - Genus (สกุล) - Species (ชนิด) ลำดับชั้นการจำแนกพืชทางพฤกษศาสตร์ เรียงลำดับจากใหญ่ไปเล็ก ดังนี้

  8. - Kingdom (อาณาจักร) Plantae พืช - Division (หมวด) Magnoliophyta พืชมีดอก - Class (ชั้น) Magnoliopsida ใบเลี้ยงคู่ - Order (อันดับ) Solanales - Family (วงศ์) Solanaceae - Genus (สกุล) Solanum - Species (ชนิด) Solanum lycopersicum L. ตัวอย่างการจำแนกทางพฤกษศาสตร์ของมะเขือเทศ

  9. 2. การจำแนกพืชตามอายุการเจริญเติบโต คือจำแนกพืชตามช่วงการเจริญเติบโตในชีพจักรของพืช 1. พืชฤดูเดียว (Annual plants):พืชที่มีอายุการเจริญเติบโต ครบชีพจักรในเวลาเกิน 1 ฤดูกาล หรือ 1 ปี เช่น ผักและไม้ดอก 2. พืชสองฤดู (Biennial plants):พืชที่มีอายุการเจริญเติบโต ครบชีพจักรในเวลา 2 ฤดูกาล หรือ 2 ปี เช่น ผักและไม้ดอก 3. พืชหลายฤดู (Perennial plants):พืชที่มีอายุการเจริญเติบโต มากกว่า 2 ฤดูกาล หรือ 2 ปี กล่าวคือ มีอายุนานหลายปี เช่น ไม้ยืนต้น ต่างๆ ไผ่

  10. 3. การจำแนกพืชตามอุณหภูมิ คือจำแนกพืชตามอุณหภูมิที่มีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโต และการพัฒนาของพืช 1. พืชเขตร้อน (Tropical plants):พืชที่ต้องการอุณหภูมิค่อน ข้างสูงในการเจริญเติบโต เช่น ทุเรียน มังคุด เงาะ มะม่วง ขนุน 2. พืชกึ่งเขตร้อน (Subtropical plants):พืชที่ต้องการอุณหภูมิ ต่ำ แต่ไม่ถึงขั้นมีสภาวะน้ำแข็ง และอากาศร้อนแต่ไม่ถึงกับทำให้ ใบไหม้ เช่น ลิ้นจี่ ลำไย ส้ม 3. พืชเขตหนาว (Temperate plants):พืชที่สามรถทนต่อความ หนาวเย็นต่ำกว่าจุดเยือกแข็งได้ เช่น แอปเปิล สาลี่ ท้อ

  11. 4. การจำแนกพืชตามลักษณะของเนื้อไม้ คือจำแนกพืชตามความอ่อนแข็งของเนื้อไม้ 1. ไม้เนื้ออ่อน (Herbaceous plants):พืชที่มีเนื้อไม้อ่อนและมี ส่วนประกอบเป็นน้ำอยู่จำนวนมาก เช่น กล้วย มะละกอ ฤาษีผสม 2. ไม้เนื้อแข็ง (Woody plants):พืชที่มีเนื้อไม้แข็ง ทำให้ลำต้น กิ่งก้าน มีรูปทรงคงที่อยู่ได้และสามารถขยายพันธุ์ด้วยการตอน ปักชำ ติดตา ต่อกิ่ง และทาบกิ่งได้ เช่น มะม่วง ลำไย องุ่น โกสน เฟื่องฟ้า

  12. 5. การจำแนกพืชตามลักษณะของลำต้น คือจำแนกพืชตามลักษณะของต้นไม้ 1. ไม้ยืนต้น (Tree):พืชที่มีลำต้นเดี่ยวตั้งตรงเป็นอิสระ มีการแตกกิ่ง ก้านสาขาทางด้านบน เช่น มะม่วง ลำไย เงาะ หางนกยูง 2. ไม้พุ่ม (Shrub):พืชที่มีลำต้นเดี่ยวตั้งตรงเป็นอิสระ มีการแตกกิ่ง ก้านแขนง จะมีมากในระดับต่ำ ไม่สูงจากพื้นมากนัก เช่น ชบา เข็ม ไผ่ 3. ไม้เถา (Climber / Vine):พืชที่มีลำต้นต้องอาศัยสิ่งยึดเหนี่ยวหรือ พาดพิงในการดำรงชีวิต เช่น องุ่น ตำลึง เล็บมือนาง

  13. หลักการจำแนกพืชพรรณ ตามการใช้ประโยชน์ พืชไร่ (Agronomy) กับพืชสวน (Horticulture)คือ อะไรและ ต่างกันอย่างไร?

  14. พืชไร่ (Agronomy) ศึกษาถึงเรื่องพืชที่ต้องการผลิตผลมากในอันที่จะนำมาเป็นอาหารหลักของมวลมนุษย์ เช่น ข้าว ธัญพืชต่างๆ

  15. พืชสวน (Horticulture) ศึกษาถึงพืชที่ปลูกในพื้นที่น้อย การดูแลเอาใจใส่มาก ให้ผลตอบแทนสูง มีคุณค่าทางอาหาร จิตใจ และเศรษฐกิจ เช่น ผลไม้ ผัก ไม้ดอกไม้ประดับ

  16. ความแตกต่างระหว่างพืชไร่และพืชสวนความแตกต่างระหว่างพืชไร่และพืชสวน

  17. การจำแนกพืชตามการใช้ประโยชน์การจำแนกพืชตามการใช้ประโยชน์ 1. ธัญพืช (Cereal crops):พืชให้เมล็ดจำพวกแป้ง เช่น ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวบาเลย์ ข้าวโอ๊ต ข้าวฟ่าง 2. พืชให้น้ำตาล (Sugar plants):พืชที่ผลิตสารรสหวานหรือน้ำตาล เช่น อ้อย ตาลโตนด 3. พืชน้ำมันใช้รับประทาน (Edible oil plants):พืชที่ให้น้ำมันใช้ รับประทาน เช่น น้ำมันโอลีฟ ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ข้าวโพด 4. พืชถั่ว (Grain legume):พืชที่ให้เมล็ดที่มีคุณค่าทางอาหารเป็น โปรตีนและไขมัน เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วดำ ถั่วแดง

  18. 5. พืชเครื่องเทศ (Spices):พืชที่ใช้ประกอบอาหาร มีกลิ่นหอม เช่น กระวาน กานพลู อบเชย 6. พืชเครื่องดื่ม (Beverage):พืชที่ใช้ใบ ดอก และเมล็ด เป็นเครื่องดื่ม เช่น ชา กาแฟ โกโก้ เก๊กฮวย 7. พืชสมุนไพร (Medicinal plants):พืชที่ใช้ในการรักษาโรค เช่น ขี้เหล็ก ข่า กะเพรา ฟ้าทะลายโจร กระเทียม กานพลู 8. ไม้ผล (Fruit crops):พืชที่ผลและเมล็ดใช้เป็นอาหาร เช่น กล้วย มะม่วง มะละกอ ลำไย ลิ้นจี่ เงาะ ทุเรียน มังคุด สับปะรด แอปเปิล 9. ผัก (Vegetable crops):พืชที่ให้ส่วนอ่อนเป็นอาหาร ในรูปของหัว ราก ใบ ก้าน ลำต้น ยอด ดอก ผล และเมล็ด เช่น มันฝรั่ง มันเทศ แครอท คะน้า ตังโอ๋ ผักบุ้ง กะหล่ำดอก มะเขือ ถั่วลันเตา

  19. 10. ไม้ดอก (Flower plants):พืชที่ให้ดอกเพื่อประโยชน์ในการประดับ เช่น กุหลาบ เบญจมาศ หน้าวัว เยอร์บีร่า แกลดิโอลัส ผีเสื้อ ดาวเรือง 11. ไม้ประดับ (Ornamental plants):พืชที่ใช้ใบ ลำต้น ทรงพุ่ม ดอก ในการประดับและให้ร่มเงา เช่น เฟิร์น สน ปาล์ม บอนสี หางนกยูง 12. พืชอาหารสัตว์ (Forage crops):พืชที่ให้ใบ กิ่ง ก้าน ผล เมล็ด เป็นอาหารสัตว์ เช่น หญ้าขน หญ้ากินนี ถั่วลูเซิร์น กระถิน 13. พืชเส้นใย (Fiber crops):พืชที่ให้ส่วนผลิตผลเป็นเส้นใยใช้ในการ ทำเครื่องนุ่งห่มและเครื่องใช้ เช่น ฝ้าย ป่าน ลินิน นุ่น ปอ 14. พืชให้เนื้อไม้ (Woods):พืชที่ขึ้นตามธรรมชาติหรือปลูกเพื่อใช้ ประโยชน์จากเปลือกและเนื้อไม้ในการทำเครื่องใช้ สิ่งก่อสร้าง เยื่อกระดาษ เช่น สัก เต็ง รัง สน ยูคาลิปตัส

  20. พืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ พืชที่ปลูกได้ผลดีเป็นที่ต้องการของตลาด เกษตรกรจำนวนมาก ปลูกเป็นอาชีพ ผลผลิตของพืชนั้นๆ มีปริมาณพอเลี้ยงประชากร และโรงงานใน ประเทศในราคาพอสมควร ไม่เป็นการเดือดร้อน มีส่งออกไปขายในตลาดต่างประเทศเป็นจำนวนมากเป็นประจำ ได้เงินตราต่างประเทศเข้ามาบำรุงประเทศปีละจำนวนมาก พืชเศรษฐกิจ คือ อะไร?

  21. โครงสร้างสินค้าส่งออกของไทย ปี 2547-2550 มูลค่า : ล้านบาท ที่มา :ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด กระทรวงพาณิชย์, 2551 http://www2.ops3.moc.go.th/export/struct_export/report.asp

  22. การส่งออกสินค้าเกษตรกรรม (กสิกรรม, ปศุสัตว์,ประมง) สำคัญของไทย ปี 2550 มูลค่า : ล้านบาท ที่มา :ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด กระทรวงพาณิชย์, 2551 http://www2.ops3.moc.go.th/export/recode_export_rank/report.asp

  23. มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ ข้าว ยางพารา สับปะรด พืชเศรษฐกิจ : พืชไร่

  24. กล้วยไม้ พริกขี้หนู มะม่วง ลำไย ทุเรียน กุหลาบ ข้าวโพดฝักอ่อน ข้าวโพดหวาน มะลิ พืชเศรษฐกิจ : พืชสวน

  25. ข้าว ยางพารา แหล่งปลูก: อุบลราชธานี นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด นครสวรรค์ ขอนแก่น ศรีสะเกษ อุดรธานี แหล่งปลูก: สุราษฏ์ธานี สงขลา นครศรีธรรมราช ตรัง ยะลา นราธิวาส ระยอง พืชเศรษฐกิจ : พืชไร่

  26. มันสำปะหลัง ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ แหล่งปลูก: เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ พิษณุโลก นครราชสีมา ศรีสะเกษ ชัยภูมิ สระบุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี สระแก้ว จันทบุรี แหล่งปลูก: นครราชสีมา กำแพงเพชร ชัยภูมิ สระแก้ว ฉะเชิงเทรา กาญจนบุรี ชลบุรี จันทบุรี

  27. อ้อย แหล่งปลูก: ประจวบคีรีขันธ์เพชรบุรีชลบุรี ระยองฉะเชิงเทราจันทบุรีตราด ภูเก็ตพังงาชุมพร แหล่งปลูก: กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี ราชบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี สับปะรด

  28. มะม่วง ลำไย แหล่งปลูก: เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย พะเยา น่าน จันทบุรี ลำปาง เลย แหล่งปลูก: นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา ชัยภูมิ ชลบุรี สระบุรี เชียงใหม่ สุพรรณบุรี ราชบุรี พืชเศรษฐกิจ : พืชสวน

  29. พริกขี้หนู ทุเรียน แหล่งปลูก: กาญจนบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบูรณ์ แหล่งปลูก: จันทบุรี ระยอง ตราด ชุมพร ปราจีนบุรี นครนายก สุราษฎร์ธานี

  30. แหล่งปลูก: เชียงราย ตาก นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม เพชรบุรี สมุทรสาคร ข้าวโพดฝักอ่อน ข้าวโพดหวาน แหล่งปลูก: ราชบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี สระบุรี นครสวรรค์ กำแพงเพชร

  31. กล้วยไม้ กุหลาบ แหล่งปลูก: กรุงเทพ นนทบุรี นครปฐม สมุทรสาคร ราชบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี แหล่งปลูก: ตาก เชียงใหม่ เชียงราย นครปฐม สมุทรสาคร ราชบุรี กาญจนบุรี

  32. แหล่งปลูก: นครปฐม เพชรบุรี อุดรธานี จันทบุรี สุพรรณบุรี สุรินทร์ มะลิ

  33. น้ำมันปาล์ม น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันละหุ่ง น้ำมันมะพร้าว พืชน้ำมัน กระสอบ เชือกจากปอกระเจา ผ้าทอต่างๆ (ฝ้าย ปอกระเจา ป่าน ลินิน) สำลี เส้นด้าย เส้นใยกาบมะพร้าว พืชเส้นใย ผลิตภัณฑ์จากพืช

  34. แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว เส้นหมี่ เส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมปังกรอบ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา แป้งมันสำปะหลัง กาว ถุงมือยาง ยางรัด ยางลบ ยางรถชั้นนอกและชั้นใน

  35. ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี ถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วแดง ยาสูบ แป้งข้าวโพด วุ้นเส้น พืชไร่อื่นๆ ชาดำ ชาผงสำเร็จรูป กาแฟสำเร็จรูป โกโก้สำเร็จรูป ชา กาแฟ โกโก้ ไม้สำหรับสร้างบ้าน ถ่านไม้ กระดาษ เฟอร์นิเจอร์ทำด้วยไม้ กรอบรูป เครื่องดนตรี ไม้

  36. ผักสดต่างๆ หอมแห้ง กระเทียมแห้ง เห็ดแห้ง พริกแห้ง ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก พืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ ดอกไม้สดต่างๆ (กุหลาบ มะลิ ดาวเรือง) ไม้ใบต่างๆ (โกสน วาสนา) ดอกไม้แห้ง (กล้วยไม้) ผลไม้กระป๋อง ผลไม้แห้ง ผลไม้แช่น้ำเกลือ ผลไม้

More Related